26.4 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬสุญญตสูตร [พระสูตรที่ 21]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
26.3 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬสุญญตสูตร [พระสูตรที่ 21]

ความคิดเห็นที่ 6-34
GravityOfLove, 30 มกราคม เวลา 22:37 น.

ขอบพระคุณค่ะ
             ตอบคำถามในอัจฉริยัพภูตธัมมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5090&Z=5281

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ท่านพระอานนท์แสดงธรรมอันน่าอัศจรรย์ของพระผู้มีพระภาค ๑๙ ข้อ
พระผู้มีพระภาคตรัสเพิ่มอีก ๑ ข้อ
             ๒. พระโพธิสัตว์ดำรงอยู่สวรรค์ชั้นดุสิตตลอดอายุ
เพราะทรงบำเพ็ญบารมีทุกอย่างบริบูรณ์แล้ว
             ถ้าพระโพธิสัตว์บังเกิดในเทวโลกที่เทวดามีอายุยืน ไม่อาจบำเพ็ญบารมี
ในเทวโลกนั้นได้ จะทรงลืมพระเนตรทั้งสอง กระทำอธิมุตตกาลกิริยา (กลั้นใจตาย)
แล้วบังเกิดในมนุษยโลก กาลกิริยาอย่างนี้ไม่มีแก่เทวดาเหล่าอื่น
             ๓. บุพนิมิต ๕ อย่างคือ ดอกไม้เหี่ยว ๑ ผ้าเศร้าหมอง ๑ เหงื่อออกจากรักแร้ ๑
กายเริ่มเศร้าหมอง ๑ เทวดาไม่ดำรงอยู่บนอาสนะของเทวดา ๑ จะปรากฏเฉพาะเหล่าเทพ
ผู้มีศักดิ์ใหญ่หรือฉลาดเท่านั้น ไม่ปรากฏแก่เทพทั่วไป
             ๔. พระโพธิสัตว์ก่อนจะจุติเป็นพระพุทธเจ้า จะทรงตรวจดูมหาวิโลกนะ
(การตรวจดูอันยิ่งใหญ่) ๕ ประการ คือ กาล ทวีป ประเทศ ตระกูล และการกำหนดอายุ
ของพระมารดา ตามลำดับ
             ๕. สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงบำเพ็ญบารมี ๔ อสงไขยแสนกัปบ้าง
๘ อสงไขยแสนกัปบ้าง ๑๖ อสงไขยแสนกัปบ้าง
             ๖. พระโพธิสัตว์ทรงก้าวลงโดยวิธีก้าวลงสู่พระครรภ์อย่างที่ ๔ คือ
ก้าวลงสู่ท้องมารดาก็รู้ตัว ตั้งอยู่ในท้องมารดาก็รู้ตัว ทั้งออกจากท้องมารดาก็รู้ตัว
             ๗. พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา พรหมชั้นสุทธาวาสรับก่อน
ต่อมาท้าวมหาราชทั้ง ๔ รับ ต่อมามนุษย์รับ แล้วจึงประทับยืนบนแผ่นดิน
             ๘. ในเทวโลกทุกชั้นย่อมมีสวนนันทวันทั้งนั้น
             ๙. ท้าวมหาราชทั้ง ๔ มีอยู่ทุกจักรวาลๆ ละ ๔ องค์
             ๑๐. เหตุที่พระมารดาของพระโพธิสัตว์เสด็จสวรรคต ๗ วัน หลังจากประสูติพระโพธิสัตว์
             ๑๑. บุพนิมิตแห่งการประสูติพระโพธิสัตว์ เช่น ความหวั่นไหวแห่งหมื่นโลกธาตุ
เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะซึ่งพระสัพพัญญุตญาณของพระมหาบุรุษ
             ๑๒. พระโพธิสัตว์ประสูติแล้วประทับยืนและย่างพระบาทได้เลย เป็นเรื่องราวที่พระผู้มีพระภาคทรงรับรอง
ไม่ใช่อรรถกถาจารย์กล่าวขึ้นมาเอง
------------------------------
             2. พระสูตรนี้มีเนื้อความคล้ายพระสูตรใดที่ได้ศึกษามาแล้ว.
             มหาปทานสูตรค่ะ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=0&Z=1454&pagebreak=0

