33.3 พระสูตรหลักถัดไป คืออาทิตตสูตร [พระสูตรที่ 41]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
33.2  พระสูตรหลักถัดไป คืออาทิตตสูตร [พระสูตรที่ 41]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=09-06-2014&group=4&gblog=25
ความคิดเห็นที่ 27
ฐานาฐานะ, 6 มิถุนายน เวลา 21:46 น.

GravityOfLove, 2 ชั่วโมงที่แล้ว
             ๔๖. อัจฉราสูตร
...
7:18 PM 6/6/2014
              อธิบายว่า
              ธรรมมีสัมมาทิฏฐินำหน้านั้น กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิอันเป็นโลกีย์และ/หรือ
สัมมาทิฏฐิในวิปัสสนา
              สัมมาทิฏฐิแห่งมรรค หมายถึง สัมมาทิฏฐิอันเป็นโลกุตตร ในขณะแห่งมรรค
              สัมมาทิฏฐิอันเป็นโลกีย์ เป็นเบื้องต้นก่อน ก็คือขับไล่มิจฉาทิฏฐิออกไปก่อน
เหมือนชำระทางให้สะอาด จากนั้นเพียรต่อไปในมรรคมีองค์ 8 แล้วย่อมบรรลุมรรคผล
ในภายหลัง.

              อุตติยสูตร [บางส่วน]
              [๗๕๐] สาวัตถีนิทาน.
              ครั้งนั้น ท่านพระอุตติยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
              ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
              ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงเป็นผู้หลีก
ออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวเถิด
              พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
              ดูกรอุตติยะ เพราะฉะนั้น เธอจงชำระเบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์เสียก่อน
              ก็อะไรเป็นเบื้องต้นของกุศลธรรม คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดี และความเห็นอันตรง.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=19&A=4388

ความคิดเห็นที่ 28
GravityOfLove, 6 มิถุนายน เวลา 22:10 น.

สมถะ เป็นโลกียะ, วิปัสสนา เป็นโลกุตตระ ใช่ไหมคะ

ความคิดเห็นที่ 29
ฐานาฐานะ, 6 มิถุนายน เวลา 22:25 น.

              สมถะและวิปัสสนา เป็นโลกียะ ครับ.

ความคิดเห็นที่ 30
GravityOfLove, 6 มิถุนายน เวลา 22:36 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 31
ฐานาฐานะ, 6 มิถุนายน เวลา 22:36 น.

              สมถะ เป็นการเพ่งอารมณ์ ทำให้จิตสงบ
              วิปัสสนา เป็นการเพ่งพิจารณาลักษณะ
เป็นปัญญารู้ความที่สังขารไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
แต่ว่า ยังเป็นโลกียะอยู่.
              ยังเสื่อมได้อยู่ เช่น พระภิกษุในสมัยพระศาสนาก่อนๆ
บำเพ็ญวิปัสสนาไว้ มรณภาพแล้ว ก็อุบัติในภพต่างๆ อาจประมาท
ในบางชาติ ทำอกุศลกรรม ถึงทุคติได้อยู่ แม้ประมาทมาก
อาจถึงเดียรถีย์เป็นศาสดา ถือมิจฉาทิฏฐิได้อยู่ เพราะเป็นปุถุชน.

              คำว่า ภาวนา 2
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภาวนา+2

ความคิดเห็นที่ 32
GravityOfLove, 6 มิถุนายน เวลา 22:38 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต อาทิตตวรรคที่ ๕
             ๔๕. อโนมิยสูตร ว่าด้วยพระนามอันไม่บกพร่อง
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=948&Z=954&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดากราบทูลเป็นคาถาว่า
                          ท่านทั้งหลายเชิญดูพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระนามไม่ทราม
                          ผู้ทรงเห็นประโยชน์อันละเอียด (เช่น ความแตกต่างกันแห่งขันธ์เป็นต้น)
                          ผู้ให้ซึ่งปัญญา (เพราะสามารถบอกปฏิปทาเพื่อให้บรรลุถึงปัญญา)
                          ไม่ทรงข้องอยู่ในอาลัยคือกาม ตรัสรู้ธรรมทุกอย่าง
                          มีพระปรีชาดี ทรงก้าวไปในทางอันประเสริฐ
                          ผู้ทรงแสวงคุณอันใหญ่ (เช่น สีลขันธ์ เป็นต้น)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กามคุณ_5
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สีลขันธ์&detail=on

