24.5 พระสูตรหลักถัดไป คือเทวทหสูตร [พระสูตรที่ 1]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
24.4 พระสูตรหลักถัดไป คือเทวทหสูตร [พระสูตรที่ 1]

ความคิดเห็นที่ 7-49
GravityOfLove, 15 พฤศจิกายน 2556 เวลา 14:25 น.

ลิงค์ที่ประกอบคำตอบที่ให้ไว้ ได้อ่านหรือไม่หนอ?
ได้อ่านค่ะ แต่ลิงค์สุดท้าย คลิกดูเฉยๆ ไม่ได้อ่านแต่ละเรื่องค่ะ

ความคิดเห็นที่ 7-50
ฐานาฐานะ, 15 พฤศจิกายน 2556 เวลา 14:33 น.

GravityOfLove, 6 นาทีที่แล้ว
ลิงค์ที่ประกอบคำตอบที่ให้ไว้ ได้อ่านหรือไม่หนอ?
ได้อ่านค่ะ แต่ลิงค์สุดท้าย คลิกดูเฉยๆ ไม่ได้อ่านแต่ละเรื่องค่ะ
2:25 PM 11/15/2013

             รับทราบครับ.

ความคิดเห็นที่ 7-51
GravityOfLove, 15 พฤศจิกายน 2556 เวลา 14:20 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เทวทหวรรค
             ๔. สามคามสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=940&Z=1184&bgc=aliceblue&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่หมู่บ้านสามคาม ในสักกชนบท
             สมัยนั้น นิครนถ์ นาฏบุตรตายลงใหม่ๆ ที่เมืองปาวา เพราะการตายของ
นิครนถ์ นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์แตกกันเป็น ๒ พวก
             แม้สาวกของนิครนถ์ นาฏบุตรฝ่ายคฤหัสถ์ ผู้นุ่งขาวห่มขาว ก็เป็นผู้
เบื่อหน่าย มีใจถอยกลับในธรรมวินัยที่นิครนถ์นาฏบุตรกล่าวผิด ให้รู้ผิด ไม่ใช่
นำออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่ธรรมวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธให้รู้ทั่ว
เป็นสถูปที่พัง (มีศาสดาที่ตายแล้ว) ไม่เป็นที่พึ่งอาศัยได้
             ครั้งนั้น สมณุทเทสจุนทะ (น้องชายท่านพระสารีบุตร) จำพรรษาที่เมือง
ปาวาแล้วเข้าไปยังบ้านสามคาม หาท่านพระอานนท์ แล้วเล่าเรื่องดังกล่าวให้ฟัง
             ท่านพระอานนท์ (เป็นพระอุปัชฌาของท่านพระจุนทะ) เมื่อได้ฟังแล้ว
จึงกล่าวว่า
             เรื่องนี้ มีเค้าพอจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้ มาเถิด เราทั้ง ๒ จักเข้าเฝ้า
พระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาค
             สมณุทเทสจุนทะรับคำท่านพระอานนท์
             ท่านพระอานนท์และสมณุทเทสจุนทะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
             ครั้นแล้วท่านพระอานนท์ทูลเล่าเรื่องราวแด่พระผู้มีพระภาค แล้วทูลว่า
             ข้าพระองค์มีความดำริอย่างนี้ว่า สมัยเมื่อพระผู้มีพระภาคล่วงลับไป
ความวิวาทอย่าได้เกิดขึ้นในสงฆ์เลย
             ความวิวาทนั้นไม่เกื้อกูล ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ประโยชน์แก่ชนมาก ไม่เกื้อกูล
เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ธรรมเหล่าใด อันเราแสดงแล้ว
แก่เธอทั้งหลายด้วยความรู้ยิ่ง คือ
             สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
อริยมรรคมีองค์ ๘ ดูกรอานนท์
             เธอจะยังเห็นภิกษุของเรา แม้สองรูป มีวาทะต่างกันได้ในธรรมเหล่านี้หรือ
             ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า
             ข้าพระองค์ยังไม่เห็นภิกษุแม้สองรูป มีวาทะต่างกันในธรรมเหล่านี้
             แต่ก็มีได้ที่บุคคลทั้งหลายผู้อาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่นั้น พอพระผู้มีพระภาค
ล่วงลับไป จะพึงก่อวิวาทให้เกิดในสงฆ์ได้ เพราะเหตุอาชีวะอันยิ่ง1หรือปาติโมกข์อันยิ่ง2
             ความวิวาทนั้นไม่เกื้อกูล ฯลฯ
             ตรัสว่า ความวิวาทที่เกิดเพราะเหตุอาชีวะอันยิ่งหรือปาติโมกข์อันยิ่งนั้น
เล็กน้อย (เพราะเมื่อกล่าวตักเตือน ก็ละได้ง่าย)
             ส่วนความวิวาทอันเกิดในสงฆ์ ที่เกิดเพราะเหตุมรรคหรือปฏิปทา
(นั้นไม่เล็กน้อย) ความวิวาทนั้นไม่เกื้อกูล ฯลฯ
             (โยคีบุคคลทั้งหลายครั้นบรรลุอริยมรรคแล้วย่อมไม่วิวาทกันเพราะ
เรื่องอริยมรรคอีก ในที่นี้พระพุทธองค์ตรัสหมายเอาความวิวาทกันเพราะข้อวัตร
ปฏิบัติและปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นเท่านั้น)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โพธิปักขิยธรรม_37

มูลเหตุแห่งความวิวาท ๖ อย่าง
             (๑) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ มีความผูกโกรธ
             ภิกษุเช่นนี้ย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง แม้ในพระศาสดา
แม้ในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์อยู่ ทั้งไม่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา
             ย่อมก่อความวิวาทให้เกิดในสงฆ์ ซึ่งเป็นความวิวาทไม่เกื้อกูล ฯลฯ
             ถ้าหากพวกเธอพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเช่นนี้ในภายใน
(ในตนและบริษัทของตน) หรือในภายนอก (ในคนอื่นและบริษัทของคนอื่น)
พึงพยายามละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนั้นเสียในที่นั้น
             ถ้าพวกเธอพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเช่นนี้ในภายในหรือ
ในภายนอก พวกเธอพึงปฏิบัติไม่ให้มูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนั้น
ลุกลามต่อไปในที่นั้น
             การละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการเช่นนี้
             ความไม่ลุกลามต่อไปของมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนี้
ย่อมมีได้ด้วยอาการเช่นนี้
             (๒) ภิกษุเป็นผู้มีความลบหลู่ มีความตีเสมอ...
             (๓) ภิกษุเป็นผู้มีความริษยา มีความตระหนี่...
             (๔) ภิกษุเป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้มีมายา...
             (๕) ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด...
             (๖) ภิกษุเป็นผู้มีความเห็นเอาเอง มีความเชื่อถือผิวเผิน มีความถือรั้น
สละคืนได้ยาก
             ภิกษุเช่นนี้ ย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง แม้ในพระศาสดา
แม้ในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์อยู่ ทั้งไม่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา
             ย่อมก่อความวิวาทให้เกิดในสงฆ์ ซึ่งเป็นความวิวาทไม่เกื้อกูล ฯลฯ
             ถ้าพวกเธอพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเช่นนี้ในภายในหรือ
ในภายนอก พึงพยายามละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนั้นเสียในที่นั้น
             ถ้าพวกเธอพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเช่นนี้ในภายในหรือ
ในภายนอก พึงปฏิบัติไม่ให้มูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนั้นแล ลุกลาม
ต่อไปในที่นั้น
             การละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการเช่นนี้
             ความไม่ลุกลามต่อไปของมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนี้
ย่อมมีได้ด้วยอาการเช่นนี้
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สิกขา

อธิกรณ์ ๔ อย่าง (เรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการ)
             (๑) วิวาทาธิกรณ์ (การเถียงกันเกี่ยวกับพระธรรมวินัย)
             (๒) อนุวาทาธิกรณ์ (การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ)
             (๓) อาปัตตาธิกรณ์ (การต้องอาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัว
ให้พ้นจากอาบัติ)
             (๔) กิจจาธิกรณ์ (กิจธุระต่างๆ ที่สงฆ์จะต้องทำ เช่น ให้อุปสมบท)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อธิกรณ์

