ขากลับจากเชียงราย - แวะพิพิธภัณฑ์วัดลี อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา - โคราช
จากเชียงราย เราลงมาทางจังหวัดพะเยา
ถึงตลาดหกแยก อำเภอพาน เชียงราย - ชมชอบชื่อตลาด

ขอแวะวัดลี - พิพิธภัณฑ์วัดลี - ลีแปลว่ากาด หรือตลาด
โบราณวัตถุที่จัดแสดงได้มาจาก พระครูอนุรักษ์บุรานันท์ เจ้าอาวาสวัดลี
ได้รวบรวมโบราณวัตถุที่ถูกทอดทิ้งอยู่ตามวัดร้างต่างๆ ในเมืองพะเยามาเก็บสะสมไว้

จากจารึกวัดลี
เจ้าสี่หมื่นเป็นตำแหน่งเจ้าเมืองพยาว-ที่ได้รับการแต่งตั้งจากอาณาจักรเชียงใหม่
ปรากฎครั้งแรกปี พ.ศ. 1954 โดยพระเจ้าสามฝั่งแกน
ได้แต่งตั้งอาเลี้ยงขึ้นครองเมืองพยาวเพราะสนับสนุนให้พระองค์ได้ขึ้นครองเชียงใหม่
และเจ้าสี่หมื่นพยาวอีกองค์คือ หมื่นหน่อเทพครู - โอรสของพระยายุทธิษฐิระ
เป็นราชครูของพญายอดเชียงราย
เมื่อ พ.ศ.2038 ซึ่งเป็นปีที่พระเจ้ายอดเชียงรายสวรรคต
เจ้าสี่หมื่นพะเยาก็ได้สร้างวัดลี และถวายที่นาให้วัด เรียกว่า นาจังหัน
คนที่ทำนาในจังหันต้องเสียภาษีให้วัด เป็นการบำรุงวัด

เมื่อล้านนา ตกอยู่ในการปกครองของพม่า ประชาชนถูกข่มเหงจึงหนีไปทำให้วัดส่วนใหญ่กลายเป็นวัดร้าง
(คำว่าล้านนาใช้ตั้งแต่สมัยพระเจ้าติโลกเป็นต้นมา)
วัดลีก็เช่นกัน เป็นวัดร้างมาจนได้รับการบูรณปฎิสังขรณ์ครั้งใหญ่ และยกเป็นวัดอีกครั้ง
พ.ศ. 2463-2478 โดยพระครูบาศรีวิชัย ตนบญแห่งล้านนา มาเป็นผู้นำในการบูรณะ

พระพุทธรูปหินทราย แย้มพระสรวล

เจดีย์ฐานเขียงแปดเหลี่ยม ซ้อนสามชั้น
ฐานปัทม์ ยืดตัวสูงขึ้นเป็นเรือนธาตุสี่เหลี่ยมย่อมุม มีลูกแก้วอกไก่
เหนือขึ้นไปเป็นแปดเหลี่ยมซ้อนชั้นรับองค์ระฆังแปดเหลี่ยม
บัลลังก์ ปล้องไฉน ปลี ลูกแก้วปกฉัคร

เมืองพยาวตั้งอยู่ริมน้ำอิง ตั้งอยู่ด้านข้าง (ก้ำแปลว่าข้าง) ของภูเขา (ภู) ตามแนวยาว
>> ภูก้ำยาว >> ภูกามยาว >> พยาว >> พะเยา
กลุ่มเมืองที่ตั้งอยู่ริมน้ำ สาย กก อิง ไหลลงแม่น้ำโขง => โยนกนาคพันธุ์
เป็นอีกฝั่งหนึ่งของเทือกเขาสันปันน้ำของ
กลุ่มเมืองที่ตั้งอยู่ริมน้ำ ปิง วัง ยม น่าน ไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยา => เม็งคบุตร
เมื่อขุนจอมธรรมมาตั้งเมืองพะเยา เวียงแห่งแรกมีผังเมืองเป็นรูปน้ำเต้าเรียก "เวียงน้ำเต้า"
ต่อมาในสมัยพญาสิงหราชได้มีการขยายชุมชนออกมาทางกว๊านพะเยา
เป็นเวียงรูปสี่เหลี่ยมเรียก "เวียงลูกตะวันตก"
ถือว่าเวียงทั้งสองเป็นเวียงแฝด และเป็นเวียงหลักของพะเยา
นอกจากนี้ยังมีเวียงบริวารอื่น ๆ อีกหลายเมือง
ทำให้เห็นได้ว่า เวียงคือบริเวณที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ แต่ไม่ใช่ชื่อของเมืองหรืออาณาจักร

เมืองพะเยา ปรากฎชื่อครั้งแรกในในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 (วัดศรีชุม) - พุทธศตวรรษที่ 19-20
ซึ่งเล่าย้อนเหตุการณ์ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 มีชื่อเมืองพยาว
ว่าในสมัยพ่อขุนศรีนาวนำถุม แห่งเมือสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย เมืองพยาวมีความเจริญรุ่งเรือง
ในสมัยพญางำเมือง ได้ไปเล่าเรียนที่เมืองละโว้กับพ่อขุนรามคำแหง และพญามังราย
ท่านได้ไปทำสัญญาเป็นพันธมิตรกันที่บริเวณสบร่องขุย
- ขุยเป็นร่องน้ำที่มาจากเทือกเขาในเขตอำเภอดอกคำใต้ ไหลมาลงน้ำอิงที่นี่ - จึงเรียก สบ
พบฐานมีทำด้วยอิฐเป็นแนวยาวตามชายฝั่ง และวัตถุโบราณมากมาย
ที่วัดลีจัดแสดงจารึก และพระพุทธรูปมีจารึกที่ฐาน ที่นำมาจากสบร่องขุย

ส่วนบนของจารึกรูปใบเสมามีรูปดวงฤกษ์ - เวลาที่บันทึกเรื่องราว

พระพุทธรูปที่มีจารึกที่ฐานสามองค์

ในช่วงปลายสมัยสุโขทัย เจ้าสามพระยาได้พระราชธิดาในพระมหาธรรมราชาที่ 2 ที่ครองกรุงสุโขทัยเป็นพระมเหสี
- เป็นการผนวกอาณาจักรโดยการอภิเษกสมรส -
(พระมหาธรรมราชาที่ 2 เป็นพระโอรสของพญาลิไท - พระมหาธรรมราชาที่ 1)
พระโอรสของเจ้าสามพระยาคือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ได้ให้คำมั่นไว้กับ พระยายุทธิษฐิระ เพื่อนสนิทยามพระเยาว์ว่า
ถ้าพระองค์ได้ขึ้นครองอยุธยา จะให้พระยายุทธิษฐิระครองสุโขทัย
แต่เมื่อขึ้นครองสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถกลับให้พระยายุทธิษฐิระไปครองสองแคว แทนที่จะเป็นพระร่วงเจ้าสุโขทัย
พระยายุทธิษฐิระจึงไปเข้ากับพระเจ้าติโลกราช
พระเจ้าติโลก ได้ให้พระยายุทธิษฐิระไปครองเมืองพยาว
พระพุทธศาสนาจึงได้รับการทำนุบำรุงมีความเจริญรุ่งเรือง
มีจารึกที่บอกถึงงานบุญที่ชนชั้นสูงได้ทำบุญอุทิศแก่พุทธศาสนาจำนวนมาก

มีการสร้างวัดหลายวัด
มีการสร้างพระพุทธรูปหินทรายมากที่สุดในประเทศไทย
พระพุทธรูปหินทรายจะแกะจากหินทรายทั้งก้อน ไม่ได้แกะแต่ละส่วนแล้วเอามาต่อกันแบบอยุธยา
มีความละเอียด นิ่มนวล

พระพุทธรูปหินทรายเดิมอยู่ในวิหารวัดลี

พระพุทธรูปส่วนใหญ่จะมีพระพักตร์ยิ้ม

พบที่วัดติโลกอาราม กลางกว๊านพะเยา
เศียรพระพุทธรูป พระพักตร์กลมเป็นรูปไข่ ได้รับอิทธิพลสุโขทัย

นิยมทำรูปช้างแบกฐานบัวรับพระพุทธรูป



พับสาเขียนด้วยทองคำ

อื่น ๆ

รูปนี้ไม่ลงชื่อเจ้าของภาพนะคะ

จากวัดลี เห็นเจดีย์สีทองของวัดศรีจอมเรือง จึงแวะเข้าไป

พบว่าอุโบสถ น่าสนใจ - แบบพม่า

ฐานของอุโบสถ เป็นช่องเก็บหม้อเถ้าถ่านและกระดูก - ที่สุดของคนเราก็เท่านี้

กลับโคราชกันค่ะ

ใช้เส้นทาง พะเยา - งาว - ร้องกวาง - บึงสามพัน - ศรีเทพ -ด่านขุนทด - โคราช
เส้นทาง พะเยา - งาว

งาว - ร้องกวาง


กลางวันร้านหน้าศูนย์เมล็ดพันธุ์ร้องกวาง

ร้องกวางแพร่

เด่นชัย - พิดโลก

ปอเทืองที่ท่าข้าม ชนแดน

มารับกับข้าวที่โทรสั่ง ร้านแดงน้อย อำเภอบึงสามพัน
โทรสั่งปุ๊บ จะคอนเฟิร์มเวลาให้มารับได้เลย - มืออาชีพมาก

พักระหว่างทางแถวศรีเทพ ราคา 450 มั๊ง
จะเน้นเลือกที่สร้างใหม่ ๆ น่ะค่ะ

ลพบุรี กำลังจะข้ามเขาน้อย

ถึงทุ่งกังหันที่ห้วยบง ถึงโคราชบ้านเองแล้วเด้อ

Create Date : 18 มกราคม 2564 |
Last Update : 18 มกราคม 2564 14:43:23 น. |
|
23 comments
|
Counter : 955 Pageviews. |
|
 |
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณInsignia_Museum, คุณnonnoiGiwGiw, คุณThe Kop Civil, คุณzungzaa, คุณtoor36, คุณSleepless Sea, คุณคนผ่านทางมาเจอ, คุณทนายอ้วน, คุณmariabamboo, คุณกะว่าก๋า, คุณสองแผ่นดิน, คุณmultiple, คุณnewyorknurse, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณKavanich96, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณหอมกร, คุณhaiku, คุณที่เห็นและเป็นมา, คุณSweet_pills, คุณSai Eeuu |
โดย: zungzaa วันที่: 18 มกราคม 2564 เวลา:16:19:05 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 18 มกราคม 2564 เวลา:18:01:37 น. |
|
|
|
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 18 มกราคม 2564 เวลา:20:08:37 น. |
|
|
|
โดย: อ้อมแอ้ม (คนผ่านทางมาเจอ ) วันที่: 18 มกราคม 2564 เวลา:20:09:19 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 18 มกราคม 2564 เวลา:21:40:18 น. |
|
|
|
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 18 มกราคม 2564 เวลา:22:34:11 น. |
|
|
|
โดย: multiple วันที่: 19 มกราคม 2564 เวลา:4:22:56 น. |
|
|
|
โดย: Kavanich96 วันที่: 19 มกราคม 2564 เวลา:6:52:16 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 19 มกราคม 2564 เวลา:7:14:09 น. |
|
|
|
โดย: หอมกร วันที่: 19 มกราคม 2564 เวลา:7:27:27 น. |
|
|
|
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 19 มกราคม 2564 เวลา:13:09:16 น. |
|
|
|
โดย: Sweet_pills วันที่: 20 มกราคม 2564 เวลา:0:52:38 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 20 มกราคม 2564 เวลา:6:28:46 น. |
|
|
|
โดย: หอมกร วันที่: 20 มกราคม 2564 เวลา:11:56:22 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 20 มกราคม 2564 เวลา:13:21:09 น. |
|
|
|
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 20 มกราคม 2564 เวลา:14:51:29 น. |
|
|
|
โดย: Sai Eeuu วันที่: 22 มกราคม 2564 เวลา:1:06:09 น. |
|
|
|
| |
แวะมาทักทายหลังจากหายไปนาน