<<< "สติ" >>>











“สติ”

ผู้ที่ต้องการเจริญทางวิปัสสนานี้

ต้องดึงจิตเข้าไปสู่ความสงบ

ที่เรียกว่าอัปปนาสมาธิ คือ สักแต่ว่ารู้

แล้วก็ไม่มีอะไรให้รับรู้ มีแต่อุเบกขา มีแต่ความว่าง

 สมาธิแบบนี้แหละเป็นประโยชน์

 เพราะว่าจะทำให้จิตใจมีกำลัง

 เพราะว่าเวลาอยู่ในสมาธิแบบนี้

จิตสามารถที่จะกดตัณหาต่างๆ

ไม่ให้ออกมาทำงานได้

อัปปนากับขณิกสมาธิก็เป็นสมาธิแบบเดียวกัน

ต่างกันตรงที่ขณิกสมาธินี้ สงบเพียงเดี๋ยวเดียว

 ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในระยะเเรกในเวลาที่นั่งสมาธิ

 พอจิตรวมลงไปปั๊บก็สงบแล้ว ก็เกิดความตกใจ

 เพราะว่าไม่เคยเห็นอย่างนี้มาก่อน

แล้วก็จะถอนออกมา แต่ถ้าทำต่อไปก็จะรู้ว่า

มันไม่มีอะไรเสียหาย เวลาที่รวมลง

ก็ใช้สติประคับประคองอย่าปล่อยให้ตกใจ

 อย่าปล่อยให้ถอนออกมา แล้วพยายาม

เข้าไปอยู่ในอัปปนาสมาธินี้ให้นานๆ ให้บ่อยๆ

 เหมือนกับการเอาน้ำเข้าไปเเช่ในตู้เย็น

ให้แช่นานๆ น้ำถึงจะเย็น

น้ำเย็นจะได้มาดับความร้อนต่างๆ ได้

 ถ้าเข้าไปแป๊บเดียวแล้วเอาออกมา

นี้ยังไม่มีความเย็นพอ ยังไม่มีอุเบกขาพอ

จะหยุดตัณหาความอยากไม่ได้

 เวลาที่ปัญญาพิจารณาว่าสิ่งต่างๆ

 เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถึงแม้จะรู้ว่า

เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ถ้าไม่มีอุเบกขา

 กิเลสก็จะออกมาตัณหาก็จะออกมา

 แล้วก็พาจิตให้ไปทำตามสิ่งที่ตัณหาต้องการ

พาไปเสพรูป เสียง กลิ่น รส

พาไปหาลาภ ยศ สรรเสริญ สุข

 แต่ถ้าจิตมีอุเบกขามีอัปปนาสมาธิ

จิตก็จะมีกำลังที่จะต่อต้าน

เพราะจิตที่เป็นอัปปนานี้เป็นจิตที่มีความสุข

เป็นจิตที่ไม่หิวโหยกับอารมณ์ต่างๆ

แต่ต้องพยายามทำให้มากๆ

ในเบื้องต้นนี้ไม่ต้องไปกังวลว่าจะติดสมาธิ

 ขอให้มีสมาธิก่อนเถิด

ยังไม่มีสมาธิบางคนก็กลัวจะไปติดสมาธิแล้ว

 ถ้าไม่มีสมาธิแล้วไปกลัวติดสมาธิ

มันก็เป็นทางของตัณหากิเลสนี่เอง

 ที่ไม่อยากให้ใจมีสมาธิ เพราะถ้ามีสมาธิแล้ว

มันจะฆ่ากิเลสตัณหามันจะกดกิเลสตัณหา

ไม่ให้ออกมาเพ่นพ่านได้

อันนี้ก็คือเรื่องของสมาธิ

เวลาที่นั่งไปแล้วเกิดผลอะไร ก็ขอให้ระมัดระวัง

 เพราะว่าสมัยนี้ก็มีการสอนกัน

บอกว่านั่งแล้วให้เห็นนรก  ให้เห็นสวรรค์

 ให้ไปเที่ยวตามภพภูมิต่างๆ การเห็นเหล่านี้

ไม่เป็นประโยชน์ต่อการดับความทุกข์

ละตัณหาที่เป็นต้นเหตุของความทุกข์

ต้องเป็นสมาธิที่ว่าง สักแต่ว่ารู้

แล้วก็มีความสงบที่เป็นความสุขอย่างยิ่ง

 อันนี้ก็ต้องพยายามทำให้ได้ทำให้บ่อย

แล้วต่อไปมันจะเป็นไปตลอดทั้งวันเลย

 พอเราออกมาปั๊บ เปลี่ยนอิริยาบถสักแป๊บ

ก็กลับไปนั่งใหม่ แล้วต่อไปบางทียังไม่ทันเข้าไปนั่ง

มันก็สงบมาโดยอัตโนมัติ มันมาของมันเอง

 เพราะจิตมันเคยเข้าไปเวลาใด

มันก็จะเหมือนกับมีนาฬิกาปลุก

ที่จะดึงให้จิตเข้าสู่ความสงบ บางทีไม่ต้องนั่งสมาธิ

เพียงแต่อยู่เฉยๆ ตามลำพัง

พอไม่คิดอะไรเท่านั้นเอง

 จิตมันก็สงบได้ อันนี้แหละเป็นผลที่จะเกิดขึ้น

จากการเจริญสติ เพราะว่าถ้าไม่มีสตินี้

 สมาธิจะไม่เกิด เมื่อสมาธิไม่เกิด

ภาวนามยปัญญาก็จะไม่เกิด.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

.......................................

ธรรมะบนเขา

วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๘







ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 05 มกราคม 2561
Last Update : 5 มกราคม 2561 15:14:26 น.
Counter : 259 Pageviews.

0 comments
แม่แชร์มาในไลน์ comicclubs
(21 มี.ค. 2567 00:37:04 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 6 : กะว่าก๋า
(17 มี.ค. 2567 04:29:24 น.)
:: ถนนสายนี้มีตะพาบ โครงการที่ 347 :: กะว่าก๋า
(16 มี.ค. 2567 05:24:45 น.)
ธรรมะหลัก ธรรมฝ่ายดีงาม ปัญญา Dh
(11 มี.ค. 2567 04:41:53 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Poungchompoo.BlogGang.com

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]

บทความทั้งหมด