Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

... อิฐสองก้อน ...


ผมได้รับเมล์ นิตยสารธรรมะใกล้ตัวฉบับที่ ๕๘ ประจำวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๑

เห็นว่าน่าสนใจ ได้ความคิดดีๆ เลยนำมาฝากกัน ...

เรื่องนี้ คิดว่าน่าจะมีหลาย ๆ คนได้ผ่านหู ผ่านตา มาบ้างแล้ว ..

แต่สิ่งดี ๆ แบบนี้ อ่านซ้ำอีกรอบ จะเป็นไรไป ....






จากใจ บ.ก. ใกล้ตัว

w-editorกลางชล




สุขสันต์วันคริสมาสต์ และสวัสดีปีใหม่ค่ะ : )



นิตยสารฉบับส่งท้ายปลายปี ๒๕๕๑ นี้

เปิดมาก็ได้ทักทายคุณผู้อ่านตรงกับ "วันคริสมาสต์" พอดีเลยนะคะ *<|:-{)

เป็นวันบรรยากาศเริงรื่น ชื่นมื่น ได้อารมณ์จิงเกิลเบลล์ กันอีกคราหนึ่ง

หลังจากที่ผ่านวันวุ่นวายในช่วงสามร้อยกว่าวันที่ผ่านมา : )



เห็นความแตกแยกทะเลาะเบาะแว้งของผู้คนในประเทศ ในช่วงที่ผ่านมาแล้ว

กลับมาคิดดูอีกที ที่จริงแล้ว ถึงแม้จะไม่มีเหตุการณ์บ้านเมืองมาเป็นปัจจัยก็ตาม

แต่ในชีวิตประจำวันของการอยู่ร่วมกัน การมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในสังคมเล็ก ๆ ย่อย ๆ

เราต่างคนต่างก็มีเรื่องให้กระทบกระทั่งผิดใจกันได้ไม่ยากในทุก ๆ วันอยู่แล้วนะคะ



บ้างคนนี้ก็เข้าใจผิดคนโน้น บ้างคนโน้นก็ไม่พอใจคนนี้

บ้างคนนี้ก็พูดจาไม่เข้าหูคนนั้น บ้างคนนั้นก็ไม่ยอมคนโน้น ฯลฯ

จนบางทีที่เคยเห็นเดินกอดคอกันอยู่ ก็พลอยโกรธขึ้งมึนตึงต่อกันไปได้ง่ายดาย

ทั้งที่บางเรื่องอาจเป็นเพียงน้ำผึ้งหยดเดียวเท่านั้นเอง แต่สำหรับบางคน

เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ บางเรื่อง ก็กลับเป็นเรื่องที่ยากจะอภัยต่อกัน


พระอาจารย์พรหม วังโส เจ้าอาวาสวัดป่าโพธิญาณ ประเทศออสเตรเลีย

เคยเล่าเรื่อง "อิฐสองก้อน" ไว้ในหนังสือ "ชวนม่วนชื่น" ไว้อย่างน่าฟังทีเดียวค่ะ

พูดถึงเรื่องนี้แล้วก็เลยอยากนำมาเล่าให้คุณผู้อ่านที่ยังไม่เคยอ่านได้ฟังกันดูนะคะ



พระอาจารย์พรหม ท่านเล่าว่า ตอนที่ท่านเริ่มสร้างวัดจากที่ดินเปล่า ๆ ผืนหนึ่ง

การก่อสร้างนั้นช่างยากเย็น แม้แต่การก่อกำแพงอิฐที่ดูเหมือนเป็นเรื่องง่าย ๆ

แค่โปะปูนลงไป แล้ววางก้อนอิฐ แตะด้านนี้ที ด้านนั้นที ให้เข้าที่ ก็น่าจะใช้ได้แล้ว

แต่ความจริง... ตอนเริ่มก่ออิฐใหม่ ๆ แตะกดมุมหนึ่ง อีกมุมหนึ่งก็กลับยกขึ้น

พอกดด้านที่ยกให้ลงมา อิฐก็เริ่มแตกแนว พอดันกลับเข้าที่ มุมแรกก็สูงเกินไปอีก



แต่ท่านก็อดทนก่อกำแพงอิฐนี้อย่างไม่สนใจว่าจะต้องใช้เวลายาวนานสักเท่าใด

เพื่อจัดเรียงอิฐทุกก้อน ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และถูกวางไว้โดยสมบูรณ์ที่สุด

