พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2556
 
14 กรกฏาคม 2556
 
All Blogs
 
"ปตท.-CSIRO"ร่วมวิจัย ผลิตน้ำมันจากสาหร่าย

"ปตท.-CSIRO"ร่วมวิจัย ผลิตน้ำมันจากสาหร่าย

คอลัมน์ รายงานพิเศษ
อุษา ยุทธพงศาพิทักษ์



ปัจจุบันทั่วโลกกำลังประสบวิกฤตการณ์ด้านการขาดแคลนพลังงาน และปัญหาโลกร้อนจากภาวะเรือนกระจก ที่ทุกประเทศต้องร่วมกันแก้ไข

ที่ผ่านมาการนำพืชอาหาร มาใช้เป็นพลังงานทดแทน เช่น มันสำปะหลัง อ้อย ปาล์มน้ำมัน และถั่วเหลือง ก่อให้เกิดปัญหาด้านความมั่นคงทางอาหาร เพื่อแก้ปัญหา ดังกล่าวจึงมีการแสวงหาแหล่งวัตถุดิบทดแทนอื่น

และพบว่า ?สาหร่ายเซลล์เดียว? มีศักยภาพที่จะเป็นแหล่งพลังงานใหม่เพื่อทดแทนพลังงานจากปิโตรเลียมได้ ซึ่งจัดเป็นพืชชั้นต่ำที่มีคลอโรฟิลล์สูง จึงใช้ก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ในปริมาณมากเพื่อสังเคราะห์แสง ซึ่งช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง ที่สำคัญคือมีน้ำมันในปริมาณมากพอที่จะสกัดออกมาผลิตน้ำมันไบโอดีเซลได้ ทำให้ทั่วโลกกำลังตื่นตัวในการพัฒนาอย่างมาก

ในไทยก็เช่นกัน ที่ผ่านมาบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติ ซึ่งมีภาระหน้าที่หลักในการแสวงหาพลังงานใหม่เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งานในอนาคต ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหา วิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม เกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาวิจัยและพัฒนา การผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากสาหร่ายเซลล์เดียว ตั้งแต่ การคัดเลือกสายพันธุ์ การออกแบบระบบเพาะเลี้ยง การสกัดน้ำมัน

ระหว่างนี้เข้าสู่การทดสอบเชิงพาณิชย์ว่า วิธีใดจะเหมาะสมกับเครื่องยนต์และความต้องการใช้งานของคนไทยมากที่สุด

เมื่อวันที่ 1-6 ก.ค.2556 ปตท.จึงนำคณะไปดูงานความร่วมมือการวิจัยสาหร่ายน้ำมัน ระหว่าง ปตท. กับองค์การวิทยาศาสตร์และวิจัยอุตสาหกรรมแห่งออสเตรเลีย หรือ The Commonwealth Scientific and Industrial Research Organi zation(CSIRO) ที่เมืองโฮบาร์ต รัฐทัสมาเนีย ประเทศออสเตรเลีย

คณะ ปตท. นำโดยนาย ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ นางพุทธชาด มุกดาประกร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อสังคม นายวิจิตร แตงน้อย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. นายประเสริฐ สลิลอำไพ ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กร นางประภาพรรณ สิรเมธี ผู้จัดการส่วนสื่อสารองค์กร นายกันย์ กังวานสายชล นักวิจัย เป็นต้น

CSIRO ก่อตั้งเมื่อกลางปี 1960 เริ่มวิจัยสาหร่ายเซลล์เดียวอย่างจริงจัง ปี 2009 ในการดูงาน นายปีเตอร์ ทอมพ์สัน หัวหน้าทีมวิจัย และคณะได้อธิบายการทำงานขององค์กร และนำคณะปตท.เยี่ยมชมห้องแล็บศึกษากระบวนการวิจัยทุกขั้นตอน ซึ่งที่นี่มีพื้นที่ติดทะเล มีภูมิอากาศเหมาะสมในการเลี้ยงสาหร่ายน้ำเค็มเพื่อการวิจัย ปัจจุบันมีกว่า 500 สายพันธุ์

นายไพรินทร์ บอกถึงการมาดูงานที่ CSIRO ว่า เนื่องจากนับแต่การประชุมนวัตกรรมด้านสาหร่ายแห่งเอเชีย-โอเชียเนีย 2553 ที่ประเทศญี่ปุ่น ปตท.และ CSIRO ได้มีการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลวิจัยด้านสาหร่ายเรื่อยมา

ล่าสุด ปตท.และ CSIRO ได้ตกลงในข้อหารือเพื่อเดินหน้าร่วมกันในการพัฒนาสายพันธุ์สาหร่าย น้ำเค็มในออสเตรเลีย เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่ดีและเหมาะสมในการผลิตน้ำมัน มีต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งสาหร่ายน้ำเค็มขนาดเล็กดังกล่าวเป็นพืชพลังงานที่ให้ปริมาณน้ำมันมากกว่าปาล์มดิบ 20-30 เท่า

ความสำเร็จดังกล่าวจะนำมาซึ่งการขยายการลงทุนด้านสาหร่ายน้ำมันของปตท.ในออสเตรเลีย เพื่อเป็นแหล่งสำรองเชื้อเพลิงชีวภาพอีกทางหนึ่ง อีกทั้งความร่วมมือ ดังกล่าว จะทำให้ได้รับองค์ความรู้ด้านเทคโน โลยีสาหร่ายน้ำมัน เพื่อให้นักวิจัยปตท.สามารถนำมาต่อยอดในโครงการวิจัยและพัฒนาสาหร่ายของไทยให้บรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้น

?การพัฒนาสาหร่ายเซลล์เดียว ถือเป็น เชื้อเพลิงในยุคที่ 3 หรือ Third Generation ซึ่งปตท.ตั้งเป้าหมายภายในปี 2560 จะผลิตน้ำมันจากสาหร่าย เพื่อเป็นทางเลือกของการใช้ไบโอดีเซล แต่จะสามารถผลิตในเชิงพาณิชย์ได้คาดว่าใช้เวลาอีก 20-30 ปีข้างหน้า? นายไพรินทร์กล่าว

ด้านนายวิจิตร แตงน้อย ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. กล่าวว่า เหตุที่สนใจร่วมมือกับ CSIRO เพราะมีเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ มีสาหร่ายน้ำเค็มมากมายหลายสายพันธุ์ เบื้องต้นจะทำงานวิจัยร่วมกันในเรื่องการคัดเลือกสายพันธุ์สาหร่าย การเพาะเลี้ยง ส่วนจะก้าวไปสู่เชิงพาณิชย์หรือไม่ต้องดูกันต่อไป

ส่วนต้นทุนการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากสาหร่าย ถือว่ายังแพงอยู่ โดยต้นทุนทางงานวิจัยมากกว่าประมาณ 3-4 เท่า เมื่อเทียบกับการผลิตน้ำมันจากปาล์ม แต่อะไรที่ทำเล็กๆ น้อยๆ ก็จะแพง หากทำเยอะๆ หรือในเชิงพาณิชย์ก็จะถูกลง ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยทดลองและรวบรวมน้ำมันจากสาหร่ายเพื่อให้มีปริมาณมากพอในการใช้กับรถยนต์ ซึ่งในเร็วๆ นี้จะได้เห็นการใช้น้ำมันดังกล่าวกับรถยนต์

อย่างไรก็ตาม ปตท.มุ่งหวังที่จะนำไบโอดีเซลจากสาหร่ายมาเป็นพลังงานทดแทนราว 5% แต่ถ้าสามารถทำได้ถึง 20-25% จะทำให้ประหยัดการนำเข้าน้ำมันดิบได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน

นายกันย์ กังวานสายชล นักวิจัยสถาบัน วิจัยและเทคโนโลยี ปตท. กล่าวว่า การวิจัยในออสเตรเลีย จะต่อยอดไปยังการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ในประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยสภาวะการเพาะเลี้ยงและปรับปรุงสายพันธุ์สาหร่ายน้ำจืดให้เหมาะสมและให้ปริมาณน้ำมันมากขึ้น

จากความมุ่งมั่นของ ปตท.เชื่อว่าในไม่ช้านี้ ?สาหร่ายเซลล์เดียว? ที่เป็นพืชความหวังใหม่ในการผลิตเป็นพลังงานทดแทน

จะบรรลุเป้าหมายการเป็น ?เชื้อเพลิงใน ยุคที่ 3? จากฝีมือคนไทยได้อย่างแท้จริง



Create Date : 14 กรกฎาคม 2556
Last Update : 14 กรกฎาคม 2556 1:20:27 น. 0 comments
Counter : 1574 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.