28.2 พระสูตรหลักถัดไป คืออนาถปิณฑิโกวาทสูตร [พระสูตรที่ 43]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
28.1 พระสูตรหลักถัดไป คืออนาถปิณฑิโกวาทสูตร [พระสูตรที่ 43]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=26-03-2014&group=3&gblog=45

ความคิดเห็นที่ 25
ฐานาฐานะ, 21 มีนาคม เวลา 04:36 น.

             คำถามในฉันโนวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9525&Z=9640

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. เท่าที่เคยได้ศึกษามา เคยทราบมาก่อนหรือไม่ว่า
             การสำคัญตนว่าได้บรรลุพระอรหันต์ มีแก่ผู้ใด ไม่มีแก่ผู้ใด?

ความคิดเห็นที่ 26
GravityOfLove, 21 มีนาคม เวลา 09:58 น.

             ตอบคำถามในฉันโนวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9525&Z=9640

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ท่านพระฉันนะป่วยหนัก ใกล้ตาย ท่านพระสารีบุตรและท่านพระจุนทะ
ได้ เข้าไปเยี่ยมท่านพระฉันนะ ท่านพระฉันนะกล่าวว่า ขอท่านจงทรงจำไว้อย่างนี้ว่า
ฉันนภิกษุจักหาศาตรามาฆ่าตัว อย่างมิให้ถูกตำหนิได้
             ๒. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลใดแล ทิ้งกายนี้และยึดมั่นกายอื่น บุคคลนั้นเรา
เรียกว่า ควรถูกตำหนิ ฉันนภิกษุหามีลักษณะนั้นไม่ ฉันนภิกษุหาศาตรามาฆ่าตัว
อย่างไม่ควรถูกตำหนิ
             ๓. ท่านพระฉันนะสําเร็จพระอรหันต์ เป็นสมสีสีแล้วก็ปรินิพพาน
             ๔. ท่านพระฉันนะรูปนี้ คนละรูปกับพระเถระที่ออกไปด้วยกันกับ
พระผู้มีพระภาค ตอนออกอภิเนษกรมณ์
             ๕.พระภิกษุที่มนสิการกรรมฐาน เช่น อสุภกรรมฐานบ้าง กายคตาสติบ้าง
หรืออาทีนวสัญญา พระภิกษุเหล่านั้นมักจะรังเกียจร่างกายของตนเองว่า น่ารังเกียจ
เป็นปฏิกูล พระภิกษุเหล่านั้นก็หมดความรักในกายของตนเอง แต่การประสงค์จะพ้นทุกข์
ด้วยการฆ่าตัวตายเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง
                การฆ่าตัวตายของพระภิกษุ เป็นเรื่องต้นบัญญัติในการบัญญัติสิกขาบทปาราชิก
ข้อว่า ฆ่ามนุษย์เป็นอาบัติปาราชิก
             เรื่องอินทรียสังวรเช่นเดียวกัน การทำให้ตัวเองตาบอด ... หูหนวก ก็ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง
             อาพาธสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=2597&Z=2711
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=60
             ตติยปาราชิกสิกขาบท  [ว่าด้วย มนุสสวิคคหะ]
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=01&A=7436&Z=7623
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
             สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
             วักกลิสูตร ว่าด้วยการเห็นธรรมชื่อว่าเห็นพระพุทธเจ้า
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=2680&Z=2799
                ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=215
             ๖. เคยถามตอบใน //topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/12/Y11442477/Y11442477.html#97
             ถาม ถ้าฆ่าตัวตายแล้วก่อนตายไม่ได้บรรลุพระอรหันต์ควรถูกตำหนิ      
             ถ้าฆ่าตัวตายแล้วก่อนตายได้บรรลุพระอรหันต์ไม่ควรถูกตำหนิหรือคะ
             ตอบว่า ควรพิจารณาแยกแยะทั้งสองอย่าง คือ
             1. การฆ่าตัวตายไม่ควรทำ อันนี้แน่นอน
             2. การบรรลุพระอรหัต อาสวะสิ้นไป สิ้นตัณหาอันทำให้เกิดอีก
ข้อนี้ ควรสรรเสริญ.
             ความว่า พระอรหันต์หรือผู้บรรลุพระอรหัต ไม่ควรถูกตำหนิ
เพราะละทิ้งกายนี้ ไม่ถือเอากายใหม่อีก ด้วยตัณหา เพราะละได้แล้ว
             สันนิษฐานว่า
             พระผู้มีพระภาคทรงประสงค์ให้
             1. บุคคลอื่นทราบการบรรลุอรหัตของท่านพระฉันนภิกษุ และ
             2. บุคคลอื่นทราบแล้ว จะไม่ตำหนิท่านพระฉันนภิกษุ
วิบากอันเป็นทุกข์ จะเกิดแก่บุคคลผู้ไม่พิจารณาแล้ว ไปตำหนิท่าน.
             นี้คือข้อสันนิษฐานเท่านั้น.
             เพราะท่านพระฉันนภิกษุได้ที่สุดของพรหมจรรย์นี้แล้ว
เป็นทักขิไนยบุคคลเลยทีเดียว
             อุปมาในเชิงธุรกิจว่า
             นักธุรกิจทำกิจกรรมทางธุรกิจหลายอย่าง บางอย่างถูกต้องบ้าง
ผิดพลาดบ้าง ข้อนั้เป็นเรื่องปกติ
             แต่เมื่อถึงเวลาประเมินผลแล้ว  นักธุรกิจถือเอาบรรทัดสุดท้าย
(bottom line) ของงบกำไรขาดทุนว่ามีกำไรเป็นบวกหรือไม่?
             ก็ท่านพระฉันนภิกษุ ถึงที่สุดของพรหมจรรย์นี้แล้ว ก็ไม่ควรถูกตำหนิ
เหมือนมองของสำคัญเป็นภาพใหญ่ให้ระลึก ดีกว่าตำหนิข้อผิดพลาดเล็กน้อย.
             เพิ่มเติมลักษณะของพระอรหันต์ ดังนี้ :-
             พระอรหันต์นั้น ไม่ประสงค์ความตาย ไม่ประสงค์ความเป็นอยู่
พระสารีบุตรและพระอรหันต์กล่าวว่า เหมือนลูกจ้างรอเวลาเลิกงานเท่านั้นเอง.
             ภาษิตของพระสารีบุตร :-
             เราไม่ยินดีต่อความตายและชีวิต เราเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ
จักละทิ้งร่างกายนี้ไป ไม่ยินดีต่อความตายและชีวิต รอคอยเวลาตายอยู่
เหมือนลูกจ้างรอให้หมดเวลาทำงาน ฉะนั้น
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=26&A=8049
------------------
             2. เท่าที่เคยได้ศึกษามา เคยทราบมาก่อนหรือไม่ว่า
             การสำคัญตนว่าได้บรรลุพระอรหันต์ มีแก่ผู้ใด ไม่มีแก่ผู้ใด?
             ผู้ที่ข่มกิเลสได้นานด้วยอำนาจสมถะหรือวิปัสสนา เมื่อกิเลสไม่เกิดนาน
จึงเข้าใจไปเองว่า ตนได้บรรลุแล้ว
             ผู้ที่สำคัญตนว่าได้บรรลุพระอรหันต์ เกิดได้ทั้งนักบวชนอกพระพุทธศาสนา
และในพระภิกษุในพระพุทธศาสนา
             นอกพระศาสนา เช่น เรื่องชฎิล ๓ พี่น้อง
             ครั้งนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปได้มีความดำริว่า  พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก  มีอานุภาพมาก
แท้  ถึงกับท้าวมหาราชทั้ง ๔ เข้ามาหาเพื่อฟังธรรม แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=04&A=864&Z=1215

             พระภิกษุที่กล่าวถึงในพระไตรปิฎก เช่น ท่านพระวักกลิ
             บทว่า สตฺถํ อาหเรสิ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระเป็นผู้มีมานะจัด.
ท่านมองไม่เห็นการกลับฟุ้งขึ้นมา (อีก) แห่งกิเลสทั้งหลายที่ข่มไว้ได้ด้วยสมาธิและวิปัสสนา
จึงมีความสำคัญว่า เราเป็นพระขีณาสพ แล้วคิด (ต่อไป) ว่า ชีวิตนี้เป็นทุกข์ เราจะอยู่ไปทำไม
เราจักเอามีดมาฆ่าตัวตาย ดังนี้แล้ว ได้เอามีดที่คมมาเฉือนก้านคอ.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=215

             พระภิกษุในปัจจุบัน บางรูปที่บอกว่าตนเป็นพระอรหันต์ แต่เมื่อพิจารณาพฤติกรรม
หลายอย่างแล้ว ก็ไม่ใช่วิสัยของพระอรหันต์ เช่น พระอรหันต์ไม่ฝัน ไม่หัวเราะร้องไห้
             อรรถกถาสุปินสูตรที่ ๖
             แม้เพราะความเกี่ยวข้องของมูลเหตุ ๔ อย่างเหล่านี้ต่างกัน ฝันจึงต่างกันไป
ฝันแม้ทั้ง ๔ นั้น พระเสกขะและปุถุชนย่อมฝัน เพราะยังละวิปัลลาสไม่ได้.
พระอเสกขะไม่ฝัน เพราะละวิปัลลาสได้แล้ว.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=196
             โรณสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=20&A=6845

             การสำคัญตนว่าได้บรรลมรรคผล จะไม่มีแก่พระอริยะ
             อรหัตตสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=10072&Z=10084
             อธิมานวตฺถุวณฺณนา บางส่วน
             ถามว่า ก็ความสำคัญว่าได้บรรลุนี้ ย่อมเกิดขึ้นแก่ใคร? ไม่เกิดขึ้นแก่ใคร?
             แก้ว่า ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกก่อน.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=231#อธิมานวตฺถุวณฺณนา

ความคิดเห็นที่ 27
ฐานาฐานะ, 21 มีนาคม เวลา 17:01 น.

GravityOfLove, 6 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในฉันโนวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9525&Z=9640
...
9:58 AM 3/21/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             สำหรับข้อ 2 นำความรู้เดิมมาตอบหลายอย่าง
             แต่แปลกใจที่ไม่ได้นำอรรถกถาพระสูตรหลักมาตอบ.
             อรรถกถาสัลเลขสูตร ว่าด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส
//84000.org/tipitaka/attha/seek.php?text=อธิมาน&t=b&b=12&bs=1&a=0102

ความคิดเห็นที่ 28
ฐานาฐานะ, 21 มีนาคม เวลา 19:17 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ฉันโนวาทสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=9525&Z=9640

              พระสูตรหลักถัดไป คือ ปุณโณวาทสูตร [พระสูตรที่ 45].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              ปุณโณวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=9641&Z=9745
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=754

ความคิดเห็นที่ 29
GravityOfLove, 21 มีนาคม เวลา 20:42 น.

             แต่แปลกใจที่ไม่ได้นำอรรถกถาพระสูตรหลักมาตอบ.
             คิดว่าตอบครบถ้วนแล้ว ก็เลยลืมสังเกตค่ะว่า ไม่มีพระสูตรหลัก
-------------------------
             คำถามปุณโณวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=9641&Z=9745

             จากพระสูตรนี้ ปลิดชีพด้วยศาตราอันคม หนักหนากว่าประหารด้วยศาตรา
ไม่เหมือนกันหรือคะ ทำไมเป็นอย่างนั้นคะ
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 30
ฐานาฐานะ, 21 มีนาคม เวลา 20:57 น.

GravityOfLove, 3 นาทีที่แล้ว
...
8:40 PM 3/21/2014

              [๗๖๑] พ. ดูกรปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จักให้การ
ประหารเธอด้วยศาตรา เธอจักมีความคิดอย่างไรในมนุษย์พวกนั้น ฯ
              ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จักให้การ
ประหารข้าพระองค์ด้วยศาตรา ข้าพระองค์จักมีความคิดในพวกเขาอย่างนี้ว่า พวก
มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้ ยังดีนักหนาที่ไม่ปลิดชีพเราเสียด้วยศาตราอันคม
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต ข้าพระองค์จักมีความคิดในมนุษย์พวกนั้นอย่างนี้ ฯ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=9641&Z=9745#761

              คำว่า ประหาร ในที่นี้ คือการตี คำนี้มีความหมายค่อนข้างกว้าง
เพราะในภาษาไทยใช้ในความหมายว่า ฆ่า.
              ในที่นี้ คือ ตีด้วยศาตราเท่านั้น.

              สิกขาบทที่ ๔  เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [ว่าด้วย การให้ประหาร]
              ๘. สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๔
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=13544&Z=13589
              คำว่า ประหาร
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ประหาร

ความคิดเห็นที่ 31
GravityOfLove, 21 มีนาคม เวลา 21:13 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 32
GravityOfLove, 21 มีนาคม เวลา 21:20 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค
             ๓. ปุณโณวาทสูตร ว่าด้วยการประทานโอวาทแก่ท่านพระปุณณะ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9641&Z=9745&bgc=whitesmoke&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             ครั้งนั้น ท่านพระปุณณะออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
แล้วทูลขอพระโอวาทย่อๆ เพื่อที่ตนจะหลีกออกไปบำเพ็ญเพียรแต่ผู้เดียว
             (ท่านเป็นชาวเมืองสุนาปรันตะ บวชและทำกัมมัฏฐานอยู่ที่กรุงสาวัตถี
แต่ไม่เจริญก้าวหน้า จึงปรารถนาจะกลับถิ่นเดิม)
             พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
             มีรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจรูปนั้น
นันทิ (ความเพลิดเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น เพราะนันทิเกิด เราจึงกล่าวว่า ทุกข์เกิด
             เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ ตรัสทำนองเดียวกัน

             มีรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจรูปนั้น
นันทิย่อมดับไป เพราะนันทิดับ เราจึงกล่าวว่า ทุกข์ดับ
             เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ ตรัสทำนองเดียวกัน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อายตนะภายนอก_6

             พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า เธอจะอยู่ชนบทไหน
             ท่านพระปุณณะทูลตอบว่า ชนบทชื่อสุนาปรันตะ
             ตรัสว่า พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทดุร้ายหยาบช้านัก
ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทด่าเธอ เธอจะคิดอย่างไรในมนุษย์พวกนั้น
             ทูลตอบว่า ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทด่าข้าพระองค์ (๑)
ข้าพระองค์จะคิดในพวกเขาอย่างนี้ว่า พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้
ยังดีนักหนาที่ไม่ประหาร (ตี) เราด้วยฝ่ามือ (๒)
             ตรัสถามว่า ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท ประหารเธอด้วยฝ่ามือ
เธอจะคิดอย่างไรในมนุษย์พวกนั้น
             ทูลตอบว่า ข้าพระองค์จะคิดในพวกเขาอย่างนี้ว่า
พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้ ยังดีนักหนาที่ไม่ประหารเราด้วยก้อนดิน (๓)
             ตรัสถามว่า ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท ประหารเธอด้วยก้อนดิน
เธอจะคิดอย่างไรในมนุษย์พวกนั้น
             ทูลตอบว่า ข้าพระองค์จะคิดในพวกเขาอย่างนี้ว่า
พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้ ยังดีหนักหนาที่ไม่ประหารเราด้วยท่อนไม้ (๔)
             ตรัสถามว่า ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท ประหารเธอด้วยท่อนไม้
เธอจะมีความคิดอย่างไรในมนุษย์พวกนั้น
             ทูลตอบว่า ข้าพระองค์จะคิดในพวกเขาอย่างนี้ว่า
พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้ ยังดีนักหนาที่ไม่ประหารเราด้วยศาตรา (๕)
             ตรัสถามว่า ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท ประหารเธอด้วยศาตรา
เธอจะมีความคิดอย่างไรในมนุษย์พวกนั้น
             ทูลตอบว่า ข้าพระองค์จะคิดในพวกเขาอย่างนี้ว่า
พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้ ยังดีนักหนาที่ไม่ปลิดชีพเราเสียด้วยศาตราอันคม (๖)
             ตรัสถามว่า ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท ปลิดชีพเธอเสียด้วยศาตราอันคม
เธอจะมีความคิดอย่างไรในมนุษย์พวกนั้น
             ทูลตอบว่า ข้าพระองค์จะคิดในพวกเขาอย่างนี้ว่า
มีเหล่าสาวกของพระผู้มีพระภาค ที่อึดอัดเกลียดชังร่างกายและชีวิต พากันแสวงหา
ศาตราสังหารชีพอยู่ เราไม่ต้องแสวงหาสิ่งดังนั้นเลย ก็ได้ศาตราสังหารชีพแล้ว (๗)
             คำว่า ประหาร
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ประหาร

             ตรัสว่า ดีละๆ ปุณณะ เธอประกอบด้วยทมะ (ความข่มใจ) และอุปสมะ
(ความสงบใจ) ดังนี้แล้ว จักอาจเพื่อจะอยู่ในสุนาปรันตชนบทได้ เธอจงสำคัญกาล
ที่ควรในบัดนี้เถิด
             ท่านพระปุณณะยินดีอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว
ถวายความเคารพ เดินทางจาริกไปยังสุนาปรันตชนบท
             ท่านพระปุณณะได้ให้พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทกลับใจ แสดงตนเป็น
อุบาสกประมาณ ๕๐๐ คน เป็นอุบาสิกาประมาณ ๕๐๐ คน ภายในพรรษานั้นเอง
             และตัวท่านได้ทำให้แจ้งซึ่งวิชชา ๓ ภายในพรรษานั้นเหมือนกัน
             ต่อมา ท่านก็ปรินิพพาน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิชชา_3

             ภิกษุมากรูปด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลว่า
ท่านพระปุณณะทำกาละแล้ว ท่านมีคติเป็นอย่างไร มีสัมปรายภพเป็นอย่างไร
             ตรัสว่า ปุณณกุลบุตร เป็นบัณฑิต ได้บรรลุธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว
ทั้งไม่ให้เราลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม ปุณณกุลบุตรปรินิพพานแล้ว
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

ความคิดเห็นที่ 33
ฐานาฐานะ, 23 มีนาคม เวลา 04:37 น.

GravityOfLove, 23 ชั่วโมงที่แล้ว
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค
              ๓. ปุณโณวาทสูตร ว่าด้วยการประทานโอวาทแก่ท่านพระปุณณะ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9641&Z=9745&bgc=whitesmoke&pagebreak=0
...
9:19 PM 3/21/2014

              ย่อความได้ดีครับ
              ขอแนะนำลิงค์ที่เกี่ยวข้องกับพระสูตรนี้ :-
              คำว่า ปุณณสุนาปรันตะ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปุณณสุนาปรันตะ

ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 05 พฤษภาคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 19:48:26 น.
Counter : 805 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



พฤษภาคม 2557

 
 
 
 
1
2
3
4
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog