<<< “ กำลังของสติ” >>>











“ กำลังของสติ”

จิตมันไม่แน่นอน สภาพของจิตใจมันไม่แน่นอน

 แล้วก็กำลังสติของเราก็ไม่แน่นอน

 บางวันถ้าเรามีสติดี ใจก็จะสงบง่าย

 บางวันถ้าสติไม่ดีก็จะสงบยาก จุดตัวสำคัญก็คือสติ

 กุญแจสำคัญในการฝึกสมาธิก็คือสติ

ถ้าสติไม่ดี ก็เหมือนกับรถเบรคไม่ดี

 เบรคไม่ดีก็จะเบรคไม่ค่อยได้ผล

แหกโค้งตกข้างถนนลงคู ชนกับรถคันนั้นรถคันนี้

 แสดงว่าเบรคไม่ดี ถ้าเบรคไม่ดีมันก็เหมือนสติไม่ดี

 จิตก็ไม่ยอมหยุดคิด คิดเรื่องนั้นแล้วก็มาคิดเรื่องนี้

 คิดไปคิดมาอยู่เรื่อยๆ ถ้ามีการคิดอยู่เรื่อยๆมันจะไม่สงบ

 นั่งแล้วจะไม่ได้ผล แต่มาใหม่อาจจะต้องทนหน่อย

เพราะสติของเรายังเป็นเหมือนเด็กทารกอยู่

ยังล้มลุกคลุกคลานอยู่บางทีก็ไม่เผลอมาก

บางทีก็เผลอมากเราต้องฝึกสติก่อนที่มานั่งด้วย

สติดีจะช่วยได้มากถ้าเราฝึกสติ

อยู่ในชีวิตประจำวันของเราไม่ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่

ให้มีพุทโธ พุทโธ พุทโธ อยู่ในใจ

 ถ้าสิ่งที่เราทำไม่ต้องใช้ความคิด

ถ้าเป็นสิ่งที่ต้องใช้ความคิดก็หยุดพุทโธไว้ก่อน

 แล้วก็มีสติอยู่กับความคิด อยู่กับงานที่เรากำลังทำอยู่

 พอไม่ต้องคิดแล้วเราก็หยุดคิด

 ถ้ามันไม่ยอมหยุดคิดจะไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้

ก็ใช้พุทโธ หยุดมัน

ถ้ามันไม่คิดมันรู้เฉยๆก็ไม่ต้องพุทโธ

 ถ้ารู้ว่ากำลังเดิน กำลังยืน กำลังนั่ง กำลังนอน

 กำลังทำอะไรอยู่ ก็ไม่ต้องใช้พุทโธก็ได้

 ตราบใดที่มันไม่คิดมีแต่รู้

ใจเรานี้มีสองส่วน คือคิดกับรู้

การฝึกสมาธินี้เราต้องการหยุดความคิดให้เหลือแต่ตัวรู้

 แล้วใจจะสงบ จะมีความสุข

ถ้าเราอยู่กับตัวรู้ได้ ใจของเรานี้จะปลอดภัย

 แต่ถ้าเราไปอยู่กับความคิด ใจเราจะเดือดร้อนได้

 เพราะความคิดของเรามันคิดไปได้

ทั้งทางที่ดีหรือทางที่ไม่ดี

 ส่วนใหญ่มันจะคิดไปในทางที่ทำให้เราเดือดร้อนกัน

 คิดไปตามความอยากต่างๆ พอคิดไปตามความอยาก

ใจก็จะร้อนขึ้นมา จะทำให้ดิ้นรน วุ่นวาย

 กระสับกระส่าย เพราะเวลาเกิดความอยากแล้ว

 ถ้ายังไม่ได้สิ่งที่อยากอยู่นี้ มันจะเฉยไม่ได้

 มันต้องผลักดันตัวเองไปหาสิ่งที่อยากได้

 ถ้าไม่ได้ก็เสียใจน้อยใจ โกรธ ถ้าได้ก็ดีใจเดี๋ยวเดียว

เดี๋ยวก็มีความอยากใหม่ขึ้นมาอีก

 ถ้าเราหยุดความคิดได้ ความอยากต่างๆก็จะหยุด

 เพราะว่าความอยากต้องมีความคิดเป็นตัวนำหน้า

 ถ้าไม่มีความคิดแล้วความอยากก็เกิดขึ้นมาไม่ได้

 ที่เรามาฝึกนั่งสมาธินี้ก็เพื่อหยุดความคิด

หยุดความอยากแล้วใจของเราก็จะเป็นปกติสุข

ใจของเราใจเย็นจะสบายใจ

เราร้อนใจเราวุ่นวายก็เพราะความคิดของเรา

ความอยากของเรานี้เองวิธีที่จะหยุดความคิด

หยุดความอยากได้ก็ต้องใช้สติฝึกสติไปให้มากๆ

อย่าฝึกสติเฉพาะตอนที่เรามานั่งสมาธิกัน

 ฝึกมันทั้งวันเลย ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา

ถ้าเราไม่ต้องใช้ความคิดกับเรื่องอะไร

 ก็ให้มันอยู่กับพุทโธ

หรือว่าให้มันอยู่กับงานที่เรากำลังทำอยู่

 กำลังล้างหน้าแปรงฟันอาบน้ำ

ให้มันอยู่กับการล้างหน้าแปรงฟันอาบน้ำ

 อย่าให้มันทำสองอย่าง ร่างกายอาบน้ำ

แต่ใจกลับกำลังไปคิดถึงว่าจะไปทำอะไรดีไปหาใครดี

 อย่างนี้ เรียกว่าไม่มีสติ มีสติต้องอยู่กับเรื่องเดียว

อยู่กับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น อยู่กับการทำงาน

การเคลื่อนไหวต่างๆของร่างกาย

 หรือไม่เช่นนั้นก็อยู่กับพุทโธ พุทโธไป

ถ้าเราฝึกแบบนี้ไปได้เรื่อยๆแล้ว เราจะมีสติ

 เวลานั่งสมาธิ ใจของเราจะสงบได้

ใจสงบแล้วเราจะมีความสุข

เพราะไม่มีความสุขอื่นใดที่ดีกว่า

ความสุขที่เกิดจากความสงบ.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

..................................

ธรรมะบนเขา

วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๐







ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 09 ตุลาคม 2560
Last Update : 9 ตุลาคม 2560 8:00:16 น.
Counter : 548 Pageviews.

0 comments
: รูปแบบของการค้นพบตนเอง : กะว่าก๋า
(16 เม.ย. 2567 06:05:58 น.)
เรื่องนี้ไม่ง่าย แต่คนมักชอบอะไรที่มันง่ายๆ 121 235 เขาถาม - ตอบกัน 450 > คำถาม : ทำอย่างไ สมาชิกหมายเลข 7881572
(16 เม.ย. 2567 09:58:49 น.)
: รูปแบบของการตระหนักในการรับรู้ : กะว่าก๋า
(15 เม.ย. 2567 05:37:45 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 33 : กะว่าก๋า
(11 เม.ย. 2567 05:15:42 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Poungchompoo.BlogGang.com

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]

บทความทั้งหมด