Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

นักเรียนสาวเหลือขอ กับ ครูติวเตอร์ ผู้พลิกผันให้เธอสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัย Keio ... ต่อตระกูล ยมนาค



ซายากะ จัง นักเรียนหญิง ม.5 เหลือขอ สอบได้ที่โหล่ของ รร. เธอพบกับ Tsubota ครูติวเตอร์ ผู้พลิกผันให้เธอสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัย Keioที่สอบเข้ายากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นได้ในที่สุด!
100 ล้านฉบับคือยอดขายหนังสือที่ครู Tsubota Nobutaka เขียนเล่าวิธีที่เปลี่ยนแปลงเธอ กลายเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของญี่ปุ่น( รวมยอดขายแบบ ดิจิตัลด้วย)
และได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ชื่อ Flying Colors ฉายไปทั่วโลก

******************************
บทความข้างล่างต่อไปนี้เป็นผลงานแปลจากภาษาญี่ปุ่นโดย: เกตุวดี Marumura
ลงใน Japan Gossip
ตัดย่อมาบางส่วน
อ่านฉบับเต็มได้ที่:  https://bit.ly/1ORRhYT

**************

วันแรกที่พบกับ อาจารย์ Tsubota เริ่มด้วยการถามซายากะว่า อยากเข้ามหาลัยไหน
ซายากะตอบว่า ไม่รู้สิ

Tsubota ลองแหย่ว่า “ลองเข้ามหาวิทยาลัยโตไดไหม”
ซายากะตอบกลับมาว่า “ไม่เอาอ่ะ มีแต่ผู้ชายบ้าเรียนใส่แว่นหนาๆ”
“งั้น สอบเข้า Keio ไหม? เคยได้ยินคำว่า Keio Boy ไหม?”
“ว้ายยย หนุ่มหล่อเยอะนิ่ ซายากะกับเคโอ
น่าสน น่าสน !”

Tsubota มีหลักการว่า เด็กแต่ละแบบ มีวิธีสอนและวิธีกระตุ้นไม่เหมือนกัน
ครู Tsubota ให้เด็กๆ ทุกคนทำแบบทดสอบจิตวิทยา (เอ็นเนียแกรม)
และแบ่งเด็กๆ เป็น 9 ประเภท

ซายากะจังเป็นประเภท “ผู้เสพย์สุข” มองโลกในแง่ดี
เวลาสอน ต้องขายฝัน โม้เป้าหมายสูงๆ ก็ไม่เป็นไร เด็กพวกนี้ไม่สงสัย
ครู Tsubota จึงบอกซายากะว่า
“ถ้าไป Keio เธอจะได้เจอคนเก๋ๆ คูลๆ นะ ได้อยู่โตเกียวด้วยนะ”
ซายากะ ผู้มองโลกในแง่ดีก็เริ่มฝันหวาน และมีแรงอ่านหนังสือสอบ

ในทางกลับกัน ถ้าเด็กเป็นประเภท Realistic
ขืนครูมานั่งขายฝันแบบนี้ เด็กคงดูถูก หาว่าครูไม่ได้เรื่องแน่ๆ

ครู Tsubota ไม่ได้รู้สึกท้อใจหรือหนักใจเลย ที่เห็นซายากะสอบได้แค่ระดับป.4
ครูเชื่อว่า เด็กที่ทำคะแนนไม่ดี ไม่ใช่เด็กไม่เก่ง
เพียงแต่พวกเขาแค่ยังไม่ได้เรียน หรือไม่รู้เกี่ยวกับความรู้นั้นๆ เท่านั้น

สิ่งสำคัญ คือ จะทำอย่างไรให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ว่า
การเรียน ก็คือ การฝึกทำสิ่งที่คิดว่าทำไม่ได้ ให้ทำได้
และสนุกไปกับ process นั้น

เด็กที่แยกคำว่า They กับ He ไม่ออก ไม่เข้าใจ
แต่ถ้าเขาเข้าใจความหมาย เข้าใจวิธีใช้ และใช้คำเหล่านั้นมาแต่งประโยคใหม่ๆได้
เขาย่อมทึ่งกับความสามารถกับตัวเอง
เขาย่อมอยากรู้ศัพท์คำใหม่ๆ อีก

นั่นคือ วิธีที่ Tsubota ทำให้เด็กหนีเรียนอย่างซายากะหันมาสนุกกับการเรียนได้
ก่อนอื่น ครูสอนโครงสร้างภาษา เอาให้พื้นฐานแน่น
จากนั้น ค่อยๆ ทำแบบฝึกหัดภาษาอังกฤษ ฝึกให้ใช้พจนานุกรม

พอเริ่มอ่านบทความง่ายๆ เข้าใจ เด็กก็เริ่มสนุกและอยากอ่านอีก
ครูก็ป้อนบทความที่ยาวขึ้น ยากขึ้นให้อ่าน

เมื่อซายากะไปโรงเรียน เธอตกใจที่เธอทำข้อสอบที่โรงเรียนได้
ทั้งๆที่ผ่านมา ส่งกระดาษเปล่าตลอด
เธอเริ่มมั่นใจ และรู้สึกดีกับตัวเองขึ้นเรื่อยๆ
และยิ่งอ่านหนังสือหนักขึ้น

Tsubota เชื่อว่า
ในโลกนี้ มีเด็กที่เกลียดการเรียนอยู่เยอะ
แต่ไม่มีเด็กคนไหนที่เกลียดความก้าวหน้าของตัวเอง

และ Tsubota เป็นผู้ชี้ทางให้เด็กเห็น “ความก้าวหน้า” ของตัวเอง
ตัวเองในวันนี้ ที่รู้มากกว่าตัวเองเมื่อวาน
ตัวเองในวันนี้ ที่รู้มากกว่าตัวเองในเดือนก่อนมากๆ
บางส่วนของจดหมายที่ซายากะเขียนถึงครู
เธอเขียนว่า

“ก่อนที่จะได้เจอครู หนูเกลียดผู้ใหญ่รอบตัวมาก
ทุกคนมองว่าหนูเป็นเด็กไม่ได้เรื่อง
คนที่เข้าใจหนู มีแต่เพื่อนเท่านั้น เพื่อนสำคัญที่สุด

ถ้าไม่ได้เจอครู หนูคงไม่คิดจะเรียนต่อมหาลัย
คงหางานอะไรสักอย่างทำไปวันๆ แต่งงาน มีลูก

แต่พอเจอครู ครูรับที่หนูเป็นหนู
ครูชมหนูบ่อยๆ ครูไม่หน้าบึ้งใส่หนูเหมือนผู้ใหญ่คนอื่น
แถมครูยิ้มและหัวเราะบ่อยๆ ด้วย
ครูยังฟังเรื่องที่หนูเล่าโน่นเล่านี่ด้วย

ตอนที่หนูบอกคนรอบตัวว่าจะเข้าม. เคโอ
มีแต่คนบอกว่าหนูบ้าไปแล้ว
แต่ครูทำให้การเรียนที่เคโอ เป็นเรื่องน่าตื่นเต้น น่าสนุกสำหรับหนู
ทำให้หนูเริ่มสนใจ ….

แตว่า พอลองตั้งใจเรียนจริงๆ
หนูตกใจมากว่า ทำไมหนูไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรขนาดนี้
ขณะเดียวกัน การได้รู้ว่าเราไม่รู้อะไร มันเป็นเรื่องที่สนุกมากๆ
หนังสือที่อ่านสนุกกว่าที่คิด หนูยังรู้สึกเสียดายเลยว่า หนูกลับมาเรียนช้าไป

เวลาครูเล่าเรื่องการเมืองให้ฟัง
หนูกลับไปบ้าน ก็เริ่มฟังข่าวเข้าใจมากขึ้น

เวลาหนูอ่านการ์ตูนประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นที่ครูแนะนำ
หนูก็เริ่มฝันอยากเดินทางไปดูของจริงที่โน่นที่นี่
หนูเสียดายเวลาที่ผ่านมาเหลือเกิน เวลาที่หนูทำตัวไร้สาระ
โลกนี้ยังมีอะไรให้เรียนรู้อีกตั้งเยอะนะคะ

ตอนที่หนูสอบเข้าเคโอได้ หนูสัมผัสได้ถึงอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปมากในตัวหนู
ครูบอกว่า “เธอจะมั่นใจในตัวเองมากขึ้น”
หนูยังจำคำนี้ได้ไม่ลืมเลยค่ะ

หนูได้เรียนรู้ว่า หากเราพยายามอะไรถึงที่สุด
พยายามจนเกือบตาย
ชีวิตมันเปลี่ยนไปจริงๆ
ชีวิต … ขึ้นอยุ่กับการที่เราเลือก..."...

**********************************

ช่วยแชร์กัน ออกไปให้พ่อแม่ไทยได้ดูเป็นตัวอย่าง
หาช่องสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกๆ
เด็กทุกคนมีดีในตัวเอง ต้องช่วยเขาค้นให้เจอ
อย่าสั่งเขาเอาง่ายๆ ว่า:ลูกโตขึ้นจะต้องเรียนอะไรเป็นอะไร !!!!

อาจารย์ต่อตระกูล

ที่มา https://www.facebook.com/Dr.Tortrakul/posts/10216781456757113




Create Date : 15 มิถุนายน 2561
Last Update : 15 มิถุนายน 2561 14:41:44 น. 0 comments
Counter : 2048 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]