Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

หากหัวใจคล้ายห้องว่าง โดย ว.วชิรเมธี




หากหัวใจคล้ายห้องว่าง


ว.วชิรเมธี


คำว่า “ชีวิต” ประกอบขึ้นมาจาก “กาย” กับ “ใจ” เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “รูป” กับ “นาม” องค์ประกอบทั้งสองของชีวิตนี้ “ใจ” มีความสำคัญมากกว่า “กาย” เพราะ “ใจ” เป็นอย่างไร “กาย” จะเป็นอย่างนั้น

ความสำคัญของใจที่มีผลเหนือกายนั้นมีตัวอย่างมากมาย อภิปรายกันไม่รู้จบ

เช่น วันหนึ่งเมื่อมีนักข่าวสัมภาษณ์ว่า ไทเกอร์ วู้ด มีเคล็ดลับในการตีกอล์ฟอย่างไร จึงตีได้แม่นเหมือนจับวางทุกครั้ง เขาตอบสั้นๆ ว่า

“ผมจินตนาการเห็นลูกกอล์ฟ ลอยละลิ่วลงหลุม ก่อนที่ผมจะเริ่มตีมันเสียอีก”

คำตอบของนักกอล์ฟอัจฉริยะสะท้อนว่า ใจของเขานั้นไม่ได้สั่งได้เฉพาะกายคือมือของเขาเท่านั้น แม้แต้ไม้ตีกอล์ฟเอง ก็หลอมรวมเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายเขา เข้าทำนอง “กระบี่อยู่ที่ใจ ใจอยู่ในกระบี่” โดยแท้


ครั้ง หนึ่งมีการทดลองกันในทางจิตวิทยาว่า ใจสำคัญต่อกายจริงหรือไม่ นักจิตวิทยาร่วมมือกับนายแพทย์ท่านหนึ่ง ไปตรวจร่างกายของนักกีฬายกน้ำหนักถึงโรงยิม เมื่อไปถึงนายแพทย์ก็ตรวจวัดร่างกายของนักกีฬายกน้ำหนักคนหนึ่ง

ซึ่งมีร่างกายที่แข็งแรงมาก เขากำลังฝึกยกน้ำหนักอยู่พอดี เมื่อไปถึงนายแพทย์ใช้ปรอทวัดไข้อยู่สักพักหนึ่ง รอไม่กี่นาที ท่านก็รายงานด้วยสีหน้าเป็นกังวลว่า นักกีฬาคนนี้กำลังมีปัญหาใหญ่ เพราะตรวจพบ “บางอย่าง” ในร่างกาย ขอให้งดการฝึกซ้อมเอาไว้ก่อน

พอนายแพทย์พูดจบ นักกีฬาร่างล่ำบึ้ก มีสีหน้าเครียดขึ้นมาทันที เขายกน้ำหนักต่อไปไม่ไหว ยกอย่างไรก็เป็นที่พอใจ อ่อนเปลี้ยเพลียแรงไปหมด เขาจึงขออนุญาตลากลับไปพักหลายวัน ต่อมานายแพทย์และนักจิตวิทยา จึงขอโทษนักกีฬาคนนั้นพร้อมทั้งบอกความจริงว่า ผลการตรวจสุขภาพไม่เป็นอันตรายอย่างที่เป็นกังวลสักนิด ที่แจ้งผลไปก่อนหน้านั้น เป็นเพียงการทดลองอย่างหนึ่งเท่านั้น

ซึ่งทั้งครูฝึกนักจิตวิทยา และนายแพทย์ร่วมมือกันและรู้กันมาแต่ต้นอยู่แล้ว ทันทีที่ทราบผลว่า ตนไม่เป็นอะไร วันรุ่งขึ้นนักกีฬาคนนั้นก็มาฝึกซ้อมต่อ และคราวนี้เขาสดชื่นรื่นเริงอย่างเห็นได้ชัด

การทดลองคราวนี้ ก็สะท้อนหลักการที่ว่า “ใจเป็นอย่างไร ร่างกายเป็นอย่างนั้น” จริงๆ




ความจริง ในชีวิตของคนเรานั้น หากสังเกตให้ดีเราจะพบว่า พฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงผลออกมาทางกายนั้น ล้วนได้รับอิทธิพลของใจทั้งสิ้น

คนที่มีสีหน้าสดชื่น ผ่องใส ใจเย็นโดยธรรมชาติ (ไม่ใช่ใสเพราะฝีมือหมอ) ก็เพราะลึกๆ แล้ว เขาไม่มีความเครียดเจือปนอยู่ในใจ คนที่หงุดหงิดงุ่นง่าน ก็เพราะในใจเขา เต็มไปด้วยความกังวล คนที่มีพฤติกรรมฉ้อฉล คอรัปชั่น ก็เพราะใจเขามี “ไถยจิต” ซึ่งแปลว่า “จิตที่มีธาตุแห่งความเป็นหัวขโมย” แฝงอยู่ คนที่สู้ชีวิต ก็เพราะใจเขาเปี่ยมด้วย “ปรักกมธาตุ” ซึ่งแปลว่า “ใจนักสู้” อยู่ข้างใน ส่วนคนที่เต็มไปด้วยความอิจฉาตาร้อน ก็เพราะข้างในของเขา หมักหมมอยู่ด้วยไฟริษยานั่นเอง

นอกเป็นอย่างไร ก็สะท้อนว่าใจเป็นอย่างนั้น

กาย จึงเป็นเหมือน เงาสะท้อนของใจ

ใจของเรานั้น ไม่ต่างอะไรกับห้องที่ว่างเปล่า เมื่อเราใส่อะไรเข้าไปในห้องที่ว่างเปล่านั้นสถานภาพของห้องก็จะเปลี่ยนไปทันที


เป็นต้นว่า เรามีห้องว่างเปล่าอยู่ห้องหนึ่ง เมื่อ - -

เราใส่น้ำเข้าไป ก็จะกลายเป็นห้องน้ำ

เราใส่พระพุทธรูปเข้าไป ก็จะกลายเป็นห้องพระ

เราใส่เครื่องมือปรุงอาหารเข้าไป ก็จะกลายเป็นห้องครัว

เราใส่เครื่องนอนเข้าไป ก็จะกลายเป็นห้องนอน

เราใส่ชุดรับแขกเข้าไป ก็จะกลายเป็นห้องรับแขก

เราใส่บุคคลสำคัญเข้าไป ก็จะกลายเป็นห้องวีไอพี

ห้องแห่งหัวใจของเรา ก็ไม่ต่างอะไรกับห้องว่างเปล่าที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเลย ทุกครั้งที่เราบรรจุอะไรเข้าไปในใจ ใจของเราก็จะเปลี่ยนสถานภาพเหมือนกัน


เราใส่ความเมตตาเข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจดี

เราใส่ธรรมะเข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจบุญ

เราใส่ความโกรธเข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจร้อน

เราใส่ความเลวเข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจทราม

เราใส่ความกลัวเข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจเสาะ

เราใส่ความเป็นนักสู้เข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจสู้

เราใส่ความขาดสติเข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจลอย


เห็นด้วยกับผู้เขียนหรือไม่ว่า ใจของเรานั้นเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลเหนือกาย เป็นสิ่งที่คอยออกแบบชีวิตของเราให้เป็นไปอย่างไรก็ได้

พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า

“ใจเป็นนาย ใจเป็นผู้นำ ใจเป็นผู้สร้างสรรค์...” หรือ บางทีก็ตรัสว่า “จิตฺเตน นียติ โลโก” แปลว่า “โลกหมุนไปตามใจสั่งการ” โลกในที่นี้ หมายถึง ชีวิตของเรานั่นเอง โลกคือชีวิตจะหมุนซ้าย หมุนขวา หมุนตรงหรือหมุนเอียง หมุนไปข้างหน้า หรือว่าหมุนไปข้างหลัง ทั้งหลายทั้งปวงนั้นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของใจทั้งหมดทั้งสิ้น


ใจของเราไม่ต่างอะไรกับห้องที่ว่างเปล่า เราบรรจุอะไรลงไป ชีวิตของเราก็เป็นไปตามสิ่งที่บรรจุนั้น ทุกวันนี้ เราเคยถามตัวเองบ้างไหมว่า เราบรรจุอะไรลงไปในห้องแห่งหัวใจของเราบ้าง ความรู้ ความงมงาย ความรัก ความโกรธ ความเกลียด ความโลภ ความดี ความชั่ว ความริษยา ความหน้าด้าน ความสะอาด สว่าง สงบ หรือความตื่นรู้

ชีวิตจะเป็นอย่างไร รุ่งโรจน์หรือร่วงโรย ขึ้นสูงหรือลงต่ำ สำคัญที่เราบรรจุอะไรลงไปในใจของเราเอง !



ส่งโดย: ... ^o นีน o^...





Create Date : 28 กันยายน 2551
Last Update : 28 กันยายน 2551 11:45:16 น. 0 comments
Counter : 1056 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]