26.5 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬสุญญตสูตร [พระสูตรที่ 21]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
26.4 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬสุญญตสูตร [พระสูตรที่ 21]

ความคิดเห็นที่ 6-46
ฐานาฐานะ, 3 กุมภาพันธ์ เวลา 21:08 น.

GravityOfLove, 27 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในพักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5282&Z=5374
...
8:33 PM 2/3/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             2. คำในอรรถกถาว่า
              ... ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า นาภิชานามิ อปสฺสยิตา.
             เป็นคำอธิบายข้อใดในพระสูตร?
             อธิบายข้อ [๓๘๓] ค่ะ
             ขอให้แสดงอ้างอิง และขยายความด้วย.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
             ก็แลพระสูตรนี้ ท่านสงเคราะห์เข้าในทุติยสังคหวาร.
             หมายความว่าอย่างไร?
             ไม่ทราบค่ะ
             ตอบว่า น่าจะหมายความว่า พระสูตรนี้มาในการสังคายนาครั้งที่ 2.
เพราะเหตุการณ์เกิดหลังจากการสังคายนาครั้งที่ 1.
             คำว่า สังคายนา
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สังคายนา

ความคิดเห็นที่ 6-47
GravityOfLove, 3 กุมภาพันธ์ เวลา 21:33 น.

             ... ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า นาภิชานามิ อปสฺสยิตา.
             เป็นคำอธิบายข้อใดในพระสูตร?
             อธิบายข้อ [๓๘๓] ค่ะ
             ขอให้แสดงอ้างอิง และขยายความด้วย.

//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=14&item=383&Roman=0

ความคิดเห็นที่ 6-48
ฐานาฐานะ, 3 กุมภาพันธ์ เวลา 21:48 น.

GravityOfLove, 12 นาทีที่แล้ว
             ... ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า นาภิชานามิ อปสฺสยิตา.
             เป็นคำอธิบายข้อใดในพระสูตร?
             อธิบายข้อ [๓๘๓] ค่ะ
             ขอให้แสดงอ้างอิง และขยายความด้วย.
             [๓๘๓]   อสีติ   เม   อาวุโส  วสฺสานิ  ปพฺพชิตสฺส  นาภิชานา
...
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=14&item=383&Roman=0
9:33 PM 2/3/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ ขอแสดงข้อสันนิษฐานดังนี้ :-
             และเพราะท่านถือการนั่งเป็นวัตรอย่างอุกฤษฏ์ และการอยู่ป่าเป็นวัตรอย่างอุกฤษฏ์ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า นาภิชานามิ อปสฺสยิตา.
สันนิษฐานว่า น่าจะอธิบายข้อ 383 ช่วงท้ายข้อ คือ
             นาภิชานามิ   เภสชฺชํ   ปริหริตา   ๒-   อนฺตมโส  หริตกีขณฺฑมฺปิ  ...
นาภิชานามิ     อปสฺเสนกํ    อปสยิตา ๓-    ...
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=14&item=383&Roman=0
เชิงอรรถ: ยุ. กมฺเม พฺยาปชฺชิตา ฯ ม. วิจาริตา ฯ   ม. อุปหริตา ฯ   ยุ. อปสฺเสตา ฯ   

ไม่รู้จักอิงพนัก ... ไม่รู้จักสำเร็จการนอน ฯ
             ศัพท์ว่า อปสฺเสน น่าจะแปลว่า พนักพิง .
             คำว่า อปัสเสนะ หรือ อปัสเสนธรรม 4 (ธรรมดุจพนักพิง, ธรรมเป็นที่อิงหรือพึ่งอาศัย ...)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ธรรมดุจพนักพิง&detail=on

ความคิดเห็นที่ 6-49
ฐานาฐานะ, 3 กุมภาพันธ์ เวลา 21:54 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5282&Z=5374

              พระสูตรหลักถัดไป คือทันตภูมิสูตร [พระสูตรที่ 25].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
              ทันตภูมิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5375&Z=5608
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=388

              ภูมิชสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5609&Z=5818
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=405

              อนุรุทธสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5819&Z=6016
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=420

              อุปักกิเลสสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=6017&Z=6311
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=439

              พาลบัณฑิตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=6312&Z=6749
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=467

              เทวทูตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=6750&Z=7030
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=504

ความคิดเห็นที่ 6-50
GravityOfLove, 3 กุมภาพันธ์ เวลา 21:55 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-51
GravityOfLove, 3 กุมภาพันธ์ เวลา 21:58 น.

             คำถามทันตภูมิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5375&Z=5608

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. [๓๙๘] ตถาคตจึงแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ...
เธอย่อมเข้าทุติยฌาน ... เข้าตติยฌาน ... ย่อมเข้าจตุตถฌาน
             ไม่มีปฐมฌานหรือคะ
             ๒. สมณุทเทสอจิรวตะทูลถามว่า อุปมา ๒ ข้อนี้
ตนจะอธิบายให้พระราชกุมารชยเสนะเข้าพระทัยได้อย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสอุปมา เปรียบเหมือนการฝึกช้าง นัยคือ
ตรัสตอบว่า สอนพระราชกุมารให้ปฏิบัติเป็นลำดับยิ่งๆ ขึ้นไป ใช่ไหมคะ
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-52
ฐานาฐานะ, 4 กุมภาพันธ์ เวลา 16:29 น.

GravityOfLove, 9 นาทีที่แล้ว
             คำถามทันตภูมิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5375&Z=5608
             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. [๓๙๘] ตถาคตจึงแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ...
เธอย่อมเข้าทุติยฌาน ... เข้าตติยฌาน ... ย่อมเข้าจตุตถฌาน
             ไม่มีปฐมฌานหรือคะ
             จากการตรวจสอบข้อ 398 ในพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย
ก็ไม่พบคำว่า ปฐมฌาน เหมือนกัน.
             เนื้อความก่อนถึงคำว่า ทุติยฌาน ก็เป็นเนื้อความนัยว่า
แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับกาย เวทนา จิต ธรรม อันสอดคล้อง
กับทุติยฌาน คือไม่มีวิตกไม่มีวิจาร.
             ทำให้สันนิษฐานว่า ปฐมฌาน อาจจะตรัสถึงในข้อ 396 โดยนัยว่า
             เธอครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง
ทำปัญญาให้ถอยกำลังนี้ได้แล้ว
- - - - - - - - - - - - - - - - -
             เมื่อเทียบเนื้อความ 14/396 และ 14/96-100
             ภิกษุคงบรรลุปฐมฌาน คงจะบรรลุปฐม เมื่อละนิวรณ์ ๕ ประการโดยนัย
กล่าวคือ ข้อ 396 ไม่ได้กล่าวถึงปฐมฌานอย่างชัดเจน แต่ข้อ 100 กล่าวชัดเจน.
//84000.org/tipitaka/read/?14/396
//84000.org/tipitaka/read/?14/95-100

             [๓๙๘] ตถาคตจึงแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจง
@๑. เหมือนข้อ ๙๕ ถึงข้อ ๙๙
เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับกาย จงเป็นผู้
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับเวทนา จงเป็น
ผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับจิต จงเป็นผู้พิจารณา
เห็นธรรมในธรรมอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับธรรม เธอย่อมเข้าทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ย่อมเป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ
มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ... ย่อมเข้าจตุตถฌาน
อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ฯ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5375&Z=5608#398

             พระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย เล่มที่ 14 ข้อ 398
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=14&item=398&Roman=0
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

             ๒. สมณุทเทสอจิรวตะทูลถามว่า อุปมา ๒ ข้อนี้
ตนจะอธิบายให้พระราชกุมารชยเสนะเข้าพระทัยได้อย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสอุปมา เปรียบเหมือนการฝึกช้าง นัยคือ
ตรัสตอบว่า สอนพระราชกุมารให้ปฏิบัติเป็นลำดับยิ่งๆ ขึ้นไป ใช่ไหมคะ
             ตอบว่า ไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น
             อุปมาดังกล่าวน่าจะเป็นการแสดงวิสัยของคนที่ไม่ได้ฝึกกับคนที่ฝึก
จะทำให้คนที่ไม่ได้ฝึก พอจะเข้าใจได้ว่า เพราะเราไม่ได้ฝึกนั่นเอง จึงไม่เข้าใจ
สิ่งที่คนที่ฝึกจะเข้าใจได้ จากนั้นแม้เขาไม่ได้ฝึก ไม่เห็นสิ่งที่คนฝึกเห็น
ก็จะไม่คัดค้าน เพราะเอาอุปมานั้นมาเทียบกับตนเอง.

ความคิดเห็นที่ 6-53
GravityOfLove, 4 กุมภาพันธ์ เวลา 22:10 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-54
GravityOfLove, 4 กุมภาพันธ์ เวลา 22:22 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สุญญตวรรค
             ๒๕. ทันตภูมิสูตร ว่าด้วยภูมิของผู้ได้รับการฝึกแล้ว
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5375&Z=5608&bgc=whitesmoke&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคยเป็น
สถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์
             สมัยนั้น สมณุทเทสอจิรวตะ (สามเณรชื่ออจิรวตะ) อยู่ในกระท่อมในป่า
ครั้งนั้น พระราชกุมารชยเสนะ (ราชบุตรของพระเจ้าพิมพิสาร) ทรงพระดำเนิน
ทอดพระชงฆ์เที่ยวเล่นไปโดยลำดับ เข้าไปหาสมณุทเทสอจิรวตะ แล้วรับสั่งว่า
             ท่านอัคคิเวสสนะ ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ พึงสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิตได้
(สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว)
             สมณุทเทสอจิรวตะทูลตอบว่า ข้อนั้นถูกต้องแล้ว
             พระราชกุมารชยเสนะตรัสขอให้แสดงธรรมตามที่ได้สดับ ตามที่ได้ศึกษามา
             สมณุทเทสอจิรวตะทูลว่า
             อาตมภาพไม่อาจจะแสดงธรรมแก่พระองค์ได้ เพราะถ้าพระองค์ไม่ทรง
ทราบอรรถ (ความหมาย) แห่งภาษิตของอาตมภาพได้ ข้อนั้นจะเป็นความยากลำบาก
ของอาตมภาพ
             พระราชกุมารชยเสนะตรัสว่า
             บางทีข้าพเจ้าจะพึงทราบอรรถแห่งภาษิตของท่านอัคคิเวสสนะได้
             สมณุทเทสอจิรวตะทูลว่า
             อาตมภาพจะแสดงธรรมตามที่ได้สดับ ตามที่ได้ศึกษามาแก่พระองค์
ถ้าพระองค์ทรงทราบอรรถแห่งภาษิตของอาตมภาพได้นั่นเป็นความดี
             ถ้าไม่ทรงทราบ ขอพระองค์พึงดำรงอยู่ในภาวะของพระองค์ตามที่
ควรเถิด อย่าได้ซักถามอาตมภาพในธรรมนั้นให้ยิ่งขึ้นไปเลย
             พระราชกุมารชยเสนะทรงรับคำ
             สมณุทเทสอจิรวตะจึงได้แสดงธรรมแก่พระราชกุมารชยเสนะ
             พระราชกุมารชยเสนะตรัสว่า
             ข้อที่ภิกษุไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ พึงสำเร็จ
เอกัคคตาแห่งจิต นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส
             แล้วทรงลุกขึ้นจากอาสนะเสด็จหลีกไป
             เมื่อพระราชกุมารชยเสนะเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน สมณุทเทสอจิรวตะ
จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้กราบทูลเรื่องราวเท่าที่ได้สนทนากับ
พระราชกุมารชยเสนะทั้งหมดนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             พระราชกุมารจะพึงได้ความข้อนั้น (ได้ประโยชน์) ในภาษิตของเธอนี้แต่ที่ไหน
ข้อที่ความข้อนั้นเขารู้ เขาเห็น เขาบรรลุ เขาทำให้แจ้งกันได้ด้วยเนกขัมมะ
(การออกจากกาม)
             แต่พระราชกุมารชยเสนะยังอยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกกิน
ถูกความเร่าร้อนเพราะกามเผา ยังขวนขวายในการแสวงหากาม จักทรงรู้
หรือจักทรงเห็น หรือจักทรงทำให้แจ้งความข้อนั้นได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้
             ๑. เปรียบเหมือนช้าง ม้า หรือโคที่เขาฝึกดีแล้ว จะเลียนเหตุการณ์ที่ฝึกแล้ว
สำเร็จภูมิที่ฝึกแล้วได้
             ส่วนตัวที่ไม่ได้ฝึก จะเลียนเหตุการณ์ที่ฝึกแล้ว สำเร็จภูมิที่ฝึกแล้ว ไม่ได้
             ๒. เปรียบเหมือนคนที่อยู่บนภูเขา ย่อมมองเห็นในสิ่งที่คนที่อยู่เชิงเขามองไม่เห็น
เพราะถูกภูเขากั้นไว้ ฉันใดฉันนั้นเหมือนกัน พระราชกุมารชยเสนะ ถูกกองอวิชชาใหญ่
ยิ่งกว่าภูเขาลูกนั้นกั้นไว้ บังไว้ ปิดไว้ คลุมไว้
             พระราชกุมารชยเสนะยังอยู่ท่ามกลางกาม ฯลฯ เขาทำให้แจ้งกันได้ด้วย
เนกขัมมะ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
              ถ้าอุปมา ๒ ข้อนี้จะพึงทำเธอให้แจ่มแจ้งแก่พระราชกุมารชยเสนะได้
พระราชกุมารชยเสนะจะพึงเลื่อมใสเธอ และเลื่อมใส
แล้วจะพึงทำอาการของบุคคลผู้เลื่อมใสต่อเธออย่างน่าอัศจรรย์
             สมณุทเทสอจิรวตะทูลว่า
             อุปมา ๒ ข้อนี้ จะทำข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งแก่พระราชกุมารชยเสนะ
(จะให้อธิบายให้พระราชกุมารเข้าใจ) ได้แต่ที่ไหน เพราะอุปมาอันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
ข้าพระองค์ไม่เคยได้สดับมาในก่อน เหมือนที่ได้สดับต่อพระผู้มีพระภาค
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             เปรียบเหมือนพระราชามหากษัตริย์ตรัสให้พรานผู้ชำนาญป่าช้าง
ไปจับช้างป่าออกมาสู่ที่กลางแจ้งได้
             ธรรมดาช้างป่าทั้งหลายยังห่วงถิ่นคือป่าช้างอยู่ ควาญช้างจึงต้องฝึกช้างป่า
แก้ไขปรกติของช้างป่าให้เป็นช้างบ้าน ฝึกยิ่งๆ ขึ้นไปตามลำดับ จนเป็นช้างที่
สมควรแก่พระราชา ฉันใด
             ฉันนั้นเหมือนกัน ตถาคตอุบัติในโลกนี้ ได้เป็นผู้ไกลจากกิเลส
รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ฯลฯ
             คฤหบดีก็ดี บุตรของคฤหบดีก็ดี ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้ว
ย่อมได้ความเชื่อในตถาคต ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพียงเท่านี้
เขาชื่อว่าเป็นอริยสาวก อยู่ในโอกาสอันว่างแล้ว
             ความจริง เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ยังห่วงถิ่น คือ กามคุณทั้ง ๕ อยู่
ตถาคตจึงแนะนำเธอนั้นให้ยิ่งขึ้นไปว่า
             เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร (ศีลเป็นใหญ่เป็นประธาน)
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด
             ตถาคตแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์
ทั้งหลาย ละนิวรณ์ ๕ ประการ
             เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกาย  เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต
เห็นธรรมในธรรม (สติปัฏฐาน ๔) เปรียบเหมือนควาญช้างฝึกช้างป่า
แก้ไขปรกติของช้างป่าให้เป็นช้างบ้าน
             สติปัฏฐาน ๔ นี้ ชื่อว่าเป็นหลักผูกใจของอริยสาวก เพื่อแก้ไขปรกติ
ชนิดอาศัยบ้าน (กามคุณ ๕) เพื่อบรรลุญายธรรม (ในที่นี้หมายถึงอริยมรรคมีองค์ ๘)
เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง
            ตถาคตแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า เธอจงเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับกาย
             จงเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับเวทนา
             จงเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับจิต
             จงเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับธรรม
             เธอย่อมเข้าทุติยฌาน เข้าตติยฌาน เข้าจตุตถฌาน
             เธอย่อมน้อมจิตไป บรรลุวิชชา ๓
             ภิกษุนั้นเป็นผู้อดทน คือ มีปรกติอดกลั้นต่อความหนาว ฯลฯ ต่อคำพูดที่กล่าวร้ายได้
             เธอเป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักขิณาทาน (ของทำบุญ)
ควรแก่การกระทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่างหาแห่งอื่นเปรียบมิได้
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิชชา_3
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=จรณะ_15
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กามคุณ_5
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อาจาระ&detail=on#find2
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อาจาระ&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=โคจร
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อินทรียสังวร
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=นิวรณ์_5
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สติปัฏฐาน_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_4

