คนชอบพระ

ก่อนอื่นผู้เขียน ต้องขอบอกก่อนว่า...
ที่เขียนเรื่องในบล็อกนี้ มิได้มีเจตนาจะดูหมิ่นหรือทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย
ไม่ได้คิดที่จะทำให้กระทบกระเทือน ต่อองค์ประกอบใดๆของศานสนา

เป็นเพียงการเล่าเรื่อง ส่วนตัวของผู้เขียนเอง
หากไม่ถูกกาลเทศะ ยินดีน้อมรับคำตักเตือน
และพร้อมพิจารณาแก้ไขทุกประการครับ




*** ถอยหลังไปเมื่อปี พุทธศักราช 2534 ***

ได้รับพระเป็นของขวัญวันปีใหม่ จากคนนครศรีธรรมราช มา1องค์
เป็นพระใช้สำหรับห้อยคอติดตัว องค์พระค่อนข้างใหญ่ สีขาว




______________________________________________________________________

ดวงตราพญาราหู

ปลุกเสกพิธีกรรม ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช ปี๒๕๓๐

_____________________________________________________________________




องค์พ่อจตุคาม รามเทพ

จตุคามรามเทพ: บทบูชา จตุคามรามเทพ

นะโม ตัสสะ ..... (๓ จบ)
" กินนุสัน ตะละมาโน วราหุ สุริยัน (จันทัง) ปมุตจะสิ สังวิคะรุโป อาคัมมภีโต วัตติถะ สีติ สัตตะทาเมภาเล มุทธาชีวันโต นะสุขังละเภ พุทธบูชา ภิคิโต
มหิโน เจยมุต เจยยะ สุริยันติ (จันทิมาติ)
(เที่ยวแรกให้ท่อง สุริยัน กับ สุริยัน ติ ก่อน และท่องทั้งหมดซ้ำอีก 1 เที่ยว
แต่คราวนี้ให้เปลี่ยนจาก สุริยันเป็นจันทัง และเปลี่ยนสุริยัน ติ เป็น จันทิมา ติ

ข้าฯ ขอน้อมถวายสักการะ องค์สุริยัน จันทรา จันทภานุ ดวงตราสองแผ่นดิน ศรีวิชัย สุวรรณภูมิ พญาศรีธรรมโศกราช สิบสองนักษัตร พญาราหู ศรีมหาราชพังพระกาฬ พระเทวราชโพธิ์สัตว์จตุคามรามเทพ
ขอเทวบารมีแห่งเทพทั้งปวง และ พระเทวราชโพธิ์สัตว์จตุคามรามเทพ องค์พ่อ อภิบาลปกปักรักษาข้าพเจ้าและ.................ให้อยู่ด้วยความสุขความเจริญ ก้าวหน้ามั่นคง ประสพความสำเร็จในชีวิตและการงาน อุดมด้วยลาภยศสรรเสริญ มั่งมีศรีสุข มีชัยชนะเหนือหมู่มาร ตลอดกาลนานเทอญ
สาธุ สาธุ สาธุ


คาถานี้ให้สวดเป็นประจำและถวายหมากพลูพวงมาลัยท่านทุกวันพฤหัส 1.ธูปดำ 9 ดอก 2.เทียน 1 คู่ 3.หมากพลู 5 คำ 4. ดอกไม้ 1 คู่ ( หรือดอกบัว ) 5.บายศรีปากชาม 1 คู่ 6.ยาเส้น 1 หยิบ ( บุหรี่ ) 7.น้ำจืด 1 แก้ว 8.มะพร้าว 1 ลูก 9.พวงมาลัย ( มะลิ หรือ ดอกดาวเรือง )

*************

เรียบเรียงจากเวบ //www.uamulet.com

ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

______________________________________________________________________

ประวัติความเป็นมา


ศาลหลักเมือง
ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช

ศาลหลักเมือง
สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานหลักเมือง ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสร้างสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับภาคเอกชนก่อสร้างศาลขึ้นบนที่ดินราชพัสดุ บริเวณทิศเหนือของสนามหน้าเมือง เนื้อที่ 2 ไร่ ประกอบด้วยอาคาร 5 หลัง หลังกลางเป็นที่ประดิษฐานของศาลหลักเมือง ออกแบบให้มีลักษณะ คล้ายศิลปะศรีวิชัย เรียกว่าทรงเหมราชลีลา วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2532 ส่วนอาคารเล็กทั้งสี่หลัง ถือเป็นบริวารสี่ทิศ เรียกว่าศาลจตุโลกเทพ ประกอบด้วยพระเสื้อเมือง ศาลพระทรงเมือง ศาลพระพรหมเมือง และศาลพรบันดาลเมือง วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2535 ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2542

องค์เสาหลักเมืองทำด้วยไม้ตะเคียนทองที่ได้มาจากภูเขายอดเหลือง อันเป็นภูเขาลูกหนึ่งในทิวเขานครศรีธรรมราช ในท้องที่ตำบลกระหรอ กิ่งอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช ขนาดความสูง 2.94 เมตร เส้นรอบวง 0.95 เมตร ลวดลายที่แกะสลัก ตั้งแต่ฐานซึ่งเป็นวงรอบเก้าชั้น มี 9 ลาย ส่วนบนของเสาเป็นรูปจตุคามรามเทพ (สี่พักตร์) หรือเทวดารักษาเมือง เหนือสุดเป็นเปลวเพลิงอยู่บนยอดพระเกตุ คือยอดชัยหลักเมือง รูปแบบการแกะสลักจินตนาการจากความเชื่อในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งเคยมีอิทธิพลทางศิลปกรรมในภาคใต้ และนครศรีธรรมราชแต่ครั้งโบราณ ศาลหลักเมือง ประกอบพิธีเบิกเนตรหลักเมือง เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจิมยอดชัยหลักเมืองเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2530 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ศาลหลักเมือง ในวันรุ่งขึ้น

นอกจากนี้ในการดำเนินงานทุกขั้นตอน จะมีการประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะปีพุทธศักราช 2528-2530 มีการประกอบพิธีกรรมถึง 12 พิธีกรรม อาทิ พิธีกรรมลอยชะตาเมือง พิธีกรรมสะกดหินหลักเมือง พิธีกรรมปลักยักษ์เทวดาฯ เป็นต้น

จึงนับว่าศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราชแห่งนี้ ได้บังเกิดขึ้นด้วยความประณีตบรรจงอย่างมีภูมิหลัง และมีเอกลักษณ์เฉพาะ อีกทั้งจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สะท้อนภาพวิถีชีวิตชาวไทยใต้ในอดีต และสองถึงความพยายามอนุรักษ์สร้างสรรค์ของชาวไทยใต้ปัจจุบันไว้อีกด้วย

____________________________________________________________________



____________________________________________________________________


จตุคามรามเทพ: ตำนานเกี่ยวกับองค์จตุคาม

ตรรกวิทยาของชาวชวากะ ที่เรียกว่า จตุคามศาสตร์ เชื่อกันว่า นางพญาจันทรา นางพญาพื้นเมือง ทะเลใต้ ราชินีผู้สูงศักดิ์ขององค์ราชันราตะ หรือ พระสุริยะเทพ ซึ่งรวบรวมดินแดนในคาบสมุทรทองคำเข้าเป็นจักรวรรดิ์เดียวกันในพุทธศตวรรษ ที่ 7 พระราชมารดาของเจ้าชายรามเทพ บรรลุธรรม สำเร็จตรรกศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ ทรงอิทธิฤทธิ์บังคับคลื่นลมร้ายให้สงบได้ชาวทะเลทั้งหลายกราบไหว้รำลึกถึง เมื่อออกกลางทะเล เรียกกันว่า แม่ย่านาง ชาวศรีวิชัยให้ความเคารพนับถือเทิดทูน ฉายานามว่า เจ้าแม่อยู่หัว

เจ้าชายรามเทพได้ศึกษาเล่าเรียนวิชา จตุคามศาสตร์ จากพระราชมารดาจนเจนจบ แล้วทรงเรียนรู้หลักสัจธรรมทางพุทธศาสนาเลื่อมใสศรัทธานิกายมหายานอย่างแรงกล้า มุ่งหน้าสร้างบารมี หวังตรัสรู้เป็นพระโพธิสัตว์ ตั้งปณิธานแน่วแน่ที่จะประกาศธรรมให้มั่นคงทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ ทรงอุตสาหะบากบั่นสร้างราชนาวีตามตรรกศาสตร์มหายาน ที่สามารถแล่นฝ่าคลื่นลมได้รวดเร็วและปลอดภัยบรรทุก กำลังพลและสัมภาระได้ มากมายมหาศาลเยือนถึงน่านน้ำใด หลักศาสนา ศิลปอารยะธรรมประดิษฐานมั่นคง ณ ดินแดนนั้น จนเหล่าราชครูต่างถวาย นามาภิไธยราชฐานันดร ว่า องค์ ราชันจตุคามรามเทพ

เมื่อพระศรีมหาราชชาวชวากะได้ประกาศสัจธรรมทั่ว สุวรรณทวีปแล้วจึงได้สร้าง มหาสถูป เจดีย์ขึ้นที่หาดทรายแก้วและในปลายพุทธศตวรรษที่ 8

