24.8 พระสูตรหลักถัดไป คือเทวทหสูตร [พระสูตรที่ 1]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
24.7 พระสูตรหลักถัดไป คือเทวทหสูตร [พระสูตรที่ 1]

ความคิดเห็นที่ 7-84
ฐานาฐานะ, 4 ธันวาคม เวลา 22:26 น.

              อรรถกถาคณกโมคคัลลานสูตร
[บางส่วน]
              ได้ยินว่า พระขีณาสพองค์หนึ่งพาสามเณรขีณาสพองค์หนึ่งไปอยู่ป่า
ในการอยู่ป่านั้น เสนาสนะตกถึงพระมหาเถระ ไม่ถึงสามเณร.
              พระเถระวิตกถึงเรื่องนั้น ไม่อาจทำแนบสนิทผลสมาบัติได้แม้แต่วันเดียว.
              ส่วนสามเณรทำเวลาทั้ง ๓ เดือนให้ล่วงไปด้วยความยินดีในผลสมาบัติ
ถามพระเถระว่า ท่านขอรับ การอยู่ป่าเป็นความสบายหรือ? พระเถระกล่าวว่า
ไม่เกิดความสบายดอกเธอ.
              ดังนั้น เมื่อจะทรงแสดงว่า พระขีณาสพแม้เห็นปานนั้น อาจเข้าสมาบัติได้
โดยนึกถึงธรรมเหล่านี้ ตั้งแต่ตอนต้นทีเดียว จึงตรัสว่า สติสมฺปชญฺญาย จ ดังนี้.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=93

              นัยก็คือ การคำนึงถึงเสนาสนะนั้น เป็นอุปสรรคต่อการเข้าสมาบัติ
แม้แก่พระอรหันต์ กล่าวคืออารมณ์นั้นไม่เป็นที่สบายแก่กรรมฐานหรือสมาบัติ
นัยคล้ายๆ ปลิโพธ แต่กรณีของพระอรหันต์นั้น ไม่ใช่เพราะตัณหา
แต่เป็นอารมณ์ที่ไม่เป็นที่สบายแก่สมาบัติเท่านั้น.

              คำว่า ปลิโพธ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปลิโพธ

ความคิดเห็นที่ 7-85
GravityOfLove, 4 ธันวาคม เวลา 22:33 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 7-86
GravityOfLove, 4 ธันวาคม เวลา 22:41 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เทวทหวรรค
             ๗. คณกโมคคัลลานสูตร ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อคณกโมคคัลลานะ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1571&Z=1734&bgc=aliceblue&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา
มิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี
             ครั้งนั้น พราหมณ์คณกะ โมคคัลลานะ ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
             ตัวอย่างเช่นปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้ ย่อมปรากฏมีการศึกษา
โดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือกระทั่งโครงร่างของ
บันไดชั้นล่าง
             แม้พวกพราหมณ์เหล่านี้ แม้พวกนักรบเหล่านี้ แม้พวกข้าพเจ้า
ผู้เป็นนักคำนวณ ก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ
การปฏิบัติโดยลำดับ
             พระองค์อาจหรือหนอ  (พระองค์ทรงสามารถหรือไม่) เพื่อจะบัญญัติ
การศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ ในธรรมวินัย
แม้นี้ให้เหมือนอย่างนั้น
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             เราอาจบัญญัติการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติ
โดยลำดับ ในธรรมวินัยนี้ได้ (เราสามารถ)
             เปรียบเหมือนคนฝึกม้าผู้ฉลาด ได้ม้าอาชาไนยตัวงามแล้ว เริ่มต้น
ทีเดียวให้ทำสิ่งควรให้ทำในบังเหียน ต่อไปจึงให้ทำสิ่งที่ควรให้ทำยิ่งๆ ขึ้นไป
ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ตถาคตได้บุรุษที่ควรฝึกแล้วเริ่มต้น ย่อมแนะนำอย่างนี้ว่า
             ๑. เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร (ศีลเป็นใหญ่เป็นประธาน)
             ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่
             จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อาจาระ&detail=on#find2
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อาจาระ&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=โคจร

