27.11 พระสูตรหลักถัดไป คือภัทเทกรัตตสูตร [พระสูตรที่ 31]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
27.10 พระสูตรหลักถัดไป คือภัทเทกรัตตสูตร [พระสูตรที่ 31]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=26-03-2014&group=3&gblog=41

ความคิดเห็นที่ 6-113
ฐานาฐานะ, 13 มีนาคม เวลา 20:30 น.

GravityOfLove, 5 นาทีที่แล้ว
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ วิภังควรรค
              ๔๑. สัจจวิภังคสูตร ว่าด้วยการจำแนกสัจจะ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9020&Z=9160&bgc=whitesmoke&pagebreak=0
...
2:15 AM 3/13/2014

              ย่อความได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 6-114
ฐานาฐานะ, 13 มีนาคม เวลา 20:43 น.

             คำถามในสัจจวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9020&Z=9160

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. เนื้อความว่า
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ
ได้ประกาศธรรมจักรอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน เขตเมืองพาราณสี
อันสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลก
ยังไม่เคยประกาศ
- - - - - - - - - -
             คือ พระสูตรอะไร (แสดงลิงค์ด้วย)

ความคิดเห็นที่ 6-115
GravityOfLove, 13 มีนาคม เวลา 20:58 น.

             ตอบคำถามในสัจจวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9020&Z=9160

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พวกเธอจงเสพ จงคบสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด
ทั้งสองรูปนี้เป็นบัณฑิตภิกษุ ผู้อนุเคราะห์ผู้ร่วมประพฤติพรหมจรรย์
             สารีบุตรเปรียบเหมือนผู้ให้กำเนิด โมคคัลลานะเปรียบเหมือนผู้บำรุงเลี้ยงทารกที่เกิดแล้ว
             สารีบุตรย่อมแนะนำในโสดาปัตติผล (ไม่ไปสู่อบายแน่นอน)
             โมคคัลลานะ ย่อมแนะนำในผลชั้นสูง (แม้ยังมีภพอยู่ พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงสรรเสริญ)
             สารีบุตรพอที่จะบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔
ได้โดยพิสดาร
             ๒. ท่านพระสารีบุตรแสดงอริยสัจ ๔ โดยพิสดารแก่ภิกษุ
             ๓.
             (๑) การบอก หมายถึงการบอกว่า นี้ชื่อว่า ทุกขอริยสัจ ฯลฯ
นี้ชื่อว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
(ม.อุ.อ. ๓/๓๗๑/๒๒๓, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๗๒/๓๙๕, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๔)
             (๒) การแสดง หมายถึงการให้อุทเทส (คำเริ่มต้น) จบลง
(องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๔)
             (๓) การบัญญัติ หมายถึงการตั้งสัจจะ มีทุกขสัจเป็นต้น
(ม.อุ.อ. ๓/๓๗๑/๒๒๓)
             (๔) การแต่งตั้ง (การกำหนด) หมายถึงการให้เนื้อความนั้นดำเนินไป
โดยประการต่าง ๆ (ม.อุ.อ. ๓/๓๗๑/๒๒๓, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๕)
             (๕) การเปิดเผย หมายถึงการชี้แจงแสดงเนื้อความตามที่ตั้งอุทเทสไว้
โดยการวกกลับมาอธิบายซ้ำอีก
(ม.อุ.อ. ๓/๓๗๑/๒๒๓, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๕)
             (๖) การจำแนก หมายถึงการจำแนกประเด็นที่เปิดแล้ว
(ม.อุ.อ. ๓/๓๗๑/๒๒๓, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๕)
             (๗) การทำให้ง่าย หมายถึงการแสดงประเด็นที่จำแนกไว้ให้ชัดเจน
ด้วยการชี้เหตุและยกอุทาหรณ์ต่างๆ มาประกอบ
(ม.อุ.อ. ๓/๓๗๑/๒๒๓, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๗๒/๓๙๙, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๕
และดูเทียบ องฺ.จตุกฺก.(แปล) ๒๑/๑๗๒/๒๔๒-๒๔๓)
---------------------
             2. เนื้อความว่า ... คือ พระสูตรอะไร (แสดงลิงค์ด้วย)
             ธัมมจักกัปปวัตตนวรรคที่ ๒
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=10037&Z=10104&pagebreak=0

ความคิดเห็นที่ 6-116
ฐานาฐานะ, 13 มีนาคม เวลา 21:23 น.

