26.7 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬสุญญตสูตร [พระสูตรที่ 21]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
26.6 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬสุญญตสูตร [พระสูตรที่ 21]

ความคิดเห็นที่ 6-69
GravityOfLove, 6 กุมภาพันธ์ เวลา 19:49 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สุญญตวรรค
             ๒๖. ภูมิชสูตร ว่าด้วยพระภูมิชะ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5609&Z=5818&bgc=whitesmoke&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคยเป็นสถานที่
พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์
             ครั้งนั้น พระราชกุมารชยเสนะได้รับสั่งกับท่านพระภูมิชะ
(เป็นพระเจ้าลุงของชยเสนราชกุมาร ) ดังนี้ว่า
             มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้ว่า
             ถ้าแม้บุคคลทำความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล
             ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล
             ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์
เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล
             ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ ความไม่หวังก็มิใช่แล้ว ประพฤติพรหมจรรย์
เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล
             ในเรื่องนี้ ศาสดาของท่านภูมิชะมีวาทะ มีความเห็นอย่างไร บอกไว้อย่างไร
             ท่านภูมิชะกล่าวว่า
             เรื่องนี้อาตมภาพไม่ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเลย
แต่ข้อที่เป็นฐานะมีได้ คือพระผู้มีพระภาคจะพึงทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า
             ถ้าแม้บุคคลทำความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย
เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล
             ...
             ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ ความไม่หวังก็มิใช่แล้วประพฤติพรหมจรรย์
โดยไม่แยบคาย เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุ
             แต่ถ้าแม้ทำความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยแยบคาย
เขาก็จะสามารถบรรลุผล
             ...
             ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ ความไม่หวังก็มิใช่แล้วประพฤติพรหมจรรย์
โดยแยบคาย เขาก็จะสามารถบรรลุผล
             พระราชกุมารชยเสนะรับสั่งว่า
             ถ้าศาสดาของท่านภูมิชะมีวาทะ มีความเห็นอย่างนี้ บอกไว้อย่างนี้
ศาสดาของท่านภูมิชะ ชะรอยจะดำรงอยู่เหนือหัวของสมณพราหมณ์
จำนวนมากทั้งมวลโดยแท้ (มีความรู้เหนือสมณพราหมณ์ทั้งปวงแน่แท้)
             ท่านพระภูมิชะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคถึงเรื่องที่ตนสนทนากับพระราช
กุมารชยเสนะ แล้วทูลถามพระองค์ว่า ที่ตนกล่าวไปอย่างนั้น ถูกต้องหรือไม่
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เหมาะแล้ว
             สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ที่มีทิฐิผิด มีสังกัปปะ (ดำริ) ผิด
มีวาจาผิด มีกัมมันตะ (กระทำ) ผิด มีอาชีวะ (เลี้ยงชีพ) ผิด มีวายามะ (พยายาม) ผิด
มีสติ (ระลึก) ผิด มีสมาธิ (ตั้งจิตมั่น) ผิด ถ้าแม้ทำความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์
... หรือทำความหวังก็มิใช่ ความไม่หวังก็มิใช่ก็ตามแล้วประพฤติพรหมจรรย์
เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผลได้
             นั่นเพราะเขาไม่สามารถจะบรรลุผลได้โดยอุบายไม่แยบคาย
             เปรียบเหมือนบุรุษต้องการน้ำมัน โดยการคั้นทราย
             เปรียบเหมือนบุรุษต้องการนมสด โดยการรีดเขาโค
             เปรียบเหมือนบุรุษต้องการเนยข้น โดยการผสมน้ำกับนมข้น
             เปรียบเหมือนบุรุษต้องการไฟ โดยการเอาไม้สดที่มียางมาทำไม้สีไฟ
             ส่วนสมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งที่มีทิฐิชอบ มีสังกัปปะชอบ
มีวาจาชอบ มีกัมมันตะชอบ มีอาชีวะชอบ มีวายามะชอบ มีสติชอบ มีสมาธิชอบ
ถ้าแม้ทำความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ ... หรือทำความหวังก็มิใช่ ความไม่หวัง
ก็มิใช่ก็ตามแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถจะบรรลุผลได้
             นั่นเพราะเขาสามารถบรรลุผลได้โดยอุบายแยบคาย
             เปรียบเหมือนบุรุษต้องการน้ำมัน โดยการคั้นจากงาป่น
             เปรียบเหมือนบุรุษต้องการนมสด โดยการรีดเอาจากเต้านมแม่โคลูกอ่อน
             เปรียบเหมือนบุรุษต้องการเนยข้น โดยการผสมนมส้มกับนมข้น
             เปรียบเหมือนบุรุษต้องการไฟ โดยการเอาไม้แห้งเกราะมาทำไม้สีไฟ
             ถ้าอุปมา ๔ ข้อนี้ จะพึงแจ่มแจ้งแก่พระราชกุมารชยเสนะ
พระราชกุมารชยเสนะจะพึงเลื่อมใสเธอ และเลื่อมใสแล้ว จะพึงทำ
อาการของบุคคลผู้เลื่อมใสต่อเธออย่างน่าอัศจรรย์
             ท่านพระภูมิชะกราบทูลว่า
             ก็อุปมา ๔ ข้อนี้จักให้ข้าพระองค์แจ่มแจ้งแก่พระราชกุมารชยเสนะ
ได้แต่ที่ไหน เพราะอุปมาน่าอัศจรรย์ ข้าพระองค์ไม่เคยได้สดับมาในก่อน
เหมือนที่ได้สดับต่อพระผู้มีพระภาค
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มรรคมีองค์_8

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระภูมิชะจึงชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

ความคิดเห็นที่ 6-70
ฐานาฐานะ, 6 กุมภาพันธ์ เวลา 23:36 น.

GravityOfLove, 2 ชั่วโมงที่แล้ว
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สุญญตวรรค
๒๖. ภูมิชสูตร ว่าด้วยพระภูมิชะ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5609&Z=5818&bgc=whitesmoke&pagebreak=0
...
7:49 PM 2/6/2014

              ย่อความได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 6-71
ฐานาฐานะ, 6 กุมภาพันธ์ เวลา 23:40 น.

             คำถามในภูมิชสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5609&Z=5818

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 6-72
GravityOfLove, 7 กุมภาพันธ์ เวลา 12:31 น.

             ตอบคำถามในภูมิชสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5609&Z=5818

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ผู้ที่มีทิฐิผิด ฯลฯ มีสมาธิผิด ถ้าแม้ทำความหวังหรือทำความไม่หวัง
ก็ตามแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผลได้ นั่นเพราะ
เขาไม่สามารถจะบรรลุผลได้โดยอุบายไม่แยบคาย เปรียบเหมือนบุรุษ
ต้องการน้ำมัน โดยการคั้นทราย เป็นต้น

ความคิดเห็นที่ 6-73
ฐานาฐานะ, 7 กุมภาพันธ์ เวลา 16:30 น.

GravityOfLove, 51 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในภูมิชสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5609&Z=5818
...
12:31 PM 2/7/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ แต่ว่า ควรตอบทั้งสองนัย
             คือ นัยที่ไม่สามารถบรรลุผล และนัยที่สามารถบรรลุผลได้
             นัยที่สามารถบรรลุผลได้ คือ ข้อ 414-418
             คำถามข้อถัดไป คือ
             เนื้อความในนาวาสูตร สามารถตอบคำถามของพระราชกุมารชยเสนะ ได้หรือไม่?
             นาวาสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=17&A=3354

ความคิดเห็นที่ 6-74
GravityOfLove, 7 กุมภาพันธ์ เวลา 20:21 น.

             เนื้อความในนาวาสูตร สามารถตอบคำถามของพระราชกุมารชยเสนะ ได้ค่ะ
             ในนาวาสูตร อุปมาว่า เหมือนแม่ไก่กกไข่อย่างดี แม้ไม่ได้ตั้งความหวังว่า
ขอลูกเราจงฟักออกมาโดยปลอดภัย แต่ลูกไก่ก็ฟักออกมาได้โดยสวัสดิภาพ

ความคิดเห็นที่ 6-75
ฐานาฐานะ, 7 กุมภาพันธ์ เวลา 22:25 น.

             ตอบคำถามได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 6-76
ฐานาฐานะ, 7 กุมภาพันธ์ เวลา 22:26 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ภูมิชสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5609&Z=5818

              พระสูตรหลักถัดไป คืออนุรุทธสูตร [พระสูตรที่ 27].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
              อนุรุทธสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5819&Z=6016
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=420

              อุปักกิเลสสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=6017&Z=6311
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=439

              พาลบัณฑิตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=6312&Z=6749
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=467

              เทวทูตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=6750&Z=7030
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=504

ความคิดเห็นที่ 6-77
GravityOfLove, 8 กุมภาพันธ์ เวลา 08:17 น.

             คำถามอนุรุทธสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5819&Z=6016

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. [๔๒๕] ดูกรคฤหบดี มีสมัยที่พวกเทวดาประชุมร่วมกัน เทวดา
เหล่านั้นย่อมปรากฏมีสีกายต่างกัน แต่ไม่ปรากฏมีรัศมีต่างกัน
             [๔๒๖] ดูกรคฤหบดี มีสมัยที่พวกเทวดาแยกกันจากที่ประชุม เทวดา
เหล่านั้นย่อมปรากฏมีสีกายต่างกันและมีรัศมีต่างกัน
             ทั้ง ๒ ข้อนี้ แสดงบทเชื่อมมาจากข้อก่อนหน้า หรือไปสู่ข้อถัดไปอย่างไรคะ
             ๒. ท่านกล่าววาจาที่ควรนำเข้าไปยินดีนี้เหมาะแล
             ๓. เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้วที่ละเหตุแห่งความสงสัยข้อนั้นได้ เราทั้งสองคนก็ได้ฟังธรรมบรรยายนี้
             ๔. ก็นิมิตแห่งพรหมวิหารที่ท่านกล่าวไว้ว่า เป็นอัปปมาณานี้ ย่อมไม่ควร คือยังไม่เกิดการแผ่ขยาย และทั้งฌานเหล่านั้น ก็ยังไม่เป็นบาทแห่งอภิญญาหรือนิโรธ ก็ฌานที่เป็นบาทแห่งวิปัสสนา ย่อมเป็นทั้งบาทแห่งวัฏฏะ และเป็นการก้าวลงสู่ภพ. แต่นิมิตแห่งฌานที่เป็นกสิณ ซึ่งท่านกล่าวว่า เป็นมหัคคตะ ย่อมควร คือย่อมเกิดการแผ่ขยายออกไป และย่อมก้าวล่วงได้ ฌานที่เป็นบาทแห่งอภิญญา ย่อมเป็นบาทแห่งนิโรธด้วย เป็นบาทแห่งวัฏฏะด้วย ทั้งก้าวลงสู่ภพได้ด้วย. ธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกันอย่างนี้ และมีพยัญชนะต่างกันอย่างนี้ คือเป็นอัปปมาณา และเป็นมหัคคตะ.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-78
ฐานาฐานะ, 8 กุมภาพันธ์ เวลา 15:48 น.

              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑. [๔๒๕] ดูกรคฤหบดี มีสมัยที่พวกเทวดาประชุมร่วมกัน เทวดา
เหล่านั้นย่อมปรากฏมีสีกายต่างกัน แต่ไม่ปรากฏมีรัศมีต่างกัน
              [๔๒๖] ดูกรคฤหบดี มีสมัยที่พวกเทวดาแยกกันจากที่ประชุม เทวดา
เหล่านั้นย่อมปรากฏมีสีกายต่างกันและมีรัศมีต่างกัน
              ทั้ง ๒ ข้อนี้ แสดงบทเชื่อมมาจากข้อก่อนหน้า หรือไปสู่ข้อถัดไปอย่างไรคะ

              ตอบว่า สันนิษฐานว่า น่าจะเชื่อมมาจากข้อก่อน กล่าวคือ ในข้อ 424
กล่าวถึงเหตุการเข้าถึงภพแตกต่างกัน 4 อย่างก่อนการเข้าถึงภพ แม้เมื่ออุบัติแล้ว
เข้าถึงภพแล้ว ก็ปรากฏว่าแตกต่างกัน โดยความที่เมื่อพวกเทวดาประชุมกัน
เหล่าเทวดารัศมีไม่ต่างกัน มักจะอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ทำให้เมื่อประชุมร่วมกัน
เทวดาเหล่านั้นแม้สีกายต่างกัน แต่ไม่ปรากฏมีรัศมีต่างกัน
              ส่วนเวลาแยกประชุมกัน เทวดาเหล่านั้นก็ไปตามอัธยาศัยของตนๆ
ซึ่งแตกต่างกัน.
              สันนิษฐานล้วน.

              ๒. ท่านกล่าววาจาที่ควรนำเข้าไปยินดีนี้เหมาะแล
              สันนิษฐานว่า นี้เป็นคำชมเชยสรรเสริญว่า รู้จักสังเกตุจึงตั้งคำถามได้
ทั้งตั้งคำถามแล้ว จะได้คำตอบอันทำให้คำพยากรณ์ก่อนหน้านั้นหนักแน่น
จึงเป็นวาจาที่ควรกล่าว หรือเป็นคำถามที่ควรถาม นั่นเอง.

              ๓. เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้วที่ละเหตุแห่งความสงสัยข้อนั้นได้ เราทั้งสองคนก็ได้ฟังธรรมบรรยายนี้
              อธิบายว่า ท่านพระอภิยะ กัจจานะกล่าวกับช่างไม้ปัญจกังคะว่า
เป็นลาภของท่าน (เป็นลาภของช่างไม้ปัญจกังคะ) ที่ขจัดความสงสัยเสียได้
เราทั้งสองคน คือทั้งท่าน (ช่างไม้ปัญจกังคะ) ก็ได้ฟังธรรมบรรยายของท่านพระอนุรุทธ
ทั้งเราเอง (ท่านพระอภิยะ กัจจานะ) ก็ได้ฟังด้วยเช่นกัน.

              ๔. ก็นิมิตแห่งพรหมวิหารที่ท่านกล่าวไว้ว่า เป็นอัปปมาณานี้ ย่อมไม่ควร
คือยังไม่เกิดการแผ่ขยาย และทั้งฌานเหล่านั้น ก็ยังไม่เป็นบาทแห่งอภิญญาหรือนิโรธ
ก็ฌานที่เป็นบาทแห่งวิปัสสนา ย่อมเป็นทั้งบาทแห่งวัฏฏะ และเป็นการก้าวลงสู่ภพ.
แต่นิมิตแห่งฌานที่เป็นกสิณ ซึ่งท่านกล่าวว่า เป็นมหัคคตะ ย่อมควร
คือย่อมเกิดการแผ่ขยายออกไป และย่อมก้าวล่วงได้ ฌานที่เป็นบาทแห่งอภิญญา
ย่อมเป็นบาทแห่งนิโรธด้วย เป็นบาทแห่งวัฏฏะด้วย ทั้งก้าวลงสู่ภพได้ด้วย.
ธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกันอย่างนี้ และมีพยัญชนะต่างกันอย่างนี้ คือเป็นอัปปมาณา
และเป็นมหัคคตะ.
              สันนิษฐานว่า ที่ว่า พรหมวิหารเป็นอัปปมาณา เมื่อใด?
              อรรถกถาว่า ระดับนิมิตแห่งพรหมวิหาร ย่อมไม่เป็นอัปปมาณา
ตราบเมื่อแผ่พรหมวิหารไปยังตลอดทิศ จึงควร.
              นัยว่า เมตตาพรหมวิหาร มีสัตว์บุคคลเป็นอารมณ์
              การที่นาย ก แผ่เมตตาไปยังนาย ข เป็นต้นเพียงคนเดียว
ก็จัดว่า มีนิมิตของพรหมวิหารเช่นกัน แต่ยังไม่เป็นอัปปมาณา
เมื่อแผ่เมตตาอย่างนั้นไปตลอดทิศหนึ่งๆ เมื่อนั้นก็เป็นอัปปมาณา (ไม่มีประมาณ)
              ส่วนนิมิตแห่งฌานที่เป็นกสิณ แม้แผ่ไปเพียงโคนไม้แห่งหนึ่ง
ก็เป็นมหัคคตะแล้ว น่าจะหมายถึงนิมิตแห่งฌานที่เป็นกสิณ มีปกติแผ่ไปอยู่แล้ว
จะมากจะน้อย ก็เป็นมหัคคตะ.
              สันนิษฐานล้วน.

ความคิดเห็นที่ 6-79
GravityOfLove, 8 กุมภาพันธ์ เวลา 21:19 น.

พอจะเข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-80
GravityOfLove, 8 กุมภาพันธ์ เวลา 21:34 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สุญญตวรรค
             ๒๗. อนุรุทธสูตร ว่าด้วยพระอนุรุทธะ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5819&Z=6016&bgc=whitesmoke&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             ครั้งนั้น ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ ได้ถามท่านพระอนุรุทธว่า
             ภิกษุผู้เถระทั้งหลายมาหากระผมที่นี่แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
             ดูกรคฤหบดี ท่านจงเจริญเจโตวิมุติที่หาประมาณมิได้เถิด
             พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า
             ดูกรคฤหบดี ท่านจงเจริญเจโตวิมุติที่เป็นมหัคคตะเถิด
             ธรรม ๒ ข้อนี้ ต่างกันทั้งอรรถ (ความหมาย) และพยัญชนะหรือ
หรือว่ามีอรรถเป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
             ส่วนตนนั้น เข้าใจว่า ธรรม ๒ ข้อนี้ มีเนื้อความเป็นอันเดียวกัน
ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
             ท่านพระอนุรุทธตอบว่า
             ธรรม ๒ ข้อนี้ ต่างกันทั้งอรรถและพยัญชนะ
             - เจโตวิมุติที่หาประมาณมิได้ คือ
             ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีใจสหรคตด้วยเมตตา แผ่ไปทุกทิศ
มีใจสหรคตด้วยเมตตาอย่างไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ มีอารมณ์หาประมาณมิได้
ไม่มีเวร ไม่มีเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลกอันมีสัตว์ทั้งปวง ในที่ทุกสถาน
โดยเป็นอัตภาพทั้งมวลอยู่
             มีใจสหรคตด้วยกรุณา มีใจสหรคตด้วยมุทิตา มีใจสหรคตด้วยอุเบกขา
กล่าวทำนองเดียวกัน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อัปปมัญญา_4

             - เจโตวิมุติที่เป็นมหัคคตะ (การเจริญฌาน) คือ
             ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เท่าที่น้อมใจแผ่ไปสู่โคนไม้แห่งหนึ่งบ้าง หลายแห่งบ้าง
เขตบ้านแห่งหนึ่งบ้าง หลายแห่งบ้าง อาณาจักรแห่งหนึ่ง หลายแห่งบ้าง
ไปตลอดปฐพีมีสมุทรเป็นขอบเขตบ้างว่า เป็นแดนมหัคคตะอยู่
             นี้เรียกว่า เจโตวิมุติที่เป็นมหัคคตะ
             ท่านพระอนุรุทธกล่าวต่อไปว่า การเข้าถึงภพมี ๔ อย่าง คือ
             ๑. ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ น้อมใจแผ่ไปสู่อารมณ์มีแสงสว่าง
เล็กน้อยอยู่ เธอตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกมีรัศมี
เล็กน้อย (ชั้นปริตตาภา)
             ๒. ภิกษุบางรูปน้อมใจแผ่ไปสู่อารมณ์มีแสงสว่างหาประมาณมิได้อยู่
เธอตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกมีรัศมีหาประมาณมิได้
(ชั้นอัปปมาณาภา)
             ๓. ภิกษุบางรูปน้อมใจแผ่ไปสู่อารมณ์มีแสงสว่างเศร้าหมองอยู่
เธอตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกมีรัศมีเศร้าหมอง
(ชั้นสังกิลิฏฐาภา)
             ๔. ภิกษุบางรูปน้อมใจแผ่ไปสู่อารมณ์มีแสงสว่างบริสุทธิ์อยู่
เธอตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกมีรัศมีบริสุทธิ์
(ชั้นปริสุทธาภา)
             มีสมัยที่พวกเทวดาประชุมร่วมกัน เทวดาเหล่านั้นย่อมปรากฏ
มีสีกายต่างกัน แต่ไม่ปรากฏมีรัศมีต่างกัน
             มีสมัยที่พวกเทวดาแยกกันจากที่ประชุม เทวดาเหล่านั้นย่อมปรากฏ
มีสีกายต่างกันและมีรัศมีต่างกัน
             เทวดาเหล่านั้นย่อมไม่มีความดำริอย่างนี้เลยว่า
             สิ่งนี้ของพวกเราเที่ยง หรือยั่งยืน หรือแน่นอน
             แต่ว่า เทวดาเหล่านั้นย่อมอภิรมย์เฉพาะแดนที่ตนอยู่อาศัยนั้น
             คำว่า ปริตตาภา เป็นต้น
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปริตตาภา&detail=on

             ท่านพระอภิยะ กัจจานะ ได้กล่าวกับท่านพระอนุรุทธว่า
             ที่ท่านพยากรณ์นั้นดีละ แต่ในเรื่องนี้มีข้อที่กระผมจะพึงสอบถามให้ยิ่งขึ้นไป คือ
             พวกเทวดาที่มีรัศมีนั้นทั้งหมด เป็นผู้มีรัศมีเล็กน้อยหรือ หรือว่ามีบางพวก
ในพวกนั้นมีรัศมีหาประมาณมิได้
             ท่านพระอนุรุทธตอบว่า โดยหลักแห่งการอุปบัตินั้นแล เทวดาในพวกนี้
บางพวกมีรัศมีเล็กน้อย แต่บางพวกมีรัศมีหาประมาณมิได้
             เทวดาที่เข้าถึงหมู่เทวดาหมู่เดียวกันแล้วเหล่านั้น บางพวกมีรัศมีเล็กน้อย
แต่บางพวกมีรัศมีหาประมาณมิได้
             สาเหตุเพราะ ภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่ขอบเขตที่ใหญ่กว่าว่า
เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ จะมีรัศมีใหญ่กว่าภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่ขอบเขตที่เล็กกว่า
             ท่านพระอภิยะ กัจจานะ ถามต่อไปว่า
             พวกเทวดาที่มีรัศมีนั้น ทั้งหมด เป็นผู้มีรัศมีเศร้าหมองหรือ
หรือว่ามีบางพวกในพวกนั้นมีรัศมีบริสุทธิ์
             ท่านพระอนุรุทธตอบว่า โดยหลักแห่งการอุปบัตินั้นแล เทวดาในพวกนี้
บางพวกมีรัศมีเศร้าหมอง แต่บางพวกมีรัศมีบริสุทธิ์
             สาเหตุเพราะ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ น้อมใจแผ่ไปสู่อารมณ์
มีแสงสว่างเศร้าหมองอยู่ เธอไม่ระงับความชั่วหยาบทางกายให้ดี
             ไม่ถอนถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) ให้ดี
             ทั้งไม่กำจัดอุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) ให้ดี
             เธอย่อมรุ่งเรืองอย่างริบหรี่ๆ เพราะมิได้ระงับความชั่วหยาบทางกายให้ดี
มิได้ถอนถีนมิทธะให้ดี ทั้งไม่กำจัดอุทธัจจกุกกุจจะให้ดี เธอตายไปแล้ว ย่อมเข้า
ถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกมีรัศมีเศร้าหมอง
             ส่วนเทวดาพวกที่มีรัศมีบริสุทธิ์ กล่าวตรงกันข้าม
             ท่านพระอภิยะ กัจจานะ กล่าวว่า
             ที่ท่านพยากรณ์นั้นดีแล้ว เพราะท่านมิได้กล่าวอย่างนี้ว่า
             เราได้สดับมาอย่างนี้ หรือว่าควรจะเป็นอย่างนี้ แต่ท่านกล่าวว่า
เทวดาเหล่านั้นเป็นแม้อย่างนี้ เป็นแม้ด้วยประการนี้
             กระผมนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านพระอนุรุทธคงจะเคยอยู่ร่วม
เคยเจรจาร่วม และเคยร่วมสนทนากับเทวดาเหล่านั้นเป็นแน่
             ท่านพระอนุรุทธกล่าวว่า
             ท่านกล่าววาจาที่ควรนำเข้าไปยินดีนี้เหมาะแล
             ผมเคยอยู่ร่วม เคยเจรจาร่วม และเคยร่วมสนทนากับเทวดาเหล่านั้นมานานแล้ว
             เมื่อท่านพระอนุรุทธกล่าวแล้วอย่างนี้ ท่านพระอภิยะ กัจจานะ
ได้กล่าวกับช่างไม้ปัญจกังคะว่า
             เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้วที่ละเหตุแห่งความสงสัยข้อนั้นได้
เราทั้งสองคนก็ได้ฟังธรรมบรรยายนี้

ย้ายไปที
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 13:41:54 น.
Counter : 519 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



กุมภาพันธ์ 2557

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
 
 
19 กุมภาพันธ์ 2557
All Blog