             ๒. ในเมื่อภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมในข้อ ๑ แล้ว ตถาคตย่อมแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปว่า
             เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย (อินทรียสังวร)
             เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรม
คือ อภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น) และโทมนัส (ความทุกข์ใจ)
ครอบงำนั้น ชื่อว่า รักษา ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
             ฟังเสียงด้วยโสต ...
             ดมกลิ่นด้วยฆานะ ...
             ลิ้มรสด้วยชิวหา ...
             ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
             รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรม
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่า รักษา ถึงความสำรวมในมนินทรีย์
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อินทรียสังวร

            ๓. ในเมื่อภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมในข้อ ๒ แล้ว ตถาคตย่อมแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปว่า
             เธอจงเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ (โภชเน มัตตัญญุตา) คือ
พึงบริโภคอาหารพิจารณาโดยแยบคายว่า เราบริโภคมิใช่เพื่อจะเล่น
มิใช่เพื่อจะมัวเมา มิใช่เพื่อจะประดับ มิใช่เพื่อจะตบแต่งร่างกายเลย
             บริโภคเพียงเพื่อร่างกายดำรงอยู่ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อบรรเทา
ความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์เท่านั้น
             ด้วยอุบายนี้ เราจะป้องกันเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น
และความเป็นไปแห่งชีวิต ความไม่มีโทษ ความอยู่สบายจักมีแก่เรา

             ๔. ในเมื่อภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมในข้อ ๓ ตถาคตย่อมแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปว่า
             เธอจงเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ (ชาคริยานุโยค) คือ
จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม (ธรรมทั้งหลายที่เป็นเครื่องขัดขวาง)
             ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดวัน
             ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี
             พึงเอาเท้าซ้อนเท้า มีสติรู้สึกตัวทำความสำคัญว่า จะลุกขึ้น ไว้ในใจ
แล้วสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวาตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี
             ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี
             คำว่า อินทรียสังวร, โภชเน มัตตัญญุตา, ชาคริยานุโยค
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อปัณณกปฏิปทา_3

             ๕. ในเมื่อภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมในข้อ ๔ แล้ว ตถาคตย่อมแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปว่า
             เธอจงเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ คือ ทำความรู้สึกตัว
ในเวลาก้าวไปและถอยกลับ ฯลฯ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ธรรมมีอุปการะมาก_2

             ๖. ในเมื่อภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมในข้อ ๕ แล้ว ตถาคตย่อมแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปว่า
             เธอจงพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า เป็นต้น กลับจากบิณฑบาต
ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า ละนิวรณ์ ๕
             สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน ถึงเข้าจตุตถฌาน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=นิวรณ์_5
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_4

             ในพวกภิกษุที่ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุพระอรหัตมรรค ยังปรารถนา
ธรรมที่เกษมจากโยคะอย่างหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้อยู่นั้น เราสอนเช่นนี้
             ส่วนสำหรับภิกษุพวกที่เป็นอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ
สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว (สังโยชน์ ๑๐) พ้นวิเศษแล้วเพราะผู้ชอบนั้น
             ธรรมเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่สบาย ในปัจจุบันและเพื่อ
สติสัมปชัญญะ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สังโยชน์_10

             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พราหมณ์คณกะ โมคคัลลานะทูลถามว่า
             สาวกของพระองค์ ที่พระองค์โอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ ย่อมยินดี
นิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน ทุกรูปทีเดียวหรือ หรือว่าบางพวกก็ไม่ยินดี
             ตรัสตอบว่า
             สาวกของเรา อันเราโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อย
ยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี
             ทูลถามว่า
             อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ในเมื่อนิพพานก็ยังดำรงอยู่ ทางให้ถึงนิพพาน
ก็ยังดำรงอยู่ พระองค์ผู้ชักชวนก็ยังดำรงอยู่ แต่ก็สาวกบางพวกเพียงส่วนน้อย
จึงยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี
             ตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้
             ท่านชำนาญทางไปเมืองราชคฤห์มิใช่หรือ
             ทูลตอบว่า แน่นอน พระเจ้าข้า
             ตรัสว่า
             บุรุษผู้ปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ เข้ามาถามทางท่าน
และท่านก็ได้บอกทางแก่เขาไป
             บุรุษนั้นอันท่านแนะนำพร่ำสั่งอยู่อย่างนี้ กลับจำทางผิด
             ต่อมา บุรุษคนที่สองปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ มาถามทางท่านเช่นกัน
และท่านได้บอกทางแก่เขาไปเหมือนที่บอกบุรุษคนแรก
             บุรุษนั้นอันท่านแนะนำพร่ำสั่งอยู่อย่างนี้ ไปถึงเมืองราชคฤห์โดยสวัสดี
             ดูกรพราหมณ์ อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ในเมื่อเมืองราชคฤห์ก็ดำรงอยู่
ทางไปเมืองราชคฤห์ก็ดำรงอยู่ ท่านผู้ชี้แจงก็ดำรงอยู่
             แต่ก็บุรุษอันท่านแนะนำพร่ำสั่งอย่างนี้ คนหนึ่งจำทางผิด
ส่วนอีกคนหนึ่งไปถึงเมืองราชคฤห์ได้โดยสวัสดี
             ทูลตอบว่า
             ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าจะทำอย่างไรได้ ข้าพเจ้าเป็นแต่ผู้บอกทาง
             ตรัสว่า
             ฉันนั้นเหมือนกัน ในเมื่อนิพพานก็ดำรงอยู่ ทางไปนิพพานก็ดำรงอยู่
เราผู้ชักชวนก็ดำรงอยู่
             แต่ก็สาวกของเราอันเราโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อย
ยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี
             ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรได้ ตถาคตเป็นแต่ผู้บอกหนทางให้
             พราหมณ์คณกะ โมคคัลลานะทูลว่า
             บุคคลจำพวกที่ไม่มีศรัทธา ประสงค์จะเลี้ยงชีวิต ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้โอ้อวด มีมายา เป็นต้น พระองค์ย่อมไม่อยู่ร่วมกับพวกนั้น
             ส่วนพวกกุลบุตรที่มีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่โอ้อวด
ไม่มีมายา เป็นต้น พระองค์ย่อมอยู่ร่วมกับกุลบุตรพวกนั้น
             เปรียบเหมือนบรรดาไม้ที่มีรากหอม เขากล่าวกฤษณาว่าเป็นเลิศ
             บรรดาไม้ที่มีแก่นหอม เขากล่าวแก่นจันทน์แดงว่าเป็นเลิศ
             บรรดาไม้ที่มีดอกหอม เขากล่าวดอกมะลิว่าเป็นเลิศฉันใด
             โอวาทของพระองค์ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บัณฑิตกล่าวได้ว่า
เป็นเลิศในบรรดาธรรมของครูอย่างแพะที่นับว่าเยี่ยม (ธรรมของครูทั้ง ๖)
             พระองค์ทรงแสดงธรรม เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ ฯลฯ
             ข้าพระองค์ขอถึงพระองค์ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
             ขอพระองค์ จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ครูทั้ง_๖

ความคิดเห็นที่ 7-87
ฐานาฐานะ, 5 ธันวาคม เวลา 19:15 น.

GravityOfLove, 1 นาทีที่แล้ว
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เทวทหวรรค
              ๗. คณกโมคคัลลานสูตร ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อคณกโมคคัลลานะ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1571&Z=1734&bgc=aliceblue&pagebreak=0
...
10:41 PM 12/4/2013

              ย่อความได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 7-88
ฐานาฐานะ, 5 ธันวาคม เวลา 19:19 น.

             คำถามในคณกโมคคัลลานสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1571&Z=1734

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. ที่พราหมณ์คณกะ โมคคัลลานะทูลว่า
             ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เปรียบเหมือนบรรดาไม้ที่มีรากหอม
เขากล่าวกฤษณาว่าเป็นเลิศ บรรดาไม้ที่มีแก่นหอม เขากล่าวแก่นจันทน์แดง
ว่าเป็นเลิศ บรรดาไม้ที่มีดอกหอม เขากล่าวดอกมะลิว่าเป็นเลิศ ฉันใด
โอวาทของพระโคดมผู้เจริญ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
             คำเหล่านี้ คือ
              เปรียบเหมือนบรรดาไม้ที่มีรากหอม เขากล่าวกฤษณาว่าเป็นเลิศ
              บรรดาไม้ที่มีแก่นหอม เขากล่าวแก่นจันทน์แดงว่าเป็นเลิศ
              บรรดาไม้ที่มีดอกหอม เขากล่าวดอกมะลิว่าเป็นเลิศ
             เป็นจริงหรือไม่? ยกข้ออ้างอิงด้วย.

ความคิดเห็นที่ 7-89
GravityOfLove, 5 ธันวาคม เวลา 22:34 น.

             ตอบคำถามในคณกโมคคัลลานสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1571&Z=1734

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. การศึกษา และการปฏิบัติเป็นไปโดยลําดับในธรรมวินัยนี้
             ๒. ในพวกภิกษุที่ยังเป็นเสขะ พระองค์ทรงสอนตามลำดับเช่นนี้
             ส่วนภิกษุที่เป็นอรหันตขีณาสพแล้ว ธรรมเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความอยู่สบาย ในปัจจุบันและเพื่อสติสัมปชัญญะ
             ๓. สาวกของพระผู้มีพระภาคอันพระองค์ทรงโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้
บางพวกเพียงส่วนน้อยยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี
             ๔. ตถาคตเป็นแต่ผู้บอกหนทางให้
-------------------------------
             2. ...  เป็นจริงหรือไม่? ยกข้ออ้างอิงด้วย.
             - เปรียบเหมือนบรรดาไม้ที่มีรากหอม เขากล่าวกฤษณาว่าเป็นเลิศ
             ตอบว่า มีส่วนจริง เพราะการเกิดกลิ่นหอมในไม้กฤษณา จะเกิดได้ทั้งในราก
ลำต้น กิ่งแขนง เอาไปทำน้ำหอม แต่เลิศหรือเปล่า หาไม่เจอค่ะ
//www.dnp.go.th/pattani_botany/พันธุ์ไม้/ไม้เอนกประสงค์/กฤษณา/กฤษณา.htm

             - บรรดาไม้ที่มีแก่นหอม เขากล่าวแก่นจันทน์แดงว่าเป็นเลิศ
             ตอบว่า หาอ้างอิงไม่เจอค่ะว่า ส่วนที่หอมคือ แก่น และไม่เจอว่า เป็นเลิศหรือไม่
             ไม้หอมแซนดัลวูด หรือคนไทยนิยมเรียกต้นแก่นจันทร์
//www.sandalwood.9nha.com/4.html

             - บรรดาไม้ที่มีดอกหอม เขากล่าวดอกมะลิว่าเป็นเลิศ
             ตอบว่า จากประสบการณ์ตรงก็ทราบว่า มะลิ มีกลิ่นหอม ยังมีการทำน้ำหอมกลิ่นมะลิ
แต่นอกจากกลิ่นมะลิ ก็ยังมีกลิ่นอื่นๆ เช่น กลิ่นกุหลาบ กลิ่นสะเลเต
             หาอ้างอิงไม่เจอไม่ว่า กลิ่นดอกมะลิหอมเป็นเลิศ
             “มะลิ” เป็นต้นไม้ที่ดอกมีเสน่ห์จากสีขาวบริสุทธิ์ อีกทั้งยังมีกลิ่นหอม
//www.technologychaoban.com/news_detail.php?tnid=481ion=6

ความคิดเห็นที่ 7-90
ฐานาฐานะ, 6 ธันวาคม เวลา 08:57 น.

GravityOfLove, 9 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในคณกโมคคัลลานสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1571&Z=1734

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ...
             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             2. ...  เป็นจริงหรือไม่? ยกข้ออ้างอิงด้วย.
             ...
             เฉลยว่า เป็นจริงครับ
             สัญญาสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=17&A=3407&w=เลิศกว่า
             มูลคันธสูตรเป็นต้น
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=1518&Z=1535
             อัปปมาทสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=24&A=567&w=กลิ่นหอม

ความคิดเห็นที่ 7-91
ฐานาฐานะ, 6 ธันวาคม เวลา 09:03 น.

             คำถามชุดที่ 2 ในคณกโมคคัลลานสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1571&Z=1734

             [๙๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ เราอาจบัญญัติการศึกษา
โดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ ในธรรมวินัยนี้ได้ ...

             คำว่า การศึกษาโดยลำดับ ในพระพุทธดำรัสข้างบนนี้
             นัยของการการศึกษาโดยลำดับนี้ คุณ GravityOfLove ได้เคยพบที่ใดบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 7-92
GravityOfLove, 6 ธันวาคม เวลา 13:41 น.

ขอบพระคุณค่ะ
เข้าใจไปว่า ให้อ้างอิงเอกสารวิชาการอื่นๆ ไม่ได้นึกถึงในพระไตรปิฎกเลย
--------------------
             ตอบคำถามชุดที่ ๒
             เคยได้พบที่
             ๑. พรหมายุสูตร
             [๖๐๓] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พรหมายุพราหมณ์เป็นบัณฑิต
ได้บรรลุธรรมตามลำดับธรรม ไม่เบียดเบียนเราให้ลำบากเพราะเหตุแห่งธรรมเลย พรหมายุ-
*พราหมณ์เป็นอุปปาติกะ (อนาคามี) จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=9195&Z=9483&pagebreak=0
             ๒. อนุปทสูตร
             [๑๕๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็น
บัณฑิต มีปัญญามาก มีปัญญากว้างขวาง มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาว่องไว มีปัญญา
เฉียบแหลม มีปัญญาทำลายกิเลส ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเห็นแจ้งธรรมตาม
ลำดับ
บทได้เพียงกึ่งเดือน ในการเห็นแจ้งธรรมตามลำดับบทของสารีบุตรนั้น เป็น
ดังต่อไปนี้ ฯ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=2324&Z=2444&pagebreak=0

ความคิดเห็นที่ 7-93
ฐานาฐานะ, 6 ธันวาคม เวลา 15:59 น.

GravityOfLove, 2 ชั่วโมงที่แล้ว
ขอบพระคุณค่ะ
เข้าใจไปว่า ให้อ้างอิงเอกสารวิชาการอื่นๆ ไม่ได้นึกถึงในพระไตรปิฎกเลย
...
1:40 PM 12/6/2013

             แปลกใจที่ไม่นึกถึงการอ้างอิงในพระไตรปิฎกเลย.
             คำตอบที่ตอบมานั้น ไม่ค่อยตรงนัก เพราะเป็นการบรรลุตามลำดับ
             เฉลยว่า คำว่า การศึกษาโดยลำดับ มาในพระสูตรหลักแล้ว คือกีฏาคิริสูตร
และในพระสูตรอื่นๆ.

