มหัศจรรย์รับหนาว 'ฝนดาวตก'
มหัศจรรย์รับหนาว 'ฝนดาวตก' ปรากฏการณ์ครั้งใหม่ส่งท้ายปี

“ฝนดาวตกลีโอนิดส์หากจะเฝ้ารอชมกันนั้นหลังจากเที่ยงคืนของวันที่ 17 เริ่มเช้าวันใหม่วันที่ 18 ก็จะเริ่มเห็นปรากฏการณ์ดังกล่าวได้บ้างแต่จะยังไม่มากนัก เนื่องด้วยกลุ่มดาวสิงโตจะขึ้นในช่วงเวลานั้นและจากการทำนายของนักดาราศาสตร์ ช่วงที่พีคมีอัตราการตกมากสุดจะเป็นช่วงใกล้เช้าเวลาประมาณ 04.00-06.00 น.”






ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เกิดขึ้นบนท้องฟ้ายามค่ำคืนอีกเหตุการณ์หนึ่งซึ่งสร้างความประทับใจให้กับผู้พบเห็นเฝ้ารอชมครั้งแล้วครั้งเล่า และล่าสุดกำลังจะเกิดขึ้นอีกครั้งในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้านี้ นั่นก็คือ ปรากฏการณ์ฝนดาวตก ซึ่งก่อนอำลาปีฉลู มีให้ดูกันถึงสองครั้ง!!

ฝนดาวตกลีโอนิดส์ หรือฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโตในทุกปีช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนจะปรากฏให้ชื่นชม จากนั้นต่อมาในเดือนธันวาคมก็จะเป็น ฝนดาวตกเจมินิดส์ และก่อนที่ปรากฏ การณ์ทางดาราศาสตร์ที่มีความสำคัญและสวยงามจะเกิดขึ้น รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ความรู้ว่า ฝนดาวตก เป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่มีความน่าสนใจ ฝนดาวตกเกิดจากการที่ดาวหางหรือ ดาวเคราะห์น้อยโคจรรอบดวงอาทิตย์เข้าใกล้โลกและเวลา ที่โคจรเข้ามาใกล้จะทิ้งเศษที่เป็นฝุ่นของแข็ง น้ำแข็ง จำนวนมากมายไว้

เศษฝุ่นที่เป็นเศษหลงเหลือจากดาวหาง หรือดาวเคราะห์น้อยจะตกเข้ามาในบรรยากาศของโลกซึ่งเมื่อตกเข้ามาเสียดสีกับบรรยากาศของโลกก็จะทำให้เกิดแสงสว่างขึ้นจึงเรียกกันว่า ดาวตก

เศษของดาวหางที่ทำให้เกิดฝนดาวตกหรือดาวตกนั้นเป็นเศษขนาดเล็กซึ่งมักจะไหม้หมดก่อนจะถึงพื้นโลก ส่วนจะเห็นเป็นก้อนใหญ่ตกลงมาบนพื้นโลกนั้นนาน ๆ ทีจะหลุดเข้ามา ดาวตกที่พบเห็นถ้าเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ จะเห็นเป็นเส้นยาว แต่หากเป็นเศษขนาดใหญ่อาจมองเห็นเป็นฝนดาวตก ที่มีความสว่างลักษณะคล้ายลูกไฟหรือที่เรียกกันว่า ไฟร์บอล ซึ่งจะมีความสวยงามอีกลักษณะหนึ่ง

ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ฝนดาวตกนอกเหนือจากความสวยงาม ความแปลกตาที่เกิดขึ้นบนท้องฟ้า ในความน่าสนใจนั้นยังก่อให้ เกิดบรรยากาศการศึกษา การค้นคว้าในสิ่งที่พบเห็น






“การเกิดขึ้นของฝนดาวตกเป็นการศึกษาที่ทำให้ทราบในเรื่องที่เกี่ยวกับวงโคจรของวัตถุท้องฟ้าที่อยู่ในระบบสุริยะ นอกจากวงโคจรแล้วยังทำให้ทราบว่าวงโคจรของโลกตัดกับวงโคจรของดาวหางหรือดาวเคราะห์น้อยเป็นจำนวนมาก ในปีหนึ่ง ๆ จึงมีปรากฏการณ์ฝนดาวตกเกิดขึ้นให้ศึกษาเฝ้ารอชม อีกทั้งในการศึกษารวมทั้งความเข้าใจในสิ่งเหล่านี้ยังทำให้เกิดการติดตามเฝ้าระวังในสิ่งที่อาจจะส่งผลกระทบต่อโลกด้วย”

ฝนดาวตกลีโอนิดส์ เกิดจากเศษซากหลงเหลือของดาวหาง 55 พี เทมเพลทัตเทิล (55P Tempel Tuttle) ซึ่งมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี โดยหนึ่งรอบใช้เวลา 33 ปี และทุก ๆ 33 ปี ดาวหางนี้จะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดทำ ให้เกิดฝนดาวตกจำนวน มาก อย่างเมื่อปี 2541 และ 2544 จะเห็นได้ว่าครั้งนั้นมีการเฝ้าติดตามปรากฏการณ์ฝนดาวตกลีโอนิดส์กันอย่างใกล้ชิด

นอกจากนี้ในความสวยงามของฝนดาวตกที่สร้างความประทับใจยังเป็นประเด็นสำคัญทำให้ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ชวนตื่นตาตื่นใจทำให้เด็ก ๆ เกิดความเข้าใจ สนใจวิทยาศาสตร์ ต่อเติมการเรียนรู้ การค้นคว้า

“ดาราศาสตร์เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก ๆ สนใจ และเข้าใจในศาสตร์แขนงนี้เพิ่มขึ้นปรากฏการณ์ฝนดาวตกจึงน่าจะเป็นประเด็นที่ช่วยในการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มาก ก่อเกิดแรงบันดาลใจในการศึกษาค้นคว้า ทำให้เกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล คิดในเชิงลึก ฝึกฝนให้เด็กมีจินตนาการเพื่อจะเข้าใจปรากฏการณ์หรือกลไกท้องฟ้าซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญในการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ”




สำหรับปรากฏการณ์ฝนดาวตก 2 ครั้งที่สวยงามและมีความสำคัญที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ ฝนดาวตกลีโอนิดส์ จะเห็นได้ใน วันที่ 18 พฤศจิกายน 2552 และปีนี้วันดังกล่าวเป็นช่วงข้างแรมไม่มีแสงจันทร์รบกวน ท้องฟ้าจะมืดและหากไม่มีฝนมีเมฆมาบดบังก็จะเป็นช่วงเวลาที่ดีมากสำหรับการเฝ้าชมฝนดาวตกลีโอนิดส์

ฝนดาวตกลีโอนิดส์หากจะเฝ้ารอชมกันนั้นหลังจากเที่ยงคืนของวันที่ 17 เริ่มเช้าวันใหม่วันที่ 18 ก็จะเริ่มเห็นปรากฏการณ์ดังกล่าวได้บ้างแต่จะยังไม่มากนัก เนื่องด้วยกลุ่มดาวสิงโตจะขึ้นในช่วงเวลานั้นและจากการทำนายของนักดาราศาสตร์ ช่วงที่พีคมีอัตราการตกมากสุดจะเป็นช่วงใกล้เช้าเวลาประมาณ 04.00-06.00 น.

อีกทั้งตามที่มีการคำนวณไว้นั้นกล่าวกันว่าน่าจะเป็นไปได้ที่จะสามารถ เห็นได้มากกว่า 100 ดวงต่อชั่วโมงมีโอกาสที่จะเห็นได้ง่ายในพื้นที่ที่ท้องฟ้าปลอดโปร่ง ในพื้นที่โล่งที่ไม่มีแสงจันทร์รบกวนและด้วยเหตุที่ฝนดาวตกลีโอนิดส์นี้ค่อนข้างเคลื่อนที่เร็วจึงต้องสังเกตอย่างรวดเร็ว ต่างจากฝนดาวตกเจมินิดส์ที่เคลื่อนที่ช้ากว่า

ส่วนการสังเกตนั้นสามารถมองได้รอบทิศทางซึ่งการเฝ้ารอชมนั้น ผู้อำนวยการฯ ท่านให้คำแนะนำว่า ควรช่วยกันดูโดยอาจจะนั่งหันหลังชนกันช่วยกันสังเกต เพราะฝนดาวตกสามารถมองเห็นได้ทุกทิศของท้องฟ้า อย่างช่วงหลังเที่ยงคืนเป็นช่วงที่ดาวกำลังขึ้นก็อาจจะเห็นได้ทางทิศตะวันออก ขณะที่ใกล้เวลาเช้าดาวกลุ่มดังกล่าวน่าจะอยู่เหนือศีรษะก็น่าจะมองเห็นได้รอบทิศทาง

ส่วนทางด้าน ฝนดาวตกเจมินิดส์ จะปรากฏให้ ชมกันในวันที่ 14 ธันวาคม 2552 โดยสามารถสังเกตเห็นได้ตั้งแต่ 22.00 น. จากนั้นสามารถเฝ้ารอชมต่อเนื่องได้ถึงช่วงเช้าซึ่งปีนี้ก็เป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งที่ดีโดยวันดังกล่าวเป็นช่วงเดือนแรมไม่มีแสงจันทร์รบกวน อีกทั้งยังเป็นฤดูหนาวอากาศเย็นสบายโอกาสที่ท้องฟ้าจะไร้เมฆฝน บดบังจึงมีมาก








“ฝนดาวตกเจมินิดส์เกิดจากเศษซากของดาวเคราะห์น้อยที่มีชื่อว่า 3200 เฟธอน ในปีนี้คาดว่าจะเห็นปริมาณฝนดาวตกโดยเฉลี่ยประมาณ 100 ดวงต่อชั่วโมง แต่อย่างไรก็ตามในข้อดีของดาวตกเจมินิดส์นั้นเคลื่อนที่ช้าประมาณ 35 กิโลเมตรต่อวินาทีซึ่งในการเคลื่อนที่ ช้าก็จะทำให้สว่างอยู่บนท้องฟ้านาน โอกาสจะสังเกต เห็นจึงมีมากขึ้นเห็นได้ง่ายกว่าซึ่งลำแสงที่วิ่งจะค่อย ๆ เคลื่อนที่ไป”

จากปีที่ผ่านมาปรากฏการณ์ฝนดาวตกทั้งสองครั้งนี้ก็มีเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน แต่อาจเห็นได้ไม่ชัดเจนมากนักทั้งนี้เพราะช่วงเวลานั้นเป็น ช่วงที่พระจันทร์เกือบเต็มดวง ต่างจากครั้งนี้ที่จะไม่มีแสงจันทร์รบกวนซึ่งก็น่าจะเป็นโอกาสดีที่จะได้เฝ้ารอ ชมปรากฏการณ์ฝนดาวตก ดังกล่าวและไม่เพียงเฉพาะประเทศไทย ประเทศต่าง ๆ ที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันกับเราก็สามารถสังเกตเห็นได้ แต่ช่วงเวลาอาจจะต่างกันไป

นอกเหนือจากปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ฝนดาวตกที่ เกิดขึ้นในช่วงปลายปีนี้ ใน ต้นปีหน้ายังมีปรากฏการณ์บนท้องฟ้า สุริยุปราคา ที่น่า สนใจให้เฝ้าติดตามกันโดยจะเกิดขึ้นในวันที่ 15 มกราคม 2553 เวลาประมาณบ่ายสองโมงถึงห้าโมงเย็นโดยเป็นสุริยุปราคาบางส่วนเป็นอีกความเคลื่อนไหวของปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่พร้อมให้ศึกษาชื่นชม

เช่นเดียวกันกับฝนดาวตกที่กำลังจะเกิดขึ้นซึ่งหากท้องฟ้าเป็นใจ สภาพอากาศแจ่มใสก็คงจะได้ชื่นชมและประทับใจกับปรากฏการณ์ งดงามบนท้องฟ้าที่เกิดขึ้น ในช่วงปลายปี.

ขอขอบคุณข้อมูลดีดี ที่นำมาแบ่งปันกันจาก

ทีมวาไรตี้ sanook //campus.sanook.com/u_life/knowledge_05833.php




.......... ความรู้ กับผู้รู้
Posted by Hoopie 14 May, 2009 (0) Comment

ในโลกนี้
เรื่องของรู้ให้แสวงหาไม่รู้หมดสิ้น
การแสวงหาความรู้
ต้องมีสติรู้ว่ามันเป็นการพัฒนาสมองเท่านั้น

ไร้สติ ปัญญาเสียแล้ว
ความรู้ทั้งหมดที่มี
ก็จะกลายเป็นระเบิดเวลา
ที่จะสังหารตนเอง

ผู้รู้จำนวนมาก
ต้องสิ้นสูญไป
เพราะเขามีความรู้มากเกินไป
แต่เขาไม่รู้ในสิ่งที่ควรรู้

ผู้รู้ที่แท้จริง
ต้องมีความรู้ว่า
เมื่อใดควรแสดงความรู้
และเมื่อใดควรแสดงความไม่รู้



Create Date : 18 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 18 พฤศจิกายน 2552 8:42:32 น.
Counter : 1612 Pageviews.

2 comments
  
สวัสดีครับ จขบ .อากาศเย็นๆเพลงเศร้าๆและซึ้งๆๆเพลงนี้ครั้งหนึ่งเคยฟังบ่อย...ได้ฟังอีกครั้งในวันนี้ก็ยังชอบเหมือนเดิม....ขอบคุณนะคับสำหรับเพลงเพราะเด๋วไปรอดูฝนดาวตกก่อนล่ะ ....
โดย: phaclam วันที่: 18 พฤศจิกายน 2552 เวลา:2:44:52 น.
  
ชอบเพลงนี้จัง "ความคิด"เพราะมีคนให้เพลงนี้มา
ฟังทีไรก็ซึ้งๆทุกทีสิน่า...
อุส่าห์ตื่นขึ้นมาดูฝนดาวตกอีกเนอะ..
แล้วไปทำงานไม่นั่งหลับเลยเหรอนั่น???
โดย: ลายมือยุ่งๆขงคนไม่มีเวลา (ลายมือยุ่งๆของคนไม่มีเวลา ) วันที่: 18 พฤศจิกายน 2552 เวลา:19:47:15 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

sananda
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




" HIDDEN="true" AUTOSTART="true"LOOP="2" MASTERSOUND>
พฤศจิกายน 2552

1
3
13
14
 
 
All Blog
Friends Blog
[Add sananda's blog to your weblog]
MY VIP Friend