ความคิดเห็นที่ 6-35
ฐานาฐานะ, 31 มกราคม เวลา 00:03 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
ขอบพระคุณค่ะ
             ตอบคำถามในอัจฉริยัพภูตธัมมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5090&Z=5281
...
10:37 PM 1/30/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             ๓. บุพนิมิต ๕ อย่างคือ ดอกไม้เหี่ยว ๑ ผ้าเศร้าหมอง ๑ เหงื่อออกจากรักแร้ ๑
กายเริ่มเศร้าหมอง ๑ เทวดาไม่ดำรงอยู่บนอาสนะของเทวดา ๑ จะปรากฏเฉพาะเหล่าเทพ
ผู้มีศักดิ์ใหญ่หรือฉลาดเท่านั้น ไม่ปรากฏแก่เทพทั่วไป
             คำถามว่า ข้อ 3 นี้ เคยได้ศึกษามาหรือไม่ว่า มาในพระสูตรใด?
- - - - - - - - - - - - - - -
             ๔. พระโพธิสัตว์ก่อนจะจุติเป็นพระพุทธเจ้า จะทรงตรวจดูมหาวิโลกนะ
(การตรวจดูอันยิ่งใหญ่) ๕ ประการ คือ กาล ทวีป ประเทศ ตระกูล และการกำหนดอายุ
ของพระมารดา ตามลำดับ
             คำว่า จุติ แปลว่า เคลื่อนจากภพหนึ่งไปสู่ภพอื่น, ตาย (ส่วนมากใช้กับเทวดา)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=จุติ
             คำนี้บางคนใช้ในความหมายว่า เกิด (สลับความหมาย)
             ดังนั้นควรเขียนให้ชัดเจน ป้องกันความสับสนว่า
             พระโพธิสัตว์ก่อนจะจุติจากดุสิต มาอุบัติเป็นพระพุทธเจ้าในมนุษยโลก
- - - - - - - - - - - - - - -
             ๖. พระโพธิสัตว์ทรงก้าวลงโดยวิธีก้าวลงสู่พระครรภ์อย่างที่ ๔ คือ
ก้าวลงสู่ท้องมารดาก็รู้ตัว ตั้งอยู่ในท้องมารดาก็รู้ตัว ทั้งออกจากท้องมารดาก็รู้ตัว
             ขอขยายด้วยสัมปสาทนียสูตร [บางส่วน]
             [๗๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง เป็นข้อธรรมที่เยี่ยม คือ
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในการก้าวลงสู่ครรภ์ การก้าวลงสู่ครรภ์ ๔ เหล่านี้
คือ-
             สัตว์บางชนิดในโลกนี้ ไม่รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวอยู่ใน
ครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่ ๑ ฯ
             ยังอีกข้อหนึ่ง สัตว์บางชนิดในโลกนี้ รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดาอย่างเดียว
แต่ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้เป็นการ
ก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่ ๒ ฯ
             ยังอีกข้อหนึ่ง สัตว์บางชนิดในโลกนี้ รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา รู้สึก
ตัวอยู่ในครรภ์มารดา แต่ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์
ข้อที่ ๓ ฯ
             ยังอีกข้อหนึ่ง สัตว์บางชนิดในโลกนี้ รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา
รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์
ข้อที่ ๔ ฯ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=11&A=2130&Z=2536#77

ความคิดเห็นที่ 6-36
GravityOfLove, 31 มกราคม เวลา 08:59 น.

             ๓. บุพนิมิต ๕ อย่างคือ ... คำถามว่า ข้อ 3 นี้ เคยได้ศึกษามาหรือไม่ว่า มาในพระสูตรใด?
             จวมานสูตรค่ะ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=6074&Z=6109

ความคิดเห็นที่ 6-37
ฐานาฐานะ, 31 มกราคม เวลา 19:04 น.

             ถูกต้องครับ มาในจวมานสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=6074&Z=6109

             ค้นมาตอบหรือว่า จำได้เลย.

ความคิดเห็นที่ 6-38
ฐานาฐานะ, 31 มกราคม เวลา 19:05 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4846&Z=5089

              พระสูตรหลักถัดไป คือพักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร [พระสูตรที่ 24].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
              พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5282&Z=5374
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=380

              ทันตภูมิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5375&Z=5608
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=388

ความคิดเห็นที่ 6-39
GravityOfLove, 31 มกราคม เวลา 19:58 น.

จำชื่อไม่ได้ค่ะ จำได้แต่ว่ามีคำว่า มานๆ
             คำถามพักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5282&Z=5374

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. ท่านพระพักกุละไม่รู้สึกยินดีคหบดีจีวร (คฤหบดีจีวร ผ้าจีวรที่ชาวบ้านถวายพระ)
ในอรรถกถากล่าวว่า ท่านได้คหบดีจีวรอย่างดีจากครอบครัวท่านซึ่งร่ำรวยมาก
             หมายความว่า ที่ท่านกล่าวว่า ท่านไม่ยินดีคหบดีจีวร ไม่ได้หมายความว่า
ท่านไม่ใช้คหบดีจีวร ท่านใช้ (คหบดีจีวรที่ประณีตนั้น) แต่ท่านไม่ได้รู้สึกยินดีในจีวร
ที่ประณีตนั้น ใช่ไหมคะ
             ๒. ท่านไม่รู้จักใช้ศาตราตัดจีวร เป็นต้น
             เพราะมีคนทำให้ท่านแล้ว (คนในครอบครัว) ท่านจึงไม่ต้องทำเองใช่ไหมคะ
             ๓. ผ้าจำนำพรรษา แปลว่าอะไรคะ
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-40
ฐานาฐานะ, 1 กุมภาพันธ์ เวลา 01:54 น.

              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑. ท่านพระพักกุละไม่รู้สึกยินดีคหบดีจีวร (คฤหบดีจีวร ผ้าจีวรที่ชาวบ้านถวายพระ)
ในอรรถกถากล่าวว่า ท่านได้คหบดีจีวรอย่างดีจากครอบครัวท่านซึ่งร่ำรวยมาก
              หมายความว่า ที่ท่านกล่าวว่า ท่านไม่ยินดีคหบดีจีวร ไม่ได้หมายความว่า
ท่านไม่ใช้คหบดีจีวร ท่านใช้ (คหบดีจีวรที่ประณีตนั้น) แต่ท่านไม่ได้รู้สึกยินดีในจีวร
ที่ประณีตนั้น ใช่ไหมคะ
              อธิบายว่า น่าจะเป็นอย่างนั้น ท่านใช้คหบดีจีวร แต่ไม่ยินดี (และไม่ยินร้าย)

              ๒. ท่านไม่รู้จักใช้ศาตราตัดจีวร เป็นต้น
              เพราะมีคนทำให้ท่านแล้ว (คนในครอบครัว) ท่านจึงไม่ต้องทำเองใช่ไหมคะ
              อธิบายว่า น่าจะเป็นอย่างนั้น.

              ๓. ผ้าจำนำพรรษา แปลว่าอะไรคะ
              อธิบายความจากพจนานุกรม พอเข้าใจดังนี้ว่า
              น่าจะเป็นผ้าที่ชาวบ้านถวายแก่พระภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาครบแล้ว
              น่าจะคล้ายๆ ผ้ากฐินที่บุคคลถวายแล้ว และพระสงฆ์ทำสังฆกรรมให้พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
              แต่ว่า ผ้าจำนำพรรษา ชาวบ้านน่าจะถวายกี่ครั้งก็ได้ ในจีวรกาล.
              คำว่า กฐิน
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=กฐิน

              ผ้าจำนำพรรษา ผ้าที่ทายกถวายแก่พระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาครบแล้วในวัดนั้น ภายในเขตจีวรกาล;
              เรียกเป็นคำศัพท์ ผ้าวัสสาวาสิกา วัสสาวาสิกสาฏก หรือ วัสสาวาสิกสาฏิกา;
              ดู อัจเจกจีวร
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=จำนำพรรษา

              อัจเจกจีวร จีวรรีบร้อน หรือผ้าด่วน
              หมายถึง ผ้าจำนำพรรษาที่ทายกผู้มีเหตุรีบร้อน ขอถวายก่อนกำหนดเวลาปกติ
              (กำหนดเวลาปกติสำหรับถวายผ้าจำนำพรรษา คือ จีวรกาลนั่นเอง กล่าวคือ
ต้องผ่านวันปวารณาไปแล้ว เริ่มแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึง ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ และถ้ากรานกฐินแล้ว
นับต่อไปอีกถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔;
              เหตุรีบร้อนนั้น เช่น เขาจะไปทัพหรือเจ็บไข้ไม่ไว้ใจชีวิต หรือมีศรัทธาเลื่อมใสเกิดขึ้นใหม่)
              อัจเจกจีวรเช่นนี้ มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับเก็บไว้ได้ แต่ต้องรับก่อนวันปวารณาไม่เกิน ๑๐ วัน
(คือตั้งแต่ขึ้น ๖ ค่ำ ถึง ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑)
              (สิกขาบทที่ ๘ แห่งปัตตวรรค นิสสัคคิยปาจิตตีย์)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อัจเจกจีวร

              สิกขาบทที่ ๘ แห่งปัตตวรรค นิสสัคคิยปาจิตตีย์
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=4159&Z=4291

ความคิดเห็นที่ 6-41
GravityOfLove, 1 กุมภาพันธ์ เวลา 11:58 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-42
GravityOfLove, 1 กุมภาพันธ์ เวลา 17:46 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สุญญตวรรค
             ๒๔. พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร ว่าด้วยอัจฉริยธรรมของพระพักกุลเถระ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5282&Z=5374&bgc=whitesmoke&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง ท่านพระพักกุลเถระ (พากุละ) อยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน
อันเคยเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=พักกุละ

             ครั้งนั้น ปริพาชกชื่ออเจละ กัสสป ผู้เป็นสหายของท่านพระพักกุละ
ครั้งเป็นคฤหัสถ์ในกาลก่อน เข้าไปหาท่านพระพักกุละ แล้วถามว่า
             ท่านบวชมานานเท่าไรแล้ว
             ท่านพระพักกุละตอบว่า เราบวชมา ๘๐ พรรษาแล้ว
             ปริพาชกชื่ออเจละ กัสสป ถามว่า ชั่ว ๘๐ ปีนี้ ท่านเสพเมถุนธรรมกี่ครั้ง
             ท่านพระพักกุละตอบว่า
             ท่านไม่ควรถามเราอย่างนั้นเลย แต่ควรจะถามเราอย่างนี้ว่า
ก็ชั่ว ๘๐ ปีนี้ กามสัญญาเคยเกิดขึ้นแก่ท่านกี่ครั้ง
             เมื่อเราบวชมาตลอด ๘๐ พรรษา ไม่รู้สึกกามสัญญาเคยเกิดขึ้น
             ปริพาชกชื่ออเจละ กัสสป กล่าวว่า
             พวกข้าพเจ้าจะทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์
ของท่านพระพักกุละ

             ตลอดเวลาที่ท่านพระพักกุละบวช ๘๐ พรรษานั้น:-
             ๑. ไม่รู้สึกกามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา
             ๒. ไม่รู้สึกกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิตก_3

             ๓. ไม่รู้สึกยินดีคหบดีจีวร (คฤหบดีจีวร ผ้าจีวรที่ชาวบ้านถวายพระ)
ไม่รู้จักใช้ศาตราตัดจีวร ไม่รู้จักใช้เข็มเย็บจีวร ไม่รู้จักใช้เครื่องย้อมจีวร
ไม่รู้จักเย็บจีวรในสะดึง ไม่รู้จักจัดทำจีวรของเพื่อนภิกษุร่วมประพฤติพรหมจรรย์
ด้วยกัน
             ไม่รู้สึกยินดีกิจนิมนต์ ไม่รู้สึกเคยเกิดจิตเห็นปานนี้ว่า ขอใครๆ
พึงนิมนต์เราเถิด ไม่รู้จักนั่งในละแวกบ้าน ไม่รู้จักฉันอาหารในละแวกบ้าน
             ไม่รู้จักถือเอานิมิตของมาตุคามโดยอนุพยัญชนะ ไม่รู้จักแสดงธรรม
แก่มาตุคาม แม้ที่สุดคาถา ๔ บาท
             ไม่รู้จักเข้าไปสู่สำนักของภิกษุณี ไม่รู้จักแสดงธรรมแก่ภิกษุณี
ไม่รู้จักแสดงธรรมแก่สิกขมานา ไม่รู้จักแสดงธรรมแก่สามเณรี
             ไม่รู้จักให้บรรพชา ไม่รู้จักให้อุปสมบท ไม่รู้จักให้นิสสัย (นิสัย)
ไม่รู้จักใช้สามเณรอุปัฏฐาก
             ไม่รู้จักอาบน้ำในเรือนไฟ ไม่รู้จักใช้จุณอาบน้ำ ไม่รู้จักยินดีการ
นวดฟั้นตัวของเพื่อนภิกษุร่วมประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน
             ไม่รู้จักเคยเกิดอาพาธที่สุดแม้ชั่วขณะรีดนมโคสำเร็จ
ไม่รู้จักฉันยาที่สุดแม้ชิ้นเสมอ
             ไม่รู้จักอิงพนัก ไม่รู้จักสำเร็จการนอน
             ไม่รู้จักจำพรรษาในเสนาสนะใกล้เขตบ้าน
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สิกขมานา
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สามเณรี

             ๔. ได้เป็นผู้ยังมีกิเลสต้องรณรงค์ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้น
เพียง ๗ วันเท่านั้น ต่อวันที่ ๘ พระอรหัตผลจึงเกิดขึ้น (พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย)
             ทุกข้อที่ท่านพระพักกุละกล่าวนี้ ปริพาชกชื่ออเจละ กัสสป กล่าวว่า
             พวกข้าพเจ้าจะทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของ
ท่านพระพักกุละ
             ปริพาชกชื่ออเจละ กัสสป ขอบรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้
(ท่านพระพักกุละให้ภิกษุอื่นบวชให้ท่านอเจละ กัสสป) ไม่นานก็บรรลุเป็นพระอรหันต์
             ๕. ครั้นสมัยต่อมา ท่านพระพักกุละ ถือลูกดาลเข้าไปยังวิหารทุกๆ หลัง
แล้วกล่าวว่า
             นิมนต์ท่านผู้มีอายุออกมาเถิดๆ วันนี้จักเป็นวันปรินิพพานของเรา
             ท่านพระกัสสปกล่าวว่า
             ข้อนี้ พวกข้าพเจ้าจะทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้
น่าอัศจรรย์ ของท่านพระพักกุละ
             ๖. ครั้งนั้น ท่านพระพักกุละ นั่งปรินิพพานแล้วในท่ามกลางภิกษุสงฆ์
             ท่านพระกัสสปกล่าวว่า
             ข้อนี้ พวกข้าพเจ้าจะทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้
น่าอัศจรรย์ของท่านพระพักกุละ

ความคิดเห็นที่ 6-43
ฐานาฐานะ, 3 กุมภาพันธ์ เวลา 15:58 น.

GravityOfLove, วันเสาร์ เวลา 17:46 น.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สุญญตวรรค
             ๒๔. พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร ว่าด้วยอัจฉริยธรรมของพระพักกุลเถระ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5282&Z=5374&bgc=whitesmoke&pagebreak=0
...
5:45 PM 2/1/2014

             ย่อความได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 6-44
ฐานาฐานะ, 3 กุมภาพันธ์ เวลา 16:01 น.

              คำถามในพักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5282&Z=5374

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. คำในอรรถกถาว่า
               ... ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า นาภิชานามิ อปสฺสยิตา.
             เป็นคำอธิบายข้อใดในพระสูตร?

               ก็แลพระสูตรนี้ ท่านสงเคราะห์เข้าในทุติยสังคหวาร.
             หมายความว่าอย่างไร?

ความคิดเห็นที่ 6-45
GravityOfLove, 3 กุมภาพันธ์ เวลา 20:33 น.

             ตอบคำถามในพักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5282&Z=5374

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. อัจฉริยธรรมของท่านพระพักกุลเถระ
             ๒. เรื่องราวของท่านพระพักกุละซึ่งเป็นพระมหาสาวกองค์หนึ่ง
             ๓. เหตุการณ์ในพระสูตรนี้ เป็นเหตุการณ์ภายหลังพุทธปรินิพพาน
------------------
             2. คำในอรรถกถาว่า
              ... ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า นาภิชานามิ อปสฺสยิตา.
             เป็นคำอธิบายข้อใดในพระสูตร?
             อธิบายข้อ [๓๘๓] ค่ะ
- - - - - - - - - -
              ก็แลพระสูตรนี้ ท่านสงเคราะห์เข้าในทุติยสังคหวาร.
             หมายความว่าอย่างไร?
             ไม่ทราบค่ะ

ย้ายไปที
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 13:38:00 น.
Counter : 445 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



กุมภาพันธ์ 2557

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
 
 
19 กุมภาพันธ์ 2557
All Blog