             กีฏาคิริสูตร [บางส่วน]
             การตั้งอยู่ในอรหัตตผล
             [๒๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตตผล ด้วยการไปครั้งแรก
เท่านั้นหามิได้ แต่การตั้งอยู่ในอรหัตตผลนั้น ย่อมมีได้ ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำ
โดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การตั้งอยู่ ในอรหัตตผล ย่อมมีได้
ด้วยการศึกษาโดยลำดับ
ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับอย่างไร?
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในธรรมวินัยนี้ เกิดศรัทธาแล้วย่อมเข้าไปใกล้ เมื่อเข้าไปใกล้
ย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลง เมื่อเงี่ยโสตลงแล้วย่อมฟังธรรม ครั้นฟังธรรมย่อมทรงธรรมไว้
ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้แล้ว เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทน
ได้ซึ่งความพินิจ เมื่อธรรมทนความพินิจได้อยู่ ฉันทะย่อมเกิด เมื่อเกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ
ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร เมื่อมีตนส่งไปแล้ว
ย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งบรมสัจจะด้วยกาย และย่อมแทงตลอดเห็นแจ้งบรมสัจจะนั้นด้วยปัญญา.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาก็ดี การเข้าไปใกล้ก็ดี การนั่งใกล้ก็ดี การเงี่ยโสตลงก็ดี
การฟังธรรมก็ดี การทรงธรรมไว้ก็ดี ความพิจารณาเนื้อความก็ดี ธรรมอันทนได้ซึ่งความพินิจก็ดี
ฉันทะก็ดี อุตสาหะก็ดี การไตร่ตรองก็ดี การตั้งความเพียรก็ดี นั้นๆ ไม่ได้มีแล้ว เธอทั้งหลายย่อม
เป็นผู้ปฏิบัติพลาด ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติผิด
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษเหล่านี้ ได้หลีกไปจากธรรมวินัยนี้ ไกลเพียงไร.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=13&A=4188&w=การศึกษาโดยลำดับ

             ปหาราทสูตร [บางส่วน]
             พ. ดูกรปหาราทะ ในมหาสมุทรมีธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาสักเท่าไร
ที่พวกอสูรเห็นแล้วย่อมอภิรมย์ ฯ
             ป. มี ๘ ประการ พระเจ้าข้า ๘ ประการเป็นไฉน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
มหาสมุทรลาด ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ หาได้โกรกชันเหมือนเหวไม่
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่มหาสมุทรลาด ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ หาได้โกรกชัน
เหมือนเหวไม่ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๑ ในมหาสมุทร
ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ
...
             ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาสักเท่าไร
ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว จึงอภิรมย์อยู่ ฯ
             พ. มี ๘ ประการ ปหาราทะ ๘ ประการเป็นไฉน ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรลาด
ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่โกรกชันเหมือนเหว ฉันใด
             ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ
มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง ดูกรปหาราทะ ข้อที่ในธรรมวินัยนี้
มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมี
การบรรลุอรหัตผลโดยตรง นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๑
ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=4030&Z=4163

             อุโปสถสูตร [บางส่วน]
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการ
ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ ย่อมอภิรมย์ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทรลาด ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ หาได้โกรกชันเหมือนเหวไม่
ฉันใด ในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ
มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ในธรรมวินัยนี้ มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ
มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อัน
ไม่เคยมีมาประการที่ ๑ ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯลฯ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=4164&Z=4257

ความคิดเห็นที่ 7-94
GravityOfLove, 6 ธันวาคม เวลา 19:02 น.

ขอบพระคุณค่ะ
ตอบคำถามผิดเสียส่วนใหญ่เลย

ความคิดเห็นที่ 7-95
ฐานาฐานะ, 6 ธันวาคม เวลา 22:01 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า คณกโมคคัลลานสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1571&Z=1734

              พระสูตรหลักถัดไป คือโคปกโมคคัลลานสูตร [พระสูตรที่ 8].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
              โคปกโมคคัลลานสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1735&Z=1979
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=105

              มหาปุณณมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1980&Z=2186
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=120

              จูฬปุณณมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2187&Z=2323
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=130

ย้ายไปที



Create Date : 17 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 13:14:36 น.
Counter : 543 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog