28.1 พระสูตรหลักถัดไป คืออนาถปิณฑิโกวาทสูตร [พระสูตรที่ 43]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
27.13 พระสูตรหลักถัดไป คือภัทเทกรัตตสูตร [พระสูตรที่ 31]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=26-03-2014&group=3&gblog=44

ความคิดเห็นที่ 15
GravityOfLove, 19 มีนาคม เวลา 10:33 น.

             ขอบพระคุณค่ะ
             ตอบคำถามในอนาถปิณฑิโกวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9311&Z=9524

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ท่านพระสารีบุตรแสดงธรรมแก่อนาถบิณฑิกคฤหบดีว่าด้วยความไม่ยึดมั่น
ในอายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ วิญญาณ ๖ ผัสสะ ๖ เวทนา ๖ ธาตุ ๖
ขันธ์ ๕ อรูป ๔ โลกนี้และโลกหน้า อารมณ์และวิญญาณที่อาศัยอารมณ์นั้น
             ๒. อนาถปิณฑิกคฤหบดีถึงแก่กรรมไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
แล้วกลับมาปรากฏตนถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กล่าวสุภาษิตและชมเชยท่านพระสารีบุตร
             ๓. ตราบใดที่เท้าของคฤหบดี ยังพาไปได้ ตราบนั้น คฤหบดีก็ได้ทำการบำรุง
พระผู้มีพระภาควันละครั้งสองครั้งหรือสามครั้งไม่ขาด และท่านบำรุงพระศาสดาเท่าใด
ก็บำรุงพวกพระมหาเถระเท่านั้นเหมือนกัน วันนี้ ท่านเข้าถึงการนอนชนิดที่ไม่มีการลุกขึ้นอีก
เพราะเท้าเดินไม่ได้แล้ว
             ๔. พอคฤหบดีนั้นเกิดในชั้นดุสิต ได้เห็นสมบัติของตน จึงสำรวจดูว่า
ตนทำกรรมอะไรตอนเป็นมนุษย์ ก็ทราบว่าเพราะตนเลื่อมใสในพระรัตนตรัยอย่างยิ่ง จึงคิดว่า
ความเป็นเทพนี้เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เพราะเมื่อมัวชื่นชมสมบัติ ก็จะต้องมีความหลงลืมสติ
บ้างก็ได้ จึงไปเข้าเฝ้าพระผู้มีภาคนั้นแล้วจึงจะค่อยเสวยสมบัติ.
             ๕. คาถาตอนหนึ่งที่อนาถบิณฑิกเทพบุตรกล่าวชมอริยมรรค คือ
             สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยธรรม ๕ อย่างนี้ คือ กรรม (การงาน หมายถึงมรรคเจตนา) ๑
             วิชชา (ความรู้ หมายถึงมรรคปัญญา อีกนัยหนึ่งหมายถึงความเห็นและความดำริ) ๑
             ธรรม (หมายถึงธรรมที่เป็นฝักฝ่ายแห่งสมาธิ อีกนัยหนึ่งหมายถึงความพยายาม
ความระลึก และความตั้งใจมั่น) ๑
             ศีล (การพูด การงาน และการเลี้ยงชีพ) ๑
             ชีวิตอุดม (ชีวิตอันสูงสุด หมายถึงชีวิตของผู้ที่ตั้งอยู่ในศีล) ๑
             ไม่ใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือด้วยทรัพย์
-------------------------
             2. อนาถบิณฑิกคฤหบดี เป็นปุถุชนหรือพระอริยบุคคล
ถ้าเป็นพระอริยบุคคล เป็นพระอริยบุคคลชั้นอะไร?
             เป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันค่ะ
             ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่อนาถบิณฑิก-
*คหบดี ณ ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทินควรได้รับน้ำย้อม ฉะนั้น ฯ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=1950&Z=2140&pagebreak=0#อนาถบิณฑิกคหบดีได้ดวงตาเห็นธรรม
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อนาถบิณฑิก

ความคิดเห็นที่ 16
ฐานาฐานะ, 19 มีนาคม เวลา 20:49 น.

GravityOfLove, 9 ชั่วโมงที่แล้ว
             ขอบพระคุณค่ะ
             ตอบคำถามในอนาถปิณฑิโกวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9311&Z=9524
...
10:33 AM 3/19/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             ผมอ่านเนื้อความที่ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี เจ็บป่วยและกระทำกาล
ก็ได้ธรรมสังเวชว่า แม้เราก็ไม่พ้นความเจ็บป่วย และความตายไปได้เลย.
             อนาถบิณฑิกคฤหบดี พระอริยบุคคลชั้นพระโสดาบัน
             เอตทัคคบาลี
//84000.org/tipitaka/read/?20/151

             ๑๓. เรื่องนางสุมนาเทวี [๑๓]
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=11&p=13

ความคิดเห็นที่ 17
ฐานาฐานะ, 19 มีนาคม เวลา 21:57 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า อนาถปิณฑิโกวาทสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=9311&Z=9524

              พระสูตรหลักถัดไป คือ ฉันโนวาทสูตร [พระสูตรที่ 44].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              ฉันโนวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=9525&Z=9640
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=741

ความคิดเห็นที่ 18
GravityOfLove, 19 มีนาคม เวลา 22:43 น.

             คำถามฉันโนวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=9525&Z=9640

             ๑. [๗๔๘] ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ไม่ใช่กระผมไม่มีโภชนะเป็นที่
สบาย ไม่ใช่ไม่มีเภสัชเป็นที่สบาย ไม่ใช่ไม่มีคนบำรุงที่สมควร ก็แหละกระผม
ได้ปรนนิบัติพระศาสดามาตลอดกาลนาน ด้วยความพอพระทัย มิใช่ด้วยความไม่
พอพระทัย ความจริงการที่ภิกษุปรนนิบัติพระศาสดาด้วยความพอพระทัย มิใช่
ด้วยความไม่พอพระทัย นั่นเป็นการสมควรแก่สาวก ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร
ขอท่านจงทรงจำไว้อย่างนี้ว่า ฉันนภิกษุจักหาศาตรามาฆ่าตัว อย่างมิให้ถูกตำหนิได้ ฯ
             พูดเป็นภาษาง่ายๆ ว่าอย่างไรคะ
             ๒. ตอนที่ท่านพระฉันนะตอบคำถามท่านพระสารีบุตร ท่านตอบว่า
ท่านพิจารณาเห็นว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
ท่านเห็นความดับ รู้ความดับ ตอนที่ท่านตอบคำถาม ท่านยังเป็นพระปุถุชนอยู่
แสดงว่า ที่ท่านตอบไปนั้น ท่านตอบตามธรรม ไม่ใช่เพราะรู้เห็นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามจริง ใช่ไหมคะ
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 19
ฐานาฐานะ, 20 มีนาคม เวลา 07:25 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
              คำถามฉันโนวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=9525&Z=9640

              ๑. [๗๔๘] ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ไม่ใช่กระผมไม่มีโภชนะเป็นที่
สบาย ไม่ใช่ไม่มีเภสัชเป็นที่สบาย ไม่ใช่ไม่มีคนบำรุงที่สมควร ก็แหละกระผม
ได้ปรนนิบัติพระศาสดามาตลอดกาลนาน ด้วยความพอพระทัย มิใช่ด้วยความไม่
พอพระทัย ความจริงการที่ภิกษุปรนนิบัติพระศาสดาด้วยความพอพระทัย มิใช่
ด้วยความไม่พอพระทัย นั่นเป็นการสมควรแก่สาวก ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร
ขอท่านจงทรงจำไว้อย่างนี้ว่า ฉันนภิกษุจักหาศาตรามาฆ่าตัว อย่างมิให้ถูกตำหนิได้ ฯ
              พูดเป็นภาษาง่ายๆ ว่าอย่างไรคะ
              อธิบายเบื้องต้นก่อนว่า
              ท่านพระฉันนะเถระกล่าวว่า จะฆ่าตัวตาย (เนื่องจากทนต่อทุกข์จากอาพาธไม่ได้)
              ท่านพระสารีบุตร จึงกล่าวถึงโภชนะและเภสัชที่เหมาะสมแก่พระภิกษุอาพาธ
ทั้งผู้ดูแลพระภิกษุอาพาธที่เหมาะสม.
              ท่านพระฉันนะเถระจึงกล่าวว่า โภชนะและเภสัชที่เหมาะสมนั้น ท่านมีอยู่
ผู้ดูแลที่เหมาะสม ก็มีอยู่.
              คำว่า ก็แหละกระผมได้ปรนนิบัติพระศาสดามาตลอดกาลนาน
              อาจจะมีความหมาย 2 นัย คือ
              1. ได้ปรนนิบัติพระศาสดา ด้วยการพัด จัดอาสนะ กวาดพระคันธกุฏีเป็นต้น
              2. ได้ปฏิบัติบูชา ด้วยการบรรลุมรรคผลแล้ว
              นัยว่า ท่านอาจสำคัญผิดว่า ท่านเป็นบรรลุมรรคผลแล้ว.
              พูดเป็นภาษาง่ายๆ ว่า
              ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร อาหารและเภสัชที่เหมาะสม กระผมมีอยู่
แม้คนบำรุงที่สมควรก็มี กระผมปรนนิบัติพระศาสดา ด้วยการปฏิบัติบูชาแล้ว
ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรทำของพระสาวก.
              ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมจักฆ่าตัว อย่างไม่ถูกตำหนิ.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              ๒. ตอนที่ท่านพระฉันนะตอบคำถามท่านพระสารีบุตร ท่านตอบว่า
ท่านพิจารณาเห็นว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
ท่านเห็นความดับ รู้ความดับ ตอนที่ท่านตอบคำถาม ท่านยังเป็นพระปุถุชนอยู่
แสดงว่า ที่ท่านตอบไปนั้น ท่านตอบตามธรรม ไม่ใช่เพราะรู้เห็นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามจริง ใช่ไหมคะ
              ตอบว่า ท่านเป็นพระภิกษุที่มีศีล เจริญวิปัสสนาอยู่ กิเลสไม่กำเริบ
จึงสำคัญผิดไปว่า ท่านบรรลุแล้ว.
              แม้ปุถุชนที่มีศีล เจริญวิปัสสนาอยู่ ก็พิจารณาเห็นว่า นั่นไม่ใช่ของเรา
ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ได้เหมือนกัน.
              จึงเป็นอันว่า ท่านตอบตามธรรม.
              เนื่องจากอรรถกถาพระสูตรนี้ แม้จะแสดงว่า ท่านสำคัญผิดไป
แต่ก็ยังไม่ค่อยชัดเจนนัก จึงได้ศึกษาอรรถกถาในพระสูตรอื่น
ซึ่งค่อนข้างชัดเจนว่า ท่านสำคัญผิดไป คือ
              ฉันนสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=18&A=1349
              อรรถกถาฉันนสูตรที่ ๔
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=104

ความคิดเห็นที่ 20
GravityOfLove, 20 มีนาคม เวลา 10:36 น.

             ขอบพระคุณค่ะ
             อีกคำถามค่ะ กรุณาอธิบายค่ะ
             คำว่า ตระกูลที่พึงเข้าไป คือ ตระกูลที่ควรเข้าไปด้วย
             คำว่า ตระกูลที่พึงเข้าไป นี้ พระเถระย่อมทูลถามว่า พระเจ้าข้า เมื่อยังมีพวกอุปัฏฐาก
และพวกอุปัฏฐายิกาอยู่อย่างนี้ ภิกษุนั้นจะปรินิพพานในพระศาสนาของพระองค์หรือ.

ความคิดเห็นที่ 21
ฐานาฐานะ, 20 มีนาคม เวลา 17:10 น.

อธิบายว่า
              น่าจะมีความหมายว่า
              ตระกูลที่อุปัฏฐาก ก็จะถามถึงการมรณภาพของท่านพระฉันนะเถระ
นัยว่า ท่านพระฉันนะเถระไปอยู่ภพใดเป็นต้น แต่อาจจะถามนัยสูงสุดว่า
ท่านพระฉันนะเถระปรินิพพาน ใช่ไหม?
              น่าจะคล้ายๆ พระภิกษุที่พระอุปัชฌายะมรณภาพแล้ว
ก็กราบทูลถามว่า พระอุปัชฌายะมรณภาพแล้ว ปรินิพพานหรือไม่หนอ?

              วังคีสสูตรที่ ๑๒
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=25&A=8135

ความคิดเห็นที่ 22
GravityOfLove, 20 มีนาคม เวลา 22:02 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 23
GravityOfLove, 20 มีนาคม เวลา 22:08 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค
             ๒. ฉันโนวาทสูตร ว่าด้วยการให้โอวาทแก่ท่านพระฉันนะ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9525&Z=9640&bgc=whitesmoke&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคยเป็นสถานที่
พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์
             สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาจุนทะ และท่านพระฉันนะ อยู่บนภูเขา
คิชฌกูฏ ท่านพระฉันนะอาพาธ ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก ท่านพระสารีบุตรจึงชวน
ท่านพระมหาจุนทะไปเยี่ยมท่านพระฉันนะ
             เมื่อไต่ถามถึงอาการป่วย ท่านพระฉันนะตอบว่า ท่านทนไม่ไหว
ทุกขเวทนาโดยประการต่างๆ มาก ไม่ทุเลาเลย จะฆ่าตัวตาย ไม่อยากมีชีวิตอยู่
             ท่านพระสารีบุตรห้ามไว้ โดยกล่าวว่า พวกเรายังต้องการให้ท่านพระฉันนะ
รักษาตัวอยู่ตัวไป และถ้าท่านพระฉันนะไม่มีโภชนะ เภสัช คนบำรุง ตนจะแสวงหามาให้
หรือคอยบำรุงเอง
             ท่านพระฉันนะตอบว่า
             ไม่ใช่เพราะตนไม่มีโภชนะ เภสัช หรือคนบำรุง แต่ตนได้ปรนนิบัติพระศาสดา
มานานแล้ว (ปฏิบัติบูชา) ด้วยความพอพระทัย อันเป็นสิ่งที่ควรกระทำของพระสาวก
ขอให้ท่านพระสารีบุตรทรงจำไว้อย่างนี้ว่า
             ฉันนภิกษุจักหาศาตรามาฆ่าตัว อย่างมิให้ถูกตำหนิได้
(ท่านสำคัญผิดว่า ตนบรรลุพระอรหัตแล้ว)
             ท่านพระสารีบุตรขอถามปัญหากับท่านพระฉันนะว่า
             ๑. ท่านพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเราหรือ (ยึดถือด้วยตัณหา มานะ และทิฐิ)
             โสต ฆานะ ชิวหา กาย มโน ถามทำนองเดียวกัน
             ท่านพระฉันนะตอบว่า
             กระผมพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา (พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์
ไม่ใช่ตัวตน)
             โสต ฆานะ ชิวหา กาย มโน ตอบทำนองเดียวกัน

             ๒. ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร ในจักษุ ในจักษุวิญญาณ
ในธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นว่า นั่นไม่ใช่ของเรา
ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
             โสต ฆานะ ชิวหา กาย มโน ถามทำนองเดียวกัน
             ท่านพระฉันนะตอบว่า
             กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในจักษุ ในจักษุวิญญาณ
ในธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณ
             โสต ฆานะ ชิวหา กาย มโน ตอบทำนองเดียวกัน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิญญาณ_6
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปปัญจธรรม_3

             ท่านพระมหาจุนทะกล่าวกับท่านพระฉันนะว่า
             เพราะฉะนั้น ท่านควรใส่ใจคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคนั้นไว้ตลอดกาลว่า
บุคคลผู้อันตัณหาและทิฐิอาศัยอยู่แล้ว ย่อมมีความหวั่นไหว สำหรับผู้ไม่มีตัณหาและทิฐิ
อาศัย ย่อมไม่มีความหวั่นไหว
             เมื่อไม่มีความหวั่นไหว ก็มีความสงบ เมื่อมีความสงบ ก็ไม่มีตัณหา
ตัวน้อมไปสู่ภพ เมื่อไม่มีตัณหาตัวน้อมไปสู่ภพ ก็ไม่มีการมาเกิด ไปเกิด
             เมื่อไม่มีการมาเกิดไปเกิด ก็ไม่มีจุติและอุปบัติ เมื่อไม่มีจุติและอุปบัติ
ก็ไม่มีโลกนี้ ไม่มีโลกหน้า ไม่มีระหว่างกลางทั้งสองโลก นี่แหละที่สุดแห่งทุกข์
             (ท่านพระสารีบุตรและท่านพระจุนทะทราบว่า ท่านพระฉันนะเป็นปุถุชนอยู่
เพราะท่านอดกลั้นเวทนาไม่ได้ คือยังคิดว่า เราเสวยเวทนา เวทนาของเรา
จึงได้ให้โอวาทท่าน)
             ครั้นท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะ กล่าวสอนท่านพระฉันนะ
ด้วยโอวาทนี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะ หลีกไป
             เมื่อท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะหลีกไปแล้วไม่นาน
ท่านพระฉันนะได้หาศาตรามาฆ่าตัวตายทันที
             (หลังจากใช้ศาตราแล้ว ท่านก็รู้ตัวยังเป็นปุถุชน ก็เกิดสลดใจ ตั้งวิปัสสนา
พิจารณาสังขาร ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เป็นสมสีสี แล้วก็ปรินิพพาน)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สมสีสี

             ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า
             ท่านพระฉันนะหาศาตรามาฆ่าตัวเสียแล้ว ท่านจะมีคติอย่างไร
มีสัมปรายภพอย่างไร
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ฉันนภิกษุพยากรณ์ความเป็นผู้ไม่ควรตำหนิต่อหน้าเธอแล้วมิใช่หรือ
(ฉันนภิกษุเคยพยากรณ์ด้วยสำคัญผิดว่าตนบรรลุพระอรหัตแล้วไม่ใช่หรือ)
             ท่านพระสารีบุตรทูลว่า
             มีบ้านในแคว้นวัชชีนามว่าปุพพชิระ ที่หมู่บ้านนั้น ท่านพระฉันนะยังมีสกุลมิตร
สกุลสหาย และสกุลคนที่คอยตำหนิอยู่
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ฉันนภิกษุยังมีสกุลมิตร สกุลสหาย และสกุลที่คอยตำหนิอยู่ก็จริง
แต่เราหาเรียกบุคคลว่า ควรถูกตำหนิด้วยเหตุเพียงเท่านี้ไม่
             บุคคลใด ทิ้งกายนี้และยึดมั่นกายอื่น บุคคลนั้นเราเรียกว่า ควรถูกตำหนิ
             ฉันนภิกษุหามีลักษณะนั้นไม่ ฉันนภิกษุหาศาตรามาฆ่าตัวอย่างไม่ควรถูกตำหนิ
             (การฆ่าตัวตาย อาจจะมีบุคคลอื่นๆ ตำหนิได้ แต่ว่า ท่านพระฉันนะบรรลุพระอรหัต
ก่อนมรณภาพ จึงปรินิพพาน จึงเป็นอันละทิ้งกายนี้เพราะตาย และไม่ยึดมั่นกายอื่นเพราะอาสวะ
สิ้นไปแล้ว ตัณหาสิ้นไปแล้ว จึงไม่ยึดมั่นกายอื่น (กายใหม่)
             ดังนั้น ท่านพระฉันนะจึงไม่ควรถูกตำหนิใดๆ เลย)
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

ความคิดเห็นที่ 24
ฐานาฐานะ, 21 มีนาคม เวลา 04:33 น.

GravityOfLove, 6 ชั่วโมงที่แล้ว
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค
              ๒. ฉันโนวาทสูตร ว่าด้วยการให้โอวาทแก่ท่านพระฉันนะ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9525&Z=9640&bgc=whitesmoke&pagebreak=0
...
10:08 PM 3/20/2014

              ย่อความได้ดีครับ และนำคำอธิบายของอรรถกถาของ 2 พระสูตร
มาประกอบการย่อความได้ดี.
              อรรถกถาฉันโนวาทสูตร และอรรถกถาฉันนสูตรที่ ๔ ตามลำดับ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=741
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=104

ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 26 มีนาคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 18:51:21 น.
Counter : 758 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มีนาคม 2557

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
27
28
29
30
31
 
 
26 มีนาคม 2557
All Blog