24.6 พระสูตรหลักถัดไป คือเทวทหสูตร [พระสูตรที่ 1] การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก 24.5 พระสูตรหลักถัดไป คือเทวทหสูตร [พระสูตรที่ 1] ความคิดเห็นที่ 7-59 ความคิดเห็นที่ 7-60 GravityOfLove, 28 พฤศจิกายน เวลา 19:34 น. พอจะเข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปักษ์ ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เป็นปฏิปักษ์ต่อความเป็นผู้ยินดีในที่สงัด ๑ การประกอบสุภนิมิต เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ประกอบอสุภนิมิต ๑ การดูมหรสพที่เป็นข้าศึก เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ การติดต่อกับมาตุคาม เป็นปฏิปักษ์ต่อพรหมจรรย์ ๑ เสียงเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน ๑ วิตกวิจารเป็นปฏิปักษ์ต่อทุติยฌาน ๑ ปีติเป็นปฏิปักษ์ต่อตติยฌาน ๑ ลมอัสสาสปัสสาสะเป็นปฏิปักษ์ต่อจตุตถฌาน ๑ สัญญาและเวทนาเป็นปฏิปักษ์ต่อสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ๑ ราคะเป็นปฏิปักษ์ โทสะเป็นปฏิปักษ์ ๑ กัณฏกสูตร //84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=24&A=3166 ราคะเป็นปฏิปักษ์โทสะเป็นปฏิปักษ์ต่ออะไร ไม่ทรงระบุหรือคะ ความคิดเห็นที่ 7-61 ฐานาฐานะ, 28 พฤศจิกายน เวลา 19:58 น. ราคะเป็นปฏิปักษ์โทสะเป็นปฏิปักษ์ต่ออะไร ไม่ทรงระบุหรือคะ สันนิษฐานว่า เป็นปฏิปักษ์ต่อการบรรลุธรรม. นัยว่า เป็นปฏิปักษ์ต่อการบรรลุธรรมของสัตว์นั้น หรือต่อกุศลธรรม. ความคิดเห็นที่ 7-62 GravityOfLove, 28 พฤศจิกายน เวลา 19:59 น. ขอบพระคุณค่ะ ความคิดเห็นที่ 7-63 GravityOfLove, 28 พฤศจิกายน เวลา 19:59 น. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เทวทหวรรค ๕. สุนักขัตตสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1185&Z=1439&bgc=aliceblue&pagebreak=0 สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี สมัยนั้น มีภิกษุมากรูปด้วยกันทูลพยากรณ์อรหัตผลในสำนักของ พระผู้มีพระภาคว่า (คือพูดว่า ตนเป็นพระอรหันต์) พวกข้าพระองค์รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี พระสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร ได้ทราบเรื่องนี้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลเรื่องที่ตนได้ยิน และทูลว่า พวกภิกษุที่ทูลพยากรณ์อรหัตผลในสำนักของพระผู้มีพระภาคดังนั้น ได้ทูลพยากรณ์อรหัตผลโดยชอบหรือ (บรรลุจริงๆ) หรือว่าภิกษุบางเหล่าในพวกนี้ ได้ทูลพยากรณ์อรหัตผล ด้วยความสำคัญว่าตนได้บรรลุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีบางเหล่าในพวกนี้ได้พยากรณ์อรหัตผลโดยชอบแท้ แต่ก็มีภิกษุบางเหล่าในที่นี้ ได้พยากรณ์อรหัตผล ด้วยความสำคัญว่า ตนได้บรรลุบ้าง ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุพวกที่พยากรณ์อรหัตผลโดยชอบแท้นั้น ย่อมมีอรหัตผลจริงทีเดียว ส่วนในภิกษุพวกที่พยากรณ์อรหัตผลด้วยความสำคัญว่าตนได้บรรลุนั้น ตถาคตมีความดำริอย่างนี้ว่า จักแสดงธรรมแก่เธอ แต่ถ้าธรรมวินัยนี้มีโมฆบุรุษบางพวกคิดแต่งปัญหาเข้ามาถามตถาคต (ด้วยเจตนาที่ไม่ซื่อสัตย์) ข้อที่ตถาคตมีความดำริในภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า จักแสดงธรรมแก่เธอนั้น ก็จะเป็นอย่างอื่นไป พระสุนักขัตตะทูลขอให้พระองค์ทรงแสดงธรรม พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแสดงกามคุณ ๕ คือ (๑) รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด (๒) เสียงที่รู้ได้ด้วยโสต อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด (๓) กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด (๔) รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด (๕) โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ตรัสต่อไปว่า ๑. ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้ ที่เป็นผู้น้อมใจไปในโลกามิส (กามคุณ ๕) ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่โลกามิสเท่านั้น ย่อมตรึก ย่อมตรองธรรมอันควรแก่ โลกามิส คบแต่คนชนิดเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยวกับอาเนญชสมาบัติ (หมายถึงสมาบัติ อันไม่หวั่นไหว ได้แก่ สมาบัติ ๖ คือ รูปฌาน ๔ และอรูปฌานที่ ๑ ที่ ๒) ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบเหมือนคนที่จากบ้านของตนไปนาน เมื่อเจอคนบ้านเดียวกัน ย่อมถามข่าวคราวความเป็นไปของบ้านนั้น ๒. ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้ ที่เป็นผู้น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติ ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่อาเนญชสมาบัติเท่านั้น ย่อมตรึก ย่อมตรองธรรม อันควรแก่อาเนญชสมาบัติ คบแต่คนชนิดเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจ กับคนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยวกับโลกามิส ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ย โสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบเหมือนใบไม้เหลือง หลุดจากขั้วแล้ว ไม่อาจเป็นของเขียวสดได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ๓. ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้ ที่เป็นผู้น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่อากิญจัญญายตนสมาบัติเท่านั้น ย่อมตรึก ย่อมตรอง ธรรมอันควรแก่อากิญจัญญายตนสมาบัติ คบแต่คน ชนิดเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยวกับอาเนญชสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ย โสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบเหมือนศิลาก้อน แตกออกเป็น ๒ ซีกแล้ว ย่อมเป็นของเชื่อมกัน ให้สนิทไม่ได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ๔. ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้ ที่เป็นผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตน สมาบัติ ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมตรึก ย่อมตรอง ธรรมอันควรแก่เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ คบแต่คนเช่นเดียวกัน และถึงความ ใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใครพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบเหมือนคนบริโภคโภชนะที่ถูกใจอิ่มหนำแล้ว พึงทิ้งเสีย เพราะว่า ภัตโน้น ตนเองรู้สึกว่า เป็นของปฏิกูลเสียแล้ว ๕. ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้ ที่เป็นผู้น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบ ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่นิพพานโดยชอบเท่านั้น ย่อมตรึก ย่อมตรอง ธรรมอันควรแก่นิพพานโดยชอบ คบแต่คนเช่นเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจกับ คนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใครพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อม ไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้นและไม่ถึงความ ใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบเหมือนตาลยอดด้วนไม่อาจงอกงามได้อีก ฉันใดฉันนั้นเหมือนกัน //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=โลกามิส //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_4 //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อรูป_4 ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมีความดำริอย่างนี้ว่า พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้ โทษอันเป็นพิษคืออวิชชา ย่อมงอกงาม ได้ด้วยฉันทราคะและพยาบาท ถ้าเราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว กำจัดโทษอันเป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ แต่ก็เป็นไปได้ที่เธอประกอบเนืองๆ ซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นที่สบาย ไม่เป็นสัปปายะ) ต่อการน้อมไปในนิพพานโดยชอบ ได้แก่ ประกอบเนืองๆ ซึ่งทัสสนะคือรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ ประกอบเนืองๆ ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบายด้วยโสต ประกอบเนืองๆ ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่สบายด้วยฆานะ ประกอบเนืองๆ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบายด้วยชิวหา ประกอบเนืองๆ ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย ประกอบเนืองๆ ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่สบายด้วยมโน ราคะพึงตามกำจัดจิต เธอมีจิตถูกราคะตามกำจัดแล้ว พึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย เปรียบเหมือนบุรุษถูกลูกศรที่มียาพิษ หมอผ่าตัดใช้ศาตรา (มีด) ชำแหละ ปากแผลของเขา แล้วใช้เครื่องตรวจค้นหาลูกศร เมื่อหมอรักษาจนหมดพิษแล้ว หมอให้คอยระวังแผลจนกว่าแผลจะประสานกัน เช่น อย่ากินของแสลง ต้องล้างแผล เป็นต้น แต่บุรุษนั้น ไม่ทำตามคำของหมอ กินของที่แสลง เป็นต้น เขาจึงตายหรือทุกข์ปางตาย ฉันใดฉันนั้น ความตายนี้ในวินัยของพระอริยะ ได้แก่ลักษณะที่ภิกษุบอกคืนสิกขา แล้วเวียนมาเพื่อหินเพศ (คฤหัสถ์) ส่วนทุกข์ปางตายนี้ ได้แก่ลักษณะที่ภิกษุต้องอาบัติมัวหมองข้อใดข้อหนึ่ง ส่วนภิกษุที่เป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นที่สบายของใจต่อการน้อมไปในนิพพานโดยชอบ ราคะก็ไม่ตามกำจัดจิต เธอมีจิตไม่ถูกราคะตามกำจัดแล้ว ไม่พึงเข้าถึง ความตาย หรือทุกข์ปางตาย เปรียบเหมือนบุรุษถูกลูกศรที่มียาพิษ หมอรักษาจนหมดพิษแล้ว หมอให้คอยระวังแผลจนกว่าแผลจะประสานกัน เช่น อย่ากินของแสลง ต้องล้างแผล เป็นต้น และบุรุษนั้น ก็ทำตามคำของหมอ คอยรักษาแผลอยู่ จนแผลหายประสานกัน เขาจึงไม่พึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย ฉันใดฉันนั้น เราอุปมาเปรียบเทียบดังนี้ เพื่อให้รู้เนื้อความ คำว่า แผล เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ (ตา หู เป็นต้น) คำว่า โทษคือพิษ เป็นชื่อของอวิชชา คำว่า ลูกศร เป็นชื่อของตัณหา คำว่า เครื่องตรวจ เป็นชื่อของสติ ศาตรา เป็นชื่อของปัญญาของพระอริยะ (ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาปัญญา อันบริสุทธิ์) หมอผ่าตัดเป็นชื่อของตถาคตผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้เองโดยชอบ ภิกษุที่สำรวมในอายตนะอันที่เป็นกระทบ ๖ อย่าง รู้ดังนี้ว่า อุปธิ (ในที่นี้หมายถึงกิเลส) เป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ พ้นวิเศษแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ (ในที่นี้หมายถึงนิพพาน) ย่อมไม่น้อมกายหรือ ปล่อยจิตไปในอุปธิ (ในที่นี้หมายถึงกามคุณ) เปรียบเหมือนน้ำดื่มที่มียาพิษ ผู้ที่รักชีวิต ไม่อยากตาย ปรารถนาสุข เกลียดทุกข์ ย่อมไม่ดื่มน้ำนั้น เพราะรู้ว่าดื่มแล้วต้องตายหรือทุกข์ปางตาย เปรียบเหมือนงูพิษที่มีพิษร้ายแรง ผู้ที่รักชีวิต ฯลฯ ย่อมไม่ยื่นมือไปที่งู เพราะรู้ว่าถ้าถูกกัดแล้ว จะตายหรือทุกข์ปางตาย พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว พระสุนักขัตตะลิจฉวีบุตรชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค [แก้ไขตาม #7-64] ความคิดเห็นที่ 7-64 ฐานาฐานะ, 29 พฤศจิกายน เวลา 15:45 น. GravityOfLove, 19 ชั่วโมงที่แล้ว พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เทวทหวรรค ๕. สุนักขัตตสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1185&Z=1439&bgc=aliceblue&pagebreak=0 ... 7:58 PM 11/28/2013 ย่อความได้ดีครับ. คำว่าแผล เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ (ตา หู เป็นต้น) คำว่าโทษคือพิษ เป็นชื่อของอวิชชา คำว่าลูกศร เป็นชื่อของตัณหา คำว่าเครื่องตรวจเป็นชื่อของสติ ควรแก้ไขเป็น คำว่า แผล เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ (ตา หู เป็นต้น) คำว่า โทษคือพิษ เป็นชื่อของอวิชชา คำว่า ลูกศร เป็นชื่อของตัณหา คำว่า เครื่องตรวจ เป็นชื่อของสติ ความคิดเห็นที่ 7-65 ฐานาฐานะ, 29 พฤศจิกายน เวลา 15:47 น. คำถามในสุนักขัตตสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1185&Z=1439 เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง? ความคิดเห็นที่ 7-66 GravityOfLove, 29 พฤศจิกายน เวลา 16:11 น. ขอบพระคุณค่ะ ตอบคำถามในสุนักขัตตสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1185&Z=1439 เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง? ๑. ภิกษุที่มาพยากรณ์อรหัตผลในสํานักของพระผู้มีพระภาคนั้น ที่บรรลุจริง ก็มี ที่สําคัญตนว่าได้บรรลุก็มี พวกที่สําคัญผิดนี้ พระองค์ทรงดำริจะแสดงธรรมแก่ ภิกษุเหล่านั้น ๒. บุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส ถนัดแต่ เรื่องที่เหมาะแก่โลกามิสเท่านั้น ย่อมคบแต่คนเช่นเดียวกัน พวกที่น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติ, อากิญจัญญายตนสมาบัติ, เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ, นิพพาน ก็ทำนองเดียวกัน ย่อมคบแต่คนเช่นเดียวกัน ๓. ภิกษุประกอบเนืองๆ ซึ่งอารมณ์ไม่เป็นที่สบายของใจต่อการน้อมไปใน นิพพานโดยชอบ ได้แก่ การเห็นรูปอันไม่เป็นที่สบาย เป็นต้น แล้วราคะพึงตาม กําจัดจิต ภิกษุนั้นพึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย ความตายนี้ในอริยวินัยได้แก่ ลักษณะที่ภิกษุบอกคืนสิกขา ทุกข์ปางตาย ได้แก่ ลักษณะที่ภิกษุต้องอาบัติมัวหมองข้อใดข้อหนึ่ง ส่วนภิกษุที่เป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นที่สบายของใจต่อการน้อมไปในนิพพานโดยชอบ ตรัสตรงกันข้าม ๔. ความว่า อัญญา คือ พระอรหัต ๕. ไม่เป็นสัปปายะแก่ปุถุชนด้วยอารมณ์ใด ก็ไม่เป็นสัปปายะเลย แม้แก่พระขีณาสพด้วยอารมณ์นั้น คือเข้าสมาบัติไม่ง่ายนัก สำหรับปุถุชนอาจก่อให้เกิดราคะหรือพยาบาทขึ้นได้ แต่พระอรหันต์ ราคะโทสะโมหะจะไม่กำเริบอีก เพราะละไปแล้ว ๖. ข้อที่พระขีณาสพพ้นแล้วด้วยอารมณ์ในนิพพานอันเป็นที่สิ้นตัณหา จักน้อมกายเข้าไปหรือจักยังจิตให้เกิดขึ้น เพื่อเสพกามคุณ ๕ นั่น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ความคิดเห็นที่ 7-67 ฐานาฐานะ, 29 พฤศจิกายน เวลา 16:40 น. GravityOfLove, 6 นาทีที่แล้ว ขอบพระคุณค่ะ ตอบคำถามในสุนักขัตตสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1185&Z=1439 ตอบคำถามได้ดีครับ ๑. ภิกษุที่มาพยากรณ์อรหัตผลในสํานักของพระผู้มีพระภาคนั้น ที่บรรลุจริง ก็มี ที่สําคัญตนว่าได้บรรลุก็มี พวกที่สําคัญผิดนี้ พระองค์ทรงดำริจะแสดงธรรมแก่ ภิกษุเหล่านั้น ตัวอย่างเรื่องนี้มีในอรรถกถานีวรณปหานวรรคที่ ๒ สูตรที่ ๖ [บางส่วน] ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นรับพระกรรมฐานในสำนักพระศาสดาแล้วเข้าไปป่าอันเงียบสงัด กระทำกรรมในวิปัสสนา (แต่) ไม่กระทำความพยายามเพื่อประโยชน์แก่มรรคผล ด้วยสำคัญว่า เราบรรลุมรรคผลแล้ว เพราะกิเลสไม่ฟุ้งขึ้น คิดว่าเราจักกราบทูลถึงธรรมที่เราแทงตลอด แล้วแด่พระทสพล จึงมาเฝ้าพระศาสดา. แต่ก่อนที่ภิกษุเหล่านั้นจะมาถึง พระศาสดาได้ตรัสกะพระอานนทเถระว่า อานนท์ ภิกษุผู้บำเพ็ญเพียรจะมาพบเราในวันนี้ เธออย่าให้โอกาสแก่ภิกษุเหล่านั้นเพื่อจะพบเรา พึงส่งไปว่า พวกท่านจงไปป่าช้าทิ้งศพดิบ ทำภาวนาอสุภสด. พระเถระบอกข่าวที่พระศาสดาสั่งไว้แก่ภิกษุที่มาแล้วเหล่านั้น. //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=12&p=2 ๖. ข้อที่พระขีณาสพพ้นแล้วด้วยอารมณ์ในนิพพานอันเป็นที่สิ้นตัณหา จักน้อมกายเข้าไปหรือจักยังจิตให้เกิดขึ้น เพื่อเสพกามคุณ ๕ นั่น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ขอขยายข้อนี้ ด้วยพระไตรปิฎกเล่ม 13 ข้อ 311 พระขีณาสพไม่ล่วงฐานะ ๕ [๓๑๑] ท่านพระอานนท์ ก็ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ในภพสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นยังบริโภคกามทั้งหลายหรือ? ดูกรสันทกะ ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ ขีณาสพ อยู่พรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันถึงแล้ว มีกิเลสเครื่องประกอบ สัตว์ในภพสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้น เป็นผู้ไม่สามารถประพฤติล่วง ฐานะทั้งห้า คือ ภิกษุขีณาสพ เป็นผู้ไม่สามารถแกล้งปลงสัตว์จากชีวิต ๑ เป็นผู้ไม่สามารถ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้อันเป็นส่วนแห่งความเป็นขโมย ๑ เป็นผู้ไม่สามารถเสพเมถุน ธรรม ๑ เป็นผู้ไม่สามารถกล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ ๑ เป็นผู้ไม่สามารถทำการสั่งสม บริโภคกามทั้งหลาย เหมือนเมื่อเป็นคฤหัสถ์ในกาลก่อน ๑ ดูกรสันทกะ ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ ขีณาสพ อยู่จบ พรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันถึงแล้ว มีกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ในภพสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ สามารถประพฤติล่วงฐานะทั้งห้าเหล่านี้. //84000.org/tipitaka/read/?13/311 ความคิดเห็นที่ 7-68 GravityOfLove, 29 พฤศจิกายน เวลา 17:03 น. ทำภาวนาอสุภสด << คือ ซากศพสดๆ หรือคะ กามคุณ ๕ นั่น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ และ พระขีณาสพไม่ล่วงฐานะ ๕ << เลข ๕ ตรงกันเฉยๆ ใช่ไหมคะ ความคิดเห็นที่ 7-69 ฐานาฐานะ, 29 พฤศจิกายน เวลา 17:44 น. GravityOfLove, 20 นาทีที่แล้ว ทำภาวนาอสุภสด << คือ ซากศพสดๆ หรือคะ กามคุณ ๕ นั่น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ และ พระขีณาสพไม่ล่วงฐานะ ๕ << เลข ๕ ตรงกันเฉยๆ ใช่ไหมคะ 5:03 PM 11/29/2013 ทำภาวนาอสุภสด. << คือ ซากศพสดๆ หรือคะ ตอบว่า ใช่ครับ อสุภสด หรืออสุภะสด ในลักษณะอย่างนี้ มีข้อเสริมว่า ควรพิจารณาบุคคลด้วย กล่าวคือ บุคคลบางคนน้อมใจไปเพื่อการขัดเกลากิเลส ได้เห็นอสุภะสด หรือซากศพที่เพิ่งตายลง กิเลสคือความกำหนัดเกิดขึ้น ความน้อมใจไปเพื่อการ ขัดเกลากิเลส มีกำลัง เมื่อเห็นว่า ความกำหนัดเกิดขึ้น ก็เกิดความสังเวชว่า เรายังไม่พ้นจากราคะเป็นต้น ก็จะขัดเกลาในยิ่งๆ ขึ้นต่อไป. หากเป็นผู้ไม่ได้น้อมใจไปเพื่อการขัดเกลา การเห็นอย่างนั้น กิเลสคือความกำหนัด เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็อาจทำอาบัติที่หนักได้ ดังเรื่องที่มา ในวินีตวัตถุ (เรื่องที่ตัดสินแล้ว) เรื่องป่าช้า ๕ เรื่อง //84000.org/tipitaka/read/?1/63 คำว่า วินีตวัตถุ //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=วินีตวัตถุ กามคุณ ๕ นั่น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ และ พระขีณาสพไม่ล่วงฐานะ ๕ << เลข ๕ ตรงกันเฉยๆ ใช่ไหมคะ ตอบว่า เลขตรงกันเฉยๆ ครับ ในข้อ 6 ว่า ๖. ข้อที่พระขีณาสพพ้นแล้วด้วยอารมณ์ในนิพพานอันเป็นที่สิ้นตัณหา จักน้อมกายเข้าไปหรือจักยังจิตให้เกิดขึ้น เพื่อเสพกามคุณ ๕ นั่น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ น่าจะตรงกับข้อ 3 และหรือข้อ 5 คือ เป็นผู้ไม่สามารถเสพเมถุนธรรม เป็นผู้ไม่สามารถทำการสั่งสม บริโภคกามทั้งหลายเหมือนเมื่อเป็นคฤหัสถ์ในกาลก่อน //84000.org/tipitaka/read/?13/311 ความคิดเห็นที่ 7-70 ฐานาฐานะ, 29 พฤศจิกายน เวลา 17:55 น. เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า สุนักขัตตสูตร จบบริบูรณ์. //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1185&Z=1439 พระสูตรหลักถัดไป คืออาเนญชสัปปายสูตร [พระสูตรที่ 6]. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อาเนญชสัปปายสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1440&Z=1570 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=80 คณกโมคคัลลานสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1571&Z=1734 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=93 โคปกโมคคัลลานสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1735&Z=1979 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=105 มหาปุณณมสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1980&Z=2186 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=120 จูฬปุณณมสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2187&Z=2323 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=130 ย้ายไปที |
แก้วมณีโชติรส
Rss Feed Smember ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?] Group Blog
All Blog
Link |
|||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |
GravityOfLove, วันเสาร์ เวลา 09:56 น.
คำถามสุนักขัตตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1185&Z=1439
กรุณาอธิบายค่ะ
๑. [๖๙] ... ส่วนในภิกษุพวกที่พยากรณ์อรหัตผลด้วยความสำคัญว่าตนได้บรรลุนั้น
ตถาคตมีความดำริอย่างนี้ว่า จักแสดงธรรมแก่เธอ ดูกรสุนักขัตตะ ในเรื่องนี้
ตถาคตมีความดำริว่า จักแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้ แต่ถ้าธรรม
วินัยนี้มีโมฆบุรุษบางพวกคิดแต่งปัญหาเข้ามาถามตถาคต ข้อที่ตถาคตมีความดำริ
ในภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า จักแสดงธรรมแก่เธอนั้น ก็จะเป็นอย่างอื่นไป
๒. เรื่อง จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความลำบากของท่านผู้ได้สมาบัติ ...
ขอบพระคุณค่ะ
9:56 AM 11/16/2013
กรุณาอธิบายค่ะ
๑. [๖๙] ... ส่วนในภิกษุพวกที่พยากรณ์อรหัตผลด้วยความสำคัญว่าตนได้บรรลุนั้น
ตถาคตมีความดำริอย่างนี้ว่า จักแสดงธรรมแก่เธอ ดูกรสุนักขัตตะ ในเรื่องนี้
ตถาคตมีความดำริว่า จักแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้ แต่ถ้าธรรม
วินัยนี้มีโมฆบุรุษบางพวกคิดแต่งปัญหาเข้ามาถามตถาคต ข้อที่ตถาคตมีความดำริ
ในภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า จักแสดงธรรมแก่เธอนั้น ก็จะเป็นอย่างอื่นไป
อธิบายว่า ไม่ค่อยจะเข้าใจนัก แต่สันนิษฐานว่า
เมื่อพวกภิกษุที่หลงคิดว่า ตนได้บรรลุ.
พระตถาคตทรงดำริว่า จักแสดงธรรมแก่เธอ เพื่อคลายความหลง เพื่อให้รู้ตนเองว่า
ยังไม่บรรลุ เพื่อให้รู้ทางที่ถูกต้อง
แต่ถ้าหากเป็นกรณีของพวกโมฆบุรุษคิดแต่งปัญหาเข้ามาถามตถาคต
มาด้วยเจตนาที่ไม่ซื่อสัตย์ เมื่อเป็นเช่นนั้น ผลที่ทรงดำริไว้ ย่อมเป็นอย่างอื่นไป.
คำว่า
ข้อที่ตถาคตมีความดำริในภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า จักแสดงธรรมแก่เธอนั้น
ก็จะเป็นอย่างอื่นไป
อาจหมายถึง ไม่แสดงธรรมแก่พวกโมฆบุรุษเหล่านั้น
กล่าวคือ เป็นอย่างอื่นไปจากจักแสดงธรรม อาจหมายความว่า
ทรงงดแสดงธรรมแก่พวกโมฆบุรุษเหล่านั้น หรือแสดงธรรมหมวดอื่นๆ
จากปัญหาที่พวกโมฆบุรุษเหล่านั้นแต่งมาโดยไม่ซื่อก็ได้.
๒. เรื่อง จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความลำบากของท่านผู้ได้สมาบัติ ...
ขอบพระคุณค่ะ
9:56 AM 11/16/2013
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความลำบากของท่านผู้ได้สมาบัติ ทั้งที่สำคัญผิด
ทั้งที่เป็นพระขีณาสพไว้ในหนหลัง. แต่สำหรับท่านที่เป็นสุกขวิปัสสก ทั้งที่สำคัญผิด
ทั้งที่เป็นพระขีณาสพ มิได้ตรัสไว้. เพื่อทรงแสดงความลำบากแห่งท่านแม้ทั้งสอง
(คือผู้ได้สมาบัติและสุกขวิปัสสก) เหล่านั้นจึงทรงเริ่มเทศนานี้.
ก็คำนี้นั้นท่านคัดค้าน เพราะเมื่อกล่าวความลำบากของท่านผู้ได้สมาบัติที่สำคัญผิด
ย่อมเป็นอันกล่าว สำหรับท่านที่เป็นสุกขวิปัสสก ทั้งท่านที่สำคัญผิด และเมื่อกล่าวความลำบาก
ของท่านผู้ได้สมาบัติที่เป็นพระขีณาสพ ก็เป็นอันกล่าวสำหรับท่านที่เป็นสุกขวิปัสสก
แม้ที่เป็นพระขีณาสพด้วย. แต่เพื่อจะตรัสสัปปายะและอสัปปายะของภิกษุทั้งสองเหล่านั้น
จึงทรงเริ่มเทศนานี้.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=67
อธิบายว่า อรรถกถาย่อหน้าแรก แสดงโดยนัยว่า
พระผู้มีพระภาคตรัสเรื่องความลำบากของท่านผู้ได้สมาบัติ เฉพาะปุถุชนที่สำคัญผิด
และท่านที่เป็นสุกขวิปัสสกเท่านั้น ไม่ได้ตรัสแก่พระอรหันต์ที่อุภโตภาควิมุต.
อรรถกถาย่อหน้าที่สอง ค้านว่า ตรัสรวมด้วย.
ในข้อนั้น พึงมีอธิบายดังต่อไปนี้
สำหรับปุถุชน อารมณ์ยังไม่เป็นสัปปายะ ก็ช่างเถอะ แต่สำหรับพระขีณาสพอย่างไร
จึงไม่เป็นสัปปายะเล่า? ไม่เป็นสัปปายะแก่ปุถุชนด้วยอารมณ์ใด ก็ไม่เป็นสัปปายะเลย
แม้แก่พระขีณาสพ แม้ด้วยอารมณ์นั้น. ขึ้นชื่อว่ายาพิษ รู้แล้วกินก็ตาม ก็คงเป็นยาพิษอยู่นั่นเอง.
อันพระขีณาสพจะพึงเป็นผู้ไม่สังวร เพราะคิดว่าเราเป็นพระขีณาสพ ดังนี้ ก็หาไม่.
แม้พระขีณาสพก็ควรจะเป็นผู้ขะมักเขม้นจึงจะควร.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=67
อธิบายว่า อรรถกถาอธิบายว่า อารมณ์ที่ไม่สัปปายะของปุถุชน ก็เช่นเดียวกันพระอรหันต์.
แต่ว่า นัยของพระอรหันต์นั้น อารมณ์ที่ไม่สัปปายะนั้นทำอันตรายได้เพียงเข้าสมาบัติ
ไม่ง่ายนัก แต่ราคะโทสะโมหะไม่กำเริบอีก กล่าวคือเพราะละไปแล้ว.
หากเป็นปุถุชน อาจก่อให้เกิดราคะหรือพยาบาทขึ้นได้.
ตัวอย่างเช่น เสียงดังๆ ทำให้เข้าสมาบัติได้ยาก.
กัณฏกสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=24&A=3166