Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

จากใจ บก. นิตยสารธรรมะใกล้ตัว

ผมสมัครรับข่าวสาร ผ่านเมล์ ...

เห็นว่า มีเนื้อหาง่าย ๆ น่าสนใจดี .. เลยนำมาฝากกัน ...






จากใจ บ.ก. ใกล้ตัว

w-editorกลางชล




สวัสดีค่ะ



ฮ้า... ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เหนื่อยแทบแย่ค่ะ

เพราะอยู่ ๆ ก็ลุกขึ้นมาจัดบ้านจัดห้องเสียใหม่ ให้ "๕ ส." กว่าเดิม

(ไม่ใช่ ส. สกปรก โสมม สะสม สุมสุม ฯลฯ อะไรแบบนั้นนะคะ ^^")



จัดไปจัดมา รื้อไปรื้อมา ก็พบว่ามีของหลายชิ้นเหลือเกินค่ะ ที่นานมาแล้วเคยคิดว่า

เอาน่า เก็บไว้ก่อน คงได้ใช้มันอีกวันข้างหน้า หรือเห็นว่ามันยังมีคุณค่าทางจิตใจ

แล้วก็ทุกทีค่ะ เอาเข้าจริง หลายครั้งก็ลืมไปแล้วด้วยซ้ำว่า มีมันอยู่ในบ้านด้วยหรือนี่



ของเก่า ๆ หลายอย่าง ก็แทบไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว

เครื่องพิมพ์ดีด... เมื่อคอมพิวเตอร์มาแทนที่ อุปกรณ์ชิ้นนี้ก็หมดหน้าที่ไปโดยปริยาย

ขิม... เปิดมาเห็นมันนอนนิ่งจนกระเป๋าเปื่อย ก็เหนื่อยใจแกมขำตัวเองตอนเด็ก ๆ

ที่รบเร้าพ่อกับแม่ให้ซื้อให้เหลือเกิน ด้วยอิทธิพลของอังศุมาลินในยุคกวาง กมลชนก : )



รื้อไป จัดไป ก็ยังไปเจอเอากรุสมบัติสมัยวัยเยาว์ในตู้อีกมากมาย...

สมุดสะสมแสตมป์ สมุดสะสมเหรียญกษาปณ์เล็กใหญ่ จากหลากหลายประเทศ

เสื้อนักเรียนสีขาวอมเหลือง ที่มีลายมือเพื่อน ๆ เขียนคำอำลาเปรอะเปื้อนไปทั้งตัว

สมุดเฟรนด์ชิปตั้งแต่สมัยประถม ที่คั่นหนังสือหลากหลายรูปแบบที่สะสมไว้

จดหมายสมัยเขียนเพ็นเฟรนด์ ไดอารี่เป็นเล่ม ๆ ที่ต้องมีล็อกด้วยถึงจะดูขลัง : )

ไม่นับเหรียญเงินเหรียญทองของเก๊ ที่ได้มาตอนชนะกีฬาสี แล้วภูมิใจเก็บไว้เสียนาน

กับปีกกล้าหาญตอนเข้าค่ายกระโดดหอ ฯลฯ สารพัดที่จะเก็บสะสมไว้จริง ๆ เลยค่ะ



เวลาผ่านไปเนิ่นนาน... กลับมามองอีกที

ความรู้สึกต่อสิ่งเหล่านี้ก็เปลี่ยนไปหมดแล้ว



ของเก็บสะสมเหล่านี้ แท้จริงก็คือวัสดุธรรมดา ๆ

ที่เราสมมติให้ค่ากับมัน ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เท่านั้นเอง

วัสดุขึ้นรูปเป็นเหรียญพลาสติกกลม ๆ สีแบบนี้ เขาก็สมมติให้เรียกว่า เหรียญทอง

คล้องให้ใครก็สมมติกันว่า คนนี้เป็นเลิศ ใครได้ไปก็เกาะเกี่ยวกับความภูมิใจอยู่ชั่วครู่

