26.10 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬสุญญตสูตร [พระสูตรที่ 21] การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก 26.9 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬสุญญตสูตร [พระสูตรที่ 21] ความคิดเห็นที่ 6-105 ความคิดเห็นที่ 6-106 GravityOfLove, 13 กุมภาพันธ์ เวลา 21:27 น. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สุญญตวรรค ๒๙. พาลบัณฑิตสูตร ว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=6312&Z=6749&bgc=whitesmoke&pagebreak=0 สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ลักษณะ เครื่องหมาย เครื่องอ้าง ว่าเป็นพาลของคนพาลมี ๓ อย่าง คือ คนพาลในโลกนี้ ๑. มักคิดความคิดที่ชั่ว (มโนทุจริต) ๒. มักพูดคำพูดที่ชั่ว (วจีทุจริต) ๓. มักทำการทำที่ชั่ว (กายทุจริต) //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ทุจริต_3 ถ้าคนพาลไม่ทำ ๓ ประการนี้ บัณฑิตพวกไหนจะรู้ได้ว่า ผู้นี้เป็นคนพาล เป็นอสัตบุรุษ เพราะคนพาลมักทำ ๓ ประการนี้ ฉะนั้นพวกบัณฑิตจึงรู้ได้ว่า นี่เป็นคนพาล เป็นอสัตบุรุษ คนพาลย่อมเสวยทุกข์โทมนัส ๓ อย่างในปัจจุบัน คือ ๑. ถ้าคนพาลนั่งในสภาก็ดี ริมถนนรถก็ดี ริมทางสามแพร่งก็ดี (ไม่ว่าอยู่ในที่ใดๆ) ถ้าชนในที่นั้นๆ พูดถ้อยคำที่พอเหมาะพอสมแก่เขา (โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล) ถ้าคนพาลมักผิดศีล ๕ คนพาลจะมีความรู้สึก อย่างนี้ว่า ปรกติเหล่านั้นมีอยู่ในเรา และเราก็ปรากฏในปรกติเหล่านั้น โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ๕ ประการ //84000.org/tipitaka/read/?10/79 //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ศีล_5 ๒. คนพาลเห็นราชาทั้งหลายจับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้ว สั่งลงกรรมกรณ์ ต่างๆ คือ โบยด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง ในขณะที่เห็นนั้น คนพาลจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า เพราะเหตุแห่งกรรมชั่ว ปานใด ราชาทั้งหลายจึงสั่งลงกรรมกรณ์เช่นนั้น ก็ปรกติเหล่านั้นมีอยู่ในเรา และเราก็ปรากฏในปรกติเหล่านั้นด้วย ถ้าแม้ราชาทั้งหลายรู้จักเรา ก็จะจับเราแล้ว สั่งลงกรรมกรณ์เช่นนั้น ๓. กรรมลามกที่คนพาลทำไว้ในก่อน คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ย่อมปกคลุม ครอบงำคนพาลผู้อยู่บนตั่ง หรือบนเตียง หรือนอนบนพื้นดิน (ไม่ว่าอยู่ในที่ใดๆ) คนพาลจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า เราไม่ได้ทำความดี ทำแต่ความชั่ว ละโลกนี้ไปแล้ว จะไปสู่คติของคนที่ไม่ได้ทำความดี คนพาลนั้นย่อมเศร้าโศก ลำบากใจ ถึงความหลงพร้อม คนพาลนั้น ประพฤติทุจริต ทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อันเป็นสถานที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจส่วนเดียว เพียงเท่านี้แม้จะเปรียบอุปมาจนถึงนรกเป็นทุกข์ ก็ไม่ใช่ง่ายนัก (ทุกข์ ๓ ประการนี้กับทุกข์ในนรกเปรียบเทียบกันไม่ได้) ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลขอให้พระองค์ทรงอุปมา พระผู้มีพระภาคตรัสถามและเหล่าภิกษุทูลตอบ มีใจความว่า เปรียบเหมือนโจรถูกลงโทษด้วยการแทงด้วยหอกแม้เพียงเล่มเดียว ก็เสวยทุกข์โทมนัสเหตุที่ถูกแทงนั้นได้ ป่วยการกล่าวถึงหอกตั้งสามร้อยเล่ม แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือ เปรียบเทียบภูเขาหลวงหิมพานต์แล้ว ย่อมไม่ถึงแม้ความนับ ย่อมไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ย่อมไม่ถึงแม้การเทียบกันได้ ฉันนั้นเหมือนกัน ทุกข์โทมนัสที่บุรุษถูกแทงด้วยหอกสามร้อยเล่ม เปรียบเทียบทุกข์ของนรกยังไม่ถึงแม้ความนับ ยังไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ยังไม่ถึงแม้การเทียบกันได้ ตรัสต่อไปว่า เหล่านายนิรยบาลจะลงโทษคนพาลประการต่างๆ เช่น ตรึงตะปูเหล็กแดง ฯลฯ โยนเข้าไปในมหานรก คนพาลนั้นจะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อยู่ในนรกนั้น และยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด เรากล่าวเรื่องนรกแม้โดยอเนกปริยายแล เพียงเท่านี้จะกล่าวให้ถึง กระทั่งนรกเป็นทุกข์ไม่ใช่ทำได้ง่าย คนพาลผู้กินอาหารด้วยความติดใจรสเบื้องต้นในโลกนี้ ทำกรรมลามกไว้ในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของ สัตว์เดียรัจฉานจำพวกมีหญ้าเป็นภักษา (เช่น ม้า โค ลา แพะ เนื้อ) สัตว์จำพวกมีคูถเป็นภักษา (เช่น ไก่ สุกร สุนัขบ้าน สุนัขป่า) สัตว์เดียรัจฉานจำพวกเกิดแก่ตายในที่มืด (เช่น ตั๊กแตน มอด ไส้เดือน) สัตว์เดียรัจฉานจำพวกเกิดแก่ตายในน้ำ (เช่น ปลา เต่า จระเข้) สัตว์เดียรัจฉานจำพวกเกิดแก่ตายในของโสโครก (เช่น ปลาเน่า ศพเน่า ขนมกุมมาสเก่า น้ำครำ หลุมโสโครก) เรากล่าวเรื่องกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานแม้โดยอเนกปริยาย เพียงเท่านี้จะกล่าว ให้ถึงกระทั่งกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานเป็นทุกข์ ไม่ใช่ทำได้ง่าย ความเป็นมนุษย์ที่คนพาลผู้ไปสู่วินิบาตคราวหนึ่งแล้วจะพึงได้ ยังยากกว่าเต่าตาบอดที่ล่วงไป ๑๐๐ ปีจะผุดขึ้นมาจะพึงเอาคอสวมเข้าที่ทุ่น ที่มีบ่วงตาเดียวลอยอยู่ในมหาสมุทร ฯลฯ นั่นเพราะเหตุไร เพราะในตัวคนพาลนี้ไม่มีความประพฤติธรรม (ในวินิบาตนั้น ไม่มีการประพฤติธรรม) มีแต่การกินกันเอง การเบียดเบียนคนอ่อนแอ คนพาลนั้น ถ้าจะมาสู่ความเป็นมนุษย์ในบางครั้งบางคราว ไม่ว่ากาลไหนๆ โดยล่วงระยะกาลนาน ก็ย่อมเกิดในสกุลต่ำ เช่น สกุลคนจัณฑาล อันเป็นสกุลคนจน และเขาจะมีผิวพรรณทราม น่าเกลียดชัง ร่างม่อต้อ มีโรคมาก เขาจะประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ครั้นแล้วเมื่อตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เหมือนเคราะห์ร้ายของนักเลงการพนันที่ต้องเสียลูกเมีย หรือสมบัติ เป็นต้น ซึ่งยังนับว่าเพียงเล็กน้อย ที่แท้เคราะห์ร้ายอันใหญ่หลวงกว่านั้น คือ เคราะห์ที่คนพาลนั้น ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต แล้วตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้ภูมิของคนพาลครบถ้วนบริบูรณ์ ลักษณะ เครื่องหมาย เครื่องอ้างว่าเป็นบัณฑิตของบัณฑิตนี้มี ๓ อย่าง คือ บัณฑิตในโลกนี้มักคิดความคิดที่ดี มักพูดคำพูดที่ดี มักทำการทำที่ดี (ตรงกันข้ามกับคนพาล) บัณฑิต ย่อมเสวยสุขโสมนัส ๓ อย่างในปัจจุบัน (ตรงกันข้ามกับคนพาล) อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ๕ ประการ //84000.org/tipitaka/read/?10/80 //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สุจริต_3 บัณฑิตนั้น ประพฤติสุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ อันเป็นสถานที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ส่วนเดียว เพียงเท่านี้แม้จะเปรียบอุปมาจนถึงสวรรค์เป็นสุข ก็ไม่ใช่ง่ายนัก ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลขอให้พระองค์ทรงอุปมา พระผู้มีพระภาคตรัสถามและเหล่าภิกษุทูลตอบ มีใจความว่า เปรียบเหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการ และความสัมฤทธิผล ๔ อย่าง