กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
บุญ
ข้อธรรมะที่ถาม,ถกเถียงกันบ่อย
หลักปฏิบัติ
สภาวธรรม
ชีวิตคืออะไร.ขันธ์ ๕
ชีวิตคืออะไร.อายตนะ ๖
ชีวิตเป็นอย่างไร.ไตรลักษณ์
ชีวิตเป็นไปอย่างไร.ปฏิจจสมุปบาท
ชีวิตเป็นไปอย่างไร.กรรม
ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร.วิชชา,นิพพาน
ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง
ผู้ พิ พ า ก ษ า ตั้ ง ตุ ลา ใ ห้ สั ง ค ม ส ม ดุ ล
คติธรรมสั้นๆ
ภาษาธรรมวันละคำ
รู้เขา รู้เรา
คำพูดของคนใกล้สิ้นลม
ความเป็นมาของการบวช
การทำวัตรสวดมนต์
ทำยังไงจึงจะมีอายุยืนและมีความสุข
นิพพาน-อนัตตา ฉบับเพียงเพื่อไม่ประมาท
พลังดันคน
ที่ทำงานของจิต
บรรลุธรรมอะไร?
พุทธปรัชญาในสุตตันตปิฎก
ธัมมาธิบาย
สวดมนต์
ค ว า ม จ น เ ป็ น ทุ ก ข์ ใ น โ ล ก
เรียนบาลีเพื่อรักษาพุทธพจน์
ศีล-ธรรมไม่มาโลกาจะพินาศ
หลักธรรมสำหรับผู้ยังไม่นับถือศาสนาใดๆ
ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร
ปรโตโฆสะที่ดี
ความนำโยนิโสมนสิการ
โยนิโสมนสิการ ๑๐ วิธี
องค์ประกอบมัชฌิมาปฏิปทา,ปัญญา
องค์ประกอบมัชฌิมาปฏิปทา,ศีล
องค์ประกอบมัชฌิมาปฏิปทา,สมาธิ
อริยสัจ
วิถีชีวิตของคนมีอารยธรรม
เรื่องเหนือสามัญวิสัย.
ศีลกับเจตนารมณ์ทางสังคม
ปัญหาเกี่ยวกับแรงจูงใจ
วันแห่งความรัก.
ความสุข: ฉบับแบบแผน
ความสุข: ฉบับประมวลความ
เมษายน 2564
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
15 เมษายน 2564
สิกขา,ไตรสิกขา = ศีล สมาธิ ปัญญา
พุทธธรรมสรุปได้ ๒ อย่าง
สารตั้งต้นผู้ศึกษาพุทธศาสนา
เจ้าชายสิทธัตถะทิ้งลูกทิ้งเมีย
ปริศนาธรรมจากงานสวดศพ
ปัญหาสังคม
โลกธรรม ๘ ประการ
พิธีกรรม
วินัย
คติธรรมจากสนิม
ประเพณี ศาสนพิธี ก็สำคัญ
กระแสสังคม
อีกหน่อยก็ลืมเชื่อเหอะ
ความคิดชีวิตแต่ละวัย
ความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์กับชาวบ้าน
ชาวพุทธคิดอย่างไรกับคนที่เลิกนับถือพุทธแล้ว
ศาสนาอิสลามสามารถเปลี่ยนศาสนาได้ไหม ?
ศาสนิกอื่น สรรเสริญพุทธคุณ ธรรมคุณ
ทำไมคนพุทธต้องใส่บาตรพระสงฆ์
ทดสอบโรคซึมเศร้าฟรี จากแพทย์ศาสตร์ มหิดล
ตั้งคำถามน่าคิด
เงิน เงิน เงิน
ใครเป็นผู้ให้บาป ใครเป็นผู้ให้บุญ
รู้เรา รู้เขา
พัดวิเศษ มนต์ตรา ผ้ายันต์ VS อาวุธ นาลันทาแตก
คู่บุญคู่บารมี
พระพุทธศาสนาจริงๆแล้วสอนอะไร
ศีลเพื่อเสริมความดีงามของชีวิต และสังคม
คนต่างศาสนิกถาม
อรหันต์
คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น
พระพุทธศาสนาบอกความจริง
การให้ผลของกรรมในระดับต่างๆ
ธรรมะจัดสรรค์ กับ คนจัดสรรค์
สันโดษ ให้สันโดษ ไม่ให้สันโดษ เอ๊ะยังไง
ตำนาน พระปริตร
อานิสงส์ พระปริตร
ก้าวหน้าไปในบุญ
กาม ตามความหมายของพุทธธรรม
มงคล ๓๘ ประการ
สุญตา ๔ ความหมาย
มนุษย์ประเสริฐได้ด้วยการฝึกตน
ธุดงค์ ๑๓
พระพุทธเจ้ากับเพลง
วาสนา
เรียกเราว่าเป็น พุทธะ เถิดนะพราหมณ์
พรหมวิหาร ๔
เจริญวิปัสสนากับเจริญสติปัฏฐาน 4 ต่างกันไหม
ผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว รู้ได้อย่างไร
ความหมาย ปฏิบัติธรรม
ภาวนา
อินทรีย์ภาวนาแบบอารยชน
สุตะ
อาสภิวาจา
บุคคลแรกที่พูดได้เดินได้ทันทีที่เกิด
แก้ปัญหาแบบพุทธ
รู้ธรรมคือรู้เรื่องธรรมดา
คนธรรมต้องคู่กับรู้ธรรม
ข้อดี ข้อเสียของศรัทธา
ปฏิบัติก้าวหน้าไป ธรรมกายเจริญเอง
หลักผู้ปกครองบ้านเมือง ๔ อย่าง
อัตถะ,อรรถ
ภวังคจิต
บนบานศาลกล่าว กับ อธิษฐาน
ความไม่ยึดมั่นที่แท้
ธรรม-วินัย
ศีล กับ พรต
อินทรีย์ภาวนา
อริยบุคคล ๘
อริยบุคคล ๗
พุทธปณิธาน
กามโภคี ๑๐ ประเภท
ทุกขอริยสัจ
สิกขา,ไตรสิกขา = ศีล สมาธิ ปัญญา
พุทธธรรมสรุปได้ ๒ อย่าง
สารตั้งต้นผู้ศึกษาพุทธศาสนา
แยก สมมุติ กับ สภาวะให้ชัด
ปัญญา ๓
ปัญญา ๓ ระดับ
กิเลสต้องเห็นชัดด้วยปัญญาจึงละได้
สารตั้งต้นผู้ศึกษาพุทธศาสนา
เพื่อไม่ให้สุดโต่งด้านใดด้านหนึ่ง ดูภาพรวมพุทธศาสนาให้ชัดดูให้เข้าใจ
สิ่งที่ควรเข้าใจก่อน
พระพุทธศาสนานั้น เมื่อมองในทัศนะของคนสมัยใหม่ มักเกิดปัญหาขึ้นบ่อยๆ ว่าเป็นศาสนา
(religion)
หรือ เป็นปรัชญา
(philosophy)
หรือว่า เป็นเพียงวิธีครองชีวิตแบบหนึ่ง
(a way of life)
เมื่อปัญหาเช่นนี้เกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นเหตุให้ต้องถกเถียงหรือแสดงเหตุผล ทำให้เรื่องยืดยาวออกไปอีกทั้งมติในเรื่องนี้ ก็แตกต่างไม่ลงเป็นแบบเดียวกัน ทำให้เป็นเรื่องฟั่นเฝือ ไม่มีที่สิ้นสุด
ในที่นี้จะมุ่งแสดงแต่ในขอบเขตว่า พุทธธรรมสอนว่าอย่างไร มีเนื้อหาอย่างไรเท่านั้น ส่วนที่ว่า พุทธธรรมจะเป็นปรัชญาหรือไม่ ให้เป็นเรื่องของปรัชญาเองที่จะมีขอบเขต ครอบคลุมหรือสามารถตีความให้ครอบคลุมถึงพุทธธรรมได้หรือไม่ โดยที่ว่า พุทธธรรม ก็คือ พุทธธรรม และยังคงเป็นพุทธธรรมอยู่นั่นเอง มีข้อจำกัดเพียงอย่างเดียวว่า
หลักการ
หรือ
คำสอนใดก็ตาม ที่เป็นเพียงการคิดค้นหาเหตุผลในเรื่องความจริง เพื่อสนองความต้องการทางปัญญา โดยมิได้มุ่งหมาย และมิได้แสดงแนวทางสำหรับประพฤติปฏิบัติในชีวิตจริง
อันนั้น ให้ถือว่า ไม่ใช่พระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างที่ถือว่า เป็นคำสอนเดิมแท้ของพระพุทธเจ้า
ซึ่ง
ในที่นี้เรียก
ว่า
พุทธธรรม
การจะประมวลคำสอนแล้วสรุปลงว่า พุทธธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอน และทรงมุ่งหมายแท้จริงเป็นอย่างไรนั้นเป็นเรื่องยาก แม้จะยก
ข้อความในคัมภีร์ ซึ่งถือกันว่าเป็นพุทธพจน์
มาอ้าง เพราะ
คำสอนในคัมภีร์มีปริมาณ
มากมาย มีแง่ ด้าน ระดับ ความลึกซึ้ง
ต่างๆ กัน และ
ขึ้นต่อการตีความ
ของบุคคลโดยใช้สติปัญญาและความสุจริตใจ หรือไม่เพียงไรด้วย ใน
บางกรณี ผู้ถือความเห็นต่างกันสองฝ่าย อาจยกข้อความในคัมภีร์มาสนับสนุนความคิดเห็นของตนได้ด้วยกันทั้งคู่
การวินิจฉัยความจริง ขึ้นต่อความแม่นยำในการจับสาระสำคัญ และความกลมกลืนสอดคล้องแห่งหลักการ และหลักฐานที่แสดงทั้งหมดโดยหน่วยรวมเป็นข้อสำคัญ แม้กระนั้น เรื่องที่แสดงและหลักฐานต่างๆ ก็มักไม่กว้างขวางครอบคลุมพอ จึงหนีไม่พ้นจากอิทธิพลความเห็นและความเข้าใจพื้นฐานต่อพุทธธรรมของบุคคลผู้แสดงนั้น
ในเรื่องนี้ เห็นว่า ยังมีองค์ประกอบอีกอย่างหนึ่ง ที่ควรนำมาเป็นเครื่องวินิจฉัยด้วย คือความเป็นไปในพระชนม์ชีพ และพระปฏิปทาขององค์สมเด็จพระบรมศาสดา ผู้เป็นแหล่ง หรือที่มาของคำสอนเอง
พระพุทธจริยา รวมทั้งบรรดาพุทธกิจ คือ สิ่งที่พระองค์ผู้ทรงสอนได้กระทำ ในบางกรณีอาจแสดงพุทธประสงค์ที่แท้จริงได้ดีหรือชัดกว่าคำสอนที่ปรากฏในคัมภีร์ อย่างน้อยก็เป็นเครื่องประกอบความเข้าใจให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ถึงหากจะมีผู้ติงว่า องค์ประกอบข้อนี้ ก็ได้จากคัมภีร์ต่างๆ เช่นเดียวกับคำสอน และขึ้นต่อการตีความได้เหมือนกัน แม้กระนั้น ก็ยังต้องยอมรับอยู่นั่นเองว่า เป็นเครื่องประกอบการพิจารณาที่มีประโยชน์มาก
จากหลักฐานต่างๆทาง
ฝ่ายคัมภีร์
และ
ประวัติศาสตร์
พอจะวาด
ภาพเหตุการณ์
และ
สภาพสังคมครั้งพุทธกาล
ได้คร่าวๆ ดังนี้
พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในชมพูทวีป เมื่อประมาณ ๒,๖๐๐ ปีล่วงแล้ว ทรงประสูติในวรรณะกษัตริย์ พระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ เป็นโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้ครองแคว้นศากยะซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของชมพูทวีป ติดเชิงเขาหิมาลัย ในฐานะโอรสกษัตริย์ และเป็นความหวังของราชตระกูล พระองค์จึงได้รับการปรนปรือด้วยโลกียะสุขต่างๆ อย่างเพียบพร้อม และได้ทรงเสวยความสุขอยู่เช่นนี้เป็นเวลานานถึง 29 ปี ทรงมีทั้งพระชายาและพระโอรส
ครั้งนั้น ใน
ทางการเมือง
รัฐบางรัฐ
ที่
ปกครองแบบราชาธิปไตย
กำลังเรืองอำนาจขึ้น และกำลังพยายามทำสงครามแผ่ขยายอำนาจและอาณาเขตออกไป
รัฐหลายรัฐ
โดยเฉพาะที่
ปกครองแบบสามัคคี
ธรรม
(หรือแบบสาธารณรัฐ)
กำลังเสื่อมอำนาจลงไปเรื่อยๆ บางรัฐ ก็ถูกปราบรวมเข้าในรัฐอื่นแล้ว บางรัฐ ที่ยังเข้มแข็งก็อยู่ในสภาพตึงเครียด สงครามอาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ แม้รัฐใหญ่ที่เรืองอำนาจ ก็มีการขัดแย้งรบพุ่งกันบ่อยๆ
ใน
ทางเศรษฐกิจ
การค้าขายกำลังขยายตัวกว้างขวางขึ้น เกิดมีคนประเภทหนึ่ง มีอิทธิพลมากขึ้นในสังคม คือ
พวกเศรษฐี
ซึ่งมีสิทธิมีเกียรติยศ และ
อิทธิพลมากขึ้นแม้ในราชสำนัก
ใน
ทางสังคม
คนแบ่งออกเป็น 4 วรรณะ
ตามหลักคำสอนของพราหมณ์ มีสิทธิเกียรติฐานะทางสังคมและอาชีพการงาน แตกต่างกันไปตามวรรณะของตนๆ แม้นักประวัติศาสตร์ฝ่าย
ฮินดู
จะว่า การถือวรรณะในยุคนั้น ยังไม่เคร่งครัดนัก แต่อย่างน้อย
คนวรรณะศูทร
ก็ไม่มีสิทธิที่จะฟัง หรือกล่าวความในพระเวทอันเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของพราหมณ์ได้ ทั้งมีกำหนดโทษไว้อย่างรุนแรงถึงผ่าร่างกายเป็น 2 ซีกด้วย และ
คนจัณฑาล หรือ พวกนอกวรรณะ
ก็ไม่มีสิทธิได้รับการศึกษา
เลย การกำหนดวรรณะก็ใช้ชาติกำเนิดเป็นเครื่องแบ่งแยก โดยเฉพาะพวกพราหมณ์ กำลังพยายามยกตนขึ้น ถือตนว่าเป็นวรรณะสูงสุด
ส่วนใน
ทางศาสนา
พวกพราหมณ์เหล่านั้น ซึ่งเป็นผู้
รักษาศาสนาพราหมณ์
สืบต่อกันมาก็ได้พัฒนาคำสอนในด้านลัทธิพิธีกรรมต่างๆ ให้ลึกลับซับซ้อนใหญ่โตโอ่อ่าขึ้นพร้อมกับที่ไร้เหตุผลลงโดยลำดับ การที่ทำดังนี้ มิใช่เพียงเพื่อวัตถุประสงค์ทางศาสนาเท่านั้น แต่มุ่งสนองความต้องการของผู้มีอำนาจที่จะแสดงเกียรติยศ ความยิ่งใหญ่ของตน
ประการหนึ่ง
และด้วยมุ่งหวังผลประโยชน์ตอบแทน ที่จะได้จากผู้มีอำนาจเหล่านั้น
อย่างหนึ่ง
พิธีกรรมเหล่านี้ ล้วนชักจูงให้คนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวเองมากขึ้น เพราะหวังผลตอบแทนเป็นทรัพย์สมบัติและ
กามสุข
ต่างๆ พร้อมกันนี้ ก็ก่อความเดือดร้อนแก่คนชั้นต่ำ พวกทาสกรรมกรที่ต้องทำงานหนัก และการทารุณต่อสัตว์ด้วยการฆ่าบูชายัญครั้งละเป็นจำนวนมากๆ
(ดูวาเสฏฐสูตร และ พราหมณ์ธัมมิกสูตร)
ในเวลาเดียวกันนี้
พราหมณ์จำนวนหนึ่ง
ได้คิดว่า พิธีกรรมต่างๆ ไม่สามารถให้ตนประสบชีวิตนิรันดรได้ จึงได้เริ่มคิดเอาจริงเอาจังกับปัญหาเรื่องชีวิตนิรันดร และหนทางที่จะนำไปสู่ภาวะเช่นนั้น ถึงกับยอมปลีกตัวออกจากสังคมไปคิดค้นแสวงคำตอบอาศัยความวิเวกอยู่ในป่า
คำสอนของ
ศาสนาพราหมณ์
ในยุคนี้ ซึ่งเรียกว่า
ยุคอุปนิษัท
ก็มีความขัดแย้งกันเองมาก บางส่วน
อธิบายเพิ่มเติมเรื่องพิธีกรรม
ต่างๆ บางส่วนกลับ
ประณามพิธีกรรม
เหล่านั้น และในเรื่องชีวิตนิรันดรก็มีความเห็นต่างๆกัน มีคำสอนเรื่อง
อาตมัน
แบบต่างๆ ที่ขัดกัน จนถึงขั้นสุดท้ายที่ว่า
อาตมัน
คือ
พรหมัน
ที่เป็นมา และแทรกซึมอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง มีภาวะที่อธิบายไม่ได้ อย่างที่เรียกว่า “
เนติ เนติ
”
(ไม่ใช่นั่น ไม่ใช่นั่น)
เป็นจุดหมายสูงสุดของการบำเพ็ญเพียรทางศาสนา และพยายามแสดงความหมายโต้ตอบ ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสภาพของภาวะเช่นนี้ พร้อมกับที่หวงแหนความรู้เหล่านี้ไว้ ในหมู่ของพวกตน
พร้อมกันนั้น
นักบวชอีกพวกหนึ่ง
ซึ่งเบื่อหน่ายต่อความไร้สาระแห่งชีวิตในโลกนี้ก็ได้ไปบำเพ็ญเพียรแบบต่างๆ ตามวิธีการของพวกตนๆ ด้วยหวังว่าจะได้พบ
ชีวิตอมตะ
หรือ ผลสำเร็จอันวิเศษอัศจรรย์ต่างๆ ที่ตนหวังบ้าง ก็บำเพ็ญตบะทรมานตนด้วยประการต่างๆ ตั้งต้นแต่อดอาหาร ไปจนถึงการทรมานร่างกายแบบแปลกๆ ที่คนธรรมดาคิดไม่ถึงว่าจะเป็นไปได้ บ้างก็บำเพ็ญสมาธิ ได้ฌานจนถึงรูปสมาบัติ อรูปสมาบัติ บ้างก็บำเพ็ญฌานจนเชียวชาญชำนาญถึงขั้นที่กล่าวว่าทำปาฏิหาริย์ได้ต่างๆ
อีกด้านหนึ่ง
นักบวช
ประเภทที่เรียกว่า
สมณะ
อีกหลายหมู่หลายพวก ซึ่งได้
สละเหย้าเรือนออกบวช
แสวงหาจุดหมายชีวิตเช่นเดียวกัน ก็ได้เร่ร่อนท่องเที่ยวไปในบ้านเมืองต่างๆ ถกเถียงถามปัญหากันบ้าง
ตั้งตนเป็นศาสดา
แสดงทัศนะของตนต่างๆ กันหลายแบบหลายอย่าง
การเพียรแสวงหาจุดหมาย และเผยแพร่แสดงแข่งลัทธิกันนี้ ได้ดำเนินไปอย่างแข็งขันเข้มข้น จนปรากฏว่า เกิดมี
ลัทธิต่างๆ
ขึ้นเป็นอันมาก เฉพาะที่เด่นๆ ซึ่งกล่าวถึงบ่อยในคัมภีร์พุทธศาสนา ถึง
๖ ลัทธิ
สภาพเช่นนี้ สรุปสั้นๆ
คงได้ความว่า
ยุคนั้น
คนพวกหนึ่ง
กำลังรุ่งเรืองขึ้นด้วยอำนาจวาสนา และกำลังเพลิดเพลินมัวเมา แสวงหาทรัพย์สมบัติ และ ความสุขทางวัตถุต่างๆ พร้อมกับที่
คนหลายพวก กำลังมีฐานะ
และ
ความเป็นอยู่ด้อยลงๆ ทุกที
ไม่ค่อยได้รับความเหลียวแล ส่วน
คนอีกพวกหนึ่ง
ก็ปลีกตัวออกไปเสียจากสังคมทีเดียว ไปมุ่งมั่นค้นหาความจริงในทางปรัชญา โดยมิได้ใส่ใจสภาพสังคมเช่นเดียวกัน
เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงได้รับความปรนปรือด้วยโลกียะสุขอยู่เป็นเวลานานถึง 29 ปี และมิใช่เพียงปรนปรือเอาใจเท่านั้น ยังได้ทรงถูกปิดกั้นไม่ให้พบเห็น สภาพความเป็นอยู่ที่ระคนด้วยความทุกข์ของสามัญชนทั้งหลายด้วย แต่สภาพเช่นนี้ ไม่สามารถถูกปิดบังจากพระองค์ได้เรื่อยไป ปัญหาเรื่องความทุกข์ ความเดือดร้อนต่างๆ ของมนุษย์ อันรวมเด่นอยู่ที่ความแก่ เจ็บ และตาย เป็นสิ่งที่ทำให้พระองค์ต้องครุ่นคิดแก้ไข
ปัญหานี้
คิดสะท้อนออกไปในวงกว้าง ให้เห็นสภาพสังคม
ที่คนพวกหนึ่งได้เปรียบกว่
า ก็แสวงหาแต่โอกาสที่จะหาความสมบูรณ์พูนสุขใส่ตน แข่งขันแย่งชิง เบียดเบียนกันหมกมุ่นมัวเมาอยู่ในความสุขเหล่านั้น ไม่คิดถึงความทุกข์ยากเดือดร้อนของใคร ดำรงชีวิตอยู่อย่างทาสของวัตถุ
ยามสุข
ก็ละเมอมัวเมาอยู่ในความคับแคบของจิตใจ ถึง
คราวถูกความทุกข์ครอบงำ
ก็ลุ่มหลงไร้สติเหี่ยวแห้งคับแค้นกับตัวเอง แล้วก็แก่เจ็บตายไปอย่างไร้สาระ ฝ่าย
คนที่เสียเปรียบ
ไม่มีโอกาส ถูกบีบคั้นกดขี่อยู่อย่างคับแค้น แล้วก็แก่เจ็บตายไปโดยไร้ความหมาย
เจ้าชายสิทธัตถะ
ทรงมองเห็นสภาพเช่นนี้แล้ว ทรงเบื่อหน่ายในสภาพความเป็นอยู่ของพระองค์ มองเห็นความสุข ความปรนปรือเหล่านั้น เป็นของไร้สาระ ทรงคิดหาทางแก้ไข จะให้มีความสุขที่มั่นคงเป็นแก่นสาร ทรงคิดแก้ปัญหานี้ไม่ตก และ
สภาพความเป็นอยู่ของพระองค์ ท่ามกลางความเย้ายวน สับสนวุ่นวายเช่นนั้น ไม่อำนวยแก่การใช้ความคิดที่ได้ผล
ในที่สุด ทรงมอง
เห็นภาพพวกสมณะ
ซึ่งเป็นผู้ได้ปลีกตัวจากสังคมไปค้นคว้าหาความจริงต่างๆโดยมีความเป็นอยู่ง่ายๆ ปราศจากกังวล และสะดวกในการแสวงหาความรู้ และคิดหาเหตุผล สภาพความเป็นอยู่แบบนี้น่าจะช่วยพระองค์ให้แก้ปัญหานี้ได้ และบางทีสมณะพวกนั้น ที่ไปคิดค้นหาความจริงกันต่างๆ บางคนอาจมีอะไรบางอย่างที่พระองค์จะเรียนรู้ได้บ้าง
เมื่อถึงขั้นนี้
เจ้าชายสิทธัตถะจึงเสด็จออกบรรพชา อย่างพวกสมณะที่มีอยู่แล้วในสมัยนั้น
พระองค์ได้เสด็จไปศึกษาหาความรู้เท่าที่พวกนักบวชสมัยนั้นจะรู้และปฏิบัติกัน ทรงศึกษาทั้งวิธีการแบบโยคะ ทรงบำเพ็ญสมาธิจนได้ฌานสมาบัติ ถึงอรูปสมาบัติชั้นสูงสุด กับทั้งอิทธิปฏิหาริย์อย่างเชียวชาญ ทรงบำเพ็ญตบะทรมานพระองค์
ในที่สุดก็ทรงตัดสินได้ว่า วิธีการของพวกนักบวชเหล่านี้ทั้งหมด ไม่สามารถแก้ปัญหาดังที่พระองค์ทรงประสงค์ได้ เมื่อเทียบกับชีวิตของพระองค์ก่อนเสด็จออกบรรพชาแล้ว ก็นับว่าเป็นการ
ดำรงชีวิตอย่างเอียงสุดทั้งสองฝ่าย
พระองค์ จึงทรงหันมาดำเนินการคิดค้นของพระองค์เอง ต่อมาจนในที่สุดได้ตรัสรู้
ธรรม
ที่พระองค์ทรงค้นพบ
นี้ต่อมาเมื่อทรงนำไปแสดงให้ผู้อื่นฟัง ทรงเรียกว่า “
มัชเฌนธรรม
” หรือ หลักธรรมสายกลาง และทรงเรียกข้อปฏิบัติ
อันเป็นระบบที่พระองค์ทรงบัญญัติขึ้น
ว่า “
มัชฌิมาปฏิปทา
” หรือ ทางสายกลาง
จากความท่อนนี้ จะมองเห็นทัศนะตามแนวพุทธธรรม ว่า การดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างลุ่มหลงหมกมุ่น ปล่อยตัวไปเป็นทาสตามกระแสกิเลส ก็ดี การหลีกหนีออกไปโดยสิ้นเชิง ไม่เกี่ยวข้องรับผิดชอบอย่างใดต่อสังคม อยู่อย่างทรมานตนก็ดี นับว่า เป็นข้อปฏิบัติที่ผิด เอียงสุดด้วยกันทั้งสองอย่าง ไม่สามารถให้มนุษย์ดำรงชีวิตอย่างมีความหมายแท้จริงได้
เมื่อตรัสรู้แล้วเช่นนี้ พระองค์ จึงเสด็จกลับคืนมาทรงเริ่มต้นงานสั่งสอนพุทธธรรมเพื่อประโยชน์แก่สังคมของชาวโลกอย่างหนักแน่นจริงจัง และทรงดำเนินงานนี้จนตลอด 45 ปี แห่งพระชนม์ชีพระยะหลัง
แม้ไม่พิจารณาเหตุผลด้านอื่น
มองเฉพาะในแง่สังคมอย่างเดียว
ก็จะเห็นว่า
พุทธกิจที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญ เพื่อประโยชน์สุขแก่สังคมสมัยนั้น จะสำเร็จผลดีที่สุด ก็ด้วยการทำงานในบรรพชิตเพศเท่านั้น พระองค์ จึงได้ทรงชักจูงคนชั้นสูงจำนวนมาก ให้ละความมั่งมีศรีสุขออกบวช ศึกษาเข้าถึงธรรมของพระองค์แล้ว ร่วมทำงานอย่างเสียสละอุทิศตนเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
ด้วยการ
จาริกไปเข้าถึงคนทุกชั้นวรรณะ
และทุกถิ่นที่จะไปถึงได้ ทำให้บำเพ็ญประโยชน์ได้กว้างขวาง
อีกประการหนึ่ง คณะสงฆ์เองก็เป็นแหล่งแก้ปัญหาสังคมได้อย่างสำคัญ เช่น ในข้อว่า ทุกคนไม่ว่าจะเกิดในวรรณะใด เข้าบวชแล้วก็มีสิทธิเสมอกันทั้งสิ้น
ส่วนเศรษฐี คฤหบดี ผู้ยังไม่พร้อมที่จะเสียสละได้เต็มที่ ก็ให้คงครองเรือนอยู่เป็นอุบาสกอุบาสิกา คอยช่วยให้กำลังแก่คณะสงฆ์ในการบำเพ็ญกรณียกิจของท่าน และนำทรัพย์สมบัติของตนออกบำเพ็ญประโยชน์สงเคราะห์ประชาชนไปด้วยพร้อมกัน
การบำเพ็ญกรณียกิจ ทั้งของพระพุทธเจ้า และ ของพระสาวกมีวัตถุประสงค์และขอบเขตกว้างขวางเพียงใด จะเห็นได้จากพุทธพจน์ ตั้งแต่ครั้งแรกที่ส่งสาวกออกประกาศพระศาสนาว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงจาริกไป เพื่อประโยชน์และความสุขของชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลาย”
(วินย.4/32/39)
พุทธธรรมนั้นมีขอบเขตในทางสังคมที่จะให้ใช้ได้ และเป็นประโยชน์แก่บุคคลประเภทใดบ้างพึงเห็นได้จากพุทธพจน์ใน
ปาสาทิกสูตร
ซึ่งสรุปความได้ว่า
พรหมจรรย์
(คือพระศาสนา)
จะชื่อว่าสำเร็จผลแพร่หลายกว้างขวาง เป็นประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เป็นปึกแผ่น ถึงขั้นที่ว่าเทวดา และมนุษย์ประกาศไว้ดีแล้ว ต่อเมื่อมีองค์ประกอบต่อไปนี้ครบถ้วน คือ
1. องค์พระศาสดา เป็นเถระ รัตตัญญู ล่วงกาล ผ่านวัยมาโดยลำดับ
2. มี
ภิกษุสาวก
ที่เป็นเถระ มีความรู้เชียวชาญ ได้รับการ
ฝึกฝนอบรมอย่างดี
แกล้วกล้า อาจหาญ บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ สามารถแสดงธรรมให้เห็นผลจริงจัง กำราบปรัปวาท
(ลัทธิที่ขัดแย้ง หรือวาทะฝ่ายตรงข้าม)
ที่เกิดขึ้นให้สำเร็จเรียบร้อยโดยถูกต้องตามหลักธรรม และมีภิกษุสาวกชั้นกลาง และชั้นนวกะที่มีความสามารถเช่นเดียวกันนั้น
3. มี
ภิกษุณีสาวิกา
ชั้นเถรี ชั้นปูนกลาง และชั้นนวกะ ที่มีความสามารถเช่นเดียวกันนั้น
4. มี
อุบาสก
ทั้งประเภทพรหมจารี และประเภทครองเรือนเสวยกามสุข ซึ่งมีความสามารถเช่นเดียวกันนั้น
5. มี
อุบาสิกา
ทั้งประเภทพรหมจารินี และประเภทครองเรือนเสวยกามสุข ซึ่งมีความสามารถเช่นเดียวกันนั้น
เพียงแต่ขาด
อุบาสิกาประเภทครองเรือน
เสียอย่างเดียว
พรหมจรรย์
ก็ยังไม่ชื่อว่าเจริญบริบูรณ์เป็นปึกแผ่นดี.
(ดู ปาสารทิกสูตร ที.ปา. 11/104/135.)
(พึงสังเกตความหมาย “พรหมจรรย์” ที่ครอบคลุมผู้ครองเรือนด้วย)
ความตอนนี้แสดงว่า
พุทธธรรมเป็นคำสอนที่มุ่งสำหรับคนทุกประเภททั้งบรรพชิต
และ
คฤหัสถ์
คือ
ครอบคลุมสังคม
ทั้งหมด.
ต่อหัวข้อนี้
อีกหน่อย
ลักษณะทั่วไปของพุทธธรรม สรุปได้ 2 อย่าง
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=15-04-2021&group=6&gblog=6
Create Date : 15 เมษายน 2564
Last Update : 19 เมษายน 2566 10:26:50 น.
0 comments
Counter : 3610 Pageviews.
Share
Tweet
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [
?
]
Webmaster - BlogGang
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
Bloggang.com