70 กว่าปีจึงได้เห็นภาพการประหารชีวิตหมู่ชาวฝรั่งเศส
VIDEO Léo Ferré - L'affiche rouge - L'armée du crime
ภาพการสังหารหมู่ชาวฝรั่งเศสที่เก็บเงียบมานานกว่า 70 ปี เพิ่งจะมีการเปิดเผยและเผยแพร่เมื่อเร็ว ๆ นี้ ในภาพเป็นการยิงเป้าแนวร่วมและผู้ต่อต้านชาวฝรั่งเศสโดยกองทัพนาซีเยอรมันนี ที่ Mont Valérien ป้อมปราการชานเมืองด้านตะวันตกของกรุงปารีส ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงคริสตศตวรรษที่ 20 (1901-2000) จำนวนผู้ถูกสังหารในครั้งนั้นมากกว่า 1,000 คน นับเป็นจำนวนมากที่สุดในประเทศฝรั่งเศสยุคนั้น กองทัพนาซีได้จับกุมผู้ต่อต้านและแนวร่วม ที่ส่วนมากเป็นชาวยิวและผู้นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ ด้วยข้อหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการลอบโจมตีสังหารทหารเยอรมันนี แล้วตัดสินประหารชีวิตโดยตุลาการศาลทหารเยอรมันนี นักโทษทุกคนถูกบรรทุกโดยรถยนต์บรรทุกขนส่งทหาร มายังป้อมปราการด้านตะวันตกนอกเมืองปารีส ภายในที่คุมขัง บางคนได้ขีดเขียนข้อความลงบนฝาผนัง ระบุชื่อนามสกุลและวันตาย และบางรายเขียน Vive la France ฝรั่งเศสจงเจริญ หรือ ต้องมีเอกราช ภาพผู้ต่อต้านชาวฝรั่งเศสถูกยิงเป้าหมู่โดยทหารนาซี
ที่ชานเมืองกรุงปารีสในกุมภาพันธ์ 1941(2484)
เพิ่งจะเผยแพร่ต่อสาธารณะเป็นครั้งแรก
ที่มาของภาพ
//goo.gl/kBQl8b " พวกมันพานักโทษมาที่นี่ เพื่อฆ่าได้อย่างเงียบ ๆ และอย่างเลือดเย็น ไม่ต้องกังวลกับการรบเพื่อแย่งชิงนักโทษ " Chloe Théault เจ้าหน้าที่ทหารผ่านศึก ที่ทำงานอยู่ที่ Mont Valérien บอกกับผู้สื่อข่าว นักโทษหญิงจะถูกนำตัวไปยังประเทศเยอรมันนี เพื่อประหารชีวิตด้วยการตัดคอ (บางแหล่งข่าวระบุว่าประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ) ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ชาวบ้านทราบเรื่อง แล้วเกิดความโกรธแค้นกับกองทัพนาซี ส่วนนักโทษชายจะถูกผ้ามัดปิดตา บางรายจะถูกมัดกับหลักประหารไม้ แต่บางรายจะยืนพิงหลักประหารไม้ด้วยตนเอง หลักไม้ประหารชีวิตมีอยู่จำนวนทั้งสิ้น 5 หลัก ส่วนด้านหลังเป็นเนินเขาโล่ง ทหารที่ทำหน้าที่เป็นเพชฌฆาต มีจำนวนทั้งสิ้นรวม 60 คน แต่แบ่งกลุ่มทำหน้าที่ยิงเป้านักโทษ เนื่องจากคนที่ถูกประหารมีมาก ดังนั้นทหารเยอรมันนีไม่รู้ตัวว่า ตนเองเป็นคนยิงเป้าคนด้วยกระสุนจริงหรือไม่ เพราะจะมีปืนหนึ่งกระบอกที่บรรจุกระสุนปลอม หลักไม้ประหารชีวิต มีรอยกระสุน
โลงศพที่ใส่นักโทษประหารชีวิต ก่อนพาไปฝังแบบไร้โลงศพ/ไร้ญาติ
โบสถ์เก่าที่แปลงสภาพเป็นที่เก็บหลักไม้ประหารชีวิต กับ โลงศพ
สามภาพนี้จับภาพจาก youtube.com (Franz Stock - a video portrait (english)
ภาพอนุสรณ์สถานที่ Mont Valérien
ภาพอนุสรณ์สถานที่ Mont Valérien
(สังเกตเนินดินด้านหลังคล้าย ๆ กับภาพแรก)
ที่มาของภาพ
//goo.gl/FgCEsV เนื่องจากจำนวนคนที่ถูกประหารชีวิตมีจำนวนมาก ดังนั้นจึงคำสั่งห้ามถ่ายภาพการประหารชีวิตโดยเด็ดขาด เพราะกองทัพนาซีเกรงกลัวว่า ถ้าหากมีภาพหลุดออกไป อาจจะมีการนำภาพถ่ายเหล่านี้ไปขยายผล ทำการรณรงค์โฆษณาชวนเชื่อต่อต้านกองทัพนาซี แต่มีทหารชั้นยศต่ำกว่าระดับสัญญาบัตรรายหนึ่ง ชื่อ Clemens Rüter ได้ขับรถจักรยานยนต์คุ้มกันของทหาร ไปแอบซ่อนตัวที่หลังพุ่มไม้แล้วถ่ายภาพได้จำนวน 3 ภาพ ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 1941(2484) ด้วยกล้องฟิล์ม Minox Clemens Rüter นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิค ไม่เคยเอ่ยปากเล่าเรื่องนี้กับใคร และปล่อยให้ฟิล์มคงค้างอยู่ในกล้องถ่ายรูปเป็นเวลากว่า 40 ปี แต่ในช่วงก่อนที่เขาใกล้ตาย ช่วงเดินทางไปแสวงบุณย์ที่กรุงโรม (น่าจะไปแสวงบุญที่นครรัฐวาติกัน ที่มีพระสันตปาปา เป็นประมุขรัฐทางโลกในนครรัฐแห่งนี้ ประมุขทางธรรมสำหรับชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิค) เขาจึงได้เล่าเรื่องนี้กับเพื่อนร่วมเดินทางที่ไปแสวงบุณย์ด้วยกัน และได้เข้าพักร่วมกันในห้องพักเดียวกัน ถึงเรื่องความลับดำมืดที่เขาปกปิดไว้มานาน ทหารเยอรมันนีนั่งด้านนอกร้านกาแฟในกรุงปารีส์ ที่ Champs Elysees ฌองเซลีซี
ในวันบุกคุกบาสตีล์ Bastille Day หรือวันชาติฝรั่งเศส 14 กรกฎาคมในปี 1940(2483)
ประเทศฝรั่งเศสถูกปกครองโดยกองทัพนาซีเยอรมันนีเมื่อตอนต้นปี
และได้รับเอกราชอีกครั้งในปี 1944(2487)
ที่มาของภาพ
//goo.gl/kBQl8b " เขารู้สึกสำนีกผิดและเขาละอายใจ เพราะเขาต่อต้านการประหารชีวิตนักโทษ เขาพูดอย่างเปิดอกกับสหายของเขา " Jean-Louis Macron อดีตอนุศาสนาจารย์ ที่ป้อมปราการ Mont Valérien กล่าวเรื่องนี้ เรื่องมันบังเอิญอย่างยิ่ง ที่สหายร่วมห้องพักของ Clemens Rüter ทำงานให้กับสมาคม Franz Stock (บาทหลวงชาวเยอรมันนี ทำหน้าที่เจ้าอาวาสในฝรั่งเศส ได้ทำพิธีศีลล้างบาปให้กับนักโทษ 863 คนใน Mont Valérien ตามบันทึกย่อส่วนตัวของท่านที่ค้นพบในภายหลัง และท่านประมาณว่าท่านทำหน้าที่พิธีศีลล้างบาปได้ น่าจะเพียง 1 ใน 4 ของคนที่ถูกประหารชีวิตในครั้งนั้น บันทึกของท่านก่อนตายระบุว่าน่าจะมากกว่า 2,000 คน แต่ในอนุสรณ์สถาน Mont Valérien ระบุว่ามากกว่า 4,500 คน) สรุปย่อ/ที่มา //www.franz-stock.org/index.php?lang=en&Itemid=197 VIDEO Franz Stock - a video portrait (english)
สหาย Clemens Rüter มักจะเดินทางไปที่ Mont Valérien เสมอ ๆ หรือรู้จักกันในชื่อว่า Hell's chaplain (ป้อมนรก) เพื่อสวดมนต์วิงวอนขอให้พระผู้เป็นเจ้า ได้โปรดยกโทษและไถ่โทษบาปให้กับ เหล่าบรรดานักโทษที่ถูกประหารชีวิตในวาระสุดท้าย รวมทั้งทหารนาซีที่ร่วมกระทำการในครั้งนั้นด้วย ทำให้เขาเป็นสมาชิกคนหนึ่งของสมาคม ที่เป็นสัญลักษณ์ของความสมานฉันท์ ระหว่างชาวฝรั่งเศสกับชาวเยอรมันนี (a symbol of Franco-German reconciliation) สมาคมแห่งนี้ไม่เปิดเผยตัวตนมาหลายปีแล้ว และมักจะดำเนินกิจกรรมที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของกองทัพนาซี อนึ่ง ในการสังหารหมู่ชาวฝรั่งเศสจำนวนมากที่ Mont Valérien เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องที่ลึกลับและไม่มีประจักษ์พยานหลักฐานที่ชัดเจน จนทำให้นักประวัติศาสตร์รายหนึ่งถึงกลับกล้าระบุออกมาเลยว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องโกหกหลอกลวงเป็นเรื่องเล่าแต่งเสริมเติมแต่งขึ้นมา แต่เมื่อพบกับหลักฐานชิ้นสำคัญของบาทหลวง Franz Stock จึงมีการรื้อฟื้นประวัติศาสตร์และทำอนุสรณ์สถานที่ Mont Valérien บันทึกย่อของบาทหลวง Franz Stock
จับภาพหน้าจอจาก youtube.com Franz Stock - a video portrait (english)
ภาพถ่ายและประวัติย่อ Missak Manouchian
อย่างไรก็ตาม Serge Klarsfield ชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงมาก ในการทำหน้าที่นักล่าอาชญากรสงคราม(พลพรรคนาซี) (คดีอาชญากรสงครามพลพรรคนาซีไม่มีอายุความ จนกว่าผู้ต้องหาจะตายหรือมีหลักฐานแน่ชัดว่าตายจริง จึงจะจำหน่ายคดีออกจากสารบบการติดตามตัวผู้ต้องหา) Serge Klarsfield เกิดความสนใจในภาพถ่ายดังกล่าวนี้ และเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้วนี่เอง เขาได้สรุปผลการตรวจสอบและระบุว่า คนที่ถูกประหารในรูปเป็นสมาชิกเครือข่าย กองกำลังติดอาวุธของ Missak Manouchian ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในฐานะนักรบกองโจร เป็นทั้งกวีและกรรมกรในโรงงานที่เก่งกล้า ในการทำการสู้รบแบบกองโจรกับกองทัพนาซี และมีการบริหารจัดการภายในองค์กรใต้ดินได้อย่างดีเยี่ยม ในการต่อต้านกองทัพนาซีในกรุงปารีส นักล่าอาชญากรสงครามพลพรรคนาซี Serge Klarsfield ชาวฝรั่งเศส
ระบุว่าผู้ที่ถูกประหารชีวิตเป็นสมาชิกกองกำลังติดอาวุธ
เครือข่ายต่อต้านกองทัพนาซีที่นำโดย Missak Manouchian
ที่มาของภาพ
//goo.gl/kBQl8b กองกำลังติดอาวุธ Missak Manouchian เป็นส่วนหนึ่งของฝ่ายต่อต้านที่นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ กลุ่ม FTP-MOI (Les Francs-tireurs et partisans- Main d'œuvre immigrée) กองทัพนาซีตั้งฉายากลุ่มนี้ว่า The Army of Crime กองทัพพวกอาชญากร เรื่องของ Missak Manouchian และสหายร่วมรบของเขา ได้มีการจัดสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่องยาว โดยมีภาพโฆษณาภาพยนต์เรื่องนี้เป็น รูปภาพผู้ต้องหาขาวดำบนพื้นกระดาษหมายจับสีแดง หรือที่เรียกกันว่า "l"Affiche Rouge" ที่เคยปิดไปทั่วประเทศฝรั่งเศส ตามคำโฆษณาชวนเชื่อของนาซีว่า กลุ่มก่อการร้ายนี้อยู่ภายใต้ร่มเงา พวกคนต่างชาติ/พวกอาชญากร มีจดหมายจำนวน 19 ฉบับของ Missak Manouchian ที่มีการจัดแสดงไว้ในสถานสุสานรำลึก ได้กล่าวอำลากับภริยาด้วยถ้อยคำว่า " Mélinée ที่รัก และลูกน้อยกำพร้าของพ่อ ในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้านี้ พ่อคงไม่มีชีวิตอยู่ต่อไปบนโลกนี้แล้ว " ในจดหมายมีถ้อยคำระบุอย่างชัดเจน และขอร้องให้ภริยาเขาแต่งงานใหม่ได้เลย หลังจากที่เขาตายในวันที่ 16 พฤศจิกายน 1943(2486) และเขายังระบุว่าเขาไม่อาฆาตแค้นผู้ใด ยกเว้นแต่คนที่ปรักปรำใส่ร้ายเขากับสหายร่วมรบ 23 คน "ในช่วงเวลาก่อนที่ผมจะตาย ผมขอยืนยันว่าผมไม่ได้โกรธเกลียดชาวเยอรมัน หรือต่อต้านต่อทุกคนในทุก ๆ เรื่อง ทุกคนต่างต้องได้รับผลการกระทำของตนเอง " เขาเขียนในบทสุดท้ายว่า " สงครามครั้งนี้คงไม่ยาวนานนัก " เป็นเวลากว่า 70 ปีแล้วนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 1944(2487) ที่นายพล Charles de Gaulle ประกาศผ่านสถานีวิทยุ BBC ที่นครลอนดอน เรียกร้องให้ชาวฝรั่งเศสทุกคนลุกขึ้นมาจับอาวุธสู้กับกองทัพนาซีเยอรมันนี (วัน D-Day วันยกพลขึ้นบกที่ชายหาดนอร์มังดี ฝรั่งเศส วันที่ 6 มิถุนายน 2487 เป็นการเริ่มต้นยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กองทัพพันธมิตร มีชัยชนะเหนือกองทัพฝ่ายอักษะ เยอรมันนี อิตาลี) ข้อมูลเพิ่มเติม //th.wikipedia.org/wiki/การบุกครองนอร์มังดี เรียบเรียงจาก //goo.gl/x2J0Dg //goo.gl/kBQl8b //goo.gl/iVfRtQ //translate.google.co.th //dict.longdo.com
Create Date : 06 กุมภาพันธ์ 2557
Last Update : 19 กุมภาพันธ์ 2557 16:53:29 น.
0 comments
Counter : 1863 Pageviews.