จึงเสวยสุขโสมนัสอันมีสิ่งประกอบนั้นเป็นเหตุได้ แก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว มณีแก้ว นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้ว ความสัมฤทธิผล ๔ อย่าง คือ ๑. ทรงพระสิริโฉมงดงาม ๒. ทรงพระชนมายุยืน ๓. ทรงเป็นผู้มีพระโรคาพาธน้อย ๔. ทรงเป็นที่รักใคร่ของพราหมณ์และคฤหบดี และพราหมณ์และคฤหบดี ก็เป็นที่ทรงโปรดปรานของพระองค์ พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยแก้วแม้ประการหนึ่งๆ ก็ทรงเสวยสุขโสมนัส อันมีแก้วประการนั้นเป็นเหตุได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงแก้วทั้ง ๗ ประการ และ ความสัมฤทธิผลทั้ง ๔ อย่าง แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือ เปรียบเทียบภูเขาหลวงหิมพานต์แล้ว ย่อมไม่ถึงแม้ความนับ ย่อมไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ย่อมไม่ถึงแม้การเทียบกันได้ ฉันนั้นเหมือนกัน สุขโสมนัสที่พระเจ้าจักรพรรดิทรงเสวย ประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการและความสัมฤทธิผล ๔ อย่าง เปรียบเทียบสุข อันเป็นทิพย์แล้ว (สุขในโลกสวรรค์) ย่อมไม่ถึงแม้การนับ ย่อมไม่เข้าถึง แม้ส่วนแห่งเสี้ยว ย่อมไม่ถึงแม้การเทียบกันได้ ตรัสต่อไปว่า บัณฑิตนั้น ถ้ามาสู่ความเป็นมนุษย์ ในบางครั้งบางคราวไม่ว่ากาลไหนๆ โดยล่วงระยะกาลนาน ก็ย่อมเกิดในสกุลสูง เช่น สกุลกษัตริย์มหาศาล อันเป็นสกุลมั่งคั่ง และเขาจะเป็นผู้มีรูปงาม มีปรกติได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และเครื่องตามประทีป เขาจะประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ครั้นแล้วเมื่อตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เปรียบเหมือนนักเลงการพนัน เพราะฉวยเอาชัยชนะได้ประการแรกเท่านั้น จึงบรรลุโภคสมบัติมากมาย การฉวยเอาชัยชนะของนักเลงการพนันที่บรรลุโภคสมบัติมากมายได้นั้น เพียงเล็กน้อย ที่แท้การฉวยเอาชัยชนะใหญ่หลวงกว่านั้น คือ การฉวยเอาชัยชนะ ที่บัณฑิตนั้น ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต แล้วตายไปเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้ภูมิของบัณฑิตครบถ้วนบริบูรณ์ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค [แก้ไขตาม #6-107] ความคิดเห็นที่ 6-107 ฐานาฐานะ, วันเสาร์ เวลา 03:36 น. GravityOfLove, 49 นาทีที่แล้ว พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สุญญตวรรค ๒๙. พาลบัณฑิตสูตร ว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=6312&Z=6749&bgc=whitesmoke&pagebreak=0 9:26 PM 2/13/2014 ย่อความได้ดีครับ มีข้อติงเพื่อให้นัยครบถ้วนแม่นยำเพิ่มขึ้น ดังนี้ :- ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลขอให้พระองค์ทรงอุปมา พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบเหมือนโจรถูกลงโทษด้วยการแทงด้วยหอกแม้เพียงเล่มเดียว ก็เสวยทุกข์โทมนัสเหตุที่ถูกแทงนั้นได้ ป่วยการกล่าวถึงหอกตั้งสามร้อยเล่ม เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคตรัส หรือว่า พระภิกษุกราบทูล? ท้ายข้อ 473 - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - ความเป็นมนุษย์ที่คนพาลผู้ไปสู่วินิบาตคราวหนึ่งแล้วจะพึงได้ ยังยากกว่าเต่าตาบอดจะพึงเอาคอสวมเข้าที่ทุ่นมีบ่วงตาเดียว ฯลฯ ควรกำหนดเนื้อความ 100 ปีและทุ่นนั้นลอยอยู่ในมหาสมุทรด้วย เนื่องจาก 100 ปีแสดงถึงระยะเวลานานต่อหนึ่งครั้งของการผุดขึ้น และในมหาสมุทรแสดงถึงความกว้างใหญ่ของบริเวณ อันทำให้ยาก ต่อการเอาคอสวมเข้าที่ทุ่นที่มีบ่วงตาเดียวนั้น ดังนี้ :- ความเป็นมนุษย์ที่คนพาลผู้ไปสู่วินิบาตคราวหนึ่งแล้วจะพึงได้ ยังยากกว่าเต่าตาบอดที่ล่วงไป 100 ปีจะผุดขึ้นมาจะพึงเอาคอสวมเข้าที่ทุ่น ที่มีบ่วงตาเดียวลอยอยู่ในมหาสมุทร ฯลฯ - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยแก้วแม้ประการหนึ่งๆ ก็ทรงเสวยสุขโสมนัส อันมีแก้วประการนั้นเป็นเหตุได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงแก้วทั้ง ๗ ประการ และ ความสัมฤทธิผลทั้ง ๔ อย่าง เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคตรัส หรือว่า พระภิกษุกราบทูล? ท้ายข้อ 500 หากจะแสดงนัยว่า แก้วทั้ง ๗ ประการและความสัมฤทธิผลทั้ง ๔ อย่าง อันทำให้พระเจ้าจักรพรรดิพึงเสวยสุขโสมนัส เทียบไม่ได้กับสุขอันเป็นทิพย์ เหมือนดังแผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือ เทียบไม่ได้กับภูเขาหลวงหิมพานต์ ก็อาจสามารถข้ามนัยของแก้วประการหนึ่งๆ ไปก็ได้ เพราะเหตุว่า แก้วแม้ประการหนึ่งๆ นั้นแสดงถึงสุขโสมนัสที่เกิดขึ้น อันเป็นการยืนยันมั่นคงว่า แก้วทั้ง ๗ ประการและความสัมฤทธิผลทั้ง ๔ อย่างทำให้ได้เสวยสุขโสมนัสแน่นอน แต่ว่า ถึงแม้จะประกอบทั้ง 7 ประการ ฯ ก็ยังเทียบไม่ได้กับสุขอันเป็นทิพย์เลย. นัยนี้ (การข้าม) รวมถึงหอกแม้เพียงเล่มเดียวด้วย. ความคิดเห็นที่ 6-108 GravityOfLove, วันเสาร์ เวลา 04:59 น. ขอบพระคุณค่ะ ความคิดเห็นที่ 6-109 ฐานาฐานะ, วันเสาร์ เวลา 13:32 น. คำถามในพาลบัณฑิตสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=6312&Z=6749 เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง? ความคิดเห็นที่ 6-110 GravityOfLove, วันเสาร์ เวลา 20:11 น. ตอบคำถามในพาลบัณฑิตสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=6312&Z=6749 ๑. ลักษณะของคนพาลและบัณฑิต ๒. จะรู้ได้อย่างไรว่าคนนี้เป็นพาลหรือบัณฑิต ๓. ทุกข์โทมนัสที่คนพาลจะได้รับในปัจจุบันและคติของคนพาล สุขโสมนัสที่บัณฑิตจะได้รับในปัจจุบันและคติของบัณฑิต ๔. พระผู้มีพระภาคทรงอุปมาทุกข์โทมนัสในนรกและสุขโสมนัสในสวรรค์ ความคิดเห็นที่ 6-111 ฐานาฐานะ, วันเสาร์ เวลา 20:38 น. GravityOfLove, 17 นาทีที่แล้ว ตอบคำถามในพาลบัณฑิตสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=6312&Z=6749 ... 8:11 PM 2/15/2014 ตอบคำถามได้ดีครับ. ควรเพิ่มเติมนัยว่า ทุกข์โทมนัสของมนุษย์นั้น เมื่อเทียบกับทุกข์ในนรก ทุกข์โทมนัสของมนุษย์เป็นของเล็กน้อย สุขโสมนัสของมนุษย์นั้น เช่นพระเจ้าจักรพรรดิผู้มีสุขโสมนัสอันประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการ และความสัมฤทธิผล ๔ อย่าง เมื่อเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์แล้ว สุขโสมนัสของมนุษย์นั้นเป็นของเล็กน้อย. ความคิดเห็นที่ 6-112 GravityOfLove, วันเสาร์ เวลา 20:41 น. ขอบพระคุณค่ะ ความคิดเห็นที่ 6-113 ฐานาฐานะ, วันเสาร์ เวลา 21:40 น. เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า พาลบัณฑิตสูตร จบบริบูรณ์. //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=6312&Z=6749 พระสูตรหลักถัดไป คือเทวทูตสูตร [พระสูตรที่ 30]. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ เทวทูตสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=6750&Z=7030 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=504 ภัทเทกรัตตสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7031&Z=7114 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=526 อานันทภัทเทกรัตตสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7115&Z=7222 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=535 มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7223&Z=7493 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=548 โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7494&Z=7622 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=565 จูฬกัมมวิภังคสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7623&Z=7798 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=579 มหากัมมวิภังคสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7799&Z=8027 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=598 ความคิดเห็นที่ 6-114 GravityOfLove, วันอาทิตย์ เวลา 20:57 น. คำถามเทวทูตสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=6750&Z=7030 กรุณาอธิบายค่ะ ก็ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง เมื่อเรียนพระสูตรนี้ กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ เมื่อสัตว์นรกเสวยทุกข์เท่านี้แล้ว นายนิรยบาลยังโยนเขาไปในมหานรกอีกหรือ. ภิกษุกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ อุทเทสจงยกไว้ ท่านจงบอกกัมมัฏฐานแก่กระผม ให้พระเถระบอกกัมมัฏฐานแล้ว เป็นพระโสดาบัน อาศัยเรียนอุทเทส. ชนแม้เหล่าอื่นเว้นอุทเทสประเทศนี้บรรลุอรหัต ไม่มีจำนวน. ขอบพระคุณค่ะ ความคิดเห็นที่ 6-115 ฐานาฐานะ, เมื่อวานนี้ เวลา 13:36 น. กรุณาอธิบายค่ะ ก็ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง เมื่อเรียนพระสูตรนี้ กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ เมื่อสัตว์นรกเสวยทุกข์เท่านี้แล้ว นายนิรยบาลยังโยนเขาไปในมหานรกอีกหรือ. ภิกษุกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ อุทเทสจงยกไว้ ท่านจงบอกกัมมัฏฐานแก่กระผม ให้พระเถระบอกกัมมัฏฐานแล้ว เป็นพระโสดาบัน อาศัยเรียนอุทเทส. ชนแม้เหล่าอื่นเว้นอุทเทสประเทศนี้บรรลุอรหัต ไม่มีจำนวน. //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=504 อธิบายว่า น่าจะมีนัยว่า ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง เมื่อเรียนพระสูตรนี้แล้ว รู้ว่าสัตว์นรกได้รับความทุกข์ต่างๆ แล้ว แต่ยังไม่หมดกรรม ยังต้องถูกโยนเข้าไปในมหานรกอีก กล่าวคือ ทุกข์มากแล้ว ก็ยังไม่พ้นอีกหรือ? ภิกษุหนุ่มรูปนั้นจึงขอให้พระเถระบอกกรรมฐาน (เนื่องจากสังเวชในอกุศลวิบาก ใคร่จะพ้นไปเสีย) อุทเทสจงยกไว้ น่าจะหมายถึง รีบบอกกรรมฐานเถิด อุทเทสนี้ ผมเรียนแล้วจำดีแล้ว ขอให้บอกกรรมฐานเลย (จะได้เร็วขึ้น). อาศัยเรียนอุทเทส ชนแม้เหล่าอื่นเว้นอุทเทสประเทศนี้บรรลุอรหัต ไม่มีจำนวน. น่าจะหมายถึง ภิกษุรูปอื่นๆ ที่เรียนพระสูตรนี้แล้ว สังเวชในอกุศลวิบาก หวาดกลัวต่อทุกข์ในอบายเป็นต้น แล้วเร่งทำความเพียรแล้วบรรลุพระอรหัตมีมากมาย ที่ไม่ได้เรียนพระสูตรนี้ มีจำนวนน้อย. สันนิษฐานล้วน. ความคิดเห็นที่ 6-116 GravityOfLove, เมื่อวานนี้ เวลา 13:53 น. พอจะเข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ ย้ายไปที //www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1 |
แก้วมณีโชติรส
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() Group Blog
All Blog
Link |
||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |
เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