หลับตาโต๋..นะไดมอนด์....

หลับตา (โต๋)
อัลบั้ม: ออกซิเจน นูโว

หลับตาเถิดนะ แล้วเราก็จะพบกัน
อาจเป็นเพียงฝัน ก็พอใจ
หลับตาเถิดนะ ถึงตัวเราจะแสนไกล
ห่างกันเพียงไหน เหมือนใกล้กัน

ชีวิตขีดเส้นทาง ไว้ให้เราเจอกัน
ขีดทางที่ผกผัน ให้มีวันห่างไกล
หลับตานานๆ คิดถึงวันเก่า จะยังมีเราสองคน

สักวันเถิดนะ แล้วเราคงได้พบกัน
อาจมีวันนั้น ที่ได้เจอ
จากกันวันนี้ หัวใจยังอยูใกล้เธอ
ติดตามไปเสมอ ถึงแสนไกล

ขอบฟ้าอยู่ไม่ไกล เพราะว่าใจเป็นหนึ่ง
และใจนั้นส่งถึง เพราะว่ายังห่วงใย
หลับตานานๆ คิดถึงวันเก่า จะยังมีเราสองคน

ชีวิตขีดเส้นทาง ไว้ให้เราเจอกัน
ขีดทางที่ผกผัน ให้มีวันห่างไกล
หลับตานานๆ คิดถึงวันเก่า จะยังมีเราสองคน

หลับตานานๆ คิดถึงวันเก่า จะยังมีเราสองคน

หลับตาเถิดนะ แล้วเราก็จะพบกัน
อาจเป็นเพียงฝัน ก็พอใจ
หลับตาเถิดนะ ถึงตัวเราจะแสนไกล
ห่างกันเพียงไหน เหมือนใกล้กัน
หลับตาเถิดนะเธอ ส่งใจคิดถึงกัน
และคงจะไม่นาน ฝันนั้นจะเป็นจริง


นกคอนัวร์ .........
ประวัติความเป็นมา คอนัวร์ (Conure) เป็นนกที่มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบลาตินอเมริกา จากแม็กซิโกลงมาถึง หมู่เกาะคาริบเบียนและชิลีใต้ คอนัวร์พันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดคือ พาทาโกเนี่ยน มีความยาวประมาณ 17.5 นิ้ว และคอนัวร์พันธุ์ที่เล็กที่สุดคือ เพ้นท์เท็ต มีความยาวประมาณ 8.5 นิ้ว คอนัวร์มาจากภูมิอากาศหลากหลาย ภูมิประเทศหลายแบบ จากทุ่งหญ้าแถบซาแวนนา (เป็นทุ่งหญ้าในเขตมรสุมของอเมริกา) จนถึงที่ป่าในเขตร้อนชื้นและบริเวณภูเขาที่มีอากาศค่อนข้างเย็น คอนัวร์เป็นนกที่รักความสงบและอยู่กันเป็นฝูงใหญ่ คำว่า conure (คอนัวร์) มาจากคำว่า Conurus (คอนูรัส) และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Aratinga "อาราทิงก้า" รังของคอนัวร์ในป่าตามธรรมชาติมักจะอยู่ตามหน้าผาหินทราย (sandstone cliff) หรือบางทีก็จะอาศัยอยู่บนต้นไม้ที่มีโพรง เพราะเหตุจากสีสันอันสดใสของ Sun conure และ Jenday จึงเป็นแรงกระตุ้นให้นักเลี้ยงนกนำคอนัวร์สองพันธุ์นี้เข้ามาเพาะเลี้ยงในประเทศอเมริกา Sun เป็นคอนัวร์พันธุ์แรกที่ถูกนำเข้ามาในสหรัฐอเมริกา เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1960 และเริ่มถูกขยายพันธุ์นำออกขายเป็นสัตว์เลี้ยง เมื่อปี ค.ศ. 1980 หลังจากนั้นไม่นาน Jenday ก็ตามเข้ามา ต่อมาการเพาะพันธุ์นกคอนัวร์ก็เริ่มมากชนิดขึ้น ซึ่งเกิดผลดีทั้งกับตัวนกและเจ้าของเอง เพราะนกที่ถูกจับมาจากธรรมชาติก็น้อยลง ทำให้เราไม่ต้องห่วงเรื่องการสูญพันธุ์ของนก ถึงแม้ว่าในปี ค.ศ. 1980 ยังมีการจับนกจากป่ามาขายเป็นเรื่องธรรมดา แต่นกจากฟาร์มที่ถูกนำมาขายเป็นสัตว์เลี้ยงก็แพร่หลายมากขึ้น นกที่มาจากฟาร์มเพาะเหมาะที่จะนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงมากกว่านกที่มาจากป่า เพราะมันแข็งแรงก่าและสภาพจิตใจก็พร้อมกว่า

สายพันธุ์ นกแก้วแบ่งออกเป็น 6 พันธุ์ใหญ่ ๆ นกคอนัวร์เป็นหนึ่งในนั้น และแบ่งเป็นพันธุ์ย่อย ๆ ในคอนัวร์อีกถึง 100 พันธุ์ ผู้ผสมบางรายเชื่อว่านกคอนัวร์และนกแก้วพันธุ์มาคอร์เกี่ยวดองกันอย่างใกล้ชิด ชื่อตระกูล (ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของนกคอนัวร์) แปลว่า Little macaw ระหว่างนกคอนัวร์และนกแก้วมาคอร์ มีความคล้ายคลึงกันทางด้านรูปร่าง ลักษณะ ดังนี้คือ รูปร่าง สีขนมีสีสดใส หางยาว คอนัวร์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ตามชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Aratinga และ Aratinga Pyrrhura โดย อาราทิงก้า จะมีสีสันสดใส เช่น สีเขียว สีแดง ที่ดูมีชีวิตชีวา ส่วน Pyrrhura จะมีสีสันที่เข็มขึ้น เช่น เขียวแก่ น้ำตาล แดงเข้ม และ Aratinga จะไม่มีสีอ่อน ๆ ที่ขึ้นอยู่ตามอกหรือคอ และแก้มอย่างที่ Pyrrhura มี

นกคอนัวร์แบบต่าง ๆ ได้แก่ท Jenday conure (Aratinga Janday) เกือบจะมีสีสดใสเท่า Sun conure สำหรับ Jenday เป็นนกที่น่ามอง มีมีลักษณะเด่นตรงตัวสีเหลืองสัม ปีกมีสีเขียว และตรงปลายปีกมีสีคราม รอบตามีสีขาว ปากมีสีดำ และตรงส่วนเท้ามีสีเทา เจนเดย์เมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวประมาณ 12 นิ้ว และหนักประมาณ 5 ออนซ์ (1 ออนซ์ = 0.028 กิโลกรัม) เจนเดย์ไม่ได้ถูกนำออกจากประเทศบราซิลตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งถือเป็นถิ่นกำเนิดเข้าสู่สหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 15 ปี แล้ว เนื่องจากผู้เพาะพันธุ์เจนเดย์ในสหรัฐอเมริกา เพราะพันธุ์เจนเดย์ออกจำหน่ายเป็นสัตว์เลี้ยงได้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า ถึงแม้ว่าเจนเดย์ค่อนข้างมีเสียงที่ดัง แต่ก็มีนิสัยอยากรู้อยากเห็น และชอบเล่นผาดโผน ซึ่งทำให้เป็นเสน่ห์ของตัวมันเอง

Blue-crowned conure (Aratinga Acuticaudata)ลักษณะของบลูคราวน์เป็นไปตามชื่อของมันคือ มีสีฟ้าตามสาวนหัวและหน้าสีฟ้านี้จะจัดขึ้นตามอายุของนก ขนตามช่วงลำตัวมีสีเขียวและสีเหลืองเขียวจะปรากฏอยู่บริเวณใต้ปีก ส่วนหางจะมีสีแดงอ่อน ๆ ประปราย บลูคราวน์มีผิวหนังรอบดวงตาเป็นสีขาว เท่าสีอมชมพู เมื่อนกโตเต็มที่จะมีความยาวประมาณ 15 นิ้ว และมีน้ำหนักประมาณ 7 ออนซ์บลูคราวน์ถูกนำมาครั้งแรกในประเทศอังกฤษช่วงปี ค.ศ. 1970 คอนัวร์พันธุ์นี้พบมากในอเมริกาใต้ จากเวเนซูเอล่ามาจนถึงอเจนติน่า และ เนื่องจากบลูคราวน์มีหางที่มีลักษณะที่แหลมยาว ทำให้มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Sharp-tailed คอนัวร์พันธุ์นี้มีเสียงที่ค่อนข้างดัง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนกมีอาการตื่นเต้นหรือตกใจ) แต่โดยทั่วไปจะเป็นนกที่รักความสงบสามารถสอนให้พูดได้และมีนิสัยที่เป็นมิตรถือเป็นสัตว์เลี้ยงที่น่ารักที่เดียว คอนัวร์พันธุ์นี้ได้ถูกนำมาแสดงในภาพยนตร์เรื่อง Paulie, 1998

Black-capped conure/Rock conure (Pyrrhura Rupicola)คอนัวร์พันธุ์นี้จะไม่ค่อยได้พบเห็นตามท้องตลาดสักเท่าไร่ ลักษณะลำตัวจะมีสีเขียว ส่วนหัวและหน้าจะมีสีน้ำตาลดำ ปลายปีกมีริมสีแดง มีความยาวประมาณ 10 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 3 ออนซ์ มีลักษณะนิสัยเหมาะที่จะนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง Black-capped จะมีอุปนิสัยและลักษณะที่คล้ายคลึงกับ Maroon-bellied และ Green-cheeked และเคยพบว่าสามารถสอนให้พูดได้ถึง 50 คำพันธุ์นี้จะมีเหลืองอร่ามทั้งตัว จงอยปากมีสีเนื้อ ลักษณะหางสั้น ลูกนกพันธุ์นี้จะมีสีเหลืองผสมเขียวประปราย ลูกป้อนจะเชื่อง ต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและมีนิสัยชอบที่จะอยู่ติดกับเจ้าของ ถือเป็นนกที่ฉลาดทีเดียว

Painted conure (Pyrrhura Picta Picta)เพ้นท์เท็ด คอนัวร์ ถือเป็นน้องเล็กของตระกูลคอนัวร์ ด้วยขนาดความยาวเพียง 9 นิ้ว และเนื่องจากเป็นนกที่อยู่ในสายพันธุ์ Pyrrhura จึงเป็นนกที่ค่อนข้างที่จะรักความสงบ เมื่อเทียบกับคอนัวร์ในสายพันธุ์ Aratinga เพ้นท์เท็ดจัดเป็นนกคอนัวร์ที่มีความสวยงามทีเดียว มีสีเขียวเป็นส่วนใหญ่ และดูเหมือนถูกระบายสีรุ้งไว้บนตามลำตัวดังชื่อของมัน "เพ้นท์เท็ด" จากลำคอถึงช่วงหน้าอกของนกจะมีสีเขียวเข้มและค่อย ๆ ไล่ลงมาเป็นสีเหลือง ส่วนบริเวณหัวและต้นคอมีสีน้ำตาลประปรายไปด้วยสีขาว บริเวณโหนกของหัว แก้ม และคอจะมีสีฟ้า ส่วนโค้งของปีกจะมีสีแดงและ สีเลือดนกจะปรากฏตามแก้มส่วนบน ท้ายลำตัว ท้อง และส่วนบนของหาง คอนัวร์พันธุ์นี้มีปากและเท้าสีดำ ไม่ค่อยพบตามท้องตลาด ถือเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีเสน่ห์ดึงดูใจเลยทีเดียว

Patagonian conure (Cyanoliseus Patagonus)พาทาโกเนี่ยน ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นคอนัวร์ที่มีลักษณะใหญ่ที่สุดในสายของนกพันธุ์คอนัวร์ มีสีน้ำตาลผสมสีเขียวเข้ม และมีสีขาวบริเวณช่วงอกด้านบน ส่วนท้องจะมีสีเหลืองสดและแดง ช่วงขาจะมีสีแดง ช่วงปีกและหางจะมีสีฟ้าขอบตาสีขาว จงอยปากสีดำ ส่วนเท้าจะมีสีออกไปทางชมพู จะพบค่อนข้างมากในประเทศชิลีและอเจนติน่า หลายครั้งพบว่านกพันธุ์นี้ไม่ชอบกินอาหารที่มีลักษณะนิ่ม เช่น ผักและผลไม้บางชนิด พาทาโกเนี่ยนมีเสียงดังและเช่นเดียวกับคอนัวร์พันธุ์อื่น ๆ ลูกป้อนมักจะมีนิสัยติดเจ้าของและสามารถเลียนเสียงพูดได้ค่อนข้างดี คอนัวร์พันธุ์นี้จำเป็นจะต้องมีกรงที่ใหญ่พอสมควร เนื่องจากขนาดของตัวใหญ่ถึง 17.5 - 18 นิ้ว และมีน้ำหนักตัวถึง ? ปอนด์ เลยทีเดียว

*** Sun conure (Aratinga Solstitialis)ซัน คอนัวร์ ถูกขนานนามว่าเป็น Cardillac ในหมู่นกคอนัวร์ เพราะความปรอดเปรื่องและสีสันที่มีความสดใส ซัน คอนัวร์ ลำตัวของซันจะมีสีส้มอมเหลืองและสีแดง ตรงส่วนปลายปีกจะมีสีเขียวคราม ส่วนตอนเด็กจะมีสีเขียวประปรายตามปีกจนกว่าจะผลัดขนครั้งแรกถึงจะเริ่มมี สีเหลืองส้มมากขึ้น เมื่อโตเต็มที่สีปากจะเป็นสีดำ รอบดวงตาจะมีสีขาว และส่วนตรงเท้าจะมีสีเทา ความยาวของลำตัวตั้งแต่จงอยปากไปจนถึงปลาหางจะยาวประมาณ 12 นิ้ว และมีน้ำหนักประมาณ 7.5 ออนซ์ ซันจะพบมากในป่าของประเทศกิอานา (Guyana) จนถึงประเทศบราซิลตะวันออกเฉียงเหนือ และก็ถูกนำมาเพาะเลี้ยงในอเมริกาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ซัน ที่ถูกนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงขึ้นชื่อสำหรับความพึงพอใจของมันที่จะอยู่กับเจ้าของ และเล่นกับเจ้าของเป็นเวลานานหลายชั่วโมง ซันมักจะชอบที่นั่งอยู่บนไหล่ของเจ้าของและอาจส่งเสียงดังได้ ถ้าไม่ได้รับความ สนใจ ซัน เป็นนกที่ชอบความใกล้ชิดและต้องการความรักและมันยังถือเป็นสัตว์เลี้ยงที่น่ารักมากทีเดียว



Create Date : 22 กุมภาพันธ์ 2549
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2549 10:01:16 น.
Counter : 933 Pageviews.

3 comments
  
เมื่อวานนี้เจ้าไดมอนด์แปลกและผิดปกติไปอ่ะ และวันนี้ตอนเช้า มันก็ไปจากเราซ้า
....ปกติ ไดมอนด์จะร่าเริง ชอบร้องเสียงดัง เวลา เราออกไปข้างนอกกลับมาบ้าน
ก็จะส่งเสียงร้องเรียกตั้งแต่ตอนได้ยินเสียงเปิดประตูบ้าน และเสียงมอ'ไซค์....
ไม่สบาย ท้องเสียก็ตั้งแต่วันโน้นอ่ะ เราให้กินข้าวโพดต้มอ่ะ...
แต่หลังจากนั้นก็ดึขึ้น อาการปกติ....
หรือคงเพราะลงมาเล่นข้างล่างกะเราตั้งแต่เช้า หิว เอาแต่กินแต่น้ำแดง ของชอบ
เพราะตอนแม่กลับมา แม่บอกว่า น้ำแดงในแก้วลดลงไปเยอะ.....
ซึมๆเพราะ shock รึป่าว เราออกไปซื้อกาแฟกระติก ไดมอนด์บินไปเกาะเรา แม่ค้าตักน้ำแข็งใส่กระติก ส่งให้เรา คงตกใจ บินไปตกบ้านตรงข้าม หมาก็รีบวิ่งกันมา โชคดีอ่ะ เขาปิดประตู แขวนกุญแจไว้ แต่ไม่ได้ล็อค เรารีบไปเอาออกมา.....
แม่เลี้ยงไดมอนด์มาตั้งแต่ตอนยังเป็นลูกป้อน...เกือบ ปี หรือปีกว่าๆ......
สงกรานต์ปีที่แล้ว ก็เอาใส่ตะกร้าไปเที่ยวบ้านต๊อบด้วย.....
ปกติเราชอบเอาลงมาเล่นด้วยข้างล่าง......
ขอบใจนะ...ไดมอนด์...ที่ทำให้เราผูกพันกัน...........
นายเป็นเพื่อนรัก สัตว์เลี้ยงที่สุดยอด........
โดย: sananda (sananda ) วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:10:21:04 น.
  
เสียใจด้วยนะคะ ตอนนี้เจ้าไดมอนคงไปเป้นเทวดาอยู่บนสวรรค์แล้วค่ะ อย่าคิดมากนะคะ
โดย: อพันตรี IP: 203.188.2.117 วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:13:34:54 น.
  
ชอบนกแก้วมากๆค่ะ
โดย: อีฟ IP: 125.25.196.226 วันที่: 21 เมษายน 2552 เวลา:20:55:21 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

sananda
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




" HIDDEN="true" AUTOSTART="true"LOOP="2" MASTERSOUND>
กุมภาพันธ์ 2549

 
 
 
11
12
26
 
 
All Blog
Friends Blog
[Add sananda's blog to your weblog]
MY VIP Friend