กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
สิงหาคม 2564
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
19 สิงหาคม 2564
space
space
space

พัดวิเศษ มนต์ตรา ผ้ายันต์ VS อาวุธ นาลันทาแตก



235 ๑๗๐๐ ปี หลักการแค่นี้ รักษาไม่ได้


   ขอย้อนไปพูดถึงพระพุทธศาสนา  โดยประวัติส่วนรวมในอินเดียทั้งหมด ว่าพระพุทธศาสนาในอินเดียนี้ แบ่งได้เป็นยุคๆ

     ยุคที่ ๑ ประมาณ ๕๐๐ ปีแรก เป็นยุคของพระพุทธศาสนาแบบเถรวาท คือแบบที่มาถึงเรานี้ รุ่งเรืองอยู่ประมาณ ๕๐๐ ปี

     ยุคที่ ๒ ต่อจากนั้นเป็นยุคของมหายาน ตั้งแต่ประมาณหลัง พ.ศ.๕๐๐ ไปจนถึง พ.ศ. ๑๐๐๐ แต่เป็นมหายานที่ยังหนักแน่นอยู่

     ยุคที่ ๓ หลัง พ.ศ. ๑๐๐๐ มหายานเริ่มเสื่อมลง และราวพ.ศ. ๑๐๐๐ ก็เกิดพุทธศาสนามหายานแบบลัทธิตันตระ ซึ่งมีเรื่องเวทมนตร์คาถามาก

    ยุคที่ ๔ หลัง พ.ศ. ๑๕๐๐ เป็นตันตระยุคเสื่อมโทรม และทรามมาก จนถึงกับให้พระพุทธเจ้ามีศักติทำนองว่าเป็นชายา ฝรั่งแปลว่า consort มีการเสพสุรา และเสพกาม ถือเป็นการบรรลุนิพพานได้

   ฮินดูตอนนั้น ก็เหลวเละมาก ฮินดูก็มีตันตระ พุทธก็มีตันตระ แข่งกันมา แต่ก็คือกลายเป็นเหมือนๆกัน แล้วก็กลมกลืนกันนั่นเอง และระหว่างนี้แหละที่พุทธศาสนาได้กลมกลืนกับศาสนาฮินดูจนหมดความหมายพิเศษของตนเอง

   ความเสื่อมทรามทั้งด้านกาม และไสยศาสตร์เด่นมาก  ตั้งแต่ พ.ศ.๑๕๐๐ จนมาถึง พ.ศ.๑๗๐๐ ก็พอดีมุสลิมเตอร์ก ยกทัพเข้ามากวาดล้างทำลายเสียเรียบหมดเลย

   มีเรื่องเล่าไว้ว่า เมื่อมุสลิมเตอร์กยกกองทัพมาฆ่าเผาๆนั้น พระที่อยู่ในมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาต่างๆก็หนี ที่ถูกฆ่าก็มรณะไป ที่หนีได้ก็ลงเรือไปพม่าบ้าง หนีขึ้นเหนือไปเนปาลบ้าง ไปทิเบตบ้าง

   ที่ทิเบตมีหลักฐานเหลืออยู่   เล่าถึงเหตุการณ์ตอนที่นาลันทา หรือมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาแถบนั้นถูกทำลาย เมื่อกองทัพมุสลิมเตอร์ก ยกเข้ามา อันแสดงถึงความเชื่อในอิทธิปาฏิหาริย์ และเวทมนตร์ว่าเป็นอย่างไร

   มีตัวอย่างหลักฐานค้างอยู่ที่ทิเบตเล่าว่า พระองค์หนึ่งมีเวทมนตร์คาถาขลัง และมีพัดกายสิทธิ์ ก็บอกว่า   เดี๋ยวพอกองทัพมันมานะ   ฉันจะใช้พัดนี้โบก   กองทัพมันจะแตกกระจัดกระจาย กระเจิงไปหมด (แต่ผลที่แท้ก็คือพระเองถูกฆ่าหมด น้อยนักหนีรอดไปได้)

  แสดงว่า  ตอนนั้น  พระพุทธศาสนาเสื่อมโทรม  เต็มไปด้วยความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ เวทมนตร์คาถา กลายเป็นมนตรยาน

  ตันตระนั้นเป็นเรื่องของมนตรยาน  (ถือกันว่า ตันตระ มนตรยาน และวัชรยาน ใช้แทนกันได้) ชื่อมนตรยานก็บอกอยู่แล้วว่า   เป็นลัทธิเวทมนตร์   ถือว่าสามารถบรรลุถึงจุดหมายได้ด้วยเวทมนตร์ เชื่อจนหมกมุ่นในเรื่องอิทธิปฏิหาริย์ พุทธศาสนาเสื่อมไปถึงขนาดนี้ นอกจากอิทธิฤทธิ์จะรักษาตัวไม่ได้แล้ว ก็กลมกลืนกับศาสนาฮินดูได้สะดวกง่ายอย่างดี

  เรื่องเหล่านี้เป็นคติสอนใจชาวพุทธอย่างดีว่า จะต้องไม่ยอมถูกล่อเร้าชักจูงให้เขวออกไปจากหลักการของพระพุทธศาสนา

   พุทธบริษัททั้งหมด   เริ่มแต่พระ   จะต้องศึกษาให้ตระหนักในบทเรียนแห่งอดีต และรู้เท่าทันสถานการณ์ปัจจุบัน โดยมีความชัดเจน มั่นใจ และตั้งมั่นในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า

   เฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องเทพเจ้า เจ้าพ่อ เจ้าแม่ อิทธิปาฏิหาริย์ไสยศาสตร์นั้น มีสาระสำคัญอย่างเดียวกัน คือการหวังพึ่งอำนาจดลบันดาลภายนอก ซึ่งเป็นความเชื่อและการปฏิบัติ ที่มีผลเสียและขัดต่อหลักการของพระพุทธศาสนาหลายอย่าง โดยเฉพาะ

    ๑. ทำให้เป็นคนอ่อนแอ  ไม่ทำการให้สำเร็จด้วยความเพียรพยายามของตน ขัดหลักกรรม

    ๒. ทำให้ชีวิตเสื่อมถอย ไม่พัฒนา เพราะไม่เรียนรูฝึกฝนปรับปรุงตนในการที่จะแก้ปัญหาและฝึกปรือความสามารถจากการกระทำขัดหลักไตรสิกขา

    ๓. ทำให้ปล่อยเวลาล่วงผ่านไป ผัดเพี้ยน เฉื่อยชา อยู่กับความเลื่อนลอย เนื่องจากรอคอยผลจากการดลบันดาลของผู้อื่น ไม่เร่งรัดกระตือรือร้นขวนขวาย ไม่กระทำในสิ่งที่ควรทำ ขัดหลักความไม่ประมาท

    ๔. ทำให้ต้องเอาชีวิตและความสุขของตนไปฝากไว้กับอำนาจบันดาลผลภายนอก ที่ตัวเองไม่มีทางรู้ได้ว่าจะสำเร็จเมื่อไรอย่างไร ขึ้นต่อเขา ขัดหลักพึ่งตนและความเป็นอิสระ

  นอกจากนั้น ในแง่สังคม เมื่อคนมัวมองหาเทวดาและอำนาจภายนอกมาช่วย มัวแต่จะรักษาความสัมพันธ์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก็จะไม่เอาใจใส่กันและกันในหมู่มนุษย์เอง ไม่แสวงหาความร่วมมือในการที่จะช่วยกันแก้ปัญหาและทำการต่างๆ แต่ละคนจะเอาแต่ผลประโยชน์ของตัว สังคมก็ยิ่งเสื่อม อย่างน้อยก็ก็พัฒนาประชาธิปไตยไม่สำเร็จ
 
   อย่างไรก็ตาม   พระพุทธศาสนาไม่บังคับความเชื่อ และยอมรับความแตกต่างหลากหลายของมนุษย์ที่อยู่ในระดับการพัฒนาที่ต่างๆกัน

  ถ้าคนยังไม่พร้อม    แต่ยินดีที่จะเริ่มก้าวเดิน   เมื่อยังอยู่ที่จุดเริ่มต้นหรือช่วงต่อกับความเชื่อถือและการปฏิบัติเก่าๆ ยังนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์   แม้แต่นับพระรัตนตรัยแล้วก็ยังนับถือแบบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เราก็จะต้องมีเกณฑ์ในการที่จะนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น

   ชาวพุทธที่ยังเชื่อพระรัตนตรัยแบบสิ่งศักดิ์สิทธิ์   จะต้องมีเกณฑ์อย่างที่กล่าวแล้วว่า การปฏิบัติเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ในพระพุทธศาสนา

     ๑. ต้องไม่ให้เสียหลักกรรม   หมายความว่า   ถ้ายังเชื่อแล้วเป็นเครื่องรวมใจให้เกิดสมาธิตั้งมั่นได้ ในยามเกิดเหตุภัยร้ายแรงฉุกเฉิน ใจหายกระวนกระวาย หายกระสับกระสาย ตั้งสติได้ แล้วมีสมาธิ ทำให้ตั้งใจทำการด้วยความเข้มแข็งจริงจัง เรียกว่าไม่เสียหลักกรรม ก็พอใช้ได้

     ๒. ต้องไม่ให้เสียหลักสิกขา คือ ไม่เสียหลักการฝึกฝนพัฒนาตน แม้จะนับถืออย่างที่ว่า ก็ต้องไม่หยุดพัฒนาตัวเอง ไม่ไปฝากความหวังฝากชะตาไว้กับอำนาจดลบันดาลอิทธิปาฏิหาริย์เหล่านั้น จนกระทั่งไม่ได้คิดว่าตัวจะต้องทำอะไร และจะต้องทำอะไรกับตัวเอง อันนี้เป็นหลักที่ทิ้งไม่ได้

      ๓. ต้องไม่ให้เสียหลักความไม่ประมาท    ต้องไม่มีชีวิตอยู่ด้วยการรอคอยแล้วปล่อยปละละเลยสิ่งที่ควรทำ ไมเร่งเพียรพยายาม จมอยู่ในความประมาท

     ๔. ต้องไม่ให้เสียหลักการพึ่งตนและอิสรภาพ   ต้องไม่มัวหวังพึ่งแล้วเอาความหวังความสุขโชคชะตาไปฝากไว้กับสิ่งภายนอก แต่ต้องพยายามทำตนให้เป็นที่พึ่งของตนได้ และมีอิสรภาพมากขึ้น

     ๕. ต้องให้เป็นความศักดิ์สิทธิ์ที่พ่วงอยู่กับคุณธรรมและความบริสุทธิ์ ไม่ใช่ศักดิ์สิทธิ์แบบฤทธิ์ของเทพเจ้าที่เต็มไปด้วยกิเลส ที่มุ่งสนองโลภะและโทสะ แต่ปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนาที่ว่า ความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ความบริสุทธิ์ เมตตากรุณา และปัญญา แล้วก็ใช้หลักที่เคยพูดไว้แล้วว่าให้ อธิษฐาน แทนการอ้อนวอน

   แต่ต้องเป็นอธิษฐานในความหมายที่ถูกต้องของพระพุทธศาสนา คือ การตั้งใจเด็ดเดี่ยวที่จะทำการเพื่อบรรลุจุดหมายดีงามอย่างใดอย่างหนึ่งที่ชัดเจน การอธิษฐานจิตจะทำให้เกิดสมาธิ และนำไปสู่ความสำเร็จได้อย่างดี

   ถ้าเราหวังผลจากเวทมนตร์คาถา ก็คือไปทางลัทธิฮินดู อย่างประเทศเขมรมีชื่อเก่งเหลือเกินในเรื่องเวทมนตร์คาถา แล้วประเทศเขมรเป็นอย่างไร รักษาประเทศไว้ไม่ได้ คนไม่อยู่กับเหตุผล ไม่อยู่กับความเป็นจริง อันนี้ไปไม่ไหว

   อินเดียก็เป็นมาแล้วตั้งแต่ก่อนพุทธกาล พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นมาก็ทรงแก้ไขเรื่องนี้ แต่นานเข้าพระพุทธศาสนาของเราในอินเดียเสียหลักของตัวเอง ก็เสื่อมลงไป อินเดียก็เป็นฮินดูไปตามเดิม

   อย่างไรก็ดี จะต้องให้ความสำคัญแก่หลักสังฆะ และการสร้างชุมชนแห่งกัลยาณมิตรให้มาก เพราะการที่มนุษย์ไม่ไปมัวหวังพึ่งอำนาจบันดาลภายนอกนั้น นอกจากหมายถึงความเพียรพยายามทำการด้วยตนเอง และฝึกฝนพัฒนาตนแล้ว ก็หมายถึงการช่วยเหลือกันในหมู่มนุษย์เองด้วย

   ในการที่มนุษย์ที่มีการศึกษาพัฒนาตนดี มีความเห็นแก่ตัวน้อย มาช่วยเหลือกันภายในขอบเขตแห่งความสมเหตุสมผลและชอบธรรมนี่แหละ ที่จะเป็นหลักการดำรงรักษาสร้างสรรค์สันติสุขแก่สังคมอย่างแท้จริง และไม่มีอำนาจอะไรที่ไหนจะช่วยมนุษย์ได้ดีกว่ามนุษย์ช่วยตัวเอง และช่วยกันเอง

   แต่ถ้ามนุษย์เราไม่ช่วยกัน ก็จะกลายเป็นเหตุบีบคั้น ทำให้คนที่อับจนต้องหันไปพึ่งอำนาจเร้นลับภายนอกต่อไป เพราะฉะนั้น จะต้องเน้นหลักสังฆะ และการสร้างสรรค์สังคมกัลยาณมิตร บนฐานของหลักพรหมวิหาร ๔ และสังคหวัตถุ ๔ ไว้อย่างจริงจังด้วย

   พุทธศาสนาในเมืองไทย    ถ้ารักษาหลักไว้ไม่ได้   ก็คงไปเหมือนกัน   การมาอินเดียครั้งนี้ เป็นเครื่องเตือนใจอย่างหนึ่ง   อย่างน้อยช่วยให้มองเห็นในเรื่องเหล่านี้ และให้เราพยายามรักษาหลักการของพระพุทธศาสนาไว้ให้ได้  อย่าให้เสียหลัก

   พร้อมทั้งมาทบทวนกันว่า หลักพระพุทธศาสนาที่แท้จริงคืออะไรกันแน่ เพื่อจะได้วัดและตรวจสอบ แล้วก็แก้ไขปรับปรุงเรื่องความเชื่อถือ และการประพฤติปฏิบัติในหมู่ชาวพุทธ

หน้า ๔๓๘ จาก  https://img.tarad.com/shop/m/malai/img-lib/spd_20130622163222_b.jpg


https://www.facebook.com/xendanweb/videos/699897484742070

 

 

 



Create Date : 19 สิงหาคม 2564
Last Update : 14 มกราคม 2567 17:25:49 น. 0 comments
Counter : 809 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space