28.8 พระสูตรหลักถัดไป คืออนาถปิณฑิโกวาทสูตร [พระสูตรที่ 43]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
28.7 พระสูตรหลักถัดไป คืออนาถปิณฑิโกวาทสูตร [พระสูตรที่ 43]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=05-05-2014&group=3&gblog=51
ความคิดเห็นที่ 82
GravityOfLove, 1 พฤษภาคม เวลา 07:32 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 83
GravityOfLove, 1 พฤษภาคม เวลา 07:37 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค
             ๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร ว่าด้วยการทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10783&Z=10911&bgc=honeydew&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคยเป็นสถานที่
พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์
             ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้น (ในที่นี้หมายถึง ออกจากผลสมาบัติ)
ในเวลาเย็น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สารีบุตร เธอมีอินทรีย์ผ่องใส มีผิวพรรณบริสุทธิ์ผุดผ่อง
เธออยู่ด้วยวิหารธรรม (ธรรมเครื่องอยู่) อะไรเป็นส่วนมากในบัดนี้
             ท่านพระสารีบุตรทูลว่า ข้าพระองค์อยู่ด้วยวิหารธรรมคือสุญญตสมาบัติ
(ผลสมาบัติที่มีความว่างเปล่าเป็นอารมณ์)
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ดีละๆ เป็นอันว่าเธออยู่ด้วยวิหารธรรมของมหาบุรุษเป็นส่วนมากในบัดนี้
เพราะวิหารธรรมของมหาบุรุษนี้ก็คือสุญญตสมาบัติ (วิหารธรรมของมหาบุรุษ มหาปุริสวิหาร
ได้แก่ ธรรมเครื่องอยู่ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกผู้ใหญ่)
             เพราะฉะนั้น ภิกษุถ้าหวังว่าจะอยู่ด้วยวิหารธรรมคือสุญญตสมาบัติเป็นส่วนมาก
ภิกษุนั้นพึงพิจารณาดังนี้ว่า
             ๑. เราเข้าไปบิณฑบาต และกลับจากบิณฑบาต เรามีความพอใจ (ฉันทะ)
หรือความกำหนัด (ราคะ) หรือความขัดเคือง (โทสะ) หรือความลุ่มหลง (โมหะ) หรือ
แม้ความกระทบกระทั่ง (ปฏิฆะ) ทางใจในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุบ้างไหม
             ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเข้าไปบิณฑบาต และกลับจากบิณฑบาต
เรามีความพอใจ หรือความกำหนัด หรือความขัดเคือง หรือความลุ่มหลง หรือแม้
ความกระทบกระทั่งทางใจในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุอยู่
             ภิกษุนั้นพึงพยายามละอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นเสีย
             แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเข้าไปบิณฑบาต และกลับจากบิณฑบาต
เราไม่มีความพอใจ หรือความกำหนัด หรือความขัดเคือง หรือความลุ่มหลง หรือแม้
ความกระทบกระทั่งทางใจในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ
             ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย
อยู่ได้ด้วยปีติและปราโมทย์นั้น
             เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ตรัสทำนองเดียวกัน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อายตนะ_12

             ๒. เราละกามคุณ ๕ ได้แล้วหรือหนอ
             ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เรายังละกามคุณ ๕ ไม่ได้เลย
ภิกษุนั้นพึงพยายามละกามคุณ ๕
             แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราละกามคุณ ๕ ได้แล้ว
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย
อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้น
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กามคุณ_5

             ๓. เราละนีวรณ์ ๕ ได้แล้วหรือหนอ
             ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เรายังละนีวรณ์ ๕ ไม่ได้เลย
ภิกษุนั้นพึงพยายามละนีวรณ์ ๕
             แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราละนีวรณ์ ๕ ได้แล้ว
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย
อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้น
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=นิวรณ์_5

             ๔. เรากำหนดรู้อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แล้วหรือหนอ
             ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เรายังกำหนดรู้อุปาทานขันธ์ ๕ ไม่ได้เลย
ภิกษุนั้นพึงพยายามกำหนดรู้อุปาทานขันธ์ ๕
             แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เรากำหนดรู้อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แล้ว
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย
อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้น
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อุปาทานขันธ์

             ๕. เราเจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วหรือหนอ
             ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่าเรายังไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เลย
ภิกษุนั้นพึงพยายามเจริญสติปัฏฐาน ๔
             แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย
อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้น
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สติปัฏฐาน_4

             ๖. เราเจริญสัมมัปปธาน ๔ แล้วหรือหนอ
             ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้เจริญสัมมัปปธาน ๔ เลย
ภิกษุนั้นพึงพยายามเจริญสัมมัปปธาน ๔
             แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญสัมมัปปธาน ๔ แล้ว
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย
อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้น
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปธาน_4

             ๗. เราเจริญอิทธิบาท ๔ แล้วหรือหนอ
             ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้เจริญอิทธิบาท ๔ เลย
ภิกษุนั้นพึงพยายามเจริญอิทธิบาท ๔
             แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญอิทธิบาท ๔ แล้ว
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย
อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้น
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อิทธิบาท_4

             ๘. เราเจริญอินทรีย์ ๕ แล้วหรือหนอ
             ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้เจริญอินทรีย์ ๕ เลย
ภิกษุนั้นพึงพยายามเจริญอินทรีย์ ๕
             แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญอินทรีย์ ๕ แล้ว
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย
อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้น
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อินทรีย์_5

             ๙. เราเจริญพละ ๕ แล้วหรือหนอ
             ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้เจริญพละ ๕ เลย
ภิกษุนั้นพึงพยายามเจริญพละ ๕
             แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญพละ ๕ แล้ว
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย
อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้น
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พละ_5

             ๑๐. เราเจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วหรือหนอ
             ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ เลย
ภิกษุนั้นพึงพยายามเจริญโพชฌงค์ ๗
             แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย
อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้น
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โพชฌงค์_7

             ๑๑. เราเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐแล้วหรือหนอ
             ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้เจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐเลย
ภิกษุนั้นพึงพยายามเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐ
             แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐแล้ว
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย
อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้น
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อัฏฐังคิกมรรค

             ๑๒. เราเจริญสมถะและวิปัสสนาแล้วหรือหนอ
             ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้เจริญสมถะและวิปัสสนาเลย
ภิกษุนั้นพึงพยายามเจริญสมถะและวิปัสสนา
             แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญสมถะและวิปัสสนาแล้ว
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย
อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้น
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภาวนา_2

             ๑๓. เราทำวิชชาและวิมุตติให้แจ้งแล้วหรือหนอ
             ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้ทำวิชชาและวิมุตติให้แจ้งเลย
ภิกษุนั้นพึงพยายามทำวิชชาและวิมุตติให้แจ้ง
             แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราทำวิชชาและวิมุตติให้แจ้งแล้ว
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย
อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้น
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิชชา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิมุตติ

             ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ผู้ทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์แล้ว
ในอดีตกาล ทั้งหมดนั้น พิจารณาแล้วๆ อย่างนี้ จึงทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ได้
             สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ผู้จะทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์
ในอนาคตกาล ทั้งหมดนั้น ต้องพิจารณาแล้วๆ อย่างนี้ จึงจะทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ได้
             สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ผู้กำลังทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์อยู่
ในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ย่อมพิจารณาแล้วๆ อย่างนี้ จึงทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ได้
             เพราะฉะนั้น พวกเธอพึงสำเหนียกว่า จะพิจารณาแล้วๆ ทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

ความคิดเห็นที่ 84
ฐานาฐานะ, 1 พฤษภาคม เวลา 20:34 น.

GravityOfLove, 11 ชั่วโมงที่แล้ว
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค
              ๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร ว่าด้วยการทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10783&Z=10911&bgc=honeydew&pagebreak=0
...
7:37 AM 5/1/2014

              ย่อความได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 85
ฐานาฐานะ, 1 พฤษภาคม เวลา 20:38 น.

             คำถามในปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10783&Z=10911

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 86
GravityOfLove, วันพฤหัส เวลา 21:16 น.

             ตอบคำถามในปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10783&Z=10911

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญท่านพระสารีบุตรที่อยู่ด้วยสุญญตสมาบัติ
และทรงแสดงการพิจารณาของสมณะหรือพราหมณ์ผู้ทําบิณฑบาตให้บริสุทธิ์
เพราะฉะนั้นภิกษุพึงสําเหนียกว่า จักพิจารณาแล้วๆ ทําบิณฑบาตให้บริสุทธิ์
             ๒. สุญญตวิหาร คือผลสมาบัติที่มีความว่างเปล่าเป็นอารมณ์ ซึ่งเป็นธรรม
เครื่อง อยู่ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกผู้ใหญ่ของพระตถาคตเจ้า
             ๓. การพิจารณาของภิกษุแต่ละรูป ย่อมแตกต่างกันไป

ความคิดเห็นที่ 87
ฐานาฐานะ, 1 พฤษภาคม เวลา 21:55 น.

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             ขอเสริมดังนี้ :-
             ท่านพระสารีบุตร สามารถเข้าสมาบัติต่างๆ ได้มากมาย
แม้พระมหาสาวกองค์อื่นๆ ก็เช่นกัน เช่นในสารีปุตตสังยุต ก็ปรากฎว่า
ท่านพระอานนท์ก็ได้สอบถามท่านพระสารีบุตรว่า
             ท่านพระสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร?
             และแม้พระมหาสาวกองค์อื่นๆ ก็สามารถเข้าสมาบัติต่างๆ ได้
มากมาย เช่น ท่านพระลกุณฐกภัททิยะ พระศาสดาทรงสรรเสริญไว้ว่า
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
ก็สมาบัติที่ภิกษุนั้นไม่เคยเข้าแล้ว ไม่ใช่หาได้ง่าย
             ภิกษุนั้นทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม
ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ฯ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=25&A=3841&w=ที่ภิกษุนั้นไม่เคยเข้าแล้ว+ไม่ใช่หาได้ง่าย

             สารีปุตตสังยุต
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=5973&Z=6123

ความคิดเห็นที่ 88
GravityOfLove, 2 พฤษภาคม เวลา 09:40 น.

อ่านลิงค์แนะนำจบแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 89
ฐานาฐานะ, 2 พฤษภาคม เวลา 14:09 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10783&Z=10911

              พระสูตรหลักถัดไป คือ อินทริยภาวนาสูตร [พระสูตรที่ 52].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              อินทริยภาวนาสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10912&Z=11073
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=853

ความคิดเห็นที่ 90
GravityOfLove, 2 พฤษภาคม เวลา 17:55 น.

              อินทริยภาวนาสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=853&bgc=honeydew
             กรุณาอธิบายค่ะ
             ก็แหละความเศร้าหมองคือความพอใจไม่พอใจ ทั้งพอใจและไม่พอใจ
ย่อมใช้ได้ในนัยแรก ในบรรดานัยทั้ง ๓ เหล่านี้.
             ความไม่เศร้าหมองก็ย่อมใช้ได้. ในนัยที่ ๒ สังกิเลสย่อมใช้ได้.
ในนัยที่ ๓ ความเศร้าหมองย่อมใช้ได้.
             มีคำที่ท่านกล่าวไว้อีกว่า ความเศร้าหมองที่หนึ่งย่อมใช้ได้
ความเศร้าหมองและความไม่เศร้าหมองที่สองก็ใช้ได้
ความไม่เศร้าหมองที่สาม เท่านั้นจึงใช้ได้.
             ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 05 พฤษภาคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 19:55:36 น.
Counter : 456 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



พฤษภาคม 2557

 
 
 
 
1
2
3
4
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog