27.10 พระสูตรหลักถัดไป คือภัทเทกรัตตสูตร [พระสูตรที่ 31] การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก 27.9 พระสูตรหลักถัดไป คือภัทเทกรัตตสูตร [พระสูตรที่ 31] //www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=26-03-2014&group=3&gblog=40 ความคิดเห็นที่ 6-102 ความคิดเห็นที่ 6-103 ฐานาฐานะ, 13 มีนาคม เวลา 00:37 น. GravityOfLove, 12 นาทีที่แล้ว ขอบพระคุณค่ะ -------------- ตอบคำถามในธาตุวิภังคสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=8748&Z=9019 ... 12:14 AM 3/13/2014 ตอบคำถามได้ดีครับ แปลกใจที่ตอบคำถามข้อ 2 ได้เร็ว เพราะอะไร? 1. รู้หรือศึกษามาก่อน หรืออื่นๆ เช่น จากสวดแปล. 2. ค้นหาคำตอบจากพระไตรปิฎก คำถามเบาๆ ว่า ข้อ 1 คำว่า ข้อ ๙. บาตรและจีวรอันสําเร็จแต่ฤทธิ์ ย่อมเกิดแก่สาวกทั้งหลายผู้มีภพสุดท้ายเท่านั้น. กล่าวง่ายๆ ว่าอย่างไร? ข้อ 2 บริบทแห่งพระสูตรนี้ ได้เป็นเค้าโครงนิยายธรรมะ เรื่องอะไร? ความคิดเห็นที่ 6-104 GravityOfLove, 13 มีนาคม เวลา 00:54 น. คำถามข้อ 2 หาคำตอบจากพระไตรปิฎกค่ะ ข้อ ๙. บาตรและจีวรอันสําเร็จแต่ฤทธิ์ ย่อมเกิดแก่สาวกทั้งหลายผู้มีภพสุดท้ายเท่านั้น. กล่าวง่ายๆ ว่า บาตรและจีวรที่ได้มาด้วยฤทธิ์ จะทำได้เฉพาะสาวกที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ แล้วเท่านั้น บริบทแห่งพระสูตรนี้ ได้เป็นเค้าโครงนิยายธรรมะ เรื่องกามนิตวาสิฏฐีค่ะ นึกถึงภาพโคขวิด เหมือนเคยดูจากที่ไหนสักแห่ง นานแสนนานมาแล้ว (และอะไรสักอย่างชื่อว่า จุฬาตรีคูณ เพลงเพราะมาก) ก็เลยลองค้นหาด้วยคำว่า กามนิต ในกูเกิ้ล ดู อ่านเรื่องย่อในวิกิพีเดีย ปรากฏว่าเนื้อเรื่องตรงกันตอนที่ กามนิตไปพักบ้านนายช่างหม้อแล้วพบพระพุทธเจ้าโดยที่ไม่ทราบว่าเป็นพระองค์ แต่ก็ไม่ได้เล่าว่า กามนิตเสียชีวิตอย่างไร เดาว่าเรื่องกามนิตวาสิฏฐีค่ะ เป็นคำตอบสุดท้าย ความคิดเห็นที่ 6-105 ฐานาฐานะ, 13 มีนาคม เวลา 01:25 น. GravityOfLove, 15 นาทีที่แล้ว คำถามข้อ 2 หาคำตอบจากพระไตรปิฎกค่ะ ผิดคาดครับ คาดไปว่า ศึกษามาก่อนแล้ว หาโดยใช้คำค้นอะไร? ข้อ ๙. บาตรและจีวรอันสําเร็จแต่ฤทธิ์ ย่อมเกิดแก่สาวกทั้งหลายผู้มีภพสุดท้ายเท่านั้น. กล่าวง่ายๆ ว่า บาตรและจีวรที่ได้มาด้วยฤทธิ์ จะทำได้เฉพาะสาวกที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ แล้วเท่านั้น คำว่า สาวกทั้งหลายผู้มีภพสุดท้ายเท่านั้น. ไม่ใช่ว่า จะต้องบรรลุพระอรหัตก่อน. เช่น ท่านพระอุรุเวลกัสสปเถระ บวชก่อน ภายหลังจะบรรลุพระอรหัต. สรุปว่า พอจะกล่าวง่ายๆ ว่า ผู้ที่ได้เอหิภิกษุ จะบรรลุพระอรหัตในชาตินั้น. อรรถกถาสูตรที่ ๒ ประวัติพระอุรุเวลกัสสปเถระ [บางส่วน] น้องชายอีกสองคนรู้ว่าพี่ชายบวช ก็มาบวชพร้อมด้วยบริวาร เหล่าชฎิลทั้งหมดเป็นเอหิภิกขุ ทรงบาตรและจีวรสำเร็จมาแต่ฤทธิ. พระศาสดาทรงพาสมณะ ๑,๐๐๐ รูปนั้นไปยังคยาสีสประเทศ ประทับนั่งบนหลังแผ่นหิน ทรงตรวจดูว่า คนเหล่านี้บวชบำเรอไฟ ควรจะแสดงภพทั้งสาม ให้เป็นเสมือนเรือนไฟไหม้แก่คนเหล่านี้ จึงทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร. จบเทศนา ก็บรรลุพระอรหัตหมดทุกรูป. //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&&i=149&p=2 บริบทแห่งพระสูตรนี้ ได้เป็นเค้าโครงนิยายธรรมะ เรื่องกามนิตวาสิฏฐีค่ะ นึกถึงภาพโคขวิด เหมือนเคยดูจากที่ไหนสักแห่ง นานแสนนานมาแล้ว (และอะไรสักอย่างชื่อว่า จุฬาตรีคูณ เพลงเพราะมาก) ก็เลยลองค้นหาด้วยคำว่า กามนิต ในกูเกิ้ล ดู อ่านเรื่องย่อในวิกิพีเดีย ปรากฏว่าเนื้อเรื่องตรงกันตอนที่ กามนิตไปพักบ้านนายช่างหม้อแล้วพบพระพุทธเจ้าโดยที่ไม่ทราบว่าเป็นพระองค์ แต่ก็ไม่ได้เล่าว่า กามนิตเสียชีวิตอย่างไร เดาว่าเรื่องกามนิตวาสิฏฐีค่ะ เป็นคำตอบสุดท้าย 12:54 AM 3/13/2014 ถูกต้องครับ ผมไม่แน่ใจว่า กามนิตถูกโคขวิดเสียชีวิตหรือไม่? แต่ว่า กามนิต แม้เมื่อฟังธรรมแล้ว เสียชีวิตแล้ว ก็ยังไม่รู้ว่า ได้พบพระพุทธเจ้าแล้ว. ความคิดเห็นที่ 6-106 GravityOfLove, 13 มีนาคม เวลา 01:36 น. ใช้คำค้นว่า พุทธรัตนะ ค่ะ ในวิกิพีเดียบอกว่า กามนิตพอเสียชีวิตแล้วในท้ายที่สุดก็ทราบว่า ผู้ที่เขาพบในบ้านช่างหม้อเป็นใคร นี่คะ หรือว่ามีวิกิย่อผิดก็ไม่รู้ //th.wikipedia.org/wiki/กามนิต ความคิดเห็นที่ 6-107 ฐานาฐานะ, 13 มีนาคม เวลา 01:52 น. รับทราบครับว่า ใช้คำค้นว่า พุทธรัตนะ นี่เอง. เท่าที่จำได้ เมื่ออุบัติเป็นพรหม (ถ้าจำไม่ผิด) ก็แสวงหาผู้ที่เคยพบพระพุทธองค์ แล้วให้ผู้นั้น เนรมิตรูปเหมือนให้ดู จึงรู้ว่า เคยได้พบแล้ว แต่ไม่รู้เอง. เรียนมานานมาแล้วครับ ไม่ค่อยตั้งใจเรียน เพราะเห็นว่า เป็นนวนิยาย อาจจะจำคลาดเคลื่อนไปบ้าง เพราะไม่ตั้งใจเรียน. ความคิดเห็นที่ 6-108 GravityOfLove, 13 มีนาคม เวลา 02:03 น. เป็นหนังสืออ่านนอกเวลาหรือคะ ความคิดเห็นที่ 6-109 ฐานาฐานะ, 13 มีนาคม เวลา 02:06 น. จำได้ว่า เรียนในห้องเรียน ตอนมัธยม ไม่ค่อยจะอ่าน อาศัยฟังให้ห้องเรียนเท่านั้น. ความคิดเห็นที่ 6-110 GravityOfLove, 13 มีนาคม เวลา 02:09 น. รับทราบค่ะ ความคิดเห็นที่ 6-111 ฐานาฐานะ, 13 มีนาคม เวลา 02:04 น. เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ธาตุวิภังคสูตร จบบริบูรณ์. //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=8748&Z=9019 พระสูตรหลักถัดไป คือ สัจจวิภังคสูตร [พระสูตรที่ 41]. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ สัจจวิภังคสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=9020&Z=9160 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=698 ความคิดเห็นที่ 6-112 GravityOfLove, 13 มีนาคม เวลา 02:16 น. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ วิภังควรรค ๔๑. สัจจวิภังคสูตร ว่าด้วยการจำแนกสัจจะ //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9020&Z=9160&bgc=whitesmoke&pagebreak=0 สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน เขตเมืองพาราณสี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ ได้ประกาศธรรมจักรอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน เขตเมืองพาราณสี อันสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลก ยังไม่เคยประกาศ ได้แก่ บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ พวกเธอจงเสพ จงคบสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด ทั้งสองรูปนี้เป็น บัณฑิตภิกษุ ผู้อนุเคราะห์ผู้ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ สารีบุตรเปรียบเหมือนผู้ให้กำเนิด โมคคัลลานะเปรียบเหมือนผู้บำรุงเลี้ยง ทารกที่เกิดแล้ว สารีบุตรย่อมแนะนำในโสดาปัตติผล โมคคัลลานะ ย่อมแนะนำในผลชั้นสูง สารีบุตรพอที่จะบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่ง อริยสัจ ๔ ได้โดยพิสดาร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปยังพระวิหาร เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน พระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลาย มาแสดงอริยสัจ ๔ ๑. ทุกขอริยสัจ คือ ๑.๑ ชาติ ได้แก่ ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้เฉพาะซึ่งอายตนะ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายนั้นๆ ๑.๒ ชรา ได้แก่ ความแก่ ความคร่ำคร่า ความเป็นผู้มีฟันหัก มีผมหงอก มีหนังย่น ความเสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของสัตว์ ทั้งหลายนั้นๆ ๑.๓ มรณะ ได้แก่ ความจุติ ความเคลื่อนไป ความแตก ความอันตรธาน ความตาย ความมรณะ การทำกาละ ความสลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่าง ความขาดชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายนั้นๆ ๑.๔ โสกะ ได้แก่ ความโศก ความเศร้า ความเหี่ยวแห้งใจ ความเหี่ยวแห้งภายใน ความเหี่ยวแห้งรอบในภายใน ของบุคคล ๑.๕ ปริเทวะ ได้แก่ ความรำพัน ความร่ำไร กิริยารำพัน กิริยาร่ำไร ลักษณะที่รำพัน ลักษณะที่ร่ำไร ของบุคคล ๑.๖ ทุกขะ ได้แก่ ความลำบากกาย ความไม่สบายกาย ความเสวยอารมณ์ที่ลำบาก ที่ไม่สบาย อันเกิดแต่สัมผัสทางกาย ๑.๗ โทมนัส ได้แก่ ความลำบากใจ ความไม่สบายใจ ความเสวยอารมณ์ที่ลำบาก ที่ไม่สบาย อันเกิดแต่สัมผัสทางใจ ๑.๘ อุปายาส ได้แก่ ความคับใจ ความแค้นใจ ลักษณะที่คับใจ ลักษณะที่แค้นใจ ของบุคคล ๑.๙ ความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์ ได้แก่ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิด ฯลฯ มีอุปายาสเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาว่า ขอเราอย่าต้องเกิด ฯลฯ อย่าต้องมีอุปายาสเป็นธรรมดา และความเกิด ฯลฯ อุปายาส อย่าพึงมาถึงเราเลย อันข้อนี้ ใครๆ จะสำเร็จตามความปรารถนาไม่ได้เลย ๑.๑๐ โดยประมวลแล้ว อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ คือ อุปาทานขันธ์คือรูป คือเวทนา คือสัญญา คือสังขาร คือวิญญาณ //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อุปาทานขันธ์ //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ขันธ์_5 ๒. ทุกขสมุทัยอริยสัจ ได้แก่ ตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ตัณหา_3 ๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ ได้แก่ ความดับด้วยอำนาจคลายกำหนัดไม่มีส่วนเหลือ ความสละ ความสลัดคืน ความปล่อย ความไม่มีอาลัย ซึ่งตัณหานั้น ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ ๔.๑ สัมมาทิฐิ ได้แก่ ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ๔.๒ สัมมาสังกัปปะ ได้แก่ ความดำริในเนกขัมมะ (ออกจากกาม) ความดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน ๔.๓ สัมมาวาจา ได้แก่ เจตนา เป็นเครื่องงดเว้นจากพูดเท็จ จากพูดส่อเสียด จากพูดคำหยาบ จากเจรจาเพ้อเจ้อ ๔.๔ สัมมากัมมันตะ ได้แก่ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร ๔.๕ สัมมาอาชีวะ คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละมิจฉาชีพแล้ว สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยสัมมาชีพ ๔.๖ สัมมาวายามะ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมให้เกิดฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดได้เกิดขึ้น ๑ เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วเสีย ๑ เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นได้เกิดขึ้น ๑ เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฝือ เพิ่มพูน ไพบูลย์ เจริญ และบริบูรณ์ ของกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ ๔.๗ สัมมาสติ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ... เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต ... เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สติปัฏฐาน_4 ๔.๘ สัมมาสมาธิ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน ถึงจตุตถฌาน //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_4 ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวดังนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีภาษิต ของท่านพระสารีบุตร ย้ายไปที่ //www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1 |
แก้วมณีโชติรส
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() Group Blog
All Blog
Link |
||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |
ขอบพระคุณค่ะ
--------------
ตอบคำถามในธาตุวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=8748&Z=9019
1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
๑. ธาตุวิภังค์หก
๒. ตรัสแสดงสรูปกัมมัฏฐาน (ธาตุ ๕ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ)
แล้วตรัสแสดงอรูปกัมมัฏฐาน (วิญญาณธาตุ) ซึ่งแม้ประณีตกว่าแต่ก็ไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ แล้วทรงถือเอาเทศนาด้วยยอดคืออรหัต
๓. ท่านปุกกุสาติเมื่อได้สดับพระธรรมเทศนาแล้ว บรรลุเป็นพระอนาคามี
๔. พระพุทธสิริ คือ อนุพยัญชนะ ๘๐ รัศมี ๑ วา มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ
๕. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระวรรณะดุจทอง แม้กุลบุตร (ปุกกุสาติ)
ก็มีวรรณะดุจทอง
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ดี กุลบุตรก็ดี ทรงมีลาภคือสมาบัติ.
ทั้งสองก็ทรงเป็นกษัตริย์ ทั้งสองก็ทรงถึงพร้อมด้วยพระอภินิหาร
ทั้งสองก็ทรงผนวชจากราชตระกูล
ทั้งสองทรงมีลาภคือสมาบัติ
๖. บุพภาคปฏิปทาของผู้ใดยังไม่บริสุทธิ์ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็ตรัสบอกบุพภาคปฏิปทานี้ คือศีลสังวร ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ การประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเป็นเครื่องตื่น
สัทธรรม ๗ ฌาน ๔ แก่ผู้นั้นก่อน
บุพภาคปฏิปทาของผู้ใดบริสุทธิ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่ตรัสบุพภาคปฏิปทานั้น
แต่จะตรัสบอกวิปัสสนา ซึ่งเป็นปทัฏฐานแห่งพระอรหัตแก่ผู้นั้น
บุพภาคปฏิปทาของกุลบุตรชื่อปุกกุสาติบริสุทธิ์แล้ว.
๗. บุคคลใดบวชในศาสนานี้ก่อนแล้ว สำเร็จชีวิตด้วยอเนสนา ๒๑ วิธี
ด้วยอำนาจกรรมมีเวชกรรมเป็นต้น ไม่อาจเพื่อตั้งจิตตุปบาทโดยสมควรแก่บรรพชา
บุคคลนี้ชื่อว่าประมาทปัญญา.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=10#อเนสนา
บุคคลใดบวชในศาสนาแล้วตั้งอยู่ในศีล เล่าเรียนพระพุทธพจน์
สมาทานธุดงค์อันเป็นที่สบาย ถือกัมมัฏฐานอันชอบจิต อาศัยเสนาสนะอันสงัด
กระทำกสิณบริกรรม ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น เจริญวิปัสสนาว่า วันนี้จะบรรลุพระอรหัต
เที่ยวไป บุคคลนี้ชื่อว่าไม่ประมาทปัญญา.
แต่ในพระสูตรนี้ ได้ตรัสถึงความไม่ประมาทปัญญานั้นด้วยอำนาจแห่ง
ธาตุกัมมัฏฐาน
๘. อรูปาวจรฌาน ชื่อว่า ธรรม. รูปาวจรฌาน เรียกว่า อนุธรรม เพราะเป็นธรรม
คล้อยตามอรูปาวจรฌานนั้น
วิปากฌาน ชื่อว่าธรรม กุศลฌาน ชื่อว่าอนุธรรม
๙. บาตรและจีวรอันสําเร็จแต่ฤทธิ์ ย่อมเกิดแก่สาวกทั้งหลายผู้มีภพสุดท้ายเท่านั้น.
๑๐. ชนที่สักว่าเกิดแล้วในอวิหาพรหมโลก มี ๗ คน ได้บรรลุพระอรหัต
ท่านเหล่านั้น คือ อุปกะ ๑ ปลคัณฑะ ๑ ปุกกุสาติ ๑ ภัททิยะ ๑ ขันฑเทวะ ๑
พาหุทัตติ ๑ ปิงคิยะ ๑
---------------
2. ... เป็นเนื้อความในพระสูตรชื่ออะไร?
รัตนสูตร ในขุททกปาฐะ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=73&Z=154&pagebreak=0
รตนสูตรที่ ๑
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=7662&Z=7746&pagebreak=0
---------------
3. ... ใครเป็นผู้กล่าวไว้.
ฆฏิการเทพบุตรค่ะ
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
ก็ภิกษุเหล่านั้น คือใครบ้างผู้ข้ามพ้นเครื่องข้องเป็นบ่วงมาร
อันแสนยากที่ใครๆ จะข้ามพ้นได้ ละกายของมนุษย์แล้ว
ก้าวล่วงเครื่องประกอบอันเป็นทิพย์ ฯ
ฆฏิการเทพบุตรกราบทูลว่า
คือ ท่านอุปกะ ๑ ท่านผลคัณฑะ ๑ ท่านปุกกุสาติ ๑ รวม
เป็น ๓ ท่าน ท่านภัททิยะ ๑ ท่านขัณฑเทวะ ๑ ท่าน
พาหุรัคคิ ๑ ท่านลิงคิยะ ๑ (รวมเป็น ๗ ท่าน) ท่านเหล่า
นั้นล้วนแต่ละกายของมนุษย์ ก้าวล่วงเครื่องประกอบอันเป็น
ทิพย์ได้แล้ว ฯ
ฆฏิการสูตรที่ ๔
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=1904&Z=1946&bgc=lavender&pagebreak=0