GravityOfLove, 9 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในสัจจวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9020&Z=9160
...
8:58 PM 3/13/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 6-117
ฐานาฐานะ, 13 มีนาคม เวลา 22:33 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า สัจจวิภังคสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=9020&Z=9160

              พระสูตรหลักถัดไป คือ ทักขิณาวิภังคสูตร [พระสูตรที่ 42].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              ทักขิณาวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=9161&Z=9310
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=706

ความคิดเห็นที่ 6-118
GravityOfLove, 13 มีนาคม เวลา 22:40 น.

             คำถามทักขิณาวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=9161&Z=9310

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสให้พระนางมหาปชาบดีโคตมี ถวายคู่ผ้าใหม่แก่สงฆ์
เมื่อถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันพระนางได้บูชาทั้งพระองค์และสงฆ์
             ทรงไม่รับ เพื่อทรงอนุเคราะห์พระนาง คือพระนางจะได้อานิสงส์จากเจตนาทั้ง ๖
             ต่อมาตรัสว่า ให้ทานในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ จะมีผลของทักษิณาสูงสุด
             ที่ตรัสตอนแรกกับตอนต่อมา เป็นเหตุผลเป็นผลกันอย่างไรคะ
             ๒. เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า
แล้วให้ทาน
             ๓. [๗๑๓] ดูกรอานนท์ ก็ในอนาคตกาล จักมีแต่เหล่าภิกษุโคตรภู มี
ผ้ากาสาวะพันคอ เป็นคนทุศีล มีธรรมลามก คนทั้งหลายจักถวายทานเฉพาะ
สงฆ์ได้ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น ดูกรอานนท์ ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ในเวลานั้น
เราก็กล่าวว่า มีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ แต่ว่าเราไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทานว่า
มีผลมากกว่าทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์โดยปริยายไรๆ เลย ฯ
              ๔. ก็ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงมีพระดำริว่า เจตนา ๓ อย่างคือ
บุพเจตนา มุญจนเจตนา อปราปรเจตนาของพระนางมหาปชาบดีนี้ เกิดขึ้นปรารภเราแล้ว
จงเกิดขึ้นปรารภพระภิกษุสงฆ์บ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ เจตนาทั้ง ๖ อย่างก็จะรวมเป็นอันเดียวกัน
จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนานแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมีนั้น ดังนี้.
             ๕. ก็ภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนา ถือบาตรและจีวร เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต. เมื่อภิกษุผู้มรรคสมังคีนั้น
ยืนที่ประตูบ้าน ชนทั้งหลายรับบาตรจากมือก็ใส่ขาทนียะและโภชนียะ.
การออกจากมรรคของภิกษุย่อมมีในขณะนั้น. ทานนี้ชื่อว่าเป็นอันให้แล้วแก่ภิกษุผู้มรรคสมังคี.
             ๖. ตั้งแต่ "ก็บุคคลใดเตรียมไทยธรรมด้วยคิดว่าเราจักให้ทักขิณาถึงสงฆ์"
              ถึง "ในเวลาที่พรานนั้นถวายแก่ภิกษุผู้มีศีลรูปหนึ่งมาถึง ผลของทักขิณาก็ถึงแก่เขา"
             ไม่เข้าใจเลยสักนิดค่ะ กรุณาอธิบายโดยใจความก็ได้ค่ะ
             ๗. บุคคลทั้งหลายเชื่อผลทานที่เป็นเช่นกับพระขีณาสพเทียว ไม่มี ก็กรรมที่พระขีณาสพทำแล้ว
ไม่เป็นกุศลหรืออกุศล เพราะเป็นผู้ปราศจากฉันทราคะแล้ว ย่อมตั้งอยู่ในฐานกิริยา ด้วยเหตุนั้น
บัณฑิตทั้งหลายจึงกล่าวว่า ทานของพระขีณาสพนั้นมีผลเลิศ ดังนี้.
             ๘. บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าทานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้แก่พระสารีบุตรมีผลมาก.
เพราะเหตุไร. เพราะบุคคลอื่นเว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าสามารถให้ผลทานให้เกิดขึ้นไม่มี.
จริงอย่างนั้น ทานย่อมให้ผลแก่ผู้อาจเพื่อทำด้วยสัมปทา ๔ ในอัตภาพนั้นแล.
             ๙. อุบาสกผู้ถึงไตรสรณะโดยที่สุดเบื้องต่ำ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
             ๑๐. สัมปทาในสูตรนี้มีดังนี้ คือ ความที่ไทยธรรมไม่เบียดเบียนผู้อื่นเกิดขึ้น โดยธรรม
โดยชอบ, ความที่เจตนาด้วยอำนาจแห่งบุพเจตนาเป็นต้น เป็นธรรมใหญ่, ความเป็นผู้มีคุณอันเลิศยิ่ง
โดยความเป็นพระขีณาสพ, ความถึงพร้อมด้วยวัตถุ โดยความเป็นผู้ออกแล้วจากนิโรธในวันนั้น ดังนี้.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-119
ฐานาฐานะ, 13 มีนาคม เวลา 22:46 น.