-------------------

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต อาทิตตวรรคที่ ๕
             ๔๖. อัจฉราสูตร ว่าด้วยนางอัปสร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=955&Z=965&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดาทูลถามเป็นคาถาว่า
                          ป่าชัฏชื่อโมหนะ (แปลว่า ป่าเป็นที่หลง เทวดานี้หมายถึงสวนนันทวัน)
                          อันหมู่นางอัปสรประโคมแล้ว อันหมู่ปีศาจสิงอยู่แล้ว  (หมู่ปิศาจ เทวดานี้หมายถึงหมู่นางอัปสร)
                          ทำไฉนจึงจะหนีไปได้

             (พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า เทวบุตรนั้นเป็นบรรพชิตในศาสนาของพระองค์
ได้ทำกาละในที่จงกรมแล้วเกิดในเทวโลก แม้ในวันนี้ก็ไม่ได้ทำลายศีลมาเข้าเฝ้าพระองค์
             มรรคหนึ่ง (โสดาปัตตมรรค) จะมีแก่เทวบุตรนี้ จึงทรงบอกสุญญตาวิปัสสนา)
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบเป็นคาถาว่า
                          ทางนั้นชื่อว่าเป็นทางตรง (มรรคมีองค์ ๘)
                          ทิศนั้นชื่อว่าไม่มีภัย (พระนิพพาน)
                          รถชื่อว่าไม่มีเสียงดัง (อริยมรรค กล่าวคือแม้สัตว์จำนวนขึ้นไปพร้อมกัน ย่อมไม่ดัง)
                          ประกอบด้วยล้อคือธรรม (ความเพียรทั้งกายและใจ)
                          หิริเป็นฝาของรถนั้น (หิริและโอตตัปปะ กั้นไว้ไม่ให้ตกรถ)
                          สติเป็นเกราะกั้นของรถนั้น
                          เรากล่าวธรรมมีสัมมาทิฏฐินำหน้า ว่าเป็นสารถี

                          (คือสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนา (เป็นโลกียะ) นำหน้าไป ได้แก่
             สัมมาทิฏฐิ ญาณปัญญาในวิปัสสนาอันรู้เห็นพระไตรลักษณ์เป็นต้น)
                          ยานชนิดนี้มีอยู่แก่ผู้ใด จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม
                          (ย่อมไป) ในสำนักพระนิพพานด้วยยานนี้แหละ

//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สุญญต&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มรรคมีองค์_8
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ธรรมคุ้มครองโลก_2

[แก้ไขตาม #33]

ความคิดเห็นที่ 33
ฐานาฐานะ, 6 มิถุนายน เวลา 23:42 น.

GravityOfLove, 20 นาทีที่แล้ว
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต อาทิตตวรรคที่ ๕
              ๔๕. อโนมิยสูตร ว่าด้วยพระนามอันไม่บกพร่อง
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=948&Z=954&bgc=honeydew&pagebreak=0
...
10:37 PM 6/6/2014

              สรุปความได้ดีทั้งสองพระสูตร
              ขอแก้ไขสรุปความเล็กน้อย ดังนี้ :-
              คำว่า
                     (คือสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนา (เป็นโลกียะ) นำหน้าไป ได้แก่ ศีลที่บริสุทธิ์
                     และความเห็นตรง เช่น เชื่อว่าทานมีผล ฯลฯ)
              เข้าใจว่า มาจากอุตติยสูตร [บางส่วน] ที่ได้อธิบายในคำถามก่อน
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=19&A=4388

              อุตติยสูตร นี้ยกมาเพื่อเป็นตัวอย่างให้เห็นว่า ความเห็นอันตรง
หรือความเห็นที่ถูกต้องหรือสัมมาทิฏฐินั่นเอง เบื้องต้นของกุศลธรรม.
              แต่ไม่ได้หมายความว่า ศีลที่บริสุทธิ์ดี และความเห็นอันตรง
เป็นสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนา ตามที่สรุปความ.
              ความเห็นอันตรงถูกต้องนี้ กินความรวมถึงสัมมาทิฏฐิทั่วไป
และสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนา
              ดังนั้น จึงควรแก้ไขเป็น
              (คือสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนา (เป็นโลกียะ) นำหน้าไป ได้แก่
สัมมาทิฏฐิ ญาณปัญญาในวิปัสสนาอันรู้เห็นพระไตรลักษณ์เป็นต้น)

ความคิดเห็นที่ 34
ฐานาฐานะ, 6 มิถุนายน เวลา 23:45 น.

              คำถามในพระสูตรทั้งสอง
              ๔๕. อโนมิยสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=948&Z=954
              ๔๖. อัจฉราสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=955&Z=965

              1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
              2. ใน 2 พระสูตรนี้ พระสูตรใดได้เคยศึกษามาแล้ว
และมีบทเชื่อมอนุสนธิอย่างไร จึงได้ศึกษาพระสูตรนี้มาก่อน.

ความคิดเห็นที่ 35
GravityOfLove, 7 มิถุนายน เวลา 00:53 น.

              ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
              1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
              ๔๕. อโนมิยสูตร
              เทวดามากราบทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาคว่า ทรงมีพระนามไม่ทราม ฯลฯ
--------------
             ๔๖. อัจฉราสูตร
             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
               ทางนั้นชื่อว่าเป็นทางตรง ทิศนั้นชื่อว่าไม่มีภัย รถชื่อว่าไม่มี
               เสียงดัง ประกอบด้วยล้อคือธรรม หิริเป็นฝาของรถนั้น
               สติเป็นเกราะกั้นของรถนั้น เรากล่าวธรรมมีสัมมาทิฏฐินำหน้า
               ว่าเป็นสารถี ยานชนิดนี้มีอยู่แก่ผู้ใด จะเป็นหญิงหรือชาย
               ก็ตาม เขา (ย่อมไป) ในสำนักพระนิพพานด้วยยาน
               นี้แหละ
             ๒. เรื่องราวของเทวดาองค์นี้ตั้งแต่ตอนเป็นมนุษย์
             ตอนที่เป็นมนุษย์บวชได้ ๕ พรรษา ทำความเพียรแล้วมรณะภาพในที่จงกรม
แล้วไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แต่เทวดาองค์นี้ก็ไม่ได้ยินดีในเทวสมบัติเหล่านั้น
(เช่น การมีนางอัปสรแวดล้อม) จึงมาทูลถามพระผู้มีพระภาค
             ๓. ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งจงกรมอยู่ในเพราะการจงกรมก็ตาม
             ยืนอยู่เพราะอาศัยส่วนที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวไว้ก็ตาม
             วางจีวรไว้ที่สุดแห่งที่จงกรมเหนือศีรษะแล้วนั่งหรือนอนก็ตาม
             กำลังแสดงธรรมบนธรรมาสน์อันเขาตกแต่งในท่ามกลางแห่งบริษัทก็ตาม
             ย่อมกระทำกาละ ภิกษุนั้นทั้งหมดชื่อว่ากระทำกาละในเพราะธุระ คือความเพียร
             ๔. ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมตรัสบอกปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นก่อนว่า
เธอจงชำระศีลให้บริสุทธิ์ก่อน จงเจริญสมาธิ จงทำกัมมัสสกตปัญญาให้ตรง
             แต่ว่า เมื่อบุคคลผู้กระทำเคยประกอบแล้วประกอบทั่วแล้ว พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ย่อมตรัสบอกสุญญตาวิปัสสนาทีเดียวซึ่งเป็นภาวะสุขุมลึกซึ้งอันเป็นปทัฏฐาน (เหตุใกล้)
แห่งพระอรหัตมรรค
             ๕. หิริและโอตตัปปะแห่งรถคือมรรคนี้อันมีทั้งภายในและภายนอกเป็นสมุฏฐาน
เป็นเครื่องป้องกัน
               หิริมีสมุฏฐานที่ตั้งขึ้นภายใน โอตตัปปะมีสมุฏฐานที่ตั้งขึ้นภายนอก
               หิริมีตนเป็นใหญ่ โอตตัปปะมีโลกเป็นใหญ่
               หิริดำรงอยู่ในสภาวะอันน่าละอาย โอตตัปปะดำรงอยู่ในสภาวะอันน่ากลัว
               หิริมีลักษณะยำเกรง โอตตัปปะมีลักษณะโทษและเห็นภัย
             เทวธรรมชาดก ว่าด้วยธรรมของเทวดา
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=6

             ๖. ในเวลาที่สุดลงแห่งเทศนา เทวบุตรตั้งอยู่เฉพาะแล้วในโสดาปัตติผล
--------------------------------------
              2. ใน 2 พระสูตรนี้ พระสูตรใดได้เคยศึกษามาแล้ว
และมีบทเชื่อมอนุสนธิอย่างไร จึงได้ศึกษาพระสูตรนี้มาก่อน.
             เคยศึกษาอัจฉราสูตรค่ะ
             ตอนนั้นแกรวิตี้สงสัยในคำว่า ปรารถนาพุทธภูมิ
             คุณฐานาฐานะยกลิงค์เรื่องยมกปาฏิหาริย์มาอธิบายประกอบคำตอบ
             เรื่องยมกปาฏิหาริย์ [๑๔๙]
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=24&p=2

