26.6 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬสุญญตสูตร [พระสูตรที่ 21] การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก 26.5 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬสุญญตสูตร [พระสูตรที่ 21] ความคิดเห็นที่ 6-57 ความคิดเห็นที่ 6-58 ฐานาฐานะ, 5 กุมภาพันธ์ เวลา 19:57 น. GravityOfLove, 6 นาทีที่แล้ว ตอบคำถามในทันตภูมิสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5375&Z=5608 ... 7:21 PM 2/5/2014 ตอบคำถามได้ดีครับ ๒. พระผู้มีพระภาคทรงฝึกกุลบุตรเปรียบด้วยการฝึกช้าง อุปมาด้วยการฝึกช้างในพระสูตรนี้ ในพระสูตรอื่น เช่นภัททาลิสูตร และคณกโมคคัลลานสูตร อุปมาด้วยการฝึกม้า. คำถามว่า หากเมื่อผู้ฝึกม้าทำการฝึกม้าทั้งด้วยไม้อ่อนและไม้แข็ง (ทั้งละม่อมและรุนแรง) แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้ม้านั้นเป็นม้าที่ผ่านการฝึกด้วยดี ผู้ฝึกม้าก็จะทำการฆ่าม้านั้นเสีย. ในกรณีของการฝึกกุลบุตรของพระผู้มีพระภาค เมื่อทรงใช้วิธีทั้งละม่อม และรุนแรง ก็ไม่สามารถให้กุลบุตรนั้นเข้าถึงการฝึกฝนได้ คุณ GravityOfLove คิดว่า พระผู้มีพระภาคจะทรงทำอย่างไร? ภัททาลิสูตร //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=2962&Z=3252 คณกโมคคัลลานสูตร //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=1571&Z=1734 ความคิดเห็นที่ 6-59 GravityOfLove, 5 กุมภาพันธ์ เวลา 20:28 น. ทรงแสดงธรรมเทศนาเพื่อเป็นอุปนิสัยปัจจัยต่อไปในอนาคต คือแม้ว่า อัตภาพนี้จะไม่ได้อะไร แต่อัตภาพหน้าก็อาจจะพัฒนาขึ้นมาได้บ้าง เช่น ทรงแสดงแก่สัจจกนิครนถ์ เป็นต้น มหาสัจจกสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=7552&Z=7914 ความคิดเห็นที่ 6-60 ฐานาฐานะ, 5 กุมภาพันธ์ เวลา 20:36 น. GravityOfLove, 2 นาทีที่แล้ว ... 8:28 PM 2/5/2014 รับทราบครับ เฉลยว่า เกสีสูตร [บางส่วน] [๑๑๑] ครั้งนั้นแล สารถีผู้ฝึกม้าชื่อเกสี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า ดูกรเกสี ท่านอันใครๆ ก็รู้กันดีแล้วว่าเป็นสารถี ผู้ฝึกม้า ก็ท่านฝึกหัดม้าที่ควรฝึกอย่างไร สารถีผู้ฝึกม้าชื่อเกสีกราบทูลว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ฝึกหัดม้าที่ควรฝึกด้วยวิธีละม่อมบ้าง รุนแรงบ้าง ทั้งละม่อมทั้งรุนแรงบ้าง ฯ พ. ดูกรเกสี ถ้าม้าที่ควรฝึกของท่านไม่เข้าถึงการฝึกหัดด้วยวิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง ท่านจะทำอย่างไรกะมัน ฯ เก. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าม้าที่ควรฝึกของข้าพระองค์ ไม่เข้าถึงการ ฝึกหัดด้วยวิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง ก็ฆ่ามันเสียเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่าโทษมิใช่คุณอย่าได้มีแก่สกุลอาจารย์ของเราเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคเป็นสารถีฝึกบุรุษชั้นเยี่ยม ก็พระผู้มีพระภาค ทรงฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างไร ฯ ... เก. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุรุษที่ควรฝึกของพระองค์ไม่เข้าถึงการฝึก ด้วยวิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง พระผู้มีพระภาค จะทำอย่างไรกะเขา ฯ พ. ดูกรเกสี ถ้าบุรุษที่ควรฝึกของเราไม่เข้าถึงการฝึกด้วยวิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง เราก็ฆ่าเขาเสียเลย ฯ เก. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปาณาติบาตไม่สมควรแก่พระผู้มีพระภาคเลย ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ไฉนพระผู้มีพระภาคจึงตรัสอย่างนี้ว่า ฆ่าเขาเสีย ฯ พ. จริง เกสี ปาณาติบาตไม่สมควรแก่ตถาคต ก็แต่ว่าบุรุษที่ควร ฝึกใด ย่อมไม่เข้าถึงการฝึกด้วยวิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อม ทั้งรุนแรง ตถาคตไม่สำคัญบุรุษที่ควรฝึกนั้นว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน แม้ พรหมจารีผู้เป็นวิญญูชนก็ย่อมไม่สำคัญว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน ดูกรเกสี ข้อที่ตถาคต ไม่สำคัญบุรุษที่ควรฝึกว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน แม้สพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลายก็ไม่สำคัญว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน นี้เป็นการฆ่าอย่างดี ในวินัยของพระอริยะ ฯ //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=3060&Z=3112 ความคิดเห็นที่ 6-61 GravityOfLove, 5 กุมภาพันธ์ เวลา 20:51 น. ตามเกสีสูตร จะทรงไม่สั่งสอนใช่ไหมคะ ความคิดเห็นที่ 6-62 ฐานาฐานะ, 5 กุมภาพันธ์ เวลา 21:00 น. ตอบว่า สันนิษฐานว่า ถ้าไม่สามารถสั่งสอนได้ กล่าวคือ ผู้นั้นไม่มีแก่นสาร ไม่มีความเพียร ก็ไม่ทรงสั่งสอน. หากจะถามว่า ทำไม หรือเพราะอะไร? ผมคาดคะเนตามความเห็นของผมว่า เหนื่อยเปล่า เสียเวลาเปล่า เช่นการพยายามสั่งสอนแมว หรือสุนัขเป็นต้น ให้เข้าใจพระสูตรอย่างลึกซึ้ง ก็ประมาณนั้น คือเหนื่อยเปล่า เสียเวลาเปล่า. สันนิษฐานล้วน. การที่พระตถาคตไม่ทรงว่ากล่าว สั่งสอน หรือแม้สพรหมจารี ผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลายไม่ว่ากล่าว สั่งสอน คล้ายคำว่าอะไรหนอ? ความคิดเห็นที่ 6-63 GravityOfLove, 5 กุมภาพันธ์ เวลา 21:07 น. พรหมทัณฑ์ค่ะ //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=พรหมทัณฑ์ ความคิดเห็นที่ 6-64 ฐานาฐานะ, 5 กุมภาพันธ์ เวลา 21:13 น. พรหมทัณฑ์ ถูกต้องครับ พรหมทัณฑ์หรือการที่บัณฑิตไม่ว่ากล่าว สั่งสอน เป็นสิ่งที่น่ากลัว น่ายำเกรงสำหรับผู้หวังความเจริญในแนวทาง ของบัณฑิต. ความคิดเห็นที่ 6-65 ฐานาฐานะ, 5 กุมภาพันธ์ เวลา 21:16 น. เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ทันตภูมิสูตร จบบริบูรณ์. //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5375&Z=5608 พระสูตรหลักถัดไป คือภูมิชสูตร [พระสูตรที่ 26]. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ภูมิชสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5609&Z=5818 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=405 อนุรุทธสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5819&Z=6016 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=420 อุปักกิเลสสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=6017&Z=6311 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=439 พาลบัณฑิตสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=6312&Z=6749 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=467 เทวทูตสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=6750&Z=7030 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=504 ความคิดเห็นที่ 6-66 GravityOfLove, 5 กุมภาพันธ์ เวลา 21:35 น. คำถามภูมิชสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5609&Z=5818 กรุณาอธิบายค่ะ แปลว่าอะไรคะ ช. ถ้าศาสดาของท่านภูมิชะมีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ บอกไว้ อย่างนี้ ศาสดาของท่านภูมิชะ ชะรอยจะดำรงอยู่เหนือหัวของสมณพราหมณ์ จำนวนมากทั้งมวลโดยแท้ ฯ ขอบพระคุณค่ะ ความคิดเห็นที่ 6-67 ฐานาฐานะ, 6 กุมภาพันธ์ เวลา 16:17 น. น่าจะเป็นคำสรรเสริญครับ พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ ชยเสนราชกุมารตรัสว่า ถ้าพระศาสดาของท่านพระภูมิชะมีวาทะอย่างนี้ มี ทิฏฐิอย่างนี้ ตรัสสอนไว้อย่างนี้ พระศาสดาของท่านพระภูมิชะ ชะรอยจะมีความรู้ เหนือสมณพราหมณ์ทั้งปวงแน่แท้ //www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd14-3.htm ความคิดเห็นที่ 6-68 GravityOfLove, 6 กุมภาพันธ์ เวลา 19:28 น. ขอบพระคุณค่ะ ย้ายไปที //www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1 |
แก้วมณีโชติรส
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() Group Blog
All Blog
Link |
||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |
ตอบคำถามในทันตภูมิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5375&Z=5608
เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
๑. ผู้ที่ยังอยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกรุมเร้า
ถูกความเร่าร้อนเพราะกามแผดเผา ยังขวนขวายในการแสวงหากามอยู่
เป็นไปไม่ได้ที่จะรู้ เห็น หรือทำให้แจ้งเอกัคคตาแห่งจิตที่บุคคลพึงรู้ พึงเห็น
พึงบรรลุ พึงทำให้แจ้ง ด้วยเนกขัมมะ
๒. พระผู้มีพระภาคทรงฝึกกุลบุตรเปรียบด้วยการฝึกช้าง