33.2 พระสูตรหลักถัดไป คืออาทิตตสูตร [พระสูตรที่ 41]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
33.1  พระสูตรหลักถัดไป คืออาทิตตสูตร [พระสูตรที่ 41]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=05-06-2014&group=4&gblog=24
ความคิดเห็นที่ 16
GravityOfLove, 5 มิถุนายน เวลา 22:02 น.

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๔๓. อันนสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=934&Z=942&bgc=honeydew&pagebreak=0

             ๑. ทำไมยักษ์ไม่พอใจอาหารคะ
             ๒. พระผู้มีพระภาคตรัสต่อเทวดาว่า แม้จะพอใจในอาหารหรือโภคะทรัพย์
แต่ควรข่มความตระหนี่แล้วให้ทาน ใช่ไหมคะ
--------------
             ๔๔. เอกมูลสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=943&Z=947&bgc=honeydew&pagebreak=0

             โมหะเป็นเงื่อนแห่งสหชาตของตัณหา
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 17
ฐานาฐานะ, 5 มิถุนายน เวลา 23:01 น.

GravityOfLove, 56 นาทีที่แล้ว
              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๔๓. อันนสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=934&Z=942&bgc=honeydew&pagebreak=0

              ๑. ทำไมยักษ์ไม่พอใจอาหารคะ
ตอบว่า
              สันนิษฐานว่า คำว่า ยักษ์นี้ เป็นการเรียกสัตว์ที่ไม่สมบูรณ์
เช่น พวกเปรต หรือพวกอสุรกาย หรือพวกอานุภาพน้อย
              คำว่า ยักษ์ บางครั้ง ก็เป็นการเรียกพวกที่มีอานุภาพมาก
              แต่ในที่นี้ เพราะมีคำว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก
จึงสันนิษฐานโดยนัยเป็นตรงข้ามกับเทวดาและมนุษย์.

              สันนิษฐานว่า คำของเทวดา เป็นคำแสดงย้อนถึงเหตุ
              เช่น บางคนรักตัวเองมาก จึงฆ่าผู้อื่น ขโมยของผู้อื่น ฯลฯ
เมื่ออกุศลกรรมเหล่านั้นให้ผล อันเป็นทุกข์ เขาก็ประสบทุกข์
ดังนี้แล้ว กล่าวโดยนัยของเหตุหรือการกระทำ ก็กล่าวได้ว่า
เขาไม่รักตนเอง หรือรักตนเองในทางที่ผิด.
              นัยตรงกันข้าม คนคนหนึ่งถูกงูเหลือมรัดไว้ แม้มีอาวุธ
เช่น มีดดาบที่คมกล้าพอจะตัดงูนั้นให้ตายได้ แต่เมื่อระลึกว่า
การฆ่าหรือปาณาติบาต บุคคลทำแล้ว ย่อมมีวิบากเป็นทุกข์
ดังนี้แล้ว ถึงจะมีอาวุธอยู่ ก็ไม่ฆ่างูนั้น ถูกงูนั้นรัดอยู่ ได้รับทุกข์ถึงตาย
หรือถึงเกือบตาย. บางคนไม่เข้าใจความดำริของเขา ก็ตำหนิเขาว่า
เขาไม่รักตัวเองเลย เพราะไม่ใช้อาวุธฆ่างู ทำให้ตนเองรอดออกมา
              แต่บุคคลที่เข้าใจความคิดของเขา ก็สรรเสริญเขาว่า
เขารักตนเอง โดยถูกทาง คือรักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต.
              ตัวอย่างทั้งสอง ยกมาให้เพื่อเป็นข้อพิจารณาว่า
              บางคนพิจารณาปัจจุบันชัดๆ
              บางคนพิจารณาผลในอนาคต.

              จากนั้น ก็ไปเชื่อมกับคำของเทวดาว่า
              เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ต่างก็พอใจอาหารด้วยกันทั้งนั้น
เพราะเทวดาและมนุษย์ในกาลก่อนได้ทำทานไว้ จึงได้อาหารตามที่ตนเองพอใจ
จึงชื่อว่า พอใจในอาหาร ด้วยการทำเหตุอันสมควรแก่การได้อาหารนั้น.

              คำว่า เออ ก็ผู้ที่ไม่พอใจอาหารชื่อว่ายักษ์โดยแท้ ฯ
              ยักษ์หรือนัยของผู้ตกต่ำ มีลาภน้อย อานุภาพน้อย ก็เพราะว่า
ตระหนี่ในกาลก่อน ไม่ให้ทานในกาลก่อน จึงได้มีลาภน้อยในปัจจุบัน
ปรากฎแก่เทวดาที่กล่าวเนื้อความนี้ พวกนั้นประหนึ่งไม่พอใจในอาหาร
จึงไม่ทำเหตุแห่งการได้อาหารและเครื่องอำนวยความสุขแก่ชีวิต.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              ๒. พระผู้มีพระภาคตรัสต่อเทวดาว่า แม้จะพอใจในอาหารหรือโภคะทรัพย์
แต่ควรข่มความตระหนี่แล้วให้ทาน ใช่ไหมคะ

              [๑๔๐] พ. ชนเหล่าใดมีใจผ่องใสแล้ว ให้อาหารนั้นด้วยศรัทธา
              อาหารนั้นแลย่อมพะนอเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
              เพราะเหตุนั้น บุคคลพึงนำความตระหนี่ให้ปราศจากไป
              พึงข่มความตระหนี่ซึ่งเป็นตัวมลทินเสียให้ทาน
              เพราะบุญทั้งหลายเป็นที่พึ่งของเหล่าสัตว์ในโลกหน้า ฯ

              ตอบว่า จะกล่าวอย่างนั้น ก็พอจะกล่าวได้
              แต่ว่า หากนัยของเทวดาเป็นไปตามการสันนิษฐาน
              พระผู้มีพระภาคตรัสต่อเทวดา โดยนัยของปัจจุบันและอนาคต
โดยทรงแสดงเหตุและผลให้ชัดเจน เพื่อให้เทวดาได้เทียบเคียงนัยของเทวดา
อันเป็นอดีตและปัจจุบัน.
              โดยตรัสเฉพาะฝ่ายกุศล หรือบาลีอาจเรียกว่า กุสลปักษ์.

              ตอบพระสูตรแรกก่อน.

ความคิดเห็นที่ 18
ฐานาฐานะ, 5 มิถุนายน เวลา 23:25 น.

              ๔๔. เอกมูลสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=943&Z=947&bgc=honeydew&pagebreak=0

              โมหะเป็นเงื่อนแห่งสหชาตของตัณหา
              อธิบายว่า
              โมหะเกิดร่วมเกิดพร้อมกับตัณหา
              อันที่จริงแล้ว โมหะเกิดร่วมกับอกุศลจิตทุกดวง
แต่ในที่นี้กล่าวถึงตัณหา จึงกล่าวว่า
              โมหะเป็นเงื่อนแห่งสหชาตของตัณหา

ความคิดเห็นที่ 19
GravityOfLove, 5 มิถุนายน เวลา 23:36 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 20
GravityOfLove, 5 มิถุนายน เวลา 23:38 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต อาทิตตวรรคที่ ๕
             ๔๓. อันนสูตร ว่าด้วยอาหาร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=934&Z=942&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดากราบทูลเป็นคาถาว่า
                          เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ต่างก็พอใจอาหารด้วยกันทั้งนั้น
                          (พอใจวิบากของการให้ทานในกาลก่อน เช่นได้อาหาร ด้วยการให้ทาน)
                          ผู้ที่ไม่พอใจอาหารชื่อว่ายักษ์โดยแท้ (คือผู้ตระหนี่)
             พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถา ใจความว่า
                          ผู้ใดมีใจผ่องใสแล้ว ให้อาหารนั้นด้วยศรัทธา
                          ย่อมมีวิบากเป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
                          ดังนั้น บุคคลควรกำจัดความตระหนี่ ข่มความตระหนี่
                          เพราะบุญทั้งหลายเป็นที่พึ่งของเหล่าสัตว์ในโลกหน้า


------------------------

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต อาทิตตวรรคที่ ๕
             ๔๔. เอกมูลสูตร ว่าด้วยรากอันเดียว
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=943&Z=947&bgc=honeydew&pagebreak=0

           เทวดากราบทูลเป็นคาถาว่า
                          บาดาล มีรากอันเดียว มีความวนสอง มีมลทินสาม
                          มีเครื่องลาดห้าเป็นทะเล หมุนไปได้สิบสองด้าน ฤาษีข้ามพ้นแล้ว

             [อรรถกถา]
             บาดาล คือ ตัณหา เพราะอรรถว่า ไม่ตั้งมั่น
             รากอันเดียว คือ อวิชชาอันเป็นรากของตัณหา และตัณหาก็เป็นรากของอวิชชา
แต่ในที่นี้ รากคือตัณหา
             วนสอง คือ ตัณหานั้นย่อมหมุนเป็นไปสองอย่าง คือ ด้วยสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ
             มลทินสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ
             เครื่องลาดห้า คือ กามคุณ ๕ ที่ตัณหาแผ่ไป ทำให้เป็นเงื่อนแห่งอุปนิสสยะ
(คือที่อาศัยอย่างมั่นคง)
             ทะเล คือตัณหา เพราะอรรถว่าไม่รู้จักเต็ม
             สิบสองด้าน คือ อายตนะ ๑๒ ที่ตัณหาหมุนเวียนเปลี่ยนไป
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ทิฏฐิ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กามคุณ_5
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อายตนะ_12
[แก้ไขตาม #21]

ความคิดเห็นที่ 21
ฐานาฐานะ, 6 มิถุนายน เวลา 18:14 น.

GravityOfLove, 18 ชั่วโมงที่แล้ว
...
11:37 PM 6/5/2014

              สรุปความได้ดีครับ
              อันนสูตรและเอกมูลสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=943&Z=947

              ขอเพิ่มเติม เพื่อให้ความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนี้ :-
              เทวดากราบทูลเป็นคาถาว่า
               เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ต่างก็พอใจอาหารด้วยกันทั้งนั้น
               (พอใจวิบากของการให้ทานในกาลก่อน เช่น ได้อาหาร)
เพิ่มเติมเป็น :-
              เทวดากราบทูลเป็นคาถาว่า
               เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ต่างก็พอใจอาหารด้วยกันทั้งนั้น
               (พอใจวิบากของการให้ทานในกาลก่อน เช่นได้อาหาร ด้วยการให้ทาน)

ความคิดเห็นที่ 22
ฐานาฐานะ, 6 มิถุนายน เวลา 18:16 น.

              คำถามในพระสูตรทั้งสอง
              ๔๓. อันนสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=934&Z=942
              ๔๔. เอกมูลสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=943&Z=947

              เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.

ความคิดเห็นที่ 23
GravityOfLove, 6 มิถุนายน เวลา 18:24 น.

              ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
              เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
              ๔๓. อันนสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=934&Z=942

             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
               ชนเหล่าใดมีใจผ่องใสแล้ว ให้อาหารนั้นด้วยศรัทธา
               อาหารนั้นแลย่อมพะนอเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เพราะ
               เหตุนั้นบุคคลพึงนำความตระหนี่ให้ปราศจากไป พึงข่มความ
               ตระหนี่ซึ่งเป็นตัวมลทินเสียให้ทาน เพราะบุญทั้งหลายเป็นที่
               พึ่งของเหล่าสัตว์ในโลกหน้า
---------------------
              ๔๔. เอกมูลสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=943&Z=947

             ๑. เทวดาทูลพระผู้พระภาค โดยเปรียบตัณหากับบาดาล เป็นต้น
             ๒. โมหะเป็นเงื่อนแห่งสหชาต (เกิดพร้อมกัน) ของตัณหา

ความคิดเห็นที่ 24
ฐานาฐานะ, 6 มิถุนายน เวลา 18:58 น.

GravityOfLove, 31 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
...
6:23 PM 6/6/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             พระสูตรที่ 2 เทวดาน่าจะกล่าวคาถานี้
เพื่อสรรเสริญพระผู้มีพระภาค ด้วยคำว่า
             ฤาษีข้ามพ้นแล้ว ฯ

ความคิดเห็นที่ 25
ฐานาฐานะ, 6 มิถุนายน เวลา 19:01 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า อันนสูตรและเอกมูลสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=934&Z=947

              พระสูตรหลักถัดไป คือ อโนมิยสูตร [พระสูตรที่ 45].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              อโนมิยสูตรที่ ๕
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=948&Z=954
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=142

ความคิดเห็นที่ 26
GravityOfLove, 6 มิถุนายน เวลา 19:18 น.

             ๔๖. อัจฉราสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=955&Z=965&bgc=honeydew&pagebreak=0

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ธรรมมีสัมมาทิฏฐินำหน้านั้น คือเหมือนอย่างว่า เมื่อราชบุรุษทั้งหลายทำหนทางให้สะอาดโดยการนำชนทั้งหลายมีคนบอดคนง่อยเป็นต้นออกไปก่อน แล้วพระราชาจึงเสด็จมาในภายหลังฉันใด ครั้นเมื่อธรรมทั้งหลายมีขันธ์เป็นต้นอันสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาชำระให้หมดจดแล้วด้วยสามารถแห่งความเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น สัมมาทิฏฐิแห่งมรรคอันกำหนดรู้อยู่ซึ่งวัฏฏะได้แล้วในภูมิ จึงเกิดขึ้นในภายหลังฉันนั้นนั่นแหละ.
             ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที่




Create Date : 09 มิถุนายน 2557
Last Update : 21 มิถุนายน 2557 11:47:38 น.
Counter : 691 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มิถุนายน 2557

1
2
3
4
6
7
8
10
11
12
14
15
17
18
19
20
22
23
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog