28.9 พระสูตรหลักถัดไป คืออนาถปิณฑิโกวาทสูตร [พระสูตรที่ 43]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
28.8 พระสูตรหลักถัดไป คืออนาถปิณฑิโกวาทสูตร [พระสูตรที่ 43]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=05-05-2014&group=3&gblog=52

ความคิดเห็นที่ 91
ฐานาฐานะ, 3 พฤษภาคม เวลา 01:28 น.

GravityOfLove, 57 นาทีที่แล้ว
...
5:55 PM 5/2/2014

              อธิบายว่า
              ไม่ค่อยเข้าใจนัก เพราะกำหนดความหมายของนัยทั้ง 3
อย่างแน่ใจว่าถูกต้อง ยังไม่ได้.
              นัยทั้ง 3 ที่อาจจะเป็นไปได้คือ
              กลุ่มที่ 1 ได้แก่
              1.1 นัยของการเจริญในข้อ ๘๕๖-๘๖๑ ที่อรรถกถาใช้คำว่า วิปัสสนูเปกขา
              1.2 ในข้อ ๘๖๒ หรือนัยของพระเสขะ
               ในคำว่า ก็พระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่เป็นอย่างไร
              1.3 ในข้อ ๘๖๓-๘๖๔ ในคำว่า ก็พระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว ฯ
               ซึ่งน่าจะหมายถึงพระอเสขบุคคล เพราะเจริญแล้ว.

              กลุ่มที่ 2 ได้แก่ การจัดกลุ่มในข้อ ๘๖๓-๘๖๔ ให้เป็น 3 นัย
              คือ
              2.1 มนสิการว่า เป็นของไม่ปฏิกูล
              2.2 มนสิการว่า เป็นของปฏิกูล
              2.3 วางเฉยเว้นเสียซึ่งสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้น

              กลุ่มที่ 3 ได้แก่ การจัดกลุ่มคำว่า ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ
ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น ให้เป็น 3 นัยคือ
              3.1 นัยของกามฉันทะ พยาบาท เศร้าหมอง เพราะกิเลส เป็นอกุศลธรรม.
              3.2 นัยโสมนัสที่เกิดแก่กุศลจิต ไม่เศร้าหมอง เพราะกิเลส เป็นกุศลธรรม แต่ก็เป็นวัฏฏะ
              3.3 นัยของสุขที่เป็นวิบากธรรม ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นกุศล แต่เป็นอัพยากตธรรม.

              แต่ว่า กลุ่มที่ 1 นั้นน่าจะเป็นไปได้มากที่สุด เพราะเป็นเนื้อความท้ายอรรถกถา
และในข้อ ๘๖๕ อันเป็นข้อสุดท้ายของพระสูตร ก็มีเนื้อความสอดคล้องกัน คือ

              [๘๖๕] ดูกรอานนท์ เราแสดงการเจริญอินทรีย์อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่า
ในวินัยของพระอริยะ แสดงพระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่ แสดงพระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว
ด้วยประการฉะนี้แล

              ดูกรอานนท์ กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์ เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์
อาศัยความอนุเคราะห์พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ
              ดูกรอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน
อย่าได้ประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนของเรา
แก่พวกเธอ ฯ
              พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคฉะนี้แล ฯ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10912&Z=11073

              ตั้งคำถามอีกครั้ง :-
              กรุณาอธิบายค่ะ
              ก็แหละความเศร้าหมองคือความพอใจไม่พอใจ ทั้งพอใจและไม่พอใจ ย่อมใช้ได้ในนัยแรก
ในบรรดานัยทั้ง ๓ เหล่านี้. ความไม่เศร้าหมองก็ย่อมใช้ได้. ในนัยที่ ๒ สังกิเลสย่อมใช้ได้.
ในนัยที่ ๓ ความเศร้าหมองย่อมใช้ได้.
              มีคำที่ท่านกล่าวไว้อีกว่า ความเศร้าหมองที่หนึ่งย่อมใช้ได้
ความเศร้าหมองและความไม่เศร้าหมองที่สองก็ใช้ได้ ความไม่เศร้าหมองที่สาม เท่านั้นจึงใช้ได้.

              หากเป็นตามกลุ่มที่ 1 ก็ยังอธิบายได้ยาก สันนิษฐานว่า
              นัยที่ 1 การเจริญอินทรีย์อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ
มีความพอใจไม่พอใจ ทั้งพอใจและไม่พอใจ อันเป็นราคะและโทสะ อันเศร้าหมอง
เป็นอารมณ์ในการพิจารณา.
              จึงได้ในคำว่า ความเศร้าหมองที่หนึ่งย่อมใช้ได้.
              นัยที่ 2 การเจริญอินทรีย์อย่างพระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่
ก็มีราคะและโทสะ อันเศร้าหมองเป็นอารมณ์ในการพิจารณา
และมีวัฏฏะทั้งปวง เป็นอารมณ์ด้วย
              กล่าวคือ แม้โลกียกุศลก็ตาม ก็ยังไม่หลุดพ้นอยู่นั่นเอง
จึงอึดอัด เบื่อหน่าย ใคร่จะพ้นไปเสีย (จากวัฏฏะ)
              จึงได้ในคำว่า ความเศร้าหมองและความไม่เศร้าหมองที่สองก็ใช้ได้

              นัยที่ 3 อินทรีย์ของพระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว
              กล่าวคือ สันนิษฐานว่า หมายถึงพระอเสขบุคคล เพราะเจริญแล้ว
ความพอใจไม่พอใจ ทั้งพอใจและไม่พอใจ นัยนี้น่าจะหมายถึง
              อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ ในคำว่า ความพอใจไม่พอใจ
จึงเป็นอารมณ์ที่น่าพอใจ และอารมณ์ที่ไม่พอใจ ตามลำดับ
              และอารมณ์กลางๆ ในคำว่า ทั้งพอใจและไม่พอใจ
จึงเป็นอารมณ์ที่อาจจะน่าพอใจหรือไม่น่าพอใจ เพราะเป็นกลางๆ
ไม่ชัดเจนไปทางใดทางหนึ่ง.
              อารมณ์ที่น่าพอใจ เช่น อาหารรสเลิศ มิตรสหายเป็นต้น
ก็สามารถพิจารณาด้วยอสุภ แล้วได้ความสำคัญหมายว่าน่าปฏิกูล.
              อารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ เช่น เศษอาหาร หรืออาหารเก่า
ซากศพ คนเจ็บไข้ถ่ายอุจจาระเรี่ยราด ก็สามารถพิจารณาโดยความเป็น
ธาตุ 4 ดินน้ำลมไฟ หรือแผ่เมตตาแล้วได้ความสำคัญหมายว่าไม่น่าปฏิกูล.
              เพราะหมายถึงพระอเสขบุคคล จึงได้ในคำว่า
               ความไม่เศร้าหมองที่สาม เท่านั้นจึงใช้ได้.
              สันนิษฐานล้วน.

ความคิดเห็นที่ 92
GravityOfLove, 3 พฤษภาคม เวลา 06:51 น.

พอจะเข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 93
GravityOfLove, 3 พฤษภาคม เวลา 07:06 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค
             ๑๐. อินทริยภาวนาสูตร ว่าด้วยการเจริญอินทรีย์
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10912&bgc=honeydew&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าไผ่ ในนิคมชื่อกัชชังคลา
             ครั้งนั้น อุตตรมาณพ ศิษย์พราหมณ์ปาราสิริยะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
             ปาราสิริยพราหมณ์แสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวกหรือเปล่า
             อุตตรมาณพทูลตอบว่า แสดง พระโคดมผู้เจริญ
             ตรัสถามว่า แสดงอย่างใด ด้วยประการใด
             อุตตรมาณพทูลตอบว่า อย่าเห็นรูปด้วยจักษุ อย่าได้ยินเสียงด้วยโสต
             ตรัสว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ คนที่เจริญอินทรีย์แล้วตามคำของปาราสิริยพราหมณ์
ต้องเป็นคนตาบอด ต้องเป็นคนหูหนวก เพราะคนตาบอดไม่เห็นรูปด้วยจักษุ
คนหูหนวกไม่ได้ยินเสียงด้วยโสต
             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ อุตตรมาณพนั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก
ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ
             พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า อุตตรมาณพนิ่ง คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ
จึงรับสั่งกับท่านพระอานนท์ว่า
             ปาราสิริยพราหมณ์ ย่อมแสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง
ส่วนการเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ย่อมเป็นอีกอย่างหนึ่ง
             ท่านพระอานนท์ทูลขอให้พระองค์ทรงแสดงการเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่า
ในวินัยของพระอริยะ

การเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ
             พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
             ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและ
ไม่ชอบใจขึ้น เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ
             เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและ
ไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ (ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น
ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคือ อุเบกขา
             เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น
              เหมือนอย่างภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและ
ไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบากเหมือนอย่างบุรุษมีตาดีกระพริบตา
             เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ตรัสทำนองเดียวกัน
             (เปรียบการดับความชอบใจ ฯลฯ อันเกิดจากอายตนะเหล่านี้ อย่างเร็วและไม่ลำบาก
ดังต่อไปนี้ตามลำดับ
             หู - บุรุษมีกำลัง ดีดนิ้วมือโดยไม่ลำบาก
             จมูก - หยาดน้ำกลิ้งไปบนใบบัว ย่อมไม่ติดในที่ที่กลิ้งไปสักน้อยหนึ่ง
             ลิ้น - บุรุษมีกำลังตะล่อมก้อนเขฬะไว้ตรงปลายลิ้น แล้วถ่มไปโดยไม่ลำบาก
             กาย - บุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดโดยไม่ลำบาก
             มโน - บุรุษมีกำลัง หยดหยาดน้ำสองหรือสามหยาดลงในกระทะเหล็กที่ร้อนจัด
ตลอดวัน ความหยดลงแห่งหยาดน้ำยังช้า ทันทีนั้น หยาดน้ำนั้นจะถึงความสิ้นไป แห้งไปเร็ว)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อินทรีย์
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อายตนะ_12

พระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่
             ตรัสต่อไปว่า พระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่เป็นอย่างไร
             ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและ
ไม่ชอบใจ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ
             เธอย่อมอึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความชอบใจ ความไม่ชอบใจ
ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้น
             เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ตรัสทำนองเดียวกัน
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เสขะ

พระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว
             ตรัสต่อไปว่า ก็พระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว เป็นอย่างไร
             ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและ
ไม่ชอบใจขึ้น เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ
             เธอถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้
(หมายความว่า หมายรู้ด้วยการแผ่เมตตา หรือเทียบเคียงโดยความเป็นธาตุ)
             ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้
(หมายความว่า หมายรู้ด้วยการแผ่อสุภะ หรือเทียบเคียงโดยอนิจจลักษณะ)
             ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้
(หมายความว่า หมายรู้ด้วยการแผ่เมตตา หรือเทียบเคียงโดยความเป็นธาตุ)
             ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้
(หมายความว่า หมายรู้ด้วยการแผ่อสุภะ หรือเทียบเคียงโดยอนิจจลักษณะ)
             ถ้าหวังว่าจะวางเฉยเว้นเสียซึ่งสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้น อยู่อย่างมีสติ
สัมปชัญญะ ก็ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสิ่งนั้นๆ อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะได้
             เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ตรัสทำนองเดียวกัน
             ปัญญาวรรค อิทธิกถา : ฤทธิ์ของพระอริยะเป็นไฉน
//84000.org/tipitaka/read/?31/690

              ดูกรอานนท์ กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์ เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์
อาศัยความอนุเคราะห์พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ
             ดูกรอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าได้ประมาท
อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
[แก้ไขตาม #94]

ความคิดเห็นที่ 94
ฐานาฐานะ, 3 พฤษภาคม เวลา 21:04 น.

GravityOfLove, 9 ชั่วโมงที่แล้ว
...
7:06 AM 5/3/2014

              ย่อความได้ดีครับ
              มีข้อติงเล็กน้อย คือ
              จมูก - ยาดน้ำกลิ้งไปบนใบบัว ย่อมไม่ติดในที่ที่กลิ้งไปสักน้อยหนึ่ง
แก้ไขเป็น
              จมูก - หยาดน้ำกลิ้งไปบนใบบัว ย่อมไม่ติดในที่ที่กลิ้งไปสักน้อยหนึ่ง
              ลิงค์อิทธิกถาในย่อความนี้ ได้มาจากที่ไหนหนอ?
              ปัญญาวรรค อิทธิกถา : ฤทธิ์ของพระอริยะเป็นไฉน
//84000.org/tipitaka/read/?31/690

ความคิดเห็นที่ 95
ฐานาฐานะ, 3 พฤษภาคม เวลา 21:05 น.

             คำถามในอินทริยภาวนาสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10912

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. อุตตรมาณพได้สดับพระธรรมเทศนานี้หรือไม่
ถ้าได้ฟัง อุตตรมาณพได้บรรลุธรรมใดหรือไม่?

ความคิดเห็นที่ 96
GravityOfLove, 3 พฤษภาคม เวลา 22:01 น.

             ลิงค์อิทธิกถาในย่อความนี้ ได้มาจากอรรถกถาพระสูตรนี้แหละค่ะ
             ตอบคำถามในอินทริยภาวนาสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10912

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
            ๑. การเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ, พระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่,
พระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว เมื่อกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและ
ไม่ชอบใจ
             ๒. อรรถกถามัชฌิมนิกาย ชื่อปปั ญจสูทนี (พระพุทธโฆษาจารย์ เรียบเรียงจาก
อรรถกถาภาษาสิงหฬ เมื่อ พ.ศ. ใกล้จะถึง ๑๐๐๐) นี้ ถือเอาสาระจากมหาอรรถกถา
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=พุทธโฆษาจารย์&detail=on
- - - - - - - - - - -
             2. อุตตรมาณพได้สดับพระธรรมเทศนานี้หรือไม่
ถ้าได้ฟัง อุตตรมาณพได้บรรลุธรรมใดหรือไม่?
             [๘๕๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า อุตตรมาณพศิษย์
ปาราสิริยพราหมณ์ นิ่ง คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ จึงรับสั่งกะ
ท่านพระอานนท์ว่า ...
             จากข้อ ๘๕๕ พออุตตรมาณพนั่งนิ่งคอตกแล้ว พระผู้มีพระภาค
ตรัสแก่ท่านพระอานนท์เลย อุตตรมาณพน่าจะยังไม่หลีกไปไหน
น่าจะอยู่ฟังพระธรรมเทศนานี้ต่อค่ะ
             ไม่สามารถบอกได้ว่า อุตตรมาณพได้บรรลุธรรมหรือไม่
แต่จากเนื้อหาธรรมที่ทรงแสดง เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระอริยะ
ดังนั้น แม้ไม่บรรลุในวันนี้ ก็เป็นปัจจัยในการบรรลุมรรคผลแก่เขาในอนาคต

ความคิดเห็นที่ 97
ฐานาฐานะ, 4 พฤษภาคม เวลา 00:32 น.

GravityOfLove, 2 ชั่วโมงที่แล้ว
...
10:00 PM 5/3/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             ลิงค์อิทธิกถานี้ ที่ถามเพราะมองไม่ถ้วนถี่ว่า อยู่ในอรรถกถาพระสูตรนี้เอง
ทำให้นึกแปลกใจว่า นำมาจากไหน.
             สำหรับอุตตรมาณพ ก็น่าจะเป็นไปตามคำตอบของคุณ GravityOfLove
คือ น่าจะได้ฟังพระธรรมเทศนา แต่กำหนดไม่ได้ว่า บรรลุธรรมหรือไม่
ไม่ว่าจะบรรลุหรือไม่บรรลุก็ตาม การได้ฟังนี้ ก็เป็นประโยชน์ต่อเขา.
             อุตตรมาณพ น่าจะมีบุญมากโขอยู่ คือได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ได้สนทนาปราศัยกับพระผู้มีพระภาค และได้ฟังพระธรรมเทศนา
ทำให้นึกถึงความปรารถนาของพระยายม ซึ่งอุตตรมาณพได้แล้วเป็นส่วนใหญ่
ขาดหรือกำหนดไม่ได้ในข้อสุดท้ายเท่านั้นเอง.

             [๕๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระยายมได้มีความดำริอย่างนี้ว่า
พ่อเจ้าประคุณเอ๋ย เป็นอันว่า เหล่าสัตว์ที่ทำกรรมลามกไว้ในโลก ย่อมถูกนายนิรยบาล
ลงกรรมกรณ์ ต่างชนิดเห็นปานนี้
             โอหนอ ขอเราพึงได้ความเป็นมนุษย์
             ขอพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธพึงเสด็จอุบัติในโลก
             ขอเราพึงได้นั่งใกล้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
             ขอพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นพึงทรงแสดงธรรมแก่เรา
             และขอเราพึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเถิด ฯ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=14&A=6750#524

ความคิดเห็นที่ 98
ฐานาฐานะ, 4 พฤษภาคม เวลา 00:45 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า อินทริยภาวนาสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10912&Z=11073

             เป็นอันจบพระไตรปิฎกเล่มที่ 14 มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
             และจบมัชฌิมนิกายด้วย น่าจะใส่บาตรฉลอง 2 ครั้ง.
             คำถามว่า
             พระไตรปิฎกเล่มที่ 14 เริ่มศึกษาเมื่อวันที่เท่าไหร่หนอ?
และใช้เวลาศึกษานานเท่าไหร่?

              พระสูตรหลักถัดไป คือ โอฆตรณสูตร [พระสูตรที่ 1].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              เทวตาสังยุตต์ นฬวรรค
              ๑. โอฆตรณสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=0&Z=29
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=1

              ๒. นิโมกขสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=30&Z=50
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=4

              ๓. อุปเนยยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=51&Z=59
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=7


๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร             ๒. ฉันโนวาทสูตร             ๓. ปุณโณวาทสูตร
๔. นันทโกวาทสูตร             ๕. จูฬราหุโลวาทสูตร             ๖. ฉฉักกสูตร
๗. สฬายตนวิภังคสูตร             ๘. นครวินเทยยสูตร             ๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร
๑๐. อินทริยภาวนาสูตร
จบ อุปริปัณณาสก์

ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 05 พฤษภาคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 19:56:46 น.
Counter : 983 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



พฤษภาคม 2557

 
 
 
 
1
2
3
4
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog