26.3 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬสุญญตสูตร [พระสูตรที่ 21]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
26.2 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬสุญญตสูตร [พระสูตรที่ 21]

ความคิดเห็นที่ 6-24
ฐานาฐานะ, 26 มกราคม เวลา 23:37 น.

GravityOfLove, 4 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในจูฬสุญญตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4714&Z=4845
...
6:57 PM 1/26/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             คำถามข้อที่ 2 ของแก้ไขดังนี้ :-
             2. คุณ GravityOfLove เลื่อมใสการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
หรือไม่การคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เพราะเหตุใด?
             แก้ไขเป็น
             2. คุณ GravityOfLove เลื่อมใสการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
หรือการไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ เพราะเหตุใด?
             หรือนัยว่า
             2. คุณ GravityOfLove เลื่อมใสการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
หรือคุณ GravityOfLove เลื่อมใสการไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ เพราะเหตุใด?
             คำตอบเหมือนเดิมหรือไม่?

ความคิดเห็นที่ 6-25
ฐานาฐานะ, 27 มกราคม เวลา 01:02 น.

             ขอเสริมคำตอบของคำถามข้อที่ 1 ข้อย่อยที่ ๕.
<<<<
             ๕. สาวกควรจะใกล้ชิดติดตามศาสดาเพื่อฟังเรื่องราวซึ่งเป็นเรื่อง
ขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่การพิจารณาทางใจ เป็นไปเพื่อความ
เบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อความกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือกถาวัตถุ ๑๐
>>>>
             น่าจะเป็นย่อความมาในข้อ 351 ดังนี้ :-
             ดูกรอานนท์ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
             สาวกมองเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงควรใกล้ชิดติดตามศาสดา ฯ
             ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์
มีพระผู้มีพระภาคเป็นเหตุ มีพระผู้มีพระภาคเป็นแบบอย่าง มีพระผู้มีพระภาค
เป็นที่พึงอาศัย ขอได้โปรดเถิดพระพุทธเจ้าข้า เนื้อความแห่งพระภาษิตนี้แจ่มแจ้ง
เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้น ภิกษุทั้งหลายฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้ ฯ
             [๓๕๑] พ. ดูกรอานนท์ สาวกไม่ควรจะติดตามศาสดาเพียงเพื่อฟัง
สุตตะ เคยยะ และไวยากรณ์เลย นั่นเพราะเหตุไร เพราะธรรมทั้งหลายอันพวก
เธอสดับแล้ว ทรงจำแล้ว คล่องปากแล้ว เพ่งตามด้วยใจแล้ว แทงตลอดดีแล้ว
ด้วยความเห็น เป็นเวลานาน
             ดูกรอานนท์ แต่สาวกควรจะใกล้ชิดติดตามศาสดา เพื่อฟังเรื่องราว
เห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่การพิจารณา
ทางใจ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อความกำหนัด เพื่อดับกิเลส
เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือเรื่องมักน้อย
เรื่องยินดีของของตน เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องปรารภความเพียร
เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ ฯ
             ฉบับบาลี อักษรไทย
             ตํ กึ   มญฺญสิ   อานนฺท   กํ   อตฺถวสํ   สมฺปสฺสมาโน   อรหติ   สาวโก
สตฺถารํ    อนุพนฺธิตุ ํ   อปิปยุชฺชมาโนติ   ฯ   ภควํมูลกา   โน   ภนฺเต
ธมฺมา   ภควํเนตฺติกา   ภควํปฏิสรณา   สาธุ   วต  ภนฺเต  ภควนฺตํเยว
ปฏิภาตุ    เอตสฺส    ภาสิตสฺส    อตฺโถ    ภควโต    สุตฺวา   ภิกฺขู
ธาเรสฺสนฺตีติ ฯ
             [๓๕๑]  น  โข  อานนฺท  อรหติ  สาวโก  สตฺถารํ อนุพนฺธิตุ ํ ยทิทํ
สุตฺตเคยฺยเวยฺยากรณสฺส   โสตุ ํ   ๑-   ตํ   กิสฺส  เหตุ  ทีฆรตฺตสฺส  หิ
โว   อานนฺท   ธมฺมา   สุตา   ธตา  วจสา  ปริจิตา  มนสานุเปกฺขิตา
ทิฏฺฐิยา  สุปฏิวิทฺธา  ฯ  ยา  จ  โข  อยํ  อานนฺท  กถา  อภิสลฺเลขิกา
เจโตวิจารณสปฺปายา   เอกนฺตนิพฺพิทาย   วิราคาย   นิโรธาย  อุปสมาย
อภิญฺญาย    สมฺโพธาย   นิพฺพานาย   สํวตฺตติ   เสยฺยถีทํ   อปฺปิจฺฉกถา
สนฺตุฏฺฐิกถา    ปวิเวกกถา    อสํสคฺคกถา    วิริยารมฺภกถา    สีลกถา
สมาธิกถา    ปญฺญากถา   วิมุตฺติกถา   วิมุตฺติญาณทสฺสนกถา   เอวรูปิยา
โข   อานนฺท   กถาย   โสตุ ํ  ๑-  อรหติ  สาวโก  สตฺถารํ  อนุพนฺธิตุ ํ
อปิปยุชฺชมาโนติ   ฯ   เอวํ   สนฺเต   อานนฺท   อาจริยูปทฺทโว   โหติ
เอวํ  สนฺเต  อนฺเตวาสูปทฺทโว  โหติ  เอวํ  สนฺเต พฺรหฺมจารูปทฺทโว ๒-
โหติ ฯ
เชิงอรรถ: ๑ ม. สุตฺตํ เคยฺยํ เวยฺยากรณํ ตสฺส เหตุ ฯ ยุ. สุตฺตํ เคยฺยํ เวยฺยากรณสฺส  เหตุ ฯ
เชิงอรรถ: ๑ ม. ยุ. เหตุ ฯ  ๒ พฺรหฺมจริยูปทฺทโว ฯ  ๓ ม. อนฺวาวฏฺฏนฺเตสุ ฯ ๔ ยุ. มุจฺฉติ ฯ  ๕ ยุ. อุปทฺทุโต ฯ

//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=14&item=350&Roman=0
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=14&item=351&Roman=0
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
             อันอรรถกถาอธิบายส่วนนี้ไว้ว่า
             เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบทนี้ว่า ตํ กึ มญฺญสิ.
             ความจริงในคณะก็มีอานิสงส์อย่างหนึ่ง เพื่อจะทรงแสดงอานิสงส์นั้น จึงตรัสคำนี้.
             บทว่า อนุพนฺธิตุ ํ แปลว่า ติดตามไป คือแวดล้อม.
             ในบทว่า น โข อานนฺท นี้ มีวินิจฉัยว่า
             ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้ได้สดับแล้วแต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ดังนี้ เป็นอันทำตนให้เป็นพหูสูต เหมือนทหารที่พรั่งพร้อมด้วยอาวุธ ๕ อย่าง.
             ก็เพราะภิกษุแม้ถึงจะเรียนสุตตปริยัติ แต่ไม่ปฏิบัติอนุโลมปฏิปทาสมควรแก่สุตตปริยัตินั้น เธอย่อมชื่อว่าไม่มีอาวุธนั้น. ส่วนภิกษุใดปฏิบัติ ภิกษุนั้นแหละจึงชื่อว่ามีอาวุธ ฉะนั้น
             เมื่อจะแสดงความนี้ว่า ไม่ควรจะติดตาม จึงตรัสว่า น โข อานนฺท ดังนี้.
             บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงเรื่องที่ควรติดตาม จึงตรัสคำมีอาทิว่า ยา จ โข ดังนี้เป็นต้น.
             กถาวัตถุ ๑๐ ในฐานะทั้ง ๓ มาในพระสูตรนี้ ด้วยประการฉะนี้. มาด้วยสามารถแห่งธรรมที่เป็นสัปปายะและธรรมที่เป็นอสัปปะยะ ดังในประโยคว่า เราจึงกล่าวกถาเห็นปานนี้ด้วยประการฉะนี้. มาด้วยสามารถแห่งสุตตปริยัติ ดังในประโยคว่า ยทิทํ สุตฺตํ เคยฺยํ แต่ในที่นี้มาแล้วโดยบริบูรณ์. เพราะฉะนั้น เมื่อจะตรัสกถาวัตถุ ๑๐ ในพระสูตรนี้ จึงตรัสรวมไว้ในฐานะนี้.
             บัดนี้ เพราะเหตุที่ภิกษุบางพวกแม้จะอยู่รูปเดียว ก็ย่อมไม่เกิดประโยชน์ ฉะนั้นเพื่อจะทรงแสดงโทษในความอยู่โดดเดี่ยว. ทรงหมายถึงภิกษุบางพวกนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า เอวํ สนฺเต โข อานนฺท ดังนี้.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=343

             โดยนัยก็คือ ไม่ควรติดตามพระศาสดา เพียงเพื่อฟัง (โดยไม่ปฏิบัติให้สมควรแก่สุตตะที่ได้ฟังมา)
แต่ควรติดตาม เพื่อให้ฟังเรื่องราวอันเป็นสัปปายะแก่การปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น อันได้แก่กถาวัตถุ 10.
             การได้โดยง่ายซึ่งกถาวัตถุ หรือกถาอันเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส
เป็นธรรมประการหนึ่งในธรรม ๕ ประการ ที่เป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่ง
เจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้า อันมาในพระสูตรชื่อว่าเมฆิยสูตร

             อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ได้ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก
ซึ่งกถาอันเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส เป็นที่สบายในการเปิดจิต คือ อับปิจฉกถา
สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา
ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสนกถา นี้เป็นธรรมประการที่ ๓ ย่อมเป็น
ไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้า ฯ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=23&A=7531

ความคิดเห็นที่ 6-26
GravityOfLove, 27 มกราคม เวลา 09:49 น.

ขอบพระคุณค่ะ
คำตอบเหมือนเดิมค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-27
ฐานาฐานะ, 27 มกราคม เวลา 15:03 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า มหาสุญญตสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4846&Z=5089

              พระสูตรหลักถัดไป คืออัจฉริยัพภูตธัมมสูตร [พระสูตรที่ 23].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
              อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5090&Z=5281
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=357

              พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5282&Z=5374
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=380

              ทันตภูมิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5375&Z=5608
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=388

ความคิดเห็นที่ 6-28
GravityOfLove, 28 มกราคม เวลา 11:41 น.

             คำถามอัจฉริยัพภูตธัมมสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=357&bgc=whitesmoke

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. ครั้นจุติอย่างนี้แล้ว ก็รู้ว่าเรากำลังจุติ ไม่ใช่รู้จุติจิต.
แม้ถือปฏิสนธิแล้ว ก็ไม่รู้ปฏิสนธิจิต. พระองค์รู้ชัดอย่างนี้ว่า เราถือปฏิสนธิในที่นี้
             ๒.  ความว่า ไม่ใช่เสด็จสวรรคตเพราะเหตุที่พระองค์ทรงประสูติกาล แต่เพราะสิ้นพระชนมายุอย่างเดียว. แท้จริง ที่ซึ่งพระโพธิสัตว์ประทับอยู่ ย่อมเป็นเสมือนกุฏิในพระเจดีย์ ไม่ควรที่สัตว์เหล่าอื่น จะใช้ร่วม และใครๆ ก็ไม่สามารถจะแยกพระมารดาแห่งพระโพธิสัตว์ออก แล้วแต่งตั้งหญิงอื่นไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสีได้ เหตุดังกล่าวมาเพียงเท่านั้นเอง ย่อมเป็นประมาณแห่งอายุของพระมารดาพระโพธิสัตว์ เพราะฉะนั้น พระนางจึงเสด็จสวรรคตในเวลานั้น.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-29
ฐานาฐานะ, 28 มกราคม เวลา 15:59 น.

              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑. ครั้นจุติอย่างนี้แล้ว ก็รู้ว่าเรากำลังจุติ ไม่ใช่รู้จุติจิต.
แม้ถือปฏิสนธิแล้ว ก็ไม่รู้ปฏิสนธิจิต. พระองค์รู้ชัดอย่างนี้ว่า เราถือปฏิสนธิในที่นี้
              เนื้อความอรรถกถา :-
              ก็ในเทวโลกทุกชั้นย่อมมีสวนนันทวันทั้งนั้น. แม้ในสวนนันทวันนั้น เทวดาทั้งหลาย
ให้พระโพธิสัตว์ระลึกถึงโอกาสแห่งกุศลกรรมที่เคยทำไว้ในชาติก่อนว่า พระองค์จงจุติจากดุสิตบุรีนี้
ไปสู่สุคติ จงจุติจากดุสิตบุรีนี้ไปสู่สุคติ ดังนี้เที่ยวไป. พระโพธิสัตว์แวดล้อมไปด้วยเทวดาผู้ช่วย
ให้ระลึกถึงกุศลกรรมอย่างนี้ เสด็จเที่ยวไปในนันทวันจุติแล้ว.
              ครั้นจุติอย่างนี้แล้ว ก็รู้ว่าเรากำลังจุติ ไม่ใช่รู้จุติจิต. แม้ถือปฏิสนธิแล้ว ก็ไม่รู้ปฏิสนธิจิต.
พระองค์รู้ชัดอย่างนี้ว่า เราถือปฏิสนธิในที่นี้
              ก็พระเถระบางพวกกล่าวว่า ควรจะได้อาวัชชนปริยาย พระมหาสัตว์จะรู้ในทุติยจิตตวาร
และในตติยจิตตวารเท่านั้น. แต่พระมหาสิวเถระผู้ทรงพระไตรปิฏก กล่าวว่า ปฏิสนธิของพระมหาสัตว์
ทั้งหลาย ไม่เหมือนปฏิสนธิของสัตว์อื่น สติสัมปชัญญะของพระมหาสัตว์เหล่านั้นถึงที่สุดแล้ว
ก็เพราะไม่อาจจะรู้จิตดวงนั้นด้วยจิตดวงนั้นได้ ฉะนั้น พระมหาสัตว์จึงไม่รู้จุติจิต
แม้ในขณะจุติ ย่อมรู้ว่าเรากำลังจุติ ถือปฏิสนธิ ก็ไม่รู้ปฏิสนธิจิต รู้ชัดว่าเราถือปฏิสนธิในที่โน้น.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=357

              นัยก็คือ ขณะจุติจิตหรือปฏิสนธิจิต จัดเป็นขณะนั้นๆ
              จุติจิตไม่สามารถมีจุติจิตนั้นเป็นอารมณ์ได้
              ปฏิสนธิจิตก็ไม่สามารถมีปฏิสนธิจิตนั้นเป็นอารมณ์ได้
              อุปมาเหมือนดาบ สามารถฟันสิ่งอื่นได้ แต่ไม่สามารถฟันดาบนั้นเองได้.
              การที่มีสติสัมปชัญญะในขณะจุติ ก็คือรู้ว่าเรากำลังจุติ เท่านั้น
ไม่ถึงรู้ขณะจุติได้ แม้ปฏิสนธิก็เช่นกัน ก็รู้ว่าเราถือปฏิสนธิในที่ใดๆ.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              ๒.  ความว่า ไม่ใช่เสด็จสวรรคตเพราะเหตุที่พระองค์ทรงประสูติกาล แต่เพราะสิ้นพระชนมายุอย่างเดียว.
แท้จริง ที่ซึ่งพระโพธิสัตว์ประทับอยู่ ย่อมเป็นเสมือนกุฏิในพระเจดีย์ ไม่ควรที่สัตว์เหล่าอื่น จะใช้ร่วม
และใครๆ ก็ไม่สามารถจะแยกพระมารดาแห่งพระโพธิสัตว์ออก แล้วแต่งตั้งหญิงอื่นไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสีได้
เหตุดังกล่าวมาเพียงเท่านั้นเอง ย่อมเป็นประมาณแห่งอายุของพระมารดาพระโพธิสัตว์ เพราะฉะนั้น
พระนางจึงเสด็จสวรรคตในเวลานั้น.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14.0&i=357&p=2

              อธิบายว่า
              ไม่ใช่เสด็จสวรรคตเพราะเหตุที่พระองค์ทรงประสูติกาล แต่เพราะสิ้นพระชนมายุอย่างเดียว.
              กล่าวคือ พระพุทธมารดาเสด็จสวรรคต เพราะสิ้นอายุขัยเท่านั้น
ไม่ใช่จากการคลอดหรือการประสูติของพระโพธิสัตว์.
. . . . . . .
              แท้จริง ที่ซึ่งพระโพธิสัตว์ประทับอยู่ ย่อมเป็นเสมือนกุฏิในพระเจดีย์ ไม่ควรที่สัตว์เหล่าอื่น จะใช้ร่วม
              ความว่า พระครรภ์ของพระมารดาเป็นสิ่งที่เฉพาะพระโพธิสัตว์ที่เท่านั้น สัตว์อื่นจะร่วมมาเกิด
เป็นน้องชายน้องสาวไม่ได้.
. . . . . . .
              และใครๆ ก็ไม่สามารถจะแยกพระมารดาแห่งพระโพธิสัตว์ออก แล้วแต่งตั้งหญิงอื่นไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสีได้
เหตุดังกล่าวมาเพียงเท่านั้นเอง ย่อมเป็นประมาณแห่งอายุของพระมารดาพระโพธิสัตว์ เพราะฉะนั้น
พระนางจึงเสด็จสวรรคตในเวลานั้น.
              ความว่า ใครๆ ก็ไม่สามารถปลดพระมารดาออก (จากตำแหน่งพระอัครมเหสี ทั้งยังทรงพระชมน์)
แล้วแต่งตั้งหญิงอื่นมาได้.

ความคิดเห็นที่ 6-30
GravityOfLove, 28 มกราคม เวลา 19:24 น.

พอจะเข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-31
GravityOfLove, 28 มกราคม เวลา 19:32 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สุญญตวรรค
             ๒๓. อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร ว่าด้วยอัจฉริยัพภูตธรรมของพระพุทธองค์
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5090&Z=5281&bgc=whitesmoke&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน เกิดข้อสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า
             น่าอัศจรรย์จริง ไม่น่าเป็นไปได้เลย ข้อที่พระตถาคตมีอิทธานุภาพมาก
ซึ่งเป็นเหตุให้ทรงทราบพระพุทธเจ้าในอดีต ผู้ปรินิพพานแล้ว ทรงตัดปปัญจธรรมแล้ว
ทรงตัดตอวัฏฏะแล้ว (หมายถึงกัมมวัฏฝ่ายกุศลและฝ่ายอกุศล) ทรงครอบงำวัฏฏะแล้ว
ทรงล่วงทุกข์ทั้งปวงแล้ว (ล่วงทุกข์กล่าวคือวิปากวัฏทั้งปวง) ว่า
             พระผู้มีพระภาคนั้นๆ มีพระชาติอย่างนี้บ้าง มีพระนามอย่างนี้บ้าง
มีโคตรอย่างนี้บ้าง มีศีลอย่างนี้บ้าง (ศีลทั้งที่เป็นโลกิยะและเป็นโลกุตตระ)
             มีธรรมอย่างนี้บ้าง (ธรรมอันเป็นไปเพื่อสมาธิ คือ ทรงมีสมาธิทั้งที่เป็นโลกิยะ
และเป็นโลกุตตระ)
             มีปัญญาอย่างนี้บ้าง (ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ)
             มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง (ในที่นี้หมายถึงทรงมีนิโรธสมาบัติเป็นวิหารธรรม)
             มีวิมุตติอย่างนี้บ้าง
             เมื่อภิกษุเหล่านั้น สนทนากันอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นว่า
             พระตถาคตทั้งหลาย ทั้งน่าอัศจรรย์และประกอบด้วยธรรมน่าอัศจรรย์
พระตถาคตทั้งหลาย ทั้งไม่น่าเป็นไปได้และประกอบด้วยธรรมไม่น่าเป็นไปได้

[อรรถกถา]
             ทรงมีวิมุตติอย่างนี้ หมายถึงทรงมีวิมุตติ ๕ ประการ คือ
             (๑) วิกขัมภนวิมุตติ ได้แก่ สมาบัติ ๘ เพราะพ้นจากนิวรณ์เป็นต้น
             (๒) ตทังควิมุตติ ได้แก่ อนุปัสสนา ๗ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น
เพราะสลัดพ้นจากนิจจสัญญาเป็นต้น
             (๓) สมุจเฉทวิมุตติ ได้แก่ อริยมรรค ๔ เพราะพ้นจากกิเลสทั้งหลาย
ที่ตนถอนขึ้นแล้ว
             (๔) ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ได้แก่ สามัญญผล ๔ เพราะเกิดขึ้นในที่สุดแห่งการ
สงบระงับกิเลสด้วยอานุภาพมรรค
             (๕) นิสสรณวิมุตติ ได้แก่ นิพพาน เพราะเป็นที่สลัดกำจัดออกตั้งอยู่ในที่ไกล
จากกิเลสทั้งปวง
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปปัญจธรรม_3
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิมุตติ_5

             ข้อสนทนากันในระหว่างของภิกษุเหล่านั้น ค้างอยู่เพียงเท่านี้
             ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากสถานที่ทรงหลีกเร้นอยู่ในเวลาเย็น
เสด็จเข้าไปยังศาลานั้นแล้ว แล้วตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ประชุมสนทนาเรื่องอะไรกันอยู่
             ภิกษุเหล่านั้นทูลเล่าให้ฟัง รวมทั้งที่ท่านพระอานนท์กล่าวด้วย
             พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า
             ดูกรอานนท์ ถ้ากระนั้น ขอธรรมอันไม่น่าเป็นไปได้ อันน่าอัศจรรย์ของตถาคต
จงแจ่มแจ้งกะเธอยิ่งกว่าประมาณเถิด (อานนท์ เธอจงอธิบายให้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้นไปเถิด)
             ท่านพระอานนท์ทูลว่า
             ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค
ข้าพระองค์ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระองค์ ดังนี้ว่า
             ๑. พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ ได้เข้าถึง (ไปเกิด) หมู่เทวดาชั้นดุสิต
             ๒. พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ ได้สถิตอยู่ในหมู่เทวดาชั้นดุสิต
             ๓. พระโพธิสัตว์ได้สถิตอยู่ในหมู่เทวดาชั้นดุสิตจนตลอดอายุ
             ๔. พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ จุติจากหมู่เทวดาชั้นดุสิต
แล้วลงสู่พระครรภ์พระมารดา
             ๕. ในกาลใดพระโพธิสัตว์จุติจากหมู่เทวดาชั้นดุสิตลงสู่พระครรภ์พระมารดา
ในกาลนั้น แสงสว่างอย่างโอฬารหาประมาณมิได้ ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพของเหล่าเทวดา
ย่อมปรากฏในโลก พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม และในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะและ
พราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์
             แม้ในโลกันตริกนรก ซึ่งไม่ใช่ที่เปิดเผย มีแต่ความมืดมิด ซึ่งดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์ มีอิทธานุภาพมากอย่างนี้ ส่องแสงไปไม่ถึง ก็ยังปรากฏแสงสว่าง
อย่างโอฬารหาประมาณมิได้ ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพของเหล่าเทวดา ด้วยแสงสว่างนั้น
             แม้หมู่สัตว์ผู้อุบัติในนรกนั้น ก็รู้กันว่า แม้สัตว์เหล่าอื่นก็มีเกิดในที่นี้ อนึ่ง
หมื่นโลกธาตุนี้ย่อมสะเทื้อน สะท้าน หวั่นไหว และแสงสว่างอย่างโอฬาร
หาประมาณมิได้ ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพของเหล่าเทวดา ย่อมปรากฏในโลก
             ๖. ในกาลใด พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว
ในกาลนั้น เทวบุตรทั้ง ๔ (ในที่นี้หมายถึงท้าวมหาราช ๔ องค์) จะใกล้ชิดพระโพธิสัตว์
ถวายอารักขาใน ๔ ทิศ ด้วยคิดว่า มนุษย์ หรืออมนุษย์ หรือใครๆ อย่าได้เบียดเบียน
พระโพธิสัตว์ หรือพระมารดาของพระโพธิสัตว์เลย
             ๗. ในกาลใด พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว
ในกาลนั้น พระมารดาของพระโพธิสัตว์จะเป็นผู้มีศีลโดยปรกติ คือ
             เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้นขาดจาก
กาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย
             ๘. ในกาลใด พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว
ในกาลนั้น พระมารดาของพระโพธิสัตว์ มิได้มีพระหฤทัยใฝ่ฝันกามคุณในบุรุษเกิดขึ้น
และจะเป็นผู้ไม่ถูกบุรุษไรๆ ที่มีจิตกำหนัดแล้วล่วงเกินได้
             ๙. ในกาลใด พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว
ในกาลนั้น พระมารดาของพระโพธิสัตว์จะเป็นผู้ได้เบญจกามคุณ คือ
พระนางจะเพรียบพร้อม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรออยู่
             ๑๐. ในกาลใด พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว
ในกาลนั้น พระมารดาของพระโพธิสัตว์ ไม่มีพระโรคาพาธไรๆ เกิดขึ้น
จะมีความสุข ไม่ลำบากพระกาย และจะทรงเห็นพระโพธิสัตว์ประทับอยู่
ภายในพระอุทร มีพระอวัยวะน้อยใหญ่ครบ มีอินทรีย์ไม่เสื่อมโทรมได้
             ๑๑. เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติแล้วได้ ๗ วัน พระมารดาของพระโพธิสัตว์
จะเสด็จสวรรคต จะเข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต
             ๑๒. พระมารดาของพระโพธิสัตว์ จะประสูติโพธิสัตว์ ไม่เหมือนอย่าง
หญิงอื่นๆ ที่ครองครรภ์ด้วยท้อง ๙ เดือน หรือ ๑๐ เดือนแล้วจึงคลอด คือ
พระนางจะทรงครองพระโพธิสัตว์ด้วยพระอุทร ๑๐ เดือนถ้วนแล้วจึงประสูติ
             ๑๓. พระมารดาของพระโพธิสัตว์ จะประสูติพระโพธิสัตว์ไม่เหมือนอย่าง
หญิงอื่นๆ ที่นั่งหรือนอนคลอด คือ พระนางจะประทับยืนท่าเดียวแล้วประสูติพระโพธิสัตว์
             ๑๔. ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา
ในกาลนั้น พวกเทวดาจะรับก่อน พวกมนุษย์จะรับทีหลัง
             ๑๕. ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา
ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ยังไม่ทันถึงแผ่นดิน เทวบุตรทั้ง ๔ (ท้าวมหาราชทั้ง ๔) ก็รับ
แล้ววางลงตรงพระพักตร์พระมารดาให้ทรงหมายรู้ว่า ขอพระเทวีจงมีพระทัยยินดีเถิด
พระโอรสของพระองค์ผู้มีศักดิ์มากเสด็จอุปบัติแล้ว
             ๑๖. ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา
ในกาลนั้น พระองค์ย่อมประสูติอย่างบริสุทธิ์แท้ คือ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำ
ด้วยเสมหะ ด้วยเลือด ด้วยน้ำเหลือง ด้วยของไม่สะอาดไรๆ
             ๑๗. ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา
ในกาลนั้น ธารน้ำ ๒ สายย่อมปรากฏจากอากาศ สายหนึ่งเป็นธารน้ำเย็น
สายหนึ่งเป็นธารน้ำอุ่น เป็นเครื่องทำการสนานพระโพธิสัตว์และพระมารดา
             ๑๘. พระโพธิสัตว์ในบัดดลที่ประสูติ ก็ประทับพระยุคลบาทอันเสมอ
บนแผ่นดิน แล้วบ่ายพระพักตร์สู่ทิศอุดร (ทิศเหนือ) เสด็จดำเนินไปด้วย
ย่างพระบาท ๗ ก้าว เมื่อเทพบุตรกั้นเศวตฉัตรตามไป พระองค์จะทรงเหลียวดูทิศ
ทั้งปวง และทรงเปล่งพระวาจาอย่างผู้องอาจว่า
             เราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก เราเป็นผู้ประเสริฐสุด
ในโลก ชาตินี้เป็นชาติที่สุด บัดนี้ความเกิดใหม่ย่อมไม่มี
             ๑๙. ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา
ในกาลนั้น แสงสว่างอย่างโอฬารหาประมาณมิได้ ย่อมปรากฏเหมือนครั้งที่
พระโพธิสัตว์จุติลงสู่พระครรภ์พระมารดา
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ๒๐. เพราะฉะนั้น เธอจงทรงจำธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของตถาคต
แม้นี้ไว้เถิด
             ในเรื่องนี้ เวทนาของตถาคต ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป
             สัญญาของตถาคต ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป
             วิตกของตถาคต ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป
             แม้ข้อนี้ เธอก็จงทรงจำไว้เถิดว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของตถาคต
             ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าพระองค์จะทรงจำข้อนี้ไว้
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ท้าวมหาราช_4&detail=on

             ท่านพระอานนท์กล่าวคำนี้จบแล้ว พระศาสดาได้ทรงโปรดปราน
             ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระอานนท์
[แก้ไขตาม #6-32]

ความคิดเห็นที่ 6-32
ฐานาฐานะ, 30 มกราคม เวลา 22:26 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สุญญตวรรค
             ๒๓. อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร ว่าด้วยอัจฉริยัพภูตธรรมของพระพุทธองค์
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5090&Z=5281&bgc=whitesmoke&pagebreak=0
...
7:32 PM 1/28/2014

             ย่อความได้ดีครับ.
             ๑๑. เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูตรแล้วได้ ๗ วัน พระมารดาของพระโพธิสัตว์
จะเสด็จสวรรคต จะเข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต
             ประสูตร แก้ไขเป็น ประสูติ

ความคิดเห็นที่ 6-33
ฐานาฐานะ, 30 มกราคม เวลา 22:28 น.

              คำถามในอัจฉริยัพภูตธัมมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5090&Z=5281

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. พระสูตรนี้มีเนื้อความคล้ายพระสูตรใดที่ได้ศึกษามาแล้ว.

ย้ายไปที
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 13:37:06 น.
Counter : 467 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



กุมภาพันธ์ 2557

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
 
 
19 กุมภาพันธ์ 2557
All Blog