อธิกรณ์สมถะ ๗ อย่าง (ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์)
             (๑) สัมมุขาวินัย (วิธีระงับในที่พร้อมหน้า)
             พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมวิวาทกัน ว่าเป็นธรรมหรือมิใช่ธรรม
ว่าเป็นวินัยหรือมิใช่วินัย
             ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด พึงพร้อมเพรียงกันประชุมพิจารณาแบบแผนธรรม
ครั้นพิจารณาแล้ว พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับโดยอาการที่เรื่องลงกันได้ในแบบแผนธรรมนั้น
             (๒) เยภุยยสิกา (การตัดสินตามคำของคนข้างมาก)
             ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจระงับอธิกรณ์นั้นในอาวาสนั้นได้ พึงพากันไปยังอาวาส
ที่มีภิกษุมากกว่า
             ภิกษุทั้งหมดพึงพร้อมเพรียงกันประชุมในอาวาสนั้น ครั้นแล้วพึงพิจารณา
แบบแผนธรรม ครั้นพิจารณาแล้ว พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับโดยอาการที่เรื่องลงกันได้
ในแบบแผนธรรมนั้น
             (๓) สติวินัย (วิธีระงับโดยถือสติเป็นหลัก)
             พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก
หรือใกล้เคียงปาราชิกว่า ท่านระลึกได้หรือไม่ว่า ท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้
คือปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก
             ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนัก
เห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก
             เมื่อเป็นเช่นนี้ สงฆ์ต้องให้สติวินัยแก่ภิกษุนั้น
             (๔) อมูฬหวินัย (วิธีระงับสำหรับผู้หายจากเป็นบ้า)
             พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก
หรือใกล้เคียงปาราชิกว่า จงระลึกดูเถิดว่าท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก
หรือใกล้เคียงปาราชิก
             ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนัก
เห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก
             ภิกษุผู้โจทนั้นปลอบโยนเธอผู้กำลังทำลาย (กล่าวแก้ตัว) อยู่นี้ว่า
             เอาเถอะ จงรู้ตัวให้ดีเถิดเผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ
ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก
             ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าถึงความเป็นบ้า ใจฟุ้งซ่านแล้ว
กรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก ข้าพเจ้าผู้เป็นบ้าได้ประพฤติล่วง
และได้พูดละเมิดไป
             ข้าพเจ้าระลึกมันไม่ได้ว่า ข้าพเจ้าผู้หลงทำกรรมนี้ไปแล้ว
             เมื่อเป็นเช่นนี้ สงฆ์ต้องให้อมุฬหวินัยแก่ภิกษุนั้น
             (๕) ปฏิญญาตกรณะ (การทำตามที่รับ)
             ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกโจทหรือไม่ถูกโจทก็ตาม ย่อมระลึกและเปิดเผย
อาบัติได้
             เธอพึงเข้าไปหาภิกษุผู้แก่กว่า ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วไหว้เท้า
นั่งกระหย่งประคองอัญชลี กล่าวแก่ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า
             ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้แล้ว ขอแสดงคืนอาบัตินั้น
             ภิกษุผู้แก่กว่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเห็นหรือ
             เธอตอบว่า ข้าพเจ้าเห็น
             ภิกษุผู้แก่กว่านั้นกล่าวว่า ท่านพึงถึงความสำรวมต่อไปเถิด
             เธอกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักถึงความสำรวม
             (๖) ตัสสปาปิยสิกา (การตัดสินลงโทษแก่ผู้ผิด (ที่ไม่รับ))
             พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ
ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกว่า
             ท่านระลึกได้หรือไม่ว่า ท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก
หรือใกล้เคียงปาราชิก
             ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนัก
เห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก
             ภิกษุผู้โจทนั้นปลอบโยนเธอผู้กำลังทำลายอยู่นี้ว่า
             เอาเถอะ จงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ
ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก
             ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนัก
เห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก แต่ข้าพเจ้าระลึกได้ว่า ข้าพเจ้าต้อง
อาบัติชื่อนี้เพียงเล็กน้อย
             ภิกษุผู้โจทก์นั้นปลอบโยนเธอผู้กำลังทำลายอยู่นี้ว่า
             เอาเถอะ ท่านจงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้
คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก
             ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า อันที่จริง ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้เพียงเล็กน้อย
ไม่ถูกใครถามยังรับ ไฉนข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้
เคียงปาราชิกแล้ว ถูกถาม จักไม่รับเล่า
             ภิกษุผู้โจทก์นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ก็ท่านต้องอาบัติชื่อนี้เพียงเล็กน้อย
ไม่ถูกถามยังไม่รับ ไฉนท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียง
ปาราชิกแล้ว ไม่ถูกถามจักรับเล่า
             เอาเถอะ จงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ
ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก
             ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ากำลังระลึกได้ ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนัก
เห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว
             คำที่ว่า ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้ว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้
คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกนี้ ข้าพเจ้าพูดพลั้งพูดพลาดไป

[มีต่อ]

ความคิดเห็นที่ 7-52
[ต่อ]
             (๗) ติณวัตถารกวินัย วิธีดุจกลบไว้ด้วยหญ้า (ประนีประนอม))
             พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติล่วง
และได้พูดละเมิดกรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก
             ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด พึงพร้อมเพรียงกันประชุม
             ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดในบรรดาภิกษุที่เป็นฝ่ายเดียวกัน พึงลุกจากอาสนะ
ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี ประกาศให้สงฆ์ทราบว่า
             ข้าแต่สงฆ์ผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เราทั้งหลายในที่นี้ เกิดขัดใจ
ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติล่วง และได้พูดละเมิดกรรมอันไม่สมควรแก่สมณะ
เป็นอันมาก
             ถ้าสงฆ์มีความพรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้
และของตน ยกเว้นอาบัติที่มีโทษหยาบและอาบัติที่พัวพันกับคฤหัสถ์ ด้วยวินัยเพียง
ดังว่ากลบไว้ด้วยหญ้า ในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้และแก่ตน
             ต่อนั้นภิกษุผู้ฉลาดในบรรดาภิกษุที่เป็นฝ่ายเดียวกันอีกฝ่ายหนึ่ง พึงลุก
จากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี ประกาศให้สงฆ์ทราบว่า
             ข้าแต่สงฆ์ผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เราทั้งหลายในที่นี้ เกิดขัดใจ
ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติล่วง และได้พูดละเมิดกรรมอันไม่สมควรแก่สมณะ
เป็นอันมาก
             ถ้าสงฆ์มีความพรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้
และของตน ยกเว้นอาบัติที่มีโทษหยาบและอาบัติที่พัวพันกับคฤหัสถ์ ด้วยวินัยเพียง
ดังว่ากลบไว้ด้วยหญ้า ในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้และแก่ตน
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อธิกรณสมถะ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=โจท

สาราณียธรรม ๖ อย่าง (ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน)
             ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ
เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็น
อันหนึ่งอันเดียวกันนี้มี ๖ อย่าง คือ
             (๑) เมตตากายกรรม
             ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีกายกรรมประกอบด้วยเมตตาปรากฏในเพื่อน
ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ
             (๒) เมตตาวจีกรรม
             ภิกษุมีวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมประพฤติ
พรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ
             (๓) เมตตามโนกรรม
             ภิกษุมีมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมพรหมจรรย์
ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ
             (๔) สาธารณโภคี
             ภิกษุมีลาภใดๆ เกิดโดยธรรม ได้แล้วโดยธรรม ที่สุดแม้เพียงอาหาร
ติดบาตร เป็นผู้ไม่แบ่งกันเอาลาภเห็นปานนั้นไว้บริโภคแต่เฉพาะผู้เดียว
ย่อมเป็นผู้บริโภคเฉลี่ยทั่วไปกับเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ผู้มีศีล
             (๕) สีลสามัญญตา
             ภิกษุถึงความเป็นผู้เสมอกันโดยศีล ในศีลทั้งหลาย ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ
ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิไม่แตะต้อง
เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ เห็นปานนั้นกับเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์อยู่
ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ
             (๖) ทิฏฐิสามัญญตา
             ภิกษุถึงความเป็นผู้เสมอกันโดยทิฐิ ในทิฐิที่เป็นของพระอริยะ อันนำออก
ชักนำผู้กระทำตามเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ (นิยยานิกธรรม) เห็นปานนั้น
กับเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ
             ตรัสถามว่า ถ้าพวกเธอพึงสมาทานสาราณียธรรมทั้ง ๖ อย่างนี้
ประพฤติอยู่ พวกเธอจะยังเห็นทางว่ากล่าวพวกเราได้ น้อยก็ตาม มากก็ตาม
ซึ่งจะอดกลั้นไว้ไม่ได้ละหรือ
             ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า
             ตรัสว่า เพราะฉะนั้นแล พวกเธอพึงสมาทานสาราณียธรรมทั้ง ๖ อย่างนี้
ประพฤติเถิด ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่พวกเธอตลอดกาลนาน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สารณียธรรม_6

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

             หมายเหตุ
             1อาชีวะอันยิ่ง อาชีวะอันเคร่งครัด อาชีวการณสิกขาบท หมายถึง
สิกขาบทที่ทรงบัญญัติเพราะเหตุแห่งอาชีวะ มี ๖ ข้อ คือ
             (๑) เพราะเหตุแห่งอาชีวะ ภิกษุถูกความปรารถนาลามกครอบงำ
พูดอวดอุตตริมนุสสธรรม ต้องอาบัติปาราชิก
             (๒) เพราะเหตุแห่งอาชีวะ ภิกษุถึงความเป็นผู้ชักสื่อ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
             (๓) เพราะเหตุแห่งอาชีวะ ภิกษุกล่าวว่า ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน
ภิกษุรูปนั้นเป็นพระอรหันต์ เมื่อผู้ฟังเข้าใจ (ตามนั้น) ต้องอาบัติถุลลัจจัย
             (๔) เพราะเหตุแห่งอาชีวะ ภิกษุขอโภชนะอันประณีตเพื่อประโยชน์ตนมาฉัน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
             (๕) เพราะเหตุแห่งอาชีวะ ภิกษุณีขอโภชนะอันประณีตเพื่อประโยชน์ตนมาฉัน
ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
             (๖) เพราะเหตุแห่งอาชีวะ ภิกษุไม่อาพาธขอแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์ตน
มาฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
             (วิ.ป. (แปล) ๘/๒๘๗/๓๘๖, ม.อุ.อ. ๓/๔๓/๒๕)

             2ปาติโมกข์อันยิ่ง ปาติโมกข์อันเคร่งครัด อธิปาติโมกข์
แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ
             (๑) ภิกขุปาติโมกข์กับภิกขุนีปาติโมกข์
             (๒) สิกขาบททั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้
เว้นอาชีวการณสิกขาบท ๖
             (ม.อุ.อ. ๓/๔๓/๒๕, กงฺขา.อ. หน้า ๑๐๖)

[แก้ไขตาม #7-53]

ความคิดเห็นที่ 7-53
ฐานาฐานะ, 16 พฤศจิกายน 2556 เวลา 07:47 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เทวทหวรรค
             ๔. สามคามสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=940&Z=1184&bgc=aliceblue&pagebreak=0
...
2:18 PM 11/15/2013

             ย่อความได้ดีครับ
             ข้อติงเล็กน้อย คือ
             (๕) เพราะเหตุแห่งอาชีวะ ภิกษุณีขอโภชนะอันประณีตเพื่อประโยชน์ตนมาฉัน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
             แก้ไขเป็น
             (๕) เพราะเหตุแห่งอาชีวะ ภิกษุณีขอโภชนะอันประณีตเพื่อประโยชน์ตนมาฉัน
ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
             เนื่องจาก อรรถกถาพระสูตรนี้แสดงไว้เป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=51
             ทั้งอรรถกถาภาษาบาลี ก็แสดงว่าเป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/show?mode=2&valume=10&page=25&Roman=0&PageMode=1

ความคิดเห็นที่ 7-54
ฐานาฐานะ, 16 พฤศจิกายน 2556 เวลา 07:55 น.

             คำถามในสามคามสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=940&Z=1184&bgc=aliceblue&pagebreak=0

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. เรื่องราวในอรรถกถาในเรื่องพระเถระบอกกรรมฐานผิดพลาดนี้
กล่าวคือ เห็นผิดไปว่า แสงสว่างที่เกิดขึ้นเป็นการบรรลุโลกุตตรมรรค.
             เรื่องราวนี้ คุณ GravityOfLove เคยได้ยินในปัจจุบันบ้างหรือไม่?
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=51#ในคำนั้นมีนัยดังต่อไปนี้

ความคิดเห็นที่ 7-55
GravityOfLove, 16 พฤศจิกายน 2556 เวลา 08:24 น.

             ตอบคำถามในสามคามสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=940&Z=1184&bgc=aliceblue&pagebreak=0

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
            ๑. มูลเหตุแห่งความวิวาท ๖ อย่าง
การละมูลเหตุแห่งความวิวาท และความไม่ลุกลามต่อไปของมูลเหตุแห่งความวิวาท
             ๒. อธิกรณ์ ๔ อย่าง และการระงับอธิกรณ์ (อธิกรณสมถะ) ๗ อย่าง
             ๓. สาราณียธรรม ๖ อย่าง
             ๔. นาฏบุตรเป็นชาวนาลันทา ตายที่ปาวา มีเรื่องราวใน
             อุปาลิวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=1044&Z=1477

             ๕. ความวิวาทกันเกิดขึ้นท่ามกลางสงฆ์ในวิหารหนึ่ง ย่อมมี
เพื่อสิ่งไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่ชนเป็นอันมาก เพราะจะแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย
กัน (ยกเว้นพระอริยบุคคล) จนถึงพรหมโลก
             ๖. พระจุนทสมณุทเทสรูปนี้ เป็นภิกษุชาวเมืองราชคฤห์
บิดาของท่านชื่อวังคันตพราหมณ์ เป็นหัวหน้าหมู่บ้านนาลกะ
(บางแห่งเรียกนาลันทะ) มารดาชื่อสารีพราหมณี
             ท่านมีพี่น้องร่วมสายโลหิตอีก ๖ คน คือ
             (๑) พระสารีบุตรเถระผู้เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา
             (๒) พระวังคันตอุปเสนเถระ
             (๓) พระขทิยเรวตเถระ
             (๔) พระจาลาเถรี
             (๕) พระอุปจาลาเถรี
             (๖) พระสีสุปจาลาเถรี
(ม.อุ.อ. ๓/๔๒/๒๓, ขุ.เถร.อ.๑/๑๗๙/๑๖๘, ขุ.เถร.อ. ๒/๓๗๕/๒๒๔, ขุ.เถรี.อ. ๔๖๐/๒๐๘)
-------------------------------------
             2. เรื่องราวในอรรถกถาในเรื่องพระเถระบอกกรรมฐานผิดพลาดนี้
... เคยได้ยินในปัจจุบันบ้างหรือไม่?
             ไม่เคยได้ยินละเอียดขนาดนี้ค่ะ เคยได้ยินแต่ว่า
             พระเข้าใจผิดคิดว่าตนเองสำเร็จอภิญญาบ้าง เป็นพระโพธิสัตว์บ้าง
เป็นพระอริยบุคคล จนถึงพระอรหันต์บ้าง

ความคิดเห็นที่ 7-56
ฐานาฐานะ, 16 พฤศจิกายน 2556 เวลา 08:34 น.

GravityOfLove, 8 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในสามคามสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=940&Z=1184&bgc=aliceblue&pagebreak=0
...
8:24 AM 11/16/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 7-57
ฐานาฐานะ, 16 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:49 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า สามคามสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=940&Z=1184

              พระสูตรหลักถัดไป คือสุนักขัตตสูตร [พระสูตรที่ 5].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
              สุนักขัตตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1185&Z=1439
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=67

              อาเนญชสัปปายสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1440&Z=1570
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=80

              คณกโมคคัลลานสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1571&Z=1734
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=93

              โคปกโมคคัลลานสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1735&Z=1979
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=105

              มหาปุณณมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1980&Z=2186
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=120

              จูฬปุณณมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2187&Z=2323
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=130

ความคิดเห็นที่ 7-58
GravityOfLove, 16 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:56 น.

             คำถามสุนักขัตตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1185&Z=1439

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. [๖๙] ... ส่วนในภิกษุพวกที่พยากรณ์อรหัตผลด้วยความสำคัญว่าตนได้บรรลุนั้น
ตถาคตมีความดำริอย่างนี้ว่า จักแสดงธรรมแก่เธอ ดูกรสุนักขัตตะ ในเรื่องนี้
ตถาคตมีความดำริว่า จักแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้ แต่ถ้าธรรม
วินัยนี้มีโมฆบุรุษบางพวกคิดแต่งปัญหาเข้ามาถามตถาคต ข้อที่ตถาคตมีความดำริ
ในภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า จักแสดงธรรมแก่เธอนั้น ก็จะเป็นอย่างอื่นไป
             ๒. เรื่อง จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความลำบากของท่านผู้ได้สมาบัติ ...
             ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที



Create Date : 17 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 13:05:22 น.
Counter : 781 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog