กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กรกฏาคม 2564
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
space
space
12 กรกฏาคม 2564
space
space
space

ตำนาน พระปริตร


ต่อจากหัวข้อ  https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=10-07-2021&group=6&gblog=49
 

โมรปริตร 
       ป้องกันภัยจากผู้คิดร้าย


ตำนาน โมรปริตร

   โมรปริตร คือ โมรปริตรของนกยูงทอง  เป็นพระปริตรที่กล่าวคุณของพระพุทธเจ้าแล้วน้อมพระพุทธคุณมาพิทักษ์คุ้มครอง ให้มีความสวัสดี

   มีประวัติว่าสมัยหนึ่ง ครั้งพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนกยูงทอง อาศัยอยู่บนเขาทัณฑกหิรัญบรรพตในป่าหิมพานต์

   พระโพธิสัตว์จะเพ่งดูพระอาทิตย์ในเวลาพระอาทิตย์อุทัย แล้วร่ายมนต์สาธยายกล่าวนมัสการพระอาทิตย์สองคาถาแรกว่า “อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา” เป็นต้น  แล้วจึงออกแสวงหาอาหาร

   ครั้นกลับจากการแสวงหาอาหาร  ในเวลาพระอาทิตย์อัสดง  ก็เพิ่งดูพระอาทิตย์พร้อมกับร่ายมนต์สาธยายสองคาถาหลังว่า

  “อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา”  เป็นต้น   ด้วยอานุภาพพระปริตร ที่กล่าวนมัสการอยู่ทุกเช้า เย็น เช่นนี้ นกยูงทองจึงอยู่เป็นสุข และปลอดภัยแคล้วคลาดจากอันตรายทุกอย่างด้วยมนต์บทนี้

  วันหนึ่ง พรานป่าจากหมู่บ้านใกล้เมืองพาราณสี ได้พบนกยูงทองโดยบังเอิญ จึงบอกความนั้นแก่บุตรของตน

  ขณะนั้น พระนางเขมาเทวี มเหสีพระเจ้าพาราณสี ทรงพระสุบินว่า พระนางเห็นนกยูงทอง แสดงธรรมอยู่ จึงกราบทูลพระสวามีว่า ทรงประสงค์จะฟังธรรมของนกยูงทอง

  ท้าวเธอจึงรับสั่งให้พรานป่าสืบหา พรานป่าที่เคยได้ยินคำบอกเล่าของบิดา ได้มากราบทูลว่า นกยูงทองมีอยู่จริง ที่เขาทัณฑกหิรัญบรรพต

  ท้าวเธอจึงทรงมอบหมายให้เขาจับนกยูงทองมาถวาย พรานป่าคนนั้น ได้เดินทางไปป่าหิมพานต์ แล้ววางบ่วงดักนกยูงทองไว้ทุกแห่งในที่แสวงหาอาหาร

  เวลาผ่านไปถึง ๗ ปี เขาก็ยังจับไม่ได้ เพราะนกยูงทองแคล้วคลาดบ้าง ป่วงไม่แล่นบ้าง จนในที่สุดต้องเสียชีวิตอยู่ในป่านั้น

  ฝ่ายพระนางเขมาเทวี ก็ทรงประชวรสิ้นพระชนม์ เพราะเสียพระทัยไม่สมประสงค์

  พระเจ้าพาราณสีจึงพิโรธ ได้รับสั่งให้จารึกอักษรลงในแผ่นทองว่า ผู้กินเนื้อนกยูงทองที่เขาทัณฑกหิรัญบรรพตจะไม่แก่ไม่ตาย

  หลังจากนั้นไม่นาน พระองค์ก็สิ้นพระชนม์

  พระราชาองค์อื่นที่ครองราชย์สืบต่อมา ได้พบข้อความนั้น จึงส่งพรานป่าไปจับนกยูงทอง แต่ก็ไม่มีใครสามารถจับได้

  กาลเวลาได้ล่วงเลยไปจนเปลี่ยนพระราชาถึง ๖ พระองค์
 
  ครั้นถึงสมัย พระราชาองค์ที่ ๗ พระองค์ก็รับสั่งให้พรานป่าไปจับนกยูงทองนั้นอีก

  พรานป่าคนนี้ฉลาดหลักแหลม   สังเกตการณ์อยู่หลายวัน ก็รู้ว่า นกยูงทอง ไม่ติดบ่วง เพราะมีมนต์ขลัง คือ ก่อนออกไปหาอาหาร จะทำพิธีร่ายมนต์ จึงไม่มีใครสามารถจับได้

227เขาคิดว่า จะต้องจับนกยูงทองก่อนที่จะร่ายมนต์ จึงได้นำนางนกยูงตัวหนึ่งมาเลี้ยงให้เชื่อง ฝึกหัดให้ฟ้อนรำขับร้องชำนาญดี แล้วก็นำไปปล่อยไว้ที่เชิงเขา โดนดักบ่วงอยู่ใกล้ๆ จากนั้นได้ทำสัญญาณให้นางนกยูงรำแพนส่งเสียง

  พระโพธิสัตว์   เมื่อได้ยินเสียงนางนกยูง    ก็มีใจเร่าร้อนด้วยกิเลส  จึงลืมสาธยายมนต์คุ้มครองตน เผลอตัวบินไปหานางนกยูงโดยเร็ว เป็นเหตุให้ติดบ่วงที่ดักไว้

 ครั้นแล้ว พรานป่าก็นำพระโพธิสัตว์ไปถวายพระเจ้าพาราณสี

 เมื่อพระโพธิสัตว์เข้าเฝ้าพระเจ้าพาราณสีแล้ว ได้ทูลถามว่า  “เพราะเหตุไร พระองค์จึงจับหม่อมฉันมา”

 ท้าวเธอตรัสว่า “เพราะมีจารึกว่าผู้กินเนื้อนกยูงทองจะไม่แก่ ไม่ตาย”

พระโพธิสัตว์ทูลว่า “ผู้กินเนื้อหม่อมฉันจะไม่ตาย” แต่หม่อมฉันจะต้องตายมิใช่หรือ”

“ถูกแล้วเจ้าต้องตาย”

“เมื่อหม่อมฉันจะต้องตายแล้ว ผู้กินเนื้อหม่อมฉันจะไม่ตายได้อย่างไร”

ท้าวเธอตรัสว่า “เพราะเจ้ามีขนสีทอง จึงทำให้ผู้กินเนื้อเจ้าไม่ตาย”

พระโพธิสัตว์ทูลว่า “หม่อมฉันมีขนสีทอง ก็เพราะภพก่อน เคยเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในพระนครพาราณสีนี้ได้รักษาเบญจศีลเป็นนิตย์ และชักชวนให้ราษฎรรักษาด้วย”

ท้าวเธอตรัสว่า “ที่ท่านพูดว่า เคยเป็นพระเจ้าจักรพรรดิใครเป็นพยาน “ พระโพธิสัตว์จึงได้ทูลเรื่องที่พระองค์เคยฝังราชรถที่ประทับของพระเจ้าจักรพรรดิไว้ที่สระมงคลโบกขรณี พระเจ้าพาราณสี จึงรับสั่งให้ไขน้ำออกจากสระ แล้วกู้ราชรถนั้นขึ้นมา

ครั้นพระราชาได้ทอดพระเนตรเห็น ก็ทรงเชื่อคำพระโพธิสัตว์

หลังจากนั้น พระโพธิสัตว์ จึงแสดงธรรมถวายแก่พระราชาว่า “ดูก่อนมหาราช นอกจากอมตะมหานิพพานแล้ว สิ่งทั้งหลายนอกนั้น ล้วนเป็นสิ่งผสมปรุงแต่งขึ้นเป็นของไม่ยั่งยืนถาวร เพราะมีขึ้นแล้วก็มีไม่ เป็นของสิ้นไป เสื่อมไปโดยธรรมชาติ”

พระเจ้าพาราณสี ทรงทำสักการะพระโพธิสัตว์ ด้วยความเลื่อมใส ทรงยกราชสมบัติมอบให้แก่พระโพธิสัตว์ แล้วกล่าวเชิญชวนให้อยู่ในพระราชวังด้วยกัน

พระพระโพธิสัตว์    ถวายคืนราชสมบัตินั้น   และพักอยู่สองสามราตรี เมื่อจะกลับสู่ป่าหิมพานต์ พระโพธิสัตว์ได้ถวายโอวาทกำชับพระราชาให้ดำรงอยู่ในความไม่ประมาท (ชา.อฏ.2/35)

10

  ปุเรจาริก “อันดำเนินไปก่อน”  เป็นเครื่องนำหน้า, เป็นตัวนำ, เป็นเครื่องชักพาให้มุ่งให้แล่นไป เช่น ในคำว่า   “ทำเมตตาให้เป็นปุเรจาริก แล้วสวดพระปริตร”    “ความเพียรอันมีศรัทธาเป็นปุเรจาริก”






ตำนาน วัฏฏกปริตร

  วัฏฏกปริตร คือ ปริตรของนกคุ่ม  เป็นพระปริตรที่กล่าวถึงสัจวาจาของพระพุทธเจ้า ที่เคยกระทำเมื่อเสวยพระชาติเป็นนกคุ่ม แล้วอ้างสัจวาจานั้นมาพิทักษ์คุ้มครอง ให้พ้นจากอัคคีภัย

  มีประวัติปรากฏ ๒ แห่ง .... พระปริตรที่นิยมสวดเฉพาะสี่คาถาหลังโดยเว้นเจ็ดคาถาแรก เนื่องจากสี่คาคาเหล่านั้นแสดงสัจวาจาของพระโพธิสัตว์

  ในคัมภีร์จริยาปิฎกแสดงว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสพระปริตรนี้แก่พระสารีบุตรเพื่อแสดงบารมีที่พระองค์เคยสั่งสมในภพต่างๆ

   ส่วนในคัมภีร์อรรถกถาชาดก (ชา.อฏ.1/291) มีประวัติว่า สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าร่วมกับภิกษุสงฆ์เสด็จจาริกอยู่ในแคว้นมคธ ทรงพบไฟป่าโดยบังเอิญ เมื่อไฟป่าลุกลามล้อมมาถึงสถานที่ ๑๖ กรีสะ นับเป็นพื้นที่หว่านเมล็ดพืชได้ ๗๐๔ ทะนาน ไฟป่านั้น ได้ดับลงทันที เหมือนถูกน้ำดับไป

  พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไฟป่านี้มิใช่ดับลงด้วยอานุภาพของตถาคตในภพนี้ แต่ดับลงด้วยอานุภาพของสัจวาจาที่ตถาคตเคยกระทำในชาติที่เกิดเป็นนกคุ่ม  สถานที่นี้ จะเป็นสถานที่ ที่ไม่มีไฟไหม้ตลอดกัป แล้วตรัสพระปริตรแก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น

(มนต์บทนี้ ถือว่าป้องกันไฟได้ นิยมกันมาก เรียกว่า “คาถานกคุ่ม”)

 


    สัจกิริยา   “การกระทำสัจจะ”   การใช้สัจจะเป็นอานุภาพ, การยืนยันเอาสัจจะคือความจริงใจ คำสัตย์ หรือภาวะที่เป็นจริงของตนเอง    เป็นกำลังอำนาจที่จะคุ้มครองรักษา  หรือให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นที่พระองคุลิมาลกล่าวแก่หญิงมีครรภ์แก่ว่า  “ดูกรน้อยหญิง ตั้งแต่อาตมาเกิดแล้วในอริยชาติ   มิได้รู้สึกเลยว่า จะจงใจปลงสัตว์เสียจากชีวิต ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดี จงมีแก่ครรภ์ของท่านเถิด ”   แล้วหญิงนั้น   ได้คลอดบุตรง่ายดาย และปลอดภัย

  (คำบาลีของข้อความนี้ ได้นำมาสวดกันในชื่อว่า อังคุลิมาลปริตร)   และ เรื่องวัฏฏกชาดกที่ว่า   ลูกนกคุ่มอ่อน   ถูกไฟป่าล้อมใกล้รังเข้ามา   ตัวเองยังบินไม่ได้ พ่อนกแม่นกก็บินไปแล้ว จึงทำสัจกิริยา อ้างวาจาสัตย์ของตนเองเป็นอานุภาพ  ทำให้ไฟป่าไม่ลุกลามเข้ามาในที่นั้น

 
ตำนาน ชัยปริตร

   ชัยปริตร คือ ชัยปริตรที่กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้า ทรงกำจัดมารและเสนามารด้วยขันติบารมี พระเมตตาบารมี และอธิษฐานบารมี  ทรงบำเพ็ญพุทธกิจเพื่อประโยชน์แก่เวไนยสัตว์ทั้งหลาย แล้วอ้างสัจวาจานั้นมาพิทักษณ์คุ้มครองให้มีความสวัสดี

คาถา ๑-๓ แสดงชัยชนะของพระพุทธเจ้า เป็นคาถาที่โบราณาจารย์ประพันธ์ขึ้นภายหลัง

ส่วนคาถา ๔-๕-๖ เป็นพุทธพจน์ที่นำมาจากอังคุตตรนิกาย ปุพพัณหสูตร (องฺ.ติก. ๒๐/๑๕๖/๒๘๗) บทสวดมนต์บางฉบับมีคาถาเพิ่มว่า โส อัตถะลัทโธ สุขิโต ...สา อัตถะ ลัทธา สุขิตา....


ตำนาน โพชฌังคปริตร

   โพชฌังคปริตร คือ ปริตรที่กล่าวถึงโพชฌงค์ ซึ่งเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ แล้วอ้างสัจวาจานั้นมาพิทักษ์คุ้มครองให้มีความสวัสดี

เรื่องนี้ มีปรากฏในพรรษาที่ ๑๖ ว่า พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ วัดเวฬุวัน กรุงราชคฤห์ พระมหากัสสปเถระ ได้อาพาธหนักที่ถ้ำปิปผลิคูหา

พระพุทธเจ้าได้เสด็จเยี่ยมและแสดง โพชฌงค์ ๗ เมื่อพระเถระสดับโพชฌงค์เหล่านี้แล้ว ได้เกิดความปีติว่า โพชฌงค์ ๗ เคยปรากฏแก่เราในขณะรู้แจ้งสัจธรรม หลังออกบวชแล้ว ๗ วัน คำสอนของพระพุทธองค์เป็นทางพ้นทุกข์โดยแท้   ครั้นดำริเช่นนี้  พระเถระได้เกิดปีติอิ่มเอิบใจ ทำให้เลือดในกาย  และรูปธรรมอิ่มผ่องใส โรคของพระเถระจึงอันตรธานไปเหมือนหยาดน้ำกลิ้งลงจากใบบัว

นอกจากนั้น พระพุทธเจ้ายังตรัสโพชฌงค์ ๗ แก่พระมหาโมคคัลานเถระ ผู้อาพาธที่ภูเขาคิชฌกูฎอีกด้วย

ครั้นพระเถระสดับโพชฌงค์นี้แล้ว ก็หายจากอาพาธนั้นทันที

อนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเวฬุวันนั้น ทรงประประชวรหนัก จึงรับสั่งให้พระจุนทเถระสาธยายโพชฌงค์ ๗ ครั้นสดับแล้ว พระองค์ทรงหายจากประชวรนั้น

โพชฌังคปริตรที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เป็นร้อยแก้ว ที่ปรากฏในมหาวรรคสังยุตปฐมคิลานสูตร ทุติยคิลานสูตร และตติยคิลานสูตร (สํ.มหา. ๑๙/๑๙๕/๗/๗๑-๔)

ส่วนโพชฌังคปริตรปัจจุบันเป็นร้อยกรอง พระเถระชาวลังกาจรนาขึ้น โดยนำข้อความจากพระสูตรมาประพันธ์เป็นร้อยกรอง

โพชฌงค์ ๗ มีดังต่อไปนี้ คือ

๑.สติสัมโพชฌงค์    องค์แห่งการรู้แจ้ง คือ สติ

๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์   องค์แห่งการรู้แจ้ง คือ การเลือกเฟ้นธรรม

๓.วิริยสัมโพชฌงค์   องค์แห่งการรู้แจ้ง คือ ความเพียร

๔. ปิติสัมโพชฌงค์    องค์แห่งการรู้แจ้ง คือ ความอิ่มใจ

๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์    องค์แห่งการรู้แจ้ง คือ ความสงบใจ

๖.สมาธิสัมโพชฌงค์    องค์แห่งการรู้แจ้ง คือ ความมีใจตั้งมั่น

๗.อุเบกขาสัมโพชฌงค์    องค์แห่งการรู้แจ้ง คือ ความมีใจวางเฉย

5 

  ประเด็นอยู่ตรงที่ผู้นั้นตกอยู่ในภยันตรายถึงชีวิต ไม่มีทางเลี่ยงแล้ว  ก็จึงอ้างเอาคุณธรรมความดีที่มีในตนเป็นพยาน ที่เรียกว่า สัจกิริยา 

  สัจจาธิษฐาน ๑.   ที่มั่นคือสัจจะ, ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจให้เป็นฐานที่มั่น คือ สัจจะ, ผู้มีสัจจะเป็นฐานที่มั่น  ๒. การตั้งความจริงเป็นหลักอ้าง, ความตั้งใจมั่นแน่วให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งโดยอ้างเอาสัจจะของตนเป็นกำลังอำนาจ ตรงกับคำว่า สัจกิริยา   แต่ในภาษาไทย มักใช้ว่า สัตยาธิษฐาน

  สัตยาธิษฐาน    การตั้งความจริงเป็นหลักอ้าง, ความตั้งใจกำหนดแน่วให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งโดยอ้างเอาความจริงใจของตนเป็นกำลังอำนาจ, คำเดิมในคัมภีร์ นิยมใช้ สัจกิริยา,  สัตยาธิษฐานนี้ เป็นรูปสันสกฤต รูปบาลีเป็นสัจจาธิฏฐาน

10


สัจจกิริยา ทางออกที่ดีสำหรับผู้ยังหวังอำนาจดลบันดาล

   สำหรับชาวพุทธในระยะพัฒนาขั้นต้น ผู้ยังห่วง หรือยังมีเยื่อใยที่ตัดไม่ค่อยขาดในเรื่องแรงดลบันดาล หรืออำนาจอัศจรรย์ต่างๆ ประเพณีพุทธแต่เดิมมายังมีวิธีปฏิบัติที่เป็นทางออกให้อีกอย่างหนึ่ง คือ “สัจจกิริยา” แปลว่า การกระทำสัจจะ หมายถึง การอ้างพลังสัจจะ หรือการอ้างเอาความจริงเป็นพลังบันดาล คือยกเอาคุณธรรมที่ตนได้ประพฤติปฏิบัติบำเพ็ญมา หรือมีอยู่ตามความจริง หรือแม้แต่สภาพของตนเองที่เป็นอยู่จริงในเวลานั้น ขึ้นมาอ้างเป็นพลังอำนาจสำหรับขจัดปัดเป่าภยันตรายที่ได้ประสบในเมื่อหมดทางแก้ไขอย่างอื่น

   วิธีการนี้ไม่กระทบกระเทือนเสียหายต่อความเพียรพยายาม และไม่เป็นการขอร้องวิงวอนต่ออำนาจดลบันดาลจากภายนอกอย่างใดๆ ตรงข้าม กลับเป็นการเสริมย้ำความมั่นใจในคุณธรรมและความเพียรพยายามของตน และทำให้มีกำลังใจเข้มแข็งยิ่งขึ้นอีก ทั้งไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับวัตถุ หรือพิธีที่จะเป็นช่องทางให้ขยายกลายรูปฟั่นเฝือออกไป
 



Create Date : 12 กรกฎาคม 2564
Last Update : 13 กรกฎาคม 2564 17:52:26 น. 0 comments
Counter : 1268 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space