27.13 พระสูตรหลักถัดไป คือภัทเทกรัตตสูตร [พระสูตรที่ 31]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
27.12 พระสูตรหลักถัดไป คือภัทเทกรัตตสูตร [พระสูตรที่ 31]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=26-03-2014&group=3&gblog=43

ความคิดเห็นที่ 17
ฐานาฐานะ, 17 มีนาคม เวลา 22:40 น.

              ใช่ครับ ได้อานิสงส์มากกว่านั้น.

ความคิดเห็นที่ 18
GravityOfLove, 17 มีนาคม เวลา 22:41 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 19
ฐานาฐานะ, 17 มีนาคม เวลา 23:10 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ทักขิณาวิภังคสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9161&Z=9310

              พระสูตรหลักถัดไป คือ อนาถปิณฑิโกวาทสูตร [พระสูตรที่ 43].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              อนาถปิณฑิโกวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=9311&Z=9524
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=720

              ฉันโนวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=9525&Z=9640
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=741

              ปุณโณวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=9641&Z=9745
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=754

              นันทโกวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=9746&Z=10190
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=766

              จูฬราหุโลวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10191&Z=10323
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=795

              ฉฉักกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10324&Z=10554
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=810

              สฬายตนวิภังคสูตร  
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10555&Z=10674
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=825

              นครวินเทยยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10675&Z=10782
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=832

              ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10783&Z=10911
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=837

              อินทริยภาวนาสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10912&Z=11073
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=853
ความคิดเห็นที่ 9
GravityOfLove, 17 มีนาคม เวลา 23:16 น.

             คำถามอนาถปิณฑิโกวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=9311&Z=9524

             อนาถปิณฑิกคฤหบดีกล่าวว่า ที่ร้องไห้เพราะไม่เคยฟังธรรมนี้
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ธรรมนี้แสดงเฉพาะบรรพชิต ไม่แสดงแก่คฤหัสถ์
อนาถปิณฑิกคฤหบดีบอกว่า ถ้าอย่างนั้น ขอให้แสดงแก่คฤหัสถ์บ้าง
ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์จึงแสดงธรรมให้ฟังแล้วจากไป
             อนาถปิณฑิกคฤหบดีก็ได้ฟังธรรมนี้แล้วไม่ใช่หรือคะ จึงได้ร้องไห้
แล้วทำไมจึงขอให้แสดงธรรมอีก
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 10
ฐานาฐานะ, 17 มีนาคม เวลา 23:42 น.

GravityOfLove, 16 นาทีที่แล้ว
              คำถามอนาถปิณฑิโกวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=9311&Z=9524
...
11:16 PM 3/17/2014

              คำถามนี้ เนื่องมาจากข้อ  737
              [๗๓๗] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวแล้วอย่างนี้ อนาถบิณฑิกคฤหบดี
ร้องไห้ น้ำตาไหล ขณะนั้นท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีดังนี้
ว่า ดูกรคฤหบดี ท่านยังอาลัยใจจดใจจ่ออยู่หรือ ฯ
              อ. ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ กระผมมิได้อาลัย มิได้ใจจดใจจ่อ แต่
ว่ากระผมได้นั่งใกล้พระศาสดาและหมู่ภิกษุที่น่าเจริญใจมาแล้วนาน ไม่เคยได้สดับ
ธรรมีกถาเห็นปานนี้ ฯ
              อา. ดูกรคฤหบดี ธรรมีกถาเห็นปานนี้ มิได้แจ่มแจ้งแก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว
แต่แจ่มแจ้งแก่บรรพชิต ฯ
              อ. ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอธรรมีกถาเห็นปานนี้ จง
แจ่มแจ้งแก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาวบ้างเถิด เพราะมีกุลบุตรผู้เกิดมามีกิเลสธุลีในดวงตา
น้อย จะเสื่อมคลายจากธรรม จะเป็นผู้ไม่รู้ธรรม โดยมิได้สดับ ฯ
              ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์กล่าวสอนอนาถบิณฑิก
คฤหบดีด้วยโอวาทนี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะหลีกไป ฯ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=9311&Z=9524

              นัยว่า
              อนาถปิณฑิกคฤหบดีกล่าวว่า ที่ร้องไห้เพราะไม่เคยฟังธรรมนี้
              ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ธรรมนี้แสดงเฉพาะบรรพชิต ไม่แสดงแก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว
              อนาถปิณฑิกคฤหบดีกล่าวว่า ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอธรรมีกถาเห็นปานนี้
จงแจ่มแจ้งแก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาวบ้างเถิด เพราะมีกุลบุตรผู้เกิดมามีกิเลสธุลีในดวงตาน้อย
จะเสื่อมคลายจากธรรม จะเป็นผู้ไม่รู้ธรรม โดยมิได้สดับ ฯ
              คือ ขอให้แสดงเป็นการทั่วไปแก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาวด้วย คือคฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาวผู้อื่น
ที่ไม่ใช่แก่ตน (อนาถปิณฑิกคฤหบดี) เท่านั้น เพื่อว่า กุลบุตรที่มีกิเลสน้อย อาจจะบรรลุธรรมได้.
<<<
              ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์กล่าวสอนอนาถบิณฑิก
คฤหบดีด้วยโอวาทนี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะหลีกไป ฯ
              นัยว่า ด้วยอาการเช่นนี้ ก็แสดงว่า ท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดีเลื่อมใสในธรรมีกถา
หรือโอวาทนี้ ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวสอน เช่นอธิบายความหมายให้
ชัดเจนยิ่งขึ้นในธรรมีกถาบทนี้.

ความคิดเห็นที่ 11
GravityOfLove, 17 มีนาคม เวลา 23:52 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 12
GravityOfLove, 18 มีนาคม เวลา 00:07 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค
             ๔๓. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร ว่าด้วยการให้โอวาทแก่อนาถบิณฑิกคฤหบดี
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9311&Z=9524&bgc=whitesmoke&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             สมัยนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดี ป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก
จึงส่งคนไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ และไปอาราธนา
ท่านพระสารีบุตรไปยังที่อยู่ของตน เพื่อเป็นการอนุเคราะห์
             ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ แล้วไปยังที่อยู่ของ
อนาถบิณฑิกคฤหบดี โดยมีท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ (ภิกษุผู้ติดตาม)
             ท่านพระสารีบุตรไต่ถามอนาถบิณฑิกคฤหบดีถึงอาการป่วย
             อนาถบิณฑิกคฤหบดีตอบว่า ตนทนไม่ไหว ทุกขเวทนามาก
โดยประการต่างๆ ไม่ทุเลาเลย
             ท่านพระสารีบุตรจึงแสดงธรรมให้ฟังว่า
             ๑. ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า
             เราจักไม่ยึดมั่นจักษุ และวิญญาณที่อาศัยจักษุจักไม่มีแก่เรา
             โสต ฆานะ ชิวหา กาย มโน กล่าวทำนองเดียวกัน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อายตนะภายใน_6

             ๒. ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า
             เราจักไม่ยึดมั่นรูป และวิญญาณที่อาศัยรูปจักไม่มีแก่เรา
             เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ กล่าวทำนองเดียวกัน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อายตนะภายนอก_6

             ๓. ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า
             เราจักไม่ยึดมั่นจักษุวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยจักษุวิญญาณจักไม่มีแก่เรา
             โสต ฆานะ ชิวหา กาย มโน กล่าวทำนองเดียวกัน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิญญาณ_6

             ๔. ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า
             เราจักไม่ยึดมั่นจักษุสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยจักษุสัมผัสจักไม่มีแก่เรา
             โสต ฆานะ ชิวหา กาย มโน กล่าวทำนองเดียวกัน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ผัสสะ_6

             ๕. ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า
             เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่จักษุสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยเวทนา
เกิดแต่จักษุสัมผัสจักไม่มีแก่เรา
             โสต ฆานะ ชิวหา กาย มโน กล่าวทำนองเดียวกัน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=เวทนา_6

             ๖. ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า
             เราจักไม่ยึดมั่นปฐวีธาตุ และวิญญาณที่อาศัยปฐวีธาตุจักไม่มีแก่เรา
             อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ กล่าวทำนองเดียวกัน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ธาตุ

             ๗. ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า
             เราจักไม่ยึดมั่นรูป และวิญญาณที่อาศัยรูปจักไม่มีแก่เรา
             เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ กล่าวทำนองเดียวกัน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ขันธ์_5

             ๘. ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า
             เราจักไม่ยึดมั่นอากาสานัญจายตนฌาน และวิญญาณที่อาศัย
อากาสานัญจายตนฌานจักไม่มีแก่เรา
             วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
กล่าวทำนองเดียวกัน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อรูป_4

             ๙. ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า
             เราจักไม่ยึดมั่นโลกนี้ และวิญญาณที่อาศัยโลกนี้จักไม่มีแก่เรา
             เราจักไม่ยึดมั่นโลกหน้า และวิญญาณที่อาศัยโลกหน้าจักไม่มีแก่เรา

             ๑๐. ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า
             อารมณ์ใดที่เราได้เห็น ได้ฟัง ได้ทราบ ได้รู้แจ้ง ได้แสวงหา ได้พิจารณา
ด้วยใจแล้ว เราจักไม่ยึดมั่นอารมณ์แม้นั้น และวิญญาณที่อาศัยอารมณ์นั้น
จักไม่มีแก่เรา

             เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้ อนาถบิณฑิกคฤหบดีก็ร้องไห้ น้ำตาไหล
             ท่านพระอานนท์ถามว่า ท่านยังอาลัย ใจจดใจจ่ออยู่หรือ
             อนาถบิณฑิกคฤหบดีกล่าวว่า
             กระผมมิได้อาลัย มิได้ใจจดใจจ่อ แต่ว่ากระผมได้นั่งใกล้พระศาสดา
และหมู่ภิกษุที่น่าเจริญใจมาแล้วนาน ไม่เคยได้สดับธรรมีกถาเห็นปานนี้
(ตลอด ๒๔ ปีที่ผ่านมา ส่วนมากได้สดับทานกถา)
             ท่านพระอานนท์กล่าวว่า
             ธรรมีกถาเห็นปานนี้ มิได้แจ่มแจ้งแก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว
แต่แจ่มแจ้งแก่บรรพชิต
             อนาถบิณฑิกคฤหบดีกล่าวว่า
             ถ้าอย่างนั้น ขอธรรมีกถาเห็นปานนี้ จงแจ่มแจ้งแก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว
บ้างเถิด เพราะมีกุลบุตรผู้เกิดมามีกิเลสธุลีในดวงตาน้อย จะเสื่อมคลายจากธรรม
จะเป็นผู้ไม่รู้ธรรม ถ้าไม่ได้สดับ
             ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์กล่าวสอนอนาถบิณฑิกคฤหบดี
ด้วยโอวาทนี้แล้ว (เช่น อธิบายความหมายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น) จึงลุกจากอาสนะหลีกไป
             ต่อจากนั้นไม่นาน อนาถบิณฑิกคฤหบดีก็ถึงแก่กรรม แล้วไปบังเกิดที่ชั้นดุสิต
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สวรรค์_6

             ในเวลาล่วงปฐมยามไปแล้ว อนาถบิณฑิกเทพบุตรมีรัศมีงาม
ส่องพระวิหารเชตวันให้สว่างทั่ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาท
แล้วกราบทูลด้วยคาถา
              คาถานั้น ชมพระเชตวัน พระภิกษุสงฆ์ พระตถาคตเจ้า อริยมรรค
และท่านพระสารีบุตร
             อนาถบิณฑิกเทวบุตรกล่าวคาถานี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย
             เมื่ออนาถบิณฑิกเทวบุตรทราบว่า พระศาสดาทรงพอพระทัย จึงถวาย
ความเคารพ แล้วหายตัวไป
             พอรุ่งเช้า พระผู้มีพระภาคตรัสกับภิกษุทั้งหลายถึงเรื่องที่เทวบุตรตนหนึ่ง
มาเข้าเฝ้าพระองค์ แล้วกล่าวคาถา
             ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า เทวบุตรนั้น คงจะเป็นอนาถบิณฑิกเทวบุตร
เพราะอนาถบิณฑิกคฤหบดีเลื่อมใสในท่านพระสารีบุตร
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถูกแล้ว
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

[แก้ไขตาม #13]

ความคิดเห็นที่ 13
ฐานาฐานะ, 18 มีนาคม เวลา 23:48 น.

GravityOfLove, 9 นาทีที่แล้ว
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค
              ๔๓. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร ว่าด้วยการให้โอวาทแก่อนาถบิณฑิกคฤหบดี
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9311&Z=9524&bgc=whitesmoke&pagebreak=0
...
12:07 AM 3/18/2014

              ย่อความได้ดีครับ มีข้อติงเล็กน้อยดังนี้ :-
              สมัยนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดี ป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก
จึงส่งคนไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ กับส่งคนไปอาราธนา
ท่านพระสารีบุตรไปยังที่อยู่ของตน เพื่อเป็นการอนุเคราะห์
              ประโยคนี้เหมือนส่งคนไป 2 คน
              ควรใช้ว่า
              สมัยนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดี ป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก
จึงส่งคนไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ และไปอาราธนา
ท่านพระสารีบุตรไปยังที่อยู่ของตน เพื่อเป็นการอนุเคราะห์.

              วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
              เพิ่มเติมเป็น
              วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
กล่าวทำนองเดียวกัน

ความคิดเห็นที่ 14
ฐานาฐานะ, 18 มีนาคม เวลา 23:50 น.

             คำถามในอนาถปิณฑิโกวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9311&Z=9524

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. อนาถบิณฑิกคฤหบดี เป็นปุถุชนหรือพระอริยบุคคล
ถ้าเป็นพระอริยบุคคล เป็นพระอริยบุคคลชั้นอะไร?

ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 26 มีนาคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 18:50:25 น.
Counter : 604 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มีนาคม 2557

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
27
28
29
30
31
 
 
26 มีนาคม 2557
All Blog