Business, Management, Skill, Experiences--แลกเปลี่ยน เรียนรู้ แบ่งปัน ประสบการณ์ บริหาร และอื่น ๆ
Group Blog
 
All blogs
 
ทำไม? อเมริกาถึงล้ม

ทำไม? อเมริกาถึงล้ม?

((( อืมม ... น่าศึกษาเป็นบทเรียนครับ )))


---------------------------*--------------------------------


รายงานโดย :ไพบูลย์ กระจ่างวุฒิชัย: วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552



ปี 2552 โลกต้องกลับมาอยู่ในสภาพวิกฤตเศรษฐกิจอีกครั้ง หลังจากเพิ่งผ่านพ้นจากวิกฤตต้มยำกุ้งมาเมื่อปี 2540 โดยวิกฤตครั้งล่าสุดนี้มีจุดเริ่มต้นจากประเทศสหรัฐอเมริกา

ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของโลก ดังนั้นเมื่อมหาอำนาจอย่างสหรัฐต้องตกอยู่ในห้วงมหาวิกฤตครั้งนี้ ย่อมส่งผลให้ประเทศต่างๆ ในโลกต้องประสบกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปด้วย

ในหนังสือเรื่อง “The Great Depression สู่วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ การเคลื่อนตัวของศูนย์เศรษฐกิจโลกจากสหรัฐอเมริกาสู่จีน” เขียนโดย อาจารย์สมภพ มานะรังสรรค์ ศูนย์เศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน

โดยอาจารย์สมภพได้ลำดับเหตุการณ์ไว้เป็น 6 ส่วนด้วยกัน ประกอบด้วย 1.การเลื่อนชั้นในลำดับขั้นของการพัฒนาเศรษฐกิจ 2.ศึกษาประวัติศาสตร์การเงินจากเหตุการณ์เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ หรือ The Great Depression เมื่อปี 2472 3.เหตุการณ์ใหญ่ที่นำไปสู่วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ 4.วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่กับความเป็นไปได้ในการกอบกู้ 5.เมื่อวิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ลุกลามมาถึงไทยเตรียมรับมืออย่างไร และ 6.โอกาสการเติบใหญ่ของเอเซียตะวันออก ท่ามกลางการถดถอยของตะวันตก

เหตุผลที่ทำให้อาจารย์สมภพเลือกแนวทางในการอธิบายปรากฏการณ์วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ด้วยการเทียบเคียงเหตุการณ์ The Great Depression แทนที่จะอธิบายวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เพียงอย่างเดียว เพราะต้องการเปรียบให้ถึง “ความเหมือน” และ “ความต่าง” ของแต่ละเหตุการณ์เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง

อาจารย์สมภพเทียบเคียงสาเหตุของการเกิด The Great Depression และวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ว่า เหตุการณ์ The Great Depression เริ่มมาจากการเกิดความเฟื่องฟูแบบฟองสบู่หลายประการด้วยกัน คือ การปฏิวัติการขนส่งและเดินทาง การปฏิวัติการสื่อสาร และการปฏิวัติสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งทั้งหมดให้ความสะดวกสบายแก่ชีวิตประจำวันของผู้คน ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาสินทรัพย์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นและอสังหาริมทรัพย์เกิดการขยายเกินตัว ที่ได้ลากให้ราคาสินทรัพย์อื่นๆ ขยายตัวเติบใหญ่เป็นลูกโซ่ด้วย

ในที่สุดตลาดหุ้นเกิดความผันผวนรุนแรง เกิดอาการแตกตื่นและมีการเทขายหุ้นวันเดียวถึง 12 ล้านหุ้น โดยหุ้นจำนวนมากถูกเทขายเหมือนไร้ราคา ผู้ที่ขาดทุนจากตลาดหุ้น ไม่เพียงเกิดขึ้นกับนักลงทุนรายย่อยเท่านั้น หากแต่ผู้มีฐานะดีก็ขาดทุนด้วยเช่นกัน

ขณะที่ปัจจัยที่ทำให้เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ คือ การเปิดเสรีภาคการเงินอย่างมากมายมหาศาลในปี 2542 ยุคที่คลินตันเป็นประธานาธิบดี ผ่านการยกร่างกฎหมายการเงินที่มีชื่อว่า “The Financial Services Modernization Act” ได้ทำให้ภาคการเงินของสหรัฐมีเสรีในการประกอบการมาก และธนาคารก็เป็นธนาคารแบบครอบจักรวาลมากขึ้น คือ สามารถประกอบธุรกรรมทางการเงินหลายๆ อย่างไขว้กันไปมาได้ เช่น สถาบันการเงินอาจทำหน้าที่เป็นธนาคารพาณิชย์ ทำหน้าที่เป็นธนาคารเพื่อการลงทุน และสามารถทำธุรกิจการประกันได้พร้อมกัน

ต่อมาในรัฐบาลของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ได้มีการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคแบบผ่อนคลายสองประสาน เพื่ออัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ภายหลังเกิดเหตุการณ์ 9/11 ในปี 2544 โดยธนาคารกลางสหรัฐได้ประกาศปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางเหลือเพียง 1% การปรับลดดอกเบี้ยได้ทำให้สถาบันการเงินเข้ามากู้เงินมากขึ้น จากนั้นสถาบันการเงินเหล่านี้ก็มาปล่อยเงินกู้ในธุรกิจบ้าน เพื่อให้ประชากรของสหรัฐราว 20% ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่เคยกู้เงินซื้อบ้าน ได้มากู้เงินเพื่อซื้อบ้านได้ หรือที่เรียกว่า “ซับไพรม์”

สถาบันการเงินเหล่านี้ ได้เอาโฉนดที่ดินจากผู้กู้เงินไปหาผลประโยชน์ต่อด้วยการเอาสินทรัพย์ที่เป็นหนี้สินมาแปลงให้เป็นหลักทรัพย์ หลักทรัพย์ตัวนี้เรียกว่า “CDOs” (Collateralized Debt Obligations) เพื่อเอาหลักทรัพย์ตัวนี้ไปขายต่อ ขณะเดียวกันสถาบันที่ออก CDOs นำเอาหลักทรัพย์นี้ไปซื้อประกันจากสถาบันประกันต่างๆ เช่น AIG เพื่อออกกรมธรรม์สำหรับ CDOs เรียกว่า CDS’s (Credit Default Swaps) หมายความว่า ถ้าซับไพรม์รายไหนก่อปัญหา สามารถนำไปเรียกค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัยได้

ปรากฏว่า CDS’s ถูกผลิตออกมาขายมหาศาลต้นปี 2551 CDS’s ถูกนำมาขายถึง 62 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ มากกว่ามูลค่าของ GDP ทั้งโลก ถึงจุดหนึ่งทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารทั่วโลกต้องปรับอัตราดอกเบี้ยสูงเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ พอปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น อาการเอ็นพีแอล คือ สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของกลุ่มซับไพรม์ก็ปรากฏออกมา ไม่สามารถชำระหนี้ได้ทั่วประเทศ บริษัทประกันภัยไม่สามารถจ่ายเบี้ยประกันภัยได้ สถาบันการเงินที่ออก CDOs และ CDS’s เริ่มล้มหุ้นตกมหาศาล

ภาวการณ์ดังกล่าวทำให้เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลกเกิดการแยกตัวออกจากสหรัฐและเข้าใกล้จีนมากขึ้น ซึ่งเป็นประเทศที่มีศักยภาพเศรษฐกิจที่โดดเด่นในปัจจุบัน ด้วยจุดแข็งหลายประการที่อาจช่วยกอบกู้วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจได้จริง เช่น เศรษฐกิจจีนยังอยู่ในช่วงวัยรุ่น เพราะเพิ่งเปิดประเทศได้มาประมาณ 30 ปี เพื่อรองรับการลงทุนจากต่างประเทศ

ในปี 2551 จีนได้ลงทุนด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานถึง 4.4 ล้านล้านหยวน หรือ 20 กว่าล้านล้านบาท โดยเชื่อว่าถ้ามีสาธารณูปโภคพื้นฐาน ระบบการขนส่งจะพัฒนา และต้นทุนในการขนส่งสินค้าจะลดลง ทำให้เกิดโอกาสในการพัฒนาใหม่ๆ แต่สิ่งที่เป็นจุดแข็งของจีนมากที่สุด คือ เสถียรภาพที่มั่นคงของรัฐบาลจีน ประกอบกับการเป็นประเทศกึ่งสังคมนิยมอยู่ ยังไม่ได้ใช้ระบบทุนนิยมตลาดเสรีอย่างเต็มที่ ยังทำให้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจได้อีกมาก ดังนั้น ถ้าจีนยังนำเข้ามาก จีนก็จะช่วยพยุงเศรษฐกิจโลกได้มาก

สุดท้าย อาจารย์สมภพได้เสนอทางออกในการแก้ปัญหาครั้งนี้ว่า รัฐบาลต้องพยายามดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศให้มากที่สุด เพราะเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจเล็ก การจะหวังให้เศรษฐกิจโตระดับ 45% เป็นเรื่องยากมาก เพราะฉะนั้นรัฐบาลควรดูแลเรื่องความมั่นคงของอัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย ระบบการเงิน และตัวแปรต่างๆ ที่ทำให้ภาคเอกชนมีความมั่นใจ



ที่มา: //www.posttoday.com/lifestyle.php?id=54026


Create Date : 27 มิถุนายน 2552
Last Update : 27 มิถุนายน 2552 12:28:42 น. 0 comments
Counter : 1044 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

byonya
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 18 คน [?]




I am not a perfect, but simple!

 
 
Custom Search



 
 

Website น่าสนใจ  
 
หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท

เว็บการศึกษา Eduzones.com

Business Web Directory .biz - Business Directory
 


Word of the Day

This Day in History

Quote of the Day

Hangman




Friends' blogs
[Add byonya's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.