GravityOfLove, 4 นาทีที่แล้ว
             คำถามทักขิณาวิภังคสูตร
...
10:39 PM 3/13/2014

             คำถามทักขิณาวิภังคสูตร รอสักหน่อยก่อนครับ
             เป็นพระสูตรที่มีคำถามยาวที่สุดหรือไม่หนอ?

ความคิดเห็นที่ 6-120
GravityOfLove, 13 มีนาคม เวลา 22:51 น.

คำถามยาวค่ะ แต่ไม่แน่ใจว่า ยาวที่สุดหรือไม่

ความคิดเห็นที่ 6-121
ฐานาฐานะ, 13 มีนาคม เวลา 22:54 น.

             เห็นเนื้อความยาว นึกว่า ส่งย่อความเลย
มาดูดีๆ เห็นคำว่า กรุณาอธิบายค่ะ ถึงนึกว่า
คำถามยาวจริงหนอ.

ความคิดเห็นที่ 6-122
GravityOfLove, 13 มีนาคม เวลา 23:22 น.

นึกเหมือนกันเลยค่ะ ตรงคำว่า คำถามยาว

ความคิดเห็นที่ 6-123
ฐานาฐานะ, 15 มีนาคม เวลา 04:32 น.

GravityOfLove, 2 นาทีที่แล้ว
              คำถามทักขิณาวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=9161&Z=9310

              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสให้พระนางมหาปชาบดีโคตมี ถวายคู่ผ้าใหม่แก่สงฆ์
เมื่อถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันพระนางได้บูชาทั้งพระองค์และสงฆ์
              ทรงไม่รับ เพื่อทรงอนุเคราะห์พระนาง คือพระนางจะได้อานิสงส์จากเจตนาทั้ง ๖
              ต่อมาตรัสว่า ให้ทานในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ จะมีผลของทักษิณาสูงสุด
              ที่ตรัสตอนแรกกับตอนต่อมา เป็นเหตุผลเป็นผลกันอย่างไรคะ

อธิบายว่า
              คำว่า ต่อมาตรัสว่า ให้ทานในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ จะมีผลของทักษิณาสูงสุด
หากหมายถึงข้อ 710 หรือ 711 ก็ตาม จัดเป็นปาฏิปุคคลิกทาน (ทานที่ให้เจาะจงตัวบุคคล)
จัดว่ามีทักษิณาสูงสุดในหมวดของปาฏิปุคคลิกทาน.
              คำว่า ปาฏิบุคลิกทาน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปาฏิบุคลิกทาน&detail=on

              ๒. เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน
อธิบายว่า
              บุคคลมีศรัทธา ปรารถนาจะถวายสังฆทาน แต่มีกำลังทรัพย์ประมาณหนึ่ง
จึงไปขอจากพระสงฆ์ว่า ขอให้จัดพระภิกษุและภิกษุณีจำนวนนี้ มารับสิ่งของที่จะถวาย
เมื่อได้พระภิกษุและภิกษุณี รูปใดก็ตาม รู้จักไม่รู้จักก็ตาม ก็ถวายสิ่งของเหล่านี้ มุ่งต่อสงฆ์.
              คำว่า เผดียง
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เผดียง

              ๓. [๗๑๓] ดูกรอานนท์ ก็ในอนาคตกาล จักมีแต่เหล่าภิกษุโคตรภู มี
ผ้ากาสาวะพันคอ เป็นคนทุศีล มีธรรมลามก คนทั้งหลายจักถวายทานเฉพาะ
สงฆ์ได้ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น ดูกรอานนท์ ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ในเวลานั้น
เราก็กล่าวว่า มีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ แต่ว่าเราไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทานว่า
มีผลมากกว่าทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์โดยปริยายไรๆ เลย ฯ
อธิบายว่า
              ในอนาคต เมื่อพระศาสนาเสื่อมมากแล้ว เพศภิกษุจะเหลือเพียงแค่
แขวนหรือห้อยผ้าเหลืองเท่านั้น การถวายทานสังฆทานทำได้ในภิกษุทุศีลเหล่านั้น
ถึงอย่างนั้น ก็ยังมีผลมากประมาณไม่ได้.
              แต่ว่าเราไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทานว่า มีผลมากกว่าทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์
โดยปริยายไรๆ เลย ฯ
              คือ ไม่มีเหตุใดๆ ที่ทานที่ให้จำเพาะบุคคล จะมีผลมากกว่าทานที่ให้
อุทิศต่อสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

              ๔. ก็ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงมีพระดำริว่า เจตนา ๓ อย่างคือ
บุพเจตนา มุญจนเจตนา อปราปรเจตนาของพระนางมหาปชาบดีนี้ เกิดขึ้นปรารภเราแล้ว
จงเกิดขึ้นปรารภพระภิกษุสงฆ์บ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ เจตนาทั้ง ๖ อย่างก็จะรวมเป็นอันเดียวกัน
จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนานแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมีนั้น ดังนี้.
อธิบายว่า น่าจะมาจากเนื้อความว่า
              เมื่อพระนางกราบทูลแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า
              ดูกรโคตมี พระนางจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันพระนางได้บูชาทั้งอาตมภาพและสงฆ์

              เจตนา 3 อย่าง คือ เจตนาก่อนให้ เจตนาขณะให้ เจตนาหลังจากให้แล้ว.
              เมื่อพระนางตั้งใจถวาย จัดว่า เจตนาก่อนให้ ดีแล้ว เมื่อให้และหลังจากให้แล้ว ก็น่าจะดีเช่นกัน
              เมื่อตั้งใจอย่างนี้แล้ว เมื่อถวายสงฆ์ ก็ย่อมเป็นอันถวายสงฆ์ด้วย บูชาสงฆ์ด้วย
คำว่า บูชาอาตมภาพ น่าจะหมายถึง น้อมรับ เชื่อฟังพระดำรัสนี้เป็นการบูชา
เลื่อมใสสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วถวายแก่สงฆ์ ก็เป็นการบูชา.
              เป็นเจตนาทั้ง 6 หรือ (3x2) อย่าง โดยการถวายสงฆ์บูชาสงฆ์ และบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า.

              ๕. ก็ภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนา ถือบาตรและจีวร เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต. เมื่อภิกษุผู้มรรคสมังคีนั้น
ยืนที่ประตูบ้าน ชนทั้งหลายรับบาตรจากมือก็ใส่ขาทนียะและโภชนียะ.
การออกจากมรรคของภิกษุย่อมมีในขณะนั้น. ทานนี้ชื่อว่าเป็นอันให้แล้วแก่ภิกษุผู้มรรคสมังคี.
อธิบายว่า
              ภิกษุผู้มรรคสมังคี น่าจะแปลว่า ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยมรรคจิต.
              เพราะมรรคจิตเกิดขึ้น 1 ขณะจิต ในมรรคจิตแต่ละอย่าง จึงมีคำถามว่า
<<<
              ถามว่า ก็อาจเพื่อให้ทานแก่ภิกษุผู้มรรคสมังคี หรือ.
              ตอบว่า เออ อาจเพื่อให้.
>>>
              อรรถกถาอธิบายนัยว่า
              ภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนา แก่กล้ามากแล้ว จวนเจียนจะบรรลุมรรคผลแล้ว
เที่ยวบิณฑบาต รับทานที่ทายกให้ พอดีกับการบรรลุ.
              นัยน่าจะมีเพียงเท่านี้.

              พักที่ข้อ 5 ก่อน.

ความคิดเห็นที่ 6-124
ฐานาฐานะ, 15 มีนาคม เวลา 05:50 น.

              ๖. ตั้งแต่ "ก็บุคคลใดเตรียมไทยธรรมด้วยคิดว่าเราจักให้ทักขิณาถึงสงฆ์"
              ถึง "ในเวลาที่พรานนั้นถวายแก่ภิกษุผู้มีศีลรูปหนึ่งมาถึง ผลของทักขิณาก็ถึงแก่เขา"
              ไม่เข้าใจเลยสักนิดค่ะ กรุณาอธิบายโดยใจความก็ได้ค่ะ
อธิบายทีละเรื่อง :-
              ก็บุคคลใดเตรียมไทยธรรมด้วยคิดว่าเราจักให้ทักขิณาถึงสงฆ์ ไปวิหารแล้วเรียนว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงให้พระเถระรูปหนึ่งเจาะจงสงฆ์เถิด.
              ลำดับนั้น ได้สามเณรจากสงฆ์ย่อมถึงความเป็นประการอื่นว่า เราได้สามเณรแล้ว ดังนี้.
ทักขิณาของบุคคลนั้นย่อมไม่ถึงสงฆ์. เมื่อได้พระมหาเถระแม้เกิดความโสมนัสว่า
เราได้มหาเถระแล้ว ดังนี้ ทักขิณาก็ไม่ถึงสงฆ์เหมือนกัน. ส่วนบุคคลใดได้สามเณร
ผู้อุปสมบทแล้ว ภิกษุหนุ่มหรือเถระ ผู้พาลหรือบัณฑิต รูปใดรูปหนึ่งจากสงฆ์แล้ว ไม่สงสัย
ย่อมอาจเพื่อทำความยำเกรงในสงฆ์ว่า เราจะถวายสงฆ์.
              ทักขิณาของบุคคลนั้นเป็นอันชื่อว่าถึงสงฆ์แล้ว.
<<<
              เป็นการที่อรรถกถาจะอธิบายว่า สังฆทานนี้ทำได้ยาก ตั้งจิตให้เป็นสังฆทานได้ยาก.
              บุคคลมีเจตนาเลื่อมใส ตระเตรียมสิ่งของแล้วไปขอพระภิกษุจากสงฆ์
ปรากฏว่า สงฆ์ส่งสามเณรไปรับไทยธรรม หรือส่งสามเณรให้เป็นตัวแทนไปรับ.
              บุคคลนั้น เสียใจว่า เราได้แค่สามเณร
คำว่า ความเป็นประการอื่น คือจิตใจแปรปรวนไป คือเสียใจที่ได้แต่สามเณร.
              อรรถกถากล่าวว่า นี้ก็ไม่สำเร็จเป็นสังฆทาน ด้วยคำว่า ทักขิณาของบุคคลนั้นย่อมไม่ถึงสงฆ์.
              หรือแม้แต่ได้พระภิกษุที่เป็นพระมหาเถระ (พระเถระผู้ใหญ่) ก็ดีใจไปว่า
เราได้พระเถระผู้ใหญ่ มารับไทยธรรมของเรา ดังนี้ จิตใจก็แปรปรวนไปเช่นกัน
ด้วยความดีใจที่ได้พระเถระผู้ใหญ่
              แม้กรณีนี้อรรถกถาก็กล่าวว่า นี้ก็ไม่สำเร็จเป็นสังฆทาน ด้วยคำว่า ทักขิณาก็ไม่ถึงสงฆ์เหมือนกัน.
              แต่บุคคลใด ได้สามเณรก็ตาม พระภิกษุหนุ่มหรือพระเถระใดๆ ก็ตาม
มุ่งเจตนาทำความยำเกรงในสงฆ์ ตั้งมั่นว่า เราถวายแก่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค
ไม่สนใจว่า จะเป็นได้สามเณร ฯ ทำเจตนามั่นคงอย่างนี้ เป็นสังฆทาน.
------------------------------------------------------------
              ได้ยินว่า พวกอุบาสกชาวสมุทรฝั่งโน้นกระทำอย่างนี้.
              ก็ในอุบาสกเหล่านั้นคนหนึ่งเป็นเจ้าของวัด เป็นกุฏุมพี เจาะจงจากสงฆ์ว่า
เราจักถวายทักขิณาที่ถึงสงฆ์ จึงเรียนว่า ขอท่านจงให้ภิกษุรูปหนึ่ง.
              อุบาสกนั้นได้ภิกษุทุศีลรูปหนึ่ง พาไปสู่สถานที่นั่ง ปูอาสนะผูกเพดานเบื้องบน
บูชาด้วยของหอม ธูป และดอกไม้ ล้างเท้าทาด้วยน้ำมัน ได้ถวายไทยธรรมด้วยความยำเกรง
ในสงฆ์ ดุจทำความนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า.
              ภิกษุรูปนั้นมาสู่ประตูเรือนว่า ท่านจงให้จอบเพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติวัดในภายหลังภัต.
อุบาสกนั่งเขี่ยจอบด้วยเท้าแล้วให้ว่า จงรับไป. มนุษย์ทั้งหลายได้กล่าวกะเขานั้นว่า
ท่านได้ทำสักการะแก่ภิกษุนี้แต่เช้าตรู่เทียวไม่อาจเพื่อจะกล่าว บัดนี้ แม้สักว่า
อุปจาระ (มรรยาท) ก็ไม่มีนี้ชื่อว่าอะไร ดังนี้.
              อุบาสก กล่าวว่า แน่ะนาย ความยำเกรงนั้นมีต่อสงฆ์ ไม่มีแก่ภิกษุนั้น.
              ถามว่า ก็ใครย่อมยังทักขิณาที่ถวายสงฆ์ ซึ่งมีภิกษุมีผ้ากาสาวะพันคอให้หมดจด.
              ตอบว่า พระมหาเถระ ๘๐ รูปมีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นต้น ย่อมให้หมดจดได้.
              อนึ่ง พระเถระทั้งหลายปรินิพพานนานแล้ว พระขีณาสพทั้งหลายที่ยังมีชีวิตอยู่
ตั้งแต่พระเถระเป็นต้น จนถึงทุกวันนี้ ย่อมให้หมดจดเหมือนกัน.
<<<
              อรรถกถาอธิบายเรื่องราวของอุบาสกคนหนึ่ง.
              อุบาสกคนนั้น เป็นกุฏุมพี (ป. กุฏุมฺพิก ว่า คนมั่งมี) ขอพระภิกษุรูปหนึ่งจากสงฆ์
เพื่อถวายทาน ปรากฎว่า ได้พระภิกษุรูปทุศีลมา.
              อุบาสกนั้น ก็ถวายทานด้วยดี ด้วยความยำเกรงในสงฆ์ ประหนึ่งนอบน้อมแด่พระศาสดา.
กล่าวคือ รู้ทั้งรู้อยู่ว่า พระภิกษุรูปนั้นทุศีล แต่ตนเองตั้งใจถวายทานในสงฆ์
ได้พระภิกษุอย่างนี้มารับทาน ก็ไม่มีจิตใจแปรปรวนเลย ทำอย่างเหมาะสม
ด้วยความยำเกรงในสงฆ์ ไม่ใช่ยำเกรงหรือเลื่อมใสในพระภิกษุทุศีลรูปนั้น.
              ภายหลังจากภัต พระภิกษุรูปนั้นทุศีลมาขอจอบไปใช้
              อุบาสกนั้นเอาเท้าเขี่ยให้ ไม่เหมือนตอนเมื่อถวายทานในตอนเช้า
              คนทั้งหลายก็กล่าวว่า เมื่อเช้าทำความนอบน้อม บัดนี้ไม่มีมรรยาทเลย.
              อุบาสกตอบไปว่า เราไม่เคารพเป็นการส่วนตัวในภิกษุทุศีลรูปนี้เลย.
              ประโยคว่า
              ถามว่า ก็ใครย่อมยังทักขิณาที่ถวายสงฆ์ ซึ่งมีภิกษุมีผ้ากาสาวะพันคอให้หมดจด.
              อาจแปลว่า
              คนทั้งหลายก็ถามว่า แล้วใครจะถวายสังฆทานให้บริสุทธิ์หมดจดได้
หรืออาจมีนัยว่า
              คนทั้งหลายก็ถามว่า แล้วใครจะถวายสังฆทานให้บริสุทธิ์หมดจดได้
ในพระภิกษุทุศีลเหล่านี้ (ภิกษุมีผ้ากาสาวะพันคอ)
              อุบาสกตอบไปว่า พระเถระ 80 รูปเป็นต้น เป็นผู้หมดจด
              นัยน่าจะเป็นว่า ทำความยำเกรงในสงฆ์ แม้ในพระภิกษุรูปใดๆ ก็ตาม
ดุจทำต่อพระเถระเหล่านั้น.
              หรืออาจมีนัยว่า
              พระเถระ 80 รูปและพระอรหันต์เป็นต้น สามารถทำให้หมดจดได้
(พระเถระ 80 รูปเป็นผู้ถวาย)
---------------------------------------------------------------------------------------------

              ในบทนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ แต่ว่า เราไม่กล่าวปาฏิบุคคลิกทานว่ามีผลมากกว่าทักขิณา
ที่ถึงแล้วในสงฆ์โดยปริยายไรๆ เลย สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขมีอยู่ สงฆ์ปัจจุบันนี้มีอยู่
สงฆ์ซึ่งมีภิกษุมีผ้ากาสาวะพันคอในอนาคตก็มีอยู่ สงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
ไม่พึงนำเข้าไปกับสงฆ์ในปัจจุบันนี้ สงฆ์ในปัจจุบันนี้ก็ไม่พึงนำเข้าไปกับสงฆ์ซึ่งมี
ภิกษุมีผ้ากาสาวะพันคอในอนาคต พึงกล่าวตามสมัยนั้นเท่านั้น.
อธิบายว่า
              น่าจะเป็นการจัดหมวดของสงฆ์ใน 3 กาล
              คือ ในกาลแห่งพระสูตร ในกาลบัดนี้ที่พระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว
และในกาลที่พระภิกษุเสื่อมอย่างมาก นัยว่า ผลของทานน่าจะแตกต่างกัน.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
              ก็สมณปุถุชนซึ่งนำไปเฉพาะจากสงฆ์ เป็นปาฏิบุคคลิกโสดาบัน
เมื่อบุคคลอาจเพื่อทำความยำเกรงในสงฆ์ ทานที่ให้ในสมณะผู้ปุถุชน มีผลมากกว่า.
              ในคำแม้มีอาทิว่า โสดาบันอันทายกถือเอาเจาะจง เป็นปาฏิบุคคลิก
สกทาคามีก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
              จริงอยู่ เมื่อบุคคลอาจเพื่อทำความยำเกรงในสงฆ์ ให้ทานแม้ในภิกษุทุศีลซึ่งเจาะจงถือเอา
มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายในพระขีณาสพนั้นแล.
อธิบายว่า
              คำว่า ก็สมณปุถุชนซึ่งนำไปเฉพาะจากสงฆ์ เป็นปาฏิบุคคลิกโสดาบัน
น่าจะหมายความว่า
              ก็สมณปุถุชนซึ่งนำไปเฉพาะจากสงฆ์ เทียบกับปาฏิบุคคลิกในโสดาบัน
เมื่อบุคคลอาจเพื่อทำความยำเกรงในสงฆ์ ทานที่ให้ในสมณะผู้ปุถุชน มีผลมากกว่า.
              เป็นการอธิบายว่า
              ให้ทานในสงฆ์หรือในพระภิกษุที่ได้รับมาจากสงฆ์ แม้จะเป็นปุถุชนก็ตาม
ทุศีลก็ตาม ในทำเจตนาถวายในสงฆ์ ทำความยำเกรงในสงฆ์ ย่อมมีผลมากกว่า.
---------------------------------------------------------------------------------------------
              ก็คำใดที่กล่าวว่า ดูก่อนมหาบพิตร ทานที่ให้แก่ผู้มีศีลแล มีผลมาก ทานที่ให้ในผู้ทุศีล
หามีผลมากอย่างนั้นไม่ คำนั้นพึงละนัยนี้แล้ว พึงเห็นในจตุกะนี้ว่า
ดูก่อนอานนท์ ก็ความบริสุทธิ์แห่งทักขิณานี้มี ๔ อย่าง.
อธิบายว่า
              คำนี้น่าจะหมายถึงพระสูตรชื่อว่า อิสสัตถสูตรที่ ๔
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=3146&Z=3218

              กล่าวคือนัยในอิสสัตถสูตรที่ ๔ พึงละไว้ เพราะแม้จะเป็นพระภิกษุผู้มีศีลก็ตาม
ทุศีลก็ตาม แต่เจตนาของผู้ถวายเป็นไปในสงฆ์ จึงไม่ถือศีลของพระภิกษุแต่ละรูปเป็นใหญ่
ถือเจตนาในสงฆ์เป็นใหญ่.
              แต่ว่า นัยในอิสสัตถสูตรที่ ๔ สามารถเห็นได้ในข้อ 714-718.
---------------------------------------------------------------------------------------------

              บทว่า ทายกโต วิสุชฺฌติ ความว่า ทักขิณาบางอย่างบริสุทธิ์ โดยความมีผลมาก.
อธิบายว่า เป็นทาน มีผลมาก.
              บทว่า กลฺยาณธมฺโม ได้แก่ มีสุจิธรรม.
              บทว่า ปาปธมฺโม คือ มีธรรมอันชั่ว. ก็พึงแสดงพระเวสสันดรมหาราชในบทนี้ว่า
ทักขิณบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายทายก. ก็พระเวสสันดรมหาราชนั้นทรงให้พระโอรสพระธิดา
แก่พราหมณ์ชูชกแล้ว ยังแผ่นดินให้หวั่นไหว. พึงแสดงนายเกวัฏฏะผู้อาศัยอยู่ที่ประตู
ปากน้ำกัลยาณนทีในคำนี้ว่า ทักขิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก.
              ได้ยินว่า เกวัฏฏะนั้นได้ถวายบิณฑบาตแก่พระทีฆโสมเถระถึง ๓ ครั้ง
นอนบนเตียงเป็นที่ตายได้กล่าวว่า บิณฑบาตที่ถวายแก่พระผู้เป็นเจ้าทีฆโสมเถระ
ย่อมยกข้าพเจ้าขึ้น.
              พึงแสดงถึงพรานผู้อยู่ในวัฑฒมานะในบทว่า เนว ทายกโต นี้.
              ได้ยินว่า นายพรานนั้นเมื่อให้ทักขิณาอุทิศถึงผู้ตายได้ให้แก่ภิกษุผู้ทุศีลรูปหนึ่ง
นั้นแลถึง ๓ ครั้ง. ในครั้งที่ ๓ อมนุษย์ร้องขึ้นว่า ผู้ทุศีลปล้นฉัน ดังนี้. ในเวลาที่พรานนั้น
ถวายแก่ภิกษุผู้มีศีลรูปหนึ่งมาถึง ผลของทักขิณาก็ถึงแก่เขา.
อธิบายว่า
              เป็นการอธิบายในข้อ 714-718
              กล่าวคือ อธิบายถึงทานที่บริสุทธิ์ฝ่ายให้ แต่ไม่บริสุทธิ์ในฝ่ายผู้รับ
เช่น พระเวสสันดร เป็นผู้มีศีล บริสุทธ์ฝ่ายให้ ส่วนพราหมณ์ชูชกเป็นผู้ทุศีล
เป็นความไม่บริสุทธิ์ในฝ่ายผู้รับ.
              ส่วนทานที่ไม่บริสุทธิ์ในฝ่ายรับ แต่บริสุทธิ์ในฝ่ายผู้รับ
ก็เช่นทานของนายเกวัฏฏะ (ชาวประมง) เป็นผู้ทุศีล ถวายทานแก่พระทีฆโสมเถระ
ซึ่งเป็นพระภิกษุมีศีล เป็นทานบริสุทธิ์ในฝ่ายรับเท่านั้น.
              เรียนในนายพรานในทานอุทิศแก่ผู้ตายไปแล้วนั้น
              ได้ในทานในภิกษุผู้ทุศีลรูปหนึ่ง 3 ครั้ง ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายให้และผู้รับ
ผลจึงไม่มีมาก อมนุษย์หรือเปรตผู้หวังผล เห็นทานมีผลน้อย เพราะไม่บริสุทธิ์
ในฝ่ายผู้รับ จึงร้องด้วยความผิดหวังว่า ถูกปล้นทักขิณาไป.
              ต่อมา นายพรานถวายแก่ภิกษุผู้มีศีลรูปหนึ่ง เปรตนั้นจะได้รับทักขิณานั้น.

              จบการอธิบายในข้อ 6 ขอพักก่อน.

ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 26 มีนาคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 18:47:43 น.
Counter : 513 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มีนาคม 2557

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
27
28
29
30
31
 
 
26 มีนาคม 2557
All Blog