<<< "สติ" >>>










"สติ"

สตินี้จะเป็นเหมือนเชือกที่จะดึงจิต

ไม่ให้คิดเรื่องนั้นคิดเรื่องนี้

เพราะถ้าจิตยังคิดเรื่องนั้นคิดเรื่องนี้อยู่

จิตจะไม่สงบ เมื่อไม่สงบก็จะไม่มีความสุข

 เมื่อไม่มีความสุขก็จะมี ความอยาก

อยากได้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

อยากมีอยากเป็น อยากไม่มีอยากไม่เป็น

 พอเกิดความอยาก

ก็ยิ่งจะมีความทุกข์เพิ่มมากขึ้น

 ก็จะต้องไปทำตามความอยาก

 เมื่อไปทำตามความอยาก

ก็จะต้องไปทำบาปทำกรรม

ทำผิดศีลผิดธรรมได้ถ้าไม่ระมัดระวัง

 ถ้าไม่มีกำลังที่จะรักษาศีลได้

ก็จะไปทำบาปกัน

 พอไปทำบาปแล้วจิตก็จะยิ่งมีความทุกข์

มีความวุ่นวายใจเพิ่มมากขึ้นไปอีกเรื่อยๆ

ดังนั้นหลังจากที่ได้รักษาศีลแล้ว

สิ่งที่จะต้องทำตลอดเวลาต่อไปก็คือ

การควบคุมความคิด ด้วยการเจริญสติ

การเจริญสตินี้ก็มีหลายวิธีด้วยกัน

ที่เรารู้จักโดยทั่วไป ก็คือ

ใช้คำบริกรรมพุทโธๆ

นี่เรียกว่า พุทธานุสติ คือใช้การระลึกถึง

พระนามของพระพุทธเจ้า เป็นเครื่องมือ

หยุดความคิดปรุงแต่งของเรา

 ถ้าเราระลึกถึงคำว่าพุทโธๆ ไปเรื่อยๆ

เราก็จะไม่สามารถไปคิดถึงเรื่องนั้น

คิดถึงเรื่องนี้ได้

ถ้าเราสามารถควบคุมใจให้อยู่กับ พุทโธ

ไปได้อย่างต่อเนื่อง

ใจก็จะเข้าสู่ความสงบได้

 พอเข้าสู่ความสงบแล้ว

ก็จะพบกับความสุขอันมหัศจรรย์

ที่ไม่เคยพบมาก่อน

เป็นความสุขที่เลิศ ที่ประเสริฐ

 เป็นความสุขที่แท้จริง

เป็นความสุขที่จะอยู่ไปกับใจไปตลอด

 ไม่มีใครจะสามารถ

พรากความสุขที่ได้นี้ไปได้

 นอกจากความอยากเท่านั้น

 หลังจากที่ได้ความสุขอันนี้แล้ว

พอออกจากสมาธิมา

ก็ต้องใช้วิปัสสนาภาวนา

 หรือปัญญา มาคอยสอนใจ

ไม่ให้ไปอยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้

ไม่ให้ไปอยากมีอยากเป็น

หรืออยากไม่มีอยากไม่เป็น

ถ้ามีปัญญาคอยสอนใจอยู่เรื่อยๆ

 ใจก็จะหยุดความอยากต่างๆได้

พอไม่มีความอยากอยู่ภายในใจแล้ว

ใจก็จะไม่มีความทุกข์

จะมีแต่ความสุขอยู่ตลอดเวลา

ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับร่างกายก็ดี

 หรือเกิดขึ้นกับสิ่งต่างๆ หรือบุคคลต่างๆ ก็ดี

จะไม่ทำให้ใจวุ่นวาย

จะไม่ทำให้ใจทุกข์หรือเศร้าโศกเสียใจได้เลย

เพราะใจไม่ได้ไปอยากกับสิ่งต่างๆ นั่นเอง

 เพราะรู้ว่าถ้าอยากแล้ว

จะเกิดความทุกข์ใจขึ้นมา

 จึงปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่าง

ให้เป็นไปตามความจริงของเขา

 ใครจะอยู่ก็ปล่อยเขาอยู่ไป

ใครจะตายก็ปล่อยเขาตายไป

ใครจะเจริญหรือใครจะเสื่อม

ก็ปล่อยเขาเจริญปล่อยเขาเสื่อมไป

เป็นภาวะปกติ เป็นภาวะธรรมดาของโลก

ที่มีการเจริญมีการเสื่อมเป็นธรรมดา

 เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถที่จะไปยับยั้ง

หรือสั่งให้เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ได้

 เช่นร่างกายของพวกเรานี้

เราก็ไม่สามารถที่จะสั่งให้มันไม่แก่

ไม่เจ็บ ไม่ตายได้ เมื่อถึงวาระของเขา

ที่จะต้องแก่ ที่จะต้องเจ็บที่จะต้องตาย

 เขาก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย

ไปตามวาระของเขา แต่ใจนี้ไม่ได้เป็นร่างกาย

ใจไม่ได้แก่ ไม่ได้เจ็บ ไม่ได้ตายไปกับร่างกาย

 ถ้าใจมีปัญญาคอยสอนใจ

ให้ถอนตัวออกจากร่างกาย

ไม่ให้ยึดติดกับร่างกาย

 ให้ปล่อยวางร่างกายได้

 ใจก็จะไม่ทุกข์กับความแก่

ความเจ็บ ความตายของร่างกาย.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

...................................

ธรรมะบนเขา

ธรรมะบนเขา เล่ม ๕







ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 19 กรกฎาคม 2560
Last Update : 19 กรกฎาคม 2560 5:44:00 น.
Counter : 665 Pageviews.

0 comments
การหา เติมความมี ปัญญา Dh
(16 เม.ย. 2567 18:08:16 น.)
: รูปแบบของการตระหนักในการรับรู้ : กะว่าก๋า
(15 เม.ย. 2567 05:37:45 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 33 : กะว่าก๋า
(11 เม.ย. 2567 05:15:42 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 32 : กะว่าก๋า
(10 เม.ย. 2567 06:04:44 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Poungchompoo.BlogGang.com

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]

บทความทั้งหมด