กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (สํ.สฬ.18/217/166) เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
บุญ
ข้อธรรมะที่ถาม,ถกเถียงกันบ่อย
หลักปฏิบัติ
สภาวธรรม
ชีวิตคืออะไร ๑
ชีวิตคืออะไร ๒
ชีวิตเป็นอย่างไร
ปฏิจจสมุปบาท
ชีวิตเป็นไปอย่างไร ๕
อริยสัจ ๔
อารยธรรมวิถี
แรงจูงใจคน
ความสุข ๑
ความสุข ๒
ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง
ผู้พิพากษาตั้งตุลาให้สังคม ฯ
คติธรรมสั้นๆ
ภาษาธรรมวันละคำ
เรื่องเหนือสามัญวิสัย
รู้เขา รู้เรา
คำพูดของคนใกล้สิ้นลม
ความเป็นมาของการบวช
การทำวัตรสวดมนต์
ทำยังไงจึงจะมีอายุยืนและมีความสุข
นิพพาน-อนัตตา ฉบับเพียงเพื่อไม่ประมาท
มาฆบูชา กับ วาเลนไทน์
พลังดันคน
ที่ทำงานของจิต
บรรลุธรรมอะไร?
พุทธปรัชญาในสุตตันตปิฎก
ธัมมาธิบาย
สวดมนต์
ทฬิทฺทิยํ ทุกฺขํ โลเก
เรียนบาลีเพื่อรักษาพุทธพจน์
ศีล-ธรรมไม่มาโลกาจะพินาศ
หลักธรรมสำหรับผู้ยังไม่นับถือศาสนาใดๆ
ชีวิตเป็นไปอย่างไร ๔
ชีวิต ควรให้เป็นอย่างไร
ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร ๒
ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร ๓
ชีวิต ควรให้เป็นอย่างไร ๔
ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร
ปรโตโฆสะที่ดี
ความนำโยนิโสมนสิการ
โยนิโสมนสิการ ๑๐ วิธี
องค์ประกอบมัชฌิมาปฏิปทา,ปัญญา
องค์ประกอบมัชฌิมาปฏิปทา,ศีล
องค์ประกอบมัชฌิมาปฏิปทา,สมาธิ
อริยสัจ
<<
กรกฏาคม 2564
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
29 กรกฏาคม 2564
พระพุทธศาสนาบอกความจริง
เจ้าชายสิทธัตถะทิ้งลูกทิ้งเมีย
ปริศนาธรรมจากงานสวดศพ
ปัญหาสังคม
โลกธรรม ๘ ประการ
พิธีกรรม
วินัย
คติธรรมจากสนิม
ประเพณี ศาสนพิธี ก็สำคัญ
กระแสสังคม
อีกหน่อยก็ลืมเชื่อเหอะ
ความคิดชีวิตแต่ละวัย
ความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์กับชาวบ้าน
ชาวพุทธคิดอย่างไรกับคนที่เลิกนับถือพุทธแล้ว
ศาสนาอิสลามสามารถเปลี่ยนศาสนาได้ไหม ?
ศาสนิกอื่น สรรเสริญพุทธคุณ ธรรมคุณ
ทำไมคนพุทธต้องใส่บาตรพระสงฆ์
ทดสอบโรคซึมเศร้าฟรี จากแพทย์ศาสตร์ มหิดล
ตั้งคำถามน่าคิด
เงิน เงิน เงิน
ใครเป็นผู้ให้บาป ใครเป็นผู้ให้บุญ
รู้เรา รู้เขา
พัดวิเศษ มนต์ตรา ผ้ายันต์ VS อาวุธ นาลันทาแตก
คู่บุญคู่บารมี
พระพุทธศาสนาจริงๆแล้วสอนอะไร
ศีลเพื่อเสริมความดีงามของชีวิต และสังคม
คนต่างศาสนิกถาม
อรหันต์
คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น
พระพุทธศาสนาบอกความจริง
การให้ผลของกรรมในระดับต่างๆ
ธรรมะจัดสรรค์ กับ คนจัดสรรค์
สันโดษ ให้สันโดษ ไม่ให้สันโดษ เอ๊ะยังไง
ตำนาน พระปริตร
อานิสงส์ พระปริตร
ก้าวหน้าไปในบุญ
กาม ตามความหมายของพุทธธรรม
มงคล ๓๘ ประการ
สุญตา ๔ ความหมาย
มนุษย์ประเสริฐได้ด้วยการฝึกตน
ธุดงค์ ๑๓
พระพุทธเจ้ากับเพลง
วาสนา
เรียกเราว่าเป็น พุทธะ เถิดนะพราหมณ์
พรหมวิหาร ๔
เจริญวิปัสสนากับเจริญสติปัฏฐาน 4 ต่างกันไหม
ผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว รู้ได้อย่างไร
ความหมาย ปฏิบัติธรรม
ภาวนา
อินทรีย์ภาวนาแบบอารยชน
สุตะ
อาสภิวาจา
บุคคลแรกที่พูดได้เดินได้ทันทีที่เกิด
แก้ปัญหาแบบพุทธ
รู้ธรรมคือรู้เรื่องธรรมดา
คนธรรมต้องคู่กับรู้ธรรม
ข้อดี ข้อเสียของศรัทธา
ปฏิบัติก้าวหน้าไป ธรรมกายเจริญเอง
หลักผู้ปกครองบ้านเมือง ๔ อย่าง
อัตถะ,อรรถ
ภวังคจิต
บนบานศาลกล่าว กับ อธิษฐาน
ความไม่ยึดมั่นที่แท้
ธรรม-วินัย
ศีล กับ พรต
อินทรีย์ภาวนา
อริยบุคคล ๘
อริยบุคคล ๗
พุทธปณิธาน
กามโภคี ๑๐ ประเภท
ทุกขอริยสัจ
สิกขา,ไตรสิกขา = ศีล สมาธิ ปัญญา
พุทธธรรมสรุปได้ ๒ อย่าง
สารตั้งต้นผู้ศึกษาพุทธศาสนา
แยก สมมุติ กับ สภาวะให้ชัด
ปัญญา ๓
ปัญญา ๓ ระดับ
กิเลสต้องเห็นชัดด้วยปัญญาจึงละได้
พระพุทธศาสนาบอกความจริง
แยกออกจากหัวข้อใหญ่
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samathijit&month=04-2021&date=12&group=9&gblog=1
ปัญหาของมนุษย์ ที่มาในชื่อของทุกข์มากมาย
เท่า
ที่ได้บรรยายมา
ถ้าเข้าใจความหมายของทุกข์ใ
น
อริยสัจ
และ
แยกออกได้ชัดจากทุกข์ในไตรลักษณ์
พร้อม
ทั้งมองเห็นความเกี่ยวโยงกัน
ระหว่าง
ทุกข์ในหมวดธรรม ๒ ชุด
นี้แล้ว
ก็ถือเป็นอันสมวัตถุประสงค์
ระหว่างที่บรรยายนั้น ได้ยกทุกข์ชื่อต่างๆ หรือทุกข์ในลักษณะอาการต่างๆ มาให้ดูเป็นตัวอย่าง และได้ขอให้เข้าใจว่า
ทุกข์ต่างๆ มากมายนั้น ไม่พึงถือเป็นเรื่องเคร่งครัดนัก
แต่มองได้ว่าเป็นการที่ท่านยกขึ้นมากล่าวเพื่อนำความเข้าใจให้ง่ายและชัด เป็นเรื่องที่ต่างกันไปได้ตามถิ่นฐานกาลสมัย พูดง่ายๆ ก็คือ แสดงตัวอย่างเรื่องราวที่เป็นปัญหาของมนุษย์
(ใครในสมัยนี้ ถ้าสนใจ ก็อาจจะรวบรวมปัญหาหรือทุกข์ของมนุษย์ในสมัยปัจจุบันมาทำเป็นบัญชีไว้)
ดังที่ท้ายสุด
พระพุทธเจ้าก็สรุป
ไว้ให้แล้ว ที่ว่า "โดยย่อ
อุปาทานขันธ์ ๕ คือทุกข์
"
เมื่อได้ความเข้าใจอย่างนี้แล้ว จะแสดงชื่อทุกข์ที่ท่านจำแนกแจกแจงไว้ในที่ต่างๆ ให้เห็นตัวอย่างต่อไป
ทุกข์ที่ท่านจำแนกไว้ ส่วนใหญ่เป็นทุกข์ในอริยสัจ
เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ
คน
เป็นปัญหาที่จะต้องแก้ไข เป็นสิ่งควรคำนึง เพื่อ
ปลดเปลื้องเสียด้วยการปฏิบัติ
ส่วน
ทุกข์ที่ครอบคลุมความทั้งหมดอย่างในไตรลักษณ์
ท่านแสดงไว้แต่พอเป็นหลัก เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเท่าทันตามความเป็นจริง
อย่างไรก็ดี เรื่องทุกข์นี้ เราสามารถพรรณนาแสดงรายชื่อขยายรายการออกไปได้อีกเป็นอันมาก เพราะปัญหาของมนุษย์มีมากมาย ทั้งทุกข์ที่เป็นสามัญแก่ชีวิตโดยทั่วไป และทุกข์ที่แปลกกันออกไปตามสภาพแวดล้อมของยุคสมัย ถิ่นฐาน และสถานการณ์ แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องบรรยายในที่นี้ให้เยิ่นเย้อเนิ่นนาน
ข้อสำคัญอยู่ที่จะต้องรู้ความมุ่งหมาย
การ
ที่ท่านแสดงชื่อทุกข์ต่างๆไว้มากมาย
นั้น ก็
เพื่อให้เรารู้จักมันตามสภาพ
คือ
ตามที่เป็นจริง
(
ปริญญากิจ
- กิจในทุกขอริยสัจ พึงกำหนดรู้)
เพื่อปฏิบัติต่อทุกข์นั้นๆ อย่างถูกต้อง ด้วยการ
ยอมรับรู้สู้หน้า
สิ่งที่มีอยู่
ซึ่ง
ตนจะต้องเกี่ยวข้อง
ไม่ใช่เลี่ยงหนี
อำพรางปิดตาหลอกตัวเอง หรือแม้กระทั่งปลอบใจตนประดุจดังว่าทุกข์เหล่านั้นไม่มีอยู่ หรือ
ตนเองหลีกหลบไปได้แล้ว
และกลายเป็นสร้างปมปัญหา เสริมทุกข์ให้หนักหนาซับซ้อนและรุนแรงยิ่งขึ้น แต่เข้าเผชิญหน้า ทำความรู้จัก และเอาชนะ อยู่เหนือมัน
ทำตน
ให้ปลอดพ้นได้จากทุกข์เหล่านั้น ปฏิบัติต่อทุกข์โดยทางที่จะทำให้ทุกข์ไม่อาจเกิดขึ้นได้ ตั้งแต่อย่างชั่วคราว จนถึงโดยถาวร
ความวัว (ไวรัส) ไม่ทันหาย ความควาย (น้ำท่วม) เข้ามาแทรก เรียกรวมว่าทุกข์คำเดียว ที่มนุษย์เกลียดกลัว
https://www.facebook.com/hashtag/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%94
https://scontent.fbkk5-6.fna.fbcdn.net/v/t1.6435-9/227072015_4880769798616690_3245723395463440036_n.jpg?_nc_cat=102&ccb=1-3&_nc_sid=8bfeb9&_nc_ohc=5CPTHvs3-FUAX_Wo4sT&_nc_ht=scontent.fbkk5-6.fna&oh=2a278dcea78339fbb0b20c2373783e33&oe=61271A11
ในที่นี้ จะยกมาแสดงเฉพาะชุดสำคัญๆ หรือที่ท่านกล่าวถึงบ่อยๆ ดังนี้
ชุดที่ ๑
ทุกข์ ๑๒
(ที.ม.10/294/394 ฯลฯ)
เป็นชุดไขความสำหรับแสดงความหมายของทุกข์ในอริยสัจ ๔ มี ดังนี้
๑)
ชาติ
ความเกิดเป็นทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ต่างๆอเนกประการ ท่านแบ่งซอยออกเป็น
ก.
คัพโภกกันติมูลกทุกข์
ทุกข์เกิดจากการอยู่ในครรภ์ อยู่ในที่อันแสนจะคับแคบอึดอัด มืดตื้อ แออัดด้วยสิ่งที่น่ารังเกียจ ดุจหนอนในของเน่าหรือในน้ำครำ
ข.
คัพภปริหรณมูลกทุกข์
ทุกข์เกิดจากการบริหารครรภ์ มารดาจะขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว ลุกนั่ง เดินวิ่งแรงหรือเบา กินดื่มของร้อนเย็นเปรี้ยวเผ็ดเป็นต้น มีผลกระทบต่อเด็กในครรภ์ทั้งสิ้น
ค.
คัพภวิปัตติมูลกทุกข์
ทุกข์เกิดจากการวิบัติของครรภ์ เช่น ท้องนอกมดลูก เด็กตายในครรภ์ ต้องผ่าตัดออก เป็นต้น
ง.
วิชายนมูลกทุกข์
ทุกข์เกิดจากการคลอด ทั้งถูกกระทุ้งกระแทกพลิกหัน ทั้งถูกกดถูกบีบถูกอัด กว่าจะผ่านชอบอันแสนแคบออกมาได้ เจ็บปวดแสนสาหัส
จ.
พหินิกขมนมูลกทุกข์
ทุกข์เกิดจากการออกมาภายนอก เด็กแรกคลอดมีร่างกายและผิวละเอียดอ่อนดังแผลใหม่ ถูกสัมผัสจับต้องเช็ดล้างแสนเจ็บแสบ
ฉ.
อัตตุปักกมมูลกทุกข์
ทุกข์เกิดจากการทำตัวเอง เช่น ฆ่าตัวตายบ้าง ประพฤติวัตรบำเพ็ญตบะทรมานตนบ้าง โกรธเคืองเขาแล้วไม่กินข้าว หรือทำร้ายตัวเองบ้าง เป็นต้น
ช.
ปรุปักกมมูลกทุกข์
ทุกข์เกิดจากคนอื่นทำให้ เช่น ถูกฆ่า ถูกจองจำ ถูกทำร้าย เป็นต้น
๒)
ชรา
ความแก่ ทำให้อวัยวะทั้งหลายหย่อนยานอ่อนแอ อินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น เป็นต้น ทำหน้าที่บกพร่องผิดเพี้ยน กำลังวังชาเสื่อมถอย หมดความแคล่วคล่องว่องไว ผิวพรรณไม่งดงามผ่องใส หนังเหี่ยวย่น ความจำเลอะเลือนเผลอไผล เสื่อมอำนาจและความเป็นเสรีทั้งภายนอกและภายใน เกิดทุกข์กายและทุกข์ใจได้มาก
๓)
มรณะ
ความตาย ยามจะสิ้นชีพ เคยทำชั่วไว้ ก็เห็นนิมิตของบาปกรรม มีคนหรือของรักก็ต้องพลัดพรากจากไป ส่วนประกอบในร่างกายก็พากันหยุดทำหน้าที่ ทุกข์ทางกายก็อาจมีมาก จะทำอะไรจะแก้ไขอะไรก็ทำไม่ได้แก้ไขไม่ได้
๔)
โสกะ
ความเศร้าโศก ได้แก่ ความแห้งใจ เช่น เมื่อสูญเสียญาติ เป็นต้น (บาลี โสก สันสกฤต โศก)
๕)
ปริเทวะ
ความคร่ำครวญหรือร่ำไร ได้แก่ บ่นเพ้อไปต่างๆ เช่น เมื่อสูญเสียญาติ เป็นต้น
๖)
ทุกข์
ความทุกข์กาย ได้แก่ เจ็บปวด เช่น กายบาดเจ็บ ถูกบีบคั้น เป็นโรค เป็นต้น
๗)
โทมนัส
ความทุกข์ใจ ได้แก่ เจ็บปวดรวดร้าวใจ ที่ทำให้ร้องไห้ ตีอกชกหัว ลงดิ้น เชือดตนเอง กินยาพิษ ผูกคอตาย เป็นต้น
๘)
อุปายาส
ความคับแค้น หรือสิ้นหวัง ได้แก่ เร่าร้อนทอดถอนใจ ในเมื่อความโศกเศร้าเพิ่มทวี เป็นต้น
๙)
อัปปิยสัมปโยค
การประสบคนหรือสิ่งซึ่งไม่เป็นที่รัก เช่น ต้องพบต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่ชอบหรือชิงชัง เป็นต้น
๑๐)
ปิยวิปโยค
การพลัดพรากจากคนหรือสิ่งอันเป็นที่รัก เช่น จากญาติ จากคนรัก สูญเสียทรัพย์สิน
๑๑)
อิจฉิตาลาภ
การไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา คือปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สมหวัง
๑๒) อุปาทานขันธ์ ขันธ์ทั้ง ๕ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน กล่าวคือ ทุกข์ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นทุกข์ของอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เมื่อว่าโดยสรุป หรือโดยรวบยอด ก็คือ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
ชุดที่ ๒ ทุกข์ ๒
(วิสุทฺธิ.3/83-84 ฯลฯ)
เป็นเพียงการสรุปทุกข์ชนิดต่างๆในแนวหนึ่ง ได้แก่
๑)
ปฏิจฉันนทุกข์
ทุกข์ปิดบัง หรือทุกข์ซ่อนเร้น ไม่ปรากฏออกมาให้เห็นชัดๆ เช่น ปวดหู ปวดฟัน ใจเร่าร้อนเพราะไฟราคะและไฟโทสะ เป็นต้น
๒)
อัปปฏิจฉันนทุกข์
ทุกข์ไม่ปิดบัง หรือทุกข์เปิดเผย เช่น ถูกหนามตำ ถูกตี ถูกมีดฟัน เป็นต้น
ชุดที่ ๓ ทุกข์ ๒
(วิสุทฺธิ.3/83-84 ฯลฯ)
เป็นเพียงการสรุปทุกข์ชนิดต่างๆอีกแนวหนึ่ง ได้แก่
๑)
ปริยายทุกข์
ทุกข์โดยปริยาย หรือทุกข์โดยอ้อม ได้แก่ ทุกข์ทุกอย่างที่กล่าวถึงข้างต้น นอกจากทุกขเวทนา
๓)
นิปปริยายทุกข์
ทุกข์โดยนิปริยาย หรือทุกข์โดยตรง ได้แก่ ความรู้สึกทุกข์ ที่เรียกว่าทุกขทุกข์ หรือทุกขเวทนานั่นเอง
ในคัมภีร์มหานิทเทส และจูฬนิทเทส บางแห่งแสดงชื่อทุกข์ไว้อีกเป็นอันมาก
(ขุ.ม.29/23/19 ฯลฯ)
มีทั้งที่ซ้ำกับที่แสดงไว้แล้วข้างต้น และที่แปลกออกไป ขอยกมาจัดเป็นกลุ่มๆให้ดูง่าย ดังนี้
ก)
ชาติทุกข์
ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ โสก-ปริเทว-ทุกข-โทมนัส-อุปายาสทุกข์
ข)
เนรยิกทุกข์ ติรัจฉานโยนิกทุกข์ ปิตติวิสยทุกข์ มานุสกทุกข์
(ทุกข์ของสัตว์นรก ทุกข์ของสัตว์ดิรัจฉาน ทุกข์ของสัตว์ในแดนเปรต ทุกข์ของมนุษย์)
ค)
คัพโภกกันติมูลกทุกข์
(ทุกข์เกิดจากการลงเกิดในครรภ์) คัพเภฐิติมูลกทุกข์ (ทุกข์เกิดจากการอยู่ในครรภ์) คัพภวุฏฐานมูลกทุกข์ (ทุกข์เกิดจากการออกจากครรภ์) ชาตัสสูปนิพันธิกทุกข์ (ทุกข์ติดพันตัวของผู้ที่เกิดแล้ว) ชาตัสสปราเธยยกทุกข์ (ทุกข์เนื่องจากต้องขึ้นต่อผู้อื่นของผู้ที่เกิดแล้ว) อัตตูปักกมทุกข์ (ทุกข์ที่ตัวทำแก่ตัวเอง) ปรูปักกมทุกข์ (ทุกข์จากคนอื่นทำให้)
ง)
ทุกขทุกข์
สังขารทุกข์ วิปริณามทุกข์
จ) โรคต่างๆ เช่น โรคตา โรคหู เป็นต้น รวม ๓๕ ชื่อ
ฉ)
อาพาธ
คือ ความเจ็บไข้ที่เกิดจากสมุฏฐาน ๘ อย่าง คือ ดี เสมหะ ลม สมุฏฐานต่างๆ ประชุมกัน อุตุแปรปรวน บริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ ถูกเขาทำ เช่น ฆ่าและจองจำเป็นต้น และผลกรรม
ช) หนาว ร้อน หิว กระหาย อุจจาระ ปัสสาวะ ทุกข์จากสัมผัสแห่งเหลือบยุงลมแดด และสัตว์เลี้อยคลาน
ญ) ทุกข์เพราะความตายของมารดา ความตายของบิดา ความตายของพี่น้องชาย ความตายของพี่น้องหญิง ความตายของบุตร ความตายของธิดา
ฎ) ทุกข์เพราะความสูญเสียญาติ ความสูญเสียโภคะ ความสูญเสียโรค ความสูญเสียศีล ความสูญเสียทิฏฐิ
ในมหาทุกขักขันธสูตร และจูฬทุกขักขันฃธสูตร
(ม.ม.12/198/169 ฯลฯ)
พระพุทธเจ้าตรัสถึงทุกขขันธ์ คือกองทุกข์ต่างๆมากมาย ซึ่งเป็นปัญหาแก่มนุษย์สืบเนื่องมาจากกาม โดยสรุป ทุกขขันธ์ หรือกองทุกข์เหล่านั้น ได้แก่
ก) ความลำบากตรากตรำเดือดร้อน ตลอดกระทั่งสูญเสียชีวิต เนื่องมาจากประกอบการงานเลี้ยงชีพ
ข) ความเศร้าโศกเสียใจ ในเมื่อเพียรพยายามในการอาชีพแล้ว โภคะไม่สำเร็จผล
ค) แม้เมื่อโภคะสำเร็จผลแล้ว ก็เกิดความทุกข์ยากลำบากใจ ในการที่ต้องคอยอารักขาโภคทรัพย์
ง) ความเศร้าโศกเสียใจ เมื่อสูญเสียโภคทรัพย์นั้นไป อารักขาไว้ไม่สำเร็จ เช่น ถูกโจรปล้น ไฟไหม้
จ) การทะเลาะวิวาทแก่งแย่ง ทำร้ายกัน ถึงตายบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ระหว่างราชากับราชาบ้าง คฤหบดีกับคฤหบดีบ้าง แม้กระทั่งระหว่างพ่อแม่กับลูก พี่กับน้อง และเพื่อนกับเพื่อน
ฉ) การทำสงครามประหัตประหารกันระหว่างหมู่ชน ๒ ฝ่าย ในสมรภูมิ ซึ่งต่างพากันล้มตายและได้รับความทุกข์แสนสาหัส เพราะถูกอาวุธหรือเนื่องมาจากการต่อสู้กันนั้น
ช) การทำสงครามที่ฝ่ายหนึ่งรุกรานโจมตีบ้านเมืองของอีกฝ่ายหนึ่ง และจากการต่อสู้กันก็ต้องบาดเจ็บล้มตาย ได้รับทุกข์เป็นอันมาก
ญ) การทำทุจริตก่ออาชญากรรมต่างๆ เช่น ปล้นทรัพย์ ทำความผิดทางเพศ เป็นต้น แล้วถูกจับกุมลงโทษต่างๆ ถึงตายบ้าง ไม่ ถึงตายบ้าง
ฎ) การประกอบกรรมทุจริตทางกาย วาจา ใจ ครั้นตายแล้วก็ไปรับทุกข์ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
พอเป็นตัวอย่างเท่านี้
Create Date : 29 กรกฎาคม 2564
Last Update : 29 กรกฎาคม 2564 17:36:36 น.
0 comments
Counter : 581 Pageviews.
Share
Tweet
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [
?
]
Webmaster - BlogGang
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
Bloggang.com