Business, Management, Skill, Experiences--แลกเปลี่ยน เรียนรู้ แบ่งปัน ประสบการณ์ บริหาร และอื่น ๆ
Group Blog
 
All blogs
 
ญวน-พม่า-ลาว ผงาดค้าข้าว !!

ญวน-พม่า-ลาว ผงาดค้าข้าว

((( เห็นข่าวนี้แล้ว ..... ความเห็นที่หลายคนคาดไว้ ว่า "ต่อไปไทยจะลดตัวไปแข่งกับลาว พม่า ใกล้เป็นจริงทุกที )))

------------------------------------------------------------------------

ญวน-พม่า-ลาว ผงาดค้าข้าว


ปี 53 กฎเหล็กอาเซียนฆ่าสินค้าเกษตรไทยตายสนิท

สินค้าเกษตรไทยส่อเค้าตายสนิทหลังเจอข้อตกลงอาเซียนซัมมิตบังคับใช้ ลดภาษีนำเข้าทุกรายการโดยไม่มีโควตา หวั่นตลาดข้าวโดนเวียดนาม/พม่า/ลาว กินส่วนแบ่งมากกว่า 30% ด้านผลไม้ยอมรับตลาดนำเข้าเปิดกว้างแต่ภาคการส่งออกไม่มีผลไม้จะขายเพราะชาวสวนไร้เทคโนโลยีเพิ่มผลผลิต ต้องอาศัยนายทุนข้ามชาติมาช่วยในขณะที่รัฐบาลยังคง สร้างภาพวันต่อวัน

ขณะที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พยายามนำเสนอภาพการเดิน ทางไปโรดโชว์ยังต่างประเทศ เพื่อเปิดตลาดให้ กับสินค้าภาคการเกษตร ของไทย โดยเฉพาะผลไม้ได้มีโอกาสส่งออกไปขาย ทั้งในประเทศจีน เกาหลีใต้และกลุ่มประเทศอาเซียนในลักษณะเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ทว่าปัญหาใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ก็คือเรื่องของข้อตกลงอาเซียนซัมมิตในการเปิดเสรีสินค้าเกษตรในกลุ่มประเทศ อาเซียน

ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2553 ซึ่งทุกประเทศอาเซียนสามารถส่งผัก ผลไม้ ตลอดจนสินค้าเกษตรทุกชนิดไปขายในประเทศกลุ่มอาเซียนด้วยกันเองโดยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าและไม่มีการกำหนดโควตา ที่ผ่านมารัฐบาลกลับยังไม่มีแผนงานชัดเจนว่าจะเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับเกษตรกรไทยอย่างไร

โดยนายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล ประธานคณะกรรมการธุรกิจเกษตรและอาหาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ว่าวันที่ 1 ม.ค.53 สินค้าเกษตรทุกชนิดจะลดภาษีเหลือ 0% ตามข้อตกลงอาเซียนซัมมิต นั่นหมายความว่าสินค้า เกษตรจากประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 9 ประเทศจะทะลักเข้าสู่ประเทศไทยได้อย่างเสรีโดยไม่ต้องเสียภาษีและไม่มีโควตา จึงทำให้เป็นห่วงว่าถ้ารัฐบาลไทยยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องการพัฒนาสินค้าเกษตรไทย โดยเฉพาะในเรื่องมาตรฐานด้านสุขอนามัย เราอาจสูญเสียความสามารถทางการแข่งขันในอนาคต

“เท่าที่ทราบตามข้อตกลงไทยจะต้องลดภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรทุกชนิดและไม่มีการกำหนดโควตานำเข้า ใครจะนำเข้าเท่าไหร่ก็ได้ อาจจะมีแค่ปาล์มน้ำมันเท่านั้นที่ยังต้องเสียภาษี 5% ตรงนี้เป็นความน่ากลัวอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรไทย โดยสิ่งที่รัฐบาล ต้องทำโดยเร่งด่วนคือการรวมกลุ่มผู้ผลิตในแต่ละหมวดสินค้าในลักษณะเป็นกลุ่มก้อนหรือคลัสเตอร์ ยกตัวอย่างเช่นข้าวก็จับทุกภาคส่วนมานั่งคุยกันตั้งแต่ชาวนา โรงสี ผู้ส่งออกว่าจะช่วยเหลือหรือจัดทำเป็นห่วงโซ่การผลิตร่วมกันอย่างไรได้บ้าง เช่น ชาวนาปลูกข้าวแล้วมีโรงสีรับซื้อให้ราคาที่เหมาะสม ในขณะที่ผู้ส่งออกก็อาจจะให้ข้อมูลความต้องการในตลาดโลก ไม่มีการตัดราคาซึ่งกันและกัน สิ่งสำคัญคือการพัฒนาพันธุ์ข้าวให้มีความหลากหลายและมีคุณภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ แต่เท่าที่เห็นเวลานี้รัฐบาลยังไม่สามารถจัดการอะไรได้อย่างเป็นรูปธรรม” นายพรศิลป์ กล่าว

ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญในวงการข้าววิเคราะห์ให้ “สยามธุรกิจ” ฟังว่าปัจจุบันไทยผลิตข้าวสารปีละ 20 ล้านตันข้าวสาร ส่งออกประมาณ 8 ล้านตัน บริโภคภายในประเทศประมาณ 10 ล้านตัน ที่เหลืออีก 2 ล้านตันเป็นข้าวในสต็อกเก็บไว้เผื่อฉุกเฉินเช่นการขาดแคลน ถ้าราคาขายในประเทศเฉลี่ยตันละ 1 หมื่นบาท เท่ากับว่ามูลค่าเงินหมุนเวียนในประเทศแต่ละปีประมาณ 1 แสนล้านบาท ถ้าข้าวจากอาเซียนเข้ามาแย่งส่วนแบ่งสัก 30% ก็เท่ากับว่าเราจะสูญเสียรายได้ที่เคยได้ประมาณ 3 หมื่นล้านบาทต่อปี ซึ่งก็ต้องหาตลาดต่างประเทศมาทดแทนในส่วนนี้

ด้านนายไพบูลย์ วงศ์โชติสถิตย์ นายก สมาคมผู้ค้าและส่งออกผลไม้ไทย เปิดเผยว่า การเปิดเสรีการค้าภายใต้ข้อตกลงอาเซียนซัมมิตไม่ได้ทำให้ยอดการส่งออกผลไม้ของไทยไปอาเซียนมากขึ้น เพราะถึงแม้กลุ่มประเทศอาเซียนจะไม่มีกรอบภาษีแต่ประเทศไทยก็คงไม่มีผลไม้จะส่งออกไป เพราะไม่สามารถเพิ่มพื้นที่การผลิตได้ แต่การนำเข้าคงมากขึ้นแน่ ขึ้นอยู่กับว่าผลไม้ที่ทะลักเข้ามาจะมีคุณภาพดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภค ชาวไทยหรือเปล่า

“ทุกวันนี้แม้จะไม่มีข้อตกลงอาเซียนซัมมิต แต่ผลไม้จากจีนและพม่าก็ทะลักเข้ามาทุกวันในลักษณะกองทัพมด โดยเฉพาะส้ม เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีกรอบภาษีหรือโควตามาเป็นข้อกำหนด สินค้าจากอาเซียนคงจะะทะลักเข้ามาอีกมหาศาล แต่ก็เป็นที่คาดหมาย ว่าผลไม้จากประเทศอาเซียนส่วนใหญ่มีคุณภาพไม่ดี แต่ถ้าใช้ราคามาเป็นจุดขายก็คงส่งผลกระทบกับผลไม้ไทยพอสมควร แต่ถ้าจะมองมูลค่าการส่งออกคิดว่าไทยคงไม่ได้อะไรจากข้อตกลงดังกล่าว เพราะเราไม่สามารถเพิ่มปริมาณผลไม้ส่งออกไปขายในประเทศกลุ่มอาเซียนได้มากกว่าที่ผ่านมา” นายไพบูลย์ กล่าว

นายไพบูลย์กล่าวต่อว่า การพัฒนาสินค้าไทยให้สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้คือ การร่วมมือกับประเทศที่มีข้อตกลงทางการค้า เช่นญี่ปุ่นที่มีข้อตกลงเจเทปป้ากับไทยนำเทคโนโลยีของญี่ปุ่นมาพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพ มาตรฐานเพื่อส่งไปขายในตลาดโลก


ที่มา: //www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413337501


Create Date : 09 มิถุนายน 2552
Last Update : 9 มิถุนายน 2552 18:12:03 น. 0 comments
Counter : 531 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

byonya
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 18 คน [?]




I am not a perfect, but simple!

 
 
Custom Search



 
 

Website น่าสนใจ  
 
หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท

เว็บการศึกษา Eduzones.com

Business Web Directory .biz - Business Directory
 


Word of the Day

This Day in History

Quote of the Day

Hangman




Friends' blogs
[Add byonya's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.