พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2556
 
7 พฤศจิกายน 2556
 
All Blogs
 
ธ.ก.ส.กู้เพิ่ม 1.4 แสนล้านบาท คลังชง กขช.อนุมัติใช้หนี้สินให้แก่ชาวนา

ธ.ก.ส.กู้เพิ่ม 1.4 แสนล้านบาท คลังชง กขช.อนุมัติใช้หนี้สินให้แก่ชาวนา

ธ.ก.ส.เงินหมดหน้าตัก เสนอคลังกู้เงินก้อนใหม่เพิ่มอีก 1.4 แสนล้านบาท ลุยโครงการรับจำนำข้าว 56/57 วงเงินใหม่ 2.7 แสนล้านบาท หลังรับจำนำข้าวต้นฤดูกาลแล้ว 1.2 ล้านตัน ไม่มีเงินจ่ายเกษตรกร ลุ้น!! กขช.อนุมัติเติมสภาพคล่องวันนี้ (7 พ.ย.)

นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ชาวนานำข้าวเปลือกมาเข้าโครงการรับจำนำข้าวในฤดูกาลผลิต 2556/2557 ของรัฐบาลแล้วจำนวน 1.2 ล้านตัน แต่ ธ.ก.ส.ยังไม่สามารถจ่ายให้แก่เกษตรกรได้ เพราะต้องรอเงินกู้จากกระทรวงการคลัง หรือเงินจากการระบายข้าวในสต๊อกของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเรื่องดังกล่าว ธ.ก.ส.ต้องรอมติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) หากมีความชัดเจน ธ.ก.ส.ก็พร้อมดำเนินการจ่ายเงินให้แก่ชาวนาที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวทันที เกษตรกรไม่ต้องกังวลกับเรื่องดังกล่าว แต่ต้องขออภัยในเรื่องของความล่าช้า เพราะกระทรวงพาณิชย์ระบายข้าวล่าช้าทำให้มีเงินไม่เพียงพอ

“ครม.ได้มีมติแล้วว่า จะดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกต่อไป แต่ได้ปรับนโยบายจากการรับจำนำข้าวทุกเมล็ดมาเป็นจำกัดวงเงินรับจำนำต่อครอบครัว โดยข้าวนาปี รับจำนำได้ไม่เกิน 350,000 บาทต่อครอบครัว และนาปรังไม่เกิน 300,000 บาทต่อครอบครัว โดยในฤดูกาลผลิต 56/57 กำหนดเป้าหมายรับจำนำทั้งสิ้น 16.5 ล้านตันข้าวเปลือก เป็นวงเงินรับจำนำ 270,000 ล้านบาท”

นายลักษณ์ กล่าวว่า ในช่วงสองปีของการดำเนินนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาลนั้น รัฐบาลได้จ่ายเงินเพื่อซื้อข้าวเปลือกเข้าโครงการไปแล้ว 680,000 ล้านบาท ซึ่งเกินกว่ากรอบวงเงินที่รัฐบาลกำหนดไว้ก่อนหน้านี้ว่า จะใช้จ่ายเงินในโครงการไม่เกิน 500,000 ล้านบาท โดยมีวงเงินที่ใช้เกินไปอยู่ประมาณ 180,000 ล้านบาทบาท ดังนั้นรัฐบาลจึงกำหนดให้กระทรวงพาณิชย์เร่งระบายข้าวนำมาชำระค่าใช้จ่ายของโครงการนี้เพื่อให้ทันในสิ้นปีนี้หรือภายในวันที่ 31 ธ.ค.56 ภาระหนี้คงค้างของโครงการดังกล่าวไม่เกิน 500,000 ล้านบาท

นายลักษณ์ กล่าวว่า ปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์ ได้นำเงินจากการระบายข้าวสารมาชำระหนี้ในโครงการนี้แล้ว 140,000 ล้านบาท ซึ่งยังมีอีกประมาณ 40,000 ล้านบาทที่เหลือ ซึ่งคาดว่าจะได้รับเงินจากการระบายข้าวและอีกส่วนหนึ่งจากงบประมาณที่นำมาชำระหนี้โครงการนี้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่า วันที่ 31 ธ.ค.นี้ รัฐบาลจะสามารถยืนภาระหนี้คงค้างของโครงการนี้ไว้ที่ 500,000 ล้านบาทก็ตาม แต่รัฐบาลก็จะไม่มีเงินเหลือพอที่จะนำมาใช้รับจำนำในฤดูกาลผลิต 56/57 ซึ่งยังต้องใช้เงินอีก 270,000 ล้านบาท

ดังนั้น กระทรวงการคลังจะเสนอให้ ครม.ทบทวนมติ ครม.เดิมที่กำหนดให้วงเงินรายจ่ายของโครงการนี้ที่ต้องไม่เกิน 500,000 ล้านบาท ให้สามารถใช้จ่ายเงินได้เกิน 500,000 ล้านบาท เป็นการชั่วคราวด้วยวิธีการกู้ โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันในวงเงิน 140,000 ล้านบาท โดยจะนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ในวันที่ 7 พ.ย.นี้ และคาดว่า แผนการก่อหนี้ก้อนใหม่นี้ จะเริ่มบรรจุในแผนการกู้ได้ในเดือน ธ.ค. หรือต้นเดือน ม.ค.57 ส่วนที่เหลืออีก 130,000 ล้านบาท เพื่อให้ครบ 270,000 ล้านบาท จะนำรายได้จากการระบายข้าวสารของกระทรวงพาณิชย์มาใช้หมุนเวียนเพื่อรับจำนำข้าวในฤดูกาลนี้ ทั้งนี้ ภายในสิ้นปี 57 วงเงินของภาระหนี้จากโครงการรับจำนำข้าวก็จะต้องกลับมายืนที่ไม่เกิน 500,000 ล้านบาท ตามมติ ครม.

ด้านนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ยังไม่เห็นวาระการประชุมที่ ธ.ก.ส.อ้างว่าจะเสนอขอเพิ่มสภาพคล่องกู้เงิน 140,000 ล้านบาท ในการประชุม กขช.วันที่ 7 พ.ย.นี้ และในที่ประชุมอนุกรรมการกำกับการรับจำนำ วานนี้ (6 พ.ย.) ก็ไม่ได้พิจารณาประเด็นนี้ด้วย

ส่วนการขาดทุนโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลตามตัวเลขของคณะกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวที่ระบุว่าสูงถึง 330,000 ล้านบาทนั้น เป็นการนำค่าใช้จ่ายด้านบริหารจัดการ 20,000 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในโครงการรับจำนำของรัฐบาลชุดก่อนหน้านี้ ตั้งแต่ปี 40 มูลค่าราว 160,000 ล้านบาท เข้ามารวมไว้ด้วย นอกจากนี้ ยังมีปริมาณข้าวอีก 3 ล้านตัน มูลค่า 60,000-70,000 ล้านบาท ที่คณะกรรมการฯยังไม่ตรวจรับ ทำให้เมื่อคำนวณบัญชีค่าใช้จ่ายการดำเนินโครงการรับจำนำทั้งหมด จึงมียอดขาดทุนที่สูง แต่เมื่อหักส่วนที่ไม่ใช่การดำเนินโครงการเฉพาะของรัฐบาลใน 2 ปีที่ผ่านมา จะมีผลขาดทุนเพียง 260,000 ล้านบาทเท่านั้น

ขณะที่นายยรรยง พวงราช รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า ที่ประชุมอนุกรรมการกำกับฯได้หารือแนวคิดว่า ควรปรับปรุงระบบการฝากเก็บข้าวสารในสต๊อกของรัฐบาลจากเดิมที่ใช้วิธีการเช่าให้เป็นระบบรับฝาก หมายถึงให้เจ้าของคลัง/โกดังรับผิดชอบคุณภาพและปริมาณข้าว จากเดิมที่ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลย โดยการเพิ่มภาระการรับผิดชอบนี้ เจ้าของคลัง/โกดังจะได้รับค่าฝากเก็บเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งแนวคิดนี้จะช่วยลดปัญหาเรื่องคุณภาพข้าวและลดปัญหาการทุจริตของบริษัทตรวจสอบคุณภาพ (เซอร์เวเยอร์) ที่มักจะสมรู้ร่วมคิดในการตรวจรับมอบข้าวเวียนเทียนจากโกดัง/คลังกลางที่รัฐเช่าฝากเก็บข้าว.



Create Date : 07 พฤศจิกายน 2556
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2556 11:42:51 น. 0 comments
Counter : 957 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.