26.8 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬสุญญตสูตร [พระสูตรที่ 21]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
26.7 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬสุญญตสูตร [พระสูตรที่ 21]

ความคิดเห็นที่ 6-81
ฐานาฐานะ, 9 กุมภาพันธ์ เวลา 19:06 น.

GravityOfLove, 2 นาทีที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สุญญตวรรค
             ๒๗. อนุรุทธสูตร ว่าด้วยพระอนุรุทธะ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5819&Z=6016&bgc=whitesmoke&pagebreak=0
...
9:34 PM 2/8/2014

             ย่อความได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 6-82
ฐานาฐานะ, 9 กุมภาพันธ์ เวลา 19:12 น.

             คำถามในอนุรุทธสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5819&Z=6016

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. คำถามนัยว่า อรรถต่างกัน พยัญชนะต่างกัน หรือนัยว่า
อรรถเดียวกัน พยัญชนะต่างกัน นัยนี้เคยได้ศึกษาจากพระสูตรใด?
             3. คุณ GravityOfLove สันนิษฐานว่า
             ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะเป็นปุถุชนหรือเป็นพระอริยบุคคล?

ความคิดเห็นที่ 6-83
GravityOfLove, 9 กุมภาพันธ์ เวลา 22:55 น.

             ตอบคำถามในอนุรุทธสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5819&Z=6016

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ความหมายของคำว่า  เจโตวิมุติที่หาประมาณมิได้  และเจโตวิมุติที่เป็นมหัคคตะ
             ๒. การเข้าถึงภพมี ๔ อย่าง
             ๓. เหตุที่เทวดาบางพวกมีรัศมีเล็กน้อย บางพวกมีรัศมีหาประมาณมิได้
             เหตุที่เทวดาบางพวกมีรัศมีเศร้าหมอง บางพวกมีรัศมีบริสุทธิ์
             ๔. ท่านพระอนุรุทธกล่าวว่า ตัวท่านเองเคยอยู่ร่วม เคยเจรจาร่วม
และเคยร่วมสนทนากับเทวดาเหล่านั้นนานมาแล้ว
             ในอรรถกถากล่าวว่า พระเถระบำเพ็ญบารมี บวชเป็นฤษี ยังสมาบัติให้เกิด
ได้กำเนิดในพรหมโลก ๓๐๐ ครั้งติดต่อกันไป
------------------------
             2. คำถามนัยว่า อรรถต่างกัน พยัญชนะต่างกัน หรือนัยว่า
อรรถเดียวกัน พยัญชนะต่างกัน นัยนี้เคยได้ศึกษาจากพระสูตรใด?
             มหาเวทัลลสูตร
             [๕๐๔] ก. ดูกรผู้มีอายุ เจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีประมาณ เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มี
อะไรๆ เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิตธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกัน
และมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกันต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น?
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=9220&Z=9419
------------------------
             3. คุณ GravityOfLove สันนิษฐานว่า
             ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะเป็นปุถุชนหรือเป็นพระอริยบุคคล?
             เป็นปุถุชนค่ะ
             ในอรรถกถาพหุเวทนียสูตรและปัญจกังคสูตร กล่าวว่า ท่านเป็นเวไนยสัตว์
             ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำนิโรธสมาบัติให้เป็นประธาน
แล้วจบเทศนาลงด้วยยอดธรรม คือพระอรหัต ด้วยอำนาจเวไนยบุคคล ดังนี้.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=97
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=409
             คำว่า เวไนย
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เวไนยสัตว์

ความคิดเห็นที่ 6-84
ฐานาฐานะ, 9 กุมภาพันธ์ เวลา 23:24 น.

GravityOfLove, 22 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในอนุรุทธสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5819&Z=6016
...
10:54 PM 2/9/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             ข้อ 3 นั้น คุณ GravityOfLove สันนิษฐานว่า ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะเป็นปุถุชน
โดยคำว่า เวไนยสัตว์ หรือด้วยอำนาจเวไนยบุคคล
             โดยเนื้อความอรรถกถาว่า
             ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำนิโรธสมาบัติให้เป็นประธาน
แล้วจบเทศนาลงด้วยยอดธรรม คือพระอรหัต ด้วยอำนาจเวไนยบุคคล ดังนี้.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

             โดยถือว่า พระเทศนาเป็นไปเพื่อเป็นอุปนิสสัยปัจจัยในการบรรลุอริยมรรคของเขาในอนาคต?
             ผมสันนิษฐานไม่ได้ว่า ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะเป็นปุถุชนหรือพระอริยบุคคล.

ความคิดเห็นที่ 6-85
GravityOfLove, 10 กุมภาพันธ์ เวลา 09:20 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-86
ฐานาฐานะ, 10 กุมภาพันธ์ เวลา 14:33 น.

             ประโยคก่อนสุดท้ายนั้น เป็นคำถามครับ.
             ขอเสริมเรื่องว่า
             ในอรรถกถากล่าวว่า พระเถระบำเพ็ญบารมี บวชเป็นฤษี ยังสมาบัติให้เกิด
ได้กำเนิดในพรหมโลก ๓๐๐ ครั้งติดต่อกันไป
             ผมพิจารณาแล้วก็เลื่อมใส เพราะเหตุว่า ในกาลที่โลกว่างจากพระพุทธศาสนา
เมื่อยังฝึกฝนอยู่  ก็บวชเป็นฤาษี ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ได้กำเนิดในพรหมโลก 300 ชาติ
ติดต่อกัน
             การบวชเป็นฤาษี ก็เป็นการออกจากกาม ออกจากการครองเรือน
ทั้งลดความหมกหมุ่นในกาม ความทุกข์จากการกลุ้มรุมในการครองเรือน
             การยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ก็เป็นการระงับกามสัญญาทั้งปวง
             ได้กำเนิดในพรหมโลก ก็เป็นอันลดความทุกข์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น
เช่นพรหมโลกมีอายุยืน การเกิดการตายก็น้อยกว่าภูมิอื่นๆ ในช่วงระยะเวลา
เท่ากัน ก็เป็นอันทุกข์คือชาติชรามรณะเกิดขึ้นน้อยกว่า ในช่วงเวลาเท่ากัน.
             คุณ GravityOfLove เลื่อมใสอย่างนี้หรือไม่ อย่างไร?

ความคิดเห็นที่ 6-87
GravityOfLove, 10 กุมภาพันธ์ เวลา 14:42 น.

             โดยถือว่า พระเทศนาเป็นไปเพื่อเป็นอุปนิสสัยปัจจัยในการบรรลุอริยมรรคของเขาในอนาคต?
             ใช่ค่ะ เข้าใจว่าอย่างนั้น
---------------------
             เลื่อมใสว่า ท่านมีความเพียรอย่างมั่นคง แม้อุบัติในพรหมโลกเป็นชาติแรก
ก็ไม่ได้มัวเมาไปกับภพนั้นๆ เมื่อหมดอายุในพรหมโลกในชาติแรก ชาติต่อๆ มาก็ยัง
อุบัติในพรหมโลกอีก

ความคิดเห็นที่ 6-88
ฐานาฐานะ, 10 กุมภาพันธ์ เวลา 14:52 น.

             รับทราบครับ
             เพราะเหตุว่า ในขณะนั้น โลกว่างจากพระพุทธศาสนา
บุคคลที่ไม่ใช่ผู้จะตรัสรู้ได้เอง เมื่อฝึกฝน ก็ทำได้สูงสุดเพียงนี้.
             ข้ออันตรายอย่างหนึ่ง ก็คือเมื่อพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติ
บุคคลนั้นหากมัวเมาว่า เราฝึกฝนแล้ว หรือว่า ประมาทว่า เราเที่ยงแล้ว
หรือว่า อยู่ในฐานะที่ฟังธรรมไม่ได้ ก็จะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง.

ความคิดเห็นที่ 6-89
ฐานาฐานะ, 10 กุมภาพันธ์ เวลา 14:57 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า อนุรุทธสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5819&Z=6016

              พระสูตรหลักถัดไป คืออุปักกิเลสสูตร [พระสูตรที่ 28].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              อุปักกิเลสสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=6017&Z=6311
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=439

              พาลบัณฑิตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=6312&Z=6749
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=467

              เทวทูตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=6750&Z=7030
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=504

ความคิดเห็นที่ 6-90
GravityOfLove, 11 กุมภาพันธ์ เวลา 13:54 น.

             คำถามอุปักกิเลสสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=6017&Z=6311

             กรุณาอธิบายค่ะ แปลว่าอะไรคะ
             ๑. ขอพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเจ้าของธรรม ทรงยับยั้งก่อน
ขอได้โปรดทรงเป็นผู้ขวนขวายน้อย ทรงประกอบเนืองๆ แต่สุขวิหารธรรมใน
ปัจจุบันอยู่เถิด พวกข้าพระองค์ยังจักปรากฏอยู่ด้วยการขัดใจ ทะเลาะ แก่งแย่ง
วิวาทกันเช่นนี้
             ๒. ความสำคัญสภาวะว่าต่างกัน
             ๓. ดังนั้น เราจึงเจริญสมาธิโดยส่วนสามได้ในบัดนี้
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-91
ฐานาฐานะ, 11 กุมภาพันธ์ เวลา 17:16 น.

             กรุณาอธิบายค่ะ แปลว่าอะไรคะ
             ๑. ขอพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเจ้าของธรรม ทรงยับยั้งก่อน
ขอได้โปรดทรงเป็นผู้ขวนขวายน้อย ทรงประกอบเนืองๆ แต่สุขวิหารธรรมใน
ปัจจุบันอยู่เถิด พวกข้าพระองค์ยังจักปรากฏอยู่ด้วยการขัดใจ ทะเลาะ แก่งแย่ง
วิวาทกันเช่นนี้
             อธิบายว่า
             บทว่า อญฺญตโร ความว่า ได้ยินว่า ภิกษุนั้นมุ่งประโยชน์ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
คือได้ยินว่า ภิกษุนั้นมีความประสงค์อย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ถูกความโกรธครอบงำแล้ว
จะไม่เชื่อฟังคำสอนของพระศาสดา ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อกล่าวสอนภิกษุเหล่านี้อยู่
อย่าทรงลำบากเลยดังนี้. เพราะฉะนั้น จึงกราบทูลอย่างนี้.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=439
- - - - - - - - - - - - - - - - -
             นัยว่า พระภิกษุรูปนั้นเห็นว่า พระภิกษุทะเลาะกัน ไม่จบง่ายๆ โกรธแล้ว
ก็จะไม่เชื่อฟังพระดำรัส จึงไม่อยากให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงลำบากเหน็ดเหนื่อย
             แปลง่ายว่า พระองค์อย่าทรงไปทำอะไรเลย อยู่สบายๆ ดีกว่า
พวกนั้นทะเลาะกันแล้ว จะรับผลของการทะเลาะนั้นเอง.

             ๒. ความสำคัญสภาวะว่าต่างกัน
             บทว่า นานตฺตสญฺญา ความว่า เมื่อเราเจริญอาโลกกสิณ มุ่งตรงเฉพาะเทวโลกตามกาล
แล้วใส่ใจถึงรูปมีอย่างต่างๆ กัน ด้วยคิดว่า เมื่อเราใส่ใจถึงรูปที่มีกำเนิดอย่างเดียวกัน
ตัณหากระซิบหูเกิดขึ้นแล้ว เราจะใส่ใจถึงรูปมีอย่างต่างๆ ดังนี้ ความสำคัญสภาวะว่า
ต่างกันก็เกิดขึ้น.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=439
- - - - - - - - - - - - - - - - -
             อธิบายว่า ไม่ค่อยเข้าใจความหมายนัก แต่ว่า ก็สันนิษฐานดังนี้
             เมื่อเห็นแสงสว่างและการเห็นรูป แล้วปรารถนาจะเพ่งหรือใส่ใจรูปอื่นๆ อีก
ก็เพ่งนั่นเพ่งนี้ไป จิตก็ปราศจากอารมณ์เป็นหนึ่ง เพราะมีการใส่ใจหลายอารมณ์
หรือหลายรูป.
             สันนิษฐานล้วน.

             ๓. ดังนั้น เราจึงเจริญสมาธิโดยส่วนสามได้ในบัดนี้
             อธิบายว่า ไม่ทราบเหมือนกันว่า สมาธิโดยส่วนสาม ได้แก่อะไรบ้าง
             แต่ก็สันนิษฐานเบื้องต้นไว้ก่อนว่า
             1. สมาธิที่มีวิตก มีวิจาร
             2. สมาธิที่ไม่มีวิตก แต่มีวิจาร
             3. สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
             เป็นเพียงการสันนิษฐานเบื้องต้นเท่านั้น.

ความคิดเห็นที่ 6-92
GravityOfLove, 11 กุมภาพันธ์ เวลา 20:20 น.

             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อย่าทะเลาะกันเลย
             พระภิกษุรูปหนึ่งกราบทูลว่า ปล่อยให้ทะเลาะกันไปเถิด
             พระผู้มีพระภาคตรัสอีก ๒ ครั้ง
             พระภิกษุรูปนั้น ก็กราบทูลเช่นเดิมทั้ง ๒ ครั้ง
             พระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไป
             สรุปว่า ที่พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามไม่ให้ทะเลาะกันนั้น
เหล่าภิกษุที่ทะเลาะกัน ไม่ได้หยุดทะเลาะกันใช่ไหมคะ (คือไม่ได้เชื่อฟังพระดำรัส)

ย้ายไปที
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 13:44:10 น.
Counter : 494 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



กุมภาพันธ์ 2557

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
 
 
19 กุมภาพันธ์ 2557
All Blog