หนังสือ
ศิลปะ
เดินทาง
การเดินทางของคชสารในสายตาของวรพจน์ พันธุ๋์พงศ์
เพลงรัตติกาลในอินเดีย : การสยบยอมต่อความไม่รู้
ลักษณ์อาลัย : อำนาจของเรื่องเล่า
รีวิว ประวัติศาสตร์ของความเงียบ ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
โปรดจงโอบกอดฉันเอาไว้ ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย แบบไทยๆ
My Name is red -.ในนามของศิลปะ และในนามของศิลปิน -
"ณ ที่นั้นมีดาวเหนือ " ณ ที่นั้นมีนวนิยาย
- - - - - - "ผมแปลเศษบทความมาก่อน" นพดล เวชสวัสดิ์ - - - - - - - - - - -- -
- - - - - - ดนตรีแจ๊สในร้านหนังสือ - - - - -
- - - - ก็องดิดเสวนาครั้งที่ 1 ที่ร้านหนังสือก็องดิด - - - - -
- - - - หนังสือที่ได้จากงานสัปดาห์หนังสือฯ ครั้งที่ 38 - - - -- -
- - -- - พบกับหนังสือใหม่ของระหว่างบรรทัดในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 38 - - - - -
- - - - - Farewell - J.D. Salinger ( 1919-2010 )- ใครจะอยากได้ดอกไม้ตอนตายไปแล้วล่ะ - - - - - -
- - - - - - - - - ภาพนิ่งจากหนังเรื่อง Norwegian Wood - - - - - - - - - -
- - - - Baby don' t sniff : เมื่อรัฐจะเข้ามาดูทุกอย่างในอินเตอร์เน็ต
- - - - - - - Happy Birthday Haruki Murakami - - -- -- - --
- - -- - สัปดาห์เปิดโลกการอ่าน และ "เธอคือชีวิต" - - - - -
- - - - - เกร็ดความคิดบนก้าววิ่ง-ฮารูกิ มูราคามิ ความเรียงที่ทำให้เราร้องไห้ - - - - -
-- -- Julie and Julia: 365 Days, 524 Recipes, and Many Many Blogs- -- -
+ + + + + + + คารวะ 60 ปี เสกสรรค์ ประเสริฐกุล + + + + + + + +
+ + + + + + Memories for you อ่าน ดู ฟัง ยามหน้าหนาว + + + + +
+ + + + + + + งานหนังสือที่บูธระหว่างบรรทัด (2) + + + + + + +
+ + + + + + + งานสัปดาห์หนังสือที่บูธระหว่างบรรทัด ( 1) + + + + + + +
- - - - - "ผม,มูราคามิ" นวนิยายมีมือของนิ้วกลม ฉบับ ปรับปรุงรูปเล่มใหม่เอี่ยมอ่อง - - - - --
- - - - -- Reading Room เปิดใหม่ , โมเดิร์นด็อก 15 ปี และป๋าอัจฉริยะ เล่ม 26 - - - --
- - - - - มกรา'52 โดย ตุล ไวฑูรเกียรติ บุปผาชนแห่งปี 2009 - - - - - -
- - -- - - คำสาปร้านบเกอรี รวมเรื่องสั้นชุดแฟนคลับมูราคามิเล่ม 2 - - - -
- - - - - มานพติก้า และผู้ออกแบบตัวอักษรของไทย - - - -
- - - - - Read by Heart . Finland by Hand - - - - -
- - - - - ควันหลงงานอมรินทร์บุ้คแฟร์ - - - - -
-- - - งานอมรินทร์บุ้คแฟร์และ "ยาขอบกับครอบครัว" หนังสือเล่มใหม่ของระหว่างบรรทัด- - - -
- - - - ประเทศใต้ -หนึ่งในเจ็ด เรื่องที่เข้ารอบซีไรต์ประเภทนวนิยาย ปีนี้ - -- - -
- - - - - 7 เรื่องเข้ารอบซีไรต์ - - -- - - - -
- - - - - อ่าน ( มุกหอม วงษ์เทศ ) ผิด - - - - - -
- - - การวิจารณ์วรรณกรรมของวินทร์ เลียววารินทร์ - - - - -
- - - - ร้านหนังสือก็องดิด (1) จุดเริ่มต้น - - - -
+++ 1Q84 นวนิยายเล่มใ หม่ของมูราคามิ- - - - เทวา ซาตานฉบับหนัง + + + +
- - - เสียงเล่าเรื่องจากเครื่องฉาย- The Projector's Tales - - -
- - - - - บาร์เทิลบี , ราโชมอนและเรื่องสั้นอื่นๆ - - - - - -
- - -- ลับแล, แก่งคอย : ประวัติศาสตร์ และสัญญะแห่งตัวตนของอุทิศ เหมะมูล - - - -
- - - - - After Book Fair -- - - -
- - --- งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 37 เริ่มต้นขึ้นแล้ว -- - - -
- - - - - เปล่า ผมไม่กังวลกับความตาย - 'รงค์ วงษ์สวรรค์ - - - - - -
- - - แจ้งข่าวแฟนๆ มูราคามิถึงเรื่องสั้นเล่มใหม่ "เส้นแสงที่สูญหาย เราร้องไห้เงียบงัน" - - -
- - - - - - - - Murakami and The Music of Words + Dinner with Murakami- - - - - - - -
- - - - - - - - ( นิยายรัก ) ฤดูร้อน และ รอยเท้าบนผืนทราย โรมานซ์แบบกนกพงศ์ - - - - - - -
- - - -- - - - ไว้อาลัยปราชญ์แห่งสยาม "ไมเคิล ไรท " - - -- - --
- - - - - Book Designs of the Year from Penguin Publishing - - - - - - -
- - - - - -- คำพิพากษาจากพระเจ้า An instance of the fingerpost - - - - - -
- - - -- - Read Camp - รำลึกความหลัง - ฟิ้วเล่มใหม่ - Moonstruck - - - - - - -
- - - - - เริ่มแล้วงานมหกรรมหนังสือฯ + นักเขียนที่จะมาเซ็นชื่อที่บู้ท - - - - -
- - - - - - - - - - - - แพร์ซโพลิส1-2 อิสระภาพและความขมขื่น --------------------------
- - - - - -- - - - --- - บล็อกที่หายไป - -- - -- --- - --
- - - - - - Dasa ร้านหนังสือมือสองในดวงใจ - - -- - -
- - - - ก่อนราตรี ( จะ) มหัศจรรย์ ( บรรยากาศงานคนอ่านและไม่อ่านมูราคามิ) - - -- - --
- - - - - - + + + + ป่าลึกและปารีส - - - - - -+++++
- - - - - - - - - - - รวมพลคนอ่านและไม่อ่านมูราคามิ - - - - - - - - - -
- - - - พบกับ After Dark- ราตรีมหัศจรรย์-หนังสือเล่มใหม่ของมูราคามิ ที่งานอัมรินทร์บุ้คแฟร์ - - - -
- - - - ชวนคุยเรื่อง เรื่องสั้นเข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรท์ - - - - - -
- - - วารสาร "อ่าน" พาไป "ฟัง" เขาและเธอ "พูด" เรื่อง"การอ่าน" - - - -
- - - - โคตรเก๋า อยุธยา ยังไม่สิ้นมาโนช พุฒตาล และ DDT เล่มใหม่ - - - - -
- - - What I Talk About When I Talk About Running By Haruki Murakami- - -
- -- - เลอ คอร์บูซิเยร์ สถาปนิกผู้ทรงอิทธิพลที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20 - - - -
- - - - - - - - ไปหาใครบางคน : สั้นๆ จริงจังและอ่อนโยน - - - - - -
- - - - - - เรียงความประเทศไทย ของมิวเซียมสยาม ( TCDC ณ ท่าเตียน ) - - - - - -
- - - - - ช็อกโกเลิฝและเซ็กซ์ในสวนเซ็น - - - - -
- - - - - - ลอนดอนกับความลับในรอยจูบ - - - - - - -
- * -* - *- * อยากไปดูหนัง "ที่โรงภาพยนตร์ไกลบ้านคุณ" ได้บ่อยๆ -* - *- * -*- *-
- - - - บรรยากาศงานอินดี้ บุ้คแฟร์ ครั้งที่ 5 สวนสันติชัยปราการ ป้อมพระสุเมรุ - - - - -
- - - - - - อินดี้บุ้คแฟร์ ครั้งที่ 5 วันที่ 25-27 เมษายน 2551 เริ่มพรุ่งนี้แล้วค่ะ - - - - -
- - - ดีไซน์ +คัลเจอร์ ความหมายและเบื้องลึกของงานออกแบบ - - -
- - - และแล้วงานเลี้ยงก็เลิกลา ปิดม่านงานสัปดาห์หนังสือฯ พร้อมด้วยหนังสือที่ได้มา - - -
- - - - - หนังสือของระหว่างบรรทัดในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 36 - - - - -
- หนังสือสามเล่ม"จดหมายจากนักเขียนหนุ่ม" " กระจกเงา เงากระจก" "ที่อื่น " บนตู้นอนรถไฟสายใต้ -
- - - - - ล่อง / รอย แห่งกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ - - - - -
- - - - - - the soundtracks of my love : เพลงรักประกอบชีวิตของนิ้วกลม - - - - -
- - - - - เงาตนบนรอยซาย ความหมายและรางวัลแห่งการรอคอย - - - -
- - - - - The World is Round : เอาเข้าจริงโลกนี้ไม่ได้แบนหรอก - - - - -
- - - - - ปริศนามนุษย์กล ของ อูโก้ กาเบรต์ "หนัง" ใน "หนังสือ" - - - - -
- - - หนังสือของระหว่างบรรทัดในงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติฯ - - -
- - - - - เมื่อ กรุงเทพธุรกิจ หน้า จุดประกาย วรรณกรรม แนะนำบล็อกของ grappa - - - - -
ชุดประดาน้ำและผีเสื้อ - - - ความตายคือการดำรงอยู่
- - - On seeing the 100% perfect girl one beautiful April morning - - -
- - - สง่าและงดงามราวกับ "ไหม" - - -
- - - - - เมนูนักเขียนที่ Vanilla Garden - - - - -
- - - นวนิยายมีมือ และ บทสนทนาข้ามไปมาระหว่างเมือง เชียงใหม่-เซี่ยงไฮ้ - กรุงเทพ - - -
+ + + + + + + นวนิยายมีมือ ( ระวังถูกจับ ) + + + + + +
- - - Skoob ร้านหนังสือมือสอง ใจกลางเมือง - - -
- - - - - No one belongs here more than you : หนังสือรักแบบนี้ที่อยากอ่าน
+ + + สมองไหวในฮ่องกง : พร่างพรายอยู่ในสิ่งประดิษฐ์อันซ้ำซาก + + +
+ + + + + 8 ½ ริกเตอร์ เมื่อประวัติศาสตร์ถูกรื้อสร้างด้วยความรัก + + + + +
+ + + + + โลกระหว่างรอกาแฟ + + + + +
+ + + + + อ่านเป็นเห็นชีวิต + + + + +
+ + + + + หนังสือ หนัง และเพลงที่ชอบของปีที่กำลังจะผ่านไป + + + + +
+ + + + + + + + สวัสดีวันทำงานวันสุดท้ายของปีนี้ + + + + + + + +
+ + + + + "คุณ" คือบุคคลแห่งปีของนิตยสาร Time + + + + +
+ + + itchy feet นิตยสารสำหรับนัก ( อยาก ) เดินทาง + + +
- - - หนังสือที่ได้จากงานมหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งที่ 11 - - -
- - - นักเขียน นักเขียน (การ์ตูน) และนักวาดภาพประกอบที่ไปช่วยขายหนังสือ และกิจกรรมที่บู้ท - - -
- - - งานมหกรรมหนังสือ ฯ เริ่มขึ้นอีกครั้งแล้วค่ะ - - -
- - - - - - ผีซ่าท้าชิม - - - - - -
- - - - - - - มุมมองแห่งชีวิต 150 cm - - - - - - -
+ + + + + + + + กรณีฆาตกรรมโต๊ะอิหม่ามสะตอปา การ์เด + + + + + + + +
หากค่ำคืนหนึ่งในฤดูหนาว นักเดินทางคนหนึ่ง : การอ่านที่แสนหฤหรรษ์
~* ~* ~ * เรื่องรักใคร่ในเมือง * ~ * ~ * ~
~* ~* ~ * คำถามใต้ร่มไม้ * ~ * ~ * ~
~* ~* ~ * ช็อปหนังสือลดราคาที่ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์ ~ * ~ * ~
*~+*~+*~+ เถ้าถ่านแห่งวารวัน *~+~*+~*+
*+* +* ร้านหนังสือเดินทาง เปิด (อีกครั้ง ) แล้ว *+*+*
+++ ดาวินชี่โค้ด จากหนังสือสู่หนัง ( ไม่สปอยล์) +++
+ + + ร้อนขนาดนี้ " แก้ผ้าอาบน้ำ" กันดีกว่า + + +
+ + + + + คาฟกา วิฬาร์ นาคาตะ : การเดินทางข้ามสองโลก + + + + +
- - - - - สวรรค์ชั้นประหยัด สวรรค์ของนักเดินทาง- - - - - -
- - - เก็บตก Mascot เฮฮาจากงานหนังสือค่ะ - - -
" คุยโทรศัพท์ให้น้อยลง เพื่ออ่านหนังสือให้ได้มากขึ้น" สโลแกนของบู้ทที่ประทับใจที่สุดในงานหนังสือ
งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 34 และ งานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 4 เริ่มต้นขึ้นแล้วค่ะ
- - - อัพเดทหนังสือใหม่ที่น่าอ่าน ช่วงเวลานี้ค่ะ - - -
- - - ยำใหญ่ใส่ความรัก : อาหารกับการเยียวยา - - -
- - - - - - Invisible Waves : คำพิพากษาของคลื่นที่มองไม่เห็น - - - - --
ไว้อาลัยให้ร้าน Book Club สาขาสยามดิสคัฟเวอรี่
*~*~*~*~* ชายผู้มีความสุข *~*~*~*~*
คิดถึงทุกวัน : เราเดินผ่านคนกี่คนในชีวิต กว่าจะพบว่าอะไรที่อยู่ใกล้หัวใจมากที่สุด
เด็กญี่ปุ่น (Japanese Doll ) สาวไทยใจญี่ปุ่นกับเรื่องสนุกๆ หลังเรียนจบ
จาก "เยินเงาสลัว" สู่ Memoirs of a Geisha ว่าด้วยสุนทรียศาสตร์แบบญึ่ปุ่น
ชีวิตที่เจียระไนแล้ว : เมื่ออยากนั่งลงคุยกับพี่สาวผู้อ่อนโยน
พบกับ ซาราห์ แอนเดอร์สัน เจ้าของร้านหนังสือ The Travel Bookshop จากหนังเรื่อง Notting HIll
พุ่งเข้าสู่หัวใจอย่าง "ธรรมดาและเรียบง่าย" & OST A Love That Will Never Grow Old
Walking Stories : แล้วเราก็เดินไปพร้อมความขอบคุณ
"ผู้ชายที่หลงรักดวงจันทร์ " กับความสุขอันแสนเปราะบาง
ดวงตะวันส่องฉาย เมื่อผู้หญิงเลี้ยวซ้ายและผู้ชายเลี้ยวขวา
Top 5 การอ่านของปี 2548 ระลึกถึงการอ่านของปีที่ผ่านมา
นาร์เนีย จากหนังสือสู่โลกภาพยนตร์ : Only Beginning of the Adventure
เจ้าชายน้อย-อริยาไพฑูรย์ แปล -สำนักพิมพ์กาลเวลา
นิตยสาร OPEN ออนไลน์แล้ว
Indepentdent Book Day
เรณู ปัญญาดี แบบเรียน (กึ่ง) สำเร็จรูป
เชิญ พบ เสกสรรค์ วรากรณ์ เอนก และสุวินัย ในงาน วิพากษ์เศรษฐกิจ พิศการเมือง ค้นหาตัวตนสังคมไทย "
TCDC และห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย
โตเกียวอะโซบิ เที่ยวเล่นในกรุงโตเกียวกันเถอะ
แด่ ม.ร.ว.กีรติ เหยื่อของฝรั่งคนสุดท้ายในวรรณกรรมไทย (จบ)
แด่ ม.ร.ว.กีรติ เหยื่อของฝรั่งคนสุดท้ายในวรรณกรรมไทย (1)
ควันหลงจากงานมหกรรมหนังสือฯ คัดสรร รายชื่อหนังสือที่ซื้อจากงานนี้ค่ะ
สิ่งสำคัญไม่อาจเห็นได้ด้วยตา...เจ้าชายน้อยฉบับเห็นด้วยใจ
บางทีเราก็เลือกอย่างอื่น...ที่ไม่ใกล้กับใจเราเลย
ธนูของพระอินทร์ที่ไกลดวงตาแต่...ใกล้ใจ
เงาจันทร์ในอัญประกาศ : อารมณ์ขันหนักสมองแบบมุกหอม วงษ์เทศ
ฝนตกตลอดเวลา : การค้นหาความรักในโลกแห่งความเปียกชื้น
Wildwitness : คำให้การของปราบดา
เศษทรายในกระเป๋าและฝุ่นผงในดวงตา
ขอบฟ้าอยู่ใต้ฝ่าเท้า : โลกนี้มีไว้เหยียบ ไม่ได้มีไว้แบก
ทำอย่างไรให้โง่ : นั่นสิทำอย่างไรดี ?????
- - -มหา'ลัยเเหมืองแร่ VS เหมืองแร่ : เกียรติยศตายไปแล้วจริงหรือ - -
- - - Sputnik Sweetheart - - - ฮารูกิ มูราคามิ - - GOD องค์ใหม่แห่งโลกโพสท์โมเดิร์น - - -
ฉัน-บ้า-กาม : ศาลาคนเศร้าฉบับ คำ ผกา
- - - ทัชมาฮาลบนดาวอังคาร : ความรักที่ไม่อาจดำรงอยู่บนโลกนี้- - -
เขียนถึงพี่ไวท์-ศักดิ์สิริ มีสมสืบ- -และมือสีขาวคู่นั้น
อยากกู่ร้องบอกรักให้ก้องโลก - - เสียงตะโกนที่แหบโหย- - -
- - - The Reader ปวดใจเหลือเกิน เมื่อ "คนอ่านหนังสือ" ร้องไห้ไม่หยุด - - -
- - - Are you Experienced?--- เคยโดนหรือยัง -- เสียดสีสุดๆ
everybodyeverything ความสุขุมที่เหนือชั้นจาก hesheit
รีวิว ประวัติศาสตร์ของความเงียบ ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
รอย ในประวัติศาสตร์ของ ความเงียบ
ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ
สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ประจำวันที่ 4-10 พฤษภาคม 2555
ประวัติศาสตร์ของความเงียบ เป็นนิยายเล่มใหม่ของ อติภพ ภัทรเดชไพศาล นักประพันธ์ดนตรี กวี นักเขียน คอลัมนิสต์ และอีกสารพัดเครดิตจะนำมาอ้างอิง โดยทั่วไปแล้วงานเขียนของอติภพ มักจะเป็นบทกวี เรื่องสั้น หรือข้อเขียนในคอลัมน์ประจำต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับดนตรี ซึ่งหลายท่านอาจจะผ่านตามาบ้าง หรือบางท่านอาจจะเห็นจนชินตา แต่ ประวัติศาสตร์ของความเงียบ นับเป็นนิยายเรื่องแรกของอติภพ และก็เป็นนิยายที่ซับซ้อนพอดูทีเดียว
ประวัติศาสตร์ของความเงียบ พูดถึงตัวละครหลักที่ชื่อ อภิต นักประพันธ์ดนตรีประกอบละคร (หรือ เพลย์บอยหนุ่ม ในอีกสถานภาพ) อติภพ เปิดตัว อภิต ด้วยฉากการเดินทางกลับบ้านเกิด ซึ่งคงเป็นชนบทที่ไหนสักแห่งหนึ่งที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก เพื่อสืบหาความจริงที่เขาค้างคาใจ
โกเมศ อิศรา กวี นักเขียน และปัญญาชน ผู้ลึกลับที่ผลิตงานเขียนออกในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 - 6ตุลา 19 คือสิ่งที่อภิตค้นหา
การสืบหาโกเมศ และการปล่อยช่วงเวลาในการสืบหาให้เป็นเหมือนวันหยุดพักร้อนตลอดหนึ่งสัปดาห์ ชักนำให้อภิตถูกดึงเข้าไปอยู่ในคดีฆาตกรรมปริศนา แต่หลังการค้นพบหลักฐานสำคัญที่กำลังจะทำให้อภิตเข้าใจในเงื่อนงำของคดีที่เกิดขึ้น อยู่ๆคนทั้งชุมชนก็ดูเหมือนจะหลงลืมเรื่องราวทั้งหมดไปเสียอย่างนั้น
ไม่มีคดีฆาตกรรม ไม่มีสถานที่ลึกลับที่อภิตไปพบเข้าโดยบังเอิญ ไม่มีแม้กระทั่งความทรงจำร่วมกันระหว่างอภิตกับเพื่อนๆ หรือคนรู้จักในชุมชนนั้น แต่จู่ๆ อติภพ ก็กระชากผู้อ่านออกมาจากเหตุการณ์น่าตื่นเต้นสงสัยที่ว่า ไม่มีคดีฆาตกรรม ไม่มีสถานที่ปริศนา ไม่มีแม้กระทั่งความทรงจำเกี่ยวกับเหตุการณ์สะเทือนขวัญในหัวของอภิตเอง
ตอนท้ายของนิยาย อติภพได้สอดแทรกบทปริศนาที่มีชื่อบทว่า ระหว่างทาง คั่นเข้ามาในเนื้อเรื่อง ตัวละครหลักในบทนี้เปิดพื้นที่ให้ผู้อ่านตีความว่าหมายถึงใคร? แต่ก็อาจจะไม่ได้หมายถึงตัวละครใดๆ ในเนื้อเรื่องเลยก็ได้ อันที่จริงแล้วเราแทบจะไม่สามารถระบุทั้งสถานที่ และเวลาของเหตุการณ์ในท้องเรื่องของบทนี้เลยด้วยซ้ำไป
ตัวละครลึกลับนี้ถูกเล่าผ่านสถานภาพของสรรพนามบุรุษที่ 1 ต่างจากการดำเนินเนื้อเรื่องโดยปกติของนิยายเรื่องนี้ที่ อภิต มีฐานะเป็นสรรพนามบุรุษที่ 3 เพราะถูกเล่าผ่าน อติภพ ในฐานะผู้เล่าคือสรรพนามบุรุษที่ 1ที่จริงแล้วยังมีอีกสองบทที่ชื่อ ข้อสังเกตจากผู้เขียน (1) และข้อสังเกตจากผู้เขียน (2) ที่เล่าเรื่องผ่านสรรพนามบุรุษที่ 1 แต่ทั้งสองบทนั้นอติภพกำลังเล่าเรื่องโดยสร้างตัวตนของ อติภพ เองเข้าไว้ในนิยายในฐานะของ ผู้เขียน ต่างจากตัวละครลึกลับซึ่งอติภพไม่ได้ทิ้งร่องรอยอะไรไว้ให้สืบสาวในฐานะของตัวละครในท้องเรื่องเลย
ตัวละครลึกลับอีกคนหนึ่งก็คือ โกเมศ อิศรา ที่ อภิต พยายามสืบหา ผู้เขียนคือ อติภพ จงใจแทรกบทความ ศิลปะคืออะไร: การต่อสู้เพื่อฐานที่มั่นทางวัฒนธรรม ไว้ในตอนท้ายๆ ของเรื่อง อติภพอ้างว่าบทความเรื่องนี้ตีพิมพ์อยู่ใน วารสารสังคมศาสตร์ปริทัศน์ ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนตุลาคม 2519 (?) เดือนและปีเดียวกันกับเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ
ในฐานะนักประวัติศาสตร์ศิลปะ ผมไม่ค่อยคุ้นทั้งชื่อบทความ และชื่อของโกเมศ สักเท่าไหร่ทั้งๆ ที่บทความของโกเมศ กำลังพูดถึงเรื่องศิลปะ น่าแปลกใจที่บทความที่โต้แย้ง อ.ศิลป์ พีระศรี และแสดงถึงหัวคิดที่ก้าวหน้าสำหรับคนในยุคนั้นจะผ่านตานักประวัติศาสตร์ศิลปะหลายๆ คนไปได้(?) อย่างไรก็ตาม ชื่อของ โกเมศ อิสรา ยังสามารถค้นหาได้ผ่านเสิร์ช เอนจิ้น ทุกเครือข่าย แม้จะมีข้อมูลอยู่ไม่มากนักก็ตาม
อติภพจบนิยายของเขาด้วยบทที่ชื่อ รอย ซึ่งย้อนเรื่องไปถึงช่วงเวลาก่อนที่อภิตจะเดินทางกลับไปยังบ้านเกิดเล็กน้อย บทนี้ทั้งบทไม่มีอะไรเป็น ร่องรอย ให้สืบสาวถึงคดีฆาตกรรมปริศนาตามท้องเรื่องนี้ได้เลย คดีฆาตกรรมจึงอาจจะเคยเกิดขึ้นจริงหรือไม่จริงก็ได้ ตัวบทที่ชวนให้งุนงงสงสัยนี้จึงไม่สามารถอ่านตามถ้อยคำที่ปรากฏอยู่ในตัวบทล้วนๆ แต่จะต้องพิจารณาถึงสิ่งที่ถูกอ้างอิงถึง ทั้งที่อ้างอิงกันซึ่งๆหน้า และที่อ้างอิงอย่างไม่เปิดเผยออกมาโต้งๆ
ผมคิดว่าตัวผู้เขียนคือ อติภพ สร้างพื้นที่ไว้ในนิยายเรื่องนี้อยู่หลายพื้นที่ พื้นที่ในที่นี้ ผมไม่ได้หมายถึงตัวพื้นที่อย่าง บ้านร้างผีสิง โรงพิมพ์ของจิตติน โพรงลับใต้ดิน หรือสถานที่อื่นๆที่อภิตเดินทางไปในนิยาย แต่เป็นพื้นที่ในหัวและรอบๆ ตัวของตัวละครต่างๆ ในกรณีนี้พื้นที่ที่สำคัญที่สุดคือพื้นที่ของ อภิต และ อติภพ ในฐานะตัวละครที่เป็น คนเขียน นิยายเรื่องนี้ขึ้น
(แม้ว่า อติภพ จะพยายามเบลอพื้นที่ทั้งสองส่วนนี้ให้เหลื่อมซ้อนกันอยู่ เช่น การใช้ห้องส่วนตัวเดียวกันในการพูดถึง อภิต ในบท รอย กับบันทึกหลังการเขียนซึ่งเป็นตัว อติภพ เอง ในที่นี้ อติภพในบันทึกหลังการเขียนจึงมีสถานภาพเป็นตัวละคร ไม่ใช่ตัวผู้เขียนจริงๆ)
พื้นที่แรกคือตัวของ อภิต เอง อติภพ สร้างตัวละครนี้ขึ้นมาเพื่อดำเนินเรื่องเกือบทั้งหมด พื้นที่ของอภิตจึงเป็นพื้นที่กว้างๆ ที่ทำหน้าที่ ตบตา ผู้อ่านให้งุนงงไปกับตัวบท และนำเสนอสัญลักษณ์ที่มีอยู่อย่างลับๆ เราจะไม่สามารถเข้าใจข้อความที่ซ่อนอยู่ได้เลยถ้าเราอินไปกับภาพกว้างของตัวอภิตเสียแล้ว แต่ตัวอภิตเองก็เป็นศูนย์กลางของพื้นที่ใช้สำหรับร้อยรัดเรื่องราวต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน
ในขณะที่พื้นที่อีกส่วนหนึ่ง คือพื้นที่ของตัวละครที่ชื่อ อติภพ ซึ่งผู้เขียนคือ อติภพ ได้สร้างขึ้น (ที่จริงแล้วไม่มีตอนไหนในท้องเรื่องเลยที่ ตัวละครที่เรียกตัวเองว่า ผู้เขียน จะบอกว่าตัวเองชื่อ อติภพ เว้นก็แต่เครดิตที่ปกหนังสือ และหน้าเครดิต) และแสดงมันออกมาอย่างชัดเจนในบทที่ชื่อ ข้อสังเกตของผู้เขียน (1) และ (2)ซึ่งที่จริงแล้วยังมีแทรกตามบทต่างๆ อยู่เกือบจะตลอดทุกบท
พื้นที่นี้ส่วนใหญ่แล้ว อติภพ จะทำหน้าที่อธิบายสิ่งต่างๆ ที่ อภิต คิดและแสดงออก หรือบางครั้งก็เปิดพื้นที่ในการสร้างอำนาจในการประดิษฐ์หรือจินตนาการถึงตัวละครให้กับ ผู้อ่าน ด้วยการแสดงออกว่าแม้แต่ตัวผู้เขียนคือ อติภพ เองก็ต้อง เดา ว่าอภิตกำลังคิดอะไรอยู่ หรืออภิตแสดงออกอย่างนั้นเพราะอะไร? ทั้งๆที่คนที่เดาอยู่คือ อติภพ ที่เป็นตัวละคร ไม่ใช่ อติภพ ที่มีตัวตนจริงๆ
อย่าลืมนะครับว่า เราติดตามนิยายเรื่องนี้ผ่านมุมมองของสรรพนามบุรุษที่ 1 คือ อติภพ ในฐานะตัวละคร ผู้เขียน ไม่เคยมีครั้งไหนที่ อภิต จะออกมาสื่อสารกับเราเองเลย อภิตเป็นเพียงคนที่ถูกพูดถึงเท่านั้น พล็อตเรื่องจึงกำลังเล่าซ้อนพล็อตกันอยู่ และสิ่งที่เรากำลังอ่านคือสิ่งที่ตัวละคร อติภพ ที่เรียกตัวเองว่า ผู้เขียน เป็นคนเล่าให้เราฟัง
ตัวละครที่ชื่อ อติภพ จึงกำลังใช้ อภิต เพื่อพูดถึงสิ่งที่ตัวเองต้องการจะสื่อถึง ด้วยอำนาจของความเป็น ผู้เขียน อย่างที่ อภิต ในฐานะตัวละครที่ซ้อนลงไปอีกพล็อตหนึ่งไม่สามารถโต้แย้งได้เท่านั้น
ไม่ต่างกันกับที่ในเนื้อเรื่องมีการพูดถึงข้อความสั้นๆที่มักพบขีดเขียนอยู่ตามผนังกำแพงอย่าง กูรู้มึงต้องอ่าน ว่าทุกคนไม่สามารถปฏิเสธที่จะอ่านมันได้ เพราะมันเป็นประโยคสั้นๆที่สุด อย่างชนิดที่กว่าจะรู้ตัวคุณก็ต้องอ่านมันแล้ว ซ้ำยังเป็นข้อความที่ทำลายช่องว่างชนชั้นให้เหลือแค่ มึง กับ กู และกูที่ว่าก็ไม่ปรากฏกายให้สามารถเถียงกลับได้เลยไม่ว่าในกรณีใดๆ
อภิต จึงไม่มีโอกาสที่จะเถียงตอบ อติภพ ได้เลย
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดๆ ก็คือเรื่องของ สิน สีสมุด ผู้เขียนมอบหมายหน้าที่เล่าเรื่องของสินให้กับบุคคลสองคนคือ อภิต และ อติภพ ในฐานะตัวละครที่เป็นผู้เขียน สินจึงไม่เคยปรากฏกายในฐานะสรรพนามบุคคลที่ 1หรือ 2 เลย ไม่ต่างไปจากอภิต
สิน เป็นนักร้องยอดนิยมชาวกัมพูชา ที่มีตัวตนอยู่จริงๆ ตามท้องเรื่อง อภิต กำลังทำละครเพลงเกี่ยวกับอัตตชีวประวัติของสินอยู่ อภิตทำหน้าที่เล่าถึงกระบวนการทำงานในการทำละครดังกล่าว ไม่ว่าการค้นคว้า อภิตอาจจะใช้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์เพื่อครุ่นคิดถึงอารมณ์ความรู้สึกในการทำเพลง ทำละคร
แต่เมื่อ อติภพ พูดถึงสิน (โดยเฉพาะในบท ข้อสังเกตของผู้เขียน (2)) อติภพกำลังถอดรื้อข้อมูลให้เราเห็นว่า เสียงลือเสียงเล่าอ้างที่เกี่ยวกับสิน เป็นเพียงมายาคติและละครฉากใหญ่อันเป็นผลมาจากการต่อสู้ทางการเมืองในช่วงสงครามเย็นเท่านั้น และก็ไม่ต่างกันกับที่อติภพยืมปากอภิตพูดว่า เรื่องทหารญี่ปุ่นที่หลบซ่อนอยู่ในฟิลิปปินส์และยังไม่ยอมแพ้สงครามหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผ่านพ้นไปเป็นสามสิบปีแล้วนั้น เป็นเพียงละครฉากใหญ่ที่รัฐบาลญี่ปุ่นใช้เพื่อสร้างกระแสความรักชาติ
คอนลอน แนนแคโรว์ นักประพันธ์เพลงอัจฉริยะ เป็นอีกคนที่ควรจะกล่าวถึง อภิตแค่ครุ่นคิดถึงแนนแคโรว์ในฐานะคนทำงานเพลง เรื่องของแนนแคโรล์ถูกตัวละครที่ชื่ออติภพบรรยายถึงความเกี่ยวข้องกับการเมือง การถูกเนรเทศออกนอกอเมริกาด้วยข้อกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์
ทั้ง สิน และ แนนแคโรว์ ก็ไม่ต่างจาก โกเมศ อิศรา ทั้งสามคนเป็นบุคคล ที่อยู่ในยุคของการต่อสู้ระหว่าง ประชาธิปไตย เผด็จการ และคอมมิวนิสม์ เพียงแต่แตกต่างกันไปในรายละเอียดและอุดมการณ์ของแต่ละคน แต่ โกเมศ ก็ยังเป็นตัวละครที่เลือนรางที่สุดในนิยายเรื่องนี้ เรียกได้ว่าเราไม่มีโอกาสได้เห็นโกเมศปรากฏตัวออกมาเลย ที่สำคัญคือมีเพียงเฉพาะ อภิต ที่พูดถึงโกเมศ ตัวละครที่ชื่อ อติภพ ไม่เคยพูดถึงโกเมศเลย
อติภพจะหลบซ่อนตัวเองไว้ทางด้านหลังของอภิตอยู่เสมอเมื่อพูดถึงโกเมศ นี่ไม่ต่างจากบทเจ้าปัญหาอย่าง ระหว่างทาง หรือบทความของโกเมศ ที่อติภพหายไปเฉยๆ แต่ยังมีอีกหลายต่อหลายตอนที่อติภพจะไม่ปรากฏกายออกมาอธิบาย หรือคาดเดาเอาว่าอภิตคิดอย่างไร เช่นความฝันของอภิตที่เห็น ดอน กิโฆเต้ มาปรากฏกายอยู่ที่ปลายเตียง แล้วปลุกแม่สาวข้างๆ มาถามว่าเธอเห็นรึเปล่า?
การหายตัวไปของปัญญาชนอย่าง โกเมศ อิศรา ในช่วงปี พ.ศ.2519 โดยที่แทบจะไม่มีใครในชุมชนจำเขาได้เลย ไม่ต่างไปจากการที่ผู้คนต่างกันพาลืมเหตุการณ์ฆาตกรรมที่เกิดขึ้น โดยมีเพียงอภิตที่พยายามบอกเล่าและค้นหาจนกลายเป็นเหมือนคนบ้า ความพยายามของอภิตไม่ต่างอะไรไปจากคลื่นวิทยุ Arecibo ซึ่งบรรจุเรื่องราวของโลกมนุษย์ส่งไปยังดาวคลัสเตอร์ M13 ทั้งที่ไม่มีทางที่ใครจะได้รับข้อความเพราะเป็นดาวที่แตกสลายไปแล้ว ตามข้อมูลที่เล่าอยู่ในนิยาย
สารของอภิตไม่มีทางสื่อถึงใครในเมื่อเป็นสารที่ไม่เข้าพวกกับคนส่วนใหญ่ อภิตเป็นเหมือนด้านที่ย้อนกลับของคลื่นวิทยุ Arecibo อภิตเป็นคนที่ตาย หรือสูญหายไปแล้วเหมือนโกเมศ แต่กลับพยายามส่งสารไปยังคนที่ยังมีชีวิตอยู่
สุดท้ายอภิตเป็นคนคิดขึ้นมาเองว่า คลื่นวิทยุ Arecibo เป็นคู่ตรงข้ามกับประโยคสั้นๆ ที่ว่า กูรู้มึงต้องอ่าน เพราะในขณะที่คลื่ดังกล่าวไม่ต้องการสื่อสารกับใคร แต่ประโยคสั้นกะทัดรัดนั้นกลับเรียกร้องที่จะสื่อสารกับทุกคน เพราะ มึง ไม่ได้หมายถึงใครเป็นการเฉพาะเจาะจง และก็เป็นอภิตที่สุดท้ายต้องจำนนกับเสียงส่วนใหญ่ที่สื่อสารให้ มึงต้องอ่าน นั้น จนทำให้บทกวีแสนงดงามของโกเมศที่อภิตจำได้ไม่ลืมเพียงสองบาทต้น กลายเป็นบทกลอนชาตินิยมดาดๆ ของพวกเผด็จการ
อติภพเล่าให้ผมฟังว่าเดิมทีเขาตั้งชื่อนิยายเรื่องนี้ว่า รอย แต่ภายหลังต้องเปลี่ยนมาเป็น ประวัติศาสตร์ของความเงียบ ด้วยเหตุผลทางเทคนิคบางประการ ผมชอบชื่อ รอย มากกว่า เพราะ ประวัติศาสตร์ เป็นผลจาก จินตกรรม ของคนในยุคปัจจุบันที่มีถึงอดีต ไม่ใช่ตัวของ อดีต เอง ประวัติศาสตร์จึงเป็นสิ่งที่คนในยุคปัจจุบันสร้างขึ้น และมักจะถูกสร้างโดยผู้ชนะ หรือบรรดาผู้มีอำนาจทั้งหลาย และไม่ว่าพวกเขาจะพยายามสร้างประวัติศาสตร์ให้มัน เงียบ สักเท่าไร มันก็มักจะมี รอย ปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ
Create Date : 19 มิถุนายน 2555
Last Update : 23 สิงหาคม 2557 18:02:08 น.
0 comments
Counter : 4804 Pageviews.
Share
Tweet
grappa
Location :
กรุงเทพ Thailand
[Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [
?
]
New Comments
Webmaster - BlogGang
[Add grappa's blog to your web]
โปรแกรมหนังลิโด้ สยาม
Gen' x
เว็บคุณเฟย์และคุณ O
โลนลี่ พลาเน็ท
j.t. leroy
Limitless Cinema
Somewhere in Between
colors
ไต้ฝุ่น
โค้ดสีจากป้ามด
เกี้ยมอี๋
น้าตู่
เต๋อ
ยุ้ย
โจ๊ก
blastnest
มุก
open
เอกเช้า
นิล
ตี้
หญิง
โลเล
สำนักพิมพ์กำมะหยี่
โอม
My Hi 5
กิฟท์
ป๊อก
สนพ.ไลท์เฮาส์
มิท
Bloggang.com