<<< “ปัญญาที่ดับความทุกข์ได้” >>>












“ปัญญาที่ดับความทุกข์ได้”

ดังนั้น การที่จะพิจารณาไตรลักษณ์

พิจารณาอุสุภะได้อย่างต่อเนื่อง

จำเป็นจะต้องมีใจที่สงบ ที่ไม่ดิ้น ไม่ต่อต้าน

 ไม่หลีกหนีจากการพิจารณา

หลีกหนีไปคิดทางเรื่องอย่างอื่น

 ถ้าใจสงบนี้พิจารณาได้เดี๋ยวเดียว

 แล้วเดี๋ยวก็จะถูกกิเลสตัณหา

ดึงไปพิจารณาเรื่องอื่นแทน

 เมื่อไม่พิจารณาอย่างต่อเนื่อง

 มันก็เห็นไม่ชัด จำไม่ได้ พอถึงเวลาจะใช้

ก็ไม่สามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้

 จะสามารถพิจารณาได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

ถ้าพิจารณาโดยไม่ได้ก็เข้าไปในสมาธิ

ถ้าอย่างนี้ต้องการใช้ปัญญาก็จะสามารถใช้ได้ทันที

 นี่คือขั้นของปัญญา เป็นอย่างนี้

ถึงจะเรียกเป็นปัญญาจริง ปัญญาที่ดับความทุกข์ได้

เพราะทันต่อเหตุการณ์นั่นเอง

 ทันต่อกิเลสตัณหา พอกิเลสตัณหาโผล่ขึ้นมาปั๊บ

ไตรลักษณ์ก็จะออกมาต่อสู้ทันทีทันใด

 อสุภะก็จะออกมาต่อสู้ทันที

พอมีคู่ต่อสู้ที่มีกำลังมากกว่า

กิเลสตัณหาก็ต้องยอมแพ้ไปหยุดไปในที่สุด

ดังนั้นขอให้พวกเราพยายาม

เดินตามขั้นตามตอนที่พระพุทธเจ้า

และครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านสอนกัน

อย่าไปฟังพวกที่ไม่ได้ปฏิบัติอย่างจริงจัง

พวกที่ศึกษาแล้วก็มาสอน

 พวกนี้มักจะสอนไปตามความอยากของกิเลสตัณหา

 กิเลสตัณหาไม่ชอบนั่งสมาธิ

ไม่ชอบทำใจให้สงบ

เขาก็จะสอนว่าไม่จำเป็นต้องนั่งสมาธิ

 ไม่ต้องทำใจให้สงบ เจริญปัญญาได้เลย

 ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วพระพุทธเจ้า

จะสอนสัมมาสมาธิไว้ทำไม

 เราจะเชื่อใครดี เราจะเชื่อพระพุทธเจ้า

เชื่อครูบาอาจารย์ หรือเราจะเชื่อ

พวกที่สอนว่าไม่ต้องเจริญสมาธิกัน


อันนี้เป็นเรื่องที่เราต้องใคร่ครวญต้องพิจารณา

 หรือถ้าเราเชื่อพวกที่สอนไม่ให้นั่งสมาธิ

 แล้วเราดูการปฏิบัติของเราว่าเป็นอย่างไร

ผลมันเป็นอย่างไร ตัดกิเลสตัณหาได้บ้างหรือยัง

 พวกที่ชอบใช้ปัญญาโดยที่ไม่ต้องนั่งสมาธินี้

 ต้องพิจารณาให้รอบคอบ

ความจริงใครเขาพูดอะไรก็ปฏิเสธ

 ไม่ควรจะปฏิเสธหรือจะรับ ควรที่จะนำเอาไปพิสูจน์ดู

 เขาบอกไม่ต้องนั่งสมาธิ เจริญปัญญาได้เลย

 เราก็ลองไปเจริญปัญญาดู

ลองไปพิจารณาไตรลักษณ์ดู

สัพเพ ธัมมา อนัตตาดู ธรรมทั้งหลายไม่มีตัวไม่มีตน

พิจารณาแล้วเราตัดกิเลสตัณหาได้หรือเปล่า

 แล้วเราลองไปทำตามแบบที่พระพุทธเจ้าสั่งสอน

แบบที่ครูบาอาจารย์สั่งสอนดูว่าเป็นอย่างไรบ้าง .

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

..................................

ธรรมะบนเขา

วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๗








ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 30 พฤศจิกายน 2560
Last Update : 30 พฤศจิกายน 2560 16:32:28 น.
Counter : 439 Pageviews.

0 comments
: รูปแบบของการตระหนักในการรับรู้ : กะว่าก๋า
(15 เม.ย. 2567 05:37:45 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 35 : กะว่าก๋า
(13 เม.ย. 2567 05:51:40 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 34 : กะว่าก๋า
(12 เม.ย. 2567 05:52:40 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 32 : กะว่าก๋า
(10 เม.ย. 2567 06:04:44 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Poungchompoo.BlogGang.com

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]

บทความทั้งหมด