กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
บุญ
ข้อธัมม์ที่ถาม-เถียงกันบ่อย
หลักปฏิบัติ
สภาวธรรม
ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง
ผู้พิพากษาตั้งตุลา ใ ห้ สั ง ค ม ส ม ดุ ล
คติธรรมสั้นๆ
ภาษาธรรมวันละคำ
รู้เขา รู้เรา
พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน,
ความเป็นมาของการบวช
การทำวัตรสวดมนต์
ทำยังไงจึงจะมีอายุยืนและมีความสุข
นิพพาน-อนัตตา ฉบับเพียงเพื่อไม่ประมาท
พลังดันคน
ที่ทำงานของจิต
บรรลุธรรมอะไร?
พุทธปรัชญาในสุตตันตปิฎก
ธัมมาธิบาย
สวดมนต์
ความจน เ ป็ น ทุ ก ข์ ใ น โ ล ก
เรียนบาลีเพื่อรักษาพุทธพจน์
ศีล-ธรรมไม่มาโลกาจะพินาศ
หลักธรรมสำหรับผู้ยังไม่นับถือศาสนาใดๆ
ก่อนศึกษาพุทธธรรม
ภาค ๑. มัชเฌนธรรมเทศนา
ภาค ๒. มัชฌิมาปฏิปทา
ภาค ๓. อารยธรรมวิถี
วัฒนธรรมประเพณี
จารึกธรรม
สมาธิ,ฌาน
ถ้าหลักธรรมพุทธดีจริง คงไม่สูญจากชมพูทวีปว่าซั่น
ภาวะแห่งนิพพาน
ศีลกับเจตนารมณ์ทางสังคม
คุณค่าทางจริยธรรมของไตรลักษณ์
จงกรม ไม่ใช่ จงกลม
กรรมฐาน
สติปัฏฐาน
ศีลสำหรับประชาชน
วิธีการแห่งศรัทธา (ปรโตโฆสะที่ดี)
วิธีการแห่งปัญญา (โยนิโสมนสิการ)
ทางดำเนินชีวิตสายกลาง
คุณสมบัติบุคคลโสดาบัน
กาม
<<
มิถุนายน 2564
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
12 มิถุนายน 2564
เรื่อง ภาวนา
อินทรีย์ภาวนาแบบอารยชน
สุตะ
โลกธรรม ๘
ยโส ลทฺธา น มชฺเชยฺย
เจ้าชายสิทธัตถะทิ้งลูกทิ้งเมีย
ปริศนาธรรมจากงานสวดศพ
ปัญหาสังคม
โลกธรรม ๘ ประการ
วินัย
ประเพณี ศาสนพิธี ก็สำคัญ
ความคิดชีวิตแต่ละวัย
ความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์กับชาวบ้าน
ศาสนิกอื่น สรรเสริญพุทธคุณ ธรรมคุณ
ทำไมคนพุทธต้องใส่บาตรพระสงฆ์
ทดสอบโรคซึมเศร้าฟรี จากแพทย์ศาสตร์ มหิดล
รู้เรา รู้เขา
พัดวิเศษ มนต์ตรา ผ้ายันต์ VS อาวุธ นาลันทาแตก
คู่บุญคู่บารมี
ศีลเพื่อเสริมความดีงามของชีวิต และสังคม
ความหมาย อรหันต์
การให้ผลของกรรมในระดับต่างๆ
สันโดษ ให้สันโดษ ไม่ให้สันโดษ
ตำนาน พระปริตร
อานิสงส์ พระปริตร
ก้าวหน้าไปในบุญ
กาม ตามความหมายของพุทธธรรม
มงคล ๓๘ ประการ
สุญตา ๔ ความหมาย
มนุษย์ประเสริฐได้ด้วยการฝึกตน
ธุดงค์ ๑๓
พระพุทธเจ้ากับเพลง
วาสนา
เรียกเราว่าเป็น พุทธะ เถิดนะพราหมณ์
พรหมวิหาร ๔
เจริญวิปัสสนากับเจริญสติปัฏฐาน 4 ต่างกันไหม
ผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว รู้ได้อย่างไร
ความหมาย ปฏิบัติธรรม
เรื่อง ภาวนา
อินทรีย์ภาวนาแบบอารยชน
สุตะ
อาสภิวาจา
บุคคลแรกที่พูดได้เดินได้ทันทีที่เกิด
แก้ปัญหาแบบพุทธ
รู้ธรรมคือรู้เรื่องธรรมดา
คนรักธรรม ต้อง คู่กับรู้ธรรม
ข้อดี ข้อเสียของศรัทธา
หลักผู้ปกครองบ้านเมือง ๔ อย่าง
อัตถะ,อรรถ
ภวังคจิต
บน กับ อธิษฐาน
ความไม่ยึดมั่นที่แท้
ธรรม-วินัย
