Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

พินัยกรรมแห่งชีวิต ( Living Will )...เรื่องน่ารู้ เตรียมเผื่อไว้ก่อน ก็ดี ...






https://www.thailivingwill.in.th/

ThaiLivingWill.in.th เป็นสื่อกลางเผยแพร่แนวคิดการตายอย่างมีศักดิ์ศรี ด้วยการรักษาพยาบาลที่เคารพในเจตจำนง คุณค่า และศรัทธาของผู้ป่วย
เว็บไซต์ นี้นำเสนอข้อมูลด้านกฎหมาย บทความ และเรื่องเล่าประสบการณ์ในวาระสุดท้าย เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหนังสือ แสดงเจตนาและสร้างความเข้าใจเรื่องการตายอย่างสงบตามธรรมชาติ

https://www.thailivingwill.in.th/index.php?mo=3&art=283458
ติดต่อขอรับฟรี หนังสือ “ก่อนวันผลัดใบ”
เพื่อการเตรียมตัวจากไปอย่างสงบ
มนุษย์ ทุกชีวิต ล้วนมีวันก่อเกิดและเวลาพลัดพรากเป็นธรรมดา แต่ที่ต่างคือ เราไม่อาจเลือกเกิดได้ ขณะที่เราอาจเลือกได้ว่าจะตายอย่างไร และด้วยสภาวะจิตอย่างไร

การตายที่เลือกได้ในที่นี้ไม่ใช่การฆ่าตัวตายและก็ไม่ใช่ “การุณยฆาต” (mercy killing) คือเร่งให้ตายเพื่อหนีความทุกข์ทรมาน

การตายที่เลือกได้ในที่นี้ มาจาก ความปรารถนาภายในใจเจ้าของเรือนร่างผู้ใกล้จาก ไป ซึ่ง ต้องการ กำหนดชะตากรรมในวาระสุดท้ายของตนเองให้เป็นไปตามวาระกรรมของ ธรรมชาติ ปราศจากการยื้อหรือเร่งการตาย

หนังสือ กึ่งคู่มือ “ก่อนวันผลัดใบ” จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อแนะนำความรู้และวิธีการเบื้องต้นให้แก่ผู้สนใจการเผชิญ ความตายอย่างสงบตามธรรมชาติ โดยเฉพาะในแง่มุมกฎหมายที่ล่าสุด พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มาตรา 12 ได้ระบุให้ความคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลที่ประสงค์แสดงความจำนงล่วงหน้าดัง กล่าวในรูปแบบของ “หนังสือแสดงเจตนา” หรือที่รู้จักกันทั่วไปในความหมายของพินัยกรรมชีวิต

ใน หนังสือเล่มนี้ มีบทความนำเสนอแง่มุมของกฎหมายที่สนับสนุนการใช้สิทธิพลเมืองที่จะขอ “ตายดี” อย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีตัวอย่างแบบฟอร์มการทำหนังสือแสดงเจตนา ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้เพื่อแสดงเจตนาของผู้ป่วยและเอื้อให้ญาติ และทีมแพทย์พยาบาลสามารถดำเนินการตามความประสงค์ของผู้ที่จะจากไปได้ด้วย ความเคารพ

นอกจากนั้น หนังสือเล่มนี้ยังรวบรวมบทความที่นำเสนอข้อเท็จจริงเชิงวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในวาระสุดท้าย หนทางสู่การตายดีในมิติทางจิตวิญญาณ ตลอดจนการเตรียมตัวเตรียมใจเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนผ่านและบทบาทที่เหมาะ ควรของอีกหลายชีวิตที่จำต้องเข้ามาข้องเกี่ยว ไม่ว่าจะเป็นแพทย์พยาบาลผู้รักษาหรือญาติมิตรผู้ใกล้ชิด

ทุกชีวิต ย่อมเดินทางมาถึงวาระสุดท้าย ไม่ช้าก็เร็ว ฉะนั้น จะไม่ดีกว่าหรือที่จะหันมาเริ่มต้นอย่างตระหนักรู้ และหมั่นฝึกฝนจิตใจภายในให้เข้มแข็ง เพื่อดำเนินชีวิตนี้อย่างมีสติและพร้อมส่งยิ้มให้แก่ความไม่รู้ในโลกหน้า

ผู้ที่สนใจ กรุณาติดต่อขอรับหนังสือ ก่อนวันผลัดใบ ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายที่
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
อาคารทิศเหนือสวนสุขภาพ
กระทรวงสาธารณสุข
ถ.ติวานนท์ อ.เมือง
จ. นนทุบรี 11000
โทรศัพท์ 02-590-2304
โทรสาร. 02-590-2311

หรือ thailivingwill@gmail.com

โดยกรุณาระบุ ชื่อบุคคลหรือองค์กร รวมถึงที่อยู่ที่ต้องการให้นำส่งหนังสือ




ปล. เรื่องนี้คงต้องใช้เวลา อีกสักพัก ที่จะยอมรับ ทั้ง แพทย์ ผู้ป่วย ญาติ และ นักกฏหมาย ( ทนาย อัยการ ศาล ) ....

ตอนนี้ กฏหมายยังไม่มีการรับรอง นะครับ (ถึงแม้ว่าจะมีกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญก็ตาม) ...

พินัยกรรมชีวิต ผมก็เขียนเหมือนกัน ... แต่ว่า หลังจากนั้น จะดำเนินการอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับ ญาติ ผู้อยู่เบื้องหลัง   ดังนั้น สำคัญที่สุด ก็คือ ต้องบอกกับญาติ (สามี ภรรยา บุตร ฯลฯ ) ให้ทราบถึงเจตจำนง ของเรา  ไม่งั้น เวลาเกิดปัญหาขึ้น จะมีใครก็ไม่รู้ บอกว่า " ช่วยให้เต็มที่นะหมอ " ... เจอแบบนี้แค่คนเดียว หมอก็ต้องช่วยแล้วครับ ...

( ปล. ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ก็คือ กรณีของท่านพุทธทาส )



แถม ..

สวนโมกข์กรุงเทพ
กิจกรรม : ความตายออกแบบได้
ทุกเสาร์แรกของเดือน
https://www.bia.or.th/html_th/events/2012-03-12-09-31-10/item/373-2013-08-03-11-52-59.html

โครงการเผชิญความตายอย่างสงบ
เครือข่ายพุทธิกาเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม
45/4 ซ.อรุณอมรินทร์ 39 (เหล่าลดา) ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์
เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700

อีเมล: b_netmail@yahoo.com
เฟซบุ๊ค: Peaceful Death
เว็บไซต์: https://www.budnet.org/peacefuldeath

load คู่มือ การเตรียมตัวตาย อย่างสงบ ได้ที่
https://www.budnet.org/file/peaceful/manual_saiduan.pdf




::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::




วิธีเขียน Living Will บนกระดาษเปล่า
..........

ในช่วงสุดท้ายของชีวิต มีวิธีการดูแลสุขภาพได้หลายทาง ทั้งแบบเน้นการรักษาให้อยู่นานที่สุด แบบปล่อยให้จากไปตามธรรมชาติ และแบบที่อยู่ระหว่างกลาง

ผู้ป่วยเท่านั้นเป็นผู้มีสิทธิ์เลือกวิธีการรักษา แต่ปัญหาคือ หากผู้ป่วยอยู่ในสภาพที่สื่อสารไม่ได้ จะมีวิธีบอกความต้องการแก่คนอื่นๆ ได้อย่างไร

Living Will หรือหนังสือแสดงเจตนาเลือกวิธีการรักษาในช่วงสุดท้ายของชีวิต จึงถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อช่วยรักษาสิทธิ์ของผู้ป่วยอีกทางหนึ่ง

เขียนได้ทั้งจากแบบฟอร์ม และแบบไม่ใช้แบบฟอร์ม

เพียงเขียนตามองค์ประกอบทั้ง 5 ประการนี้ในกระดาษเปล่า คุณก็จะได้ Living Will ฉบับสมบูรณ์ที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย โดยไม่ต้องรบกวนทนายความเลยสักคนเดียว

อ่านวิธีเขียน Living Will บนกระดาษเปล่าได้จากบทความของชีวามิตร
www.cheevamitr.com/blog/18



วิธีเขียน Living Will บนกระดาษเปล่า

19.01.61

ในช่วงสุดท้ายของชีวิต มีวิธีการดูแลสุขภาพได้หลายทาง ทั้งแบบเน้นการรักษาให้อยู่นานที่สุด แบบเน้นการปล่อยให้จากไปตามธรรมชาติ และแบบที่อยู่ระหว่างกลาง

ทั้งนี้ ผู้ป่วยเท่านั้นเป็นผู้มีสิทธิ์เลือกวิธีการรักษา แต่ปัญหาคือ หากผู้ป่วยอยู่ในสภาพที่สื่อสารไม่ได้ จะมีวิธีป้องกันอย่างไร

Living Will หรือหนังสือแสดงเจตนาเลือกวิธีการรักษาในช่วงสุดท้ายของชีวิต จึงถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อช่วยรักษาสิทธิ์ของผู้ป่วยอีกทางหนึ่ง

เพียงเขียนองค์ประกอบทั้ง 5 ประการนี้ในกระดาษเปล่า คุณก็จะได้ Living Will ฉบับสมบูรณ์ ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย โดยไม่ต้องรบกวนทนายความสักคนเดียว

1. ข้อมูลส่วนบุคคล

เช่น ชื่อ นามสกุล ของผู้เขียน Living Will หมายเลขประจำตัวประชาชน อายุ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ วันเดือนปีที่ทำหนังสือแสดงเจตนา ส่วนนี้คุณอาจเขียนกำกับไว้ว่า คุณเป็นผู้เขียนเอกสารนี้ด้วยตนเองและมีสติสัมปชัญญะดี

ในส่วนนี้ คุณอาจบอกโลกทัศน์เกี่ยวกับชีวิตและความตาย บอกคุณค่าที่คุณต้องการได้รับ เช่น ต้องการความเคารพ ต้องการศักดิ์ศรี ต้องการความสุขสบาย ไม่ต้องการเป็นภาระของครอบครัว ไม่อยากทุกข์ทรมานเป็นเวลานาน เป็นต้น

2. อยากให้ครอบครัวและทีมสุขภาพดูแลคุณอย่างไร

เช่น อยากรักษาตัวที่ไหน อยากให้ใครมาเยี่ยมดูแล คุณต้องการการปั๊มหัวใจ ใส่ท่อช่วยหายใจ ยินยอมรับอาหารทางท่อหรือไม่ หากหายใจไม่ออกจะให้ทำอย่างไร ยินยอมให้แพทย์ใช้ยากระตุ้นหัวใจไหม หากจำเป็นต้องล้างไตจะอนุญาตให้แพทย์ล้างหรือไม่ เป็นต้น

4. ชื่อผู้แทนการตัดสินใจ 

ระบุชื่อคนที่จะมาเป็นตัวแทนของคุณ คนที่จะพิทักษ์เจตนารมย์ ตัดสินใจแทนคุณเรื่องการชีวิตช่วงสุดท้าย รวมทั้งวิธีติดต่อบุคคลนั้นๆ

5. การดูแลหลังเสียชีวิต

คุณอาจฝากฝังสิ่งที่ยังห่วงกังวลไว้ที่นี้ แจกแจงความประสงค์เกี่ยวกับการจัดงานศพ การจัดการกระดูก อัฐิ หรือร่างกายส่วนที่เหลือ

6. ลงลายมือชื่อ

เซ็นชื่อของคุณ หากมีพยานอาจลงลายมือพยานพร้อมบอกความเกี่ยวข้องด้วย

เมื่อเขียนทุกอย่างครบแล้ว ให้นำ Living Will ไปสื่อสารกับครอบครัว ให้ทุกคนได้รับรู้ความต้องการทั่วกัน จากนั้นถ่ายเอกสารแนบไว้กับแฟ้มประวัติผู้ป่วยของโรงพยาบาลที่คุณสังกัด คุณอาจปรึกษาข้อความในเอกสารกับแพทย์ที่ดูแลสุขภาพของคุณอยู่ก็ได้

Living Will ฉบับนี้สามารถปรับแก้ได้ตลอดเวลา เพียงขีดฆ่าหรือเพิ่มข้อความใหม่ ระบุวันที่ แล้วเซ็นชื่อกำกับ หรือจะยกเลิกเอกสารด้วยการขีดฆ่าแล้วเขียนขึ้นใหม่ก็ได้ แต่ต้องปรับปรุงเอกสารที่ฝากไว้กับโรงพยาบาลด้วย

Living Will ให้ความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 12 บุคลากรสุขภาพที่ดูแลผู้ป่วยตามที่เขียนเอกสารและตามจริยธรรมทางวิชาชีพ จะไม่มีความผิดทางกฎหมาย ส่วนบุคลากรสุขภาพที่ไม่ปฏิบัติตามเอกสาร แต่ปฏิบัติตามหลักวิชาชีพ ก็ไม่มีความผิดทางกฎหมายเช่นกัน แต่ควรสื่อสารเหตุผลกับญาติให้เข้าใจ

Living Will ครอบคลุมเฉพาะความเจ็บป่วยระยะสุดท้ายและผู้ป่วยไม่สามารถสื่อสารได้ หากผู้ป่วยยังพูดได้ ให้ถือเอาคำพูดของผู้ป่วยเป็นสำคัญ เอกสารฉบับนี้ยังไม่ครอบคลุมการเจ็บป่วยนั้นมีลักษณะฉับพลัน หรือการประสบอุบัติเหตุที่ฟื้นฟูให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้ กรณีหลัง ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือแบบฉุกเฉินตามขั้นตอนปกติ

Living Will เป็นเพียงเอกสารแสดงเจตนารมย์ในลักษณะทั่วไป แม้ไม่ป่วยก็เขียนได้ แต่เมื่อผู้เขียนได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคที่ร้ายแรง เห็นแนวพัฒนาการของโรคมากขึ้น แพทย์หน่วยดูแลแบบประคับประคองมักจะชวนตั้งเป้าหมายการดูแลสุขภาพ วางแผนการดูแลระยะสั้น-ยาว กระบวนการดังกล่าวเรียกว่าการวางแผนสุขภาพล่วงหน้า หรือ Advance Care Plan และอาจปรับปรุง Living Will ให้สอดคล้องกับภาวะโรคมากขั้น

หากเปรียบชีวิตเหมือนการขับรถทางไกล ผู้ป่วยคือผู้ถือพวงมาลัยเหยียบคันเร่ง เลือกเส้นทางชีวิต ส่วนแพทย์ก็คือคนนั่งเบาะข้าง ช่วยถือแผนที่แนะนำทางเข้าสู่เส้นชัยไปด้วยกันนั่นเอง

ที่มา: คู่มือผู้ให้บริการสาธารณสุข กฎหมายและแนวทางการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ฉบับปรับปรุง โดย สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) 






Create Date : 29 พฤษภาคม 2552
Last Update : 20 มกราคม 2561 14:17:43 น. 3 comments
Counter : 7213 Pageviews.  

 
ถ้าใครสนใจเรื่องราวที่เกิดขึ้น ในช่วงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต ของ ท่านพุทธทาศ ก็แวะไปอ่านได้เลยครับ



แนะนำหนังสือน่าอ่าน " ท่านอาจารย์พุทธทาส : คนไข้ที่ผมได้รู้จัก " โดย นพ.นิธิพัฒน์ เจียรสกุล

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-07-2009&group=8&gblog=79


โดย: หมอหมู วันที่: 10 กรกฎาคม 2552 เวลา:18:31:12 น.  

 
//www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000149780

ครม.ผ่านกฎกระทรวงสิทธิการตาย เปิดช่องหมอยุติรักษาตามเจตนาคนไข้

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 ธันวาคม 2552 08:35 น.



เลขาฯสช.ชี้ครม .ผ่านกฎกระทรวงสิทธิการตาย ขอปฏิเสธการรักษา ไม่ใช่หนังสือขอให้หมอทำให้ตาย แต่เป็นความต้องการของผู้ป่วยระยะสุดท้ายขอให้ยุติการรักษาไม่ยื้อชีวิตเป็น ลายลักษณ์อักษร เปิดช่องให้หมอทำได้

นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมสุขภาพแห่งชาติ กล่าวถึงคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบในหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตาม หนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการ ตายในวาระสุดท้ายของชีวิตหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยพ.ศ…ที่ออกตาม มาตรา 12 ของพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติว่า หลังจากนี้คาดว่าหลังจากคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาจะมีผลบังคับใช้ประมาณ ก.พ.-มี.ค.2553 สำหรับเนื้อหาของร่างกฎกระทรวงนี้ เป็นการทำหนังสือแสดงความจำนงของผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่จะปฏิเสธการรักษา เพื่อยื้อชีวิต เป็นลายลักษณ์อักษร