องค์ราชันจตุคามรามเทพทรงมานะพยายามจนบรรลุธรรมจนบรรลุโพธิญาณ จักรวาลพรหมโพธิสัตว์ ประกอบด้วย บุญฤทธิ์ อิทธิฤทธ อภินิหาร สยบฟ้า สยบดินได้ตามปรารถนา วาจาเป็นประกาศิตเหนือมวลชีวิตทั้งหลาย ทรงศักดานุภาพเหมือน ดังพระอาทิตย์และ พระจันทร์ สมญานามตาม ศาสตร์จันทรภาณุ สาปแช่งศัตรูผู้ใดจะถึงกาลวินาศ จนเลื่องลือไปทั่วทวีป ได้รับการถวายนามยกย่องว่า พญาพังพกาฬ การประกาศชัยชนะที่เด็ดขาดเหนือสุวรรณทวีปและหมู่เกาะทะเลใต้นี้เปรียบได้กับมหาราชในชมภูทวีป ดังนั้น พญาโหราบรมครูช่างชาวชวากะ ได้จำลองรูปมหาบุรุษเป็น อนุสรณ์ ตามอุดมคติศิลปศาสตร์ศรีวิชัย เรียกว่า ร่างแปลงธรรม รูปสมมุติแห่ง เทวราชที่มีตัวตนอยู่จริงในโลกมนุษย์ ทรงเครื่องราชขัติยาภรณ์ สี่กร สองเศียร พรั่งพร้อมด้วยเทพศาสตราวุธ เพื่อปกป้องอาณาจักรและพุทธจักร เพื่อเป็นคติธรรมและศิลปะกรรม ประดิษฐานในทุกหนแห่งในอาณาจักรทะเลใต้ ลูกหลานราชวงศ์ไศเลนทร์ในชั้นหลังได้ถ่ายทอดศิลปะศาสตร์แปลงร่างธรรมเป็น นารายณ์บรรทมสินธุ์บ้าง อวตารปราบอสูรบ้าง ตามค่านิยมของท้องถิ่น


จาก หนังสือวัตถุมงคลหลักเมือง นครศรี โดย จักรรัช ธีระกุล

____________________________________________________________________



จตุคามรามเทพ: ทำไมต้องสร้างหลักเมืองนครฯ

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เมืองนครศรีธรรมราชเคยมีชื่อว่า กรุงศรีธรรมโศก หรือกรุงตามพรลิงค์ แต่ตำนานไทยเหนือเรียกว่า เมืองศิริธรรมนคร
กรุงศรีธรรมโศก สร้างขึ้นเมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่นอน คงทราบข้อความจากคัมภีย์เก่าแก่ของชาวอินเดียสมัยต้นพุทธกาลเรียกว่า เมืองท่าตมะลีบ้าง เมืองท่ากมะลีบ้าง จนกระทั่งในราว พ.ศ. 1150 จดหมายเหตุจีนกล่าวถึง เซียะโท้วก๊ก แปลว่า ประเทศดินแดง ซึ่งจักรพรรดิจีนส่งราชทูตเดินทางมาติดต่อทางพระราชไมตรี ต่อมาภิกษุจีนผู้คงแก่เรียนมีชื่อว่า หลวงจีนอี้จิง เดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาที่ประเทศอินเดียใน พ.ศ. 1214 ได้แวะมาศึกษาภาษาสันสกฤตที่เมืองโฟชิ จึงทราบว่าบ้านเมืองทั้งหลายในคาบสมุทรภาคใต้ รวมตัวกันจัดตั้งเป็นสหพันธรัฐที่มีอำนาจทางทะเล หลวงจีนอี้จิง จึงขนานนามว่า “ประเทศทั้ง 10 แห่งทะเลใต้” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “อาณาจักรศรีวิชัย”


นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันมากในเรื่องที่ตั้งเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัย จนถึงทุกวันนี้ก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ แต่เมื่อ พ.ศ.1710 ศิลาจารึกหลักที่ 35 พบที่บ้านคงแม่นางเมือง จังหวัดนครสวรรค์ กล่าวถึงการแผ่ขยายอำนาจของพระเจ้ากรุงศรีธรรมโศก ขึ้นไปครอบครองดินแดนในแถบภาคกลางของประเทศไทย ต่อจากนั้นดินแดนแถบนี้กลับตกเป็นเมืองขึ้นของเขมร ครั้นใน พ.ศ. 1773 ศิลาจารึกพระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช กล่าวว่าพระองค์ทรงกอบกู้อิสรภาพกรุงตามพรลิงค์กลับคืนมาได้ ภายหลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์ไปแล้ว อนุชาของพระองค์เสวยราชสมบัติ ตำนานกล่าวว่า

“พญาจันทราภาณุผู้น้องเป็นพระยาแทนพญาจันทรภาณุเป็นพระยาอยู่ได้ 7 ปี เกิดไข้ยมบนลงทั้งเมืองคนตายวินาศประลัย พญาจันทรภาณุ พญาพงศาสุราหะอนุชา และมหาเถรสัจจานุเทพ กับคอรบครัวลงเรือหนีไข้ยมบน ไข้ก็ตามลงเรือ พญาและลูกเมียตายสิ้น พระมหาเถรสัจจานุเทพก็ตาย เมืองนครทิ้งร้างเป็นป่ารังโรมอยู่หึงนาน”

หลักฐานเท่าที่หยิบยกขึ้นมาอ้างอิงแสดงให้เห็นว่า กรุงศรีธรรมโศก หรือ กรุงตามพรลิงค์ หรือ เมืองนครศรีธรรมราช เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัย แล้วล่มสลายไปเมื่อครั้งเกิดโรคระบาดร้ายแรงขึ้นเมื่อราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ถูกทิ้งร้างจมอยู่กลางป่าอยู่เป็นเวลานานจนกระทั่งพวกเจ้าไทยลงมาปกครองและพื้นฟูบูรณาการบ้านเมืองขึ้นใหม่ ดังปรากฏเรื่องราวอยู่ในตำนานพระธาตุนครศรีธรรมราช

ไม่มีใครทราบว่าในการฟื้นฟูบูรณาการกรุงศรีธรรมโศก และพระมหาธาตุเจดีย์ ขึ้นใหม่ในครั้งนี้มีเบื้องหน้าเบื้องหลังหรือความเป็นมาแท้จริงอย่างไร คงทราบความจากตำนานแต่เพียงว่า พระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงศรีอยุธยาทรงโปรดให้มีตรามาเกณฑ์ผู้คนสร้างเมืองนครศรีธรรมราช และพระธาตุจนสำเร็จเสร็จสิ้นในสมัยขุนอินทราราเป็นเจ้าเมือง ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นพระศรีมหาราชา จนกระทั้งชาวนครศรีธรรมราชผู้หนึ่งสนใจศึกษาวิชาโหราศาสตร์ ได้ค้นคว้าพบดวงชะตาเมืองนครศรีธรรมราชเก่า จดบันทึกไว้ในสมุดข่อยในหอสมุดแห่งชาติ จึงนำมาตีพิมพ์เผยแพร่ว่า เมืองนครศรีธรรมราชเก่าสถาปนาขึ้นเมื่อวันพฤหัส แรม 12 ค่ำ เดือน 3 ปี เถาะ จุลศักราช 649 ตรงกับ พ.ศ. 1830

เมื่อพลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช และพลตำรวจโทสรรเพชญ ธรรมาธิกุล ตรวจสอบรูปดวงชะตาเห็นว่ากรุงศรีธรรมโศกและดินแดนภาคใต้ถูกสาป จึงร่วมกันหาทางแก้ไข รายงานให้คณะกรรมการจัดสร้างสิ่งมีค่าทางประวัติศาสตร์เมืองนครศรีธรรมราชทราบ ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าควรสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราชขึ้น เพื่อล้างมนตราอาถรรพณ์แห่งคำสาปใน พ.ศ. 2530

_____________________________________________________________________





_____________________________________________________________________


จตุคามรามเทพ: ความอัศจรรย์อันเกี่ยวกับหลักเมือง

ความอัศจรรย์อันเกี่ยวกับหลักเมือง
นับตั้งแต่แรกเริ่มดำเนินการก่อสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราช ได้เกิดปรากฏการณ์อัศจรรย์หลายครั้ง เท่าที่มีผู้บันทึกและจดจำที่น่าสนใจ มีดังนี้


1. ไม้ตะเคียนทองสำหรับแกะสลักหลักเมือง เป็นไม้จากจากเขายอดเหลือง ซึ่งอยู่ท้องที่ตำบลกะหรอ อำเภอท่าศาลา(ปัจจุบันอยู่ในเขตท้องที่อำเภอนบพิตำ) มีลักษณะแปลกคือที่บริเวณรอบโคนต้นมีลักษณะเตียนโล่งซึ่งเรียกกันว่าลานนกหว้า หรือตะเคียนใบกวาด หลังจากโค่นต้นไม้แล้ว คณะได้ตัดต้นตะเคียนเหลือความยาว 4 เมตร ต้องใช้ช้างชักลากลงมาจากยอดเขา เมื่อช้างชักลากตอนแรกไม้ตะเคียนทองไม่ยอมขยับเขยื้อน แต่เมื่อคณะตัดฟันได้จุดธูปบอกกล่าวช้างก็สามารถชักลากได้ตามปกติ

2. ในการประกอบพิธีกรรมเผาดวงชะตาเมืองที่ป่าช้าวัดชะเมา เวลาหลังเที่ยงคืนไป 1 นาที เมื่อปลายปี 2528 ท่ามกลางความมืด มีแต่แสงเทียนประกอบพิธีเท่านั้นใช้เสียงนกแสกเป็นสัญญาณจุดไฟ ทันทีที่จุดไฟจะมีเสียงร้องครวญครางโหยหวน ของภูตผีในป่าช้าที่ถูกเรียกมาให้เป็นพยาน สร้างความหวดกลัวให้กับผู้ร่วมพิธี แม้พระภิกษุรูปเดียวที่ได้รับนิมนต์มาสวดบังสุกุลก็ยังเก็บอาการไม่อยู่ สวดมนต์ด้วยเสียงสั่นเครือ และสวดผิด แต่หลังจากที่เจริญสมาธิจิตและแผ่เมตตาให้ อาการต่างๆ ก็กลับสู่ปกติ

3. เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2530 อันเป็นวันแห่เสาหลักเมืองที่แกะสลักและตกแต่งเสร็จแล้วลงเรือศรีวิชัยโบราณจำลอง จากบ้านพักผู้กำกับฯ ไปยังหน้าวิหารหลวง ขณะที่อัญเชิญเสาหลักเมืองจากเรือจำลองลงตั้งพื้นลานหน้าวิหารหลวงนั่นเองได้เกิดปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกลด ณ ที่นั้นทันทีอย่างน่าอัศจรรย์ วันนั้นได้เกิดฝนตกหนักมากในเขตภูเขาต้นน้ำทางตะวันตกของเมือง เป็นเหตุให้น้ำป่าไหลเกือบล้นฝั่งคลองท่าดีและคลองพรหมโลก วัวควายที่ชาวบ้านล่ามไว้ในคลองตายไปหลายตัว ทั้งที่ช่วงนั้นเป็นหน้าแล้ง

4. ในพิธีเบิกเนตรหลักเมืองเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2530 ขณะที่เจ้าพิธีกรรมคือพลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช กำลังทำพิธีเบิกเนตรได้ปรากฏกลุ่มควันจางๆ ขึ้น ณ จุดสัมผัสระหว่างดินสอจารกับดวงเนตรของหลักเมือง

5. การประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวกับหลักเมืองนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะพิธีกลางแจ้ง มักจะมีฝนโปรยเม็ดพรำๆ แทบทุกครั้ง

6. นายสมจิตร ทองสมัคร เล่าว่าครั้งหนึ่งในระหว่างที่มีการประทับทรงของเทวดารักษาเมือง ตนเองปรารภว่าเกิดภาวะฝนแล้งอย่างหนัก ชาวบ้านเดือนร้อนมาก ไม้ผลเหี่ยวเฉา จะแก้ปัญหาอย่างไรดี ก็ได้รับคำแนะนำว่าให้เอาไข่ 1 ใบ ไปปาใส่ภูเขาที่เขาขุนพนม บริเวณที่เรียกว่า “หน้าพระ” เมื่อปฏิบัติตามคำแนะนำก็ปรากฏว่าผู้ปฏิบัติการปาไข่ยังไม่ทันจะลงมาถึงลานวัดก็มีฝนโปรยลงมาแล้ว ฝนที่ตกครั้งนั้นตกหนักมากและตกกระจายทั่วไปแม้ในภาคกลางและกรุงเทพมหานคร สำหรับที่กรุงเทพมหานครฝนตกหนักอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน จนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสมัยนั้นเรียกว่า “ฝนพันปี” นั่นเอง

7. นายยุทธนา โมรากุล ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดการทางหัวไทร แขวงการทางนครศรีธรรมราชที่ 1 เล่าให้ฟังว่าคืนวันหนึ่งเมื่อ 12 ปีก่อน ขณะที่ตนเองอยู่ที่บ้านพักในแขวงการทางนครฯ กับครอบครัวซึ่งขณะนั้นตนเองยังเป็นช่างประจำสำนักงานแขวงการทาง ได้มีคนมาตามที่บ้านบอกว่าเขามีการเข้าทรงที่ถนนบ่ออ่าง สั่งความให้มาตามตนเองไปหา เมื่อตนเองไปถึงก็ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ออกแบบอาคารศาลหลักเมือง ตนเองตอนนั้นทั้งไม่เชื่อทั้งงุนงง ทั้งเป็นงานที่ไม่เคยทำมาก่อน หลังจากที่ได้รับการลงเลขลงยันต์ที่ฝ่ามือ และได้รับคำแนะนำครั้งแล้วครั้งเล่าก็ได้มาทำแบบบนกระดาษเขียนแบบ เหมือนกับมีผู้มาบอกกล่าวแนะแนวทางอยู่ตลอดเวลา องค์จตุคามรามเทพ หรือที่เรียกกันในหมู่ลูกศิษย์ว่า “พ่อ” ได้กล่าวไว้ว่าเมื่อไหร่ที่เขียนแบบออกมาถูกต้องตามโบราณและเขียนจนถึงยอดเสร็จสมบูรณ์แล้วฟ้าดินจะรับรู้ ปรากฏว่าวันนั้นนั่งเขียนที่โต๊ะทำงาน ทันทีที่ตนเขียนเสร็จท้องฟ้าที่เจิดจ้าตามปกติกลับมืดครึ้มและมีฟ้าผ่าเปรี้ยงอย่างน่าอัศจรรย์ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อคราวขุดดินบริเวณสร้างศาลปัจจุบันเพื่อลงฐานราก พบฐานเจดีย์เก่าทรงกลม และเมื่อขุดได้ลึกกว่าสองเมตรก็พบชั้นหินปะการัง ปรากฏว่าน้ำใต้ดินทะลักขึ้นมาทำให้ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ เมื่อได้ปรึกษา “พ่อ” ก็ได้รับการแนะนำเทคนิคพิเศษทั้งในเรื่องขั้นตอนและวัสดุที่ใช้โดยละเอียด พร้อมกับได้รับการบอกกล่าวไว้ล่วงหน้าว่าเมื่อทำเสร็จฟ้าดินจะรับรู้ เมื่อทำตามนั้นทุกอย่างก็แก้ปัญหาได้จริงๆอย่างไม่น่าเชื่อ ทันทีที่เสร็จสมบูรณ์ก็เกิดปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกลดอันหมายถึงการรับรู้ของฟ้าดินอย่างน่าอัศจรรย์

8. เมื่อมีการประกอบพิธีกรรมใดๆเกี่ยวกับหลักเมืองนครศรีธรรมราช มักจะเกิดฝนพรำๆ และฝนตกตามมาทุกครั้ง แม้กระทั่งพิธีไหว้ครูซึ่งกระทำกันทุกปีในวันพฤหัสแรกของเดือนหก หลังเสร็จพิธีจะมีฝนพรำทุกครั้งเช่นเดียวกัน
________________________________________________________________________





จตุคามรามเทพ: วัตถุมงคลของหลักเมืองนครศรีธรรมราช

ในกระบวนการของการสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราช ได้มีพิธีกรรม ต่างกรรมต่างวาระหลายครั้ง ในทำนองเดียวกันได้มีการทำวัตถุมงคลออกแจกจ่ายและให้เช่าบูชาหลายชนิด ซึ่งล้วนแล้วแต่ผ่านการทำพิธีจากการผ่านร่างประทับทรงทั้งสิ้น เท่าที่มีผู้จดจำได้ มีดังนี้

1. เศียรองค์จตุคามรามเทพ หรือเทวดารักษาเมือง เป็นวัตถุมงคลชิ้นแรกที่ทำออกแจกจ่ายเป็นการจำลองเศียรจากบานประตูไม้จำหลักตรงบันไดทางขึ้นลานประทักษิณองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ขนาดเกือบเท่าองค์จริง ได้รับคำอธิบายว่าเป็นร่างแปลงธรรมขององค์จตุคามรามเทพ ปฐมกษัตริย์ผู้สถาปนาเมืองสิบสองนักษัตร และเป็นเทวดารักษาเมืองนั่นเอง

2. ผ้ายันต์ใหญ่ 108 ผืน ผ้ายันต์เล็ก 3,000 ผืน กระทำในพิธีเทพชุมนุมตัดชัย เมื่อ วันที่ 16มกราคม 2529

3. ธง และผ้ายันต์ มีหลายรุ่น หลายสี หลายขนาด ผ้ายันต์เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นรูปดวงตราวัฏจักรสิบสองนักษัตร รายล้อมด้วยราหูแปดทิศ

4. ขี้ผึ้งศรีวิชัย เป็นขี้ผึ่งทำด้วยมวลสารและกรรมวิธีเฉพาะของศรีวิชัย บรรจุในตลับถมแบบนครศรีธรรมราชแท้ ใช้เป็นวัตถุมงคลสีริมฝีปากก่อนออกไปเจรจาความใดๆ

5. พระผงหลักเมือง ทำจากผงไม้ตะเคียนทองจากการแกะสลักหลักเมืองผสมมวลสารต่างๆ อีก รวม 12 ชนิด ลักษณะเหรียญเป็นรูปกลมแบน มีสองขนาด คือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว และอีกแบบหนึ่งเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 นิ้ว ทั้งสองแบบหนาประมาณหนึ่งหุนครึ่ง มีสี่แบบ คือ แบบตั้งฟ้าตั้งดิน แบบประทานพร แบบนั่งเมือง และแบบพุทธเมตตา มีสามสี คือสีสีดำ สีน้ำตาลและสีขาว ด้านหน้าเป็นรูปวัฏจักรสิบสองนักษัตร รายล้อมด้วยราหูแปดทิศ ด้านหลังเป็นยันต์และสัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีความละเอียดประณีตมาก

6. พระผงพุทธสิหิงค์ มวลสารและสีเหมือนพระผงหลักเมืองทุกประการ แต่เป็นทรงสี่เหลี่ยม ด้านหน้าเป็นพระพุทธสิหิงค์ ด้านหลังเป็นรูปราหู

7. เหรียญพังพระกาฬ เป็นเหรียญกลม ขนาด 3 เซนติเมตร เนื้อนวโลหะ ด้านหน้าเป็นรูปพระปิดตาพังพระกาฬ ด้านหลังเป็นวัฏจักรสิบสองนักษัตร รายล้อมด้วยราหูแปดทิศ ลวดลายละเอียดประณีตมาก สวยงามมาก

8. เหรียญพังพระกาฬ เป็นเหรียญกลม ขนาด 3 เซนติเมตร เนื้อนวโลหะ ด้านหน้าเป็นรูปพระโพธิสัตว์พังพระกาฬนาคปรกแบบนูนต่ำ ด้านหลังเป็นวัฏจักรสิบสองนักษัตร รายล้อมด้วยราหูแปดทิศ ลวดลายละเอียดประณีตมาก สวยงามมาก

9. เหรียญนักษัตร เป็นเหรียญกลม ขนาด เนื้อเหรียญ และด้านหลังเหมือนข้อ 7 ทุกประการแต่ด้านหน้าเป็นรูปนักษัตรให้คนเลือกบูชาตามปีเกิดของตนเอง เช่น รูปหนูสำหรับคนเกิดปีชวด รูปวัวสำหรับคนเกิดปีฉลู เป็นต้น

10. พระโพธิสัตว์พังพระกาฬนาคปรก ลอยองค์ เนื้อโลหะ มีหลายขนาด

11. เหรียญโลหะทองแดงทรงสี่เหลี่ยม ขนาด 2 x 1.5 เซนติเมตร ไม่มีห่วง ทำขึ้นจำนวนมาก ด้านหน้าเป็นพระโพธิสัตว์พังพระกาฬลอยองค์ ด้านหลังเป็นยันต์นาคปรก

12. เหรียญโลหะทองแดงทรงสี่เหลี่ยม ขนาด 2 x 1.5 เซนติเมตร มีห่วง ด้านหน้าเป็นยอดเสาหลักเมืองลอยองค์ ด้านหลังเป็นยันต์วัฏจักรสิบสองนักษัตร รายล้อมด้วยราหูแปดทิศ

13. สติ๊กเกอร์รูปราหูอมจันทร์ อันเป็นดวงตราประจำองค์จตุคามรามเทพ มีหลายขนาด นิยมนำไปติดประดับที่รถยนต์ หรือตามอาคารบ้านเรือน

14. วัตถุมงคลที่ระลึกในพิธีการต่างๆ เช่นพิธีไหว้ครู ซึ่งจะจัดขึ้นในวันพฤหัสแรกของเดือนพฤษภาคม ของแจกอาจมีผ้ายันต์บ้าง เหรียญบ้าง

วัตถุมงคลของหลักเมืองนครศรีธรรมราชเหล่านี้ทุกชนิดจะทำเพียงครั้งเดียว ไม่มีการทำเพิ่มในภายหลัง โดยเฉพาะเหรียญต่างๆ เมื่อทำแล้วจะทุบพิมพ์และฝังดินที่ฐานราก
_____________________________________________________________________________________



______________________________________________________________________________________



_____________________________________________________________________________________



_____________________________________________________________________________________










Create Date : 14 พฤศจิกายน 2548
Last Update : 4 สิงหาคม 2552 9:10:42 น. 19 comments
Counter : 8117 Pageviews.  
 
 
 
 

จตุคามรามเทพ: พิธีกรรมเกี่ยวกับการสร้างหลักเมือง

พิธีกรรมเกี่ยวกับการสร้างหลักเมือง

จากบันทึกของนายสมจิตร ทองสมัคร หนึ่งในคณะผู้ริเริ่มการก่อสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราชกล่าวว่านับตั้งแต่เทวดารักษาเมืองได้สร้างความอัศจรรย์ด้วยการมาประทับทรงบอกกล่าวให้พันตำรวจเอกสรรเพชญ ธรรมาธิกุล (ยศในขณะนั้น) และคณะดำเนินการสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราชตั้งแต่ปี 2528 เป็นต้นมา ได้มีพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินไปตามคำบอกกล่าวของเทวดารักษาเมืองทุกขั้นตอนเป็นลำดับมา ดังนี้


1. พิธีกรรมเผาดวงชะตาเมือง ณ ป่าช้าวัดชะเมา ตำบลท่าวัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการล้างอาถรรพณ์ดวงชะตาเมืองเดิมซึ่งเรียกว่าดวงราหูชิงจันทร์หรือดวงภินธุบาทว์ ลักษณะดวงดาวเสาร์ซึ่งเป็นดาวภัยเล็งจุดกำเนิดวางดาวอังคารให้อยู่ในภพที่ห้า เจ้าของดวงชะตาเช่นนี้เหมือนถูกสาป อาภัพอัปภาคย์ บ้านแตกสาแหรกขาด ต้องทัณฑ์ไม่หยุดหย่อน เดือดร้อนไม่มีที่สิ้นสุด บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองไม่นานก็เสื่อมทรามตกต่ำ การเผาดวงชะตาครั้งนี้ใช้ “เพชฌฆาตฤกษ์” คือเลยเที่ยงคืนไป 1 นาที ของปลายปี 2528

2. พิธีลอยชะตาเมือง เพื่อทำลายดวงชะตาเมืองเดิม ทำแพจากต้นกล้วยเถื่อน เก็บดินสี่มุมเมือง น้ำห้าท่า ดาบเก่าสี่เล่ม รูปคนทำด้วยดินปั้นสี่รูป เสาไม้ตะเคียนทางหนึ่งต้น พญาโหราเรียกอาถรรพ์จัญไรบรรจุลงสู่ต้นตะเคียนทอง เสกคาคาลงยันต์ครบถ้วนแล้วนำไปลอยที่ปากน้ำปากนคร

3. พิธีกรรมสะกดหินหลัก ณ บริเวณฐานพระสยม ตลาดท่าชี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง หินหลักเป็นสิ่งพวกพราหมณ์ดั้งเดิมฝังอาถรรพณ์เสนียดจัญไรเอาไว้สร้างความวิบัติเสื่อมเสียแก่เมืองนครศรีธรรมราชตลอดมา

4. พิธีปลุกยักษ์วัดพระบรมธาตุ ยักษ์สองตนที่บันไดทางขึ้นองค์พระบรมธาตุ ถูกปลุกให้ตื่นมาทำหน้าที่รักษาบ้านเมืองหลังจากถูกอาถรรพณ์สะกดมานาน นอกจากนั้นยังปลุกเทวดา พระปัญญา พระพวย และพระมหากัจจายนะ(พระแอด)อีกด้วย

5. พิธีปลุกพระเสื้อเมืองพระทรงเมืองซึ่งสถิตอยู่ ณ หอพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งหลับใหลมานานปีให้ตื่นขึ้นช่วยบ้านช่วยเมือง

6. พิธีกรรมพลิกธรณี กระทำที่ริมรั้วป่าช้าวัดชะเมา พลิกดินที่ชั่วร้ายสกปรกฝังไว้เบื้องล่าง เอาดินดีขึ้นมาไว้เบื้องบน เพื่อบ้านเมืองจะมีความร่มเย็นเป็นสุข เจริญรุ่งเรืองต่อไปวันข้างหน้า

7. พิธีกรรมเทพชุมนุมตัดชัย ณ วิหารหลวง วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2529 เวลา 12.39 น. ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้นเจ็ดค่ำ เดือนยี่ ปีฉลู นับเป็นพิธีกรรมสำคัญยิ่งดำเนินการตามแบบอย่างของชาวเมืองสิบสองนักษัตรโบราณจากคำบอกกล่าวของพญาหลวงเมือง การพิธีครั้งนั้นมีพระเทพวราภรณ์(พระธรรมรัตโนภาสในปัจจุบัน) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นประธานฝ่ายฆราวาส จุดมุ่งหมายของพิธีกรรมนี้นอกจากเพื่อสร้างสวัสดิมงคลแก่จังหวัดนครศรีธรรมราชจากการเจริญพระพุทธมนต์และแสดงพระธรรมเทศนาของพระสงฆ์แล้ว เทวดารักษาบ้านรักษาเมืองยังมาชุมนุมเสกผ้ายันต์สิบสองนักษัตร จำนวน 3,000 ผืน เขียนผ้ายันต์จำนวน 108 ผืน และประกาศบอกกล่าวแก่ผู้คนให้ช่วยกันสร้างหลักเมือง

8. พิธีกรรมตอกหัวใจสมุทร เพื่อให้ดวงชะตาเมืองถูกบรรจุด้วยธาตุทั้งสี่ครบถ้วน กระทำ ณ สี่แยกคูขวาง เมื่อวันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ 2529 ตรงกับแรมสิบสองค่ำเดือนยี่ เวลาประมาณ 18.30 น.เศษ โดยนายอเนก สิทธิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมัยนั้น เป็นประธานแทน ฯพณฯพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ การที่เลือกบริเวณกลางสี่แยกคูขวางเป็นจุดตอกหัวใจสมุทรเพราะจุดดังกล่าวได้ศูนย์กับองค์พระบรมธาตุ ภูเขามหาชัย และได้ศูนย์กับทิศทั้งแปดตามตำราของชาวเมืองสิบสองนักษัตร

9. พิธีฝังหัวใจเมือง กระทำเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2529 ตรงกับวันพฤหัสบดีขึ้น 11 ค่ำเดือนสี่ ปีฉลู เวลา 11.39 น. ณ จุดตอกหัวใจสมุทร ด้วยการขุดหลุมลึก 9 ศอก จนถึงน้ำ เจ้าพิธีอ่านโองการ อุปกรณ์พิธีกรรมฝังหัวใจเมืองประกอบด้วยสิ่งของ 7 ชนิด คือ หัวใจเมือง ทำด้วยดินเผาผสมทรายหาดทรายแก้วจากวัดพระมหาธาตุฯ มีจำนวน 7 ชิ้น แต่ละชิ้นกว้าง 9 นิ้ว ยาว 9 นิ้ว หนา 2 นิ้ว เขียนดวงชะตาเมืองหัวใจเมือง มีอยู่สามชิ้นที่ได้นำเอาโลหะมงคล ทอง เงิน นาค (สามกษัตริย์) ปิดหน้าคั่นกลางระหว่างแผ่นหัวใจเมือง แผ่นไม้ตะเคียนทอง กว้าง-ยาว 12 นิ้ว รองรับแผ่นหัวใจเมือง แผ่นไม้นี้องค์จตุคามรามเทพกรีดเลือดจุ่มเขียนคาถาอาคม หัวใจพ่อ-หัวใจแม่ ทำจากไม้ตะเคียนทองกลึงเป็นรูปบัวตูม ยาวประมาณ 1 ศอก จำนวน 2 อัน ฝังลงในหลุมรวมกับแผ่นหัวใจเมือง ดินจากทุกตำบลทุกหมู่บ้านในเมือง 12 นักษัตร ที่ประชาชนนำมาใส่ลงในหลุมด้วย วัตถุธาตุ แทนธาตุสี่ ประกอบด้วยถ่าน(แทนธาตุไฟ) เกลือ(แทนธาตุน้ำ) ข้าวเปลือก(แทนธาตุลม) ทราย (แทนธาตุดิน) พญาไม้มงคล 9 ชนิด ได้แก่ ราชพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ กีนเกรา สัก ทรงบาดาล พยุง ทองหลากหรือทองหลาง ไผ่สีสุก และขนุนทอง ผ้าสี 12 ผืน ผืนละสี วางก้นหลุมเป็นลำดับแรก ทุกย่างใส่ลงในหลุม ทั้งหมด

10. พิธีกรรมปฏิมากรรม(แกะสลัก)หลักเมือง ด้วยไม้ตะเคียนทองทั้งต้น ณ บ้านพักผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดในสมัยนั้น

11. พิธีเบิกเนตรหลักเมือง พิธีกรรมนี้กระทำกันต่อเนื่องถึง 3 วัน คือวันที่ 3-5 มีนาคม 2530 วันที่ 3 มีนาคม อัญเชิญหลักเมืองที่แกะสลักเรียบร้อยแล้วไปประดิษฐานที่วิหารหลวง วัดพระมหาธาตุฯ หลังจากพระเถระเจริญพระพุทธมนต์ และเจ้าพิธีรำกระบี่โบราณถวายสักการะแล้วก็เคลื่อนขบวนแห่สู่ไปตามถนนราชดำเนินไปยังตลาดท่าวัง แล้ววกกลับสู่สนามหน้าเมือง อัญเชิญหลักเมืองขึ้นสู่ที่ประดิษฐานชั่วคราว ให้ประชาชนสักการะ ขบวนแห่ในวันนั้นยิ่งใหญ่มาก มีขบวนช้าง-ม้า ศิลปินพื้นบ้าน กลุ่มพลังมวลชนต่างๆ วงดุริยางค์ และประชาชนจากทั่วสารทิศ ขบวนยาวประมาณ 2 กิโลเมตร ประชาชนคอยชมขบวนมืดฟ้ามัวดินเป็นประวัติการณ์ วันที่ 4 มีนาคม 2530 เวลา 10.30 น. พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมารับมอบหลักเมืองเป็นของทางราชการ วันที่ 5 มีนาคม 2530 ตอนค่ำมีพิธีสงฆ์ จากนั้นเจ้าพิธีคือพลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดชอ่านโองการเชิญเทวดา ประธาน(รมช.สัมพันธ์ ทองสมัคร)จุดเทียนชัย เจ้าพิธีทำพิธีเบิกเนตรหลักเมืองทั้งแปดทิศ อันเป็นการประจุจิตวิญญาณของเทวดารักษาเมืองเข้าไปสิงสถิตภายในเสาหลักเมืองให้สามารถรับรู้เหตุการณ์และคุ้มครองดูแลได้รอบทิศ จากนั้น มีการจุดพลุสักการะ ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนร่วมปิดทองสักการะ เป็นเสร็จพิธี

12. พิธีการเจิมยอดชัยหลักเมือง พิธีกรรมสำคัญยิ่งและถือเป็นมงคลสูงสุดคือการทรงเจิมยอดชัยหลักเมือง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ปลัดกระทรวงมหาดไทย(นายพิศาล มูลศาสตร์สาทร) นำคณะอันประกอบด้วยรองผู้ว่าราชการจังหวัด(นายอำนวย ไทยานนท์) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(นายสัมพันธ์ ทองสมัคร) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(นายกำจร สถิรกุล) เลขาธิการคณะรัฐมนตรี(นายอนันต์ อนันตกูล) วุฒิสมาชิก (นายศิริชัย บุลกุล) พร้อมด้วยข้าราชการและประชาชนผู้ร่วมจัดสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราช เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท นำยอดชัยหลักเมืองเพื่อทรงเจิม ในวันที่ 3 สิงหาคม 2530 ยอดชัยหลักเมืองที่ทรงเจิมในวันนั้น นอกจากของจังหวัดนครศรีธรรมราชแล้ว ยังมีหลักเมืองจังหวัดชัยนาท และจังหวัดศรีสะเกษ อีกด้วย

นายสัมพันธ์ ทองสมัคร ได้บันทึกเหตุการณ์วันนั้นไว้ ความตอนหนึ่ง ดังนี้

“...คราวนั้นคณะกรรมการสร้างหลักเมืองได้นำวัตถุมงคลที่สร้างขึ้นตามแบบแผนโบราณจำนวน 13 ชนิด พร้อมด้วยภาพถ่ายหลักเมืองน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายในครั้งนั้นด้วย

ผมเองเป็นกังวลใจมาก เพราะว่าผู้ซึ่งเตรียมไว้ว่าจะต้องทำหน้าที่กราบบังคมทูลคือท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช เจ้าพิธีโดยตรง แต่ก่อนหน้าจะถึงกำหนดเข้าเฝ้าฯ ท่านขุนพันธ์ฯ ประสบเหตุตัวต่อต่อยเอาที่ใบหน้าอักเสบ ไม่สามารถจะเข้าเฝ้าฯได้ จังหวัดฯโดยท่านรองฯอำนวย ไทยานนท์ ได้ขอผมไปทำหน้าที่แทน ผมกังวลเพราะไม่ทราบเรื่องวัตถุมงคล 13 ชิ้นว่าเป็นอย่างไร

ท่านปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้อ่านคำกราบบังคมทูล เกี่ยวกับการสร้างหลักเมืองและวัตถุมงคลที่ได้ส้รางในพิธีกรรมสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราชด้วย เมื่อทรงพระสุหร่ายและทรงเจิมยอดเสาหลักเมืองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทรงมีรับสั่งให้ตามเสด็จฯไปยังบริเวณที่วางวัตถุมงคลที่นำขึ้นทูลเกล้าฯ

ทรงเริ่มทอดพระเนตรตั้งแต่ชิ้นแรก เป็นภาพถ่ายเสาหลักเมืองนครฯ ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งว่า “หลักเมืองกรุงเทพฯ คนนครฯ มาร่วมช่วยสร้างเหมือนกัน เพราะเขาเข้าใจเรื่องการสร้างหลักเมือง มีเทวดาเหาะรอบๆ ยอดเสาหลักเมืองอยู่ 8 องค์ แต่หลักเมืองนครฯที่สร้างขึ้นครั้งนี้ เทวดาไม่ได้เหาะ แต่แกะสลักไว้ที่ยอดเสาหลักเมืองให้เฝ้าทิศทั้งแปด ”

จากนั้นได้ทอดพระเนตรวัตถุมงคลทุกชิ้นพร้อมกับทรงอธิบายให้ผมฟังถึงความเป็นมาและการใช้สอยเกี่ยวกับของแต่ละชิ้นได้อย่างลึกซึ้งประหนึ่งทรงอยู่ในเหตุการณ์ด้วย เป็นที่น่าอัศจรรย์ใจในพระปรีชาญาณยิ่งนัก

จนกระทั่งถึงชิ้นที่ 13 เป็นขี้ผึ้งที่บรรจุในภาชนะรูปคล้ายผอบทำด้วยถมทอง ขนาดไม่โตนัก ผมเองประหวั่นว่าจะมีรับสั่งถามเกรงว่าจะกราบบังคมทูลไม่ถูก เพราะไม่ทราบคำราชาศัพท์ของคำว่า “ขี้ผึ้ง”

แล้วก็ทรงมีพระกระแสรับสั่งถามพร้อมทรงชี้ไปที่ผอบว่า “นี่อะไร” ผมกราบทูลว่า” เป็นถมทอง ศิลปะดั้งเดิมของชาวนครศรีธรรมราช” ทรงมีพระราชกระแสว่า “ถมทองของเมืองนครฯนี่เรารู้จัก เราใช้อยู่ ข้างในเป็นอะไร” ผมกราบบังคมทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้าไม่ทราบคำราชาศัพท์ แต่ชาวบ้านเรียกว่า ขี้ผึ้ง พระพุทธเจ้าข้า”

ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งว่า “สีผึ้ง สมัยโบราณคนเมืองนคร หรือชาวศรีวิชัย เมื่อจะไปเจรจาเรื่องสำคัญกับใครจะใช้สีผึ้งสีริมฝีปากแล้วไปเจรจา”

นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ได้เป็นที่ประจักษ์ว่าทรงมีพระปรีชาญาณรอบรู้จริง เพราะจากเอกสารที่ฝ่ายพิธีกรรมสร้างหลักเมืองทำขึ้น ก็ได้กล่าวถึงเรื่องขี้ผึ้งในลักษณะตามที่ทรงมีพระกระแสรับสั่งทุกประการ..”

13. พิธีแห่ยอดชัยหลักเมือง วันที่ 4 สิงหาคม 2530 เป็นการต้อนรับยอดชัยหลักเมืองซึ่งคณะโดยการนำของรองผู้ว่าราชการจังหวัด(นายอำนวย ไทยานนท์)นำมาจากกรุงเทพมหานคร โดยแห่จากสนามบินกองทัพภาคที่ 4 นายังสนามหน้าเมือง มีขบวนช้างศึก ม้าศึกและประชาชนจำนวนมาก

14. พิธีอัญเชิญหลักเมืองขึ้นสู่ศาลถาวร โดยผู้ว่าราชการจังหวัด(นายนิพนธ์ บุญภัทโร ) เป็นประธาน

15. พิธีสวมยอดชัยหลักเมือง เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2531 โดยพลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นประธาน

16. พิธีเททองปลียอดศาลหลักเมืองและศาลบริวาร เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2541 โดยมี ฯพณฯ บัญญัติ บรรทัดฐาน ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธาน
 
 

โดย: P_ปรัชญา วันที่: 14 พฤศจิกายน 2548 เวลา:22:07:56 น.  

 
 
 

จตุคามรามเทพ: การสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราช

ลำดับขั้นตอนการสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราช

1. คณะอนุกรรมการสร้างสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์ ในคณะกรรมการส่งเสริม การท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีนายเอนก สิทธิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มีมติให้สร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราชขึ้น ในคราวประชุมวันที่ 14 มกราคม 2528 ในการนี้ได้มอบหมายให้พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช (อดีตผู้บังคับการตำรวจภูธรภาค 8) พันตำรวจเอกสรรเพชญ ธรรมาธิกุล ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดนครศรีธรรมราช)และพระเทพวราภรณ์เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จัดตั้งคณะทำงานจัดสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราชขึ้น


2. คณะทำงานดังกล่าวได้เริ่มต้นจัดหาไม้ตะเคียนทองมาเพื่อสร้างเป็นเสาหลักเมือง โดยหามาจากยอดเขาเหลือง เดิมกำหนดจะจัดทำในบริเวณจวนผู้ว่าราชการจังหวัด แต่หลายคนเห็นว่าจะไม่สะดวกในการปฏิบัติ จึงเปลี่ยนไปใช้สถานที่บ้านพักผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดนครศรีธรรมราชแทน

3. เสาหลักเมืองมีรูปแบบและขนาดความกว้างยาวเป็นไปตามหลักการตามที่พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดชแนะนำ คือเสาแกะสลักเป็นลวดลายศรีวิชัย ประกอบด้วยอักขระโบราณ ยอดเสาเป็นเศียรพระพรหมแปดเศียรซ้อนกันสองชั้น (ชั้นละสี่เศียร) ยอดบนสุดเป็นยอดชัยหลักเมือง หุ้มด้วยทองคำ

4. เพื่อให้ถูกตามธรรมเนียมนิยม จึงกำหนดให้มีพิธีสำคัญที่เกี่ยวเนื่องสองพิธีคือ

4.1 พิธีฝังหัวใจสมุทรและฝังหัวใจเมือง ประธานในพิธีคือนายเอนก สิทธิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งได้รับมอบหมายจากพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี โดยประกอบพิธีที่สี่แยกคูขวาง

4.2 พิธีเบิกเนตรหลักเมือง เจ้าพิธีคือพลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช จัดพิธี ณ บริเวณสนามหน้าเมืองนครศรีธรรมราช

5. จังหวัดนครศรีธรรมราชได้เรียนเชิญพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบหลักเมืองให้แก่ทางราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช (นายสุกรี รักษ์ศรีทอง) เป็นผู้รับมอบ

6. ในระหว่างดำเนินการสร้างหลักเมือง ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัด (นายสุกรี รักษ์ศรีทอง)กับผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด (พันตำรวจเอกสรรเพชญ ธรรมาธิกุล) รุนแรงขึ้นจนกระทรวงมหาดไทยได้โยกย้ายคู่กรณี และแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัด(ร้อยตรีอำนวย ไทยานนท์) รักษาราชการแทน

7. จังหวัดได้รายงานกระทรวงมหาดไทยเพื่อกราบบังคมทูลเสด็จพระราชดำเนินจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อทรงประกอบพิธีนำกลีบบัวทองคำขึ้นประกอบปลียอดพระบรมธาตุเจดีย์และทรงเจิมทรงพระสุหร่ายยอดชัยหลักเมือง ในการนี้ได้เสนอวันอันเป็นมงคลไปด้วย คือวันที่ 3 สิงหาคม 2530 ซึ่งตรงกับวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน9ในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเสด็จแทนพระองค์เป็นประธานยกกลีบบัวทองคำขึ้นประกอบปลียอดพระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนวันที่ 3 สิงหาคม 2530

8. ปลายเดือนกรกฎาคม 2530 กระทรวงมหาดไทยแจ้งจังหวัดว่า ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จังหวัดนำยอดชัยหลักเมืองเข้าไปยังตำหนักจิตรลดารโหฐาน เพื่อทรงเจิมทรงพระสุหร่าย ในวันที่ 3 สิงหาคม 2530 เวลาประมาณ 16.00 น.

9. จังหวัดนครศรีธรรมราชโดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดและคณะ ประกอบด้วยนายสัมพันธ์ ทองสมัคร (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) นายกำจร สถิรกุล (ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย) นายอนันต์ อนันตกุล (เลขาธิการคณะรัฐมนตรี) นายศิริชัย บุลกูล (วุฒิสมาชิก) เข้าเฝ้าฯ ในโอกาสนี้ข้าราชการและประชาชนผู้ร่วมจัดสร้างหลักเมือง ได้นำเอาวัตถุมงคลและผ้ายันต์จำนวนมากทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายด้วย ในวันนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเจิมทรงพระสุหร่ายหลักเมืองนครศรีธรรมราช พร้อมกับหลักเมืองจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดชัยนาทด้วย โดยมีนายพิศาล มูลศาสตร์สาทร ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้นำเข้าเฝ้า

10. วันที่ 4 สิงหาคม 2530 คณะได้นำยอดชัยหลักเมืองกลับจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยทางเครื่องบิน มีขบวนช้างม้า และประชาชนจำนวนนับหมื่นคนจัดขบวนต้อนรับแห่จากท่าอากาศยานกองทัพภาคที่ 4 มาสู่ที่ตั้งหลักเมืองในปัจจุบันนี้

11. ได้ทำการก่อสร้างศาลหลักเมืองขึ้นในที่ดินราชพัสดุตามที่ทางจังหวัดขออนุญาตโดยสร้างเป็นศาลด้วยทรงเหมราชลีลา ก่ออิฐถือปูนสามชั้น ส่วนยอดบนเป็นทรงแหลม ภายในศาลพื้นปูด้วยหินอ่อน ฝาผนังจากพื้นขึ้นมาหนึ่งเมตรปูด้วยหินอ่อนต่อด้วยสลักดุนประวัติความเป็นมาของหลักเมือง มีบันไดขึ้นลงทั้งสี่ด้าน เชิงบันไดเป็นรูปพญางูทะเลแผ่แม่เบี้ย รอบศาลหลักเมืองมีศาลเล็กสี่มุม รูปทรงเป็นลักษณะเช่นเดียวกับศาลหลักเมือง แต่ลดขนาดลงในสัดส่วน 2 : 1

12. จังหวัดได้ประกอบพิธีอัญเชิญหลักเมืองขึ้นสู่ศาลถาวร โดยนายนิพนธ์ บุญญภัทโร (ผู้ว่าราชการจังหวัด) เป็นประธาน