ระหว่างศีล กับ พรต
อินทรีย์ภาวนา
อริยบุคคล ๘
อริยบุคคล ๗
พุทธปณิธาน
กามโภคี ๑๐ ประเภท
ทุกขอริยสัจ
สิกขา,ไตรสิกขา
สารตั้งต้นผู้ศึกษาพุทธศาสนา
แยก สมมุติ กับ สภาวะให้ชัด
ปัญญา ๓ ระดับ
กิเลสต้องเห็นชัดด้วยปัญญาจึงละได้
อินทรีย์ภาวนาแบบอารยชน
เรื่องมีว่า สมัยหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าประทับที่ป่าไผ่ ในกชังคลนิคม
อุตตรมาณพ
ศิษย์ของ
ปาราสิริยพราหมณ์
เข้าไปเฝ้า
พระองค์ตรัสถามเขาว่า
ปาราสิริยพราหมณ์
สอนการ
พัฒนาอินทรีย์ภาวนา
แก่เหล่าสาวกใช่ไหม เมื่อเขารับว่าใช่ พระองค์ก็ตรัสถามว่า
ปาราสิริยพราหมณ์
สอนการพัฒนาอินทรีย์อย่างไร เขาทูลตอบว่า
ปาราสิริยพราหมณ์
สอนการพัฒนาอินทรีย์
โดย
ไม่ให้เอาตาดูรูป
ไม่ให้
เอาหูฟังเสียง
พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า ถ้าถือตามหลักที่พราหมณ์นี้สอน คนตาบอด คนหูหนวก ก็เป็นภาวิตินทรีย์
(ได้พัฒนาอินทรีย์แล้ว)
ละสิ
จากนั้น พระองค์ตรัสว่า การพัฒนาอินทรีย์อย่างที่ปาราสิริยพราหมณ์สอนนั้น เป็นคนละอย่างต่างจากอินทรียภาวนา อย่างยอดเยี่ยม ในแบบแผนของ
อารยชน
(อริยวินัย)
พระอานนท์ จึงทูลขอให้ทรงแสดงหลักอินทรียภาวนา อย่างยอดเยี่ยมในอริยวินัยนั้น และได้ตรัสดังรวมใจความมา
ดังนี้
(ความอุปมายาวๆได้ละเสีย)
อินทรียภาวนา:
“ดูกรอานนท์ ก็อินทรียภาวนา อย่างยอดเยี่ยม ในวินัยของอริยชน เป็นอย่างไร ?
ดูกรอานนท์ เพราะ
เห็นรูปด้วยจักษุ
สภาพที่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ ก็เกิดขึ้น แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เธอ
รู้ชัด
(
รู้เท่าทัน
)
อย่างนี้ว่า สภาพที่น่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งที่น่าชอบใจ และไม่น่าชอบใจเกิดขึ้นแล้วแก่เราเช่นนี้ ก็แต่ว่าสภาพที่น่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ เป็นภาวะปรุงแต่งเป็นของหยาบอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น สภาวะนี้จึงสงบ สภาวะนี้จึงประณีต กล่าวคือ
อุเบกขา
(ใจเฉยโดยตระหนักรู้อยู่ในดุล)
สภาพที่น่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ ที่เกิดขึ้นแก่เธอนั้นก็ดับหาย อุเบกขาตั้งได้ที่สนิท
ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปหนึ่งรูปใด ที่สภาพที่น่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งที่น่าชอบใจ และไม่น่าชอบใจเกิดขึ้นแล้วก็ดับหาย อุเบกขาตั้งได้ที่สนิทโดยเร็ว โดยพลันทันทีโดยไม่ยากลำบาก เหมือนดังบุรุษ มีตาดี ลืมตาแล้วหลับตา หรือหลับตา แล้วลืมตา
ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่า อินทรียภาวนาใน
รูป
ที่รู้ได้
ด้วยจักษุ
อันยอดเยี่ยม ในวินัยของอริยชน
“ดูกรอานนท์ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก เพราะ
ได้ยินเสียงด้วยหู.
..เพราะดมกลิ่นด้วยจมูก...เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น...เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ
(ทำนองเดียวกับข้อก่อน)
ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปหนึ่งรูปใด ที่สภาพที่น่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ เกิดขึ้นแล้ว ก็ดับหาย อุเบกขาตั้งได้ที่สนิท โดยเร็ว โดยพลันทันที โดยไม่ยากลำบาก เหมือนดังบุรุษมีกำลัง เอาหยาดน้ำสองหรือสามหยาด หยดลงในกระทะเหล็กที่ร้อนจัดตลอดทั้งวัน การหยดลงไปแห่งหยาดน้ำนั้น ยังช้า ไม่ทันทีหยาดน้ำนั้น ก็ถึงความเหือดหายหมดสิ้นไป ฉับพลัน ทันใด โดยแน่แท้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่า
อินทรียภาวนาในธรรมารมณ์
ที่รู้ได้ด้วยใจ อันยอดเยี่ยม ในวินัยของอริยชน
“ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เป็นอินทรียภาวนา อันยอดเยี่ยม ในวินัยของอริยชน.
ภาวิตินทรีย์
(ผู้ศึกษาพัฒนาจบแล้ว)
: “ดูกรอานนท์ ก็พระอริยะผู้
ภาวิตินทรีย์
(ได้พัฒนาอินทรีย์แล้ว)
เป็นอย่างไร ?
ดูกรอานนท์ เพราะ
เห็นรูปด้วยจักษุ
สภาพที่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ ก็เกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอนั้น
หากจำนงว่า
เราจะหมายรู้ในสิ่งปฏิกูล ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้
หากจำนงว่า
เราจะหมายรู้ในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้
หากจำนงว่า
เราจะหมายรู้ในสิ่งทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้
หากจำนงว่า
เราจะหมายรู้ในสิ่งทั้งไม่ปฏิกูลและปฏิกูล ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้
หากจำนงว่า
เราจะเว้นคำนึงทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล ทั้งสองอย่าง มีอุเบกขาอยู่ โดยมีสติสัมปชัญญะ ก็มีอุเบกขาในสิ่งนั้นๆ อ ยู่โดยมีสติสัมปชัญญะได้
“ดูกรอานนท์ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก เพราะ
ได้ยินเสียงด้วยหู
...เพราะดมกลิ่นด้วยจมูก...เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น...เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...เพราะ
รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ
สภาพที่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอนั้น....หากจำนงว่า เราจะเว้นคำนึงทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล ทั้งสองอย่าง มีอุเบกขาอยู่โดยมีสติสัมปชัญญะ ก็มีอุเบกขาในสิ่งนั้นๆอยู่โดยมีสติสัมปชัญญะได้
“ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าพระอริยะ ผู้
ภาวิตินทรีย์
(ได้พัฒนาอินทรีย์แล้ว)
"
(ม.อุ.14/853/541)
คำว่า "ปฏิกูล" ไม่พึงมองความหมายแคบๆ อย่างที่มักเข้าใจทำนองว่าสกปรก ยกตัวอย่างตามที่ท่านอธิบายไว้ เช่น คนหน้าตาไม่ดี มีกิริยาอาการไม่งาม เรามองด้วยเมตตา หรือของไม่สวย เรามองตามสภาวะของธาตุ ให้เห็นเป็นน่าชื่นชม หรือสบายตา ก็เรียกว่า หมายรู้ในของปฏิกูล เป็นไม่ปฏิกูล
คนหรือของที่เห็นกันว่าสวยงาม เรามองด้วยอนิจจตา หรือตามสภาวะของธาตุ ก็กลายเป็นไม่สวยงาม อย่างนี้ก็เรียกว่า หมายรู้ในของไม่ปฏิกูล เป็นปฏิกูล
(ดูคำอธิบายใน ขุ.ปฏิ.๓๑/๖๙๐/๕๙๙)
พุทธธรรมก็เรื่องธรรมดาสามัญเห็นๆแต่คนเราคิดไม่ถึงหรือมองข้ามไป
Create Date : 12 มิถุนายน 2564
Last Update : 27 ธันวาคม 2566 10:22:40 น.
0 comments
Counter : 903 Pageviews.
Share
Tweet
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [
?
]
Webmaster - BlogGang
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
Bloggang.com