กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
บุญ
ข้อธัมม์ที่ถาม-เถียงกันบ่อย
หลักปฏิบัติ
สภาวธรรม
ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง
ผู้พิพากษาตั้งตุลา ใ ห้ สั ง ค ม ส ม ดุ ล
คติธรรมสั้นๆ
ภาษาธรรมวันละคำ
รู้เขา รู้เรา
พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน,
ความเป็นมาของการบวช
การทำวัตรสวดมนต์
ทำยังไงจึงจะมีอายุยืนและมีความสุข
พลังดันคน
ที่ทำงานของจิต
บรรลุธรรมอะไร?
พุทธปรัชญาในสุตตันตปิฎก
ธัมมาธิบาย
สวดมนต์
ความจน เ ป็ น ทุ ก ข์ ใ น โ ล ก
เรียนบาลีเพื่อรักษาพุทธพจน์
ศีล-ธรรมไม่มาโลกาจะพินาศ
หลักธรรมสำหรับผู้ยังไม่นับถือศาสนาใดๆ
ก่อนศึกษาพุทธธรรม
ภาค ๑. มัชเฌนธรรมเทศนา
ภาค ๒. มัชฌิมาปฏิปทา
ภาค ๓. อารยธรรมวิถี
วัฒนธรรมประเพณี
จารึกธรรม
สมาธิ,ฌาน
ถ้าหลักธรรมพุทธดีจริง คงไม่สูญจากชมพูทวีปว่าซั่น
ภาวะแห่งนิพพาน
ศีลกับเจตนารมณ์ทางสังคม
คุณค่าทางจริยธรรมของไตรลักษณ์
จงกรม ไม่ใช่ จงกลม
กรรมฐาน
สติปัฏฐาน
ศีลสำหรับประชาชน
วิธีการแห่งศรัทธา (ปรโตโฆสะที่ดี)
วิธีการแห่งปัญญา (โยนิโสมนสิการ)
ทางดำเนินชีวิตสายกลาง
คุณสมบัติบุคคลโสดาบัน
กาม
ความสุข
อริยสัจ ๔
ธรรมฉันทะ - ตัณหาฉันทะ
กรรม
เถรวาท VS ลัทธิอาจารย์
นิพพาน-อนัตตา ฉบับเพียงเพื่อไม่ประมาท
ภาวนา ๔ ภาวิต ๔
สมถะ,วิปัสสนา,เจโตวิมุตติ,ปัญญาวิมุตติ
อนัตตา
สมมุติ
ศีล-สีลัพพตปรามาส
นรก สวรรค์ ในพระไตรปิฎก
วันสำคัญของชาวพุทธไทย
วิธีฝึกหูทิพย์ ตาทิพย์
ลำดับญาณ,ทวนญาณ
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะ ศ.ประจำชาติ
<<
พฤษภาคม 2564
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
15 พฤษภาคม 2564
ภวังคจิต
บน กับ อธิษฐาน
ความไม่ยึดมั่นที่แท้
ธรรม-วินัย
ระหว่างศีล กับ พรต
อินทรีย์ภาวนา
กตัญญูกตเวที
โลกธรรม ๘
ยโส ลทฺธา น มชฺเชยฺย
เจ้าชายสิทธัตถะทิ้งลูกทิ้งเมีย
ปริศนาธรรมจากงานสวดศพ
ปัญหาสังคม
โลกธรรม ๘ ประการ
วินัย
ประเพณี ศาสนพิธี ก็สำคัญ
ความคิดชีวิตแต่ละวัย
ความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์กับชาวบ้าน
ศาสนิกอื่น สรรเสริญพุทธคุณ ธรรมคุณ
ทำไมคนพุทธต้องใส่บาตรพระสงฆ์
ทดสอบโรคซึมเศร้าฟรี จากแพทย์ศาสตร์ มหิดล
รู้เรา รู้เขา
พัดวิเศษ มนต์ตรา ผ้ายันต์ VS อาวุธ นาลันทาแตก
คู่บุญคู่บารมี
ศีลเพื่อเสริมความดีงามของชีวิต และสังคม
ความหมาย อรหันต์
การให้ผลของกรรมในระดับต่างๆ
สันโดษ ให้สันโดษ ไม่ให้สันโดษ
ตำนาน พระปริตร
อานิสงส์ พระปริตร
ก้าวหน้าไปในบุญ
กาม ตามความหมายของพุทธธรรม
มงคล ๓๘ ประการ
สุญตา ๔ ความหมาย
มนุษย์ประเสริฐได้ด้วยการฝึกตน
ธุดงค์ ๑๓
พระพุทธเจ้ากับเพลง
วาสนา
เรียกเราว่าเป็น พุทธะ เถิดนะพราหมณ์
พรหมวิหาร ๔
เจริญวิปัสสนากับเจริญสติปัฏฐาน 4 ต่างกันไหม
ผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว รู้ได้อย่างไร
ความหมาย ปฏิบัติธรรม
เรื่อง ภาวนา
อินทรีย์ภาวนาแบบอารยชน
สุตะ
อาสภิวาจา
บุคคลแรกที่พูดได้เดินได้ทันทีที่เกิด
แก้ปัญหาแบบพุทธ
รู้ธรรมคือรู้เรื่องธรรมดา
คนรักธรรม ต้อง คู่กับรู้ธรรม
ข้อดี ข้อเสียของศรัทธา
หลักผู้ปกครองบ้านเมือง ๔ อย่าง
อัตถะ,อรรถ
ภวังคจิต
บน กับ อธิษฐาน
ความไม่ยึดมั่นที่แท้
ธรรม-วินัย
ระหว่างศีล กับ พรต
อินทรีย์ภาวนา
อริยบุคคล ๘
อริยบุคคล ๗
พุทธปณิธาน
กามโภคี ๑๐ ประเภท
ทุกขอริยสัจ
สิกขา,ไตรสิกขา
สารตั้งต้นผู้ศึกษาพุทธศาสนา
แยก สมมุติ กับ สภาวะให้ชัด
ปัญญา ๓ ระดับ
กิเลสต้องเห็นชัดด้วยปัญญาจึงละได้
ความไม่ยึดมั่นที่แท้
ไม่ยึดมั่นที่แท้ต้องเกิดจากปัญญาที่เห็นสัจธรรม
ฟังก่อนอ่าน
https://www.youtube.com/watch?v=J91o2PTQcNA&t=184s
ไม่รู้จึงติด พอรู้ก็หลุด
ความไม่ยึดมั่นถือมั่นให้ดูคติพระอรหันต์
คติพระอรหันต์ มีข้อควรศึกษาหลายอย่าง รวมทั้งเรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรต่างๆ เราดูจากวินัย เราจะได้คติมากมาย อย่างที่ว่าความไม่ยึดมั่นถือมั่น ถ้าเราเอียงไปแง่เดียว เราอาจเข้าใจธรรมผิดไปก็ได้
จะต้องระลึกว่า
ความไม่ยึดมั่นถือมั่นที่แท้
นั้น
ต้องเกิดจากปัญญา
มองเห็นความจริง ที่เป็นสัจธรรม
และ
ความไม่ยึดมั่นถือมั่นนั้น จะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ
วินัย
เอาปัจจัยพิเศษของมนุษย์เข้าไปใส่กระบวนธรรม
เวลามีเรื่องมีราว คนทำความผิดความชั่วร้าย บางคนชอบพูดว่า
ไม่ต้องไปยุ่งไปจัดการอะไร แล้วเขาก็จะได้รับผลกรรมของเขาเอง การพูดอย่างนี้ต้องระวังให้มาก ทั้งจะขัดกับหลักการของพระพุทธศาสนา และทำให้ตกอยู่ในความประมาท
ในเรื่องนี้ วินัยของสงฆ์ก็ช่วยให้มีวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง อย่างที่ว่าแล้วว่า ต้องแยกความรับผิดชอบเป็น ๒ ด้าน คือ
ด้านธรรม แต่ละคนรับผิดชอบต่อกรรมของตน
ตามกระบวนการของกฎแห่งธรรมชาติที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันเอง นี่เรียกว่ากรรม
แต่อีกด้านหนึ่ง คือ ด้าน
วินัย
เพื่อประโยชน์ของสังคม เขามีการบัญญัติจัดวางกฎระเบียบกติกา เพื่อให้ธรรมออกผลแก่หมู่มนุษย์ในเชิงรูปธรรม คือให้สังคมมนุษย์ได้ประโยชน์จากธรรม
ดังนั้น เมื่อมีภิกษุทำความผิด จะไม่มีการพูดว่ารอให้ภิกษุนั้นรับผลกรรมของตนเอง แต่ในทางวินัย มีกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นบัญญัติฝ่ายวินัย ซึ่งสงฆ์จะให้เป็นเครื่องมือเพื่อดำเนินคดีและลงโทษเป็นต้น แก่ภิกษุที่ทำความผิดนั้นทันที โดยไม่ต้องรอกรรมฝ่ายธรรมชาติ
(ยิ่งกว่านั้น เมื่อมีภิกษุทำความผิด ถ้าภิกษุอื่นๆ ปล่อยปละละเลย ไม่ดำเนินการ ภิกษุเหล่านั้นก็อาจจะมีความผิดไปด้วย)
จะต้องไปรอทำไม เราจงใจทำอะไรเมื่อไร ก็เป็นกรรมฝ่ายธรรมชาตินั่นแหละทันที วินัยหรือกฎที่สมมติไว้ จึงให้พระสงฆ์ทำกรรมใส่เหตุปัจจัยใหม่เข้าไปช่วยหนุนหรือผลักดันให้กรรมแสดง ผลบางอย่างออกมา อย่างน้อยผลข้างเคียงที่เกื้อกูลต่อสังคม ใครรอก็คือไม่รู้ธรรมนั่นเอง
วินัยถือสงฆ์เป็นใหญ่ มุ่งจะรักษาสงฆ์ที่เป็นส่วนรวมเป็นสำคัญ พระพุทธศาสนาเรานี้ ดำรงอยู่มาได้ยั่งยืนถึงบัดนี้ ก็เพราะพระสงฆ์ในอดีตได้ปฏิบัติตามหลักการที่ว่ามานี้
ที่จริงนั่น เมื่อมองลึกลงไปถึงขั้นสุดท้าย สังคมทั้งหมดก็ดี วินัยที่เป็นระบบ ระบอบ ระเบียบต่างๆ ทั้งหลายก็ดี ก็ต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยในกระบวนการของกฎธรรมชาติทั้งนั้น
เพราะฉะนั้น ถ้าวินัยไม่เกิดจากความรู้เข้าใจความจริงของธรรมชาติแท้จริง และจัดตั้งวางไว้โดยไม่สอดคล้องกับธรรม วินัยก็จะรักษาสังคมไว้ไม่ได้ วินัยก็จะก่อผลร้าย และสังคมก็จะไม่สามารถดำรงอยู่ด้วยดีหรืออาจถึงความวิบัติ
ได้กล่าวแล้วว่า วินัยนั้นเกิดจากปัญญาพิเศษของมนุษย์ที่เข้าถึงความของธรรม แล้วจัดตั้งวางระบบเป็นต้น เพื่อให้มนุษย์ได้ประโยชน์จากธรรม
เพราะฉะนั้น เมื่อพูดอีกสำนวนหนึ่ง วินัยก็คือความสามารถพิเศษของมนุษย์ที่นำเอาปัจจัยฝ่ายมนุษย์เข้าไปเป็นส่วนร่วม ในกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยของธรรมชาติ เพื่อให้บังเกิดผลดีแก่มนุษย์ในทางที่ดีงามพึงปรารถนา
มนุษย์ที่มีปัญญา ได้พัฒนาดีแล้ว เมื่อเข้าไปเป็นส่วนร่วมในกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยของธรรมชาติ ย่อมเป็นปัจจัยที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง ที่จะช่วยให้กระบวนการแห่งเหตุปัจจัยทั้งหมดดำเนินไปในทางที่จะก่อให้เกิด ผลดีที่พึงปรารถนาแก่ชีวิตและสังคมของมนุษย์
เป็นอันว่า คติพระอรหันต์ มีข้อควรศึกษาหลายอย่าง รวมทั้งเรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรต่างๆ เราดูจากวินัย เราจะได้คติมากมาย อย่างที่ว่า
ความไม่ยึดมั่นถือมั่น ถ้าเราเอียงไปแง่เดียว เราอาจเข้าใจธรรมผิดไปก็ได้
จะต้องระลึกว่า
ความไม่ยึดมั่นถือมั่นที่แท้นั้น ต้องเกิดจากปัญญา มองเห็นความจริง ที่เป็นสัจธรรม และความไม่ยึดมั่นถือมั่นนั้น จะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ
เมื่อเข้าใจ ความไม่ยึดมั่นถือมั่นของพุทธนั่นแล้วว่า ต้องเกิดจากปัญญาที่มองเห็นความจริง ที่เป็นสัจธรรมแล้วความไม่ยึดมั่นถือมั่นนั้นก็จะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ
ทีนี้ลองสังเกตวิธีละความไม่ยึดมั่นถือมั่นของอีกกลุ่มหนึ่ง (อาจรวมถึงคนทั่วๆไปที่คิดจะละนั่นล่ะนี่แบบทื่อๆ)
คือกลุ่มคนที่ตั้งแต่พุทธกาล อาจจะก่อนพระพุทธเจ้านิดหน่อย เรียกง่ายๆ ว่าร่วมสมัย ศาสนาเช่นนี้ เราเรียกว่าพวกนิครนถ์
คำว่า
นิครนถ์
นั้นแปลว่า ไม่มีกิเลสเครื่องผูกรัด หมายความว่า ไม่ยึดถืออะไรทั้งสิ้น แม้แต่ผ้าก็ไม่ต้องนุ่ง เพราะฉะนั้น พวกเชน หรือนิครนถ์นี่ เขาถือว่าเขาไม่ยึดติดถือมั่นในอะไร เขาก็เลยไม่นุ่งผ้า ฯลฯ
พระพุทธศาสนาก็สอนให้ไม่ยึดติดถือมั่นเหมือนกัน ศาสนาเชนเขาไม่ยึดติดถือมั่น อยู่อย่างธรรมชาติ ถึงขนาดที่ไม่นุ่งผ้า
แต่พระพุทธศาสนาเราเป็นมัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลางความ ความไม่ยึดติดถือมั่นนั้น หมายถืง ภาวะจิตใจที่เป็นอิสระ ไม่เป็นทาสของวัตถุหรือสิ่งของทั้งหลาย แต่ด้วยปัญญาที่รู้เข้าใจความจริงนั้น ก็รู้เหตุรู้ผลในสมมติ และปฏิบัติต่อสมมติให้ถูกต้อง ด้วยความรู้เท่าทัน โดยทำไปตามเหตุผล
ฉะนั้น ในพระพุทธศาสนาจึงมีลักษณะที่ให้คนทำอะไรเข้มแข็งจริงจังมีความรับผิดชอบ อย่างที่เคยพูดไปทีหนึ่งแล้วว่า ความไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ใช่ความไม่เอาเรื่องเอาราว ฉะนั้น ถ้าเราศึกษาพระพุทธศาสนาไม่ครบ เราจะเห็นได้จากด้านพระวินัยมาประกอบว่า พระพุทธศาสนาที่แท้เป็นอย่างไร
ถ้าศึกษาด้านธรรม แล้วจับผิดจับถูกไม่รู้จริง เขาอาจจะมองในแง่ที่ธรรมสอนว่า ทุกอย่างไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ควรปล่อยวาง อะไรต่ออะไรก็เป็นไปตามธรรมดาของมัน ก็เลยปล่อยมันไปตามเรื่อง ไม่เอาเรื่องเอาราว แล้วคิดว่านี่คือไม่ยึดติดถือมั่น
บางทีศึกษาธรรมแบบมองเอียงไปข้างเดียว เลยโน้มเอียงที่จะเข้าใจไปทางนั้น ไม่มีเครื่องกำกับให้มองให้ตรงพอดี
แต่พอมาศึกษาพระวินัยแล้ว แสดงให้เห็นแบบอย่างแห่งชีวิตของพระ และช่วยให้เราได้ชีวิตของพระไว้เป็นแบบอย่าง
หมายความว่า ชีวิตของพระที่อยู่ตามวินัยนั้น ท่านจัดไว้ตามแบบอย่าง และให้เป็นแบบอย่าง
เอาอะไรเป็นแบบ ก็เอาชีวิตของท่านที่หลุดพ้นนั่นแหละเป็นแบบ วินัยแสดงตัวแบบให้รู้ว่าการดำเนินชีวิตของพระที่เป็นอยู่ในโลกนี้อย่างถูกต้องเป็นอย่างไร คือ
ด้านหนึ่ง
ยอมรับความจริงของสมมติ และดำเนินชีวิตตามแบบแผนที่ดีงามเป็นแบบอย่าง ขณะที่อีก
ด้านหนึ่ง
เข้าใจความจริงของปรมัตถ์ มีความโล่งเบาเบิกบานไม่ยึดติดเป็นอิสระ
อย่างพระมีจีวรแค่ ๓ ผืน แต่ท่านต้องมีความรับผิดชอบในสิ่งที่ท่านมี ซึ่งตนเกี่ยวข้องอยู่นั้น ถ้าจีวรอธิษฐาน คือผืนที่กำหนไว้สำหรับตัว เกิดขาด มีรูโหว่เท่าหลังเล็บนิ้วก้อย แล้วปล่อยไว้ ไม่ปะชุน ก็ขาดอธิษฐาน แล้วก็ขาดครอง ก็ต้องอาบัติ มีความผิด จะเห็นว่ามีความรับผิดชอบมากขนาดไหน
ที่พูดนี้ เหมือนว่าตรงข้ามกับที่เข้าใจมาก่อน ที่อาจจะคิดว่า ไม่ยึดมั่นคือไม่เอาเรื่องเอาราว จีวรก็ไม่ใช่ของเราจริง เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จีวรจะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน สกปรกก็ช่างมัน มันจะขาดจะเปื่อย ก็เรื่องของมัน ซึ่งถ้าเข้าใจอย่างนั้น ก็ผิดเต็มที่
ระวังกันหน่อย เดี๋ยวเราจะเข้าใจผิด เห็นพระองค์ไหนอยู่สกปรก รกรุงรัง จีวรสกปรก ไม่ซัก แสดงว่าท่านไม่ยึดมั่นถือมั่นแล้ว ก็เลยเลื่อมใส จะไปกันใหญ่ นี่แหละ ธรรมวินัยจึงคู่กัน
พระพุทธศาสนาไม่ยอมรับการปฏิบัติของเชน ที่ว่าไม่นุ่งผ้าแสดงว่าไม่ยึดมั่นถือมั่น พระ พุทธศาสนาบอกว่า เราต้องเข้าถึงความจริงของสิ่งทั้งหลาย ซึ่งทำให้เรามีจิตใจเป็นอิสระ ไม่ตกเป็นทาสของวัตถุเหล่านั้น แต่เรายอมรับความจริงโดยเหตุผลอย่างรู้เท่าทันว่า สิ่งที่มนุษย์ได้วางกันเป็นสมมตินี้ ก็เป็นไปตามความมุ่งหมายเพื่อการใช้ประโยชน์ในสังคม ต้องปฏิบัติไปตามเหตุผลด้วยปัญญา
เพราะฉะนั้น พระอรหันต์ก็จึงเป็นผู้นำในการปฏิบัติตาม
สมมติ
กลาย เป็นว่าพระอรหันต์ถือสมมติสำคัญ เอาจริงเอาจังในเรื่องสมมติ แต่ทำด้วยความรู้เท่าทัน สมมติเป็นเรื่องที่จะต้องรู้เท่าทัน แล้วปฏิบัติด้วยความรู้เท่าทัน
หลายท่านเข้าใจสมมติเป็นเหลวไหลไป
แต่สมมติไม่ใช่หมายความว่าเป็นเรื่องเหลวไหล ตรงข้าม
สมมติ
คือ สํ (ร่วมกัน) + มติ + มติร่วมกัน ได้แก่ ข้อตกลง การยอมรับร่วมกัน หรือสิ่งที่เห็นร่วมกันแล้วกำหนดวางเป็นข้อที่จะหมายรู้ หรือที่จะปฏิบัติไปตามนั้น
ด้วยเหตุนี้ สมมติ แม้จะไม่มีสภาวะที่เป็นความจริงแท้ แต่เป็นความจริงที่มีผลอันสำคัญตามตกลง จึงจะต้องกำหนดวางสมมตินั้นด้วยปัญญา แล้วปฏิบัติให้สมตามสมมติด้วยปัญญาที่รู้เหตุรู้ผลอย่างจริงจัง
รวมความก็คือ พระพุทธศาสนามี ๒ ส่วน คือ
ธรรม
กับ
วินัย
(ธรรมวินัย) ต้องเข้าใจให้ครบ
วินัยแสดงชีวิตของพระอรหันต์
ในโลกที่เป็นจริงของมนุษย์ที่
อยู่ในสมมติ
พระอรหันต์คือผู้ที่
รู้ความจริงของปรมัตถ์
แต่เข้าถึงความจริงนั้นจนกระทั่งจิตไม่ยึดมั่นถือมั่น และเพราะจิตไม่ยึดมั่นถือมั่นนั่นแหละ จึงปฏิบัติต่อ
สมมติ
ได้อย่างถูกต้องที่สุดตามเหตุผล ด้วยความรับผิดชอบจริงจัง นี่คล้ายๆขัดกัน แต่ ๒ อย่างตรงข้ามมาเสริมกัน ต้องตีให้แตก
(ดูความหมาย สมมติ ปรมัตถ์ด้วย)
ความไม่ยึดติดถือมั่น ถูกฝ่ายอื่นใช้แย้งบ่อยๆ เช่นว่า
> "
ทำไมศาสนาพุทธจึงสอนให้ "ยึดติด" หละครับ ? ทั้ง ๆ ที่พระพุทธเจ้าเคยสอนว่าไม่ให้ "ยึดติด"
Muslim 2
แม้แต่ชาวพุทธเอง พอว่าไม่ยึดติด ก็จะเอียงสุดไปข้างไม่เอาอะไร ไม่รู้ไม่ชี้ อะไรจะเกิดก็เกิด เพราะไม่ยึดติด ไม่ยึดมั่นถือมั่น ที่ไหนได้ไปเข้าแดนไม่เอาเอาเรื่องเอาราวเป็นความประมาท
- นิครนถ์
แปลว่า ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องผูกรัด หมายความว่า ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรทั้งสิ้น แม้แต่ผ้าก็ไม่ต้องนุ่ง เพราะฉะนั้น พวกเชน หรือ นิครนถ์นี่ เขาถือว่าเขาไม่ยึดมั่นถือมั่นในอะไร เขาก็เลยไม่นุ่งผ้า
Create Date : 15 พฤษภาคม 2564
Last Update : 31 ธันวาคม 2566 17:37:52 น.
0 comments
Counter : 1395 Pageviews.
Share
Tweet
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
BlogGang Popular Award#20
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [
?
]
Webmaster - BlogGang
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
Bloggang.com