"ถือ เป็นสิทธิของผู้ป่วยโดยตรง ไม่ได้เป็นการบังคับ โดยขอให้บุคลากรทางวิชาชีพทำให้เสียชีวิต เพราะทุกข์ทรมานจากการป่วย เช่น การถอดสายออกซิเจน หยุดเครื่องช่วยหายใจ ฯลฯ ซึ่งคนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดแต่ที่จริงแล้วเป็นการแสดงความจำนงของผู้ป่วยเองมากกว่า ว่าหากป่วยในระยะสุดท้ายแล้วรักษาด้วยวิธีใดไม่ดีขึ้น ก็ขอปฏิเสธการรักษา ให้จากโลกนี้ไปอย่างธรรมชาติ ซึ่งปกติมีการประพฤติปฏิบัติกันอยู่แล้ว แต่ครั้งนี้เป็นลายลักษณ์อักษร เหมือนกรณีกับนายยอดรัก สลักใจ ที่บอกหมอและญาติว่า หากป่วยในระยะสุดท้ายแล้วไม่ขอให้แพทย์ดำเนินการรักษาใดๆอีก"นพ.อำพลกล่าว

นพ.อำพล กล่าวอีกว่า หนังสือดังกล่าวที่ผู้ป่วยทำไว้เพื่อขอปฏิเสธการรักษานั้น ไม่ใช่นิติกรรมผูกพันทางมรดก แต่เป็นแค่หนังสือแสดงเจตนาของผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้มีการพูดคุยมากขึ้น เพราะในร่างกฎกระทรวงดังกล่าวได้ระบุว่า หากมีปัญหาในการดำเนินการตามหนังสือดังกล่าว ให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหารือกับญาติหรือบุคคลใกล้ชิดของผู้ป่วย เพื่อกำหนดแนวทางการดูแลรักษาต่อไป โดยเพื่อรักษาประโยชน์ของผู้ป่วยและดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของหนังสือให้ มากที่สุด

นพ.อำพล กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ หนังสือดังกล่าวไม่ได้เป็นหนังสือเชิงนิติกรรมที่แบ่งสมบัติ หรือนำไปใช้ในชั้นศาลได้ ขณะเดียวกันญาติและแพทย์ก็ต้องรับฟังหนังสือดังกล่าว ไม่สามารถยกเลิกได้ เนื่องจากเป็นประสงค์และสิทธิของผู้ป่วย ซึ่งในปัจจุบันแพทย์และญาติของผู้ป่วยจะเป็นผู้ใช้สิทธิส่วนตัวนี้มากกว่า อย่างไรก็ตามไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับภาวะของผู้ป่วยขณะที่เขียนหนังสือดัง กล่าว เพราะจะมีพยานรับรองว่า ผู้ป่วยที่แสดงประสงค์ขอปฏิเสธการรักษาจะต้องมีสติสัมปชัญญะครบถ้วน


ปล.

กฏหมายน่าจะมีผล กพ - มีค ๕๓ ... ก็อีกไม่กี่เดือน ...

ลองถามอากู๋ เรื่อง สิทธิที่จะตาย ได้มาเพียบ .. น่าจะลองแวะไปอ่านดูนะครับ

//search.conduit.com/Results.aspx?q=%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0% B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2&ctid=CT461365&octid=CT461365


โดย: หมอหมู วันที่: 12 ธันวาคม 2552 เวลา:20:20:56 น.  

 


โครงการเผชิญความตายอย่างสงบ

เครือข่ายพุทธิกาเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม
45/4 ซ.อรุณอมรินทร์ 39 (เหล่าลดา) ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์
เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700

อีเมล: b_netmail@yahoo.com
เฟซบุ๊ค: Peaceful Death
เว็บไซต์: //www.budnet.org

load คู่มือ การเตรียมตัวตาย อย่างสงบ ได้ที่

//www.budnet.org/file/peaceful/manual_saiduan.pdf




โดย: หมอหมู วันที่: 11 กรกฎาคม 2555 เวลา:0:54:18 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]