             เมื่อได้อ่านแล้ว มีตรงหนึ่งที่อ่านแล้วขำมาก นั่นคือประโยคว่า
เป็นเช่นจอมปลวกแดง เป็นเช่นแม่โคด่าง
             คุณฐานาฐานะก็เลยพูดว่า นึกไม่ออกว่า ทำไมถึงสำลัก
แล้วคำว่า กำแห่งหัวมัน จะสำลักไหมหนอ?
             ตอนนั้นแกรวิตี้ไม่เข้าใจว่า กำแห่งหัวมันแปลว่าอะไร จึงไม่ขำ
และคุณฐานาฐานะยังไม่ยกลิงค์อัจฉราสูตรมาแสดง (ว่าคำนี้มาจากพระสูตรนี้)

             แต่พอคุณฐานาฐานะอธิบายเรื่องอานิสงส์การบำเพ็ญกุศลระหว่าง
กับผู้มีศีลและกับผู้ทุศีล แล้วมีกล่าวถึงบริวารที่เป็นนางฟ้า แกรวิตี้ก็เกิดสงสัยว่า
นางฟ้ามาฟังธรรมด้วยหรือไม่ (ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับยมกปาฏิหาริย์)
             คุณฐานาฐานะอธิบายว่า
             บางเหตุการณ์ เทพบุตรองค์หนึ่งเป็นพระภิกษุที่เพิ่งมรณภาพ
แล้วอุบัติในเทวโลก มาเข้าเฝ้าพระผู้พระผู้มีพระภาค เพื่อทูลถามปัญหา
ก็มาพร้อมนางเทพอัปสรด้วย
             คราวนี้จึงได้ยกลิงค์อิจฉราสูตรมาแสดง
             อรรถกถาอัจฉราสูตรที่ ๖
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=143

             ที่แกรวิตี้สงสัยอยู่ตอนนี้คือ คุณฐานาฐานะยกลิงค์อัจฉราสูตรมาแสดง
เพื่ออธิบายเรื่องใดก่อนหลังหรือพร้อมกัน ระหว่างเรื่องยมกปาฏิหารย์
(เมื่อสัตว์ต่างๆ เห็นพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส จึงปรารถนาพุทธภูมิกันจำนวนมาก)
และเรื่องนางฟ้ามาฟังธรรมด้วยหรือไม่
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/12/Y11442477/Y11442477.html#179

ความคิดเห็นที่ 36
ฐานาฐานะ, 7 มิถุนายน เวลา 21:32 น.

GravityOfLove, 20 ชั่วโมงที่แล้ว
              ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
...
12:52 AM 6/7/2014

               ตอบคำถามได้ดีครับ
               การนำลิงค์อรรถกถาเทวธรรมชาดก มาประกอบคำอธิบาย ก็เป็นการดี.
               เทวธรรมชาดก ว่าด้วยธรรมของเทวดา
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=6

               คำสงสัยว่า
               ที่แกรวิตี้สงสัยอยู่ตอนนี้คือ คุณฐานาฐานะยกลิงค์อัจฉราสูตรมาแสดง
เพื่ออธิบายเรื่องใดก่อนหลังหรือพร้อมกัน ระหว่างเรื่องยมกปาฏิหารย์
(เมื่อสัตว์ต่างๆ เห็นพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส จึงปรารถนาพุทธภูมิกันจำนวนมาก)
และเรื่องนางฟ้ามาฟังธรรมด้วยหรือไม่
               แก้ว่า นำมาตอบในคำว่า
               เป็นเช่นจอมปลวกแดง เป็นเช่นแม่โคด่าง <<< เกือบสำลักกาแฟ
               จากนั้น เห็นคำถามว่า เรื่องนางฟ้ามาฟังธรรมด้วยหรือไม่
ก็เห็นว่า อรรถกถาอัจฉราสูตร ก็มีตัวอย่างของเทพธิดามาฟังธรรมด้วย.
               กล่าวคือ ตอบตามลำดับเนื้อความ เพียงแต่ว่า
เนื้อความในอรรถกถาพระสูตรเดียวกัน ใช้ได้ทั้งสองคำถาม
โดยประจวบเหมาะ.

ความคิดเห็นที่ 37
ฐานาฐานะ, 7 มิถุนายน เวลา 21:37 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า อโนมิยสูตรและอัจฉราสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=948&Z=965

              พระสูตรหลักถัดไป คือ วนโรปสูตร [พระสูตรที่ 47].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              วนโรปสูตรที่ ๗
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=966&Z=976
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=145

ย้ายไปที่




Create Date : 09 มิถุนายน 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 22:36:02 น.
Counter : 561 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มิถุนายน 2557

1
2
3
4
6
7
8
10
11
12
14
15
17
18
19
20
22
23
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog