<<< "ทางสายกลาง" >>>











“ทางสายกลาง”

ทางสู่การหลุดพ้นจากความทุกข์

หลุดพ้นจากการเกิดแก่เจ็บตาย

 หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดที่ไม่มีวันสิ้นสุด

เรียกว่า มรรค หรือ มรรค ๘

เพราะมีองค์ประกอบอยู่ ๘ ประการด้วยกัน

 มรรค หรือ มรรค ๘ นี้

 เป็นทางสู่การหลุดพ้นจากความทุกข์

 ที่เกิดจากการเกิดแก่เจ็บตาย

เวียนว่ายตายเกิดในภพน้อยภพใหญ่

เป็นทางที่พระพุทธเจ้าเป็นผู้ค้นพบด้วยพระองค์เอง

 เพราะไม่มีใครรู้จักทางนี้มาก่อน

 พระพุทธเจ้าพยายามไปศึกษากับครูบาอาจารย์ต่างๆ

 ก็ไม่มีใครรู้ทางสู่การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงและถาวร

รู้แต่การดับทุกข์ได้อย่างชั่วคราว

 พระองค์เลยต้องไปหาต้องไปค้นคว้าหาทาง

 เป็นเหมือนคนตาบอดคลำทางไป คลำผิดคลำถูก

 ในที่สุดก็ได้ทรงค้นพบทางที่นำไปสู่การหลุดพ้น

จากความทุกข์อย่างแท้จริง

 ทางนี้เป็นทางสายกลาง

สายกลางระหว่างทางอีกสองทาง

 มนุษย์เราใช้ในการดับความทุกข์

ก็คือการหาความสุขทางร่างกาย

 หาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย

เพื่อมาดับความทุกข์ใจ

ก็เป็นการดับได้เพียงชั่วคราว ดับไม่ถาวร

 เวลามีความทุกข์ใจก็ไปหาความสุขทางร่างกาย

 เช่นไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ไปกินไปดื่ม

ไปดูไปฟังอะไรต่างๆ

 ก็ทำให้ลืมความทุกข์ไปได้ชั่วคราว

แต่ไม่นานเดี๋ยวความทุกข์นั้นก็กลับมาอีก

 เพราะวิธีดับความทุกข์

ด้วยการหาความสุขทางร่างกายนี้

 ไม่สามารถดับความทุกข์ได้

 เพราะความทุกข์หรือเหตุของความทุกข์นี้

ไม่ได้อยู่ที่ร่างกาย แต่อยู่ที่ใจ

นี่เป็นทางหนึ่งที่สัตว์โลกหรือมนุษย์ทั้งหลาย

หาทำกันเพื่อมาดับความทุกข์ใจกัน

แต่ก็ดับได้เป็นพักๆ ไปเท่านั้น

ความทุกข์ใจก็ยังไม่หายไป

ความทุกข์ใจที่เกิดจากการแก่ การเจ็บ การตาย

 การพลัดพรากจากสิ่งที่รักจากบุคคลที่รัก

 ก็ยังไม่ดับไปจากการได้ความสุขทางร่างกายมา

 ก็เลยมีผู้ที่หาอีกวิธีหนึ่ง วิธีนี้ก็คือ

ใช้การดับความทุกข์ด้วยการทรมานร่างกาย

 ทำให้ร่างกายมีความทุกข์

แล้วคิดว่าจะทำให้ความทุกข์ดับไปได้

ก็ดับไม่ได้เช่นเดียวกัน

มีพวกฤาษีชีไพรที่พยายามใช้การทรมานร่างกาย

ด้วยวิธีการต่างๆ มาดับความทุกข์ทางใจ

ก็ไม่สามารถมาดับความทุกข์ทางใจได้

 แม้แต่พระพุทธเจ้าเองก่อนจะตรัสรู้

ก็ทรงใช้วิธีนี้ ด้วยการทรมานร่างกาย

ด้วยการอดพระกระยาหาร

 ทรงอดพระกระยาหารถึง ๔๙ วัน

แต่ก็ยังไม่สามารถดับความทุกข์ทางใจได้

พระองค์จึงทรงรู้ว่าทางทั้งสองทางนี้

ไม่ใช่เป็นทางที่จะนำไปสู่การดับความทุกข์ต่างๆ

 ที่มีอยู่ในพระทัยของพระองค์ได้

การหาความสุขมาดับความทุกข์

พระองค์ก็เคยกระทำมาแล้ว

ตอนที่เป็นพระราชโอรส

 เป็นเจ้าชายสิทธัตถะประทับอยู่ในพระราชวัง

 ก็ใช้ความสุขทางร่างกายทางตาหูจมูกลิ้น

กายนี้มาจากความทุกข์ เวลาไม่สบายพระทัย

ก็จัดงานเลี้ยงจัดงานสังสรรค์ไปเที่ยวไปเล่น

ไปทำกิจกรรมอะไรต่างๆ

 เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินบันเทิงใจ

แต่ก็ดับได้ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น

ไม่นานความทุกข์ใจนั้นก็กลับขึ้นมาอีก

พระองค์เลยรู้ว่าทางสองทาง

ที่ชาวโลกเราใช้เพื่อมาดับความทุกข์นี้

ไม่ได้เป็นทางที่จะนำไปสู่

ทางที่จะดับความทุกข์อย่างแท้จริง

 จึงทำให้พระองค์ต้องไปค้นคว้าหาทาง

ที่จะดับความทุกข์อย่างแท้จริงให้ได้

 แล้วในที่สุดพระองค์ก็สามารถค้นพบ

ทางที่นำไปสู่การดับของความทุกข์ต่างๆ ได้

 เป็นทางที่อยู่ระหว่างกึ่งกลาง

ระหว่างการใช้ความสุขทางร่างกาย

 และ การใช้การทรมานร่างกายมาดับความทุกข์

 ทางนี้พระองค์เรียกว่า มรรค ๘

เพราะว่ามีองค์ประกอบอยู่ ๘ องค์ประกอบด้วยกัน

 เป็นมัชฌิมาปฎิปทา เป็นทางสายกลาง

 ที่จะนำผู้ปฏิบัติผู้ที่เดินทางนี้ให้หลุดพ้น

จากความทุกข์ได้อย่างแท้จริงและถาวร.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

..............................

ธรรมะบนเขา

วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๐








ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 28 ธันวาคม 2560
Last Update : 28 ธันวาคม 2560 11:08:01 น.
Counter : 373 Pageviews.

0 comments
: รูปแบบของความว่าง : กะว่าก๋า
(18 เม.ย. 2567 04:00:35 น.)
: รูปแบบของชีวิต : กะว่าก๋า
(17 เม.ย. 2567 04:37:20 น.)
: รูปแบบของการตระหนักในการรับรู้ : กะว่าก๋า
(15 เม.ย. 2567 05:37:45 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 36 : กะว่าก๋า
(14 เม.ย. 2567 06:17:30 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Poungchompoo.BlogGang.com

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]

บทความทั้งหมด