จนกระทั่ง กำแพงอิฐแผงแรกสำเร็จลงด้วยดี



ท่านก้าวถอยหลังออกมาเพื่อชื่นชมผลงานนั้น

แต่แล้ว... ก็กลับสังเกตเห็นว่า มีอิฐอยู่สองก้อน ที่ทำมุมเอียงกับแนวอิฐก้อนอื่น ๆ

ทำให้กำแพงทั้งแผงมีตำหนิและดูไม่สวยงามเลย



แต่ถึงเวลานั้น ปูนก็แข็งเกินกว่าที่จะดึงอิฐสองก้อนนั้นมาเรียงใหม่ได้แล้ว

พระอาจารย์พรหมท่านรู้สึกอับอายอย่างยิ่งที่กำแพงมีความน่าเกลียด ไม่สวยงาม

จึงขออนุญาตท่านเจ้าอาวาสทุบทิ้งเพื่อที่จะสร้างใหม่ แต่ท่านเจ้าอาวาสไม่อนุญาต



นับตั้งแต่นั้น เมื่อมีแขกมาเยี่ยมชมวัด พระอาจารย์พรหมก็มักจะพาผู้ที่มาเยี่ยมชม

เดินเลี่ยงกำแพงแถบนั้น และดึงความสนใจไปที่ส่วนอื่น ๆ เสมอ ๆ



จนกระทั่ง ๓ เดือนต่อมา มีผู้มาเยี่ยมชมวัดคนหนึ่ง

เห็นกำแพงนั้นเข้า และเอ่ยกับท่านว่า "กำแพงนี้สวยดีนี่"


"คุณลืมแว่นสายตาไว้ในรถหรือเปล่า
คุณไม่เห็นหรือว่ามีอิฐ ๒ ก้อน ที่ก่อผิดพลาด จนกำแพงดูไม่ดี"


"ใช่... ผมเห็นอิฐสองก้อนนั้น" ชายผู้นั้นตอบ

"แต่ผมก็เห็นด้วยว่า มีอิฐอีก ๙๙๘ ก้อน ก่อไว้เป็นระเบียบสวยงามมาก"




พระอาจารย์พรหมถึงกับอึ้ง...

เป็นครั้งแรกในรอบ ๓ เดือน ที่ท่านสามารถมองเห็นอิฐก้อนอื่น ๆ บนกำแพง

ที่ผ่านมา นอกเหนือจากอิฐ ๒ ก้อนที่เป็นปัญหา ตาของท่านมืดบอดต่อสิ่งอื่นทั้งหมด

ทั้งที่จริง อิฐทุกก้อน ทุกตำแหน่ง นอกจากอิฐ ๒ ก้อนนั้น ล้วนก่อไว้อย่างดีไม่มีที่ติ

ยิ่งไปกว่านั้น จำนวนอิฐที่ดีก็มีมากกว่าอิฐไม่ดี ๒ ก้อนนั้นด้วย



ท่านอยากทลายกำแพงลง เพราะมองเห็นแต่อิฐ ๒ ก้อนที่ผิดพลาด



ทันทีที่ความรู้สึกเปิดกว้าง มองเห็นอิฐก้อนดี ๆ จำนวนมากบนกำแพงนี้

กำแพงเดิมที่อยากทลายลงก็กลับงดงามขึ้นมาทันที




"ใช่... กำแพงนี้สวยดี" พระอาจารย์พรหมหันไปเปรยกับชายผู้มาเยี่ยมชมคนนั้น



นับแต่นั้น เมื่อท่านมีสายตาที่สามารถมองเห็นอิฐดี ๆ ได้แล้ว

กำแพงนี้ก็ไม่น่าเกลียดสำหรับท่านอีกต่อไป…




เช่นเดียวกัน เราทุกคนต่างก็มีอิฐ ๒ ก้อนนั้นอยู่ในตัวเองกันทั้งนั้นนะคะ

ไม่มีใครหรอกค่ะ ที่จะดีร้อยเปอร์เซ็นต์ หรือเลวร้ายร้อยเปอร์เซ็นต์

อย่าว่าแต่ใครเลยค่ะ ตัวเราเองนี่แหละ คนเดียวกัน วันเดียวกันแท้ ๆ

ยังแกว่งขึ้นแกว่งลง เป็นคนดีบ้าง เป็นคนน่าเกลียดบ้าง สลับกันไปได้ทั้งวัน



หลายคน ตัดสัมพันธ์กับคนเคยที่เคยใกล้ชิดและปรารถนาดีต่อกันมา

เพราะเพ่งมองแต่อิฐที่ไม่ดี ๒ ก้อนในคนเหล่านั้น



หากเราหันมามองผู้คนรอบข้างด้วยสายตาที่เมตตาต่อกันมากขึ้น

ไม่ให้เรื่องลบเพียงหนึ่งหรือสอง มาทำลายความสวยงามที่เคยมีต่อกันถึงร้อยถึงพัน

ขัดแย้งกันอย่างไร เปิดใจคุยกันด้วยเหตุด้วยผล

ผิดพลาดอย่างไร น้อมรับไปปรับปรุง และให้อภัยต่อกัน

แม้กำแพงนั้นจะมีตำหนิอย่างไร

มันก็จะยังคงตระหง่านสวยงาม และคุ้มภัยให้กันและกันได้เสมอ



ที่จริง ไม่เท่าไหร่เราก็ตายจากกันอยู่แล้วนะคะ

ที่จะได้อยู่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันนั้น เอาเข้าจริงก็ไม่ได้นานสักเท่าไหร่หรอกค่ะ

อิฐแค่ ๒ ก้อน ไม่ได้มีค่าควรแก่การนำมาเป็นสาระยึดถืออะไรในชีวิตเลย




ทั้งเรา ทั้งคนอื่น ทุกคน ต่างก็ล้วนเป็นผู้ที่ยัง "ต้องขัดเกลา" ด้วยกันทั้งสิ้น

ขอเพียง พร้อมปรับปรุงตน พร้อมให้โอกาส และพร้อมให้อภัย ทั้งต่อผู้อื่น และต่อตัวเอง

เราต่างคนต่างก็จะได้พัฒนาจิตใจของตัวเราเองไปพร้อม ๆ กันด้วย



สุดท้ายแล้ว... กำแพงก็อาจจะไม่สวยสักหน่อย และอาจจะไม่มีวันสวยขึ้นเลยก็ได้

แต่เชื่อเลยค่ะว่า ผู้คนรอบรั้วกำแพงน่าจะดูมีความสุขกว่ากันเป็นกอง ว่าไหมคะ : )

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .



อีเมล์ฉบับนี้ได้แนบ นิตยสารในรูปแบบ .doc มาแล้ว



อ่านทุกฉบับผ่าน website

//dungtrin.com/mag



อ่านด้วยโปรแกรม Word

//dungtrin.com/mag/word/58.doc



เสียงอ่านหนังสือธรรมะใกล้ตัว wma mp3

//dungtrin.com/mag/sound.php?58



รูปแบบ PDF คุณภาพสูง และ PDF Booklet พร้อมพิมพ์ เป็นหนังสือ

//dungtrin.com/mag/?58.pdf



สมัครสมาชิกนิตยสาร รับอีเมล์ทุกวันพฤหัสบดี สัปดาห์เว้นสัปดาห์

//dungtrin.com/mail








Create Date : 28 ธันวาคม 2551
Last Update : 28 ธันวาคม 2551 11:05:14 น. 2 comments
Counter : 1338 Pageviews.  

 
ขอบคุณค่ะหมอ ที่หาเรื่องดีๆมาให้อ่าน


โดย: patra_vet วันที่: 28 ธันวาคม 2551 เวลา:17:40:25 น.  

 
สวัสดีค่ะคุรหมอหมู ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ ขอแอดเป็นเพือนค่ะ เรื่องนี้ หลินเคยอ่านแล้วค่ะ จากหนังสือ ชวนม่วนชื่น

ชอบพระอาจารย์เหมือนกันเลยคร้า ขอบคุณมากค่ะ เจอคนชอบธรรมะเหมือนกัน ขอบคุณค่ะ


โดย: หลินเอ๋อ (ย่าชอบเล่า ) วันที่: 28 ธันวาคม 2551 เวลา:19:07:05 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]