13. การก่อสร้างศาลหลักเมืองก็ดำเนินต่อไปไม่หยุดยั้ง โดยมีรายได้จากเงินบริจาคจากศิษย์ และผู้มีจิตศรัทธา ลักษณะการบริจาคเป็นวัสดุก่อสร้าง มีการจำหน่ายวัตถุมงคลธูปเทียน และทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายให้นายอำนวย ไทยานนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ประสานงานดำเนินการเกี่ยวกับศาลหลักเมืองเต็มตัว

14. วันที่ 25 ตุลาคม 2531 จัดพิธีสวมยอดชัยหลักเมือง โดยพลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก (ตำแหน่งในเวลานั้น) ล่วงถึงปีพุทธศักราช 2535 การก่อสร้างศาลหลักเมืองแล้วเสร็จประมาณ 35% สิ้นเงินประมาณ 4 ล้านบาท การก่อสร้างยังคงดำเนินการต่อไปแต่ไม่อาจจะเร่งงานได้ เพราะฤดูฝนเป็นอุปสรรค นอกจากนั้นต้องดำเนินการตามเวลาฤกษ์อันเป็นมงคลตามที่พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดชกำหนด การก่อสร้างโดยการจ้างแรงงาน และวัสดุก่อสร้างเป็นของคณะทำงานก่อสร้างหลักเมือง
 
 

โดย: P_ปรัชญา วันที่: 14 พฤศจิกายน 2548 เวลา:22:09:08 น.  

 
 
 

จตุคามรามเทพ: เทวดารักษาเมือง

พลตำรวจโทสรรเพชญ ธรรมาธิกุล ผู้บัญชาการประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการสืบสวน อธิบายว่าเทวดารักษาเมืองหรือเทพประจำหลักเมือง หรือเจ้าพ่อหลักเมืองนครศรีธรรมราชคือ “จตุคามรามเทพ” หรือ “จันทรภาณุ” ผู้ซึ่ง”ตั้งฟ้าตั้งดิน”สถาปนา”กรุงศรีธรรมโศก” ศูนย์กลางแห่งศรีวิชัย

ตามคติพุทธศาสนาฝ่ายมหายานสาขาหนึ่งเชื่อว่ามนุษย์ทุกรูปทุกนามต้องเวียนว่ายตายเกิดท่ามกลางกองทุกข์ การจะข้ามวัฏสงสารก็ด้วยยึดถือปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธองค์ หากผู้ใดตั้งปณิธานแน่วแน่ อุทิศตนเพื่อช่วยเหลือขจัดความทุกข์ยากของมนุษย์ มุ่งบำเพ็ญบารมี 6 ประการ คือ ทานบารมี ศีลบารมี ขันติบารมี วิริยบารมี ธยานบารมี(ฌานบารมี) และปัญญาบารมี ครบถ้วนแล้วผู้นั้นจะบรรลุความเป็นมนุษย์โพธิสัตว์ หรือคฤหโพธิสัตว์ หากพากเพียรสร้างบารมีขั้นสูงอีก 4 ประการ คือ
อุปายบารมี ปณิธานบารมี พลบารมี และชญานบารมี ผู้นั้นจะสำเร็จเป็นเทวโพธิสัตว์ทรงฤทธานุภาพยิ่งใหญ่ สามารถบังคับฟ้าดิน สำแดงอิทธิฤทธิ์ให้เห็นเป็นร่างแปลงธรรมอันจักช่วยเหลือเกื้อกูลมวลมนุษย์ให้พ้นทุกข์และภัยพิบัติ ก่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข องค์จตุคามรามเทพ ถึงแล้วซึ่งความแกล้วกล้าสามารถ เจนจบสรรพศาสตร์ทั้งปวง บำเพ็ญบารมีถึงพรหมโพธิสัตว์ จึงทรงอานุภาพยิ่งใหญ่ จนได้รับนามาภิไธยราชฐานันดรว่า “จันทรภาณุ” ผู้มีอำนาจดั่งพระอาทิตย์และพระจันทร์ ถืออาญาสิทธิ์รูปตราราหูอมจันทร์ และวัฏจักร 12 นักษัตร เป็นสัญลักษณ์ อันเป็นตราประจำเมืองนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน

องค์จตุคามรามเทพ มีบริวารเป็นทหารกล้าสี่คน ได้แก่พญาชิงชัย พญาหลวงเมือง พญาสุขุม และพญาโหรา เป็นกำลังหลักในการปราบพวกพราหมณ์ที่ปกครองเมืองตามพรลิงค์อยู่ก่อน เมื่อได้บ้านเมืองแล้วก็ได้สร้างพระบรมธาตุ สถาปนาเมืองสิบสองนักษัตร หรือกรุงศรีธรรมโศก ฝังรากฐานพระพุทธศาสนาอย่างถาวร จนได้รับเทิดพระเกียรติว่า “พญาศรีธรรมาโศกราช” ภายหลังท่านเป็นเทวดารักษาเมือง สิงสถิตอยู่ ณ รูปจำหลักที่บานประตูไม้ทั้งสองที่ทางขึ้นลานประทักษิณรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชนั่นเอง ส่วนบริวารทั้งสี่ก็เป็นเทวดารักษาเมืองประจำทิศของเมืองเช่นเดียวกัน เมื่อสร้างหลักเมืองแล้วก็ได้อัญเชิญท่านมาสถิต ณ เสาหลักเมืองอันงดงามที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ องค์จตุคามรามเทพและบริวารนี่เองที่ได้มาแสดงความอัศจรรย์ให้ปรากฏด้วยการประทับทรงหรือ”ผ่านร่าง”มาบอกกล่าวให้สร้างหลักเมือง แก้อาถรรพณ์ดวงเมืองที่พวกพราหมณ์ได้ฝังไว้ทำให้บ้านเมืองไม่ปกติสุข ผู้คนแตกแยกแก่งแย่งชิงดีกันหาความสงบสุขไม่ได้

ส่วนเทวดารักษาเมืองโดยรอบศาลหลักเมืองนั้นพลตำรวจโทสรรเพชญ ธรรมาธิกุล อธิบายไว้เป็นสามระดับหรือสามแนว ได้แก่
แนวแรก (ระดับล่าง)เป็นเทวดารักษาทิศคือเทวดารักษาทิศเหนือชื่อท้าวกุเวร เทวดารักษาทิศตะวันออกชื่อท้าวธตรฐ เทวดารักษาทิศใต้ชื่อท้าววิรุฬหก เทวดารักษาทิศตะวันตกได้แก่ท้าววิรูปักษ์
แนวที่สอง (ระดับกลาง)เป็นจตุโลกเทพ คือพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระพรหมเมือง และพระบันดาลเมือง
แนวที่สาม (ระดับสูง) เป็นไปตามคติพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ในจักรวาลของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน คือพระไวโรจนพุทธเจ้าอยู่ตรงกลาง พระอักโษภยพุทธเจ้าอยู่ด้านตะวันออก พระอมิตาภะพุทธเจ้าอยู่ด้านตะวันตก พระรัตนสมภพพุทธเจ้าอยู่ด้านทิศใต้ และพระอโมฆะสิทธิพุทธเจ้าอยู่ด้านเหนือ

การสักการะเทวดารักษาเมืองนครศรีธรรมราชแบบครบสูตร ใช้เครื่องบูชาอันประกอบด้วย
ดอกไม้ 9 สี (หรือ 9 ชนิด หรือ 9 ดอก) ธูป 9 ดอก เทียน 9 เล่ม หมากพลู 9 คำ ยาเส้น 1 หยิบมือ และน้ำจืด 1 แก้ว (หรือ 1 ขวด) รำลึกถึงเทวดารักษาเมืองดังที่กล่าวนามข้างต้น ตั้งจิตอธิษฐานตามใจปรารถนา
 
 

โดย: P_ปรัชญา วันที่: 14 พฤศจิกายน 2548 เวลา:22:10:48 น.  

 
 
 


ตำนานองค์จตุคาม รามเทพ

ตรรกวิทยาของชาวชวากะ
ที่เรียกว่า จตุคามศาสตร์
เชื่อกันว่า นางพญาจันทรา นางพญาพื้นเมือง ทะเลใต้ ราชินีผู้สูงศักดิ์ขององค์ราชันราตะ หรือ พระสุริยะเทพ ซึ่งรวบรวมดินแดนในคาบสมุทรทองคำเข้าเป็นจักรวรรดิ์เดียวกัน
ในพุทธศตวรรษ ที่ 7 พระราชมารดาของเจ้าชายรามเทพ
บรรลุธรรม สำเร็จตรรกศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ ทรงอิทธิฤทธิ์บังคับคลื่นลมร้ายให้สงบได้
ชาวทะเลทั้งหลายกราบไหว้รำลึกถึง
เมื่อออกกลางทะเล เรียกกันว่า แม่ย่านาง ชาวศรีวิชัยให้ความเคารพนับถือเทิดทูน
ฉายานามว่า เจ้าแม่อยู่หัว

เจ้าชายรามเทพได้ศึกษาเล่าเรียนวิชา จตุคามศาสตร์
จากพระราชมารดาจนเจนจบ
แล้วทรงเรียนรู้หลักสัจธรรมทางพุทธศาสนา
เลื่อมใสศรัทธานิกายมหายานอย่างแรงกล้า
มุ่งหน้าสร้างบารมี หวังตรัสรู้เป็นพระโพธิสัตว์
ตั้งปณิธานแน่วแน่ที่จะประกาศธรรมให้มั่นคง
ทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ ทรงอุตสาหะบากบั่นสร้างราชนาวีตามตรรกศาสตร์มหายาน
ที่สามารถแล่นฝ่าคลื่นลมได้รวดเร็วและปลอดภัยบรรทุก
กำลังพลและสัมภาระได้ มากมายมหาศาลเยือนถึงน่านน้ำใด
หลักศาสนา ศิลปอารยะธรรมประดิษฐานมั่นคง
ณ ดินแดนนั้น จนเหล่าราชครูต่างถวาย
นามาภิไธยราชฐานันดร ว่า องค์ ราชันจตุคามรามเทพ

เมื่อพระศรีมหาราชชาวชวากะได้ประกาศสัจธรรมทั่ว
สุวรรณทวีปแล้วจึงได้สร้าง มหาสถูป
เจดีย์ขึ้นที่หาดทรายแก้วและในปลายพุทธศตวรรษที่ 8

องค์ราชันจตุคามรามเทพทรงมานะพยายาม
จนบรรลุธรรมจนบรรลุโพธิญาณ จักรวาลพรหมโพธิสัตว์
ประกอบด้วย บุญฤทธิ์ อิทธิฤทธ อภินิหาร สยบฟ้า สยบดิน
ได้ตามปรารถนา วาจาเป็นประกาศิตเหนือมวลชีวิตทั้งหลาย
ทรงศักดานุภาพเหมือน ดังพระอาทิตย์และ พระจันทร
์ สมญานามตาม ศาสตร์จันทรภาณุ
สาปแช่งศัตรูผู้ใดจะถึงกาลวินาศ
จนเลื่องลือไปทั่วทวีป

ได้รับการถวายนามยกย่องว่า พญาพังพกาฬ
การประกาศชัยชนะที่เด็ดขาดเหนือสุวรรณทวีป
และหมู่เกาะทะเลใต้นี้เปรียบได้กับมหาราชในชมภูทวีป

ดังนั้น พญาโหราบรมครูช่างชาวชวากะ
ได้จำลองรูปมหาบุรุษเป็น อนุสรณ์
ตามอุดมคติศิลปศาสตร์ศรีวิชัย
เรียกว่า ร่างแปลงธรรม รูปสมมุติแห่ง
เทวราชที่มีตัวตนอยู่จริงในโลกมนุษย์
ทรงเครื่องราชขัติยาภรณ์ สี่กร สองเศียร
พรั่งพร้อมด้วยเทพศาสตราวุธ
เพื่อปกป้องอาณาจักรและพุทธจักร
เพื่อเป็นคติธรรมและศิลปะกรรม
ประดิษฐานในทุกหนแห่งในอาณาจักรทะเลใต้
ลูกหลานราชวงศ์ไศเลนทร์ในชั้นหลัง
ได้ถ่ายทอดศิลปะศาสตร์แปลงร่างธรรมเป็น
นารายณ์บรรทมสินธุ์บ้าง อวตารปราบอสูรบ้าง
ตามค่านิยมของท้องถิ่น

จาก หนังสือวัตถุมงคลหลักเมือง นครศรี

ี โดย จักรรัช ธีระกุล

ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

//www.sriganapati.com/index.php?option=com_content&task=view&id=44&Itemid=35
 
 

โดย: P_ปรัชญา วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:22:06:49 น.  

 
 
 
สวัสดีคะ พี่ ปรัชญา หนูสนใจพ่อจตุคาม รามเทพมากๆแต่ว่าไม่ทราบว่าจะไปเช่าที่ไหน?คือหนูอยู่ต่างประเทศคะ ถ้ยังไงหนูอยากติดต่อกับพี่ปรัชญาคะ ที่อยู่เมลล์นะคะ poohk_w@hotmail.com ขอบคุณและสวัสดีคะ.
ปุ๊ก วอลล์.
 
 

โดย: ปุ๊ก. IP: 72.70.126.248 วันที่: 8 กันยายน 2549 เวลา:22:02:02 น.  

 
 
 
ไหนว่าเป็นเรื่องส่วนตัวที่จะเขียน แต่เท่าที่อ่านมันเป็นบทความที่คนอื่นเขียนไว้ แล้วที่บอกว่าได้พระจากคนคอนแล้วทำไมไม่มีการอธิบายอะไรต่อ เห็นมีแต่บทความ อ่านแล้วงง สับสน
 
 

โดย: 11 IP: 61.7.141.27 วันที่: 19 ตุลาคม 2549 เวลา:9:18:17 น.  

 
 
 
ถึงคุณ 11
ไม่ทราบว่าคุณเข้าใจสิ่งที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอบ้างหรือเปล่า?
เท่าที่ดิฉันเข้าใจ
1.เรื่องส่วนตัวที่เจ้าของบบล๊อกจะเขียนน่าจะเป็นความเชื่อ ความนักถือส่วนตัวของเจ้าของบล๊อกเอง
2.สิ่งที่เจ้าของบล๊อกสนใจคือเรื่องราวที่ได้ศึกษามาจากบทความของผู้เขียนท่านนี้ ผู้เขียนคนที่เจ้าของบล็อกนำบทความมานำเสนอ
3.และบทความที่เจ้าของบล๊อกเอามานำเสนอ ก็ขยายความเรื่องพระที่เจ้าของบล๊อกได้มาจากคนนคร มีทั้งประวัติและที่มาของพระองค์นี้ ซึ่งเป็นสิ่งศักสิทธิ์ที่บัดนี้กลายเป็นที่กล่าวขานของชนทั่วไป
จตุคามรามเทพ ในระยะเวลาเกลือบ 10 ปีก่อน ซึ่งยังไม่เป็นที่นิยมของชนทั่วไปมากนัก
 
 

โดย: กรวี IP: 203.113.71.164 วันที่: 15 มกราคม 2550 เวลา:13:53:44 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากครับพี่ปรัชญาสำหรับความรู้ที่หาได้ยากแบบนี้

ให้ผมไปหาอ่านผมคงไม่อ่านแต่เข้ามาแล้วอยากอ่านครับ

 
 

โดย: ปลานิลจิ๋ว IP: 58.8.60.68 วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:9:01:13 น.  

 
 
 

เจ้าของบล็อกมีบุญจัง
 
 

โดย: วัวโง่ (zeda ) วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:14:32:47 น.  

 
 
 
เจ้าของบล๊อก มีบุญจัง ใจบุญด้วย
 
 

โดย: กีกี้ IP: 202.183.197.98 วันที่: 19 เมษายน 2550 เวลา:9:27:23 น.  

 
 
 
เรื่องจตุคามแม่ของหนูก็บูชามา1 องคื
 
 

โดย: จ๋า IP: 125.26.145.180 วันที่: 7 มิถุนายน 2550 เวลา:13:06:32 น.  

 
 
 
ชอบมาก
 
 

โดย: โอ่ง IP: 61.19.205.252 วันที่: 11 มิถุนายน 2550 เวลา:10:44:09 น.  

 
 
 
So Beauttiful
 
 

โดย: JOHN CENA IP: 61.19.205.252 วันที่: 11 มิถุนายน 2550 เวลา:10:47:10 น.  

 
 
 
ผมชอบมาก ชอบที่ขนาดแม่ผมว่าบ้า
 
 

โดย: เจ IP: 203.209.122.178 วันที่: 11 มิถุนายน 2550 เวลา:18:14:13 น.  

 
 
 
เทพเจ้าที่ประเสิรฐที่สุดในโลกข้าขอนับถือ
 
 

โดย: gggg IP: 125.24.192.100 วันที่: 14 มิถุนายน 2550 เวลา:15:33:39 น.  

 
 
 
ขอซักองค์ใด้ใหมครับ
 
 

โดย: คนบ้า จตุคาม IP: 203.113.50.15 วันที่: 24 มิถุนายน 2550 เวลา:14:59:00 น.  

 
 
 
ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้เกียรติมาเยี่ยมชมครับ
พร้อมแนะนำและแสดงความคิดเห็น


***คุณกรวี ได้ให้แนวคิดที่ถูกต้องแล้วครับ ขอบคุณครับ***

ไว้โอกาสหน้าจะนำเสนอห้องพระครับ
คงอีกหลายปี กล้องที่มีอยู่ถ่ายภาพไม่ชัดครับ
รอถอยกล้องก่อน คงปีหน้า
 
 

โดย: P_ปรัชญา วันที่: 1 กรกฎาคม 2550 เวลา:14:57:18 น.  

 
 
 
DD@DD

 
 

โดย: aex IP: 222.123.25.75 วันที่: 4 กรกฎาคม 2550 เวลา:11:49:29 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากๆ
 
 

โดย: MINE IP: 222.123.25.75 วันที่: 4 กรกฎาคม 2550 เวลา:11:50:49 น.  


P_ปรัชญา
 
Location :
ขอนแก่น Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 63 คน [?]




หยิ่ง
กับตัวเองบ้าง
ในบางครั้ง

เบื่อ
ชีวิตความผิดหวัง
ในบางหน

เกลียด
ความไม่จริงใจ
ในบางคน

ยอมทน
คนหยามเหยียดได้
ในบางที


[Add P_ปรัชญา's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com