ลายมือบนเสื้อนักเรียนที่เพื่อนร่วมชั้นเคยเขียนบอกว่ารักกันนัก รักกันหนา

ในความเป็นจริง ความรู้สึกนานาชนิดก็อยู่ภายใต้กฎของการเปลี่ยนแปลงไปเสมอเช่นกัน



ของบางอย่าง เราก็เก็บมันไว้ราวกับว่า "ความสุข" เป็นสิ่งที่เก็บใส่ตู้ไว้ได้อย่างนั้น

ของบางอย่าง เราก็ทิ้งมันไปนานแล้ว เพราะมันไม่ได้ให้ความสุขอะไรแก่เราอีกต่อไป

วันนี้ หยิบของหลาย ๆ ชิ้น เอาไปทิ้งบ้าง เอาไปให้คนที่อยากได้บ้าง เอาไปบริจาคบ้าง



และแค่สละมันออกไปเสียบ้าง ก็ช่วยให้ห้องโล่งว่างขึ้นอีกเป็นกอง



ยังโชคดีนะคะ ที่ของพวกนี้ แค่รื้อ แค่เก็บกวาด

แค่หยิบมันออกไปทิ้ง ห้องหับก็สะอาดน่าอยู่ได้ไม่ยากนัก



แต่คงเป็นธรรมดาที่คนเรามักจะคุ้นชินอยู่แต่กับการมองออกไปข้างนอก

ทั้งที่จริงแล้ว เราต่างคนต่างสะสมอะไรพอกพูนอยู่ในใจกันมามากมายตลอดชีวิต

บางคนไม่เคยเลยที่จะเก็บกวาดขยะ สละความรู้สึกด้านมืดออกไปจากใจ

บางคนนานเท่าใด ก็ไม่เคยแม้แต่จะย้อนมา "เห็น" ความรกในใจนั้นสักครั้งเดียว



ใครเคยทำเราโกรธ ใครเคยทิ้งเราไป ใครเคยทำเราเจ็บช้ำน้ำใจ

ผ่านไปกี่ปี ความรู้สึกปักจิตปักใจนี้ ก็ยังคงเก็บกักอยู่ใต้พรมอย่างนั้นไม่หายไปไหน

วันดีคืนดีเปิดไปเจอเข้า ก็ฟุ้งมาทำให้เราสำลัก แล้วก็ได้แต่เก็บกักมันไว้อย่างนั้นต่อไป



มีคนเคยพูดเปรียบเปรยไว้ไม่ต่างกันว่า...



น้ำที่ขังอยู่ ไม่ไหล ย่อมเน่าเหม็น ฉันใด

จิตที่เก็บกักความรู้สึกต่าง ๆ ไว้ ไม่ปล่อยไป

ย่อมทุกข์ใจ ฉันนั้น



ทั้ง ๆ ที่จิตใจก็ไม่ได้มีรูปพรรณสัณฐานให้จับต้องมองเห็น

แต่กลับเป็นแหล่งสะสมชั้นดี ที่พอกพูนความโลภ โกรธ หลง ไว้เป็นตัวตนจนหนาทึบ

นับแต่แรกเกิดมาเป็นตัวตนจนถึงวันนี้ เรามีแต่สะสมความเห็นผิดกันโดยไม่รู้ตัวว่า

นี่เป็นเรา นั่นของเรา นี่ก็เป็นเรา โน่นก็ของเรา มากขึ้นเรื่อย ๆ โตวันโตคืนอยู่ทุกวินาที



คนที่อยากมีบ้านสวยงามน่าอยู่ ลองดูเถอะค่ะ เขาก็จะเลือกจัดเก็บไว้แต่ของดีมีคุณค่า

สิ่งใดรก สิ่งใดเลอะ ไม่สวยงาม ไม่มีประโยชน์ เขาก็เก็บกวาดเอาออกไปทิ้งสม่ำเสมอ

และพยายามไม่เอาสิ่งที่เป็นขยะเข้ามาเก็บไว้ในบ้าน



เช่นเดียวกัน ใครปรารถนาเรือนชีวิตที่สว่างและสะอาดขึ้น

ก็เริ่มต้นได้ง่าย ๆ ด้วยการให้ทาน เป็นการสละส่วนเกินที่รกรุงรังออกไปจากใจ

และรักษาศีลไว้ ไม่โกยขยะอันเป็นความมืดเข้ามาสะสมไว้ในเรือน



เราอาจเริ่มต้นด้วยการสละความตระหนี่ถี่เหนียวใกล้ ๆ ตัว

สละความหวงแหนในของของตน สละความขึ้งเคียดพยาบาทกับคนรอบข้าง

อาจเริ่มจากการให้ทรัพย์เป็นทาน บริจาคข้าวของที่ไม่ใช้แล้วให้คนอื่นได้ใช้ประโยชน์

สละแรงกายแรงใจช่วยงานกุศลโดยไม่หวังผลตอบแทน มีน้ำจิตน้ำใจเอื้อเฟื้อ

บริจาคเลือดเนื้อหรืออวัยวะ ให้ธรรมะเป็นทาน หรือแม้แต่ให้ทานด้วยการ "อภัย" ฯลฯ



และเมื่อเรารักษาศีล ๕ จนเป็นปกติของชีวิตประจำวัน

ไม่ทำร้ายชีวิตผู้อื่น ไม่อยากได้ของที่ไม่ใช่ของตน ไม่ผิดลูกเขาเมียใคร

ไม่นิยมโกหกพกลม และไม่สั่งสมการร่ำสุราจนสติไม่อยู่กับเนื้อกับตัว

ใจที่หม่นหมองมืดมัว และชีวิตที่อยู่ไม่เป็นสุขจากการไล่ล่าแห่งวิบากกรรม

ก็ย่อมไม่เกิดขึ้น เพียงเท่านี้ เรือนชีวิตของเราก็สะอาดโล่งเป็นสุขขึ้นมากมายแล้ว



แต่นั่นเอง การมีเรือน คือกายคือใจนี้

ก็ยังเป็นภาระให้ต้อง "แบก" อยู่ร่ำไป



หลายคนตั้งหน้าตั้งตาทำเรือนให้เป็นสีขาว

คิดว่าการตั้งมั่นอยู่กับความดี เป็นเป้าหมายที่น่าปรารถนาที่สุดแล้ว



จริงอยู่ บ้านที่สวยงามย่อมน่าอยู่ แต่มีอะไรในธรรมชาติบ้างเล่า ที่เป็นอย่างใจได้เสมอไป

การ "เป็น" คนดี ก็ยังคงต้องทุกข์แบบคนดี

เรือนขาว ๆ สวย ๆ ของเรามีฝุ่นมาจับ มีคนกวาดขยะมาใส่หน้าบ้าน ก็รำคาญใจ

เผลอไปหน่อยเดียว มีเศษขยะพลัดเข้ามาในบ้าน ก็ไม่ชอบใจ

ผ่านร้อนผ่านหนาวจนเรือนเราเก่าไป ผุพัง ไม่งามดังเดิม ก็ดิ้นรน เป็นความทุกข์ใจอีก



ความสุขที่เบาสบายยิ่งกว่า ยังมีอยู่

นั่นคือการไม่ต้องแบกเรือนนี้ไว้อีกเลย แม้มีก็เหมือนไม่มี



พระพุทธเจ้าสอนให้เรารู้จัก "ทุกข์" ที่ละเอียดลึกซึ้งขึ้นไปอีกขั้น

ทุกข์ ไม่ใช่แค่เรื่อง เป็นหนี้ สอบตก อกหัก รักสลาย เป็นโรคร้าย ตายจากกัน

อย่างที่เรารู้จักกันทั่ว ๆ ไปแค่นั้น

แต่ในอีกมุมหนึ่งที่ลึกซึ้งถึงที่สุด พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้เลยค่ะว่า

กายใจ โดยตัวมันเองนั่นแหละ คือทุกข์

จะมีความอยาก ความยึดมั่นหรือไม่ก็ตาม

กายนี้ใจนี้ก็เป็นทุกข์โดยตัวมันเองอยู่แล้ว

นอกจากทุกข์ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ไม่มีสิ่งใดดับไป



ถ้าใครอ่านแล้ว ก็ยังไม่เห็นรู้สึกว่าเป็นอย่างนั้นเลย ก็ไม่น่าแปลกใจหรอกค่ะ

เพราะเราสั่งสมความเห็นผิดชนิดติดคราบฝังลึกแบบตรงข้ามกันมานานนับอนันตชาติ

แต่สิ่งที่เราควรรู้ก็คือ ความสุขชนิดที่เป็นอิสระจากทุกข์ทุกชนิดอย่างถาวรนั้น

มีอยู่จริง ไม่ใช่เรื่องหลอกเด็ก และไม่ใช่ของไกลเกินเอื้อม แม้สำหรับคนยุคเรา



เมื่อไหร่ที่เรารู้จัก "ทุกข์" ได้จริง ๆ จนใจมันฉลาดพอที่จะไม่เอาทุกข์นั้นเองจริง ๆ แล้ว

วันนั้น ก็จะเหลือแต่ สภาวะที่เป็นทุกข์ แต่ไม่มีตัวผู้ทุกข์

คิดดูนะคะ ก็ในเมื่อไม่มีตัว "ผู้ทุกข์" เสียแล้ว

ความอยากที่จะให้ "ตัวของเรา" "ใจของเรา" เป็นสุข จะมาจากไหน

เมื่อวางได้หมด หมดความดิ้นรนที่จะวิ่งหาความสุข วิ่งหนีความทุกข์อีกต่อไป

แม้กายใจมีอยู่ ก็จะไม่มีอะไรให้หยิบฉวยขึ้นมาเป็นตัวตนของตนอีกเลยแม้แต่ขณะเดียว



ฟังดูเข้าใจยาก ๆ แต่เชื่อไหมคะว่า

แม้คุณผู้อ่านก็สามารถไปถึงจุดนั้นได้ และง่ายกว่าหาทางบินไปดวงจันทร์เสียอีก : )



พระพุทธเจ้าท่านตรัสชี้ทางไว้ให้แล้วค่ะว่า เส้นทางไปสู่ความสุขชนิดนั้น

มีทางอยู่สายเดียว คือ การเจริญสติ รู้กาย รู้ใจ เพราะกายใจของเรานั่นแหละ ตัวทุกข์



ลองเปิดใจศึกษาเส้นทางนั้นดูเถิดค่ะ

แล้ววันหนึ่ง แม้ยังมีเรือนกาย เรือนใจ หายใจให้เห็น ๆ กันอยู่อย่างนี้

แต่เราก็จะไม่ต้องดิ้นรนเป็นสุขเป็นทุกข์ เพราะของสมมติหลอก ๆ ที่หลงยึดกันอีกแล้ว



เอ้า... แต่ก็ไม่ใช่ว่า พอคิดว่าจะไม่ยึดเรือนเป็นตัวเป็นตน

แล้วก็ไม่ต้องจัดบ้านจัดช่องกันนะคะ : )



เมื่อยังต้องอาศัยมันอยู่ ก็ควรต้องดูแลให้น่าอยู่ตามสมควร

ระหว่างที่คอยมีสติตามรู้ ตามดู สิ่งแปลกปลอมที่ผ่านมาเยือนเรือนของเราไปเรื่อย ๆ

ก็อย่าลืมเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทำทาน รักษาศีล สร้างกุศล สะสมบารมีไปเรื่อย ๆ ด้วย

เพราะสิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้เราละความเป็นตัวตนได้ในที่สุดทั้งสิ้น



เหมือนที่ครูบาอาจารย์ท่านมักกล่าวสอนนั่นล่ะค่ะว่า

จะไปให้ถึงฝั่งโน้น ก็ยังต้องอาศัยเรือนั่งไปก่อน

บุญกุศลที่สะสมไว้ดีย่อมเหมือนเรือที่ต่อไว้ดีแล้ว ไม่จม ไม่รั่ว

ต่อเมื่อไปถึงฝั่งที่สบายแล้ว เป็นอิสระไม่ทุกข์ไม่ร้อนอีกต่อไปแล้ว ค่อยสละเรือทิ้งไป



เมื่อยังลุ่ม ๆ ดอน ๆ กันอยู่อย่างนี้ ก็อย่าทิ้งกันเชียวนะคะ ทั้งทาน ศีล ภาวนา

ถึงเวลาฝนมาฟ้ามืด เรือใครเรือมัน ช่วยกันไม่ได้ด้วยนะคะ : )



อ้าว... ขึ้นด้วยเรื่องบ้าน ตอนจบทำไมพาคุณผู้อ่านนั่งเรือออกอ่าวไปเสียแล้วนะคะนี่ ; D

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .



เรื่องน่าสนใจประจำฉบับ



มีใครกำลังเบื่องาน ประเภทงานก็หนัก เงินก็น้อย แถมหางานใหม่ก็ไม่เห็นหนทาง

กันบ้างไหมคะ คุณอิ่มใจ เธอผ่านมันมาแล้ว และตอนนี้ก็ได้งานใหม่ที่ดีไปแล้วเสียด้วย

ด้วยเคล็ด (ไม่) ลับบางอย่าง ที่เธอได้เขียนมาเล่าให้ฟังเป็นแรงบันดาลใจเผื่อแผ่กัน

กับเรื่อง หางานใหม่ใครว่ายาก ในคอลัมน์ "สัพเพเหระธรรม" ค่ะ



ช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีใครเห็นหนุ่มสาวนักศึกษา

ขายธงสามเหลี่ยมที่เราคุ้นตากันทุก ๆ วันมหิดลของทุกปีบ้างไหมคะ

คอลัมน์ "ของฝากจากหมอ" ฉบับนี้ คุณหมอ พิมพการัง

เขียนมาเล่าเรื่อง ๒๔ กันยายน จากมุมมองของแพทย์ในช่วงวันนั้นให้เราฟังบ้าง

อ่านไปก็ซึ้งใจไปกับสิ่งที่ธงเล็ก ๆ เหล่านั้นได้แลกเปลี่ยนกลับมา อย่างที่ไม่เคยรู้

อ่านแล้วอาจทำให้เราเห็นคุณค่าของการสละให้แม้เพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ มากขึ้นนะคะ



ปิดท้าย คอลัมน์ "แง่คิดจากหนัง" คุณชลนิล จะพาเราไปดู

สุดยอดหนังแอ็คชั่น ทริลเลอร์ เรื่องหนึ่ง ประเภทแนวเฉือนคมเจ้าพ่อ

กับเรื่อง Jiang hu กอหวู่ – ลงจากหลังเสือ ที่จั่วหัวไว้ชวนติดตามว่า

"จะขึ้นหลังเสือไม่ใช่เรื่องง่าย การลงจากหลังเสือยากยิ่งกว่า"

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น อยากรู้ก็ตีตั๋วตามคุณชลนิลไปดูกันเลยค่ะ

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .



ข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจ



มีหลายคนพลาดโอกาสไปฟังธรรม เมื่อวันที่ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

ท่านได้เมตตาไปแสดงธรรมที่ บ้านอารีย์ เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ที่ผ่านมา

ตอนนี้มีเสียงเทศน์ของท่านให้ดาวน์โหลดไปฟังกันได้แล้วนะคะ

วันนั้นท่านสอนได้น่าฟัง ชวนติดตาม และเข้าใจง่าย สำหรับทุกคนจริง ๆ ค่ะ

ดาวน์โหลดฟังกันได้ที่ //www.wimutti.net/pramote/index.php#preach

(ตรงที่เขียนว่า วันอาทิตย์ที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๑ มูลนิธิบ้านอารีย์)

และยังมีช่างภาพเก็บภาพบรรยากาศมาฝากให้เบิกบานกันอีกรอบด้วย : )

ดูได้ที่นี่เลยค่ะ //larndham.net/index.php?showtopic=32966&st=67



นอกจากนิตยสารของเราแล้ว ยังมีรายการวิทยุธรรมะในเครือเพื่อนบ้านที่น่าสนใจ

ที่อยากมาแนะนำคุณผู้อ่านกันด้วยอีก ๒ รายการ เผื่อใครจะหมุนไปลองฟังกันดูค่ะ : )



รายการแรก "ธรรมะอารีย์" ออกอากาศ ทุกวันเสาร์ ๐๘.๐๐ – ๑๐.๐๐ น.

ทางคลื่น AM 1251 KHz เปิดตัวด้วยช่วง "ปกิณกะธรรม" ที่พูดคุยเรื่องธรรมะกันสบาย ๆ

ตามด้วยช่วง "พระธรรมเทศนา" ที่คัดสรรธรรมะเด็ด ๆ มาเปิดให้ฟังกันเต็มอิ่ม

และปิดท้ายด้วยช่วง "สนทนาถามตอบ" ซึ่งคุณผู้อ่านคุณผู้ฟังท่านไหน

มีคำถามเกี่ยวกับการปฏิบัติ ก็สามารถโทรศัพท์เข้าไปถามกันสด ๆ ได้ด้วยนะคะ

ผู้ที่มาร่วมสนทนาก็เป็นกลุ่มลูกศิษย์หลวงพ่อปราโมทย์ ที่จะมาช่วยแนะนำกันนั่นเองค่ะ



รายการที่สอง "ธรรมะคนเมือง" ออกอากาศ ทุกวันจันทร์ ๑๘.๓๐ – ๑๙.๐๐ น.

ทางคลื่น FM 99.5 ดำเนินรายการโดย คุณโฆษกประจำศาลาลุงชินเจ้าเก่า

คุณ aston27 หรือคุณพิทยากร ลีลาภัทร์ รายการนี้ฟังง่าย ๆ สำหรับคนเมืองโดยเฉพาะค่ะ



แล้วอีกสองสัปดาห์กลับมาพบกันใหม่นะคะ สวัสดีค่ะ







อ่านนิตยสารในหลายรูปแบบ



อีเมล์ฉบับนี้ได้แนบ นิตยสารในรูปแบบ .doc มาแล้ว



อ่านทุกฉบับผ่าน website

//dungtrin.com/mag



อ่านด้วยโปรแกรม Word

//dungtrin.com/mag/word/52.doc



เสียงอ่านหนังสือธรรมะใกล้ตัว wma mp3

//dungtrin.com/mag/sound.php?52


รูปแบบ PDF คุณภาพสูง และ PDF Booklet พร้อมพิมพ์ เป็นหนังสือ

//dungtrin.com/mag/?52.pdf



สมัครสมาชิกนิตยสาร รับอีเมล์ทุกวันพฤหัสบดี สัปดาห์เว้นสัปดาห์

//dungtrin.com/mail




Create Date : 02 ตุลาคม 2551
Last Update : 2 ตุลาคม 2551 18:03:23 น. 2 comments
Counter : 2413 Pageviews.  

 
น่าปลื้มใจแทนน้องกลางชลคนเก่งจังเลยค่ะ


โดย: ทีมงานธรรมะใกล้ตัว (เอสเจ~* ) วันที่: 2 ตุลาคม 2551 เวลา:22:19:19 น.  

 
สวัสดีครับผม ฝากชมโซฟาของผมบ้างนะครับพี่ ต้องการรายละเอียดคำแนะนำ บ้าง

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cpr-computer

ขอบคุณมากครับ

Bank



โดย: cpr-computer วันที่: 21 ตุลาคม 2551 เวลา:1:21:40 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]