             ถ้าช้างหลวงแก่ ที่ไม่ได้ฝึก ล้มลง (ตาย) ก็ถึงความนับว่า
ช้างหลวงแก่ ล้มตายไปอย่างมิได้ฝึก
             ถ้าช้างหลวงปูนปานกลาง ที่ไม่ได้ฝึก ล้มลง ก็ถึงความนับว่า
ช้างหลวงปูนปานกลาง ล้มตายไปอย่างมิได้ฝึก
             ถ้าช้างหลวงปูนหนุ่มที่ไม่ได้ฝึก ล้มลง ก็ถึงความนับว่า
ช้างหลวงหนุ่ม ล้มตายไปอย่างมิได้ฝึก ฉันใด
             ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าภิกษุเถระ (ภิกษุมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป)
ยังไม่สิ้นอาสวะ ทำกาละลง ก็ถึงความนับว่า ภิกษุเถระทำกาละ ตายไปอย่างมิได้ฝึก
             ถ้าภิกษุมัชฌิมะ (ภิกษุผู้มีพรรษาครบ ๕ แล้ว แต่ยังไม่ถึง ๑๐ พรรษา)
ยังไม่สิ้นอาสวะ ทำกาละลง ก็ถึงความนับว่า ภิกษุมัชฌิมะทำกาละ ตายไปอย่างไม่ได้ฝึก
             ถ้าภิกษุนวกะ (ภิกษุมีพรรษายังไม่ครบ ๕) ยังไม่สิ้นอาสวะ ทำกาละลง
ก็ถึงความนับว่า ภิกษุนวกะ ทำกาละ ตายไปอย่างไม่ได้ฝึก
             ถ้าช้างหลวงแก่เป็นต้น ที่ฝึกดี หัดดีแล้ว ล้มลงก็ถึงความนับว่า
ช้างหลวงแก่ล้มตายไปอย่างฝึกแล้ว
             ถ้าภิกษุเถระเป็นต้น สิ้นอาสวะแล้ว ทำกาละลง ก็ถึงความนับว่า
ภิกษุเถระทำกาละ ตายอย่างฝึกแล้ว
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว สมณุทเทสอจิรวตะจึงชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

ความคิดเห็นที่ 6-55
ฐานาฐานะ, 5 กุมภาพันธ์ เวลา 16:18 น.

GravityOfLove, 7 นาทีที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สุญญตวรรค
             ๒๕. ทันตภูมิสูตร ว่าด้วยภูมิของผู้ได้รับการฝึกแล้ว
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5375&Z=5608&bgc=whitesmoke&pagebreak=0
...
10:22 PM 2/4/2014

             ย่อความได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 6-56
ฐานาฐานะ, 5 กุมภาพันธ์ เวลา 16:20 น.

              คำถามในทันตภูมิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5375&Z=5608

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?

ย้ายไปที
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 13:39:22 น.
Counter : 581 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



กุมภาพันธ์ 2557

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
 
 
19 กุมภาพันธ์ 2557
All Blog