พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2556
 
19 กรกฏาคม 2556
 
All Blogs
 
เปิดผลตรวจข้าวถุง 'โค-โค่' ซ้ำสัปดาห์หน้า

เปิดผลตรวจข้าวถุง 'โค-โค่' ซ้ำสัปดาห์หน้า

ความแม่นยำของห้องปฏิบัติการที่ใช้ตรวจสอบสารตกค้างในข้าวถุง กลายเป็นประเด็นสำคัญขึ้นมา หลังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ประกาศผลการตรวจสอบข้าวถุง 46 ตัวอย่าง และพบสารเมทธิลโบรไมด์ ที่ใช้ในการรมยาเพื่อป้องกันแมลงตกค้างเกินมาตรฐาน 1 ตัวอย่าง ในข้าวสารยี่ห้อ โค-โค่ หรือ ข้าวขาวพิมพา โดยปนเปื้อนสูงถึง 67.4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ หรือ codex ที่กำหนดไว้ให้มีการตกค้างไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

แต่เมื่อกรมวิชาการเกษตร ตรวจซ้ำกลับไม่พบสารเมทธิลโบรไมด์ตกค้าง พบเพียงสารโบรไมด์อื่นๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งกระจายตัวอยู่ในอากาศทั่วไป นายดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ระบุว่า ห้องปฏิบัติการที่ดีที่สุดในการตรวจสอบสารตกค้างมีเพียง 2 แห่งเท่านั้น คือ ห้องปฏิบัติการของกรมวิชาการเกษตร และบริษัทโอมิกซ์ ที่เป็นของเอกชน

ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ จึงลงพื้นที่ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของห้องปฏิบัติการกรมวิชาการเกษตร ซึ่งการทำงานของที่นี่จะเป็นไปตามคู่มือคุณภาพห้องปฏิบัติการ ตามมาตรฐาน ISO 17025 ที่กำหนดวิธีการปฏิบัติงาน และกระบวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ รวมถึงจะต้องใช้เครื่องมือให้เกิดประสิทธิภาพ ซึ่งสำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร จะเข้ามาตรวจสอบความพร้อมของห้องปฏิบัติการทุกปี เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน

สำหรับขั้นตอนการตรวจสอบสารตกค้างในข้าว ทำได้ 2 วิธี หากตรวจสอบเฉพาะสารเมทธิลโบรไมด์ เพียงชนิดเดียว เจ้าหน้าที่จะนำข้าวสารตัวอย่างไปแช่ในน้ำเกลือ โดยปิดฝาให้สนิท ก่อนดูดไอระเหยในขวดไปตรวจสอบในเครื่อง Gas Chromatograph Mass Spectrometer ซึ่งสามารถตรวจสอบในระดับโครงสร้างโมเลกุล จึงมีความแม่นยำในชนิดของสารและปริมาณสูง โดยทั้งกระบวนการจะใช้เวลาเพียง 15 นาที

ส่วนอีกวิธีจะใช้สำหรับการตรวจสอบสารตกค้างทุกชนิดในข้าว โดยจะนำตัวอย่างข้าวไปบด ก่อนเติมสารเคมีเพื่อแยกสารตกค้างออกจากเนื้อข้าว จากนั้นนำไปตรวจสอบด้วยเครื่อง Gas Chromatograph Mass Spectrometer โดยจะใช้เวลาทดสอบ 30 นาที และจะมีการตรวจสอบซ้ำ เพื่อความแม่นยำ

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร มองว่า เรื่องที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะค่ามาตรฐานที่ปลอดภัยในการตกค้างของสารเมทธิลโบรไมด์ จะแตกต่างจากค่าการตกค้างของกลุ่มของสารโบรไมด์ชนิดอื่นๆ โดยกรมวิชาการเกษตรอยู่ระหว่างตรวจสอบข้อมูลให้ชัดเจน ทั้งชนิดของสารโบรไมด์แต่ละประเภท ผลที่มีต่อร่างกาย ก่อนที่จะแถลงข่าวอย่างเป็นทางการในสัปดาห์หน้า และหากข้อมูลเกิดจากความเข้าใจผิดเรื่องชนิดของสาร ผู้ผลิตข้าวถุงยี่ห้อโค-โค่ ก็ไม่จำเป็นต้องเรียกคืนข้าวถุง 3,000 ถุงออกจากท้องตลาด.




Create Date : 19 กรกฎาคม 2556
Last Update : 19 กรกฎาคม 2556 1:01:36 น. 0 comments
Counter : 1189 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.