27.12 พระสูตรหลักถัดไป คือภัทเทกรัตตสูตร [พระสูตรที่ 31] การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก 27.11 พระสูตรหลักถัดไป คือภัทเทกรัตตสูตร [พระสูตรที่ 31] //www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=26-03-2014&group=3&gblog=42 ความคิดเห็นที่ 6-125 ความคิดเห็นที่ 6-126 GravityOfLove, 16 มีนาคม เวลา 08:30 น. เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ ความคิดเห็นที่ 7 GravityOfLove, 16 มีนาคม เวลา 09:05 น. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ วิภังควรรค ๔๒. ทักขิณาวิภังคสูตร ว่าด้วยการจำแนกทักษิณาทาน //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9161&Z=9310&bgc=whitesmoke&pagebreak=0 สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารนิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท สมัยนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงนำผ้าห่มคู่หนึ่งมาถวายแด่พระผู้มีพระภาค เป็นผ้าที่พระนางทรงกรอด้าย ทอเอง ขอให้พระผู้มีพระภาคทรงรับเป็นการอนุเคราะห์ พระผู้มีพระภาคตรัสให้ถวายสงฆ์ จะเป็นอันได้บูชาทั้งพระองค์และสงฆ์ พระนางกราบทูลเช่นเดิมอีก ๒ ครั้ง พระผู้มีพระภาคก็ตรัสเช่นเดิมทุกครั้ง (ทรงไม่รับ เพื่อทรงอนุเคราะห์พระนาง เพราะพระนางจะได้อานิสงส์จากเจตนา ที่จะถวายพระผู้มีพระภาค และอานิสงส์ที่ถวายสงฆ์โดยไม่เจาะจงรูปใด (สังฆทาน)) //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=มหาปชาบดีโคตมี ท่านพระอานนท์กราบทูลขอให้พระผู้มีพระภาคทรงรับ เพราะพระนางทรงมี อุปการะมาก เป็นพระมาตุจฉา (น้าผู้หญิง) ผู้ทรงบำรุงเลี้ยง ประทานพระขีรรส (น้ำนม) แด่พระองค์เมื่อพระชนนีสวรรคตแล้ว ผู้โปรดให้พระองค์ทรงดื่มเต้าพระถัน แม้พระองค์ก็ทรงมีอุปการะมากแก่พระนาง เพราะพระนางทรงอาศัยพระองค์ ๑. จึงทรงถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะได้ ๒. จึงทรงงดเว้นจากปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท น้ำเมาคือสุราและเมรัยได้ ๓. จึงทรงประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทรงประกอบด้วยศีลที่พระอริยะมุ่งหมายได้ (พระอริยะยินดี) ๔. จึงเป็นผู้หมดความสงสัยในอริยสัจ ๔ //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยสัจ_4 พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถูกแล้ว แต่พระองค์ไม่ตรัสว่า การที่บุคคลอาศัยบุคคลใด แล้วเป็นผู้ถึงธรรมดังกล่าว (ข้อ ๑ - ๔) เป็นการตอบแทนบุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี (พนมมือแสดงความเคารพ) ทำสามีจิกรรม (การกระทำที่สมควร) ถวายจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิก (การถวายทานเจาะจงบุคคล) มี ๑๔ อย่าง คือ ๑. ให้ทานในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ ๒. ให้ทานในพระปัจเจกสัมพุทธ ๓. ให้ทานในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ๔. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง ๕. ให้ทานแก่พระอนาคามี ๖. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ๗. ให้ทานแก่พระสกทาคามี ๘. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ๙. ให้ทานในพระโสดาบัน ๑๐. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง ๑๑. ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ๑๒. ให้ทานในบุคคลผู้มีศีล ๑๓. ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล ๑๔. ให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน บุคคลให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ร้อยเท่า ในปุถุชนผู้ทุศีล ได้พันเท่า ในปุถุชนผู้มีศีล ได้แสนเท่า ในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ได้แสนโกฏิเท่า ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาจนนับไม่ได้ จึงไม่จำเป็นต้องกล่าวในพระโสดาบัน ฯลฯ ในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ คำว่า ปาฏิบุคลิกทาน //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปาฏิบุคลิกทาน&detail=on //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ทักขิณา ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ (ให้ทานสงฆ์) มี ๗ อย่าง คือ ๑. ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย (ภิกษุ และภิกษุณี) มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ๒. ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ๓. ให้ทานในภิกษุสงฆ์ ๔. ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์ ๕. เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน ๖. เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน ๗. เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน คำว่า เผดียง //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เผดียง ในอนาคตกาล จะมีแต่เหล่าภิกษุโคตรภู (เป็นสมณะแต่ชื่อ) มีผ้ากาสาวะ พันคอ เป็นคนทุศีล มีธรรมลามก คนทั้งหลายจักถวายทานเฉพาะสงฆ์ (สังฆทาน คือ ไม่เจาะจงสงฆ์รูปใด) ได้ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ (ไม่เจาะจงรูปใด) แม้ในเวลานั้น ก็มีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ เราไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทานว่า มีผลมากกว่าทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ (ไม่เจาะจงรูปใด) โดยปริยายไรๆ เลย (ไม่มีเหตุใดๆ เลย) ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณามี ๔ อย่าง คือ ๑. ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายทายก (ผู้ให้) ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก (ผู้รับ) คือทายกมีศีล มีธรรมงาม (มีกัลยาณธรรม) ปฏิคาหกเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก ๒. ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก คือ ทายกเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก ปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม ๓. ทักษิณาบางอย่างฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์ คือ ทายกก็เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก ปฏิคาหกก็เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก ๔. ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก คือ ทายกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม ปฏิคาหกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว ได้ตรัสคาถาประพันธ์ ใจความว่า (๑) ผู้ให้ทานที่มีศีล ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลแห่งกรรม ให้ทานในคนทุศีล ทานของผู้นั้น ชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายผู้ให้ (๒) ผู้ให้ทานที่ทุศีล ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมใส ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรม ให้ทานในคนมีศีล ทานของผู้นั้นชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่ายผู้รับ (๓) ผู้ให้ทานก็ทุศีล ผู้รับทานก็ทุศีล ไม่ตรัสทานของผู้นั้นว่า มีผลไพบูลย์ (๔) ผู้ให้ทานก็มีศีล ผู้รับทานก็มีศีล ตรัสทานของผู้นั้นว่า มีผลไพบูลย์ (๕) ผู้ให้ทานที่ปราศจากราคะแล้ว ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลของกรรม ให้ทานในผู้ปราศจากราคะ ทานของผู้นั้นเลิศกว่า อามิสทานทั้งหลาย //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ทักขิณาวิสุทธิ_4 ความคิดเห็นที่ 8 ฐานาฐานะ, 17 มีนาคม เวลา 01:49 น. GravityOfLove, 16 ชั่วโมงที่แล้ว พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ วิภังควรรค ๔๒. ทักขิณาวิภังคสูตร ว่าด้วยการจำแนกทักษิณาทาน //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9161&Z=9310&bgc=whitesmoke&pagebreak=0 ... 9:05 AM 3/16/2014 ย่อความได้ดีครับ. ความคิดเห็นที่ 9 ฐานาฐานะ, 17 มีนาคม เวลา 01:51 น. คำถามในทักขิณาวิภังคสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9161&Z=9310 เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง? ความคิดเห็นที่ 10 ตอบคำถามในทักขิณาวิภังคสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9161&Z=9310 เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง? ๑. เจตนา ๓ อย่างคือ บุพเจตนา มุญจนเจตนา อปราปรเจตนาของพระนางมหาปชาบดี ในการถวายผ้าครั้งนี้ เกิดขึ้นเมื่อปรารภพระผู้มีพระภาค และถวายพระภิกษุสงฆ์ ๒. การที่บุคคลอาศัยบุคคลใด แล้วเป็นผู้ถึงไตรสรณะ สมาทานศีล ๕ เลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัย หมดความสงสัยในอริยสัจ ๔ ไม่ตรัสว่า เพียงการกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี ทำสามีจิกรรม ถวายปัจจัย ๔ เป็นการตอบแทนบุคคลนี้ด้วยดี ๓. ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิก (การถวายทานเจาะจงบุคคล) ๑๔ อย่าง ใน ๑๔ อย่างนี้ ให้ทานในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ ได้ผลทิกษิณาสูงสุดอย่างประมาณไม่ได้ ให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน ได้ผลทักษิณา ๑๐๐ เท่า ๔. ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์มี ๗ อย่าง ๕. ในอนาคตในกาลที่พระพุทธศาสนาเสื่อม จะมีแต่ทุศีล (ภิกษุโคตรภู) แม้การให้สังฆทานแก่ภิกษุทุศีลก็มีอานิสงส์สูงกว่าการให้ทานแบบาฏิปุคคลิก ๖. ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ อย่าง ๗. ทานที่พระอรหันต์ให้แก่พระอรหันต์ เป็นทานอันเลิศ เพราะไม่มีความปรารถนาภพของผู้อาลัยในภพ. ๘. พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงให้พระโอรสของพระองค์ (นันทกุมาร) แก่แม่นม ส่วนตัวพระองค์เอง เลี้ยงพระโพธิสัตว์ ๙. ที่ชื่อว่า ให้ผลร้อยเท่า เป็นต้น คือ อายุ วรรณะ สุข พละ ปฏิภาณ อย่างละร้อยเท่า ๑๐. สัมปทาในสูตรนี้มีดังนี้ คือ ความที่ไทยธรรมไม่เบียดเบียนผู้อื่นเกิดขึ้น โดยธรรม โดยชอบ, ความที่เจตนาด้วยอำนาจแห่งบุพเจตนาเป็นต้น เป็นธรรมใหญ่, ความเป็นผู้มีคุณอันเลิศยิ่ง โดยความเป็นพระขีณาสพ, ความถึงพร้อมด้วยวัตถุ โดยความเป็นผู้ออกแล้วจากนิโรธในวันนั้น คำว่า สัมปทา หรือ สัมปทาคุณ 4 //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สัมปทาคุณ+4 ความคิดเห็นที่ 11 ฐานาฐานะ, 17 มีนาคม เวลา 20:53 น. GravityOfLove, 11 ชั่วโมงที่แล้ว ตอบคำถามในทักขิณาวิภังคสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9161&Z=9310 ... 9:32 AM 3/17/2014 ตอบคำถามได้ดีครับ ใน ๑๔ อย่างนี้ ให้ทานในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ ได้ผลทิกษิณาสูงสุดอย่างประมาณไม่ได้ แก้ไขเป็น ใน ๑๔ อย่างนี้ ให้ทานในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ ได้ผลทักษิณาสูงสุดอย่างประมาณไม่ได้ แม้การให้สังฆทานแก่ภิกษุทุศีลก็มีอานิสงส์สูงกว่าการให้ทานแบบาฏิปุคคลิก แก้ไขเป็น แม้การให้สังฆทานแก่ภิกษุทุศีลก็มีอานิสงส์สูงกว่าการให้ทานแบบปาฏิปุคคลิก คำถามเบาๆ ว่า ในบทเหล่านั้น บทว่า ติรจฺฉานคเต ความว่า ทานใดที่บุคคลให้แล้ว เพื่อเลี้ยงด้วยอำนาจแห่งคุณ ด้วยอำนาจแห่งอุปการะ ทานนี้ไม่ถือเอา. //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=706 มีความหมายอย่างไร? ความคิดเห็นที่ 12 GravityOfLove, 17 มีนาคม เวลา 21:37 น. หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์เดียรัจฉาน เช่น แมว สุนัข ด้วยความเอ็นดู ไม่ถือว่าเป็นการให้ทานแบบเจาะจง ๑๔ ประการนี้ ความคิดเห็นที่ 13 ฐานาฐานะ, 17 มีนาคม เวลา 22:06 น. เฉลยว่า น่าจะหมายความว่า ถ้าสัตว์เดียรัจฉานเหล่านั้น มีอุปการะคุณ เช่น เคยช่วยชีวิตเป็นต้น หรือเคยให้กินน้ำนมมาก่อน อย่างนี้ ไม่จัดเข้ากรณีนี้ เพราะเหตุว่า มีเหตุผลอื่นในการให้ คือความกตัญญูของผู้ให้ด้วย เพราะมีอุปการคุณมาก่อน. แม้ในกรณีที่มารดาบิดาเป็นผู้ทุศีลก็ตาม บุตรมีกตัญญูเลี้ยงดูมารดาบิดานั้น ก็ไม่ใช่จะได้อานิสงส์ เพียง 1000 เท่า แต่มีอานิสงส์ของกรรมคือความเป็นผู้กตัญญูด้วย. อรรถกถาทุติยสิคาลสูตรที่ ๑๒ //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=685 ความคิดเห็นที่ 14 GravityOfLove, 17 มีนาคม เวลา 22:10 น. คำว่า ทานนี้ไม่ถือเอา แปลว่าอะไรคะ ความคิดเห็นที่ 15 ฐานาฐานะ, 17 มีนาคม เวลา 22:29 น. GravityOfLove, 17 นาทีที่แล้ว คำว่า ทานนี้ไม่ถือเอา แปลว่าอะไรคะ 10:10 PM 3/17/2014 แปลว่า ทานนี้ไม่ถือเอาตามนัยนี้ คือนัยที่มีอานิสงส์ 100 เท่า. เพราะมีส่วนประกอบของเจตนา คืออุปการะคุณของผู้รับทานด้วย. ความคิดเห็นที่ 16 GravityOfLove, 17 มีนาคม เวลา 22:37 น. ไม่ถือเอา คือ ไม่ใช่ว่าได้อานิสงส์เพียงแค่นั้น แต่ได้มากกว่านั้น ใช่ไหมคะ ย้ายไปที่ //www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1 |
แก้วมณีโชติรส
Rss Feed Smember ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?] Group Blog
All Blog
Link |
|||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |
๗. บุคคลทั้งหลายเชื่อผลทานที่เป็นเช่นกับพระขีณาสพเทียว ไม่มี ก็กรรมที่พระขีณาสพทำแล้ว
ไม่เป็นกุศลหรืออกุศล เพราะเป็นผู้ปราศจากฉันทราคะแล้ว ย่อมตั้งอยู่ในฐานกิริยา ด้วยเหตุนั้น
บัณฑิตทั้งหลายจึงกล่าวว่า ทานของพระขีณาสพนั้นมีผลเลิศ ดังนี้.
อธิบายว่า
ความเชื่อผลของทาน ของพระอรหันต์ (พระขีณาสพ) มีมากที่สุด
พระอนาคามีบุคคล ... ปุถุชนผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ ก็ลดหลั่นตามลำดับ.
ข้อนี้น่าจะเป็นการอธิบายในคาถาประพันธ์ ข้อสุดท้าย ดังนี้ :-
(๕) ผู้ใดปราศจากราคะแล้ว ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี
เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในผู้ปราศจากราคะ
ทานของผู้นั้นนั่นแล เลิศกว่าอามิสทานทั้งหลาย ฯ
กรรมที่พระอรหันต์ทำนั้น ไม่เป็นบุญไม่เป็นบาป เพราะตัดกิเลสได้หมดแล้ว
ไม่มีผลในภพชาติถัดไป หรือชาติต่อๆ ไป หรือเรียกว่า กิริยา
แต่ไม่ควรเข้าใจว่า ไม่มีผลในชาตินี้ เพราะน่าจะมีผลในชาตินี้เช่นกับ
การเข้าสมาบัติ ก็มีผลในอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมเช่นกัน.
เพราะพระอรหันต์นั้นบริสุทธิ์จากกิเลส ทานของพระขีณาสพนั้นมีผลเลิศ
แต่ว่า เลิศอย่างไร ข้อนี้ไม่อาจระบุได้ อาจยังจิตพระอรหันต์ให้มีปีติในทานได้
ปีติเป็นต้นที่เกิดแก่พระอรหันต์ จะประณีตกว่า ปุถุชนหรือพระเสขบุคคล
นี้น่าจะเป็นตัวอย่างของผลอันเลิศ ได้บ้าง.
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
๘. บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าทานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้แก่พระสารีบุตรมีผลมาก.
เพราะเหตุไร. เพราะบุคคลอื่นเว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าสามารถให้ผลทานให้เกิดขึ้นไม่มี.
จริงอย่างนั้น ทานย่อมให้ผลแก่ผู้อาจเพื่อทำด้วยสัมปทา ๔ ในอัตภาพนั้นแล.
อธิบายว่า
เป็นการเทียบผลของการให้ทาน คือ
1. ทานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้แก่พระสารีบุตร และ
2. ทานที่พระสารีบุตรถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ข้อแรกมีผลมากกว่า ข้อนี้จะเป็นปัจจัยภายในมีผลหนักกว่า ปัจจัยภายนอก.
กล่าวคือ ข้อแรก ปัจจัยภายในคือพระญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือพระปัญญา
มีผลมากกว่า ปัจจัยภายในคือปัญญาของท่านพระสารีบุตร แม้จะได้ถวายทานในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้เลิศในโลก อันเป็นปัจจัยภายนอกของข้อ 2
ข้อนี้ เป็นการอธิบายในข้อสัมปทา 4
คำว่า สัมปทา หรือ สัมปทาคุณ 4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สัมปทาคุณ+4
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
๙. อุบาสกผู้ถึงไตรสรณะโดยที่สุดเบื้องต่ำ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
อธิบายว่า
เป็นการสงเคราะห์ว่า ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
กำหนดขั้นต่ำที่บุคคลใด คือกำหนดที่อุบาสกผู้ถึงไตรสรณะโดยที่สุดเบื้องต่ำ
โดยนัยก็คือ อุบาสกผู้ถึงไตรสรณะโดยที่สุดเบื้องต่ำ เมื่อเลื่อมใสแล้ว ย่อมปฏิบัติ
หรือทำบุญรักษาศีลเพื่อให้บรรลุมรรคผล กล่าวคือบรรลุเป็๋นพระโสดาบัน ...
พระอรหันต์ตามลำดับ.
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
๑๐. สัมปทาในสูตรนี้มีดังนี้ คือ ความที่ไทยธรรมไม่เบียดเบียนผู้อื่นเกิดขึ้น โดยธรรม
โดยชอบ, ความที่เจตนาด้วยอำนาจแห่งบุพเจตนาเป็นต้น เป็นธรรมใหญ่, ความเป็นผู้มีคุณอันเลิศยิ่ง
โดยความเป็นพระขีณาสพ, ความถึงพร้อมด้วยวัตถุ โดยความเป็นผู้ออกแล้วจากนิโรธในวันนั้น ดังนี้.
อธิบายว่า
เป็นการอธิบายคาถาประพันธ์ โดยนัยของสัมปทาคุณ 4
อย่างไรก็ตาม ในข้อของผู้รับทาน เพิ่มข้อความเป็นผู้ออกแล้วจากนิโรธในวันนั้นเข้าไปด้วย
แต่ก็จัดอยู่ในข้อผู้รับทานนั่นเอง.
คำว่า สัมปทา หรือ สัมปทาคุณ 4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สัมปทาคุณ+4