บุคคลแห่งปี






Site Updated: 16 Jan 2007

เว็บไซต์พาธุรกิจท่องเที่ยวไทยไปต่างแดน

โดย [17-11-2003]




ชาญกิจ ยงปิยะกุล
ผู้จัดการทั่วไป
บริษัท เซอร์เคิล ออฟ เอเชีย จำกัด


เมื่อ SARS กลายเป็นโรคร้ายที่ไม่ได้คลุกคามเพียงมนุษย์เท่านั้น แต่กลับเป็นเชื้อร้ายที่ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวเมืองไทยกลายเป็นอัมพาตไปชั่วขณะ...

Thailand Best Deal โครงการหนึ่งในความร่วมมือระหว่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กับบริษัท เซอร์เคิล ออฟ เอเชีย จำกัดที่เกิดจากแนวคิดง่ายๆ โดยใช้การแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารและรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวกับกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศผ่านสื่อต่างๆ ไปยังนักท่องเที่ยวต่างแดน และหนึ่งในปฏิบัติการครั้งนี้ คือการให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยวผ่าน

//www.thailandbestdeals.com เว็บไซต์ที่รวบรวมเอาข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยวทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมส่งเสริมการขาย, ข้อเสนอพิเศษต่างๆ ทั้งในด้านราคา และผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจมาไว้ในที่เดียวกัน อาทิ โรงแรมที่พัก, ร้านอาหาร, สปา, บัตรโดยสารเครื่องบิน และรายการท่องเที่ยวจากผู้ประกอบการทั่วประเทศ

"โครงการนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากโรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน หรือ SARS ที่ระบาดอย่างหนักในทวีปเอเชียต่อเนื่องกับช่วง low season ส่งผลกระทบต่อธุรกิจสาขาต่างๆ ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างมาก เนื่องจากนักท่องเที่ยวลดจำนวนลงไปอย่างเห็นได้ชัด เราจึงช่วยกันคิดว่า ทำอย่างไรจึงจะดึงนักท่องเที่ยวกลับมาเที่ยวเมืองไทยได้บ้าง ซึ่งบทสรุปหลังจากนั้นก็คือ การทำเว็บไซต์ที่รวบรวมเอาซัพพลายเออร์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวในเมืองไทยมาไว้ด้วยกัน เพื่อจะอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวให้สามารถเข้ามาค้นหาแหล่งท่องเที่ยวที่ถูกใจ เพียงเข้ามาที่เว็บไซต์นี้เพียงเว็บไซต์เดียว" ชาญกิจ ยงปิยะกุล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เซอร์เคิล ออฟ เอเชีย จำกัดเผยถึงที่มาของเว็บไซต์ตัวกลางระหว่างซัพพลายเออร์กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

จุดเด่นของเว็บไซต์ดังกล่าวคือ การนำสินค้า และบริการที่เป็นปัจจุบันและทันสมัยอยู่เสมอ ทั้งทางด้านราคา และข้อมูลสินค้าและบริการ โดยเน้นการใช้งานง่าย และสะดวกสบายในการค้นหาข้อมูล เพียงพิมพ์คำหรือข้อความที่เกี่ยวกับสินค้า หรือสถานท่องเที่ยวที่น่าสนใจ หรือเลือกจากหมวดหมู่ต่างๆ ที่เว็บไซต์กำหนดให้ จากนั้นระบบจะแสดงผลเป็นรายการที่ค้นหา โดยเรียงชื่อผู้ให้บริการตามตัวอักษรที่มีทั้งหมดในเว็บไซต์
จุดด้อยที่มองเห็นทัน

แม้จะเป็นเว็บไซต์ที่มุ่งขายบริการสู่ชาวต่างชาติก็ตาม แต่ความเป็นไทยจึงทำให้เว็บไซต์นี้มี 2 ภาษาเป็นสื่อ ซึ่งส่งผลให้เกิดเป็นความขัดแย้งด้านข้อมูลและความเหมาะสมอย่างที่มองข้ามไม่ได้ นั่นก็คือ สินค้าที่จะนำเสนอสู่ลูกค้านั้น ควรเป็นสินค้าที่เกิดมาจากความต้องการของกลุ่มเป้าหมายด้วยเช่นกัน จุดนี้เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ thailandbestdeals.com มองเห็นและกำลังหาทางแก้ไข

"พฤติกรรมของชาวไทยและชาวต่างชาตินั้นมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นความต้องการในการเลือกซื้อแพ็กเกจการท่องเที่ยว หรือลักษณะการท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นนิสัยประจำชาติ ที่ทำให้เราต้องตั้งเว็บไซต์เพื่อลูกค้าคนไทยที่แยกออกจากกันให้ขาด ตรงนี้เป็นผลสืบเนื่องมาหลังจากที่เราเปิดเว็บไซต์ออกไป นักเที่ยวไทยบางส่วนมองว่า แม้เว็บไซต์จะเป็นภาษาไทย แต่แพ็กเกจต่างๆ นั้นยังเหมาะสำหรับคนต่างชาติมากกว่าคนไทยอยู่ดี ซึ่งเรากำลังหาทางปรับเปลี่ยนกันอยู่" ชาญกิจเผย

นอกจากการนำเสนอข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยวที่น่าสนใจและเป็นปัจจุบันได้อย่างครบถ้วนแล้ว

//www.thailandbestdeals.com ยังเป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ให้บริการด้านธุรกิจท่องเที่ยว และผู้บริโภค เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ประกอบการสามารถประชาสัมพันธ์สินค้าด้านการท่องเที่ยวต่างๆ ผ่านเว็บไซต์นี้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

"ตอนนี้เรามีซัพพลายเออร์ประมาณ 600 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นเอเจนซี่ทัวร์ และเว็บไซต์การท่องเที่ยว ซึ่งหากใครที่อยากเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ

//www.thailandbestdeals.com ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ประกอบการโดยตรงก็ได้ แต่เป็นใครก็ได้ที่มีแพ็กเกจเกี่ยวกับท่องเที่ยว เช่น ดีแทคที่มีส่วนลดเกี่ยวกับการจองโรงแรม ก็สามารถเข้ามาประชาสัมพันธ์แพ็กเกจตนเองได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ" แพร สิริสันต์ หนึ่งในเจ้าของโครงการที่เปิดโอกาสให้ธุรกิจไทยก้าวไกลไปต่างแดนกล่าว
ความต่างที่ดูเหมือนๆ กัน

สำหรับ //www.circleofasia.com ช่องทางธุรกิจของบริษัท เซอร์เคิล ออฟ เอเชีย จำกัด ที่ดูคล้ายๆ จะกลายเป็นคู่แข่งของเว็บไซต์ที่แยกตัวออกมาอย่าง

//www.thailandbestdeals.com นั้น หากมองเผินๆ หลายคนคงคิดว่าเป็นเว็บไซต์รูปแบบเดียวกัน และคงไม่ต่างอะไรกับเว็บไซต์ที่ขายบริการด้านการท่องเที่ยวทั่วๆ ไป

"สำหรับบริษัท เซอร์เคิล ออฟ เอเชียนั้น เราไม่ได้เน้นที่การขายแพ็กเกจเหมือนเว็บไซต์ที่ขายแพ็กเกจการท่องเที่ยวทั่วไป แต่เน้นการให้บริการการท่องเที่ยวที่ครบวงจรมากกว่า ซึ่งมันเป็นอีกตลาดหนึ่งที่ยังไม่มีใครเข้ามาเปรียบเทียบแพ็กเกจต่างๆ ให้แก่นักท่องเที่ยวอย่างที่เซอร์เคิล ออฟ เอเชีย ทำ เพราะเราเชื่อว่ามีนักท่องเที่ยวบางกลุ่มที่ยอมจ่ายเงินมากกว่าเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการที่ดี แต่สำหรับ

//www.thailandbestdeals.com นั้นเราตั้งขึ้นมาโดยจะให้มันเป็น Open Directory Concept ที่ใครจะเข้ามาเป็นหนึ่งในรายการที่จะเสิร์ฟให้นักท่องเที่ยวก็ได้ แต่จะไม่มีการทำธุรกรรมผ่านเว็บไซต์นี้เด็ดขาด ดังนั้นจะเห็นได้ว่า //www.thailandbestdeals.com แทบจะไม่ได้แข่งขันกับใคร หากแต่เป็นเว็บไซต์ที่ให้การสนับสนุนผู้ลงทุนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมากกว่า" ชาญกิจชี้ให้เห็นความแตกต่างด้านแนวคิดของแต่ละเว็บไซต์ในเครือข่ายความรับผิดชอบ

นอกจากทีมงานที่แกร่งด้วยประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจด้านการท่องเที่ยวออนไลน์มาเป็นเวลานานของเซอร์เคิล ออฟ เอเชีย จะมาเป็นพี่เลี้ยงให้เว็บไซต์ thailandbestdeals.com เดินไปอย่างราบรื่นแล้ว เคล็ดลับการเลือกสรรซัพพลายเออร์ยังถูกถ่ายทอดมาเพื่อค้นหาซัพพลายเออร์ดีมีคุณภาพให้แก่เว็บไซต์ thailandbestdeals.com อีกด้วย "คุณสมบัติของซัพพลายเออร์ที่จะมาเป็นส่วนหนึ่งในเว็บไซต์ thailandbestdeals.com นั้น อย่างน้อยที่สุดจะต้องเป็นซัพพลายเออร์ที่เป็นที่รู้จักอยู่บ้าง ด้วยความที่เซอร์เคิล ออฟ เอเชียเป็นเอเจนซี่ด้านการท่องเที่ยวอยู่แล้ว แค่เราเห็นชื่อซัพพลายเออร์ก็พอจะรู้แล้วว่าดีหรือไม่ดี และอีกประการหนึ่งคือ เราสามารถตรวจเช็คได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการเช็คว่าซัพพลายเออร์รายนั้นมีใบอนุญาตจากททท. หรือเป็นสมาชิกของสมาคมโรงแรมแห่งประเทศไทยหรือไม่ เป็นต้น แต่สิ่งที่เราให้ความสำคัญยิ่งกว่านั้นคือ เราต้องรู้ให้ได้ว่าแพ็กเกจที่ซัพพลายเออร์รายต่างๆ ส่งมาให้เราขึ้นหน้าเว็บไซต์ให้นั้น เป็นของจริง ไม่ได้อ้างอิงขึ้นมาลอยๆ" ชาญกิจแนะแนวทางอย่างมืออาชีพ

แม้จะเป็นเว็บไซต์ที่ได้ชื่อว่าใช้ทีมงานเดียวกับเซอร์เคิล ออฟ เอเชียก็ตาม แต่กลับแยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิง โดยที่เซอร์เคิล ออฟ เอเชียยอมรับว่าตัวเองเป็นเพียงซัพพลายเออร์รายหนึ่งของ thailandbestdeals.com เท่านั้น และยังยืนยันที่เป็นส่วนช่วยผลักดันธุรกิจการท่องเที่ยวภายใต้การดำเนินงานที่เป็นกลางกับซัพพลายเออร์ทุกราย ไม่เว้นแม้จะเป็นคู่แข่งของเซอร์เคิล ออฟ เอเชียเอง

"เราจะไม่สนว่าซัพพลายเออร์รายไหนจะเป็นคู่แข่งของเซอร์เคิล ออฟ เอเชียหรือไม่ เพราะ thailandbestdeals.com มุ่งเป็น Directory Pointing ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาในเมืองไทย ซึ่งหากซัพพลายเออร์รายใดทำให้ลูกค้ารู้สึกได้ว่าแพ็กเกจของเขาดีจริง ลูกค้าก็จะกลับไปใช้บริการเอง โดยไม่จำเป็นต้องผ่าน thailandbestdeals.com ก็ได้ เพราะจุดประสงค์ของเราไม่ใช่ตัวเงิน และเราเชื่อว่าสิ่งที่จะได้กลับมานั้นจะสูงกว่าที่คิดด้วยซ้ำ" ชาญกิจหวัง

แม้จะได้รับความร่วมมือจากททท. ทั้งการทำประชาสัมพันธ์แบบ Off line PR ไม่ว่าจะเป็นการเปิดบูธ แจกโบชัวร์ให้ รวมถึงการร่วมมือกับพันธมิตรอย่าง BUG เพื่อประชาสัมพันธ์เว็บไซต์แลกกับข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเป็นตัวเงินก็ตาม แต่ด้วยแนวคิดที่ให้ทั้งพื้นที่ฟรีแก่ซัพพลายเออร์ และข้อมูลดีๆ ที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายแก่นักท่องเที่ยวได้กลายเป็นจุดยืนที่สร้างภาระด้านรายจ่ายนับแสนบาทต่อเดือนให้กับเซอร์เคิล ออฟ เอเชีย จึงเป็นเหตุผลของการแสวงหาช่องทางสร้างรายได้ ไม่ว่าจะเป็นการขายพื้นที่หน้าเว็บ หรือการทำพรีเมี่ยมเซอร์วิสในอนาคต

"แม้การโปรโมตเว็บไซต์ เราจะเน้นการทำออนไลน์มาร์เก็ตติ้ง ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่มากเท่าใด แต่สิ่งที่สำคัญกว่าค่าใช้จ่ายคือ เวลาที่พนักงานของเราที่ทุ่มให้กับเว็บ

thailandbestdeals.com มากกว่า ซึ่งแม้จะมีหลายหน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือ แต่ค่าใช้จ่ายหลักๆ ก็ยังอยู่ในความรับผิดชอบของเซอร์เคิล ออฟ เอเชีย ตอนนี้เราจึงมองหาคนที่จะเข้ามาช่วยสนับสนุนเรื่องค่าใช้จ่ายตรงนี้มากกว่า" ผู้จัดการทั่วไปของเซอร์เคิล ออฟ เอเชียกล่าว

แนวคิดที่ไม่ได้ยึดติดกับผลกำไรที่เป็นตัวเงินครั้งนี้ อาจจะกลายเป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์ที่สร้างวีรบุรุษให้กับวงการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเมืองไทยก็ได้ หากความพยายามครั้งนี้ยังมีคนเห็นคุณค่า

แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดบนหน้าเว็บไซต์ของ thailandbestdeals.com จนเกือบจะเป็นคติเตือนใจให้ได้คิดก็คือ การมองข้ามรายได้ แต่มุ่งสร้างผลกำไรให้กับคนไทยด้วยกันเอง น่าจะเป็นภาพพจน์ดีๆ ที่ทำให้เซอร์เคิล ออฟ เอเชียติดอยู่ในใจใครหลายคน...

บางสิ่งอาจต้องแลกความตั้งใจ ไม่ใช่ตัวเงิน...









 

Create Date : 30 มกราคม 2550   
Last Update : 5 ธันวาคม 2551 8:20:37 น.   
Counter : 1847 Pageviews.  


เงินปันผล กับ ภาษี เขียนโดย คุณธันวา เลาหศิริวงศ์




เขียนโดย คุณธันวา เลาหศิริวงศ์
บทความจาก...www.thaivi.com

ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจกับเรื่องการเสียภาษีรายได้ส่วนบุคคล
ไม่มากนัก ทั้งนี้เนื่องจาก บริษัทที่ทำงานประจำ
ได้คำนวณภาษีจากฐานเงินได้สุทธิและนำภาษีที่หัก ณ. ที่จ่าย
ส่งกรมสรรพกรเป็นประจำทุกเดือน
สิ่งที่ทำก็คือการกรอกรายละเอียดให้ถูกต้อง
และยื่นแบบการเสียภาษีให้ทันช่วงปลายเดือนมีนาคมของทุกๆ ปี



การลงทุนแบบเน้นคุณค่า หรือ value investor นั้น
นอกจากการลงทุนในกิจการที่เห็นว่าต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐาน
เพื่อหวังส่วนต่างของราคาหุ้นในระยะยาวแล้ว
เงินปันผลก็เป็นผลตอบแทนที่นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า
ให้ความสำคัญอย่างมาก
ช่วงเดือนเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคมของทุกปี
จะเป็นช่วงที่นักลงทุนมีความสุขกันทั่วหน้า
เนื่องจากบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ได้ทยอยส่งเช็คเงินปันผล
มาให้ผู้ถือหุ้นทุกคนถึงบ้าน ทั้งนี้จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับผลประกอบการ
และนโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัทนั้น ๆ
ทั้งนี้มีบริษัทจดทะเบียนจำนวนหนึ่งที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล
รายไตรมาส หรือราย 6 เดือน



นักลงทุนจำเป็นจะต้องรู้และเข้าใจเรื่องภาษี
เพราะการจ่ายภาษีอากรให้ถูกต้องและครบถ้วนตามกฎหมายกำหนด
เป็นสิ่งที่ผู้ลงทุนจะต้องถือปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
นอกจากนี้ความเข้าใจเรื่องภาษียังอาจช่วยประหยัดรายจ่ายภาษีได้ด้วย
สำหรับนักลงทุนประเภทบุคคลธรรมดาจะได้รับยกเว้นภาษีสำหรับ
“กำไรจากการขายหลักทรัพย์” หรือ
กำไรส่วนต่างราคาจากการซื้อขายหลักทรัพย์ (capital gain)
ขณะที่ “เงินปันผล” นั้นบริษัทจะหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10
นักลงทุนมีสิทธิเลือกที่จะนำเงินปันผลนั้นมารวมคำนวณ
เพื่อเสียภาษีปลายปีหรือไม่ก็ได้ ซึ่งหากเลือกที่จะนำเงินปันผลนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ปลายปี
กรณีนี้จะได้รับเครดิตภาษีเงินปันผล



เพื่อจะให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นผมจะยกตัวอย่างการคำนวณภาษี
และ การขอเครดิตภาษีเงินปันผล การคำนวณดังกล่าว
เป็นการคำนวณในกรณีที่ผู้ลงทุนไม่มีรายได้อื่น
ดังนั้นฐานภาษีจะอยู่ในระดับต่ำสุด
หากผู้ลงทุนมีรายได้ประจำหรือรายได้อื่น
ต้องนำรายได้ทั้งหมดมารวมกันแล้วจึงคำนวณการเสียภาษี
ในอัตราที่กำหนด ขอยกตัวอย่างดังนี้



เงินปันผลที่ได้รับ 70,000 บาท (1)

หักภาษี ณ.ที่จ่าย 10% 70,000 x 10% = 7,000 บาท (2)

เงินปันผลรับจริง (1) – (2) 70,000 – 7,000 = 63,000 บาท (3)



ขอเครดิตภาษีเงินปันผลได้ 70,000 x 3 / 7 = 30,000 บาท (4) *, **

ภาษีที่ถูกหักไว้ทั้งสิ้น (2) + (4) 7,000 + 30,000 = 37,000 บาท (5)



หากไม่มีรายได้อื่น จะมีรายได้ (1)+(4) 70,000 + 30,000 = 100,000 บาท (6)

หักค่าลดหย่อนส่วนตัว = 30,000 บาท

รายได้เหลือหลังค่าลดหย่อน = 70,000 บาท



เงินได้พึงประเมินต่ำกว่า 80,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ ***, ****



แต่เนื่องจากเงินได้จากเงินปันผลนี้ไม่ใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1)
และมียอดตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป

จึงต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้ร้อยละ 0.5
ของเงินได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย


ในกรณีนี้คือ 100,000 x 0.5% = 500 บาท (7)



ขอเงินภาษีคืนส่วนชำระเกิน (5) – (7)
37,000 – 500 = 36,500 บาท (8)

เงินปันผลได้รับจริง (3)+(8)
63,000 + 36,500 = 99,500 บาท (9)



หมายเหตุ

* บริษัทจดทะเบียนเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30
จึงสามารถขอเครดิตภาษีคืนได้ในอัตรา 3/7
ดังนั้นผู้ที่มีรายได้ที่ต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 37
จะไม่มีโอกาสได้รับประโยชน์จากการของเครดิตภาษีปันผล

** ถือเป็นเงินได้พึงประเมินและให้ถือเป็นภาษีเงินได้ถูกหัก ณ. ที่จ่ายด้วย


*** เงินได้สุทธิ 80,000 บาทแรก
ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตั้งแต่ปีภาษี 2546 เป็นต้นไป



ในตัวอย่างดังข้างต้น เงินปันผลจริงที่ได้รับคือ 99,500 บาท
ไม่ใช่ 63,000 บาทอย่างที่เข้าใจ
หรือสามารถขอเครดิตภาษีปันผลคืนได้ 36,500 บาท
นับว่าไม่น้อยเลย
ตัวอย่างดังกล่าวเป็นการคำนวณสำหรับบริษัทที่เสียภาษีเงินไ
ด้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30
จึงสามารถขอเครดิตภาษีคืนได้ในอัตรา 3/7
หากบริษัทเสียภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 25
ก็จะสามารถขอเครดิตภาษีคืนในอัตราลดลงมาคือ 1/5
หรือมาจาก 25 / ( 100-25) นั่นเอง
อนึ่งสำหรับบริษัทที่ได้สิทธิยกเว้นในการเสียภาษี
เราไม่สามารถนำมาขอเครดิตภาษีเงินปันผลได้
สำหรับผู้ถือหุ้น PTTEP
จะได้ประโยชน์จากการขอเครดิตภาษีเงินปันผลอย่างมากเพราะ PTTEP
เป็นธุรกิจที่ได้รับจากกิจการตามพระราชบัญญัติปิโตเลียม พ.ศ. 2541
ซึ่งเสียภาษีเงินได้นิติลบุคคลในอัตราร้อย 50
นั่นหมายความว่า ผู้ถือหุ้นของ PTTEP
สามารถขอเครดิตเงินภาษีเงินปันผลได้ทั้งจำนวนนั่นเอง



หากจะอธิบายง่าย ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็คือ
มีการเสียภาษีซ้ำซ้อนเนื่องจาก
บริษัทจดทะเบียนที่มีกำไรได้ชำระภาษีนิติบุคคลแล้ว
ขณะที่ผู้ลงทุนนั้นนำเงินปันผลมาคำนวณเสียภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดาอีกครั้งหนึ่ง
ทางการจึงอนุญาตให้นักลงทุนประเภทบุคคลธรรมดา
มีสิทธิเลือกที่จะนำเงินปันผลนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีปลายป
ีเพื่อขอเครดิตภาษีปันผล
ทั้งนี้นักลงทุนที่มีฐานภาษีอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำจะยิ่งได้ประโยชน์มากขึ้น
การขอเครดิตภาษีเงินปันผลนี้จะเป็นประโยชน์มาก
สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้ประจำหรือวัยหลังเกษียณ
เนื่องจากไม่มีฐานภาษีดังตัวอย่างข้างต้น



สำหรับผมนั้น มองข้ามการขอเครดิตภาษีเงินปันผล
มาหลายนาน นับจากนี้อัตราภาษีที่จ่ายของแต่ละบริษัท
ถือเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจลงทุนเนื่องจากผลประโยชน์
เพิ่มเติมจากการขอเครดิตภาษีเงินปันผลดังกล่าว
คำถามก็คงอยู่ที่ว่า ท่านพร้อมที่จะให้ความสนใจ
กับผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับนี้
หรือยังคงละเลยผลประโยชน์ส่วนนี้ต่อไปอีก

คัดลอกไว้เมื่อปี2547
มีข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ thanwa@hotmail.com

_____________________________________________________________



ทรีคอมจับมือไอบีเอ็มเปิดตัวแพลตฟอร์มแรกของวงการไอทีสู่ตลาด การใช้โทรศัพท์ไอพีในระบบ System i ของไอบีเอ็ม ร่วมกับโปรแกรมเฉพาะทางธุรกิจ

ผู้นำในการให้บริการโซลูชันเครือข่ายเสียงและข้อมูลที่ปลอดภัย
ร่วมกับบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด
เปิดตัวแพลตฟอร์มแรกของวงการไอที รวมโซลูชันโทรศัพท์ไอพี
กับอีเมล์, การรับ-ส่งข้อความ และโปรแกรมเฉพาะของธุรกิจเข้าไว้ด้วยกัน
ซึ่งมั่นใจในความปลอดภัยของข้อมูลได้สูง
โดย System i Integrated Collaboration
รวมเอาความสามารถในการสื่อสารรูปแบบต่างๆ ไว้ด้วยกัน
เพื่อช่วยให้ลูกค้าที่ใช้งานสามารถลดต้นทุน
เพิ่มประสิทธิภาพ และลดขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน
โซลูชันนี้ทำงานบนแพลตฟอร์มเดียวกันที่ชื่อ System i
จึงทำให้จัดการระบบได้ง่าย
และประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าเมื่อเทียบกับระบบอื่น
ที่ทำงานบนวินโดวส์ ซึ่งต้องใช้เครื่องแม่ข่ายหลายเครื่องในการทำงาน

คำบรรยายภาพ: คุณชิงชัย เมฆทิพย์พาชัย (ซ้าย)
ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ทรีคอม (ประเทศไทย) จำกัด

และคุณธันวา เลาหศิริวงศ์ (ขวา)
กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานระบบเทคโนโลยีธุรกิจ
บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย สองบังเหียนใหญ่ในวงการไอทีร่วมกันประกาศความร่วมมือ
เปิดตัวแพลตฟอร์มแรกของวงการ ที่ผสานการใช้โทรศัพท์ไอพี
กับโปรแกรมเฉพาะทางธุรกิจบนแพลตฟอร์ม System i
ของไอบีเอ็มสู่ตลาดระดับกลางขึ้นไป
____________________________________________________________



BarBQ Plaza ready for competition


BarBQ Plaza ready for competition


21 สิงหาคม 2550 ….
บาร์บีคิวพลาซ่าร่วมมือกับไอบีเอ็ม บริษัท เจเอสจี จำกัด และ

บริษัท เมโทรซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด

สองบริษัทคู่ค้าสำคัญของไอบีเอ็ม
ปรับเปลี่ยนระบบงานทั้งขั้นตอนการดำเนินธุรกิจและระบบไอที
ให้ทำงานเชื่อม ต่อกันตั้งแต่หน้าร้านตามสาขาไปจนถึงระบบหลังบ้าน
ได้แก่ ระบบการวางแผนการผลิตอาหาร ระบบบริหารสต็อกวัตถุดิบ
ระบบบริหารงานบัญชี ระบบบริหารงานสั่งซื้อ ระบบบริหารงานขายและบริการ
เป็นต้น ระบบงานใหม่นี้จะช่วยให้บาร์บีคิวพลาซ่าสามารถบริหารวัตถุดิบที่เป็น
อาหารสด หมดอายุเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถจัดส่งไปตาม
สาขาต่างๆ ได้ทันเวลาขณะเดียวกัน ร้านยังสามารถจัดเก็บข้อมูลการขายเพื่อ
ใช้วางแผนการขายในแต่ละช่วงเวลาได้ โครงสร้างไอทีครั้งใหญ่นี้จะช่วยให้
บาร์บีคิวพลาซ่าสามารถปรับปรุงคุณภาพ และความรวดเร็วในการให้บริการ
ลูกค้าใน 60 กว่าสาขาทั่วประเทศ ในระยะยาว
บาร์บีคิวพลาซ่ายังสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
กับเชนร้านอาหาร สากลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(จากซ้าย) คุณธันวา เลาหศิริวงศ์
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจ Systems and Technology Group
บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด

คุณชูพงศ์ ชูพจน์เจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอะบาร์บีคิว พลาซ่า จำกัด

มร.อนิล อดิทยา ประธารกรรมการบริหาร บริษัท เจเอสจี จำกัด

และคุณกิตติ เตชะทวีกิจกุล กรรมการบริหาร

บริษัท เมโทรซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ประกาศที่จะติดตั้ง IBM System i520 เป็นระบบแม่ข่ายในการบริหารงาน
หลังบ้านทั้งหมดและเชื่อมต่อไปยังร้านสาขา ต่างๆ ทั่วประเทศ
และถือเป็นโครงการแรกในภูมิภาคอาเซียนที่ไอบีเอ็มติดตั้ง
KOBI บน IBM System i520 เพื่อลดเวลาและเพิ่มความสะดวก
ในการติดตั้งซอฟท์แวร์ SAP รองรับงานบริหารทรัพยากรภายในองค์กร
โดยมีเจเอสจีและเมโทรซิสเต็มส์ ให้คำปรึกษาและติดตั้งระบบเพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการบริหารงานและการ จัดการขบวนการทำงานภายในทั้งหมด
บาร์บีคิวพลาซ่าตั้งเป้าว่า ระบบใหม่จะช่วยลดต้นทุนในการบริหารและ
เพิ่มประสิทธิภาพในการบริการให้ดี ยิ่งขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของ
ตลาดและพร้อมทั้งเพิ่มศักยภาพในการ แข่งขันให้สูงยิ่งขึ้น
โดยที่ระบบต้องมีศักยภาพรองรับงานที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ตามปริมาณการขาย ที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา
ที่สำคัญ ระบบจะต้องมีเสถียรภาพสูง เชื่อถือได้
เพราะเป็นระบบงานส่วนกลางที่บริหารงานหลังบ้านทั้งหมด
และเชื่อมต่อไปยัง ร้านสาขาต่างๆ ทั่วประเทศ.
_____________________________________________________________________



ปีที่ 58 ฉบับที่ 18152 วันพุธ ที่ 3 ตุลาคม 2550

ไอบีเอ็มไทยแต่งตั้งเอ็มดีคนใหม่ [3 ต.ค. 50 - 05:58]



นายออง ฮุนเมง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไอบีเอ็ม ภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า
ไอบีเอ็มได้ประกาศแต่งตั้งนายธันวา เลาหศิริวงศ์
ขึ้นดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด

แทนนางศุภจี สุธรรมพันธุ์ ที่ขึ้นรับตำแหน่งรองประธานไอบีเอ็ม
ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ประจำภูมิภาคอาเซียน มีผลตั้งแต่วันที่ 2 ต.ค.2550
โดยนายธันวาเป็นผู้บริหารระดับสูงของไอบีเอ็มที่มีประสบการณ์ แรงบันดาลใจ และความมุ่งมั่นสูง
มีความสามารถในการวางกลยุทธ์ด้านบริหารธุรกิจและทำงานใกล้ชิดกับลูกค้ามาโดยตลอด

ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไอบีเอ็ม ภูมิภาคอาเซียน กล่าวต่อว่า
จากผลงานที่น่าประทับใจมากมายที่นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ กก.ผจก.ใหญ่คนก่อนทำไว้
ตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนี้ ได้ปูรากฐานที่มั่นคงให้กับธุรกิจของไอบีเอ็มในอนาคตเป็นอย่างดี
หน้าที่ต่อจากนี้ไปของนายธันวา คือ
การนำไอบีเอ็มก้าวต่อไปข้างหน้าควบคู่ไปกับการสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจใหม่ๆ
เพื่อให้ลูกค้าของไอบีเอ็มประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ระยะเวลา 4 ปีครึ่งที่ผ่านมา
นางศุภจีเป็นกำลังสำคัญในการสร้างเสริมความแข็งแกร่งให้ไอบีเอ็ม
ก้าวสู่ความเป็นองค์กรชั้นนำในประเทศ

นายฮุนเมง กล่าวอีกว่า
ด้วยเป้าหมายและการดำเนินธุรกิจที่มุ่งมั่นสู่การนำเสนอสิ่งที่มีคุณค่าให้แก่ลูกค้า
ไม่ว่าจะเป็นองค์การขนาดใหญ่ หรือ เอสเอ็มอี
อีกทั้งยังสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรด้านการศึกษาในโครงการสำคัญต่างๆ
เช่น ผลักดันการสร้างสรรนวตกรรมแห่งชาติ และ
ริเริ่มระบบการศึกษาด้าน Service Science, Management and Engineering หรือ SSME
เป็นต้น นอกจากนี้ ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ยังได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในบริษัทที่น่าทำงานด้วย
จากนิตยสารอีคอมเมอร์สในปี 2549
และได้รับโหวตให้เป็น 1 ใน 10 องค์กรยอดนิยม ปี 2550 จากนิตยสารโพสิชั่นนิ่ง

“นายธันวาจะรับผิดชอบธุรกิจทั้งหมดของไอบีเอ็มในประเทศไทย
รวมถึงการขายและจัดจำหน่ายทั้งหมด เทคโนโลยี การบริหารจัดการ
ธุรกิจโกลบอลไฟแนนซิ่ง และหน่วนงานด้านบริการ IBM Solution Delivery
การแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงทั้งสองตำแหน่งในครั้งนี้
พิสูจน์ให้เห็นถึงศักยภาพของไอบีเอ็มในการสร้างบุคคลากรระดับมันสมองให้กับองค์กร
ภาระกิจที่นายธันวาและนางศุภจีได้รับมอบหมายเป็นภาระกิจที่สำคัญยิ่งต่อการเติบโต
ของธุรกิจไอบีเอ็มในภูมิภาคอาเซียน” ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไอบีเอ็ม ภูมิภาคอาเซียน กล่าว
_____________________________________________________________________


ไอบีเอ็มตั้ง“ธันวา”นั่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ดันศุภจีขึ้นรองประธานไอบีเอ็ม SME อาเซียน

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 3 ตุลาคม 2550 13:47 น.

ไอบีเอ็ม ประกาศแต่งตั้ง“ธันวา เลาหศิริวงศ์” ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด แทน “ศุภจี สุธรรมพันธุ์” ที่เลื่อนขึ้นรับตำแหน่ง รองประธานไอบีเอ็ม ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ประจำภูมิภาคอาเซียน มีผลตั้งแต่วันนี้

นาย อองฮุนเมง ผู้จัดการทั่วไป ไอบีเอ็มภูมิภาคอาเซียน
กล่าวว่า “ธันวา” เป็นผู้บริหารระดับสูงของไอบีเอ็มที่มีประสบการณ์
มีความสามารถในการวางกลยุทธ์ด้านบริหารธุรกิจและทำงานใกล้ชิดกับลูกค้ามาโดยตลอด
ผลงานที่น่าประทับใจที่ “ศุภจี”

ทำไว้ตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งผู้นำขององค์กรนี้จะเป็นการปูรากฐานที่มั่นคง
ให้กับธุรกิจของไอบีเอ็มในอนาคตเป็นอย่างดี หน้าที่ต่อจากนี้ไปของ “ธันวา”
คือการนำไอบีเอ็มก้าวต่อไปข้างหน้าควบคู่ไปกับการสร้างนวตกรรมทางธุรกิจใหม่ๆ
เพื่อให้ลูกค้าของไอบีเอ็มประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน

ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ “ธันวา”
จะรับผิดชอบธุรกิจทั้งหมดของไอบีเอ็มในประเทศไทย
ซึ่งรวมถึงการขายและจัดจำหน่ายทั้งหมด เทคโนโลยี
การบริหารจัดการ ธุรกิจโกลบอลไฟแนนซิ่ง
และหน่วนงานด้านบริการ IBM Solu



ธันวา เลาหศิริวงศ์

ธันวา กล่าวว่า " รู้สึกตื่นเต้นที่ได้มีโอกาสเป็นผู้นำองค์กรนี้ ภาระกิจที่สำคัญยิ่ง
คือ การได้มีส่วนช่วยให้ลูกค้าของเราประสบความสำเร็จ "

เมื่อเดือนมีนาคม 2550 นายธันวา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่
ธุรกิจคอมพิวเตอร์ และในไตรมาสที่ 2 นี้เอง
ไอบีเอ็มสามารถครองอันดับหนึ่งตลาดเซิร์ฟเวอร์โดยรวมของประเทศไทย
ตามรายงานของไอดีซี ธันวามีประสบการณ์มากมายจากการทำงานและเป็นผู้นำส่วนธุรกิจต่างๆ
ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาคตลอดระยะเวลา 18 ปีในไอบีเอ็ม
ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายขาย การตลาด ส่งเสริมการขาย การเงินและธุรการ
รวมถึงการรับมอบภาระกิจไปทำงานในต่างประเทศ 2
ครั้งซึ่งช่วยให้สามารถเข้าใจการทำงานในหลากหลาย
วัฒนธรรมและความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกันไป

ระยะเวลา 4 ปีครึ่งที่ผ่านมา “ศุภจี” เป็นกำลังสำคัญในการสร้างเสริมความแข็งแกร่งให้ไอบีเอ็ม
สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานภาครัฐและองค์กร ด้านการศึกษาในโครงการสำคัญต่างๆ
ตัวอย่างเช่น ผลักดันการสร้างสรรนวตกรรมแห่งชาติ
และ ริเริ่มระบบการศึกษาด้าน Service Science, Management and Engineering
หรือ SSME เป็นต้น

Company Related Links
IBM
//www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9500000116840
______________________________________________________________________



ไอบีเอ็มตั้งเอ็มดีไทยคนใหม่ ดัน “ศุภจี”คุมอาเซียน

โดย eWEEK
อัพเดต 2 ตุลาคม 2007 เวลา 17:14 น.





ไอบีเอ็ม ประกาศแต่งตั้ง ธันวา เลาหศิริวงศ์ ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่
บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด
แทน ศุภจี สุธรรมพันธุ์ ซึ่งขึ้นรับตำแหน่งรองประธานไอบีเอ็ม
ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ประจำภูมิภาคอาเซียน
โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2550 เป็นต้นไป

อองฮุนเมง ผู้จัดการทั่วไป ไอบีเอ็มภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า
“ธันวาเป็นผู้บริหารระดับสูงของไอบีเอ็มที่มีประสบการณ์ แรงบันดาลใจและความมุ่งมั่นสูง
มีความสามารถในการวางกลยุทธ์ด้านบริหารธุรกิจและทำงานใกล้ชิดกับลูกค้ามาโดยตลอด
ผลงานที่น่าประทับใจมากมายที่ คุณศุภจีทำไว้ตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งผู้นำขององค์กรนี้
ได้ปูรากฐานที่มั่นคงให้กับธุรกิจของไอบีเอ็มในอนาคตเป็นอย่างดี
หน้าที่ต่อจากนี้ไปของคุณธันวาคือการนำไอบีเอ็มก้าวต่อไปข้างหน้า ้ควบคู่ไปกับการสร้างนวตกรรมทางธุรกิจใหม่ๆ
เพื่อให้ลูกค้าของไอบีเอ็มประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน”

โดยในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่นั้น
จะรับผิดชอบธุรกิจทั้งหมดของไอบีเอ็มในประเทศไทย
ซึ่งรวมถึงการขายและจัดจำหน่ายทั้งหมด เทคโนโลยี
การบริหารจัดการ ธุรกิจโกลบอลไฟแนนซิ่ง
และหน่วนงานด้านบริการ IBM Solution Delivery



ธันวากล่าวว่า “นับเป็นเกียรติอย่างสูงที่ได้รับการแต่งตั้งในครั้งนี้
ผมรู้สึกตื่นเต้นที่ได้มีโอกาสเป็นผู้นำองค์กรนี้ไปสู่อีกหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของไอบีเอ็ม
ประเทศไทย ภาระกิจที่สำคัญยิ่ง คือ การได้มีส่วนช่วยให้ลูกค้าของเราประสบความสำเร็จ”

ทั้งนี้เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมานั้น ธันวา เพิ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่
ธุรกิจคอมพิวเตอร์ และในไตรมาสที่ 2 นี้เองไอบีเอ็มสามารถครองอันดับหนึ่ง
ตลาดเซิร์ฟเวอร์โดยรวมของประเทศไทยตามรายงานของไอดีซี

จากประสบการณ์มากมายในการทำงานและเป็นผู้นำส่วนธุรกิจต่างๆ
ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาคตลอดระยะเวลา 18 ปีในไอบีเอ็ม
ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายขาย การตลาด ส่งเสริมการขาย การเงินและธุรการ
รวมถึงการรับมอบภาระกิจไปทำงานในต่างประเทศ 2 ครั้ง
ซึ่งช่วยให้สามารถเข้าใจการทำงานในหลากหลายวัฒนธรรมและความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกันไป



ส่วนทางด้าน ศุภจีนั้น ระยะเวลา 4 ปีครึ่งที่ผ่านมา
จัดว่าเป็นกำลังสำคัญในการสร้างเสริมความแข็งแกร่งให้ไอบีเอ็มก้าวสู่ความเป็นองค์กร
ชั้นนำในประเทศ ด้วยเป้าหมายและการดำเนินธุรกิจที่มุ่งมั่นสู่การนำเสนอสิ่งที่
มีคุณค่าให้แก่ลูกค้าไม่ว่าจะเป็นองค์การขนาดใหญ่หรือธุรกิจเอส เอ็มอี
อีกทั้งยังสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรด้านการศึกษาในโครงการสำคัญต่างๆ
ตัวอย่างเช่น ผลักดันการสร้างสรรนวตกรรมแห่งชาติ และ
ริเริ่มระบบการศึกษาด้าน Service Science, Management and Engineering
หรือ SSME เป็นต้น

“การแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงทั้งสองตำแหน่งในวันนี้
พิสูจน์ให้เห็นถึงศักยภาพของไอบีเอ็มในการสร้างบุคคลากรระดับมันสมองให้กับองค์กร
ภาระกิจที่คุณธันวาและคุณศุภจีได้รับมอบหมายเป็นภาระกิจที่สำคัญ
ยิ่งต่อการเติบโตของธุรกิจไอบีเอ็มในภูมิภาคอาเซียน” ฮุนเมงกล่าวเสริม
______________________________________________________________________

ขอแสดงความยินดี คุณธันวา เลาหศิริวงศ์
ได้รับความไว้วางใจจากบริษัท IBM

มอบตำแหน่งงาน เป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กร
ลงบันทึก 3 ตุลาคม พ.ศ 2550
_______________________________________________________________________



ยักษ์สีฟ้าเดินเครื่องบุก ตลาดภาครัฐ-เอสเอ็มอี

26 ตุลาคม พ.ศ. 2550 10:22:00

เอ็มดีใหม่ยักษ์สีฟ้า ลั่นขอรักษาตลาดอันดับหนึ่ง งัดกลยุทธ์มัดใจพันธมิตร
พร้อมเสริมทัพตลาดเอสเอ็มอี - ภาครัฐ เชื่อเลือกตั้ง
สร้างความมั่นใจเอกชนลงทุนไอทีต่อเนื่อง หวังรัฐบาลใหม่สานต่อพัฒนาคนไอที

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :
นายธันวา เลาหศิริวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด
กล่าวว่าบริษัทจะมุ่งขยายธุรกิจตลาดวิสาหกิจขนาดกลางและเล็กและตลาดภาครัฐให้มากขึ้น

เขามองว่า เอสเอ็มอี เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ เติบโตสูง
และยังไม่มีผู้ค้าไอทีรายใดครองตลาดนี้ชัดเจน ซึ่งต้นปีที่ผ่านมา
บริษัทได้ตั้งทีมวอลุ่ม บิซิเนส ยูนิต รับผิดชอบการทำตลาดนี้แล้ว
และจะนำเสนอโซลูชั่นที่รวมฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการราคาพิเศษ
พร้อมโปรแกรมทางการเงิน เพื่อสร้างแรงจูงใจการซื้อให้มากและต่อเนื่อง

ที่สำคัญจะทำงานกับพันธมิตรธุรกิจที่กระจายกว่า 500 ราย
นำเสนอโปรแกรมจูงใจคู่ค้าให้ขายโซลูชั่นของบริษัทต่อเนื่องมากกว่าเดิม
และใช้ทีมเปิดการขายผ่านทางโทรศัพท์ คาดว่าจะสามารถสร้างรายได้กลุ่มนี้ให้เติบโตมากกว่าเลขสองหลัก
พร้อมๆ กับสัดส่วนรายได้จากเอสเอ็มอีให้ถึง 50% ของรายได้เท่าสัดส่วนของบริษัทแม่ด้วย

ขณะที่ตลาดภาครัฐ บริษัทมีสัดส่วนรายได้จากกลุ่มนี้ไม่มาก
ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มองค์กรขนาดใหญ่ ทั้งธุรกิจการเงินธนาคาร ค้าปลีก สื่อสาร โรงพยาบาล

นอกจากนั้น จะรักษาฐานธุรกิจที่เป็นที่ 1 และสร้างช่องว่างให้ห่างจากคู่แข่ง
เฉพาะตลาดเครื่องแม่ข่ายที่ใช้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ที่ต้องเพิ่มส่วนแบ่งขึ้น
แม้ปัจจุบันจะเป็นที่ 1 แต่ไม่ต่อเนื่องทุกไตรมาส และจะเสนอการใช้งานลินิกซ์บนเครื่องเมนเฟรม

ทั้งยังคงจุดขายการเสนอ นวัตกรรมใหม่ๆ
ที่ช่วยให้ลูกค้าสร้างความแตกต่างทางการแข่งขันผ่านสินค้าและบริการที่มีอยู่
ด้วยราคาที่คุ้มค่าต่อการลงทุน พร้อมๆ กับการทำโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

"ยอมรับว่าการสานต่อธุรกิจให้เติบโตเช่นเดียวกับกรรมการผู้จัดการคนเก่าเป็นเรื่องที่ท้าทาย
ทั้งยังมีปัจจัยการเมืองและเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน กระนั้นส่วนตัวแล้ว
เชื่อว่าการทำงานเป็นทีม และเชื่อมั่นในศักยภาพของผู้ร่วมงาน และพัฒนาศักยภาพบุคลากร
เมื่อบวกกับการโฟกัสทางธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตสูง และความหลากหลายในพอร์ตโฟลิโอของสินค้า
บริการที่มีอยู่ ก็จะทำให้บริษัทเติบโตสูงกว่าการเติบโตของอุตสาหกรรมได้" นายธันวา กล่าว

เขา ยังมองด้วยว่า การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น จะสร้างความมั่นใจให้กับองค์กรธุรกิจที่จะลงทุนไอทีอีกครั้ง
และหวังว่า รัฐบาลใหม่จะสานต่อโครงการขนาดใหญ่ที่มีอยู่เพื่อให้มีเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ
รวมถึงการสานต่อการพัฒนาบุคลากรด้านไอทีเพื่อที่จะส่งออกแรงงานที่มีทักษะ
และสร้างศักยภาพการแข่งขันให้แก่ประเทศได้
______________________________________________________________________





Memo to the ICT's Minister : พัฒนาบุคลากรไอทีเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน
ส่งเรื่อง โดย admin เปิด 2007/11/2 18:00:00


ธันวา เลาหศิริวงศ์
กรรมการผู้จัดการบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด

หวังว่าหลังการเลือกตั้งจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลเป็นรูปเป็นร่าง และจะทำให้เศรษฐกิจไม่อยู่ในภาวะชะลอตัว
เนื่องจากปัจจุบันโครงการภาครัฐหลายอย่างไม่เกิด พอไม่เกิดก็ไม่มีการลงทุน
ไม่มีการสร้างงาน เป็นลูกโซ่อยู่อย่างนี้ จึงอยากให้ปัจจัยแวดล้อมเหลือนี้นิ่ง
เพราะศักยภาพการแข่งขันของประเทศเองขึ้นอยู่กับตรงนี้ คนที่เกี่ยวข้องต้องพยายามเพื่อที่จะเดินหน้าต่อ

การเลือกตั้งที่เกิดขึ้น จะสร้างความมั่นใจให้กับองค์กรธุรกิจที่จะลงทุนทางไอซีทีอีกครั้ง
และหวังว่ารัฐบาลใหม่จะสานต่อโครงการขนาดใหญ่ที่มีอยู่เพื่อให้มีเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ
รวมถึงการสร้างบุคลากรทางด้านไอทีเป็นสิ่งสำคัญ ในช่วงแรกอาจจะรับการถ่ายทอดจากที่อื่นก่อน
แล้วค่อยพัฒนาทักษะไปเรื่อยๆ จนเชี่ยวชาญ
ถึงเวลานั้นประเทศไทยควรจะมีโปรเจ็คในการทำงานนอกประเทศ หรือ Outsourcing บ้าง
ซึ่งประเทศอื่นๆในแถบนี้ เช่น อินเดียเขาก็ส่งออกให้บุคลากรด้านไอทีของเขาไปทำงานนอกประเทศกันมาก
เราควรจะพัฒนาให้ทันเพื่อที่จะส่งออกแรงงานที่มีทักษะเพื่อสร้างศักยภาพการแข่งขันให้แก่ประเทศ

ในส่วนตนเองคิดว่า บิสซิเนส โมเดลที่จะเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 องค์กรต่างๆ จะต้องพิจารณาใน 3 ส่วน
คือ 1.Economic Values ที่มีความคุ้มค่าและเหมาะสมในการดำเนินงาน
2.Expertise ที่ต้องพิจารณาในเรื่องของความรู้ ความเชี่ยวชาญ ทักษะ
ที่ของตัวเองว่าเหมาะสมกับการที่จะต้องทำอะไร
3 Business Environments ซึ่งการทำธุรกิจจะเปิดมากขึ้น ทำให้ลดกำแพงภาษีลงได้
และทั้ง 3 ส่วนก็เป็นที่เรื่องที่ไอบีเอ็มพิจารณาเช่นกัน เพราะเชื่อว่าจะเป็นตัวกำหนดอนาคตขององค์กร

ขณะเดียวกันสิ่งที่ไอบีเอ็มจะทำยุคศตวรรษที่ 21 คือ
1.มุ่งเน้นการเป็นพันธมิตรชั้นนำของบริษัทในประเทศควบคู่กับการสร้างองค์กรให้เป็นบริษัทที่มีประสิทธิภาพ
ระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นพันธมิตรชั้นนำทางธุรกิจ (Be the Partner of Choice)
ซึ่งไอบีเอ็มมีความพร้อมทั้งด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ๆ ตลอดจนทักษะ
ความรู้ความสามารถของพนักงานไอบีเอ็ม ที่พร้อมจะนำจุดแข็งที่มีอยู่ไปสนับสนุน สร้างคุณค่า
ให้คำปรึกษาและให้บริการแก่องค์กรธุรกิจไทยให้ก้าวสู่ความสำเร็จทางธุรกิจ
_____________________________________________________________________

2.สร้างเสริมศักยภาพบุคลากรในองค์กรให้เป็นมืออาชีพอย่างแท้จริง (Be the Employer of Choice) ที่ให้ความสำคัญกับพนักงานในองค์กรมาโดยตลอด และยังคงยึดมั่นในหลักการเหล่านี้ต่อไป ซึ่งการพัฒนาบุคลากรของบริษัทให้ทรัพยากรบุคคลแห่งศตวรรษที่ 21 เป็นภารกิจที่สำคัญในโลกธุรกิจแบบ Globally Integrated Enterprise ที่มองโลกธุรกิจเป็นผืนเดียวกัน

3.การสนับสนุนช่วยเหลือประเทศและสังคม (Be a good corporate Citizen) ที่ไอบีเอ็มยึดมั่นมาตลอดการดำเนินธุรกิจในไทยมานานกว่า 55 ปี ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ยึดมั่นเรื่องการประกอบธุรกิจอย่างด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม และทำกิจกรรมส่งเสริม ช่วยเหลือสังคมไทย ทั้งด้านการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของเยาวชนของชาติ ส่งเสริมศิลปะ วัฒนธรรม สร้างเสริมอาชีพมาโดยตลอด หรือ แม้กระทั่งการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทักษะของบุคลากรของบริษัทฯ เข้าร่วมโครงการสำคัญๆ ของหน่วยงานของรัฐด้วย





 

Create Date : 19 มกราคม 2550   
Last Update : 27 กันยายน 2556 23:35:47 น.   
Counter : 3018 Pageviews.  


หลักการ+หลักเกิน เขียนโดย ปรัชญา ฤกษ์ดีทวีทรัพย์

(เปิดอ่านผ่านโปรแกรม Google chrome )




เขียนโดย ปรัชญา

_______________________________________________________
หากคิดจะเข้ามาลงทุน ในตลาดหุ้น ต้องมีหลักการ+หลักเกิน
รู้จัก ค้นหาหุ้น เลือกหุ้น คัดหุ้น
(เหมือนหาปลา จับปลา เลือกปลาตัวใหญ่ๆขนาดเหมาะๆ)

การที่คน คนหนึ่งคิดถึงการหาหุ้น เพื่อลงทุน

ผมก็เปรียบเหมือนการ หาจับปลา ของชาวประมง
ที่ต้องออกเรือหาปลามาขายเพื่อการยังชีพ
คาดหวังว่า ในอนาคตจะได้ยกระดับคุณภาพชีวิตให้อยู่ดีกินดีได้ระดับหนึ่ง
ยอมลำบาก ตรากตรำเหน็ดเหนื่อยยามนี้ ขณะที่ยังพอมีเรื่ยวแรง
มีเวลาที่จะต่อสู้ดิ้นรน (ก็เราไม่ได้คาบช้อนเงินช้อนทองฝังเพชรมาเกิดนี่นา)
จึงควรค้นคว้า ใฝ่หา เสาะแสวงไป
เมื่อยามร่างกายจิตวิญญาณ ทุนทรัพย์มีพร้อม


เริ่มต้น ต้องหาอุปกรณ์จับปลา(แหอวน...ในนิยามนี้เปรียบ หลักการ)

เลือก เรือออกทะเล (เรือ ในนิยามนี้เปรียบ หลักเกิน)

ต้องหาเรือที่ดี หางเสือต้องเที่ยงตรง
สามารถบังคับใช้ได้ตามมาตรฐาน มั่นคงแข็งแรง
สามารถพาเจ้าของเรือ ฝ่าคลื่นลมพายุไปและกลับ ได้ตลอดรอดฝั่ง

แม้เกิดเหตุคลื่นลม พายุร้าย ุมรสุมที่โหมกระหน่ำมาทุกทิศทาง
(คลื่นลมคือความไม่แน่นอน)

มองหาโอกาส จังหว่ะที่ดียามคลื่นลมสงบ
เหมือนมองหาหุ้น ที่ราคาต่ำกว่าผลการดำเนินงาน
แปลว่าราคาหุ้นต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ต่ำกว่าความเป็นจริง
เห็นก่อน ซื้อก่อน

และบางครั้งก็ต้องขายก่อน (เมื่อปัจจัยพื้นฐานเปลี่ยน ตามเหตุการณ์)

_____________________________________________________________






การเลือกหุ้น

โดยส่วนตัว ก็จะเริ่มมองที่

1.อุตสาหกรรม
2.แนวโน้ม
3.หุ้นเติบโต
4.ความโปร่งใส ธรรมาภิบาลผู้บริหาร+เจ้าของบริษัท
5.คาดหวังผลตอบแทนเงินปันผล ระยะ1-3ปี


______________________________________________________________



อุตสาหกรรม

แต่ละอุตสาหกรรม จะมีรอบของการขึ้นและการลง
ในแต่ละช่วงเวลา อาจจะ3ปี 5ปี หรือ10ปี
ซึ่งการชอบของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน แล้วแต่การได้รับข้อมูล

_____________________________________________________________


แนวโน้ม

คำนี้ดูความหมายมันค่อนข้างกว้างใหญ่ พอควร
ซึ่งเป็นความเข้าใจของแต่ละคน ปรับเปลี่ยนบ้างเพื่อทันต่อเหตุการณ์

______________________________________________________

หุ้นเติบโต

เป็นหุ้นที่เติบโตเร็วกว่าอัตราเงินเฟ้อ
เมื่อผลประกอบการออกมา การทำกำไรได้เพิ่มขึ้น
ราคาต่อหุ้นก็จะสะท้อนตาม ความเป็นจริง

ส่วนตัวคิดว่า...ราคาหุ้นต้องอิงผลประกอบการ
ราคาหุ้นต้องอิงความเป็นจริงของปัจจุบัน หรือความหวังในอนาคต

_______________________________________________________

ความโปร่งใส ธรรมาภิบาลผู้บริหาร+เจ้าของบริษัท

คำพูดบอกภาษา ประวัติและนามสกุลก็สามารถตรวจสอบ
ได้ระดับหนึ่ง ตลอดจนถึงพฤติกรรมที่ผ่านมาในอดีต
ควรหลีกเลี่ยง ความเสี่ยง โดยไม่จำเป็น

_____________________________________________________


คาดหวังผลตอบแทนเงินปันผล ระยะ1-3ปี

การคาดหวังในที่นี้ คืออัตราผลตอบแทนในเงินปันผล
เริ่มต้นปีแรก ควรได้มากกว่า5% ของราคาหุ้น
โดยอ้างอิงผลประกอบการ งบการเงินและอื่นๆ
เป็นตาข่ายดัก กรอง คัด แยก เลือก....


_____________________________________________________


ในวิธีการเลือกลงทุน

1.หุ้นสินทรัพย์
2.หุ้นบูลชิพ ขนาดใหญ่
3.หุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่
4.หุ้นปรับโครงสร้าง
5.หุ้นแบรนด์แข็งแกร่ง ได้เปรียบคู่แข่งขัน
6.หุ้นที่วกกลับจากจุดต่ำสุด มาเป็นขาขึ้น พวกหุ้นวัฐจักร
7.หุ้นอิงการเมืองโดยนโยบาย และอื่นๆ
8.หุ้นเครือข่ายเชื่อมโยงทางการค้า

ฯลฯ

_______________________________________________________

หุ้นกับแนวทางการลงทุนที่ดีควรจะเน้นเรื่องการเป็นธุรกิจ
ที่จับต้องได้ อ่านง่ายโดยไม่ซับซ้อน
เกี่ยวข้องกับตัวเองและบุคคลรอบข้างสัมผัสกับชีวิตประจำวัน เข้าใจง่ายต่อธุรกิจนั้นๆ หาข้อมูลไม่ยากนัก และสามารถมองภาพในระยะยาว
อย่างน้อย 3-5 ปีของบริษัทนั้นที่เราเลือกเข้าไปลงทุน
_______________________________________________________

อีกมุมมองหนึ่งที่เคยเห็นในตลาดหุ้น

แรงเหวี่ยงการเก้งกำไร ตารางการทำกำไรของเดย์เทรดครับ
หาเช้ากินค่ำ

______________________________________________________









 

Create Date : 07 พฤษภาคม 2549   
Last Update : 28 กันยายน 2556 12:20:10 น.   
Counter : 1766 Pageviews.  


หลักการลงทุน...เพื่อ...ซื้อหุ้น เขียนโดย สุมาอี้ แห่งTVI

เก็บมาจาก...คุณสุมาอี้ แห่งเวปไทยวิดอทคอม

บทความ เขียนโดย...สุมาอี้

___________________________________________________________________


นั่งสรุปหลักการลงทุนที่ผมยึดถือมาให้อ่านกันแล้วครับ
นึกได้แค่ 10 ข้อก่อน

ที่จริงอยากเรียกว่า personal biases มากกว่า ไม่อยากเรียกว่าหลักการลงทุนเท่าไร



1. ซื้อก็ต่อเมื่อได้วิเคราะห์ข้อมูลจนมั่นใจว่ามูลค่าตลาดของหุ้นตัวนั้น
ต่ำกว่ามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดในอนาคตทั้งหมดที่คาดหวังได
้ของบริษัทเท่านั้น ซึ่งถ้ามันเป็นเช่นนั้นจริง
ซื้อมาแล้วไม่ต้องขายเลยก็ยังกำไร
(กฎข้อนี้สำคัญมากห้ามผ่าฝืนเด็ดขาด)

2. ทิศทางของราคาหุ้นเป็นสิ่งที่ไม่มีทางทำนายได้
อย่าพยายามทำกำไรด้วยการ BLASH
การเทรดหุ้นทุกวันเปรียบเสมือนการกระโจนเข้าใส่เครื่องบดเนื้อ

3. ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์บริษัทและอุตสาหกรรมให้มากที่สุด
ไม่ต้องให้ความสำคัญกับการทำนายทิศทางเศรษฐกิจมหภาค
เรือทุกลำต้องเผชิญพายุเหมือนกันหมด
จงพยายามเลือกเรือลำที่ดีที่สุด
แทนที่จะพยายามคาดเดาว่าพายุจะมาเมื่อไร

4. ราคาหุ้นไม่มีความสัมพันธ์กับกำไรในปัจจุบัน
แต่จะวิ่งไปตามความเชื่อของตลาดว่า
พรุ่งนี้กำไรของบริษัทจะเป็นเท่าไร
หุ้นที่ขึ้นไม่ใช่หุ้นที่ปัจจัยพื้นฐานดี แต่หุ้นที่ขึ้นคือหุ้นที่ปัจจัยพื้นฐานไม่ดีในวันนี้แต่
กำลังจะดีขึ้นวันหน้าหรือหุ้นที่ปัจจัยพื้นฐานดีอยู่แล้วและจะดีขึ้นไปอีก

5. หุ้นบูลชิพที่เติบโตช้า แม้ downside จะต่ำ -20% แต่ upside
ก็ต่ำด้วย +20% หุ้นเติบโตสูงจึงน่าลงทุนมากกว่าเพราะแม้ว่า downside
ของมันอาจจะมากถึง -100% แต่ upside ของมันไม่มีขีดจำกัด
(อาจเป็น 200% 500% 1000%...)
พอร์ตที่มีหุ้นเติบโตสูงหลายๆ
ตัวแม้จะผันผวนมากกว่าแต่จะวิ่งได้ไกลกว่า
พอร์ตที่เต็มไปด้วยหุ้นบูลชิพในระยะยาวๆ

6. อย่าให้ความสำคัญกับ dividend yield มากนัก
เพราะไม่มีกฎว่าบริษัทต้องจ่ายเงินปันผลเท่าเดิมทุกปี
จงสนใจว่าบริษัทเอา retained earnings
ไปลงทุนทำอะไรมากกว่า มูลค่าของบริษัทจะเพิ่มขึ้น
ได้ก็ต่อเมื่อบริษัทลงทุนในโครงการที่ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าเท่านั้น

7. หุ้นเป็นหลักทรัพย์ที่มีผลตอบแทนคุ้มค่ากับการเสี่ยงมากที่สุด
อย่าเสียเวลาคิดว่าควรแบ่งเงินไปลงตราสารหนี้เท่าไรหุ้นเท่าไร
เงินส่วนใหญ่ของคุณควรอยู่ในหุ้นกับเงินสดตลอดเวลา
อย่ากลัว market crash เพราะในระยะยาวๆ
ไม่มีตลาดหุ้นไหนในโลกที่ไม่สามารถกลับมาสูงกว่าจุดสูงสุดเดิมได้
เพราะเศรษฐกิจในระบอบทุนนิยมโตต้องขึ้นเรื่อยๆ

8. จงละเลยหุ้นที่มีประวัติเรื่องเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อย
หรือมีพฤติกรรมดูแลราคาหุ้นแม้แต่ครั้งเดียว
ราวกับว่าบริษัทเหล่านั้นมิได้ซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์

9. โอกาสในตลาดหุ้นไม่ได้มีมากขนาดหาได้ทุกวัน
มิฉะนั้นผู้คนคงเลิกทำงานประจำ บริษัทคงเลิกนำเงินไปลงทุนนอกตลาด
ในบรรดาหุ้น 20 ตัวที่คุณอยากซื้อในหนึ่งปี
จงใช้เงินทั้งหมดที่มีอยู่ซื้อแค่ 1-2 ตัวที่คุณคิดว่าเป็นโอกาสที่ดีที่สุด
ใน 20 ตัวนั้น คุณจะพบว่าคุณจะได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าการแบ่งเงินออกเป็น
20 ส่วนเพื่อซื้อทั้ง 20 ตัว

10. นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จร้อยทั้งร้อยมีความคิดที่เป็นอิสระ
ถ้าคุณจอดรอไฟแดงอยู่ที่สี่แยกที่ไม่มีรถวิ่งอยู่
แต่รถคันหลังรุมกดดันคุณด้วยการบีบแตรไล่ให้คุณวิ่งออกไปเลย
ถ้าคุณไม่สนใจแรงกดดันนั้นและรอจนไฟเขียวจึงค่อยไป
คุณมีแนวโน้มที่จะเล่นหุ้นแล้วประสบความสำเร็จครับ


ขอให้โชคดีทุกคน





จำง่ายๆ อย่างนี้ครับว่า

งบดุล คือ สถานะทางการเงินของบริษัท ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
(point in time) เหมือนการถ่ายภาพนิ่ง

งบกำไรขาดทุน คือ ผลประกอบการของบริษัท
ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง(over a period of time)

เงินทุนของบริษัทอยุ่ในงบดุลทั้งหมดครับ

เงินทุนหมุนเวียนคือสินทรัพย์หมุนเวียนหักออกด้วยหนี้สินหมุนเวียน
ในงบดุล
เงินทุนส่วนอื่นของบริษัทนอกจากเงินทุนหมุนเวียนแล้ว
ก็คือสินทรัพย์ถาวรต่างๆ ซึ่งก็อยู่ในงบดุลอีกเช่นกัน







 

Create Date : 25 มกราคม 2549   
Last Update : 27 กันยายน 2556 23:38:30 น.   
Counter : 1348 Pageviews.  


ปีเตอร์ลินซ์ ในมุมมอง ของ...คุณสามัญชน แห่ง TVI

เจอแนวคิดในการเลือกหุ้นของลินซ์ว่า

1. มันดูน่าเบื่อ หรือดียิ่งกว่านั้นอีก "น่าขัน"
2.มันทำอะไรที่น่าเบื่อ
3.มันทำบางสิ่งบางอย่างที่คนไม่เห็นด้วย
4. มันเป็นหุ้นที่แตกออกมา
5.สถาบันไม่ถือมันและนักวิเคราะห์ไม่ได้ติดตาม
6.ข่าวลือว่า มันเกี่ยวข้องกับขยะพิษ และ/หรือ มาเฟีย
7.มีอะไรโศรกเศร้าและหดหู่เกี่ยวกับมัน
8.มันเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่โต
9.มันมีจุดเด่น
10.คนต้องซื้อมันเรื่อยๆ
11.มันเป็นผู้ใช้เทคโนโลยี
12.บุคคลภายในบริษัทกำลังซื้อหุ้น
13.บริษัทกำลังซื้อหุ้นคืน



หุ้นที่ลินซ์หลีกเลี่ยง

1.หุ้นที่ร้อนที่สุดในอุตสาหกรรมที่ร้อนแรงที่สุด
2.ระวังหุ้นที่จะเป็นตัวต่อไปของบางอย่าง
3.หลีกเลี่ยง"ยิ่งกระจายยิ่งแย่" (Diworseification)
4.ระวังหุ้นกระซิบ
5.ระวังพ่อค้าคนกลาง
6.ระวังหุ้นที่มีชื่อน่าตื่นเต้น

ผมคิดว่ามันมีส่วนเชื่อมโยงกับคำว่า สภาพคล่องของการซื้อขาย พอสมควร สีน้ำเงินทั้งหมดมีแนวโน้มที่ทำให้คนไม่สนใจและมองข้าม (ทั้งผู้เล่นหุ้น และคนที่จะทำธุรกิจมาแข่ง) ดังนั้นจึงก่อให้เกิดสภาพคล่องที่ต่ำ ส่วนสีแดงทั้งหมด ทำให้เกิดสภาพคล่องที่สูง

หุ้นที่มีสภาพคล่องต่ำ มักจะถูกตีราคาต่ำกว่า และตรงกันข้าม หุ้นที่มีสภาพคล่องสูงมากและยิ่งร้อนแรงด้วยแล้ว นักลงทุนมักจะให้ราคาสูงกว่า


การเลือกซื้อหุ้นที่มีสภาพคล่องน้อยกว่า(แต่ไม่ใช่ไม่มีสภาพคล่องเลย)จึงค่อนข้างจะปลอดภัยกว่า

แต่โดยธรรมชาติหุ้นแต่ละตัวย่อมมีวงจรขึ้นลงของมันเอง หุ้นที่เคยเงียบเหงาก็ย่อมจะมีวันที่เฟื่องฟูและนักลงทุนต่างมารุมกันซื้อ ในทางตรงข้าม หุ้นที่เคยเฟื่องฟูก็ย่อมจะมีโอกาสซบเซาตามวัฏจักร

อันนี้น่าจะเป็นแนวคิดโดยสรุปรวบยอดของลินซ์ กระมังครับ (เดาเอา)

นั่นหมายถึงว่า ถ้าไปเจอหุ้นที่มีคุณสมบัติของสีน้ำเงินทั้งหมด(ยกเว้นข้อ 5.) แต่ว่าสภาพคล่องสูงมาก ใครๆก็พากันแย่งซื้อ เราก็ควรจะหลีกเลี่ยงมัน ไม่ใช่กระโดดเข้าใส่ ใช่ไหมครับ


ผมก็ว่าเป็นแนวคิดที่ดีมากๆและมีส่วนช่วยเปลี่ยน
จากขาดทุนเป็นกำไรให้เราได้ไม่น้อยเลย
แต่ว่ามันเป็นแนวคิดของปีเตอร์ ลินช์เขาครับ

ไม่ใช่ของเกล้ากระผม อิอิ

ที่ผมทำก็แค่สรุปรวมความให้จำได้ง่ายๆ
เพราะผมเป็นคนขี้ลืม แหะๆๆ
เพราะถ้าผมจะจำแนวคิดทั้งหมดซึ่งเป็นเรื่องหุ้นที่ควรซื้อ 13 ข้อ และที่ควรหลีกเลี่ยงอีก 6 ข้อก็จะกลายเป็น 19 ข้อ ข้าพเจ้าคงจำได้ไม่หมดเป็นแน่แท้

เป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องในการซื้อขายน้อย
ก็เลยจำได้ง่ายกว่าซึ่งเหมาะกับสมองน้อยๆของผมมากกว่า

เพื่อนๆจะเสนอแนะอะไรเพิ่มเติมไหมครับ
ไม่งั้นผมจะได้ save ลงในเนื้อเยื่อ memoryสมองผมเลย ฮ่าๆๆๆ


ทั้งหมดนี้น่าจะเป็นเครื่องมือในการคัดกรองหุ้นคร่าวๆ (เพราะมีหุ้นให้เลือกเป็นหมื่นๆตัวและเขาก็ซื้อหุ้นเยอะมาก ประมาณว่า1,400 กว่าตัว และใช้เวลาคัดกรองสั้นๆตัวละ 2 นาที) ส่วนจะถึงขั้นลงมือซื้อตัวไหนต้องติดตามต่อไป อิอิ

นักลงทุนที่ผมประทับใจที่สุดเมื่อตอนเริ่มเล่นใหม่ๆคือ เกรแฮม ด้วยสูตรที่เลื่องลือที่สุด คือ ซื้อหุ้นที่ราคาต่ำกว่าสองในสามของมูลค่าบริษัท(ที่นับเฉพาะสินทรัพย์หมุนเวียนเอาแค่หมุนเวียนนะครับ ลบหนี้สินทั้งหมด) หรือซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานมากๆ ซึ่งผมคิดว่าเป็นหุ้นที่มี margin of safety สุดๆ ผลการดำเนินงานของเกรแฮมก็อยู่ในเกณฑ์ทีดีมาก จนได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่ง value investor

ต่อมาผมเริ่มชอบแนวบัฟเฟตต์หลังจากที่ได้มีโอกาสอ่านหนังสือเกี่ยวกับบัฟเฟตต์(ลูกศิษย์ของเกรแฮม)มากขึ้น สูตรสำเร็จของเขาก็คือ เลือกหุ้นที่มีความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนและถือมันไว้ตราบเท่าที่มันยังเป็นกิจการที่ดี(ตามสโลแกนพี่ครรชิต) ผลจากแนวคิดนี้เป็นหลัก(แน่นอนว่าต้องมีแนวคิดย่อยและเทคนิคอย่างอื่นอีกมาก)ส่งผลให้เขากลายเป็นนักลงทุนในหุ้นที่รวยที่สุดในโลก และล้ำหน้าอาจารย์ลิบลับ นับถึงวันนี้ผมก็ยังคิดว่าแนวคิดของเขาดีที่สุด แต่ปัญหาก็คือ ในทางปฏิบัติแล้ว ทำตามได้ยากมาก คือว่า.....เอ่อ...สารภาพว่า... ตั้งแต่เล่นหุ้นมา ผมยังไม่เคยได้ซื้อหุ้นที่มีความได้เปรียบอย่างยั่งยืนในราคาที่ไม่แพงเลย…ฮ่าๆๆๆ.....(เป็นเพราะว่าผมหาไม่เจอเองแหละ.....)


และแล้วผมก็ได้อ่าน one up on wall street แนวการลงทุนของ ปีเตอร์ ลินช์โดย ดร.นิเวศน์เป็นผู้แปล ผมอ่านแล้วชอบมาก อ่านแล้ววางไม่ลง และได้ความคิดหลายๆอย่าง

ที่ผมชอบแนวคิดลินช์อาจจะเป็นเพราะนำไปใช้ได้ง่ายกว่า ลินช์แบ่งหุ้นเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 6 กลุ่ม คือ หุ้นโตช้า หุ้นแข็งแกร่ง หุ้นโตเร็ว หุ้นวัฏจักร หุ้นฟื้นตัว และหุ้นทรัพย์สินมาก

หุ้นที่เขาชอบมากที่สุดคือ หุ้นโตเร็วโดยดูองค์ประกอบเหล่านี้ร่วมด้วยได้แก่
1. สินค้าที่ทำกำไรได้สูงๆนั้น เป็นตัวหลักของกำไรทั้งหมดหรือไม่
2. การเติบโตของกำไรอยู่ในช่วง 20- 25 % (ถ้ามากกว่านี้เขาจะมองมันเป็นอุตสาหกรรมร้อน)
3. บริษัทได้ก็อปปี้สูตรสำเร็จและนำไปใช้ในการขยายธุรกิจต่อได้หรือยัง ถ้ายัง...รอก่อน
4. มีช่องว่างที่จะให้บริษัทโตได้อีกหรือไม่
5. ดูว่าราคาหุ้นที่ซื้อขายมีค่า p/e ใกล้เคียงกับอัตราการเติบโตหรือไม่
6. ดูว่าการขยายตัวกำลังเร่งขึ้นหรือเปล่า


ถ้าจะใช้วิธีของลินช์เป็นตัวตั้งต้น วิธีของเกรแฮมน่าจะอยู่ในกลุ่มหุ้นที่มีสินทรัพย์มาก สินทรัพย์อาจจะลงบัญชีแล้วซึ่งได้แก่ ที่ดิน เงินสด น้ำมันที่อยู่ใต้ดิน ๚ล๚ หรือที่ยังไม่ได้ลงบัญชีหรือลงในราคาเก่า


แต่วิธีที่ของบัฟเฟตต์จัดเข้ากลุ่มได้ค่อนข้างยาก หรือว่าจะต้องตั้งกลุ่มใหม่ แต่ถ้าจะจัดเข้ากลุ่มให้ได้ก็น่าจะอยู่ในกลุ่มหุ้นแข็งแกร่งแต่อาจจะกินความหมายกว้างกว่าหุ้นที่แข็งแกร่งเติบโตเต็มที่แล้ว ซึ่งรวมหุ้นขนาดเล็กที่เก่งๆและผูกขาดไปด้วย


ถ้าดูธรรมชาติของหุ้นแล้ว หุ้นที่โตเร็วน่าจะทำกำไรได้มากที่สุด แม้ว่าจะมีหุ้นหลายๆตัวทำให้ขาดทุนเนื่องจากไม่เป็นไปตามคาด เห็นเขาบอกว่าหุ้นกลุ่มนี้ทำกำไรได้หลายๆเด้งเลยทีเดียว 10 , 20 หรือ 30 เด้งก็เคยมี ส่วนหุ้นกลุ่มทรัพย์สินมากมักทำกำไรได้ประมาณ 4 -5 เด้ง ในขณะที่กลุ่มแข็งแกร่งไม่ต้องพูดถึงเด้ง ถ้าได้ 40-50% ก็ต้องขายแล้ว ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้ ลินช์ก็ต้องรวยที่สุด แต่คนที่รวยที่สุดกลายเป็นบัฟเฟตต์ เป็นเพราะอะไร???????????


สงสัยผมต้องกลับไปอ่านใหม่ครับ พี่ปรัชญา 5555

ปล.ลินช์ลงทุนในกลุ่มโตเร็ว 30-40 หุ้นแข็งแกร่ง 10-20% หุ้นวัฏจักร 10- 20% ที่เหลือก็กลุ่มฟื้นฟูและสินทรัพย์มาก
_____________



1. คำพังเพยมีคำว่า น้ำขึ้นให้รีบตัก แต่ก็มีคำว่า ช้าๆได้พร้าเล่มงาม ดูเหมือนจะขัดแย้งกันเองกลายเป็นสอนในทางตรงกันข้ามกัน แต่ผมเห็นว่ามันถูกทั้งสองอย่างนะไม่ได้ขัดแย้งกัน ขึ้นอยู่กับว่าเราอยู่ในสถานการณ์ไหน

2. การวิเคราะห์ทางเทคนิคมีกราฟรูปแบบหนึ่งบอกว่า เมื่อกราฟทำตัวเป็น double top ให้เตรียมตัวขายได้เลย เพราะมันจะลง
และก็มีอีกรูปแบบหนึ่งเรียกว่า tripple top ให้เตรียมตัวขายได้เช่นกัน เพราะมันจะลงเช่นเดียวกัน ฟังแล้วก็ดูเหมือนจะสนับสนุนกันเอง และสอนในทิศทางเดียวกัน แต่ผมกลับเห็นว่ามันขัดแย้งกันเอง เพราะถ้ามันเป็น double top แล้วมันลงแน่ๆ แล้วมันจะมีรูปแบบ tripple top ได้อย่างไร กลายเป็นว่า เจ้ารูปแบบ tripple top เป็นพยานและหลักฐานชิ้นสำคัญที่พิสูจน์ว่า เมื่อเกิดรูปแบบ double top ก็ไม่จำเป็นที่หุ้นจะลงเสมอไป

ลินช์บอกว่า เขาไม่ชอบบริษัทที่กระจายความเสี่ยงไปในอุตสาหกรรมหลายๆอย่าง เขาเรียกว่า diworseification ยิ่งกระจายยิ่งแย่ แต่เขาเองก็กระจายการลงทุนในหุ้นตั้ง 1,400 ตัว ฟังดูจะไม่เป็นการขัดแย้งกันหรือเนี่ย แม้ผมจะเชื่อว่าน่าจะเป็นแบบข้อหนึ่ง คือ อยู่ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ไม่ค่อยเหมือนข้อสองนักก็ตามเพราะว่าเขาสามารถพิสูจน์ได้ว่าเขาทำกำไรได้มหาศาล



เท่าที่จำได้ลางๆ รู้สึกว่าอัตราการเติบโตของกำไรแบบทบต้นของบัฟเฟตต์จะอยู่ที่31% และลินช์อยู่ที่29% นะครับ(ถ้าจำไม่ผิด ถ้าผิดก็ขออภัยด้วย)

บัฟเฟตต์ถือหุ้นประมาณยี่สิบตัว แต่ลินช์กระจายความเสี่ยงไปกว่า 1,400 ตัว

ลินช์เป็นอัจฉริยะ สามารถติดตามวิเคราะห์หุ้นทั้งหมดได้และแม้จะมีผู้ช่วยมากมายช่วยติดตาม แต่การตัดสินใจขั้นสุดท้ายหรือครั้งที่สำคัญๆ เขาน่าจะเป็นคนทำเอง ผมจึงมองว่าหุ้น 1,400 ตัวเป็นจำนวนที่มากเหลือเกินแม้จะเป็นอัจฉริยะเพียงใด ตรงนี้อาจจะเป็นจุดอ่อนกระมังครับ

ที่น่าสนใจอีกเรื่องก็คือ เรื่องสัดส่วนในการลงทุน เขาไม่ได้ลงทุนในหุ้นโตเร็วทั้งหมด ที่จริงไม่ถึงครึ่งด้วยซ้ำ เขาลงทุนในหุ้นโตช้าด้วย หุ้นแข็งแกร่งด้วย หุ้นทรัพย์สินมากด้วย ซึ่งหุ้นเหล่านี้จะสามารถช่วยได้มากในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ แม้ในช่วงที่เศรษฐกิจดีมันก็อาจจะเป็นตัวถ่วงก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเป็นที่จะต้องมีไว้เสมอ เพราะไม่รู้ว่าเศรษฐกิจจะแย่เมื่อใด

ถ้าลินช์เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นโตเร็วมากๆ เราก็อาจจะได้พิสูจน์ว่า ความเชื่อที่ว่าลงทุนในหุ้นโตเร็วดีกว่าลงทุนในหุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืนจริงหรือไม่

แต่ภายหลังการลาออกของเขาเราคงไม่มีโอกาสได้เห็นอีกต่อไปแล้ว

อ้อ.....ถึงตอนนี้นึกขึ้นได้ว่า จวนๆจะถึงกำหนดวางตลาดของ Beating The Street ของท่าน WEB แล้วนี่นา อืม......อิอิ


เขียนโดย สามัญชน แห่งเวปTVI
__________________________________________
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด








อยากลงทุนในหุ้นปันผลดีๆ สักตัว

เป็นแนวคิดที่ผมชอบมากและทำให้ผมตัดสินใจเล่นหุ้นเลยครับ(ก่อนหน้านี้การเล่นหุ้นไม่เคยมีอยู่ในสมองแม้แต่น้อยนิด)

ผมไม่ได้ต้องการผลตอบแทนมากมาย ไม่ได้โลภอะไร ต้องการแค่ได้มากกว่าดอกเบี้ยธนาคารที่มันต่ำติดดินเท่านั้นเอง

ก็เลยซื้อหุ้นที่ให้ปันผลงามๆ ซื้อได้สักสามสี่เดือน ราคาหุ้นตกไปยี่สิบกว่าเปอร์เซนต์ ในขณะที่ปันผลจะได้ประมาณเจ็ดเปอร์เซนต์ และเป็นอัตราปันผลของปีที่แล้วด้วย ปีนี้จะได้ปันผลหรือเปล่าก็ไม่รู้

ผลก็คือขาดทุนยับ ผมทำผิดอะไร ไม่ได้โลภสักหน่อย ทำตามตำราการลงทุนทุกอย่าง

คำตอบก็คือ ถ้าเราเข้าสู่สนามรบ เราจะไปบอกข้าศึกไม่ได้ ว่าอย่ามาฟันฉันนะ อย่าฆ่าฉันนะ ฉันจะสู้กับคนที่อ่อนๆเท่านั้น ฉันอยากชนะนิดเดียว ไม่ได้อยากชนะมากมายอะไร ไม่ได้อยากดัง นักรบเก่งๆหรือแม่ทัพอย่ามายุ่งกับฉัน

ผมมองว่าเป็นความเขลาของผมเองอย่างยิ่ง สงครามก็คือสงคราม ไม่มีข้อยกเว้น ถ้าอยากรอดก็ต้องเรียนรู้ให้มีฝีมือ มีเกราะป้องกันดีๆ มีอาวุธดีๆ ไม่มีทางอื่นให้เลือกเลย
__________________________________________________

ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด

เขียน โดย...สามัญชน
__________________________________________________



___________________________________________________

Jaychou ขอชักภาพเป็นที่ระลึกกับ คุณหมอสามัญชน

___________________________________________________




ถ้าพอร์ทการลงทุนของเราเปรียบเสมือนเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์บริษัทหนึ่ง

มีเราเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ อาจจะมีพี่น้องหรือเพื่อนๆมาร่วมถือหุ้นบ้าง หรือไม่มีก็ไม่เป็นไร

เราอยากเขียน 56-1 ให้ดีที่สุดและสิ่งที่เราเขียน มีข้อแม้ว่าจะถูกบังคับว่าจะต้องถือเอามาปฏิบัติด้วย ไม่ใช่เขียนลอยๆ

จะเขียน 56-1 ว่าอย่างไรดีครับ โดยเฉพาะหัวข้อต่อไปนี้

*** ปัจจัยเสี่ยง ***

*** การประกอบธุรกิจของแต่ละสายผลิตภัณฑ์ ***

*** การตลาดและภาวะการแข่งขัน ***

*** ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของอุตสาหกรรมนี้ ***

*** อุปสรรคของการดำเนินธุรกิจ ***

*** การวิจัยและพัฒนา ***

*** โครงการในอนาคต ***

_________________________________________________

HVI ให้นิยามไว้ประกอบ

ปัจจัยเสี่ยง: ความเสี่ยงของบริษัท (พอร์ท) จะขึ้นอยู่กับความเสี่ยงเมื่อเทียบกับตลาด (Systematic Risk)
ซึ่งวัดโดยค่า Beta ของพอร์ทครับ เนื่องจากในกรณีนี้เราวัดกำไร/ขาดทุนของบริษัทจาก NAV ของพอร์ท
(เช่นค่า Beta ของพอร์ทเท่ากับ 1 แปลว่า ความเสี่ยงในส่วนนี้เท่ากับตลาด
ตลาดปรับตัวลง 10%, NAV ของพอร์ทก็น่าจะลดลง 10% ด้วยเช่นเดียวกัน)
ดังนั้น
ความเสี่ยงอย่างแรกก็คือการปรับตัวลงของตลาดครับ
ส่วนจะเสี่ยงมากเสี่ยงน้อยก็ขึ้นอยู่กับค่า Beta

ความเสี่ยงประการที่ 2:
ความเสี่ยงของธุรกิจต่างๆที่เราถือหุ้นเช่น เราถือหุ้นขนส่ง ความเสี่ยงที่สำคัญอย่างหนึ่งคือน้ำมันแพงขึ้น
แต่ถ้าเรามีหุ้นบริษัทน้ำมัน ความเสี่ยงที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือราคาน้ำมันถูกลง
หากเราต้องการลดความเสี่ยงในประเด็นดังกล่าว การถือทั้งหุ้นน้ำมันและหุ้นขนส่งจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวได้ในระดับหนึ่ง
หรือพอร์ทของเราได้มีการ Hedge ราคาน้ำมัน ...

(การสร้างกลุ่มหลักทรัพย์ที่เหมาะสมสามารถลดความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบได้ - Unsystematic Risk)


ความเสี่ยงประการที่ 3:
ความเสี่ยงจากการลงทุนในธุรกิจที่เราไม่มีความรู้ ความเข้าใจ
หรือการลงทุนในหุ้นที่มากตัวจนเกินไป จนไม่สามารถติดตามได้ทั่วถึง

ความเสี่ยงประการที่ 4:
ความเสี่ยงจากการลงทุนในบริษัทที่ไม่มีธรรมาภิบาลที่ดี

ความเสี่ยงประการที่ 5:
ความเสี่ยงจากการลงทุนในบริษัทที่ไม่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันที่ยั่งยืน

ความเสี่ยงประการแรกเท่านั้นที่เราไม่สามารถจัดการการได้
นอกนั้นเราสามารถลดความเสี่ยงได้

____________________________________________________________


สามัญชน เขียน...

*** การวิจัยและพัฒนา ***

ความรู้เกี่ยวกับเรื่องหุ้นมีหลากหลายแนวทาง แต่บริษัทเราจะยึดมั่นในการลงทุนแนวปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

บริษัทเราจะยึดมั่นการวิจัยหาความรู้ในการลงทุนตามหลักวิชาการของงานวิจัยที่ถูกต้องตามมาตรฐาน

การใช้สัญชาติญาณหรือกึ๋นหรือ gut feeling จะเป็นเรื่องรองไม่ใช่เรื่องหลัก

การสังเกตุอาจจะเป็นบันไดขั้นแรกในการหาความรู้ แต่การสรุปผลจะต้องเป็นไปตามหลักวิชาการ

การสังเกตุเหตุการณ์ที่ได้ผลดีติดต่อกัน4-5ครั้ง หรือแค่ 4-5กลุ่มตัวอย่าง ไม่สามารถยอมรับได้ จะต้องมีกลุ่มตัวอย่างที่มากกว่านั้น

*** การประกอบธุรกิจของแต่ละสายผลิตภัณฑ์ ***

ผลิตภัณฑ์ของเราก็คือ รายชื่อหุ้น ซึ่งอาจจะออกผลิตภัณฑ์ได้ปีละ 1-5 ตัวหรือ 2-3 ปีได้ชื่อหุ้นหนึ่งตัว แต่จะต้องเป็นหุ้นที่มีคุณค่าสูงมากเมื่อเทียบกับราคาที่ต้องจ่าย

หลังจากนั้นกระบวนการต่อไปก็คือลงทุนในตัวนั้นในจังหวะที่เหมาะสม และขายออกเมื่อราคาเกินปัจจัยพื้นฐาน

กระบวนการเหล่านี้ต้องการ infra structure ในเรื่องที่เกี่ยวกับ



*** ปัจจัยเสี่ยง *** ในแง่ผู้บริหาร

1.จำนวน
เนื่องจากมีผู้บรหารเพียงคนเดียวทำหน้าที่ตั้งแต่ภารโรงจนถึงกรรมการผู้จัดการใหญ่
ขำกลิ้ง ขำกลิ้ง ขำกลิ้ง

ดังนั้นจึงเป็นภาระที่หนักมากที่จะทำได้ดีทุกๆอย่าง การพึ่งพาอาศัยกันระหว่างบริษัทต่อบริษัทจึงมีความสำคัญมาก

infra structure ที่มีบทบาทสูงจึงได้แก่ webbord ที่เกี่ยวกับหุ้น หนังสือ การสัมนา เป็นต้น

2.อารมณ์

เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญมาก กำไรหรือขาดทุนอาจจะถูกตัดสินที่อารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงแม้เพียงเล็กน้อย

3.ความรู้

สำคัญที่สุด เพราะมีความรู้เหมือนมีทรัพย์นับร้อยล้าน อิอิ

ทำยังไงจะมีความรู้หละ

4. ความซื่อสัตย์

ไม่น่าห่วงเพราะซื่อสัตย์ต่อตัวเองอยู่แล้ว หรือถึงมีคนมาร่วมหุ้นด้วยแต่สัดส่วนของเราก็ต้องมากที่สุด(ก็บริษัทของเรานิ) เราจะโกงเพื่อให้ตัวเราขาดทุนไปด้วยเชียวหรือ



__________________________________________________________________________

ก่อนอื่นขอพูดถึงลักษณะของหุ้นวัฏจักรก่อน

หุ้นวัฏจักรก็เหมือนกับพายุทอร์นาโด เวลามันเกิดขึ้นหรือถึงรอบของมันแล้ว มันสามารถพัดพาให้อะไรๆก็ตามลอยขึ้นได้ เซียนๆหลายคนบอกว่า ถ้าลมแรงพอแม้แต่ไก่งวงก็ยังบินได้ แต่หุ้นวัฏจักรนั้น อย่าว่าแต่ไก่งวงเลยครับ ขนาดรถสิบล้อหรือบ้านทั้งหลังยังขึ้นได้เลย

และผมเองมีความเชื่อว่า สำหรับตลาดหุ้นเมืองไทยนั้น หุ้นวัฏจักรเป็นหุ้นที่ทำกำไรได้มากที่สุด (จากคำพูดคุณเหาฉลาม) ซึ่งต่างจากตลาดหุ้นยุโรปหรืออเมริกา ที่บ้านเขานั้นหุ้นเติบโตจะเป็นหุ้นที่ทำกำไรในระยะยาวได้มากที่สุด สาเหตุก็เป็นเพราะบริษัทในบ้านเขานั้น ถ้าเก่งจริงและเติบโตจริง เขาสามารถเติบโตได้ทั่วโลก แต่บ้านเราหาบริษัทที่โตได้ทั่วโลกยากมาก โตสุดๆคือโตเต็มประเทศก็ถือว่าเก่งมากแล้ว การเล่นหุ้นเติบโตในเมืองไทยจึงสู้เล่นหุ้นวัฏจักรไม่ได้
_________________

ตัวอย่างของหุ้นวัฏจักรในเมืองไทยที่ผมได้เห็นกับตาในรอบสี่ปีที่ผ่านมาก็เช่น

Psl ขึ้นจาก 1 บาทกว่าๆ ไปที่ราคา 50 บาทในหนึ่งปี (ราคาหลังแตกพาร์)
Tta ขึ้นจาก 1 บาทกว่าๆ ไปที่ราคา 50 บาทในหนึ่งปี (ราคาหลังแตกพาร์)
Ptt จาก 30 บาท ไป 250 บาท ในสามปี
Ssi ขึ้นจาก 3 บาท ไป 35 บาท ในหนึ่งปี (ราคาก่อนแตกพาร์)
Atc ขึ้นจาก 3 บาทไป 70 บาทในสองปี
Stanly ขึ้นจาก 5 บาทไป 200 บาทในสองปี(ราคาหลังแตกพาร์)


เห็นราคาแล้วอาจจะน้ำลายหก แต่การจะได้กินน้ำผึ้งที่หอมหวานเราก็ต้องแลกกับความเสี่ยงที่จะโดนผึ้งต่อย เพราะหลังจากหมดรอบขาขึ้นแล้ว หุ้นจะราคาดิ่งลงอย่างมโหฬารและทำให้ขาดทุนได้ย่อยยับในระยะเวลาสั้นๆ


ปัจจุบัน psl เคยดิ่งจาก 57 บาท มาที่ 26 บาท ก่อนที่จะเด้งกลับไปยืนที่ 44 บาท
tta เคยดิ่งจาก 50 บาท มาที่ 16 บาท ก่อนที่จะเด้งกลับไปยืนที่ 27 บาท
ptt เคยดิ่งจาก 270 บาท มาที่ 200 บาท ก่อนที่จะเด้งกลับไปยืนที่ 230 บาท ตัวนี้อาจจะยังไม่ถึงขาลงดีนักจึงอาจจะยังไม่ออกพิษสง
ssi เคยดิ่งจาก 4 บาท มาที่ 1 บาท (ราคาหลังแตกพาร์)
atc เคยดิ่งจาก 70 บาท มาที่ 20 บาท ก่อนที่จะเด้งกลับไปยืนที่ 35 บาท
stanly เคยดิ่งจาก 200 บาท มาที่ 120 บาท ก่อนที่จะเด้งกลับไปยืนที่ 160 บาท แต่ตัวนี้อาจจะแปลงร่างจากหุ้นวัฏจักรไปเป็นหุ้นเติบโตมั้ง
_________________

และแม้แต่ปีเตอร์ ลินช์เอง เขาก็ชอบหุ้นวัฏจักรมากและก็ทำกำไรให้เขาได้ไม่ใช่น้อยๆเลย

ปรัชญาในการเล่นหุ้นวัฏจักร

คนที่เล่นหุ้นวัฏจักรมักจะมีความเชื่อในเรื่องอนิจจัง ทุกสิ่งล้วนไม่เที่ยง และหมุนเวียนเป็นวงจร(วัฏจักร)อยู่เสมอ ที่เคยโตๆได้มากมายก็มักจะเดาว่าถึงวันหนึ่งมันก็จะไม่โต วันหนึ่งมันก็ยุบลง

ถามว่าปรัชญาข้อนี้ฝืนธรรมชาติไหม

คำตอบ คือ ไม่เลย และสอดคล้องกับคำสอนหลักของศาสนาพุทธเสียด้วยซ้ำ เรื่องวัฏฏะสงสาร เป็นสิ่งที่ได้รับการพิสูจน์มานานแล้วว่าเป็นเรื่องจริง เพียงแต่ระยะเวลาของวัฏจักรอาจจะช้าหรือเร็วต่างกันเท่านั้น
_________________

แล้วหุ้นเติบโตของบัฟเฟตต์หละ หุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืนเป็นอย่างไร คำตอบ ผมก็คิดว่าหุ้นบัฟเฟตต์เป็นหุ้นวัฏจักรเหมือนกันถ้ายืดระยะเวลาไปยาวนานพอ ไม่มีอะไรหลุดพ้นไปจากวัฏสงสารได้เลย

และสาเหตุที่หุ้นบัฟเฟตต์ได้สิทธิพิเศษในการยืดระยะเวลาออกไปเป็นยี่สิบปีหรือห้าสิบปีหรือร้อยปีทั้งที่หุ้นอื่นๆไม่ได้รับสิทธินั้น ก็เป็นเพราะความได้เปรียบเชิงแข่งขันเป็นปัจจัยหนึ่ง หรืออาจจะมีความสามารถในการปรับตัวจากงานวิจัยตามแนวคิดของฟิลิป ฟิสเชอร์เป็นปัจจัยร่วม


หุ้นแบบไหนที่เป็นหุ้นวัฏจักร

1 commodity cyclical
2 Economic cyclical

ตามที่น้อง IH บอกไว้แล้ว หรือถ้าจะแยกเป็นตัวธุรกิจตามที่ผมเคยค้นไว้ก็เช่น

1.กระดาษ
2.ปิโตรเคมี เช่น น้ำมัน วงจร 18 ปี แก๊ส ถ่านหิน แต่ระยะเวลาของวงจรในอนาคตอาจจะเปลี่ยนไป เนื่องจากน้ำมันใกล้จะหมดโลกแล้ว ส่วนปิโตรเคมี บางท่านก็บอกไว้ว่าประมาณ 7-9 ปี

3.ปูนซีเมนต์ วัสดุก่อสร้าง
4.ยานพาหนะ

5.กลุ่มเดินเรือ วงจรประมาณ 25ปี
6.หลักทรัพย์ แล้วแต่ภาวะเศรษฐกิจ ตลาดหมีหรือกระทิง

7.แร่เหล็ก
8.แร่สังกะสี วงจร 15 ปี
9. อื่นๆ
_________________________________________________________________________

ถ้าลมแรงพอแม้แต่ไก่งวงก็ยังบินได้ แต่หุ้นวัฏจักรนั้น อย่าว่าแต่ไก่งวงเลยครับ ขนาดรถสิบล้อหรือบ้านทั้งหลังยังขึ้นได้เลย


ขอขยายความหน่อยครับ คือว่าผมมีประสบการณ์ที่เจ็บปวดในเรื่องนี้อ่ะครับ เลยไม่อยากให้เพื่อนๆทำพลาดเหมือนผม

ตอนเริ่มเล่นหุ้นใหม่ๆ ผมก็ screen เจอหุ้น tta psl นะครับ แต่ตอนนั้นยังไม่รู้เรื่องเลยว่าอะไรเป็นหุ้นวัฏจักรหรือหุ้นเติบโต ผมเจอเพราะผมนั่งหาทุกไตรมาสทุกบริษัทว่ามีหุ้นอะไรที่กำไรก้าวกระโดดมากๆจากไตรมาสที่แล้วบ้าง

แล้วก็ไปเจอสองตัวนี้แหละครับ ตอนนั้นราคาอยู่แถวๆยี่สิบบาทกว่าๆเท่านั้นเอง(ราคาก่อนแตกพาร์) แต่ผมไม่ได้ซื้อ (ที่จริงคือ ไม่กล้าซื้อ) ผมเลยพลาดโอกาสทองครั้งยิ่งใหญ่ เพราะต่อมาราคาขึ้นมาถึงยี่สิบห้าเด้งหรือห้าร้อยบาท(ถ้าไม่แตกพาร์)

สาเหตุที่ผมพลาดเป็นเพราะว่า พอผมไปดูงบการเงินแล้ว ปรากฏว่าทั้งสองบริษัทนี้มีหนี้อยู่เยอะมาก มีสินทรัพย์ประมาณห้าพันล้านแต่มีหนี้สินสี่พันกว่าล้านบาทเลยทีเดียว

ตอนนั้นยังมือใหม่มากเลยครับ อ่านตำราวีไอเล่มไหนๆก็บอกให้หลีกเลี่ยงบริษัทที่มีหนี้สูงๆทั้งนั้น

ผมก็หลีกเลี่ยงสิครับ ใครจะไปกล้า !!!!

ปัจจุบันนี้ผมได้ข้อคิดว่า ถ้าเป็นหุ้นเติบโต หนี้เยอะๆแบบนี้ก็น่ากลัวอยู่หรอก เพราะมันบ่งบอกว่าคุณไม่ค่อยทำกำไรเท่าไหร่ ถ้าดีจริงต้องได้กำไรเรื่อยๆและใช้กำไรไปขยายกิจการได้เรื่อยๆ และเมื่อทำบ่อยๆหลายปีเข้า บริษัทที่ดีก็จะมีหนี้น้อยลงเรื่อยๆ

แต่หลักการนี้ ใช้ไม่ได้กับหุ้นวัฏจักร เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วบริษัทแค่ประคองตัวไม่ให้เจ๊งในช่วงที่เลวร้ายของวัฏจักรก็ถือว่าดีแล้ว และเมื่อรอบขาขึ้นมาถึง บริษัทเหล่านี้จะทำกำไรได้จนคุ้มค่าที่รอคอยเลยทีเดียว

ปีเตอร์ ลินช์เองก็บอกว่า บริษัทที่มีมาร์จิ้นต่ำๆ เมื่อมีเหตุการณ์ที่ทำให้กำไรเติบโตมากๆ บริษัทเหล่านี้จะยิ่งน่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะฐานเดิมทำไว้ต่ำ

นี่แหละคือความหมายของคำว่า ขนาดรถสิบล้อหรือบ้านทั้งหลังยังขึ้นได้ และนอกจากจะหมายถึงหนี้เยอะ มาร์จิ้นเดิมต่ำๆ ยังรวมถึงปัจจัยอื่นๆทุกปัจจัยที่ทำให้บริษัทดูแย่ แต่ต้องยกเว้นเรื่องความซื่อสัตย์ของผู้บริหาร
_________________

สามัญชน wrote:


1.เริ่มต้นเลย ลองเปิดดูผลการดำเนินงานไตรมาสล่าสุดของทุกบริษัทหรือเท่าที่ทำได้ก่อน แล้วคีย์สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนผู้ถือหุ้นและผลกำไรลงในโปรแกรม exel ขั้นตอนนี้ถ้าจะให้ง่ายขึ้น ก็ขอพี่ครรชิตครับ พี่ครรชิตได้รวบรวมไว้สมบูรณ์มากเลยครับ

2. ลองคำนวณหาค่า roe โดยใช้สองวิธี
2.1. เอาผลกำไรไตรมาสสุดท้ายคูณด้วย 4 หารด้วย equity ( ส่วนผู้ถือหุ้น )
2.2 เอาผลกำไรรวมสี่ไตรมาสสุดท้าย หารด้วย equity ( ส่วนผู้ถือหุ้น )

3.นำมาเรียงลำดับโดยเรียง roe จากสูงมาต่ำ แล้วตัดตัวที่ได้ roe ต่ำกว่า 15 % ทิ้งทั้งหมด ( หรือจะตัดที่ 12% หรือ 20% ก็ตามใจชอบครับ ตัดน้อยเหลือเยอะ ตัดเยอะเหลือน้อย )

4.นำผลจากข้อ 3. มาเรียงใหม่ โดยเรียงคอลัมน์ p/e ( ซึ่งไฟล์ของพี่ครรชิตจะมีอยู่แล้ว )จากน้อยไปมาก แล้วตัดตัวที่ p/e มากกว่า 15 ทิ้งไป ( ตัวเลข 15นี้แล้วแต่คนชอบนะครับ )

5. เอาผลจากข้อ4. มาเรียงใหม่ คราวนี้เรียงตาม p/b โดยเรียงจากน้อยไปมาก แล้วตัดตัวที่ p/b มากกว่า 2 ทิ้งไป

ข้อ 1-5 เป็นวิธีคัดกรองคร่าวๆ เคยทำเองปรากฎว่าใช้เวลาเยอะมาก โดยเฉพาะตอนที่เปิดดูผลการดำเนินงานทุกบริษัท แล้วคีย์ขอมูล แต่ด้วยความเมตตาจากพี่ครรชิตขั้นตอนยุ่งยากนี้ก็หมดไป

เสร็จแล้วก็มาพิจารณารายละเอียดโดยเริ่มจากตัวบนสุดก่อน ขั้นตอนนี้หนีไม่พ้นที่จะต้องอ่านแบบฟอร์ม 56-1 ลองอ่านดูแล้วเราจะรู้อะไรดีๆเยอะมากเลยครับ สนุกมากด้วยครับ อ่านแล้วตอบคำถามต่อไปนี้

Quote:
ก. แนวโน้มธุรกิจ ภาวะเศรษฐกิจ วัฏจักรธุรกิจ

ข. เป็น “ ธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน ” หรือไม่ “ โดยใช้ competitive stretagy ของ porter วิเคราะห์ภาวะการแข่งขันด้วยพลังทั้งห้าของ Porter
1. การแข่งขันภายในอุตสาหกรรม
2. โอกาสในการเข้ามาของรายใหม่
3. สินค้าทดแทน
4. อำนาจต่อรองกับลูกค้า
5. อำนาจต่อรองกับผู้ป้อนวัตถุ

ค. วิเคราะห์โดย SWOT

ง.ประเด็นในการตรวจสอบหุ้น 10 ข้อของวอร์เรน
1.ROE สูงๆ หรือไม่
2.ROA สูงๆ หรือไม่
3.ประวัติการทำกำไรที่ดีเยี่ยมหรือไม่
4.มีหนี้สินน้อยๆหรือไม่
5.สินค้าหรือบริการมีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืนหรือไม่
6.ไม่มีปัญหาที่เกิดจากสหภาพแรงงานหรือไม่
7.บริษัทสามารถปรับสินค้าหรือบริการตามสภาวะเงินเฟ้อได้หรือไม่
8.ต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสมหรือไม่
9.บริษัทสามารถซื้อหุ้นคืนจากตลาดได้หรือไม่
10.กำไรสะสมสามารถทำให้มูลค่าตลาดสูงขึ้นได้หรือไม่

จ.ความซื่อสัตย์และความสามารถของผู้บริหาร

ฉ. วิเคราะห์ราคาที่น่าลงทุน
1. P/E = ?
2. P/B = ?
3. DIV = ?

ช. เหตุการณ์ไม่คาดฝัน
ญ. อื่น ๆ ที่สำคัญ


เจอตัวไหนไม่ดีก็ตัดทิ้ง ตัวไหนดีก็เก็บไว้ ผมใช้วิธีนี้ในการเล่นหุ้น ปรากฎว่าโอกาสได้กำไรมีมากกว่าขาดทุนพอสมควรครับ


//www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=10689
_____________________________________________________






 

Create Date : 31 สิงหาคม 2548   
Last Update : 5 กันยายน 2552 7:57:56 น.   
Counter : 1855 Pageviews.  


1  2  

P_ปรัชญา
 
Location :
ขอนแก่น Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 63 คน [?]




หยิ่ง
กับตัวเองบ้าง
ในบางครั้ง

เบื่อ
ชีวิตความผิดหวัง
ในบางหน

เกลียด
ความไม่จริงใจ
ในบางคน

ยอมทน
คนหยามเหยียดได้
ในบางที


[Add P_ปรัชญา's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com