- - - - - มานพติก้า และผู้ออกแบบตัวอักษรของไทย - - - -
ดิฉันเป็นพวกหลงใหลตัวหนังสือและการพิมพ์ เวลาที่ได้อ่านประวัติความเป็นมาหรืออะไรก็ตามที่เกี่ยวเนื่องกับตัวอักษรหรือการพิมพ์หนังสือก็จะตื่นเต้นทุกครั้ง เลยเอาบทสัมภาษณ์คุณ มานพ ศรีสมพร ผู้ออกแบบตัวอักษรที่มืชื่อว่า "มานพติก้า" มาให้อ่านกัน
ได้ทราบข่าวจากกลุ่มกราฟฟิกดีไซน์เนอร์ของไทย กลุ่ม design ไปบ่นไป "ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มกราฟฟิกดีไซน์หนุ่มสาวรุ่นใหม่ ซึ่งพวกเค้าจะจัดทำ "รายการพอด คาสท์ที่เป็นพื้นที่สนทนาของนักออกแบบสาขาต่างๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานออกแบบในชีวิตประจำวัน วิชาชีพสายออกแบบ และการศึกษาด้านการออกแบบ แก่ผู้ประกอบวิชาชีพ, นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป เนื้อหาของรายการจะแบ่งเป็นสองลักษณะคือ การไปทำความรู้จักกับนักออกแบบหรือกลุ่มบุคคล, องค์กร เพื่อให้เข้าใจที่มาของวิธีคิดและวิธีทำงานของผู้ร่วมรายการ และการหยิบประเด็นหรืองานออกแบบที่น่าสนใจมาคุยกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง" (หยิบยกมาจาก about designไปบ่นไป)
รายการล่าสุดของ design ไปบ่นไป ถูกใจดิชั้นมากเพราะพาไปทำความรู้จักกับคุณมานพ ศรีสมพร(นักออกแบบตัวอักษรรุ่นพ่อกันเลยทีเดียว) คุณมานพเป็นคนออกแบบตัวอักษร ชุดมานพติก้า ซึ่งตอนนั้นปี 2516 เป็นต้นมาตัวอักษร Helvetica ของฝรั่งโด่งดังมาก คุณมานพเลยออกแบบตัวอักษรชุดมานพติก้านี้ขึ้นมาเพื่อใช้แทนตัวอักษรของฝรั่ง (เก๋เนอะ มีชื่อฟอนต์เป็นชื่อตัวเอง)
สมัยนั้นยังไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ ไม่มีการดาวน์โหลดฟอนต์กันเหมือนปัจจุบัน แต่ผลงานคุณมานพอยู่ในรูปแบบของเลตเตอร์เพลสหรืออักษรลอกนั่นเอง (เด็กรุ่นนี้คงไม่ทันกัน) ตัวอักษรชุดมานพติก้า 5 ซึ่งถอดแบบมาจากตัวอักษรของการรถไฟ นิยมใช้กันมากบนป้ายชื่อถนน ตรอก ซอก ซอย ชื่อทางหลวง ป้ายทางด่วน ตัวอักษรมานพติก้า 5 นี้มีความเด่นอยู่ที่หัวบอดและเป็นวงกลมทึบ ตัวเส้นมีความหนาบางแตกต่างกัน
ไปรู้จักคุณมานพเพิ่มเติมได้ที่นี่ (ฟังรายการสัมภาษณ์ทั้งหมด ) //www.designpaibonpai.com/
หรือจะอ่านที่เค้าถอดเทปมาแล้วทั้งหมดได้ที่นี่ //www.anuthin.org/2009/09/interview-part1.html
ลองไปอ่านหรือฟังกันดูนะคะ ว่านักออกแบบตัวอักษรรุ่นแรกๆ ทำงานกันอย่างไร
ภาพประกอบบล็อกนี้มาจากนิตยสารสารคดี ปีที่18 ฉบับที่ 211 กันยายน 2545 เป็นภาพประกอบบทความเรื่อง 10 ตัวพิมพ์กับ 10 ยุคสังคมไทย โดยประชา สุวีรานนท์
บทความของคุณประชา สุวีรานนท์ในเล่มนี้ ควรหามาอ่านอย่างยิ่ง ดิชั้นคิดว่าเป็นงานชิ้นเยี่ยมชิ้นหนึ่งของคุณประชาชิ้นหนึ่งทีเดียว
Create Date : 07 กันยายน 2552 |
Last Update : 28 สิงหาคม 2557 13:08:59 น. |
|
26 comments
|
Counter : 7604 Pageviews. |
|
|
|
|