พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2556
 
11 พฤศจิกายน 2556
 
All Blogs
 
สัปดาห์'ปัจจัยรบ' พี่น้องนักเลงหุ้นไทย

สัปดาห์'ปัจจัยรบ' พี่น้องนักเลงหุ้นไทย

ตลอดทั้งสัปดาห์นี้ เมืองไทยน่าจับตามองในแง่กลุ่มก้อนทางการเมืองทุกรูปแบบ ที่กำลังใช้ทั้งอารมณ์ที่เคี่ยวกันมาอย่างดีในสัปดาห์สุดซอยที่ผ่านไป ใช้ทั้งข้อมูลที่เอื้อประโยชน์ต่อเกมของแต่ละฝ่าย และใช้กำลังพลที่ซักซ้อมกันมานาน เพื่อเตรียมวัดปะทะพลังกันหรือไม่? ทั้งหมดในสัปดาห์นี้ ปัจจัยลบการเมืองเกิดขึ้นเพียบ แต่ในขณะเดียวกัน นี่คือปัจจัยบวกของนักลงทุนที่ต้องเตรียมจับจังหวะเข้าทำ

ตลอดระยะเวลา 38 ปีของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นับตั้งแต่วันแรกของการเปิดซื้อขายเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 จนถึงวันนี้ (จันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2556) นักลงทุนไทย ต่างชาติ สถาบันการเงินการลง ล้วนเผชิญสารพัดปัจจัยลบจากวิกฤติเศรษฐกิจทั้งในบ้านและนอกบ้าน ล้วนเผชิญสารพัดปัจจัยรบจากวิกฤติการเมืองทั้งปฏิวัติ(เงียบมั่ง และไม่เงียบมั่ง) รัฐประหาร ยุบสภา ไปจนถึงนายกรัฐมนตรีลาออก และสารพัดปัจจัยเสี่ยงในวงการเดียวกันเองจากการปั่นหุ้น ยันโกงหุ้น  

หากตัดปัจจัยลบ และปัจจัยเสี่ยง ตามที่ผมให้ความหมายตามบทความในครั้งนี้ ก็จะเหลือเพียงแต่ปัจจัยรบ หรือพูดง่ายๆสถานการณ์การเมืองไทยที่มีผลต่อภาวะตลาดหุ้นไทยนั่นเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าจับตามองว่า เฉพาะปัจจัยรบที่เกิดขึ้นจากวิกฤติการณ์การเมืองไทยจะมีผลยังไงต่อโอกาส และจังหวะการลงทุนของนักลงทุนหุ้นไทย ลองย้อนอดีตกันหน่อย จะเห็นว่า ตลาดหุ้นเข้าสู่ภาวะกระทิงครั้งแรกในช่วงปี 2520 ภาวะเศรษฐกิจช่วงนั้นขยายตัวสูง บริษัทต่างๆ แห่เข้าจดทะเบียนเป็นจำนวนมาก จนถึงสิ้นปี 2521 มีบริษัทเข้าตลาดหุ้น 71 แห่ง ด้วยมูลค่าซื้อขายในปี 2521 ทะยานถึง 57,272 ล้านบาท เทียบกับปี 2519 จะเห็นได้ว่าเพียง 2 ปีที่ผ่าน ดัชนีหุ้นไทยเพิ่มจาก 82 จุด ไปแตะ 266 จุดในเดือนพฤศจิกายนปี 2521 เพิ่มขึ้น220% 

แล้วปัจจัยรบเด่นๆในเมืองไทย ก็เริ่มเขย่ากระดานหุ้นไทยครั้งแรกอย่างเป็นประวัติศาสตร์ที่ต้องจารึกไว้ คือ ในระหว่างปี 2534 ถึงปี 2535 นั้น เหตุการณ์สำคัญการเมืองเริ่มต้นจาก พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ หัวหน้าคณะ รสช. ทำการปฏิวัติล้มรัฐบาลของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ แต่คณะปฏิวัติที่ชื่อ รสช.ก็ไปได้รอด เมื่อตั้ง พล.อ.สุจินดา คราประยูร ขึ้นมาสืบทอดอำนาจจนนำไปสู่เหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ" ในเดือนพฤษภาคมปี 2535 ตลาดหุ้นไทยในยุคนั้นมีแต่ออกข้างๆ หรือไม่ก็เรียกว่า 3 วันดี 4 วันโคม่า ถัดมาไม่นาน พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี ก็เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ "ต้มยำกุ้ง" ปี 2540 สรุปคือ ตลาดหุ้นในช่วงปี 2530-2540 เป็นขาขึ้นประมาณ 2 ปีกว่า เริ่มตั้งแต่ ปี 2531 ถึงกลางปี 2533

ช่วงนั้นดัชนีหุ้นไทยขึ้นประมาณ 370% (จากระดับ 243 ไปถึง 1,143 จุด) เหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับปัจจัยการเมืองที่เด่นๆเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อในช่วงตุลาคม 2535 ถึงธันวาคม 2536 หลัง พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาบริหารประเทศเป็นปีที่ 3 ตามนโยบายประชานิยมกำลังเบ่งบาน ดัชนีขึ้นจาก 323 จุด ไปถึงระดับ 802 จุด หรือปรับตัวเพิ่มขึ้น 148% นั่นคือยุคที่นักลงทุนทุกคนพูดจาเป็นภาษาเดียวกันว่า ชี้หุ้นตัวไหนมันก็ขึ้นไปหมดในปี 2546 แต่การปฏิวัติเงียบในวันที่ 19 กันยายน 2549 ทำให้ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ถูกยึดอำนาจ ซึ่งไม่แตกต่างจากยุค ช. 3 ช่า หรือในยุคพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ

มาถึงยุคนี้ หากมองเฉพาะปัจจัยรบ ซึ่งเริ่มก่อตัวมาในช่วง 2551 ถึง 2553 ซึ่งเป็นช่วงของการแข่งขันกีฬาสีครั้งประวัติศาสตร์ทั่วทุกจังหวัดของประเทศไทย ดัชนีหุ้นไทยไม่ต้องไปไหนไกล แถมยังทรุดต่ำกว่า 4 หลักเป็นเวลานานไม่ต่ำกว่า 3 ปี ก่อนที่ตลาดหุ้นไทยจะได้ปัจจัยบวกจากเงินต่างชาติไหลเข้าในช่วง 2554 ถึง ตุลาคม 2556 ส่งดัชนีหุ้นขึ้นทำสถิติในรอบกว่า 16 ปีหลายครั้ง แต่ปัจจัยรบหวนคืนอีกครั้งตั้งแต่สัปดาห์(สุดซอย)ที่เพิ่งผ่านไป เข้าสู่สัปดาห์นี้ ที่สำคัญเริ่มกันตั้งแต่วันนี้

ไม่มีใครอยากเห็นประโยชน์ หรือรอยยิ้มที่เกิดขึ้นจากความสูญเสียของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ความจริงของการลงทุน คือ เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส และที่เป็นสัจธรรม หรือคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ มนุษย์ไม่มีวันพอ อาจตีความต่อได้ว่าไม่พอที่จะรู้จักคำว่าเราหยุดแล้ว ท่านหยุดหรือยัง ไม่พอที่จะรู้จักให้อภัยกัน และไม่พอที่จะทำให้ตนเป็นเป็นที่พึ่งแห่งตน.




Create Date : 11 พฤศจิกายน 2556
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2556 5:44:01 น. 0 comments
Counter : 1158 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.